อนุทิน 144700


ต้นโมกข์
เขียนเมื่อ

การประหารอาชญากร กรณีข่มขืน

1. ปลายน้ำ ตรงนี้จะแบ่งเป็น 2 ส่วน ก็คือ 1. กระบวนการทำความเข้าใจและฟื้นฟูจิตใจของผู้กระทำผิด ตรงนี้อาจไม่ใช่หน้าที่ของคุก หากแต่คือนักจิตวิทยาที่ควรต้องทำงานแบบตัวต่อตัวกับผู้กระทำผิดอย่างต่อเนื่อง ทั้งเพื่อฟื้นฟูจิตใจและนำไปหาทางป้องกันไม่ให้เกิดกรณีแบบนี้ขึ้นจากคนอื่นๆ ในสังคม และ 2. ที่ต้องทำพร้อมกันก็คือการจับกุม-ดำเนินคดี-ตัดสินโทษ ต้องมีความเด็ดขาด ทำให้เห็นว่าหากกระทำผิดด้วยการข่มขืนแล้วจะต้องถูกจับกุมและได้รับโทษเป็นการคุมขังอย่างแน่นอน และอาจทำให้เป็นคดีที่ไม่สามารถยอมความกันได้ในทุกกรณี (ซึ่งส่วนนี้อาจยังต้องถกเถียงกันในเรื่องความแม่นยำของกระบวนการยุติธรรม ว่าจะจับถูกคนในทุกกรณีหรือไม่) ทว่า ก็จะมีความกังวลต่อไปว่าการคุมขังจะยาวนานเพียงพอต่อการสำนึกผิดและไม่กับออกมากระทำผิดซ้ำหรือไม่ ในส่วนนี้อาจจะต้องไปปรับแก้กันที่กระบวนการลดหย่อนผ่อนโทษหลังจากถูกคุมขังแล้ว การข่มขืนในบางลักษณะอาจถูกจัดให้เป็นคดีที่ห้ามลดหย่อนผ่อนโทษ ต้องรับโทษทัณฑ์ยาวนานเท่าที่ศาลได้กำหนดไว้เมื่อคดีสิ้นสุดเป็นเด็ดขาด



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท