อนุทิน 143873


ต้นโมกข์
เขียนเมื่อ

3. ทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่ ตอนที่ 7

ทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่ของเมอร์ตัน

โรเบิร์ต เค เมอร์ตัน (Robert K. Merton) นักสังคมวิทยาชาวอเมริกัน ได้นำทฤษฎีอโนมีของเดอร์ไคม์มาพัฒนาต่อในประเด็นเรื่อง “โครงสร้างหน้าที่” (Functionalism Structure) เมอร์ตันได้สร้างระดับของการวิเคราะห์การหน้าที่ (Levels of Functional Analysis) โดยแบ่งออกเป็นระดับต่างๆ ได้แก่ ระดับสังคม ระดับองค์การ ระดับสถาบัน และระดับกลุ่ม

เมอร์ตัน แบ่งการทาหน้าที่ออกเป็น 2 ลักษณะ คือ “การทำหน้าที่โดยเปิดเผย” (Manifest Functions) และ “การทำหน้าที่แบบแฝงเร้น” (Latent Functions) การทำหน้าที่โดยเปิดเผยเป็นการทำหน้าที่โดยตรงตามบทบาทนั้นและปรากฏผลที่สังเกตได้ เช่น การพิจารณาพิพากษาคดีลงโทษจำคุกตลอดชีวิตผู้กระทำผิด ผลก็คือผู้กระทำผิดได้รับโทษถูกจำคุกในเรือนจำ แต่สำหรับการทำหน้าที่แบบแอบแฝง ในกรณีนี้ก็คือ การข่มขวัญยับยั้งผู้อื่นที่อาจคิดจะกระทำผิด การสร้างภาพลักษณ์ของกระบวนการยุติธรรมว่ามีความเข้มแข็งเด็ดขาด รวมทั้งการสร้างความพึงพอใจให้แก่ญาติผู้เสียหาย

หนังสืออ้างอิง

ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน. หน่วยที่ 5 ทฤษฎีอาชญาวิทยา. Pdf.



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท