อนุทิน 143227


ต้นโมกข์
เขียนเมื่อ

1. พัฒนาการของทฤษฎีอาชญาวิทยา: สำนักอาชญาวิทยาคลาสสิค ตอนที่ 8

สำนักอาชญาวิทยาคลาสสิค : ซีซาร์ เบ็คคาเรีย (Cesare Beccaria) ต่อ

ความคิด ผลงาน การแสดงทัศนะต่อการเมืองการปกครอง และกระบวนการยุติธรรมในยุคสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 17 ของ ซีซาร์ เบ็คคาร์เรีย ถือได้ว่าเป็น การริเริ่มบุกเบิกเพื่อการปฏิรูปกฎหมายอาญา ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม ปฏิรูปสังคมการเมือการปกครองครั้งใหญ่และสำคัญยิ่งในภาคพื้นยุโรป จนนาไปสู่การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมของประเทศฝรั่งเศสหลังจากที่มีการปฏิวัติใหญ่ในฝรั่งเศสเมื่อปี ค.ศ. 1789 และนำไปสู่การประกาศใช้ประมวลกฎหมายอาญาฝรั่งเศส ในปี ค.ศ. 1971 เบ็คคาเรียได้รับการยอมรับจากนักคิดคนสำคัญในยุคสมัยนั้นเป็นอย่างมากทั้งจาก วอลแตร์ (Voltaire) โธมัส เจฟเฟอร์สัน (Thomas Jefferson) แบล็กสโตน (Blackstone) จอห์น อาดัมส์ (John Adams)

นอกจากนี้เบ็คคาเรียยังได้กล่าวประโยคสำคัญยิ่งต่อวงการกฎหมาย กระบวนการยุติธรรม และอาชญาวิทยาไว้ว่า “ไม่มีอาชญากรรม เมื่อไม่มีกฎหมาย” (nullum criemen sig lego)

ความคิดและผลงานของเบ็คคาเรียมีอิทธิพลและส่งผลกระทบในวงกว้างในตอนปลายศตวรรษที่ 18 ทั้งด้านอาชญาวิทยา กฎหมาย กระบวนการยุติธรรมทางอาญา และนักทฤษฎีคนอื่นๆ เขาได้รับเชิญจากประเทศต่างๆ หลายประเทศให้ไปช่วยปฏิรูประบบงาน ยุติธรรม ข้อสันนิษฐานทางทฤษฎีและโมเดลทางทฤษฎีว่าด้วยการข่มขู่ยับยั้งการกระทำผิดได้ถูกนำไปผนวกรวมในร่างรัฐธรรมนูญใหม่ของหลายประเทศ ซึ่งเป็นรูปแบบที่ใช้กันมากที่สุดหลังมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ที่เด่นชัดที่สุดและถูกนามาอ้างถึงมากที่สุดคือ รัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกา

ความคิดของเบ็คคาเรียที่เกี่ยวกับอาชญาวิทยา เบ็คคาเรียเห็นว่า “ทุกคนควรเท่ากันในทัศนะของกฎหมาย” การที่จะลงโทษผู้กระทำผิด ควรจะพิจารณาแต่กรรมที่เขาได้ประกอบเท่านั้น ไม่ควรคานึงถึงว่าผู้นั้นจะเป็นผู้ใด เพราะถือว่าทุกคนกระทำสิ่งใดลงไปโดยมี เจตจำนงเสรี (Free Will)

หนังสืออ้างอิง

ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน. หน่วยที่ 5 ทฤษฎีอาชญาวิทยา.Pdf.


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท