อนุทิน 138035


Jane_Amoure
เขียนเมื่อ

                                                          บันทึกอนุทิน                                              ครั้งที่ 6 วันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2557

วิชา การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้ รหัสวิชา 102611ผู้สอน อาจารย์ ผศ.ดร.อดิสร เนาวนนท์

โดย นางสาว ณัฐพร เครือทองศรี รหัสนักศึกษา 57C0103102 ระดับปริญญาโท ภาคปกติ สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน

                ***************************************************************************************************

 

                                  ความรู้ที่ได้รับจากการศึกษาดูงานที่ โรงเรียน เทศบาล 4 ( เพาะชำ )

โรงเรียนนี้เป็นโรงเรียนที่เน้นการทำ KM : การจัดการความรู้ คือ เครื่องมือ เพื่อการบรรลุเป้าหมายอย่างน้อย 4 ประการไปพร้อมๆ กัน ได้แก่ 1) บรรลุเป้าหมายของงาน 2) บรรลุเป้าหมายการพัฒนาคน 3) บรรลุเป้าหมายการพัฒนาองค์กรไปเป็นองค์กรเรียนรู้ และ 4) บรรลุความเป็นชุมชน เป็นหมู่คณะ ความเอื้ออาทรระหว่างกันในที่ทำงาน จะ “ กระจ่าง “ เรื่อง ….. KM ต้องเห็นความแตกต่าง ระหว่าง “ ความรู้ 2 ประเภท “Explicit Knowledge ( ความรู้ภายนอก: ทฤษฎี ปริยัติ ) กับ Tacit Knowledge (ความรู้ภายใน : ภูมิปัญญา ประสบการณ์ เทคนิคเฉพาะตัว )KMส่วนใหญ่ “ ไร้พลัง” และ “ ไม่สมดุล” เพราะเน้นแต่ความรู้แบบ Explicit Knowledge แต่จริงๆความรู้ที่เราต้องการจัดการ คือ Tacit Knowledge เพราะเป็นความรู้ที่ยังไม่ได้ถูกถ่ายทอด / เผยแพร่ วิธีที่เราจะจัดการความรู้ 2 ประเภท นี้คือ Tacit Knowledge : นำความรู้ที่ได้จาก> นำไปปรับใช้ > แบ่งปัน > เรียนรู้ร่วมกัน > สร้างความรู้ยกระดับ Explicit Knowledge: นำความรู้ที่ได้จากขั้นตอนสุดท้ายของ Tacit Knowledge ไปตีความ > นำไปปรับใช้ > เรียนรู้ยกระดับ > รวบรวม / จัดเก็บ โรงเรียนนี้ได้ใช้วิธีการจัดการความรู้ตามที่ สคส. ส่งเสริมการจัดการความรู้ส่วนใหญ่โดยใช้แบบจำลอง “ โมเดลปลาทู “ โดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ 1.ส่วนหัว KnowledgeVision : ต้องรู้ว่า KM ทำไปเพื่ออะไร 2.ส่วนกลางลำตัว Knowledge Sharing : เป็นส่วนหัวใจ ให้ความสำคัญของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน3. ส่วนหาง Knowledge Assets: สร้างคลังความรู้ สร้างเครือข่ายโดยใช้ ICT สร้างพลังจาก COPS และจุดเด่นของโรงเรียนนี้คือมีโมเดลเฉพาะของโรงเรียนที่เรียกว่า “เพาะชำโมเดล”รูปแบบของเพาะชำโมเดลมีดังนี้ 1. KV( เป้าหมายของการจัดการความรู้ ) > 2. เรื่องเล่าเร้าพลัง>3. แก่นความรู้ ( สกัดความรู้ โดยแยกเนื้อออกจากน้ำ )> 4. บันไดแลกเปลี่ยนเรียนรู้> 5. บันทึกแลกเปลี่ยน(สังเคราะห์เรื่องเล่าจากที่ฟัง)>6.AAR( After Action Review ) > 7.KA ( คลังความรู้ ) โดยคนสำคัญที่ดำเนินการจัดการความรู้ ผู้บริหารสูงสุด (CEO) คุณเอื้อ ( เอื้ออาทร ) คุณอำนวย (อำนวยความสะดวก ) คุณกิจ ( ผู้ปฏิบัติ ) คุณลิขิต ( คนคอยจดบันทึก) คุณประสาน ( ประสานงาน ) วิธีดำเนินการ ตั้งทีมงาน> ให้ความรู้ > กำหนด > ฝึกปฏิบัติ> ติดตาม……. ทำต่อเนื่อง > เผยแพร่ สรุป การจัดการความแบบเพาะชำโมเดล เป็นการสนับสนุนให้คณะครูได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้กัน เป็นอีกวิธีนึงที่ทำให้ได้คณะครูทุกคนได้รู้จัก สนิทกันมากขึ้น โดยจะมีวิธีการรวมกันเป็นกลุ่มบ้าง(กลุ่มละกลุ่มละ 5-8 คน) ในแต่ละอาทิตย์ก็จะส่งคนในกลุ่มมาพูด จับกลุ่มกันทำงานเป็นการสร้างความเป็นทีมภายในองค์กรอีกด้วย



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท