อนุทิน 137470


Jane_Amoure
เขียนเมื่อ


                                                               บันทึกอนุทิน                                ครั้งที่  5 วันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2557

วิชาการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้ รหัสวิชา 102611ผู้สอน   อาจารย์ ผศ.ดร.อดิสร เนาวนนท์
โดยนางสาว ณัฐพร  เครือทองศรี รหัสนักศึกษา 57C0103102 ระดับปริญญาโท ภาคปกติ สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน

               ********************************************************************************************

KM.( Knowledge Management : การจัดการความรู้ )เป็นกระบวนการในการนำความรู้ที่มีอยู่หรือที่ได้จากการเรียนรู้ มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กรโดยกระบวนการต่างๆเช่น การสร้าง การรวบรวม การจัดเก็บ การแลกเปลี่ยน วงจรของ KM. มี 6 อย่าง คือ 1.การจัดการให้มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วทั้งองค์กร 2.การสื่อสาร สื่อเพื่อให้เข้าใจว่า องค์กรกำลังทำอะไร ทำเพื่ออะไร ทำเมื่อไหร่ ทำอย่างไร 3.กระบวนการและเครื่องมือ ช่วยให้กระบวนการความรู้เกิดขึ้นได้สะดวกและรวดเร็ว เลือกใช้ให้เหมาะสมระหว่าง TACIT KNOWLEDGE:ความรู้ที่แฝงในตัวคน เช่น ประสบการณ์ ทักษะ ภูมิปัญญา และ EXPLICIT KNOWLEDGE :ความรู้ที่เป็นรูปธรรม ความรู้ที่อยู่ในรูปแบบเอกสาร ส่วนเครื่องมือมี 2 ส่วน คือ เกี่ยวกับ IT และ ไม่เกี่ยวกับ IT ด้าน IT จะเข้ามาเกี่ยวข้องในขั้นตอน ค้นหา รวบรวมข้อมูล จัดเก็บข้อมูล เข้าถึงข้อมูล IT จะช่วยให้การแลกเปลี่ยนความรู้ประเภท EXPLICIT KNOWLEDGE ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4.กำหนดวิธีการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนความรู้ให้เหมาะกับวัฒนธรรมขององค์กร การฝึกอบรมและการเรียนรู้ อบรมแนวทางและหลักการของ KM. ให้แก่บุคลากรเพื่อสร้างความเข้าใจและเห็นถึงความสำคัญของ KM.5.แบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่นำไปใช้ในงานประจำวันได้ 6.ยกย่อง ชมเชย ให้รางวัล สร้างแรงจูงใจที่สนับสนุนการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนความรู้สรุปได้ว่า การที่เราเราจะทำให้ KM.มีประสิทธิภาพได้นั้นต้องประกอบไปด้วย 3 องค์ประกอบหลัก คือ คน สถานที่ และ สิ่งอำนวยความสะดวก รวมทั้งต้องมีกระบวนการ 6 อย่าง มาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสม เพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง
สิ่งที่เป็นอุปสรรคต่อการจัดการความรู้คือ1.การที่คิดว่าความรู้คืออำนาจ กลัวอำนาจจะหมดหรือหายไปจึงไม่แบ่งปัน/แลกเปลี่ยนความรู้คนอื่น 2.มองคนอื่นว่าอวดรู้ กลัวเขาว่าจึงไม่บอก ไม่อยากเป็นจุดเด่น ในสังคมไทยบางส่วนจะมองคนที่ชอบตอบคำถามว่าอวดฉลาดหรืออยากเอาหน้า แล้วก็จะโยนภาระให้คนที่ตอบได้เป็นผู้ทำงาน ฉะนั้นจึงไม่มีใครอยากตอบ อยากแสดงความเห็น เพราะกลัวได้รับผิดชอบงานแค่คนเดียว จริงๆแล้วเราน่าจะลองมาเปลี่ยนความคิดใหม่ว่าคนที่กล้าแสดงความคิดคือคนที่เก่ง ที่ยอมบอกความรู้ที่เขามีให้เราได้ฟัง ทุกๆคนจะได้แสดงความคิดเห็นของตัวเองออกมา ทุกความคิดไม่มีผิด คิดแบบนี้จึงจะกล้าแสดงความคิดเห็นออกมา พอคิดได้อย่างนี้สังคมทุกๆที่ก็จะเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้อย่างแท้จริง

บรรยากาศในห้องเรียน

เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้เลยค่ะ ทุกคนได้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ แสดงความคิดเห็นกันตลอด ได้ความรู้จากเพื่อนๆมากๆเลยค่ะ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท