อนุทิน 137167


Happy Smile
เขียนเมื่อ


สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล

(Federal Democratic Republic of Nepal)

             ประเทศเนปาล (เนปาล: नेपाल)หรือชื่อทางการว่า สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล  (อังกฤษ: Federal Democratic Republic of Nepal; เนปาล: सङ्घीय लोकतान्त्रिक गणतन्त्र नेपाल " สงฺฆีย โลกตานฺตฺริก คณตนฺตฺร เนปาล") เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในเอเชียใต้ บริเวณเทือกเขาหิมาลัย มีพรมแดนติดกับทิเบตของจีน และประเทศอินเดีย เนปาลเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบราชาธิปไตย         มาเป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตยในปี พ.ศ. 2550 โดยก่อนปี พ.ศ. 2549  เนปาลเคยเป็นรัฐเดียวในโลกที่มีศาสนาฮินดูเป็นศาสนาประจำชาติ    รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันของเนปาลระบุให้ประเทศเป็นสาธารณรัฐโลกวิสัย        นอกจากศาสนาฮินดูที่คนเนปาลส่วนใหญ่นับถือแล้ว เนปาลยังเป็นที่ตั้งของศาสนสถานสำคัญของพุทธศาสนา คือลุมพินีวัน ที่ประสูติของพระโคตมพุทธเจ้า

                                 

      สภาพภูมิประเทศประกอบด้วยภูเขาสูงสลับซับซ้อน เป็นส่วนหนึ่งของแนวเขตเทือกเขาถนนธงชัยที่ทอดตัวตามแนวเหนือ-ใต้ ทอดตัวมาจากเทือกเขาหิมาลัยในประเทศเนปาล ...

       ก่อนปีพ.ศ. 2311 หุบเขากาฐมาณฑุ แบ่งออกเป็นสามอาณาจักร จนกระทั่งผู้นำเผ่ากุรข่า ปฤฐวี นารายัณ ศาห์ สามารถรวบรวมอาณาจักรในหุบเขาเข้าด้วยกัน และหลังจากนั้นได้ทำสงครามขยายอาณาเขตออกไป จนในปีพ.ศ. 2357-พ.ศ. 2359 เกิดสงครามอังกฤษ-เนปาล กองทัพกุรข่าพ่ายแพ้ ต้องทำสนธิสัญญาและจำกัดอาณาเขตเนปาลเหลือเท่าปัจจุบัน

       ในปีพ.ศ. 2491 ชัง พหาทุระ รานา ซึ่งเป็นขุนนางในประเทศ ยึดอำนาจจากราชวงศ์ศาห์ โดยยังคงราชวงศ์ศาห์ไว้เป็นประมุขแต่ในนาม ตระกูลรานา ได้รับการสนับสนุนจากสหราชอาณาจักร เนปาลได้ส่งกองทัพเข้าร่วมกับกองทัพบริเตนในหลายสงคราม ทำให้สหราชอาณา จักรทำสนธิสัญญามิตรภาพกับเนปาลในปีพ.ศ. 2466 ซึ่งในสนธิสัญญานี้ สหราชอาณาจักรได้ยอมรับเอกราชของเนปาลอย่างชัดเจน

       ในปีพ.ศ. 2494 เกิดการต่อต้านการปกครองของตระกูลรานา นำโดยพรรคเนปาลีคองเกรสและกษัตริย์ตริภุวัน ทำให้โมหัน สัมเสระ ชัง พหาทุระ รานา ผู้นำคนสุดท้ายของตระกูลรานาคืนอำนาจให้แก่กษัตริย์ศาห์ และจัดการเลือกตั้ง

       หลังจากเนปาลได้มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยในช่วงสั้นๆ โดยจัดการเลือกตั้งครั้งแรกในปีพ.ศ. 2502 แต่กษัตริย์มเหนทระได้ยุบสภา ยึดอำนาจในปีพ.ศ. 2503 และใช้ระบอบปัญจายัตแทน จนมาถึงการปฏิรูปการปกครองในปีพ.ศ. 2533 ทำให้เปลี่ยนจากระบอบปัญจายัต ที่ห้ามมีพรรคการเมือง มาเป็นระบอบรัฐสภาแบบพหุพรรค

      ในปีพ.ศ. 2539 พรรคคอมมิวนิสต์แห่งเนปาล (ลัทธิเหมา) ได้เปิดฉากสงครามประชาชน มีเป้าหมายที่จะสถาปนาสาธารณรัฐสังคมนิยมขึ้นแทนระบอบราชาธิปไตย นำมาซึ่งสงครามกลางเมืองซึ่งกินเวลายาวนานถึงสิบปี ในปีพ.ศ. 2544 เกิดเหตุสังหารหมู่ในพระราชวัง โดยเจ้าชายทิเปนทระ มกุฎราชกุมารในสมัยนั้น และกษัตริย์ชญาเนนทระได้ขึ้นครองราชสมบัติแทน ในปีพ.ศ. 2548 กษัตริย์ชญาเนนทระได้ยึดอำนาจจากรัฐบาล นำมาซึ่งการประท้วงจากประชาชนและพรรคการเมืองในเวลาต่อมา จนต้องคืนอำนาจให้กับรัฐสภา รัฐสภาเนปาลได้จำกัดพระราชอำนาจของกษัตริย์ และให้เนปาลเป็นรัฐโลกวิสัย (secular state)

      ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2550 รัฐสภาเนปาล ได้ผ่านกฎหมายที่จะเปลี่ยนเนปาลเป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตย โดยมีผลหลังการเลือกตั้งในปีพ.ศ. 2551

      ในวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 รัฐบาลเนปาลประกาศยกเลิกระบอบกษัตริย์ สถาปนาสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยขึ้น โดยกำหนดให้ชญาเนนทระและพระบรมวงศานุวงศ์ต้องเสด็จออกจากพระราชวังภายใน 15 วัน และกำหนดให้วันที่ 28 - 30 พฤษภาคม เป็นวันหยุดราชการ

           

       ชาวเนปาลออกมาเต้นรำเฉลิมฉลองการที่รัฐสภา ลงมติยกเลิกระบบกษัตริย์ สิ้นสุดราชวงศ์ชาห์อายุยาวนาน 240 ปี และเปิดศักราชใหม่ของระบบสาธารณรัฐ เมื่อ28พ.ค.2551


เศรษฐกิจ

        พื้นที่เกษตรกรรมมีเพียงร้อยละ 17 พืชที่สำคัญ ได้แก่ ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ ข้าวโพด ข้าวเจ้า พื้นที่ 2 ใน 3 ปกคลุมด้วยป่าไม้ มีการตัดไม้เพื่อเป็นวัตถุดิบของอุตสาหกรรมไม้อัด โรงงานอุตสากรรมขนาดเล็กที่แปรสภาพผลผลิตทางการเกษตร ได้แก่ โรงงานน้ำตาล โรงงานกระดาษ

รายได้ส่วนใหญ่ของประเทศ ได้มาจากการค้าแรงงานของชาวเนปาลีที่อยู่ต่างประเทศ และส่งเงินกลับมาให้กับครอบครัวที่อาศัยอยู่ในเนปาล

ธุรกิจการท่องเที่ยวมีจุดสนใจอยู่ที่การท่องเที่ยวเชิงผจญภัยและวัฒนธรรม เช่นการเดินเขา ปีนเขา และล่องแก่ง ตัวอย่างสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญในเนปาลก็มีอาทิ เช่น ยอดเขาเอเวอร์เรสต์ ,วัดปศุปฏินาถ ,วัดสวยมภูวนาถ ,พระราชวังกาฐมัณฑุ ,เมืองโพคารา ฯลฯ

                  http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/043/421/original_download_(1).jpg?1408936874" target="_blank">http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/043/421/default_download_(1)">http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/043... style="width: 267px;">                                               


นโยบายการลงทุน

         เนปาลเปิดให้มีการลงทุนต่างชาติโดยตรง   ( Foreign  Direct  Investment-FDI )    และการลงทุน  ในตลาดหุ้น (Portfolio or Indirect Investment)    ปัจจุบันมีการลงทุนต่างชาติซึ่งจดทะเบียนแล้วประมาณ 400 ราย มูลค่ารวม 53.3 ล้านรูปี และมีโครงการที่เสนอขอ FDI มากกว่า 700 ราย รวมมูลค่าประมาณ US$ 1.5 ล้าน ส่วนใหญ่เป็นนักลงทุนอินเดีย ( มากกว่า 35% ของโครงการทั้งหมด)  ตามมาด้วยอเมริกา ญี่ปุ่น จีน เยอรมัน และเกาหลีใต้ โดยส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในสินค้าอุปโภคบริโภค (โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าที่ส่งออกไปอินเดีย)     และการให้บริการท่องเที่ยว โรงแรม ร้านอาหารและเครื่องดื่ม พลังน้ำ การสำรวจแร่ อุตสาหกรรมเคมี เป็นต้น


ความสัมพันธ์ทางการค้ากับประเทศต่างๆ

การค้าระหว่างไทย-เนปาล

       การค้าทวิภาคีไทย-เนปาล (ปี 2552) มีมูลค่ารวม 78.86 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยไทยส่งออก 78.24 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และนำเข้า 0.62 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้ามาโดยตลอด ทั้งนี้ ไทยส่งออกเส้นใยประดิษฐ์ เสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องรับวิทยุและส่วนประกอบ และนำเข้าหนังดิบและ หนังฟอก ธัญพืชและธัญพืชสำเร็จรูปจากเนปาล การลงทุนระหว่างสองประเทศยังไม่มี เนปาลขอให้ไทยส่งเสริม ให้เอกชนไทยเข้าไปลงทุนในเนปาล โดยเฉพาะด้านอุตสาหกรรมผ้าไหม กาแฟ ผลผลิตทางการเกษตรเพื่อเพิ่มมูลค่า

เนปาลกับสหรัฐอเมริกา

       ประเทศทั้งสองมีความสัมพันธ์ทางการทูตในปี 2481    และมีความสัมพันธ์ทางการค้าตามสถานะของชาติที่ได้รับ MFN จากสหรัฐฯ และเนปาลได้รับความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจจากสหรัฐฯ ผ่านทางตัวแทนขององค์กรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ นอกจากนี้ สหรัฐฯ ยังได้เข้าจัดตั้งองค์กรธุรกิจหรือองค์กรเพื่อสังคมที่ไม่แสวงหากำไรในหลายสาขา อาทิเช่น CARE Save the Children Federation , United Mission to Nepal, Seventh Day Adventists, the Coca-Cola Corporation การส่งออกสิ่งทอจากเนปาลไปยังสหรัฐฯ ได้รับโควต้าตามความตกลงที่ลงนามในปี 2536 ซึ่งขยายเวลาให้เป็นปี 2544-2547 โดยการส่งออกสินค้าหัตถกรรม กรมศุลกากรของเนปาลจะประเมินมูลค่าการส่งออกตามคำแนะนำของ The Handicraft Association of Nepal

เนปาลกับอินเดีย

       ความสัมพันธ์ระหว่างอินเดียกับเนปาลเริ่มต้นหลังจากที่อินเดียได้รับเอกราชจากอังกฤษในปี 2491  ภายใต้สนธิสัญญา 2 ฉบับคือ Treaty of Sagauli   และ Treaty of Peace and Friendship ซึ่งเป็นความร่วมมือที่เน้นด้านความสัมพันธ์ทางการทูตและการเมืองรวมถึงด้านการพัฒนาทางเศรษฐกิจ โดยต่างให้สิทธิแก่คนในชาติของทั้งสองประเทศเท่าเทียมกัน ประเทศทั้งสองได้ลงนามในความตกลง Treaty of Trade and Commerce ปีค.ศ.1950 โดยอินเดียให้สิทธิแก่เนปาลในการนำเข้าส่งออกสินค้าผ่านดินแดนและท่าเรือของอินเดียโดยไม่มีการ เรียกเก็บภาษีผ่านแดน อินเดียยังออกกฎหมาย The Citizenship Act of 1952 ยินยอมให้คนอินเดีย อพยพมาเนปาลและได้รับสัญชาติของเนปาลได้ด้วย เช่นเดียวกันเนปาลก็เปิดโอกาสให้คนเนปาล อพยพไปยัง อินเดียได้โดยเสรี (แต่นโยบายนี้ได้เปลี่ยนไปแล้วเนื่องจากรัฐธรรมนูญของเนปาล) ทั้งนี้ ความตกลงทางการค้า (The Treaty of Trade) ซึ่งลงนามในปี 2534 และในปี 2545 ได้ขยายความ ร่วมมือต่อไปอีก 5 ปี จนกระทั่งถึงปี 2550 อินเดียยังได้ตั้งฐานทัพในเนปาลและมีบันทึกความเข้าใจเพื่อความร่วมมือในการดำเนินนโยบายต่างประเทศ ทำให้ประชาชนและรัฐบาลเนปาลไม่ค่อยพอใจกับการมีอิทธิพลเพิ่มมากขึ้นของอินเดียในประเทศเนปาล ทั้งด้านการเมือง การทหาร และการค้า ดังนั้น เนปาลจึงหันไปมีความสัมพันธ์กับจีนมากขึ้นเพื่อถ่วงดุลการมีอิทธิพลของอินเดีย และทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างอินเดียกับเนปาลไม่ดีเท่าใดนัก

ในปัจจุบัน ประเทศทั้งสองได้เริ่มปรับท่าทีเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและเน้นด้านการค้ามากยิ่งขึ้น โดยอินเดียยอมผ่อนปรนตกลงทำสัญญาที่ไม่เป็นลักษณะต่างตอบแทน โดยอินเดียได้ให้สิทธิประโยชน์ทางการค้าอย่างมากกับเนปาล และมีการแก้ไขปรับปรุงสนธิสัญญาว่าด้วยการค้าเป็นระยะๆ ภายใต้สนธิสัญญานี้ เนปาลสามารถส่งออกสินค้าไปยังอินเดียโดยไม่ต้องเสียภาษีและไม่มีข้อจำกัดด้านปริมาณ

ในเดือนกุมภาพันธ์ 2546 ได้มีการแก้ไขสนธิสัญญาเพื่อขยายความผูกพันทางการค้าสองฝ่ายให้มากยิ่งขึ้น โดยมีรายละเอียดในเรื่องกฎเกณฑ์ว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้าและการตีมูลค่าที่มีความโปร่งใส สินค้าประเภท Sensitive Product บางรายการสามารถนำเข้าอินเดียได้โดยปลอดภาษี

ความสัมพันธ์ระหว่างเนปาลกับอินเดีย มีทั้งด้านการเมือง เศรฐกิจ ศาสนา และวัฒนธรรม ชาวเนปาลกับอินเดียแต่งงานกันเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ การท่องเที่ยวเชิงศาสนาศึกษาระหว่างสองประเทศก็มีมาช้านานแล้ว

สินค้าภายใต้ความตกลงนี้รวมไปถึงสินค้าขั้นปฐมและสินค้าอุตสาหกรรมอื่นที่ผลิตในเนปาลจะได้รับการยกเว้น basic custom duties และได้รับโควต้าพิเศษ สำหรับสินค้าประเภท acrylic yarn, copper products, vegetable fats and zinc oxide ต้องได้รับใบอนุญาตแหล่งกำเนิดสินค้าซึ่งออกโดย FNCCI

เนปาลกับจีน

       จีนมีความสัมพันธ์ทางการค้ากับเนปาลเทียบเท่ากับที่จีนมีความสัมพันธ์ทางการค้ากับอินเดีย    เนปาลคาดว่าการแข่งขันของประเทศเพื่อนบ้านยักษ์ใหญ่ระหว่างจีนกับอินเดียจะทำให้เก



ความเห็น (3)

อนุทินเป็นการเขียนสั้น ๆ ครับ … หากยาวเกินไป ควรเขียนเป็น “บันทึก”

ขอบคุณนะครับที่ช่วยแนะนำ พอดีผมทำส่งงานอาจารย์ในรายวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ  

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท