อนุทิน 13636


กวิน
เขียนเมื่อ

สวัสดีครับท่านอาจารย์ ธ.วั ช ชั ย   @13621 

พอดีผมเขียน     สัมมาทิฐิ + มิจฉาทิฐิ ไว้ที่อนุทิน @13593 และในบล็อก @190469
ที่ถูกควรเขียนว่า สัมมาทิฐิ   + มิจฉาทิฐิ

ที่เขียน ซ้อน ตัว เพราะต้องการให้ออกเสียงว่า ทิด-ถิ แต่บกพร่องผิดพลาด ก็เพราะผมไม่ได้ตรวจทานกับพจนานุกรม ว่าคำว่า ทิฐิ คำนี้ภาษาบาลี เขียน ทิฏฐิ  ภายหลังไทยรับคำว่า ทิฏฐิ  จากภาษาบาลี เข้ามาใช้ แต่ตัด ทิ้ง โดยตรวจทานกับพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ออนไลน์ ได้ความว่า 

ทิฐิ  [ทิดถิ] น. ความเห็น เช่น สัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ มิจฉาทิฐิ ความเห็นผิด; ความอวดดื้อถือดี เช่น เขามีทิฐิมาก. (ป. ทิฏฺ??; ส. ทฺฤษฺฏิ).

กรณีนี้คำว่า ทิฐิ  นี้คล้ายกับคำว่า วิชา ที่เดิมภาษาบาลี เขีนว่า วิชฺชา (อ่านว่า วิด-ชา) ไทยรับคำว่า วิชฺชา จากภาษาบาลี เข้ามาใช้ แต่ตัด ทิ้ง ทำให้ปัจจุบัน ออกเสียงเลือนไปว่า วิ-ชา แทนที่จะออกเสียงว่า วิด-ชา

วิชา [วิดชา] น. ความรู้, ความรู้ที่ได้ด้วยการเล่าเรียนหรือฝึกฝน, เช่น วิชาภาษาไทย  วิชาช่าง วิชาการฝีมือ. (ป. วิชฺชา; ส. วิทฺยา). 

ขอบคุณอาจารย์มากๆ ครับที่ช่วยทักท้วง+ตรวจทานคำผิด ครับ ฮาๆเอิ๊กๆ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท