อนุทิน 132766


ต้นโมกข์
เขียนเมื่อ

3. ตัวหมายที่ล่องลอย (free floating signifier), ตัวหมายถึงที่หลากหลาย (multiple signifieds), และของแทนที่ (substituted referent)

1. ตัวหมายที่ล่องลอย (free floating signifier) 

     อันนี้เราได้แนวคิดเรื่องนี้จาก Jacques Derrida ซึ่งเป็นเจ้าคิดเรื่องการรื้อสร้าง (deconstruction) Derrida ได้ใช้การรื้อสร้างเข้าไปสืบค้นปรัชญาตะวันตกทุกแขนง โดยเขาชี้แจงว่าที่ปรัชญาตะวันตกแตกแยกออกไปหลายแขนง เช่น บางพวกบอกว่ามีจิต บางพวกบอกว่ามีแต่วัตถุ บางพวกบอกว่าเรารับรู้ได้แต่ในประสาทสัมผัสเท่านั้น แต่บางพวกก็บอกว่าเหตุผลนั่นแหละเป็นตัวให้ความรู้ ฯลฯ อย่างไรก็ตามเขาพยายามสรุปว่าปรัชญาทุกแขนงพยายามแต่จะหา สิ่งที่เป็นแก่นแท้ (essence), เป็นเนื้อใน (substance), สัจธรรม (truth), รูปแบบ (form), จุดเริ่มต้น (beginning), จุดจบ (end), จุดประสงค์ (purpose), มนุษย์, พระเจ้า, จิตสำนึก (conscious), สัต (being), การมีอยู่ (presence) และจุดศูนย์กลาง (center) ในรูปใดรูปแบบหนึ่งทั้งสิ้น อย่างเช่น เราพยายามจะหาจุดศูนย์ในสัญญะ ดังตัวอย่างข้างบน แต่สุดท้ายเราก็ได้จุดศูนย์กลางตัวใหม่มาแทน (เพราะจุดศูนย์อันเดิมใช้ไม่ได้ ก็เลยต้องหาจุดศูนย์กลางอันใหม่ แต่จุดศูนย์กลางอันใหม่ก็จะเป็นอันเก่าอีก รอคอยให้จุดศูนย์อันใหม่มาทดแทน

     จุดมุ่งหมายของการรื้อสร้างก็คือ ในการหาศูนย์กลางอันใหม่ๆไปเรื่อยๆเป็นการทำความรุนแรงให้กับศูนย์กลางอันเดิม การรื้อสร้างจึงเป็นการนำเสนอการละเล่น (play) หรือ ความหลากเลื่อน (Differance) การละเล่นและความหลากเลื่อนเป็นทั้งโครงสร้างและการเคลื่อนไหว ที่ไม่ได้วางอยู่บนพื้นฐานแบบคู่ตรงกันข้าม แต่จะเป็นการละเล่นที่เป็นทั้งระบบของความแตกต่าง (differ) ของร่อยรอยของความแตกต่าง (trace) ของพื้นที่ที่องค์ประกอบต่างๆเข้ามามีปฏิสัมพันธ์กัน พื้นที่ที่มีลักษณะของความตื่นตัว (active) และเฉื่อยชา (passive)ไปพร้อมกัน เพื่อร่วมกันผลิตช่องว่างที่จะช่วยเติมเต็มให้กับสรรพสิ่ง การละเล่นหรือความหลากเลื่อนจึงผลิตหรือสร้าง พื้นที่ของการกำลังจะเกิด การกำลังจะเป็น (a becoming spece) ซึ่งทำให้เกิดความเป็นไปได้ในลักษณะต่างๆที่ไปไม่ได้กับการเป็นคู่ตรงกันข้าม เช่น การปรากฏที่ไม่ปรากฏ หรือ จุดศูนย์ที่ปราศจากศูนย์กลาง เป็นต้น 

     กลับมาที่เรื่องของเรา คำว่า ตัวหมายที่ล่องลอย (free floating signifier) หมายถึง ตัวหมาย (signifier) ที่ไม่มีตัวหมายถึง (signified) ลองดูถ้าเราเปิดพจนานุกรม คำว่าหมาหรือสุนัขจะได้ใจความว่า เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Canidae ออกลูกเป็นตัว ถ้าเราลองเปิดคำว่าเป็น สัตว์ เลี้ยง ลูก เราก็จะเจอความหมายใหม่ๆเข้ามาหาเราจนนับไม่ถ้วน นี่แหละที่ Derrida บอกว่าเราความหลากเลื่อนเป็นทั้งแตกต่าง (differ) และ ผ่อนผ่อนจากความหมาย (defer) ที่นี้ในวาทกรรมว่าประชาธิปไตยนั้น ตัวมันเองเกิดจากสังคมตะวันตกในยุคศตวรรษที่ 19 ถึงต้นศตวรรษที่ 20 ข้ามน้ำข้ามทะเล ผ่านความเป็นอาณานิคมหรือกึ่งอาณานิคมจนมาถึงเรา แน่นอนว่าวาทกรรมประชาธิปไตยย่อมได้รับการขัดเกลา ตกแต่ง ดัดแปลง ให้เข้ากับวัฒนธรรมในแต่ละประเทศอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

(ในทฤษฎีเกี่ยวกับการรื้อสร้าง (deconstruction) Derrida ได้อ้างว่าบุคคลแต่ละคนมีอารมณ์แตกต่างกัน, มีภูมิหลังแตกต่างกัน, และมีวิธีการที่จะมีประสบการณ์กับสิ่งต่างๆต่างกัน, มีคำและวิธีการใช้คำต่างกัน ดังนั้นบุคคลแต่ละคนจึงมีความคิดแตกต่างกันในแต่ละบุคคล
 ความหลากเลื่อน (Difference) เป็นการเล่นกับคำกริยาของคำว่า differer ซึ่งมีความหมายว่าผัดผ่าน (defer) และ แตกต่าง (differ) Derrida ใช้ทั้งสองความหมายนี้ในการบรรยายถึงความคิดรวบยอดของเขา Derrida เสนอว่ากับคำทั้งหลาย ความหมายจะถูกผัดผ่อน (to be deferred) ออกไป เพราะคำแค่คำเดียวไม่สามารถให้ความหมายหรือการพรรณนาที่สมบูรณ์ได้ คำแค่คำเดียวจะต้องใช้คำอื่นๆเพื่อที่จะสร้างบริบท (context) ของมัน ดังนั้นความหมายของคำใดคำหนึ่งจะต้องเพิ่มข้อมูลอื่นๆจึงจะทำให้ความหมายนั้นเป็นภาพที่สมบูรณ์ได้ ยกตัวอย่างาเช่น คำว่าบ้าน (house) คำนี้ไม่มีความหมายที่สมบูรณ์ แต่ถ้ามันเป็นทำเนียบขาว (the White House) หรือ บ้านสุนัข (dog house) ความหมายของมันจึงจะสมบูรณ์


    ในความหมายที่ 2 ก็คือคำว่า แตกต่าง (differ) Derrida เสนอว่า คำเฉพาะคำนี้สามารถที่จะสร้างความแตกต่างให้กับความคิดต่างๆที่เฉพาะขึ้นด้วย เช่น คำว่าบ้าน (house) ก็สามารถนำภาพที่มากกว่าบ้านที่เราเคยรู้จัก เช่น อาจเป็นกระท่อมเล็กๆ (hut), กระท่อม (shack), บ้าน (house), หรือแม้แต่คฤหาสน์ (mansion) คำต่างๆที่เราใช้เฉพาะมีผลกับภาพที่เราสร้างสรรค์ จึงทำให้มันแตกต่างไปจากคนอื่นๆที่มีภาพเดียวกัน)

Cr. เกษียร เตชะพีระ. การเมืองวัฒนธรรมว่าด้วยประชาธิปไตย : บทนำเปรียบเทียบเชิงทฤษฎี ในรััฐศาสตร์สาร ปีที่ 19 ฉบับที่ 1 มีนาคม 2537
ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร.(2553).แนะนำสกุลความคิดหลังโครงสร้างนิยม. โรงพิมพ์การดี: กรุงเทพฯ 



ความเห็น (2)

โจทย์.. ถ้าเราได้ค่าของ Analogy ต่อกระบวนการของ Logic ความหลากเลื่อน (Difference) เป็นการเล่นกับคำกริยาของคำว่า differer ซึ่งมีความหมายว่าผัดผ่าน (defer) และอาจ แตกต่าง (differ)นั้นต่อผลลัพท์รัฐศาสตร์แห่งปรัชญาแล้วเปรียบเทียบกับกระบวนการทำอาหารด้านปรัชญาเช่นกันจะได้ค่าAnalogyหรือไม่เช่น สมัยเมื่อกระผมเรียนอยู่ชั้น ม.1 ไม่ใช่ชั้น มศ.1 ครูให้ใช้คำว่าข้าวเลื่อนแทนคำว่าข้าวผัด แต่ถ้าเป็นข้าวหลากเลื่อนกระบวนการตรรกเป็นว่าข้าวผัดรวมมิตรถ้่าไม่คิดการใช้คุณศัพท์รวมเทียบเชิงทฤษฎีในรััฐศาสตร์.. ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท