อนุทิน 12090


กวิน
เขียนเมื่อ

219 ต้องเลือกข้าง@ 188569 โดยคุณ พลเดช วรฉัตร

เราโลกเรามีทั้ง ข้างขาว ข้างดำ ข้างดำ ใช่ว่าดำทั้งหมด แต่มีจุดขาวอยู่หน่อยหนึ่ง ข้างขาว ใช่ว่าขาวทั้งหมด แต่มีจุดดำอยู่หน่อยหนึ่ง

180px-yin_yang_svg

จำนง เทพหัสดินทร์ ณ อยุธยา อรรถาธิบายถึง คุณสมบัติที่ใช้คนได้ทุกประเภทนั้นจะเกิดขึ้นได้อย่างไร? ในหนังสือเรื่อง อำนาจอยู่หนใด ชีวประวัติที่เหมือนนวนิยายของนักปกครองชั้นครู 7 ท่าน หน้า 113-114 มีใจความว่า

มาถึงตอนนี้ทำให้นึกถึงประวัติศาสตร์จีน นักประวัติศาสตร์ยอมรับกันว่า ยุคที่รุ่งเรืองที่สุดของจีน คือยุคราชวงศ์ถังและกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของราชวงศ์นี้ก็คือ หลีซีบิ๋น หรือ ถังไท่จง หลีซีบิ๋น เป็นราษฎรสามัญ แต่ได้รวบรวมกำลังได้เข้มแข็ง สถาปนาราชวงศ์และยกพระบิดาขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์ หลีซีบิ๋นได้รับการยกย่องว่าเป็นนักปกครองที่ยอดเยี่ยมของจีน ยุคนี้จีนสามารถขยายดินแดนออกไปอย่างกว้างไกลที่สุด ไปถึงแมนจูเลีย เกาหลี ทิเบต และกวางตุ้ง งิ้วก็ดี ภาพยนต์ก็ดีมักจะเอาเรื่องราวที่เกิดขึ้นในสมัยพระองค์มาเล่น เช่นเรื่องของ ซิยิ่นกุ้ย ซิเต็งกัน บูเช็กเทียน ในการรบทัพจับศึก ฮ่องเต้องค์อื่นๆ ก็ส่งแต่กองทัพไปรบ พระองค์อยู่ในพระราชวัง แต่หลีซีบิ๋น ชอบออกไปอยู่กับกองทัพ เพลิดเพลินกับทหาร พวกเสนาแม่ทัพบางคนไม่ได้ร่ำเรียนอะไรมา ซ้ำยังมุทะลุ อย่าง ซิยิ่นกุ้ย บางคนก็แก่แต่ยังอ้างตนว่าเป็นเสือเก่า อย่างเช่น เทียกากิม แต่หลีซีบิ๋นก็ทรงเลี้ยงและใช้คนเหล่านี้ให้เป็นประโยชน์ได้เสมอ กษัตริย์องค์นี้จึงได้รับการยกย่องว่าเป็นยอดทางการปกครอง ในข้อที่สามารถใช้คนได้ทุกประเภทการปฏิบัติพระองค์โดยโดดลงไปคลุกคลีกับกับไพร่พลถึงลูกถึงคนเช่นนี้ไม่ว่าจะเป็นวงการทหารหรือวงการปกครองย่อมนำมาซึ่งความประทับใจจากผู้ใต้ปกครองเสมอ ในวิชาสังคมวิทยา เรายอมรับกันว่าในสังคมแต่ละแห่งย่อมมีเสี้ยวหนึ่งที่เรียกว่า สังคมพิการ ไม่ว่าประเทศใด สมัยใด มนุษย์ที่เกิดมามีจำนวนหนึ่งต้องกลายเป็นอาชญากร เป็นอันธพาลเป็นโสเภณี ดังนั้นคุกตารางแม้จะตั้งมาแล้วสองสามพันปี ก็ยังเลิกไม่ได้ บุคคลประเภทนี้ถ้าเกิดจากครอบครัวที่มีอันจะกิน หรือได้รับการศึกษาดี ก็อาจจะได้ทำงานในตำแหน่งที่สำคัญแต่นิสัยดั้งเดิมเป็นอันธพาล เอาเปรียบ เบียดเบียน ชอบอบายมุขเหล่านี้ยังมีเหลืออยู่ จึงไม่แปลกที่เราเห็น เสือ สิงห์ กระทิง แรด ในวงการเมือง ในวงการราชการอยู่เสมอ คุณสมบัติที่ใช้คนได้ทุกประเภทนั้นจะเกิดขึ้นได้อย่างไร? 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท