อนุทิน 11866


กวิน
เขียนเมื่อ

เมืองหลวงพระบาง@ th.wikipedia

ในสมัยพระโพธิสารราชเจ้าพระองค์ได้อาราธนาพระบาง (พระพุทธสิหิงค์ ) ซึ่งเดิมประดิษฐานอยู่ที่เมืองเวียงคำ ขึ้นมาประดิษฐานอยู่ที่เมืองเชียงทองอันเป็นนครหลวง เมืองเชียงทองจึงถูกเรียกว่า (เมือง)หลวง พระบาง นับแต่นั้นมา

ถึงคุณหมอ มัทนา  @11829 + @11834 อ่าน อนุทินคุณหมอ เกิด อัชฌัตติกญาณ (intuition) หลวงพระบาง=หลวงพะบาง ในทรรศนะส่วนตัว เห็นว่า การตั้งชื่อเมืองหลวง นิยมตั้งชื่อเมืองตามสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือสภาพภูมิประเทศ เช่น ตั้งชื่อว่าเมือง นครปฐม เพราะมี องค์พระปฐมเจดีย์ เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง  ตั้งชื่อว่าเมือง ปทุมธานี (เพราะบริเวณเมืองมีดอกบัว)  สำหรับสาเหตุที่เขียน หลวงพระบาง=หลวงพะบาง ต่างกันก็เพราะ อักขรวิธีของลาวนั้นนิยม สะกดตรงตัว/ตรงมาตรา เช่นไทยเขียน  ประเทศ ลาวเขียน  ประเทด ในสมัย จอมพลแปลก พิบูลสงคราม ถูกเรียก ว่าเป็น ยุคอักษรวิบัติ เพราะนำ อักขรวิธีแบบลาวมาใช้เป็นภาษาราชการ (สาเหตุเพราะสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยยอมให้ญีปุ่นยาตราทัพผ่านประเทศไทย อนึ่งญี่ปุ่นอ้างว่า ภาษาไทยเขียนและอ่านยาก จึงจะให้ประเทศไทยใช้ภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาราชการ จอมพลแปลก พิบูลสงคราม จึงอธิบายกับตัวแทนรัฐบาลญี่ปุ่นว่า ประเทศไทยมีอักขรวิธีอีกแบบหนึ่งที่อ่าน และเขียนง่าย ก็คือ อักษรวิธีแบบของลาวนั่นเอง ด้วยเหตุนี้นักปราชญ์ราชบัณฑิต จึงเรียกการใช้อักขรวิธีในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ว่าเป็น ยุคอักษรวิบัติ)

สำหรับ จังหวัดนครสวรรค์ มีชื่อเรียกเดิมหลายชื่อ เช่น เมืองพระบาง เมืองชอนตะวัน และปากน้ำโพ เมืองนครสวรรค์สันนิษฐานว่าตั้งขึ้นในสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี โดยปรากฏชื่อในหลักศิลาจารึกเรียกว่า "เมืองพระบาง" สืบเนื่องมาจากพระพุทธรูปสำคัญองค์หนึ่งคือ พระบาง (พระพุทธสิหิงห์) ซึ่งเคยได้มาประดิษฐาน ที่เมืองเป็นการชั่วคราว



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท