อนุทิน 113278


P. Rinchakorn
เขียนเมื่อ

      ในทัศนะของคนส่วนใหญ่ในปัจจุบันมองว่า :

                 หากเป็นด้านมูลค่า... อริยทรัพย์ < โภคทรัพย์ (โลกีย์ทรัพย์)

                 หากเป็นเป็นด้านคุณค่า...อริยทรัพย์ > โภคทรัพย์ (โลกีย์ทรัพย์)

       แต่หากถามว่าอยากได้อะไรมากกว่า...คนส่วนใหญ่ก็จะตอบว่า “โภคทรัพย์หรือโลกียทรัพย์” เพราะคิดว่าสิ่งไหนที่มีมูลค่า (ที่เกิดความต้องการมาก) ท้ายที่สุดก็จะถูกสังคมตีตราประทับรับรองในการสร้างคุณค่าเพิ่มขึ้นมาเองโดยอัตโนมัติ (จากมือที่มองไม่เห็น)...นี่คือค่านิยมที่อันตรายในสังคมปัจจุบันที่จับเอาคุณค่าไปเป็นตัวประกัน (ตัวแปร) หนึ่งในสมการมูลค่า...ทำให้เกิดการสร้าง คุณค่าเทียม (เชิงสัญลักษณ์) ขึ้นมามากมาย

        แท้ที่จริงแล้ว อริยทรัพย์ คือ หัวใจหลักสำคัญในการบริหารโภคทรัพย์  

     

  ขอบคุณ คุณปริม สำหรับการเดินทางสู่ปัญญาที่งดงามด้านคุณค่าผ่านบันทึก http://www.gotoknow.org/blogs/posts/501077

 



ความเห็น (4)

ขอบคุณข้อคิดดีดีตามเคยค่ะท่านอาจารย์

มีความสุขในวันทำงานอีกวันนะคะ :)

ขอบคุณคะ ทำให้ระลึกว่า คุณค่าของคนที่ทำบุญเป็นเงินล้าน กับคนที่ทำบุญร้อยบาท สามารถเท่ากัน (หรือไม่?)

ขอบคุณมากครับคุณปริม... 

คงจะดีไม่น้อยหากสมการจะเป็นแบบนี้ ตามหลักของความสมดุล

หากเป็นด้านมูลค่า... อริยทรัพย์ = โภคทรัพย์ (โลกียทรัพย์)

ตามประสาคนธรรมดาที่ยังมีกิเลสครอบงำอยู่ก็คิดว่าอย่างน้อยหากมีโลกียทรัพย์มากเราก็สามารถนำไปใช้ในการส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมที่จะส่งผลไปยังการพัฒนาด้านอริยทรัพย์ และเมื่อมีอริยรัพย์แล้ว เราก็ใช้อริยทรัพย์บริหารโภคทรัพย์  ไม่แน่ใจว่าคิดถูกหรือเปล่าตอนนี้คิดไปถึงขวัญใจในสมัยพุทธกาลของปริม ท่านอนาถปิณฑิกะเศรษฐีค่ะ ว่าทานใช้ใช้หลักการโภคทรัพย์สร้างอริยทรัพย์และใช้อริยทรัพย์บริหารโภคทรัพย์ หรือเปล่า

เห็นด้วยกับคุณปริมครับ...หากบริหารจัดการให้สมดุลทั้งอริยทรัพย์และโภคทรัพย์ก็เป็นสิ่งที่สนับสนุนเกื้อกูลซึ่งกันและกัน...


ขอบคุณมากครับ อาจารย์หมอ ป. 

อืม...น่าคิดครับ...

ผมมีบุญมาฝากครับ ก้าวไปในบุญ : พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท