อนุทิน 107303


ยุพิน
เขียนเมื่อ

นางสาวยุพิน ปัญญาประชุม สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาการศึกษา รหัสนักศึกษา 55421231115 สรุป เรื่องการทดสอบประสิทธิภาพสื่อและชุดการสอน ด้วย E1/E2 Model
บรรยายโดย ศาสตราจารย์ ดร.ชัยยงค์ พรหมวงศ์

ความหมายของการทดสอบประสิทธิภาพ การทดสอบประสิทธิภาพ หมายถึง การนำสื่อหรือชุดการสอนไปทดสอบด้วยกระบวนการสองขั้นตอน คือ การทดสอบประสิทธิภาพเบื้องต้น (Try out) การทดสอบประสิทธิภาพจริง (Trial run) เพื่อหาคุณภาพของสื่อว่า ทำให้ผู้เรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น ช่วยให้ผู้เรียนผ่านกระบวนการเรียน และทำแบบประเมินสุดท้ายได้ดี และการทำให้ผู้เรียนมีความพึงพอใจ นำผลที่ได้มาปรับปรุงแก้ไข ก่อนที่จะผลิตออกมาเผยแพร่เป็นจำนวนมาก

การกำหนดเกณฑ์ประสิทธิภาพ

เกณฑ์  หมายถึง  ขีดกำหนดที่จะยอมรับว่า  สิ่งใดหรือพฤติกรรมใดมีคุณภาพและหรือปริมาณที่จะรับได้  การตั้งเกณฑ์ตั้งไว้ครั้งแรกครั้งเดียว  เนื่องจากเป็นเกณฑ์ต่ำสุด  หากผลสูงกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 หรืออนุโลมให้มีความคลาดเคลื่อนต่ำหรือสูงกว่าค่าประสิทธิภาพที่ตั้งไว้  2.5 ก็ให้ปรับเกณฑ์ขึ้นไปอีกช่วงหนึ่ง  แต่หากได้ค่าต่ำกว่าค่าประสิทธิภาพที่ตั้งไว้  ต้องปรับปรุง  นำไปทดสอบประสิทธิภาพการใช้หลายครั้งในภาคสนามจนได้ค่าถึงเกณฑ์ที่กำหนด
เกณฑ์ประสิทธิภาพ  หมายถึง  ระดับประสิทธิภาพของสื่อหรือชุดการสอนที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม  เป็นระดับที่ผลิตสื่อหรือชุดการสอน  จะพึงพอใจว่าสื่อหรือชุดการสอนนั้นมีคุณค่าที่จะนำไปสอนนักเรียน  และคุ้มค่าการลงทุนผลิตออกมาเป็นจำนวนมาก

การกำหนดเกณฑ์ประสิทธิภาพกระทำได้โดยการประเมินผลพฤติกรรมผู้เรียน 2 ประเภท คือ

ประเมินพฤติกรรมต่อเนื่อง  คือ  ประเมินผลต่อเนื่อง  ซึ่งประกอบด้วยพฤติกรรมย่อยของ

ผู้เรียนเรียกว่า กระบวนการ (Process) เกิดจากการประกอบกิจกรรมกลุ่ม กำหนดค่าประสิทธิภาพ
E1 = Efficiency of Process (ประสิทธิภาพของกระบวนการ)

ประเมินพฤติกรรมสุดท้าย  คือ  ประเมินผลลัพธ์  (Product)  ของผู้เรียนโดยพิจารณาจาก

การสอนหลังเรียนและการสอบไล่ กำหนดค่าประสิทธิภาพเป็น E2 = Efficiency of Product (ประสิทธิภาพของผลลัพธ์)

E1/E2  =  ประสิทธิภาพของกระบวนการ/ประสิทธิภาพของผลลัพธ์  การกำหนดเกณฑ์  E1/E2  ให้มีค่าเท่าใดนั้น  ให้ผู้สอนเป็นผู้พิจารณาตามความพอใจ  โดยพิจารณาพิสัยการเรียนที่จำแนกเป็น วิทยพิสัย  (Cognitive  Domain)  จิตพิสัย  (Affective  Domain)  และทักษพิสัย  (Skill  Domain)

วิธีการคำนวณประสิทธิภาพ กระทำได้ 2 วิธี คือ
1. โดยวิธีการใช้สูตรในการคำนวณ 2. โดยการใช้วิธีการคำนวณธรรมดา

การตีความหมายผลการคำนวณค่า E1/E2

ความคลาดเคลื่อนของผลลัพธ์  ให้มีความคลาดเคลื่อนหรือความแปรปรวนของผลลัพธ์ได้ไม่เกิน  .05  (ร้อยละ)  จากช่วงต่ำไปสูง  =  ± 2.5  นั่นคือผลลัพธ์ของค่า   E1 หรือ  E2  ที่ถือว่า  เป็นไปตามเกณฑ์  มีค่าต่ำกว่าเกณฑ์ได้  2.5%  และสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ไม่เกิน  2.5%  หากคะแนน  E1 หรือ E2  ห่างกันเกิน 5 %  แสดงว่ากิจกรรมที่ให้นักเรียนทำกับการสอนหลังเรียนไม่สมดุลกัน  หากสื่อหรือชุดการสอนได้รับการออกแบบและพัฒนาอย่างดีมีคุณภาพ  ค่า E1 และ E2  จะต้องใกล้เคียงกันและห่างกันไม่เกิน 5 %

ขั้นตอนการทดสอบประสิทธิภาพ

 การทดสอบประสิทธิภาพแบบเดี่ยว (1:1)  เป็นการทดสอบประสิทธิภาพที่ผู้สอน 1 คน

ทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอนกับผู้เรียน 1-3 คน โดยใช้เด็กอ่อน ปานกลาง หรือเด็กเก่ง ให้ดีขึ้น คะแนนที่ได้ในขั้นนี้ประมาณ 50-60 %

 การทดสอบประสิทธิภาพแบบกลุ่ม (1:10)  เป็นการทดสอบประสิทธิภาพที่ผู้สอน 1 คน  

ทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอนกับผู้เรียน 6-12 คน (คละผู้เรียนเก่ง ปานกลาง และอ่อน) คะแนน E1/E2 ที่ได้จะมีค่าประมาณ 60-70 %

 การทดสอบประสิทธิภาพภาคสนาม (1:100)  เป็นการทดสอบประสิทธิภาพที่ผู้สอน 1 คน

ทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอนกับผู้เรียนทั้งชั้น (30 คนขึ้นไป แต่ไม่ต่ำกว่า 15 คน) ผลลัพธ์ควรใกล้เคียงกับเกณฑ์ที่ตั้งไว้ หากต่ำจากเกณฑ์ไม่เกิน 2.5 % ให้ยอมรับว่าสื่อหรือชุดการสอนมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ หากต่ำกว่าเกณฑ์มากกว่า -2.5 ให้ปรับปรุงทดสอบภาคสนามซ้ำ หากสูงกว่าไม่เกิน +2.5 ก็ยอมรับ หากสูงกว่าเกิน +2.5 ให้ปรับเกณฑ์ขึ้นไปอีกขั้นหนึ่ง ข้อควรคำนึงในการทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน

 การเลือกผู้เรียนเข้าร่วมประสิทธิภาพ  ควรเลือกตามแนวทางการสุ่มตัวอย่างที่ถูกต้อง
เวลาและสถานที่ต้องเหมาะสมกับผู้เรียน
มีการชี้แจงวัตถุประสงค์และวิธีการ
ต้องรักษาสภาพการณ์ให้เหมือนที่เป็นอยู่ในห้องเรียนทั่วไป
ครูจะต้องดำเนินการสอนตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในแต่ละระบบการสอน

ปัญหาที่พบจากการทดสอบประสิทธิภาพ

 นักวิชาการรุ่นหลังนำแนวคิดทดสอบประสิทธิภาพที่พัฒนาโดย  

ศาสตราจารย์ ดร.ชัยยงค์ พรหมวงศ์ มาเป็นของตนเอง โดยเขียนเป็นบทความหรือตำราแล้วไม่มีการอ้างอิง

นักวิชาการนำ  E1/E2  ไปเป็นของฝรั่ง
 นักวิชาการไม่เข้าใจหลักการของการตั้งเกณฑ์ประสิทธิภาพ
ไม่เข้าใจความสัมพันธ์ของ E1 และ E2   ทั้งสองค่าควรใกล้เคียงกัน
นักวิชาการบางคนเขียนเผยแพร่ว่า E1 ควรมากกว่า  E2 ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท