ไพฑูรย์
นาย ไพฑูรย์ แอ็ด เขียวรัตน์

อนุทิน 106280


ไพฑูรย์
เขียนเมื่อ

การพัฒนาโปรแกรมการฝึกการอบรมตามแนวทางไตรสิกขา เพื่อเสริมสร้างความมีวินัยในตนเอง

................................................................

การพัฒนาโปรแกรมการฝึกการอบรมตามแนวทางไตรสิกขา เพื่อเสริมสร้างความมีวินัยในตนเอง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
Development of a trisikkha-based training program to enhance Prathom Suksa five students' self-discipline

วิจัยโดย วิลาพัณย์ อุรบุญนวลชาติ

ครุศาสตรมหาบัณฑิต
ปริญญาโท
ประถมศึกษา
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมการฝึกอบรมตามแนวทางไตรสิกขาเพื่อเสริมสร้าง ความมีวินัยในตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 การดำเนินการวิจัยมี 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน 2) การสร้างโปรแกรมการฝึกอบรมตามแนวทางไตรสิกขาเพื่อเสริมสร้าง ความมีวินัยในตนเอง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 3) การดำเนินการทดลองใช้โปรแกรม และ 4) การปรับปรุงแก้ไขโปรแกรม กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2549 โรงเรียนจารุศรบำรุง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ปทุมธานี เขต 1 จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ ความมีวินัยในตนเองของนักเรียน และแบบประเมินพฤติกรรมความมีวินัยในตนเองของนักเรียน ตามการรับรู้ของครู วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบ ค่าที ระยะเวลาทดลอง 7 สัปดาห์ ผลการวิจัยพบว่า 1. หลังเข้าร่วมโปรแกรม นักเรียนมีค่าเฉลี่ยของ คะแนนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความมีวินัยในตนเอง สูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. หลังเข้าร่วมโปรแกรม นักเรียนมีค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรม ความมีวินัยสนในตนเองที่ได้จากแบบประเมินพฤติกรรมความมีวินัยในตนเองตามการรับรู้ของครู สูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
        This research aimed at developing a TRISKKHA-BASED training program to enhance Prathom Suksa Five students self-discipline. The research involved 4 stages: 1) Basic data study ; 2) A development of TRISKKH-BASED training program to enhance Prathom Suksa Five students self-discipline; 3) Program test; 4) Program modification. The subjects included 20 students of Prathom Suka Five academic year 2006 in Charusorn Bamrung School under the Pathumthani Provincial Education District 1, Klongluang District, Pathumthani Province The research instruments were cognition scale of students self-discipline and behavioral scale of students self-discipline as perceived by teacher. Data were analyzed by using mean, standard deviation, and t-test. The duration in experimental program was 7 weeks. The findings indicated as follows: 1. The post-test mean score of students; self-disciplinary cognition from cognition scale of students; self-discipline was higher than that of the pre-test at the .05 level of significance.2. The post-test mean score of students self-disciplinary behavior form behavioral scale of students; self- discipline as perceived by teacher was higher than that of the pre-test at the .05 level of significance.
วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท