เขตส่งเสริมการเกษตร 3. เตรียมสัมมนาเจ้าหน้าที่ภาคสนาม (BAR)


ทุกขั้นตอนสามารถยืดหยุ่นหรือปรับได้ตลอดระยะเวลาของการทำงาน

           วันนี้ผมและทีมงานสนับสนุนการปฏิบัติงานตามโครงการหรือยุทธศาสตร์การปรับเปลี่ยนการใช้ประโยชนที่ดิน    ซึ่งมีที่มาและที่ไปตาม 2 บันทึกต่อไปนี้

           ขณะนี้เราได้เริ่มดำเนินการแล้ว  และในลำดับต่อไปคือการสัมมนาเจ้าหน้าที่ภาคสนาม  ในวันที่ 14 มกราคม นี้ ที่โรงเรมชากัวราวริเวอร์วิว   เพื่อชี้แจง  สร้างความเข้าใจและหาแนวการทำงานร่วมกัน  โดยในวันนี้มีทีมงานบางส่วนที่จะร่วมกันชี้แจงและหาแนวทางการทำงานซึ่งมีในส่วนเจ้าหน้าที่ของสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด ที่ดูแลเรื่องการจัดการทั่วไป  เจ้าหน้าที่จากสำนักงานเขตเกษตรเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นผู้ออกแบบและดูแลในส่วนของการจัดเก็บข้อมูลเกษตรกรที่เข้าร่วมกิจกรรมรายบุคคล เพื่อประเมินผลการทำงาน  และนักวิชาการจากสำนักงานเกษตรจังหวัด ซึ่งผมจะเป็นผู้ออกแบบและดูแลในส่วนที่เป็นกระบวนการทำงานในภาพสนามทั้งหมด

         

          กระบวนการที่จะจัดชี้แจงและร่วมกันหาแนวทางการปฏิบัติงานในภาคสนาม  ส่วนที่เป็นการชี้แจงจากหน่วยต่างๆ ก็กำหนดไว้เรียบร้อยแล้ว ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานของพัฒนาที่ดิน  ชลประทาน  ประมง  ปศุสัตว์  ฯ  

         ส่วนผมได้ออกแบบในการสัมมนาเพื่อหาแนวทางร่วมกันไว้ ซึ่งจะดำเนินการในช่วงบ่ายไว้ดังนี้ (ใช้เวลาช่วงบ่ายประมาณ 2 ชั่วโมง)

  • เริ่มต้นด้วยการทำความเข้าใจและทบทวนถึงระบบการทำงานที่เริ่มจากการวิเคราะห์ข้อมูล  / การกำหนดเป้าหมายการทำงาน / การจัดทำแผนพัฒนา / และการสนับสนุนแผนพัฒนา  โดยจะทบทวนกระบวนการจัดทำเขตส่งเสริมการเกษตร  และข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้ในการทำงาน
  • การแบ่งกลุ่มเจ้าหน้าที่ เพื่อร่วมกันพิจารณาข้อมูลที่จะต้องจัดเก็บเพิ่มเติมนอกจากข้อมูลรายบุคคล ซึ่งเขตเกษตรเศรษฐกิจจะเป็นผู้ออกแบบไว้แล้ว  โดยจะแบ่งเจ้าหน้าที่ออกเป็น 4 กลุ่ม แต่ละกลุ่มจะได้รับโจทย์-คำถามคือ

          * กลุ่มที่ 1   ให้ร่วมกันพิจารณาและเพิ่มเติมแบบจัดเก็บข้อมูลพื้นฐาน ที่จะนำมาเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการจัดเวทีชุมชน  (ตามแบบที่ผมยกร่างไว้แล้ว) เพื่อคัดกรอง  เพิ่มเติม  หรือปรับปรุง 


             * กลุ่มที่ 2  ให้ร่วมกันตรวจสอบและปรับปรุงกระบวนการ/ขั้นตอนการทำงานร่วมกัน  ว่ามีประเด็นใดที่ควรเพิ่มเติม  ประเด็นใดที่ไม่จำเป็นควรตัดออก เป็นต้น จากที่ผมยกร่างไว้ส่วนหนึ่งแล้ว(เพื่อการประหยัดเวลา)

(ยกร่าง) ขั้นตอน / แนวทางการปฏิบัติงานโครงการปรับเปลี่ยนการใช้ประโยชน์ที่ดิน
 
 
 
กระบวนการ/ขั้นตอน
วัตถุประสงค์
เครื่องมือที่ใช้/ผู้ปฏิบัติ/เวลา
1. การศึกษาข้อมูลแบบเร่งด่วน
 * เพื่อศึกษาข้อมูลเบื้องต้น
 * เจ้าหน้าที่ภาคสนาม ใช้แบบ
 
 * ทราบข้อมูล/สถานการณ์
1-5 และ แบบรายบุคคล/แผนที่
 
 
 * ศึกษาข้อมูลมือ 2 
 
 
 * ก่อนการจัดเวทีชุมชน
2. การจัดเวทีชุมชน
 * ตรวจสอบ-เพิ่มเติมข้อมูล
 * GIS / ผลการการวิเคราะห์ 
 
 * ชี้แจงสร้างความเข้าใจ
 * การสนทนากลุ่ม
 
 * คัดเลือกเกษตรที่สนใจ
 * นำเสนอข้อมูลของชุมชน/บุคคล
3. การจัดเวทีกลุ่มย่อย
 * วิเคราะห์ข้อมูล / ปัญหา
 - ข้อมูลชุมชน / รายบุคคล
  ( ที่เข้าร่วมโครงการทดลอง)
 * หาแนวทางพัฒนา/ปรับปรุง
 - ข้อมูลทางเลือก
 
 
 -   ฯลฯ
   การจัดเวทีครั้งที่...........
 
 
4. การประเมินผลแบบมีส่วนร่วม
 * เพื่อทราบผลการปฏิบัติ
 - การประเมิบแบบมีส่วนร่วม
 
 * แนวทางพัฒนา/ปรับปรุง
 -  ระหว่าง - หลังการปฏิบัติงาน
 
 
 
5. การแลกเปลี่ยนประสบการณ์
 *  รายงานผลการปฏิบัติงาน
 * เวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของ
   การทำงาน
 * แลกเปลี่ยนประสบการณ์
   เจ้าหน้าที่ผุ้ปฏิบัติงานภาคสนาม
 
 * ข้อเสนอแนะในการปฏิบัติงาน
 * กระตุ้นการปฏิบัติงาน
 * ผู้ปฏิบัติงานทุกคน
 
 
 * ประชุมทุก 1 - 2 เดือน/ครั้ง

        * กลุ่มที่ 3, 4  ร่วมกันระดมความคิดเพื่อกำหนดกลยุทธ์หรือแนวทางในการทำงานเพื่อให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนการผลิตให้ตรงตามศักยภาพ ผมได้คิดไว้แล้วบางส่วน  แล้วให้กลุ่มช่วยต่อเติม

  • การอบรม 
  • การศึกษาดูงานเกษตรกรที่สำเร็จ
  • การแลกเปลี่ยนประสบการณ์
  • การทำแปลงทดลอง
  • ฯลฯ

 


          ในส่วนรายละเอียดที่ผมนำมาบันทึกไว้นี้   จะไม่ตายตัว แต่ทุกขั้นตอนสามารถยืดหยุ่นหรือปรับได้ตลอดระยะเวลาของการทำงาน  ท่านใดมีข้อเสนอแนะ หรืออยากจะแลกเปลี่ยนโปรดแนะนำหรือให้ข้อเสนอแนะด้วยนะครับ

บันทึกมาเพื่อการ ลปรร.

วีรยุทธ  สมป่าสัก  11 มกราคม  2550

หมายเลขบันทึก: 158703เขียนเมื่อ 11 มกราคม 2008 12:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

นับเป็นการก้าวไปอีกก้าวหนึ่งของงานส่งเสริมการเกษตร  มันต้องอย่างนี้ ซิ เรามีวิชาการเอาวิชาการไปถึงชาวบ้าน แล้วฟังเขา แลกเปลี่ยนกับเขา แล้วปรับวิชาการให้สอดคล้องกับเงื่อนไขของเขาแบบลำดับความสำคัญ  เช่น

วิเคราะห์ได้ว่า ตรงนี้เป็นดินโคราช (สมมุติ) และหมาะแก่การปลูกไม้ผล ดังนั้น recommendation ที่นักวิชาการเกษตรออกมาก็อาจจะมีตัวเลือก 5 ระดับ หรือ 5 priority  พบว่าเมื่อเราบอกว่าต้องมีส่วนร่วมจึงเอาไปคุยกับเกษตรกร  ดังนั้นเกตรกรฟังแล้วก็ อาจจะคล้อยตาม บางส่วนก็อาจจะคิดว่า ...จะดี...รื้อ.. บางส่วนก็ต่อต้านเล็กๆ เช่นฟังแต่ไม่เอาด้วย  ก็อย่างไปตกใจนะ เป็นเรื่องธรรมดาที่จะเกิดปรากฏการณ์ต่างๆทางสังคมเช่นนี้  ก็รับฟังแล้วหาข้อมสรุปร่วมกัน

 

ประเด็นคือ

บัดนี้เรานักวิชาการเอาวิชาการ ความถูกต้อง ความควรจะเป็นไปได้ เป็นหลัก  แต่เกษตรกรเขาไม่ได้เอาวิชาการเป็นหลัก เขาเอาความอยู่รอดเป็นหลัก  ตรงนี้เขาฟัง แต่จะเอาไม่เอานั้น อย่าเพิ่งไปดันมาก ให้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์

เป็นงานที่สำคัญครับ เอาใจสนับสนุนและจะติดตามผลนะครับ

หวัดดีครับ

  • ยังไม่ได้ทักทายกันเลย ขอสวัสดีปีใหม่ก่อนครับ

P

  • สวัสดีครับพี่บางทราย
  • เมื่อวานได้ดำเนินการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อกำหนดแนวทางและกลยุทธ์การทำงานเรียบร้อยแล้วครับ
  • มีประเด็นที่คงจะได้เรียนรู้ในการปฏิบัติงานอีกในหลายๆ ประเด็น
  • ทั้งส่วนของการสนับสนุนการทำงานของเจ้าหน้าที่(นักส่งเสริมฯ) และส่วนของเกษตรกร
  • แล้วจะบันทึกความก้าวหน้ามาแลกเปลี่ยนนะครับ
  • ขอบพระคุณมากครับ

P

 

  • สวัสดีปีใหม่เช่นเดียวกันครับพี่ชัยพร  หนุ่ม....ร้อยเกาะ
  • ขอให้มีความสุขตลอดปีใหม่  2551   และตลอดไปนะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท