MSU-KM 360 องศา (6) : มิติที่ 5


 ความเดิมบันทึกที่แล้ว....

MSU-KM 360 องศา (1) : มิติทั้ง 6 ของการจัดการความรู้
MSU-KM 360 องศา (2) : มิติที่ 1
MSU-KM 360 องศา (3) : มิติที่ 2
MSU-KM 360 องศา (4) : มิติที่ 3
MSU-KM 360 องศา (5) : มิติที่ 4

 มิติที่ 5 

         มิติที่ 5 คือ ฐานข้อมูลของความรู้ทั้งหมดภายนอกองค์กรที่อาจเป็นประโยชน์ในการช่วยแชมเปี้ยนความรู้และผู้เชี่ยวชาญในการปรับปรุงการปฏิบัติงานบนมาตรการทางธุรกิจระดับสูงของพวกเขา ประเภทของความรู้ภายนอกอาจรวมไปถึงแนวทางการปฏิบัติภายนอกที่ดีที่สุด (external best practice)หรือบทเรียน กรณีศึกษา บทความ ข้อมูลการตลาด ลูกค้า คู่แข่งขัน สิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบหรือทิศทางของเทคโนโลยี

ขณะที่ความรู้จากภายในหรือภายนอกใดๆได้รับการแบ่งปันและเผยแพร่ในคลังความรู้ภายในและภายนอกภายใต้มิติที่ 4 และ 5  กุญแจสำคัญคือการทำให้มั่นใจว่าความรู้ทั้งหมดที่เข้ามาอยู่ในฐานความรู้มีศักยภาพที่จะพัฒนาต่อไปได้  ทั้งนี้เพื่อปรับปรุงการปฏิบัติงานบนมาตรการทางธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ขณะที่พนักงานทั้งหมดควรได้รับสิทธิ์ในการส่งความรู้ภายในและภายนอกที่เกี่ยวข้องเข้าสู่ระบบฐานข้อมูล กฎง่ายๆที่แชมเปี้ยนความรู้และผู้เชี่ยวชาญจะต้องปฏิบัติก่อนเผยแพร่ความรู้ในคลังความรู้ของพวกเขาคือการถามคำถามที่ว่า “ความรู้นี้มีคุณค่าต่อการถ่ายทอดต่อไปหรือไม่” หากเป็นเช่นนั้นแล้วถามต่ออีกว่าความรู้ดังกล่าวจะมีศักยภาพเพียงพอในการปรับปรุงการปฏิบัติงานบนมาตรการระดับสูงของฉันหรือไม่” หากคำตอบคือ “ใช่”
พวกเขาควรจะดำเนินการและเผยแพร่ความรู้นั้นต่อไป

องค์กรหลายแห่งมีแผนผังการจัดแบ่งประเภทเพื่อจัดระบบความรู้ในฐานความรู้เพื่อช่วยให้ง่ายต่อการค้นหาและกู้ข้อมูล การกำหนดให้มีรูปแบบมาตรฐานสำหรับการสร้างแนวทางการปฏิบัติที่ดีที่สุด (best practice) บทเรียน หรือกรณีศึกษา เหล่านี้ยังเป็นการช่วยรักษาเนื้อหาให้สั้นกระชับและเน้นการถ่ายทอดเป็น
หลัก(replication-oriented)

ในการปรับสมดุลระหว่างความเกี่ยวข้อง(relevance)และคุณภาพของเนื้อหากับการสร้างวัฒนธรรม แชมเปี้ยนความรู้และผู้เชี่ยวชาญจะมีบทบาทสำคัญในการรับรองเนื้อหาที่มีคุณภาพระดับสูงในฐานข้อมูลของพวกเขา รวมทั้งอัตราการถ่ายทอดระดับสูงของความรู้ที่ได้รับการเผยแพร่ และผลลัพธ์ทางธุรกิจที่แท้จริงจากการถ่ายทอดดังกล่าว ในขณะเดียวกันพวกเขายังต้องรับผิดชอบต่อการสร้างวัฒนธรรมแห่งการแบ่งปันความรู้ภายในองค์กร ซึ่งพวกเขาต้องจัดการกับความรับผิดชอบนี้ด้วยวุฒิภาวะ  ในขั้นเริ่มต้นของโปรแกรมการจัดการความรู้นั้น แชมเปี้ยนความรู้และผู้เชี่ยวชาญอาจค่อนข้างใจกว้างและยอมรับความรู้ที่ถูกส่งมาเกือบทั้งหมด ทั้งนี้เพื่อกระตุ้นการแบ่งปันความรู้ภายในองค์กร เมื่อวัฒนธรรมแห่งการแบ่งปันความรู้มีขึ้นมาพอสมควรแล้วอาจมีการคัดคุณภาพความรู้ขึ้นมา อย่างไรก็ตามการส่งความรู้ใดๆที่ไม่สามารถเผยแพร่ต่อไปได้จะต้องได้รับการจัดการอย่างอ่อนโยนและเป็นความรับผิดชอบของแชมเปี้ยนความรู้ในการทำให้มั่นใจว่า
พนักงานคนดังกล่าวจะยังคงส่งความรู้อย่างต่อเนื่องต่อไปในอนาคต

 ที่มา : Arun Hariharan – Bharti Cellular Ltd.,
Journal of Knowledge Management Practice: May 2005

หมายเลขบันทึก: 137646เขียนเมื่อ 12 ตุลาคม 2007 05:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤษภาคม 2012 13:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท