ความไม่ยุติธรรมของการวัดผล....เรื่องการออกข้อสอบ


ไม่จำเป็นเลยค่ะ เป็นคำตอบสุดท้าย เพราะหากแบบสอบถามนั้นครอบคลุมกับเนื้อหาและวัตถุประสงค์ของการวิจัยแล้ว บางทีมีแค่ 7 ข้อ 9 ข้อ ก็เพียงพอแล้ว ไม่จำเป็นต้องเพิ่มเติมจนครบ 10 ข้อ แล้วข้อคำถามที่ถามนั้นซ้ำไปซ้ำมาด้วยน่าเบื่อสำหรับผู้ตอบคำถาม

การสร้างเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลในการทำวิจัยนั้น  มีหลายแบบด้วยกัน  อาจจะใช้แบบสังเกต  แบบสัมภาษณ์  แบบสอบถาม  หรือ  การสังเกตแบบมีส่วนร่วมก็ได้ 

จำเป็นหรือเปล่าที่เครื่องมือเหล่านั้นต้องมีจำนวนข้อคำถามเป็น 10 หรือ 20 หรือ 30 หรือลงท้ายด้วย 0

ไม่จำเป็นเลยค่ะ  เป็นคำตอบสุดท้าย  เพราะหากแบบสอบถามนั้นครอบคลุมกับเนื้อหาและวัตถุประสงค์ของการวิจัยแล้ว  บางทีมีแค่ 7 ข้อ  9 ข้อ  ก็เพียงพอแล้ว  ไม่จำเป็นต้องเพิ่มเติมจนครบ 10 ข้อ  แล้วข้อคำถามที่ถามนั้นซ้ำไปซ้ำมาด้วยน่าเบื่อสำหรับผู้ตอบคำถาม

ในสมัยก่อน  การเขียนเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล  นิยมให้จำนวนข้อคำถามของแบบทดสอบต่างๆที่กล่าวมาแล้วลงท้ายด้วยศูนย์  เพราะง่ายต่อการจัดกระทำข้อมูล 

แต่ในปัจจุบัน  ไม่จำเป็นเลยที่จะต้องมีจำนวนลงท้ายด้วย 0  เพราะมีเครื่องอำนวยความสะดวกในการจัดกระทำข้อมูลที่ช่วยเหลือผู้วิจัยมากมาย

เมื่อมีความเพียงพอแล้ว  เป็นจำนวนข้อเลขคี่  ก็หยุดได้  ไม่ต้องเขียนต่อไป  ขอแต่เพียงว่ามีเนื้อหาครอบคลุมก็แล้วกัน

เมื่อการออกข้อสอบซ้ำไปซ้ำมา  เกินความจำเป็น  จึงเป็นผลเสียแก่นักเรียนอย่างเห็นได้ชัดว่า

เมื่อครูออกข้อสอบครอบคลุมเนื้อหาแล้วจำนวน 7 ข้อ  อยากจะให้จำนวนข้อสอบลงท้ายด้วย 0 จนเป็น 10  จึงออกข้อสอบซ้ำขึ้นมาอีก 3 ข้อ

ปรากฏว่า  นักเรียนที่ทำข้อสอบได้  จึงเกิดความโชคดี  เหมือนได้โบนัสเพิ่มอีก 3 ข้อ

ส่วนโชคร้าย   นักเรียนที่ทำข้อสอบไม่ได้  จึงเหมือนถูกครูลงโทษไปเลย

นี่ล่ะค่ะ  เรียกว่า  ความไม่ยุติธรรมของการวัดผล

คำสำคัญ (Tags): #ph.d#student
หมายเลขบันทึก: 50423เขียนเมื่อ 16 กันยายน 2006 21:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (20)

สวัสดีคะ...ครูอ้อย...

กะปุ๋มไม่เจอครูอ้อยหลายวันเลยนะคะ  คิดถึง...

มาอีกครั้ง...ความรู้เพียบ...เก็บตักตวงในขุมความรู้ของตัวเองเรียบร้อยแล้วคะ

*^__^*

ขอบคุณนะคะ

กะปุ๋ม

สวัสดีค่ะ  Dr.Ka-Poom

คิดถึงเช่นกันค่ะ  ดีใจด้วยนะคะได้ข้อมูลเพียบ

มาดีใจกับครูอ้อยด้วยสิคะ  ที่ทำข้อสอบภาษาอังกฤษเกือบตกค่ะ(ดีกว่าเกือบได้ค่ะ)  อิอิ  พูดเล่น

พรุ่งนี้ถึงจะรู้ผลค่ะ  แล้วพบกันในบล็อกนะคะ

See you in Blog ! 

     ไม่แน่ใจว่าครบ สมบูรณ์หรือไม่นะครับ ในเรื่องจำนวนข้อคำถามที่ดีที่สุดในแบบวัดหนึ่ง ๆ คือ จำนวนข้อน้อยที่สุดที่ครอบคลุมเนื้อหามากที่สุด ส่วนจะต้องเป็นจำนวนข้อเท่าไหร่ ไม่ใช่ประเด็นนี่ครับ และหากจำนวนข้อคำถามที่ยิ่งมากโดยเกินความจำเป็นก็จะมีผลให้ระดับค่าความเชื่อมั่นยิ่งเข้าใกล้ 1 ซึ่งเป็นไปทั้ง ๆ ที่ไม่ใช่คำตอบว่าแบบวัดนั้นจะมีความเชื่อมั่นระดับดีจริง ๆ ครับ
     ไม่ค่อยมั่นใจนัก หากเปลี่ยนแปลงอย่างไร หลังได้ค้นคว้ามาเพิ่มแล้วจะแก้ไขให้ใน คห.ต่อไปนะครับ ยินดีที่ได้ ลปรร.กัน และมีโอกาสได้ทบทวนเรื่องนี้อีกครั้งเพื่อรื้อฟื้นความจำบ้าง

เรียน คุณชายขอบ  ผู้หยั่งรู้วิจัย

ครูอ้อยคิดแล้วว่า  ท่านชายขอบต้องตอบงานนี้ค่ะ  เพิ่งจะเรียนมาวันนี้ค่ะ  คือ  ท่านอาจารย์ท่านหมายถึง  พวกเราตั้งจำนวนข้อคำถามเยิ่นเย้อจนเกินขนาด  ท่านก็เลยเปรียบเทียบว่า 

ถ้ามันครอบคุลแล้วก็น่าจะพอ  ไม่น่าให้คนตอบแบบสอบถามเขาเบื่อ

และก็  นักเรียนได้รับโบนัส  และโชคร้ายเท่านั้นล่ะค่ะ

ดีใจที่ทำให้ท่านรื้อฟื้น  แสดงว่า  พื้นของท่านแน่นปึกนะคะเรื่องวิจัย ต่อไปนี้ครูอ้อยต้องขอคารวะสัก3จอกนะคะ

Take Care 

เข้ามาเห็นความเห็นของคุณชายขอบ...ขอ ลปรร. นิดนะคะ...จำข้อไม่มีตำราไหน...บอกไว้อย่างชัดเจนนะคะ..ว่าจำนวนจำนวนข้อคำถามต้องเท่าไร...หากแต่สิ่งที่ต้องการถามนั้น...ครอบคลุมตามกรอบที่ต้องการอยากจะถามากกว่า...ดังนั้นจึงไม่น่าจะเป็นประเด็น...หากแต่...ประเด็นที่ว่านั้น...คำถามที่มีครอบคลุมเพื่อให้ได้มาคำตอบนั้นแล้วหรือยัง...ตากหาก...

...

เบาๆ....สบาย...ๆ ลปรร.

ฝึกคิดไม่ฝึกจำ...

*^__^*

ขอบคุณคะ

กะปุ๋ม

แก้ไขคำผิดคะ 

เข้ามาเห็นความเห็นของคุณชายขอบ...ขอ ลปรร. นิดนะคะ...จำนวนข้อไม่มีตำราไหน...บอกไว้อย่างชัดเจนนะคะ..ว่าจำนวนจำนวนข้อคำถามต้องเท่าไร...หากแต่สิ่งที่ต้องการถามนั้น...ครอบคลุมตามกรอบที่ต้องการอยากจะถามมากกว่า...ดังนั้นจึงไม่น่าจะเป็นประเด็น...หากแต่...ประเด็นที่ว่านั้น...คำถามที่มีครอบคลุมเพื่อให้ได้มาคำตอบนั้นแล้วหรือยัง...ตากหาก...

...

เบาๆ....สบาย...ๆ ลปรร.

ฝึกคิดไม่ฝึกจำ...

*^__^*

ขอบคุณคะ

กะปุ๋ม

Dr.Ka-Poom  คะ  ครูอ้อยวิ่งตามไปมากันทั้งคืนล่ะทีนี้  สำหรับข้อคำถามนั้น  ครูอ้อยก็เห็นด้วยนะคะ  เขียนทำไมตั้งแยะเยอะ  อ่านซ้ำไปมา  เป็นข้อความแบบลบบ้าง  แบบบวกบ้าง  แต่ความหมายก็เหมือนกันค่ะ

ขอบคุณค่ะ

อาจารย์สิริพร ครับ

     บางครั้งหากข้อคำถามนั้น ถามเพื่อวัดอะไรที่ซีเรียส หรือป้องกันการเดาตอบ แล้วเราต้องการ Re-check นะครับ ก็จำเป็นที่จะต้องถามซ้ำ ด้วย Wording ที่ต่างกันออกไป แต่นัยยะเดิม รวมถึงการให้มีข้อคำถามทั้งเชิง Positive และ Negative ปะปนกัน (แต่ก็ได้ประโยชน์อื่น ๆ อีกหลาย ๆ ประการด้วยครับ)

อืม...

สนุกๆๆ...คะคุณอ้อย...คุณชายขอบดูท่าท่านจะไม่ยอมเพราะท่านเชี่ยวชาญ...

....

อย่างนี้ครูอ้อยคงได้ประโยชน์เยอะทีเดียวเลยนะคะ...เพราะได้ guru มาช่วย...เย้!!!!

*^__^*

กะปุ๋ม

 

ค่ะ  คุณชายขอบ 

ขอบคุณมากค่ะ  ได้ความรู้เยอะเลย  จะจำคำที่คุณชายขอบได้บอกว่าเป็นการ Re-check ป้องกันการเดาคำตอบ  แล้วถ้าผู้ตอบเดาขึ้นมาจริงๆ  เราจะยึดคำตอบไหนล่ะคะ  คงจะคำตอบ Re-check ใช่ไหมคะ

เออ...กะปุ๋มลืมถามคะว่า...อาจารย์ท่านใดมาสอนคะเก็บเกี่ยวตักตวงจากท่านมากๆนะคะ....เพราะจบมาคนมักคาดหวังจากเราเสมอ...สมัยกะปุ๋มน่ะท่าน ศ.ดร.สุชาติ  ประสิทธิ์รัฐสินธุ์คะ....และสมัยเรียนที่จุฬา...ได้เรียนกะ Guru หลายท่านคะ เช่น ท่านอาจารย์ดิเรก...ท่านอาจารย์ศิริชัย..และอีกหลายท่านที่ไม่ได้เอ่ยนามได้ความรู้ไม่ผสมผสานบูรณาการเยี่ยมเลยคะ...หากมีอะไร...ที่กะปุ๋มพอช่วยได้บอกนะคะ

*^__^*

กะปุ๋ม

เออ...กะปุ๋มลืมถามคะว่า...อาจารย์ท่านใดมาสอนคะเก็บเกี่ยวตักตวงจากท่านมากๆนะคะ....เพราะจบมาคนมักคาดหวังจากเราเสมอ...สมัยกะปุ๋มน่ะท่าน ศ.ดร.สุชาติ  ประสิทธิ์รัฐสินธุ์คะ....และสมัยเรียนที่จุฬา...ได้เรียนกะ Guru หลายท่านคะ เช่น ท่านอาจารย์ดิเรก...ท่านอาจารย์ศิริชัย  กาญจนวะสี..ท่านอาจารย์ศิริเดช...และอีกหลายท่านที่ไม่ได้เอ่ยนามได้ความรู้มาผสมผสานบูรณาการเยี่ยมเลยคะ...หากมีอะไร...ที่กะปุ๋มพอช่วยได้บอกนะคะ

*^__^*

กะปุ๋ม

ค่ะ Dr.Ka-Poom ครูอ้อยกำลังช่วยตัวเอง  เตือนตนเองเสมอให้ตักตวงมากที่สุด  ไม่เข้าใจอะไรก็ให้ถามและค้นคว้า อ่านให้มากๆ  จะได้เก่งและรอบรู้  ดึงเอาความรู้ที่มีอยู่มาใช้ให้เป็นประโยชน์
     ขอโทษนะครับ อย่าเพิ่งเชื่อผม ผมไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญครับ ก็แค่งู ๆ ปลา ๆ และรู้แค่หางอึ่งนะครับ เอาเป็นว่าตรวจสอบอีกทีนะครับ ผมอาจจะผิดไปก็ได้ครับ

เมื่อเช้านี้ได้เรียนเรื่องนี้  และท่านอาจารย์ได้พูดเรื่องนี้ด้วย  มีความสนใจอยู่แล้ว  เพราะขี้เกียจตั้งคำถามให้ครบ 10 ข้อ  ทั้งที่ 7 ข้อก็ครอบคลุมแล้ว  ครานี้ล่ะ  ...สบายครูอ้อยค่ะ

ขอบคุณ คุณชายขอบที่ให้ความรู้และเป็น guru ให้

ขอบคุณ Dr.Ka-Poom ค่ะ  คืนนี้ไม่ต้องนอนนะคะ

น้าน!!!...ต้องอย่างนั้นเลยคะ...ครูอ้อย..

เราต้องช่วยตัวเอง...การเป็น Smart Ph.D. เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อค้นพบใหม่เราต้อง...สร้าง ศึกษา ค้นคว้า...องค์ความรู้ใหม่นั้นด้วยตนเอง...

...

กะปุ๋มเห็นนักศึกษาปริญญาเอก...บางคนต้องคอยพึ่งพิงให้คนอื่นทำให้...ก็ไม่รู้ว่าหากเขาจบไป...จะเป็นอย่างไรบ้าง...จะไปถ่ายทอด...หรือไปสร้างคนอื่นๆ ต่อไปได้อย่างไร...

น่าเศร้า...สำหรับว่าที่ ดร. ที่ว่านั้น...

สู้ๆๆ...ทำงานต่อนะคะ

กะปุ๋มก็กำลังทำ...เช่นกัน

*^__^*

กะปุ๋ม

Dr.Ka-Poom คะ  ต้องอ่านมากๆ  หากได้รู้มาก่อนจากผู้รู้ก็จะทำให้การอ่ารรวดเร็ว  และสร้างองค์ความรู้ได้เร็วและถูกต้อง

ครูอ้อยอ่านเปะปะไปหมด  และไม่รู้ว่าจะอ่านอะไรดี แต่อ่านน่าดูชมค่ะ

ขอบคุณมากนะคะ สวัสดีค่ะ

ขอเสริม สักนิดนะครับครูอ้อย พอดีเคยทำทั้งการออกแบบสอบถาม แล้วก็วิจัย แต่อย่างไรก็ขอออกตัวก่อนนะ ว่าไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญที่ไหน
ผมคิดว่าถ้าเป็นการประเมิน ไม่ว่าจะกี่ข้อก็ตาม ถ้าคำถามสามารถถามได้ครอบคลุมเนื้อหาที่เราต้องการให้เขารู้แล้ว ก็ถือว่าสมบูรณ์ แต่ในการประเมินความรู้เด็กนักเรียน การทำให้จำนวนคำถาม (ข้อสอบ) ลงท้ายด้วย ศูนย์ช่วยให้การเอาคะแนนไปคำนวณทำได้ง่ายขึ้น แต่ก็ไม่ใช่สิ่งที่ตายตัว โดยเฉพาะเมื่อใช้ลูกคิดคำนวณแทนคอมพิวเตอร์
ถ้าเป็นงานวิจัย ด้วยแบบสอบถาม และข้อความที่ถามเป็นสิ่งสำคัญ บางครั้งอาจต้องถามซ้ำ ด้วยข้อความที่ตรงข้าม เหมือนที่คุณชายขอบว่าไว้  เป็นการทำให้แน่ใจ ว่าผู้ตอบแบบสอบถามไม่ได้มั่ว เพราะบางครั้งเราไม่ใช่คนไปสอบถามเอง ดังนั้นก็ต้องหาวิธีการในการตรวจสอบว่า เด็กที่จ้างให้ไปเก็บข้อมูลทำงานเรียบร้อยหรือเปล่า หรือนั่งมั่วข้อมูลอยู่ใต้ต้นหูกวาง แล้วมารับเงินค่าจ้าง บางครั้งก็ใช้เพื่อประโยชน์ในการดูว่าผู้ตอบแบบสอบถามอ่านแบบสอบถามหรือไม่ บางคนรับมาก็ไม่ได้อ่าน เห็นอะไรก็กาไปเรื่อยๆ ดังนั้นการใช้คำถามเดิม แต่นำมาถามใหม่ โดยใช้คำให้แตกต่างจากเดิม ก็มีประโยชน์เหมือนกัน เพียงแต่มีประโยชน์กับผู้วิจัย แต่อาจจะน่าเบื่อกับผู้ตอบแบบสอบถาม

ขอบคุณมากเลยค่ะ คุณไมโต  ครูอ้อยจะได้มีข้อมูลไปพูดในการเรียนสัปดาห์หน้า  ได้จากคุณชายขอบ  Dr.Ka-Poom  และคุณไมโต 

ขอบคุณอีกครั้งค่ะ  สวัสดีค่ะ

อ้อ! หากมีเวลา  กรุณาอ่านบทความเรื่องนี้  แล้วให้คะแนนได้ไหมคะ  ที่นี่ค่ะ

ขอบคุณอีกครั้งค่ะ  สวัสดีค่ะ

กลับมาสนใจเรื่องนี้อีก  ในคราวทำผลงานวิชาการคราวนี้  มารื้อฟื้นกันใหม่อีกครั้งนะคะ..คุณไมโต  คุณชายขอบ  ดร.กะปุ๋ม...
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท