เพื่อนๆกายภาพบำบัด ใน spondylolisthesis เราช่วยคนไข้ได้อย่างไรบ้าง


     แนนมีคนไข้หลายราย ที่มีลักษณะของ spondylolisthesis มีทุกเกรดเลย ทำกายภาพไปทำกายภาพมา มันหายบ้าง แย่ลงก็มี มีใครคล่องๆ เรื่องนี้บ้างเล่าให้ฟังหน่อย ไม่อยากให้เค้าผ่าตัด

สูตรแนน

     spondylolisthesis grade 1เท่านั้นนะ (เกรด 3-4 consult ortho)

1. gentle L traction hip extension

2.streching Iliop soas muscle to decrease lordotic curve( อีกอย่างอยากให้มัน weak ด้วย)

3.Abdominal exercise (หายใจเข้าท้องแฟบ เกร็ง หายใจ ออกทั้งๆที่เกร็ง)

   นอกนั้นก็ modality ทั่วไป superficial heat , Ultrasound แต่ดูมันรักษาตามอาการอ่ะ (ซาวด์ยังไงมันก็ไม่เลื่อนหรอก) เนี่ยยังอยากฉีกตำรา mobilize ด้วยซ้ำ แต่เกรงใจอาจารย์

         ส่วนมากแนนจะเน้นลด lordotic curve เพื่อให้มันกลับมา แต่มันไม่เป็นสูตรสำเร็จซักที แถมบางรายแย่ลงด้วยเพื่อนๆมีวิธีเจ๋งๆไหม ค้น journal ก็งั้นๆ ไม่มีเคล็ดลับอะไรเลย หมดปัญญาแล้ว

    นึกว่าเอาบุญนะ  ช่วยบอกที

 

คำสำคัญ (Tags): #spondylolisthesis
หมายเลขบันทึก: 103086เขียนเมื่อ 13 มิถุนายน 2007 19:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 14:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)
อ่านตั้ง 27 ไม่เห็นมีแนะนำไรเลย อะโด่... เพื่อนเรา
หนิงน้อยในโลกกว้าง

แนน...

อยากช่วยแนนจัง แต่ตอนนี้ความรู้ทางกายภาพก็ไม่ค่อยแน่นเท่าไหร่ แนนไม่ลองปรึกษาอาจารย์หรือรุ่นพี่เราล่ะ เผื่อได้คำแนะนำดี ๆ จะได้เอามาบอกเพื่อนบ้าง เราก็อยากรู้เหมือนกัน

เราเองก็รู้ไม่ต่างจากแนนหรอก โดยเฉพาะที่แนนบอกว่า ...รักษาตามอาการน่ะ...เราว่ามันใช่เลยแหละ นักกายภาพหลายคนก็เป็นอย่างนี้ บางทีเรายังรู้สึกผิดเหมือนกันนะ ที่ช่วยคนไข้ไม่ได้มากอย่างที่ใจอยากให้เป็น

 

หนิงน้อยจิตใจดีมาก ทำไมเราไม่สำนึกเลยฮือออออ

จริงๆ  เราว่า คุยเรื่องวิชาการเพื่อ up date ความรู้บ้างก็ดีเหมือนกัน  เพราะสำหรับเราแล้วการอยู่ รพช. เหมือนความรู้จะค่อยๆเข้ากรุ ไปทุกทีแล้ว  ยิ่งอยู่คนเดียวไม่มีรุ่นพี่ที่อาวุโส คอยแนะนำนะ  วิชาการแทบจะลืมไปหมดเลย

 

ขอ แชร์  ความรู้กับแนนบ้างแล้วกันนะ  จากประสบณ์การอันน้อยนิด  ขอ PT  ตัวน้อย ณ  รพช.

1.   อันดับแรกกรณีที่เราซักประวัติและตรวจร่างกายอย่างละเอียด  (เน้น ต้องอย่างละเอียดนะ) แล้ว ถ้าเป็นเรา  นะแนนเราจะหลีกเลี่ยง การ traction   ในcase spondylolithesis  เพราะเราคิดว่าการ traction อาจจะมีผลข้างเคียงสำหรับการเคลื่อนที่อาจจะมากขึ้น  เพราะบางที ใช้นำหนักน้อยแล้ว  แต่ถ้าไม่ระวังเรื่องการจัดท่าระหว่างดึงก็อาจส่งผลเสียได้

2.  เราจะหาจุดที่ เกิดอาการ pain  มากที่สุด  แล้วเลิกใช้  US.บริเวณนั้น (ซึ่งเราคิดว่าแนนก็คงทำแบบนี้)  แต่หลังจาก ทำ US.เสร็จ เราจะใช้  เย็นสลับร้อนบริเวณเดิมก่อน  เพื่อหวังผลเรื่องลดการอักเสบจาก US.ในตอนแรก  และเพิ่มการไหลเวียนเลือดในการใช้ร้อนมาสลับ (อันนี้เราเรียนรู้มาจากอาจารย์รุ้งทิพย์ แต่อาจจะจำมาไม่หมดก็อย่าว่าเราแล้วกันนะ)

3.เราจะแนะนำเรื่อง  iso metric exs. ของกล้ามเนื้อหลังเพื่อเพิ่มความแข็งแรง แต่ต้องไม่เป็นการออกกำลังกายที่แรงไปจนทำให้คนไข้ปวดเพิ่มจึงเลือกวิธีนี้ (เป็นการทำ posterior tile ของpelvic ในท่านอนหงายชันเข่ามือรองไว้ที่หลังเพื่อเช็คว่า ผู้ป่วยทำถูกไหม)

4.แนะนำเรื่อง immobiliz  ของหลัง อาจจะใช้ LS-support ก็ได้ หรือนอนเฉยสัก 1 อาทิตย์

จบแล้ว  สำหรับที่คิดได้ ตอน นี้  และขอย้ำว่ายังไม่ได้กลับไปศึกษาวิชาการเก่าๆที่เคยเรียนมา  อาจถูกบ้างผิดบ้างเพื่อนคนไหนรู้มากกว่านี้ ก็ช่วยเข้ามา โพสด้วยนะจ๊ะ

ปล.ภาษาEng.ไม่แข็งแรง พิมพ์คำไหนผิดแนนช่วยแก้ให้หน่อยนะ ^ - ^  แล้วอย่าลึมเอาเรื่องเพื่อนๆที่ไปงาน แต่งงาน แคท มาเขียนด้วยนะจ๊ะ   บายยยยย

อ๋อม อุตส่าห์หาจุดtenderness point ได้แล้วทำไมเลิกใช้ US ซะล่ะ

ฮัลโหล!!!!

แนน  เราไม่ได้บอกว่าเราไม่ใช้  US นะจ๊ะ เพราะ US เป็น อุปกรณ์หลักที่เราเลือกใช้รักษาคนไข้ที่ทำอะไรรุนแรงไม่ได้เลยแหละ  เพียงแต่ว่าทุกครั้งที่ USเสร็จ เราจะใช้  เย็น 1 นาที  สลีบกับร้อน  4 นาที 3 รอบ กับคนไข้ (เป็นการประยุกต์ใช้ร้อนสลับเย็นที่เราเคยเรียนมานั่นแหล่ะ) ได้ผล ลดปวดได้หลายรายเลยนะ  (แต่ก็ไม่ทุกรายหรอกนะจ๊ะ)  ก็เลยลองเล่าให้แนนฟังดูจ้า

เราเห็นด้วยกับอ๋อมนะว่า ไม่ควร traction เพราะอาจทำให้เคลื่อนเพิ่ม ควรใช้ us กับการ mobilization เบาๆอาจช่วยได้นะ และควรแนะนำ/จำกัดการทำกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยด้วยนะ แต่อ๋อมใช้ทั้ง cold และ heat สลับกันอ๋อมมีเวลาทำขนาดนั้นเลย ขอนับถือจริงๆ เป็นบุญของผู้ป่วยจริงๆนะ

ทำตามอ๋อมกะติ๊กบอกแล้วคนไข้ก็ดีขึ้นนะ แนนประเมินโดย evidence base อ่ะ

 ตอนนี้เคสนี้แนนให้หัดเดินในน้ำด้วย คนไข้เดินได้ดีเชียวล่ะ ขาไม่ adduction มาก แต่กลัว infection ชิบเลย

 

บังเอิญผมเคยได้รับแฟหพเกี่ยวกับ spondylolisthesis มาเยอะเหมือนกันนะครับเลยอยากจะแลกเปลี่ยนความรู้ร่วมด้วย

1.ต้องดูลักษณะการเลื่อนของกระดูกสันหลังระดับที่มีปัญหานั้นก่อนว่ามีการเลื่อนแบบไหน anterior หรือ posterior โดยส่วนใหญ่ผู้ป่วยมักจะมีการเลื่อนแบบ anterior  ประวัติจะได้ความว่าขณะยกของอยู่แ้วมีอาการหรือเอื่อมมือจะหยิบของในที่สูง

2. กระบวนการรักษาจะเน้นไปในด้านการลดปวดโดยการใช้mpdality ต่างๆ ซึ่งจะไม่นิยมทำการ traction เนื่องจากจะไปกระตุ้นให้เกิดการเลื่อนของกระดูกสันหลังระดับพยาธิสภาพมากขึ้น เพราะมี instability อยู่ ส่วนการทำ mobilization ทำเพื่อใช้ลดปวด grade 1-2 แต่ก็ไม่แนะนำครับในรายที่มีอาการรุนแรง หรือระยะแรก

3. การรักษาเพื่อทำให้กระดูกสันหลังระดับพยาธิสภาพที่มีการเลื่อนหลุดออกมานั้นกลับเข้าที่ จะเน้นการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหน้า้ท้อง เพื่อใช้ vasava pressure เป็นตัวช่วยในการดันกรุะดูกสันหลังกลับ (ในบางกรณีอาจใช้การ mobilization แบบ AP ทางด้านหน้าโดยกดที่หน้าท้องตรงกับระดับกระดูกสันหลังที่เลื่อนในกรณี anterior listhesis ซึ่งจำเป็นจะต้องความชำนาญเป็นอย่างมาก ตัวผมเองก็นิยมใช้การออกกำลังกายมากกว่า) หลังจากที่กล้ามเนื้อหน้าท้องแข็งแรงดี หรือผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น ควรเน้นการออกกำลังกาย แบบ  back stabilization exercise

ขอแลกเปลี่ยนแค่นี้ก่อนนะครับอลงนำไปใช้ดู ผมก็ได้จากประสบการณ์ที่ได้ทำผู้ป่วยมา หากใครมีเทคนิคหรือวิธีการที่ดีกว่าก็แนะนำได้ครับ 

ขอบคุณ คุณ LUM มากๆครับ ขอให้ได้บุญเยอะนะครับ

แล้ว vasava pressure นี่มันคืออะไรเหรอครับ ใครรู้ช่วยบอกที อันเดียวกับ vasava effect ของการเกร็งกล้ามเนื้อในผู้ป่วยโรคหัวใจรึปล่าว

เต๋า กายภาพหัวเฉียว

 เรื่องที่นายขอความช่วยเหลือเนี่ยะเราไม่ค่อยได้เจอคนไข้ประเภทนี้เท่าไหร่แต่ถ้าได้เจอจะลองทำตามที่แนะนำมา

ช่ายแนนที่ไปฝึกงานที่สระบุรีหรือเปล่าอ่ะ เห็นแต่ข้างๆ น่าจะใช่น่ะเราเปิดดูรูปงานแต่งเพื่อนนายเห็นเอ็มเลยคิดว่าต้องใช่แน่ๆเลย

ไม่รู้จำเราได้ป่าวเรา เต๋า กายภาพหัวเฉียวที่ไปฝึกงานที่สระบุรีแล้วเจอกันที่มีเด็กมหิดลด้วยอ่ะจำได้มัยถ้าจำได้แอดมาคุยกับเราบ้างก็ได้น่ะ แลกเปลี่ยนความรู้กันเพราะเราทำงานที่นี่ก็เริ่มเข้ากรุแล้วเหมือนกัน  [email protected] 

BIG กายภาพคริสเตียน

vasava pressure เป็นการตรวจประเมินในผู้ป่วย HNP โดยคล้ายกับการเบ่งอึอะครับโดยจะมีแรงดันในช่องท้องมันจะสามารถที่จะไปดันให้ตัวกระดูกสันหลังกลับได้ครับผมคิดว่าเป็นเทคนิคที่ดีนะครับแล้วก็ด้วยการลดการอักเสบด้วยการใช้ความเย็นสลับกับความร้อนไปด้วยแต่ก่อนที่จะทำผมว่าน่าจะวางแผ่นร้อนกับ US ก่อนดีไหมครับเพื่อที่จะให้กล้ามเนื้อมีความยืดหยุ่นในขณะที่ออกกำลังกายจะได้ลดการอักเสบหรือบาดเจ็บลงได้อะครับ ผมว่าน่าจะดีนะครับ เพื่อนๆคิดว่ายังไงครับกับแนวคิดของผมอะครับช่วยๆกันครับ

มีเคสเด็กนักกีฬาฟุตบอล รักษาหายแล้ว กลับไปเล่นฟุตบอล ก็กลับมาเป็นอีก น้องไปรพ. กายภาพเขาtraction ด้วยจ้า

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท