MSUKM Team B ไปทำอะไร ? (5) : เขียน AAR


หลาย ๆ กรณี รวมทั้งเรื่องของ การจัดการความรู้ หรือ KM เราก็ทำกันอยู่แล้ว แต่อาจจะไม่รู้ว่านั่นมันคือเรื่อง KM ในแนวที่เรียกว่า KM ธรรมชาติ

 

       ผ่านไปอีกครั้งสำหรับการจัด KM  Workshop  ครั้งที่ 2  ของอนุกรรมการจัดการความรู้ มมส. หรือ MSUKM Team B ในชื่อ  ธรรมาภิบาลกับความพอเพียง เมื่อวันพุธที่  25  กรกฎาคม  2550 ณ  ห้องตักสิลาบอลรูม  โรงแรมตักสิลา  อำเภอเมือง  จังหวัดมหาสารคาม โดยมี ดร. ถวิลวดี บุรีกุล ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า   วิทยากรเจ้าเก่าจากการเสวนาเครือข่าย จัดการความรู้ระหว่างมหาวิทยาลัย  ครั้งที่ 10 (UKM10)  ณ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์  จังหวัดนครศรีธรรมราช  ให้เกียรติมาต่อยอดความคิด และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับชาว มมส. ซึ่งประกอบด้วย ผู้บริหาร อาจารย์ พนักงานวิชาการ และ บุคคลากรสายสนับสนุนต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม จำนวนมากกว่า 300 คน
         จำนวนผู้เข้าร่วมครั้งนี้มากว่าที่พวกเราทีมงานคาดไว้ ที่คิดว่าเนื่องด้วยระยะเวลาอันจำกัดในการแจ้งข่าวและประชาสัมพันธ์ ซึ่งแทบจะไม่มีเลย เราคาดว่า อย่างมากคงมีผู้ที่สามารถจะมาร่วมงานนี้ได้ไม่เกิน 200 คน เมื่อยอดส่งมาถึงกว่า 300 คน เราถึงกับต้องเปลี่ยนห้องการจัดเสวนาครั้งนี้อย่างกระทันหันก่อนถึงวันงานเพียงสองวัน  และเมื่อถึงเช้าวันงาน ผมไปถึงก่อน 8.00 น. ซึ่งเป็นเวลาเริ่มเปิดให้ลงทะเบียนเล็กน้อย ในใจก็ยังอดกังวลไม่ได้ว่าจะมีผู้มาร่วมงานครบตามจำนวนที่แจ้งมาหรือไม่ ?
           เราเปิดงานกันอย่างเรียบง่าย โดยท่านรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและวิเทศสัมพันธ์ ( ผู้ช่วยศาสตราจารย์  ดร. พิศมัย  ศรีอำไพ ) คุณเอื้อของเรา แล้วก็ต่อด้วยการบรรยายนำของท่านวิทยากร   ผมซึ่งนั่งอยู่แถวหน้า ๆ ในตอนแรกก็ยังมีที่ว่างอยู่พอสมควร ตามแบบไทย ๆ ที่จะนั่งเต็มจากด้านหลังมาก่อน แต่ไม่นานก็พบว่า ที่นั่งเกือบทุกที่มีผู้ครอบครองแล้ว ทำให้ห่วงที่หนึ่งหลุดไปพร้อมกับมีกำลังใจเพิ่มขึ้น <p align="center"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">        ผมประทับในลีลาการนำเสนอของท่านวิทยากร ที่นำเข้าสู่ประเด็นด้วยภาพ และ ลงจากเวทีมากระตุกต่อมความคิดและเปิดประเด็นของผู้เข้าร่วมงานโดยการถามความเห็นต่าง ๆ เพื่อนำเข้าสู่สิ่งที่ท่านจะนำเสนอต่อไป    ถึงแม้ว่าท่านจะออกตัวว่าชื่อที่ พวกเราช่วยกันคิดให้ท่านกรุณานำเสนอนั้น ท่านมีความชำนาญในเรื่องของ ธรรมาภิบาลเท่านั้น ส่วนเรื่องความพอเพียงนั้นท่านไม่แน่ใจว่าจะเชื่อมโยงได้มากน้อยแค่ไหน  แต่เมื่อฟังท่านนำเสนอแล้ว 
       
ผมมองเห็นความเชื่อมโยงได้หลาย ๆ จุด อย่างเช่นเรื่องของ การสร้างภูมิคุ้มกันที่ประเมินค่ามิได้
(Invaluable Immunity) ที่เริ่มที่ การทำด้วยใจรัก (Intenalization) ดังในภาพ  หลาย ๆ ท่านที่คุ้นเคยกับ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงของเรา  คงจะเห็นด้วยกับผมว่า เรื่องของการสร้างภูมิคุ้มกัน หรือ มีภูมิคุ้มกัน คือสิ่งสำคัญใน 3 ห่วง 2 เงื่อนไข ของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงของเรา นั่นเอง   ผมมองว่าในหลาย ๆ กรณี รวมทั้งเรื่องของ การจัดการความรู้ หรือ KM  เราก็ทำกันอยู่แล้ว แต่อาจจะไม่รู้ว่านั่นมันคือเรื่อง KM ในแนวที่เรียกว่า KM ธรรมชาติ</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">        นี่คืออีกสิ่งหนึ่งที่ Team B เราทำกันเสมอ คือ การบันทึก AAR ดังที่ ท่าน Jack ผู้ร่วมทีมที่แข็งขันได้ทำแล้ว และ ท่านหนิง ของเราเริ่มแล้ว เช่นเดียวกัน</p>

หมายเลขบันทึก: 114806เขียนเมื่อ 26 กรกฎาคม 2007 13:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • ตามมาชื่นชมหัวหน้าทีมที่เข้มแข็งค่ะ
  • ดูบรรยากาศคึกคักเชียวค่ะอาจารย์

ขอบพระคุณค่ะอาจารย์ ทำด้วยใจรัก (Intenalization) จริงๆด้วยนะคะ

มาทำ KM ด้วยใจรัก (Intenalization) นั่นแหละ KM ที่แท้จริง  และขอปรบมือในศักยภาพของท่านอาจารย์ครับ

นี่หล่ะคือสาเหตุที่มาของ คณะอนุกรรมการการจัดการความรู้ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ชุดปัจจุบัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท