เผชิญความตายอย่างสงบ ตอน 1


สามวันมานี้ได้กลับไปเป็นนักเรียน เข้าฝึกอบรมการเผชิญความตายอย่างสงบ ที่สวนสายน้ำ พะตง หาดใหญ่ โดยมีวิทยากร กระบวนกรหลายท่าน ได้แก่ หลวงพี่ไพศาล วิสาโล, คุณปรีดา (เล็ก) เรืองวิชาธร จากเสมสิกขาลัย, พี่เต็มศักดิ์, พี่ฟ่ง สอง guru จาก ม.อ. มีพี่นก จาก สวสส. เป็นผู้บันทึกสรุป และน้องแป้ง (อับดุลผู้วิเศษ) เป็นผู้ช่วยกระบวนกร

ถึงแม้ว่าจะค่อนข้างโทรม เพราะพึ่งกลับจากงาน HA เมื่อคืนวันศุกร์ นั่ง clear email ที่ล้นกระป๋อง google จนตีสอง นอนดีกว่า นึกขึ้นมาได้ต้องตะเกียกตะกายขับรถไปสวนสายน้ำแต่เช้า แต่นึกถึงว่าจะได้มาทำกิจกรรมนี้ก็ทำให้เกิดพลังขึ้นมาเอง นาฬิกาปลุกสามเรือนที่ตั้งไว้ก็ไม่ต้องใช้ เพราะตื่นเองก่อนเวลาห้านาที

คนมาร่วมเป็นพยาบาลม.อ. เป็นส่วนใหญ่ มีพี่หัวหน้าหอผู้ป่วยจากหาดใหญ่ มีหมอนิรันดร์จากปัตตานีตามมาตอนกลางคืน พี่โกวิทย์ (หน.ภาค ENT ม.อ.) มาอยู่กับเราวันอาทิตย์ทั้งวัน อายุการทำงานมีตั้งแต่ 20+ ปี จนมาถึงน้องที่พึ่งจบมาไม่ถึงปีดี ทุกคนล้วนมีประสบการณ์เคยเห็นคนตาย มีทั้งผู้ป่วย หรือประสบการณ์ตรงจากญาติพี่น้องคนใกล้ชิด และมีหน้าที่ต้องดูแลคนไข้กลุ่มนี้กันทั้งสิ้น

วิธีที่ใช้ในการอบรมเป็นผสมผสานปะปนกันหลากหลาย มีทั้ง dialogue เล็ก dialogue ใหญ่ interactive lecture มี role-play มีทั้ง small group และที่ขาดไม่ได้คือ นอนกลางวัน เอ... ไม่ใช่ๆ เขาเรียกว่า "ผ่อนพักตระหนักรู้" ตะหาก ชอบๆอันนี้ บวกกับอาหารมังสะวิรัติของพี่ปุกเจ้าของสวนสายน้ำเจ้าเก่า ยังได้คุยกับคุณรามัญ คนของมูลนิธิกฤษณมูรติที่มาจากอังกฤษ ได้แลกเปลี่ยนกันนิดหน่อยตอน break แกเคยอยู่กับกฤษณมูรติในช่วง 8 ปีสุดท้าย และได้เล่าอะไรต่อมิอะไรที่น่าสนใจ ต่อยอดความรู้ที่เราเคยอ่านจากในหนังสือหรือดู DVD อีกหลายอย่าง (มาสวนสายน้ำที่ไร ก็เจอคนน่าสนใจทุกทีไป)

ดูตารางสอนแล้ว อื้อหือ แน่นไปหมด ว่ากันแต่เช้าจรดสี่ทุ่มเจียวหรือนี่ คุณเล็กอธิบายว่าเดิมเป็นสามคืนสี่วัน แต่มี feedback ว่านานไป ลามาร่วมงานไม่ค่อยได้ เลยพยายามอัดลงสองคืนสามวันแทน มันก็เลยปลิ้นทะลักไปรอบค่ำรอบดึกรอบเช้าตามแต่จะแทรกตัวไปได้ที่ไหนบ้าง ไม่เป็นไร เยอะดี เราชอบ มีอะไรบ้างหนอ

  • ความนึกคิดของคนในสังคมปัจจุบันเรื่องความตาย
  • เหตุปัจจัยที่กำหนดความรู้สึกนึกคิดเหล่านั้น
  • สภาพการตายที่พึงปราถนา
  • การเขียนความในใจถึงผู้ล่วงลับ
  • การทำบุญอุทิศส่วนกุศล
  • หลักไตรลักษณ์ การปลงสังขาร และสมาธิภาวนา
  • ภาวะใกล้ตายและคติใกล้ตาย
  • หลักการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย
  • ภาวนาโพวา
  • การเขียนพินัยกรรมชีวิต
  • พิจารณามรณนุสสติ

เข้มข้น จนคิดว่าน่าจะแบ่งตอน ขอเติมเลข 1 ลงไปในหัวเรื่องหน่อยเถอะ

to be continued

หมายเลขบันทึก: 85120เขียนเมื่อ 20 มีนาคม 2007 00:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:50 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
น่าสนใจอีกตามเคยค่ะ จะรอติดตามตอนต่อๆไปนะคะ

เสือปืนไวจริงๆครับท่าน

จะเรียกว่านักเรียนก็คงไม่ถูกนะ เพราะส่วนใหญ่มันเป็น แลกเปลี่ยนเรียนรู้ จากประสบการณ์ของแต่ละคน ซึ่งนั้นเป็นเรื่องหลักของการอบรมด้วย ผมคิดว่า ทั้งหลวงพี่ไพศาล พี่กานดาวศรี เล็ก แป้งละผมก็ได้เรียนรู้ เกิดอาการผุดรู้จนมีเสียง ปุด..ปุด ตลอดเวลา 

ขอบคุณครับสำหรับการบันทึกเรื่องนี้้ใน blog ผมจะได้สบาย แล้วก็ขอบคุณสำหรับการต้องเป็นวิทยกรในกลุ่มนี้ต่อไป ผมจะได้..สบาย สบาย เย้!!

ขอเติมส่วนที่ตกไปให้ครบนะครับ

องค์กรที่มีส่วนร่วมในการจัดการอบรมครั้งนี้

  • เครือข่ายพุทธิกา ที่มีหลวงพี่ไพศาลเป็นองค์ประธาน
  • หน่วยpalliative care ชีวันตาภิบาล โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ที่มี คุณสุนี..แย เป็นผู้ประสานงาน แล้วมี ใครก็ไม่รู้ เป็นประธาน 

สวัสดีครับอาจารย์

  • ขอบคุณสำหรับบันทึกที่ดีๆครับ
  • รู้สึกว่าอยากเข้าเป็นผู้ร่วม ลปรร กับกิจกรรมนี้มากเลยครับ
  • เคยเข้ากิจกรรมผ่อนพักตระหนักรู้กับพี่เล็กเมื่อปลายปีที่แล้วที่ ยอดดอย จ แม่ฮ่องสอนครับ
  • รู้สึกประทับใจและเกิดสิ่งดีๆกับชีวิตตามมาหลายอย่างมากครับ

บทเรียนนี้น่าสนใจมากครับ
ขอเป็นนักเรียนด้วยคนครับ

นิล

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท