ทำค่ายให้เด็กมีความสุข


การมีอยู่ของคนหนึ่ง มีความหมายยิ่งต่อการคงอยู่ของอีกคนหนึ่ง

  ค่ายแห่งความสุข สนุกสนาน   ค่ายร้อนๆ จ้า

ทีมอุบล เป็นแม่งานใหญ่ จัดนัดคุย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์ จัดค่ายให้เด็ก ทั้งที่ติดเชื้อเอดส์ และที่ได้รับผลกระทบ

โดยสำนักโรคเอดส์(BATS) และศูนย์ ความร่วมมือไทยสหรัฐ (TUC)เป็นพี่เลี้ยง

เชิญทีมงานจากจังหวัดต่างๆไม่ว่าจะอยู่ไกลๆ  เชียงราย ขอนแก่น เพชรบุรี  หรืออยู่ใน กทม ศิริราช สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติที่มีประสบการณ์ทำค่าย  มา อภิปราย มาเล่าให้คนในห้องประชุมฟัง

คนฟังล้วนหลากหลาย จากหน่วยงานสำคัญต่างๆ  ที่จะมีส่วนช่วยเหลือ เด็กๆของเรา ได้แก่ UNICEF  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ องค์กรพัฒนาเอกชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น สปสช กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ฯลฯ

ทั้งห้องประชุม ก็ได้เรียนรู้เทคนิก ค่าใช้จ่าย รปแบบต่างๆ  ทักษะการทำค่าย และการประเมินผลการทำ จากประสบการณ์ ตรงของ คนทำงานจริง

จากทีมอุบล ที่ทำค่ายทุกปี ตั้งแต่ปี 2546 และขยายมาเรื่อยๆ

 

จาก ดร ภัทระ แสนไชยสุริยา ม ขอนแก่น ผู้ประเมินค่ายของทีมอุบล  และเชียร์ให้ทำค่ายเพิ่ม ให้ขยาย ให้ทำเพราะไม่แพง

อาจารย์ พบว่าเด็กและผู้ดูแลยังมีความรู้ไม่ถูกต้องที่ควรช่วยเหลือ   และพบว่าค่ายเป็นกิจกรรมสันทนาการสร้างความสัมพันธ์ ความสามัคคี และลดความรู้สึกด้านลบที่มีต่อตนเองและครอบครัวในตัวเด็ก

 จากการประเมินสังเกตชนิดคลุกวงใน   ในหลายค่ายที่ อุบล

 อาจารย์ภัทระให้ข้อคิดที่กินใจว่า

การมีอยู่ของคนหนึ่ง   มีความหมายยิ่งต่อการคงอยู่ของอีกคนหนึ่ง

เราฟังต่อจาก ประสบการณ์ของทีมเชียงราย  เพชรบุรี ขอนแก่น ศิริราชและ สถาบันสุขภาพเด็ก ที่แตกต่างกัน หลากหลาย มากมาย

เราฟังการสนับสนุน ความช่วยเหลือ ที่สามารถมาจาก สปสช กระทรวงพัฒนาสังคมฯ จากองค์กรต่างประเทศ

 

 

และสรุปกันว่า บทเรียนประสบการณ์ เรื่องทำค่ายนี้ ได้ประโยชน์ ยิ่งนัก

 

 

ที่ประชุมโดยมีคุณหมอกุ๊ก รังสิมา แห่ง TUC  เป็นประธาน ก็ เห็นสมควรว่า

เราต้องสรุป ออกมาเป็นหนังสือ เป็นคู่มือ เป็นรูปเล่ม ที่สามารถนำไปเป็นตัวอย่างให้แก่ พื้นที่อื่นๆ ซึ่งอาจมีศักยภาพในการทำค่าย ให้ทำงานค่ายต่อ หรือให้เริ่มต้นค่ายให้ดียิ่งขึ้นกว่าที่เราเคยทำกันมาแล้ว 

คุณปุ๊ก ธิดาพรแห่ง BATS เธอหนับหนุนว่าได้ ได้เลย ค่ะ

 

 วันนี้ 8 ตค 50 หมอรวิวรรณ ได้โอกาส จูงวัยรุ่น  2 คน อายุ 15 และ 18 ปี  ขณะนี้อยู่ในสถานเลี้ยงเด็กกำพร้า  (  เขาพาน้องที่บ้านเดียวกันมาสมัครรับยาต้านไวรัสที่รพเชียงรายฯ )ทั้งสองคนกินยาต้านไวรัสมาเกิน 1 ปี สุขภาพแข็งแรงดี ยิ้มแย้มแจ่มใส พากันมาสัมภาษณ์ในห้อง

ถามว่า ตอนนี้หนูทั้งสองคน มีความทุกข์ใจกลุ้มอกกลุ้มใจบ้างไหม

น้องทั้งสอง สบตากันเองและสบตาป้าหมอเต็มๆ ก่อนจะตอบว่า

เมื่อก่อนเป็นทุกข์ มาก ทั้งวันนั่งคิดแต่เรื่องเศร้าหมอง คิดถึงแต่ที่เราติดเชื้อ คิดเรื่องครอบครัว ทุกข์ใจทั้งวัน ไม่กล้า กลัวสารพัด กลัวคนรู้ กลัวป่วย คิดว่าเราไม่เหมือนคนอื่น

นิ่งไปสักแป๊บ เธอก็ พูดฉาดฉานอย่างมั่นใจต่อว่า

ตอนนี้ดีขึ้นมาก หนูไม่กลัวคนอื่นรู้ หนูไม่ทุกข์ใจ นั่งคิดแต่เรื่องโรคที่เป็น หนูมีความสุขขึ้นมากค่ะ

ถามว่าหนูทำใจได้ หนูทุกข์น้อยลง มีความสุขมากขึ้นตั้งแต่เมื่อไร

คำตอบของทั้งสองคนคือ หลังจากหนูไปเข้าค่ายวัยรุ่น

หลังคุย วัยรุ่นทั้งสองเดินออกจากห้อง   หน้าเปื้อนยิ้ม    

รักษากายเด็กๆ ด้วยยาต้าน  ด้วยระบบโรงพยาบาล เท่านั้นไม่พอ

ต้องรักษาจิดใจที่มีบาดแผล ที่โหยหาความรักความอบอุ่น จิตใจที่รู้สึกต่ำต้อยด้อยค่าของเด็ก

  

ให้เขารู้ถึงคุณค่าของตนเอง

ซึ่งการทำค่ายก็ เป็นคำตอบ  เป็นทางออก ที่ดีให้เรา วิธีหนึ่ง

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 135683เขียนเมื่อ 7 ตุลาคม 2007 06:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)

ยอดเยี่ยมมาก ๆ ค่ะ

ทั้งการประชุมและการนำเสนอสรุปการประชุม

ขอยื่นมือยินดีช่วยเหลืออย่างเต็มใจขอให้บอกนะคะ

ปุ๊กแห่ง BATS

ปัจจุุบัน เป็น ปุ๊กแห่ง BAS ค่ะ

(สำนักวัณโรคแยกไปแล้ว)

 

ภญ.ธิดาพร จิวัฒนะไพศาล

ขอบคุณอ.รวิวรรณค่ะ ที่เล่าเรื่องการประชุมได้สนุกและมีสาระเช่นเคย

เราน่าจะมีเวบบอร์ดของเด็กๆ วัยรุ่น ที่ติดเชื้อบ้างนะคะ เพื่อเสริมจากกิจกรรมค่าย เด็ก ๆ จะได้มีที่แสดงความเห็นและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกันอีกทางนึง

อ.นิรันดร์แห่งสำนักศิริราชก็อยากทำเว็บบอร์ดสำหรับคนทำงานด้านดูแลเด็กติดเชื้อ ต้องการผู้สนับสนุนเว็บมาสเตอร์ให้สักคนนึง จะได้เป็นที่แลกเปลี่ยนความรู้ และเป็นที่ปรึกษาเรื่อง HIV disclsoure ให้เด็ก

ว่าจะปรึกษาคุณปุ๊กอห่งสำนัก BAS อยู่เหมือนกันค่ะ

อบอุ่นยิ่งค่ะ อบอุ่น

เมนท์จาก คุณปุ๊ก ธิดาพร แห่ง BAS และคุณ บิ๋นห์ ธนันดาแห่ง TUC

เธอทั้งสองทำหน้าที่เป็นโค๊ช คอยดูแล ให้กำลังใจ ให้ความสะดวก แก้ไขปัญหาให้ผู้ปฏิบัติงาน

ให้ ทีม นักกีฬาในสนามสู้โรคเอดส์

ให้สู้ต่อ ให้ฮึกเหิม ให้เต็มที่ ให้ทำงานยากๆจนสำเร็จ

 ขอบคุณมากค่ะ

 

เป็นกิจกรรมที่เยี่ยมจริงๆ ค่ะ สร้างความสัมพันธ์ ความสามัคคี และลดความรู้สึกด้านลบที่มีต่อตนเองและครอบครัวในตัวเด็ก/เยาวชน ชีวิตที่คลายทุกข์ สร้างสุขทางใจ ถักทอเติมต่อสายใยของชีวิตคน สุขใจจริงๆ

ทุกครั้งที่เข้ามาอ่านจะเกิดความสุขใจในผลงานที่อาจารย์ได้ทำค่ะ

ขอบคุณแทนเด็กๆค่ะ

เรื่องคุณกำเนิดอาจารย์ได้ดูแลบ้างใหมคะ?   พี่อาจจะไม่ได้อ่านทั้งหมด

พี่เป็นสูติแพทย์เห็นเด็กๆติดกามโรคแล้วปวดใจจัง   นึกไม่ออกว่าจะสอนอย่างไร   รู้สึกพ่อแม่สมัยนี้ไม่ค่อยได้สอนลูกๆเลย

ขอบคุณ ค่ะ

ได้กำลังใจ จาก การสรุปงานให้จากน้องดอกบัวเพียบ เลย

ด้วยความรู้สึกเป็นเกียรติ อย่างยิ่ง

อาจารย์ อัจฉราแห่งสถาบันบำราศ ที่มีชื่อเสียง กรุณามาเยี่ยม

เรียนอาจารย์ ค่ะว่าอ่านความเห็น อาจารย์ ก็ ปวดใจ ตาม

เข้าใจค่ะ ว่า เรื่องที่อาจารย์ว่า ยากจริงๆ   

ในค่ายวัยรุ่น พี่ๆ ป้าๆ และบรรดาแม่ ของแอกเซส เขาสอนเรื่องเพศ เรื่องการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ โดยไม่ตั้งใจ และไม่ปลอดภัย ให้เด็กๆ

เรียน การใช้ถุงยาง การคุมกำเนิด และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย

หวังว่าคงทำให้เด็กมีความรู้ถูกต้อง มีความระมัดระวังและปฏิบัติตัวได้เหมาะสมมากขึ้นค่ะ 

  • สวัสดีค่ะ คุณหมอ
  • มาให้กำลังใจคุณหมอค่ะ และขอให้มีความสุขกับการทำงานเพื่อความสุขของเด็ก ๆ  
  • การมีอยู่ของคนหนึ่ง มีความหมายยิ่งต่อการคงอยู่ของอีกคนหนึ่ง  ชอบประโยคนี้มากค่ะ
มาขอบคุณคุณหมอหน่อย ด้วยบันทึกนี้นะคะ หนังสือจะตามมาค่ะ อ่านแล้วคิดถึงคุณหมอหน่อยยังไงไม่ทราบค่ะ อยากให้อ่านด้วย (เราบ่อน้ำตาน่าจะตื้นพอๆกันนะคะ และคิดว่าความอิ่มเอมใจที่ได้ก็คงจะไม่ต่างกันค่ะ)

สวัสดีค่ะ

P

อ่านแล้ว รู้สึกว่า นี่เป็น ตัวอย่างของจิตอาสาที่เยี่ยมยอดค่ะ

รักษากายเด็กๆ ด้วยยาต้าน  ด้วยระบบโรงพยาบาล เท่านั้นไม่พอ

ต้องรักษาจิดใจที่มีบาดแผล ที่โหยหาความรักความอบอุ่น จิตใจที่รู้สึกต่ำต้อยด้อยค่าของเด็ก

  

ให้เขารู้ถึงคุณค่าของตนเอง

ซึ่งการทำค่ายก็ เป็นคำตอบ  เป็นทางออก ที่ดีให้เรา วิธีหนึ่ง

ขอให้กำลังใจคุณหมอค่ะ

สวัสดีครับ...

ไม่ได้ทักทายนานมาก ...

เข้ามาอ่านหนังจากกำลังกรำงานอยู่อย่างดึกดื่น

...

คนที่ทำงานกับเด็ก   จะมีความสุขเป็นอย่างมาก  เพราะเด็ก  ๆ  คือรอยยิ้มของสังคม ...  แต่ก็น่าสะท้อนใจอยู่มากโข  เพราะเด็กจำนวนไม่น้อยเลยทีเดียวที่ขาดโอกาสจะได้เป็นผู้เติมเต็มรอยยิ้มให้กับสังคม...

และสังคมก็ดูแลเด็ก ๆ  ได้ไม่ดี  หรือไม่ทั่วถึงพอ

ขอบคุณครับ

คำพูด ของ อ ภัทระ ม ขอนแก่น

เธอพูดอะไร คมๆ มากมาย

ขอบคุณ อ Catwoman   นะคะ

อ โอ๋ ที่รัก

ขอบพระคุณ มากๆ ค่ะ  

อ โอ๋อโน  ผู้เป็นที่รักของผู้คนรอบๆเพราะ  มีจิตใจงดงาม

อาจารย์เปล่งรังสีให้ความรัก แก่ผู้คน สม่ำเสมอ ถึงอยู่ไกลๆ ก็ได้รัศมีแห่งความรัก และหวังดีนั้น

ได้ความรู้สึกดีๆ อิ่มๆ อุ่นๆ พองๆ เมื่ออ่านที่อาจารย์กรุณาเขียนถึงในบล็อก  เป็นเกียรติมากเลย

(ขณะอ่านต้องเกาะโต๊ะ เพราะจะลอย)

แล้วยังได้รับเมนต์ เยอะเลยค่ะ

อ แผ่นดินคะ

รักษาสุขภาพกายด้วยนะคะ

สุขภาพจิต อาจารย์ คงมีเปี่ยมล้น จากการทำงานกับเด็ก นักศึกษา และครอบครัวที่น่ารัก

 

สวัสดีครับพี่

เชื่อจริง ๆ เลยครับว่าการทำกิจกรรมที่เล่ามา ได้ผลดีมาก เพราะได้สัมผัสกับการที่  คนที่สิ้นหวังกลับมามีกำลังใจเดินต่อ  เพราะกิจกรรมเหล่านี้  

อีกอย่างผมสัมผัสได้ถึงความตั้งใจ จริงใจกับงาน ของคนทำงานที่พี่เล่าให้ฟัง  รู้สึกดีมากครับ

อาจารย์ภัทระ พูดถูกเลยครับ

การมีอยู่ของคนหนึ่ง   มีความหมายยิ่งต่อการคงอยู่ของอีกคนหนึ่ง

ปล. ( เหมือนเขียน จม. สมัยประถมเลยแฮะ )   ถ้าคู่มือ ที่คุณหมอ กุ๊ก บอกไว้ เสร็จ ขอด้วยคนนะครับ อยากให้ทำเป็น pdf file จะได้ load ได้ ครับ

ขอบคุณ อ นพ จิ้น นะคะ

ต้องไปขอ ทีม TUC(ศูนย์ ความร่วมมือ) และทีม BAS (สำนักโรคเอดส์) 

เร่งทำ คู่มือค่ายออกมา มีคนสนใจ  อยากได้แล้ว

ปล.อย่างไรจะส่งข่าวให้ทราบค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท