การดูงานเอดส์ในเด็กที่ไมอามี่ : Do not resuscitate :อย่ามาช่วย ชีวิตฉัน


ถ้าอาการแย่หรือถ้าไม่รู้สึกตัวอีกเหมือนครั้งนี้ เรียก 911 ครั้งหน้า ขณะนำส่งโรงพยาบาล เธอจะให้ช่วยชีวิต หรือไม่

  อาจารย์ Gwendolyn เป็นหัวหน้าทีม นำทีมทั้งหมดทำFamily Conference พบกับครอบครัว น้อง คิดดี้ อายุ 18 ปี อยู่ วอร์ด วัยรุ่น (Adolescent)

น้องคิดดี้ เธอเป็นเอดส์ ระยะสุดท้าย ป่วยเข้าออก โรงพยาบาลตลอด ตอนนี้ เธอนอน รพ อีกแล้วและเพิ่งจะดีขึ้น จากอาการชัก 2 ครั้งหยุดหายใจ  มีดุลย์กรดด่างในร่างกาย เสียหาย และมีเลือดเป็นพิษ ( sepsis)

เธอมีปัญหาเรื่องกินยายาก ปฏิเสธการรักษามาตลอด

เธอทำ Gastrostomy แล้วเพื่อให้ยา (ที่นี่ถ้ามีปัญหากินยามากๆ ผู้ป่วย และผู้ปกครองจะอนุญาติให้หมอผ่าตัด Gastrostomy ต่อท่อจากกะเพาะอาหาร ออกมาไว้ข้างนอก เปิดปิดปลายได้ ถึงเวลาก็ใส่ยาเข้าไปในท่อ ไม่ต้องกิน แต่กินอาหารและน้ำ ทางปากได้ มีเด็กทำที่นี่ประมาณ 15 คน ส่วนมากเป็นเด็กเล็กค่ะ) แต่ไม่เอายาใส่  ไม่ให้เยี่ยมบ้าน ไม่ให้ติดต่อไม่ร่วมมือสักอย่าง จนป่วยหนัก โทรเรียกรถ 911  มาทุกครั้ง

พยาบาล และนักสังคมสงเคราะห์ ที่เคยไปหา เธอปิด ประตูโครมใส่เลยค่ะ

วันนี้คุณแม่มาจาก บ้านเธอในอเมริกาใต้ เลยเป็นโอกาสอันดี ที่จะพูดเรื่องการเซ็นใบยินยอม DNR (Do not resuscitate) ไม่ต้องช่วยชีวิตฉัน

เธอเซ็นในการนอนรพ คราวนี้แล้ว ว่า ไม่ต้องช่วยชีวิตฉัน แต่ก่อนกลับ เป็นสิ่งที่ต้องเตรียมช่วยให้เธอ และคุณแม่ตัดสินใจว่า

ถ้าอาการแย่หรือถ้าไม่รู้สึกตัวอีกเหมือนครั้งนี้  เรียก 911 ครั้งหน้า ขณะนำส่งโรงพยาบาล เธอจะให้ช่วยชีวิต หรือไม่

ทีม 6 คน อันประกอบไปด้วย อาจารย์ เกวน หมอชาดซึ่งเป็น Fellow เฉพาะทางโรคติดเชื้อ  แพทย์ประจำบ้านสาขาโรคติดเชื้อ 2 คน นักสังคมสงเคราะห์  และรวิวรรณ เข้าไปนั่งเรียงเป็นวงกับคุณแม่และน้องคิดดี้

อาจารย์ เกวน เริ่มเล่าถึงอาการน้องคิดดี้ และการตอบสนองต่อการรักษา ของเธอเป็นลำดับ เป็นขั้นตอนอย่างนุ่มนวล ด้วยภาษาง่ายๆ และถามความเห็นยืนยันว่าเป็นเช่นนี้ถูกไหมใช่ไหม เป็นระยะ น้องคิดดี้ และคุณแม่นิ่งฟัง เป็นส่วนมาก ก็ พยักหน้า และตอบ

เมื่อแจ้งว่า เธอจะเป็นแบบนี้อีก อาจ โคม่าไป อาจ แย่ จนไม่สามารถพูดได้แสดงความจำนงได้ ทางโรงพยาบาล ก็อยากให้ คุณแม่และเธอ แสดงความจำนงว่าจะให้ช่วยเต็มที่ ใส่ท่อหายใจ ซ๊อดหัวใจด้วยไฟฟ้าไหม และอื่นๆ

หรือจะให้ไปสบายโดยแสดงใบสีเหลือง DNR นี้ เพราะผู้ป่วยตัดสินใจแล้ว ทีม 911 ที่ไปถึงก็จะไม่ทำ วิธีการฮีโร่(Heroic procedure) ต่างๆนาๆ แต่จะให้ยาแก้ปวด หรือยาตามอาการ

ถึงตอนนี้ ทั้งคุณแม่ และน้อง ร้องไห้

รวิวรรณนั่งฟังยังต้องกลั้นน้ำตา ไม่ให้ร้องเลย

คุณหมอ และนักสังคมส่งกระดาษทิชชู่ให้เป็นระยะ

ยากนะคะ ที่จะรับเรื่องนี้

น้องคิดดี้ เลยตัดสินใจ ขออยู่

เธอฉีกใบ DNR เดิมทิ้งด้วย และไม่เซ็นอันใหม่

เลยนิ่งกันไปครู่ใหญ่  ทีมเลยเปลี่ยนแนวใหม่ มาคุยกันว่า

แล้วจะทำอย่างไรกับเรื่องกินยา

น้องคิดดี้เธอจะใส่ยาในท่อเอง ถามคุณแม่ว่าจะช่วยใส่ให้ได้ไหม ถ้าเธอต้องการให้ช่วย

คุณแม่ว่าว่า ไม่ได้ เธอทนเห็นสาย หรือท่อไม่ได้

ฟังแล้วอึ้งเลย นะคะ ว่าทำไมคุณแม่ทำไม่ได้

ออกมานอกห้องถึงรู้ว่าชีวิตคุณแม่ก็หนักหนาสาหัส

มีลูกชายที่แข็งแรงดี 3 คนที่บ้านที่ต้องดูแล

ตัวเองก็มีเชื้อ HIV  กินยาต้านไวรัสอยู่อยู่ และเป็นมะเร็งของเต้านม  เพิ่งมารู้ว่าเป็นมะเร็งรังไข่อีก กินยาเคโม ฉายแสง

เธอท้อถอย กับปัญหาชีวิตเธอ และไม่มีความหวังให้น้องคิดดี้เลย

 

คิดถึงเด็กๆ ที่กินยาไม่ได้ ที่เมืองไทยจัง

 

 แนบแบบฟอร์ม DNR มาด้วย เผื่อใครจะได้ใช้ค่ะ

 

หมายเลขบันทึก: 100325เขียนเมื่อ 2 มิถุนายน 2007 19:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (20)
อยากให้ทุกคนในโลกนี้แข็งแรง และ มีความสุขครับ

 สวัสดีค่ะ

อ่านแล้วเศร้าจริงๆค่ะ

ถึงตอนนี้ ทั้งคุณแม่ และน้อง ร้องไห้

รวิวรรณนั่งฟังยังต้องกลั้นน้ำตา ไม่ให้ร้องเลย

เป็นกำลังใจให้คุณหมอค่ะ

ขอบคุณ อาจารย์ ทั้ง 3 ท่าน
P
 อ วรรธนชัย  ตามไปอ่านบล็อก อาจารย์ น่าสนใจมากค่ะ จะติดตามต่อ
รักษาสุขภาพนะคะ
  
P

เป็นเกียรติมากเลยค่ะ รู้สึกตัวพอง
เอาไว้คุยได้ค่ะ ว่า อาจารย์ อัจฉรามาเยี่ยม และยังให้ ความเห็นทิ้งไว้ด้วย ขอบพระคุณค่ะ
P
 อ.sasinanda
 
เศร้าจริงนะคะ แต่ถ้าหมอ พยาบาลร้องด้วย ถ้าจะไปกันใหญ่ ผู้ป่วยคงจะยิ่งรู้สึกแย่ใหญ่เลย 
ได้แต่คอยเฝ้าระวังเด็กที่กินยาของเรา คนไหน เริ่มมีปัญหาต้องรีบช่วยเหลือ
ก่อนจะเกิด เหตุการณ์แบบนี้
ขอบพระคุณ อาจารย์มากค่ะ

 

อึม!    เป็น case ที่ยากในการตัดสินใจจริง ๆ ครับ ทั้งหมอ คนไข้ แล้วก็ญาติ    โดยเฉพาะคนไข้ ที่ต้องตัดสินใจ ว่า จะขอตายถ้าหนักอีก คราวหน้า ( ซึ่งไม่รู้ว่าเมื่อไหร่ )  ทั้ง ๆ ที่ตอนนี้ก็รู้ตัวอยู่

  อยากฟังเรื่องเล่า แบบนี้บ่อย ๆ ครับ ชอบฟัง,มากครับ  เอาไว้สะสมประสพการณ์  เรียนรู้

ขอบคุณ ค่ะ อาจารย์

P

 

มีกำลังใจเล่าขึ้น เยอะ มาก ค่ะ

บ้า ยอ นะคะ และก็ ยุขึ้นด้วย น้องๆ ทีทำงานด้วยเขาจะรู้ค่ะ

ว่าชอบให้คนฟังบอกว่า เอาอีก ๆๆ มากๆค่ะ

ขอบคุณอาจารย์ที่นำCaseมาเล่าให้ฟัง ซึ่งแบบฟอร์มDNSของอาจารย์ถ้ามีตัวอย่างจริงก็ดีคะเพราะในการประชุมของทีมนำทางคลินิกศัลยกรรมของสถาบันบำราศฯก็กำลังหารูปแบบกันอยู่คะ

เรียน อาจารย์ทั้ง สองท่าน

P

อาจารย์ ลอง copy แล้วขยาย File นี้ ดูนะคะ

ถ้าอ่านไม่ได้ บอกมาอีกทีค่ะ จะถ่ายจากตัวจริงส่ง Email ไปให้

พยายามจะไม่เอาเอกสารไปมากนัก  เพราะคู่มือ และเอกสารที่อาจารย์ ให้ ก็ หนักอึ้ง แล้ว

เศร้าจิงๆด้วย ชีวิตคนเรา เน้าะ

เศร้ากว่าทำการบ้าน ที่ ท่วมหัว และก้อสอบอีก

แต่ว่าทำการบ้านก็เศร้านะคะ

ฮ่าฮ๋า

 

ขอบคุณ น้องฟ้าใส ที่มาเมนท์ ค่ะ

การบ้านท่วมหัว มุดออกมาได้ป่าว ต้องไปช่วยลากไหมน้อ

หือ เล่นทำเจาะท้อง ใส่ท่อ ให้ยากันเลย เฉียบขาดจริง ๆ ความรู้ใหม่เลยค่ะ

case แบบนี้อาจจะเจอในบ้านเราในไม่ช้านี้หรือเปล่าคะ เด็กๆ พอเป็นวัยรุ่น เป็นตัวของตัวเองมากขึ้น + เบื่อ + ประท้วง + ......

เศร้าที่สุดกับแม่ของน้องมัท เฮ้อ ชีวิต

 

ขอบคุณ ค่ะ คุณบิ๋นห์

ที่มาทักทาย วันนี้ เราคุยกัน หลาย ครั้ง นะ

กะแล้ว  ว่า เด็ก ที่มีปัญหากินยา จะคุย เตรียมไว้เลย

น่าจะทำ gastrostomy ได้ นะคะ เมืองไทยเรา

 ดูไม่ยากเลย ท่อพลาสติก เล็กๆ  แต่ต้องถามเด็กๆ และผู้ดูแลก่อน

ทีเจาะหู เจาะจมูก เจาะสะดือ วัยรุ่นเรา ยังสบายมากเลย

เรียนอาจารย์หน่อย คงจะต้องรบกวนอาจารย์ส่งFileมาให้ทางEmailแล้วคะเพราะลองเปิดยังไม่ชัดคะขอบคุณมากคะEmail address [email protected]

ไม่อยากให้เกิดเรื่องนี้กับเด็กของเราเลยทุกคน แต่ทุกวันนี้เป็นห่วยเป๊ปซี่มากเพราะว่าเล็กดูแลลูกตลอด กลัวลูกป่วย จะรับไม่ได้ ถ้าตัวเองเป็นแทนได้ก็จะเป็นแทนลูกได้ คุณหมอสบายดีนะค่ะ
ขอบคุณค่ะ ที่มาเยี่ยม ได้ถ่ายภาพใหม่ ทั้งหน้าและหลังและ ส่ง Email ไปแล้วนะคะ
 
P

และน้องเล็ก

หมอคิดเหมือนกันกับเล็กเลยค่ะ ว่า

ไม่อยากให้เกิดเรื่องนี้กับเด็กของเราเลย  
 หมอสบายดีค่ะ ค่อนข้างว่างยกเว้นวันที่มีคลินิก
ไม่ต้องรับผิดชอบอะไร มากค่ะ .

แต่ผมอ่านเรื่องนี้แล้วมีความสุขนะครับ

มีความสุข ที่มีคนใจดี หมอใจดี ไปเยี่ยมดูแลคนไข้ถึงที่บ้าน

อยากให้มีภาพอย่างนี้มากๆครับ ที่บ้านเราครับ

ขอบคุณค่ะ อ เอนก

มีเภสัชใจดี ช่วยมองต่างมุมให้

P

ขอบคุณที่ อ่านเรื่องนี้แล้วมีความสุข

  ที่มีคนใจดี หมอใจดี ไปเยี่ยมดูแลคนไข้ถึงที่บ้าน

  ตอนก่อนกลับ พี่จะต้องสรุปสิ่งดีๆที่บ้านเรา และสิ่งที่ดีของเขา

ให้ พระอาจารย์ที่นี่ฟัง ประเด็นดีๆ ที่อาจารย์ ช่วยจับ จะเป็นส่วนหนึ่งของการนำเสนอ  ค่ะ

P

 

ขอ อนุญาติ ย้ายคำตอบ อ เต็มมาไว้ที่นี่ค่ะ เพราะมีแก้ไข แต่แก้ไม่ได้ ต้องลบและทำใหม่

นาย เต็มศักดิ์ พึ่งรัศมี
เมื่อ  05 มิ.ย. 2550 08:56
ขอบคุณพี่รวิวรรณมากครับ

บางครั้งเวลาเราคุยกับผู้ป่วยเรื่องนี้ เหมือนว่าเรามีคำตอบอยู่ในใจของเราแล้ว แล้วพอผู้ป่วยตอบในสิ่งที่ตรงข้าม เรา รู้สึก
ทั้งๆที่คำตอบในใจนั้น เป็นคำตอบของเรา ในบริบทของเรา ไม่ใช่ของผู้ป่วย
ขอบคุณสำหรับตัวอย่างชัดเจน ที่ทำให้ผมตระหนักเรื่องนี้มากขึ้น คงต้องย้ำเรื่องนี้กันบ่อยๆนะครับ

P

รู้สึก ลอย และตัวพองๆ

อาจารย์ เต็มมาเยี่ยม

ขอบคุณนะคะ

เป็นอย่างอาจารย์ ที่อาจารย์เต็มบอกว่า

ทีมขณะที่ทำประชุมกลุ่ม คิดว่าน้องเคยเซ็น คราวนี้ ก็ น้องคิดดี้คงจะเซ็น เพียงแต่ต้องแจ้งคุณแม่เท่านั้น

เรามีคำตอบอยู่ในใจของเราแล้ว แล้วพอผู้ป่วยตอบในสิ่งที่ตรงข้าม เรา รู้สึก และคาดคิด    เรา ก็งง

คำตอบในใจนั้น เป็นคำตอบของเรา ในบริบทของเรา ไม่ใช่ของผู้ป่วยจริงๆ ค่ะ

อาจารย์ เกวน บอกหลังออกจากห้องว่า แม้ อาจารย์ จะอายุปานนี้ ถ้าอาการหนัก ก็ คงลำบากใจที่จะเซ็นลงไป ว่า

อย่าช่วยชีวิตฉันนะ

ขอบคุณสำหรับตัวอย่าง case ดีๆ ที่อาจารย์ Share ค่ะ ทำให้เห็นตัวอย่างของการดูแลผู้ป่วยด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ในผู้ป่วยระยะสุดท้าย เข้ามาอ่านเพราะตัวเองกำลังตัดสินใจว่าควรจะให้คุณยายของตัวเองที่ฟอกไต เป็นไตวายระยะสุดท้ายและสมองเสื่อมขณะนี้ทานอาหารและยาไม่ค่อยได้ว่าควรทำ Gastrostomy ดีหรือใส่ N-G tube ดีค่ะ

ดีใจที่น้องเต็มดวงได้ข้อมูล เพิ่มเติม

เป็นข้อดี และเป็นกำลังใจ ในการเขียนบันทึกต่ออีก

ฝากความปรารถนาดีไปให้คุณยายด้วยค่ะ หวังว่าลูกหลาน คงจะตกลงกันร่วมกับคุณหมอ ผู้รักษา พบหนทางออก ดีที่สุดให้คุณยายได้ในเร็ววันนะคะ

ขอบคุณมากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท