ย้อนรอย ... ค้น และควานหา ... อัญมณี “คุณค่าของคนทำงาน” ... เพื่อจัดแสดง ในตลาดนัด KM กรมอนามัย (3)


ให้ผู้เข้าร่วมงาน ซึ่งเป็นคนของกรมอนามัยเอง มีโอกาสได้สัมผัสกับเรื่องราวคนทำงาน KM และการนำ KM มาใช้ในเนื้องาน ทุกอย่างล้วนมีคุณค่าแก่การเรียนรู้ แม้ในบางสิ่งอาจดูภายนอกเหมือนจะไม่ใช่ แต่การให้เวลาในการรับฟังเรื่องราวตามหลักการ Deep listening ได้พิสูจน์ในหลายบทเรียน และหลายเวทีแล้วว่า ... กว่าจะมาถึงซึ่งความสำเร็จเล็กๆ นั้น ล้วนมีธรรมชาติแห่งตรากตรำ มุ่งมั่น บนความรู้สึกร่วมกันของคนทำงาน

 

KM Learning Process

ประเด็นที่ 2 ... ในหัวข้อต่อมา คือ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ตลาดนัด KM การออกแบบจึงใช้กระบวนการเรียนรู้ แบบสมัย ที่ดิฉันเรียนวิชา Pathology แบบ Lab กริ้งแหล่ะค่ะ
การกำหนดรูปแบบในขั้นตอนนี้ เป็นลักษณะของการกึ่งบังคับเล็กๆ คือ ไม่ได้ปล่อยให้อิสระ ในการเลือกเรียนรู้ตามความพอใจ ของผู้เข้าชมตลาดนัดทั้งหมด เพราะอยากให้ผู้เข้าร่วมงาน ซึ่งเป็นคนของกรมอนามัยเอง มีโอกาสได้สัมผัสกับเรื่องราวคนทำงาน KM และการนำ KM มาใช้ในเนื้องาน ทุกอย่างล้วนมีคุณค่าแก่การเรียนรู้ แม้ในบางสิ่งอาจดูภายนอกเหมือนจะไม่ใช่ แต่การให้เวลาในการรับฟังเรื่องราวตามหลักการ Deep listening ได้พิสูจน์ในหลายบทเรียน และหลายเวทีแล้วว่า ... กว่าจะมาถึงซึ่งความสำเร็จเล็กๆ นั้น ล้วนมีธรรมชาติแห่งตรากตรำ มุ่งมั่น บนความรู้สึกร่วมกันของคนทำงาน

การเรียนรู้ ในช่วงเวลานี้ จึงออกแบบ

  • ให้มีการแบ่งกลุ่มๆ ละประมาณ 10 ท่าน 1 ท่าน หรือ 1 กลุ่ม จะได้เรียนรู้ประมาณ 3 ฐาน หมุนเวียน ซึ่งแต่ละฐาน หรือแต่ละบู๊ทก็จะมีผู้มาร่วมสนทนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งหมด
  • และเราออกแบบให้มีกระดาษ เพื่อชิงรางวัลคำถามยอดเยี่ยม ซึ่งมีทั้งหมด 6 รางวัล คำถามนั้น ควรสั้น กระชับ และตรงประเด็น (คม ชัด ลึก) เป็นอีก 1 กระบวนการ ที่เราพยายามออกแบบ เพื่อกระตุ้นให้คนเกิดการพัฒนาจากการฟัง คิด ถามและเขียน
  • ระหว่างการชมแต่ละบู๊ท กรรมการ 5 ท่าน (อาจารย์หมอนันทา อาจารย์หมอสมศักดิ์ อาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ จากศูนย์บริการวิชาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ท่านเป็นหัวหน้าทีมนำกรมธนารักษ์มาดูงาน ซึ่งเป็นแขกพิเศษที่ขออนุญาตท่านร่วมเป็นกรรมการด้วย รวมถึง อาจารย์สิงห์ป่าสัก และอาจารย์นง ... เรียกว่า ... กราบขออภัยใช้งานผู้ใหญ่มา ณ โอกาสนื้ เพราะท่านเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่เหมาะสมที่สุด ของงานนี้ ทั้ง 5 ท่าน จะเป็นผู้ให้คะแนนการจัดบอร์ทนิทรรศการของแต่ละบู๊ท คะแนนในส่วนนี้จะถูกผนวกเข้ากับหลายๆ ประเด็น เช่น การทำงานเป็นทีม เป็นต้น ... ซึ่งคะแนนนี้สุด ... สุดค่ะ เพราะอาจารย์นง อาจารย์วีรยุทธเนี่ยะ ... ให้แบบมีทศนิยม 1 ตำแหน่งด้วย ซึ่งที่มาของการให้รางวัลนี้ ผุดบังเกิดขึ้น จากเสียงเรียกร้องของ ท่านผู้เข้าร่วมงาน ชาวกรมอนามัย ที่เห็นแล้วประทับใจ ในความตั้งใจ ของเพื่อนเราชาวกรมอนามัย ซึ่งรางวัลทั้งรีบสรรหามาให้ เพราะทีมงานเราขนของเผื่อภาวะฉุกเฉินเช่นนี้ไปด้วย หลายรางวัล
  • รวมถึงประธาน และกุนซือ ที่ตกลงร่วมกันกับทีมงาน ให้ทำเกียรติบัตรมอบ ให้ทุกบู๊ทตามที่คุณ คุณผู้ชม ขอมา เลยมีรางวัลคล้ายๆ ... ดาวในดวงใจ อะไรประมาณนี้ ซึ่งก็ได้แก่ กองคลัง กรมอนามัย งานนี้พี่เปี๊ยก และ ผอ.ดาริณี เลยยิ้มแบบตาเป็นประกายเลย ... ตามที่คุณวิมล พิธีกรคนสวยของงานเธอแซว
  • อ้อ ... แล้วก็มีรางวัล C&D (Capture and Development) … ประมาณนักขโมยความคิด คือ อาจารย์หมอสมศักดิ์ อยากกระตุ้นให้คนเรียนรู้ ที่จะคิดและพัฒนา ปรับประยุกต์เข้ากับงานของหน่วยงานตนเอง ...

โดยสรุป การแจกรางวัล จึงเป็นอีกกิจกรรมที่กรรมการกลางได้วางแผน KM ไว้ ตั้งแต่ต้นปีแล้ว ซึ่งก็สำเร็จไปตามวัตถุประสงค์ รางวัลเป็นเพียงเครื่องจรรโลงใจ ราคาไม่มากมายนัก แต่คุณค่าอยู่ที่คน และผลของงานค่ะ

 

หมายเลขบันทึก: 46857เขียนเมื่อ 28 สิงหาคม 2006 12:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท