ไปเที่ยวตลาดนัด ... ที่โคราช (13) เสวนา KM กับงานประจำ ... ความสำเร็จในการใช้ KM กองคลัง


กองคลังใช้ KM ในการการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยเรื่อง success story ว่า แต่ละที่มีอะไรบ้าง

 

เรื่องนี้ เป็น Microsuccess ของคลัง กับการจัดทำแผน และความสำเร็จในการใช้ KM ของกองคลัง ... พี่เปี๊ยก คุณพรรณี เทียนทอง มาเล่าสู่กันฟังค่ะ

  • การใช้ KM กองคลัง เกิดจากการที่ถูกเลือกเป็น CKO และได้รับการสนับสนุนจากคุณหมอสมศักดิ์ จึงเกิดเป็น study group ในการทำแผนใช้ KM โดยทำเป็นคู่มือการดำเนินงาน
  • กรมอนามัยเคยมีการทำระบบบริหารความเสี่ยง ได้จากมาตรฐาน ISO จึงมาเสนอว่า น่าจะทำ KM ในเรื่องระบบควบคุมภายใน
  • เพราะว่า สตง. ก็ลงมาเร่งว่า จะประเมินกันอย่างไร ในเรื่องการบริหารความเสี่ยง และดูสภาพแวดล้อมภายในของหน่วยงานอย่างไรกันดี
  • ก็จับขึ้นมาว่า ระบบควบคุมภายในนั้นอยู่ในรูปของ Flow chart
  • และนำระบบควบคุมภายใน มาต่อกับ ISO เพื่อจะถอด tacit knowledge ของทุกคนออกมา
  • กองคลังทำเรื่องนี้เพราะตั้งเป้าประสงค์ว่า จะทำเป็นคู่มือการปฏิบัติงาน เพื่อถอด tacit knowledge ของแต่ละบุคคลออกมา และเป็นการบริหารความเสี่ยงในการทำงาน
  • เพราะว่าการทำงานการเงิน การคลัง การพัสดุ ทำยาก ขั้นตอนยาว ซับซ้อน ความเสี่ยงสูง
  • KM เข้ามาเราดีใจ ตอนแรกเราทำคู่มือ ตอนปี 48 GF เข้ามา กพร. ก็ได้เชิญ อ.ประพนธ์มาบรรยาย ก็สอดคล้องกับ อ.หมอสมศักดิ์เข้ามาพอดี เราก็จับประเด็นว่า KV KS KA คืออะไร
  • พอเราตั้ง KV วางเป้าการบริหารการเงิน การคลัง และพัสดุเข้าสู่ระบบ GFMIS
  • ในปี 48 การวางระบบควบคุมภายในที่เป็น flow chart มีวิธีปฏิบัติ มีผู้รับผิดชอบ มีระยะเวลาการทำงาน ทุกหน่วยงานก็สามารถเอาไปลดขั้นตอนการดำเนินงานได้
  • ในปี 50 งานเกิดขึ้นจาก KV ย่อยๆ ของเรา ก็คือ การลดขั้นตอน ลดวิธีการเบิกจ่าย เพื่อลดเวลาการทำงานให้ได้ 50% เพื่อให้บรรลุ KPI 10.1
  • ที่ทำมา 10 เดือนนี้ ก็คิดกันว่าเราต้องทำอย่างไงให้ต่อเนื่อง เพราะว่าประเมินไปแล้ว 6 เดือน เป้าหมายได้ไหม จริงๆ ได้แล้ว แต่ต้องทำต่อว่า จะลดขั้นตอนการทำงาน 50% ให้ได้มากที่สุด
  • เราก็เจอปัญหาแล้ว จึงเอาปัญหามาประชุม ลปรร. กัน ทำด้วยการเล่า มีการบันทึก ... จับกองคลังเล่าว่าลดได้ กองในส่วนกลางลดได้ ศูนย์ที่ลดได้ก็นำมาเล่า เพื่อที่จะให้ได้รู้ว่า ปัญหาในการทำงานลดได่
  • ตามขั้นตอนที่กองคลังทำขั้น SOP ไว้ให้นี้ ท่านทำแล้วเกิดปัญหาเหมือนเราไหม หรือท่านทำประสบความสำเร็จอย่างหนึ่ง คนหนึ่งเล่าอาจไม่ประสบความสำเร็จ เหมือนกับน้องที่ทำตกลงราคาก็ได้ แต่สุดท้ายก็จะนำไปรวมกันได้ ว่า การลดขั้นตอนมีเทคนิครวมกันอย่างไร จาก 15 วัน เหลือ 10 วัน บางศูนย์เหลือ 12 วัน บางศูนย์เหลือ 8 วัน ว่า เออ เขาทำกันได้อย่างไร
  • ตรงนี้ มีการสรุปบทเรียน และเผยแพร่ในเวป

คุณยุพินกล่าสรุปค่ะ

  • กองคลังใช้ KM ในการการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยเรื่อง success story ว่า แต่ละที่มีอะไรบ้าง
  • โดยที่เขาได้ทำเหมือน learning by doing ไปแล้ว
  • เขามีเรื่องของการเก็บเป็นคลังความรู้
  • เป็น flow chart ที่เขาคิดกันมา
  • และให้ศูนย์ฯ ไปดำเนินการ ในบริบทที่ต่างๆ กัน
  • และกลับมาเล่าให้กันฟังว่า พอดำเนินการแล้วเจอปัญหา ความสำเร็จอย่างไร ทำแล้วได้อะไรบ้าง และมาเล่าสู่กันฟัง
  • จากนั้นก็ปรับในเรื่องของการลดขั้นตอน หรืออื่นๆ ตามบริบทของศูนย์ และก็มีตำรา หรือ Knowledge asset จัดเก็บไว้
  • และมีการพัฒนาไปทั่วทั้งองค์กร รวมถึงศูนย์อนามัยฯ

 

หมายเลขบันทึก: 91857เขียนเมื่อ 22 เมษายน 2007 19:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • KM กองคลังฯ ทำได้ยอดเยี่ยมมากครับ
  • เพราะเป็นอะไรๆ ที่ยึดติดอยู่กับกฎ-ระเบียบ น่าจะจัดการ ลปรร.ได้ยาก แต่ก็สามารถทำได้ดีมาก
  • ขอบพระคุณมากครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท