เสวนา KM : World Bank & Thailand Experience Sharing (6) ... "Community of Practice (CoPs)"


ผอ.ไม่เคยสั่งให้ทำ แต่จะ ... "ตามดม ตามชม" ... เมื่อมองเห็นผลสำเร็จเล็กๆ ที่เกิดในองค์กร ท่านก็ไปขยายใหญ่ ... เราก็ใช้ หัวใจ เป็นข้อตกลงกันว่า จะทำให้เกิดสิ่งที่ดีที่สุดกับผู้ป่วย

 

ช่วงแลกเปลี่ยนประสบการณ์ช่วงนี้ เป็นช่วงที่ ดร.ยุวนุช ทินนะลักษณ์ นำกลุ่มมาเล่าเรื่องให้ฟังกันค่ะ ก็คือ

  • คุณเล็ก ศุภลักษณ์ (สถาบันบำราชนราดูร)
  • ดร.ปรอง (จากบริษัทสแปนชั่น) และ
  • คุณสุรเดช ผู้แทนด้านพัฒนาชุมชนค่ะ

 

ช่วงนี้ขออภัยที่สรุปไม่ได้เรื่องราวเต็มๆ นะคะ เพราะ อย่างที่ว่าไว้ละค่ะ อุปกรณ์ช่วยเหลือหมดประสิทธิภาพพอดีค่ะ อันนี้ได้ข้อสรุปจาก Notepad (สำนวนคุณสิงห์ป่าสัก) จริงๆ ค่ะ

คุณเล็ก (เพื่อนใกล้เรือนเคียงของกรมอนามัยละค่ะ) เธอมาเล่าให้ฟังว่า

  • KM บำราศฯ เริ่มจากจุดเล็กๆ ที่ ห้องผ่าตัด
  • อาศัยพลังความกล้า ของการหลุดจากกรอบ เพราะมีคำถามหลุดๆ ออกมาบ่อยครั้งเหมือนกัน เวลาทำ CoP ว่า ... ทำ CoP แล้วได้เงินหรือเปล่า (?!?)
  • เรารู้ว่า เรารวมตัวกันแล้ว ทำให้เกิดสิ่งที่ดีให้กับผู้ป่วย คือ พลัง
  • ผอ.ไม่เคยสั่งให้ทำ แต่จะ
    ... "ตามดม ตามชม"
    ... เมื่อมองเห็นผลสำเร็จเล็กๆ ที่เกิดในองค์กร ท่านก็ไปขยายใหญ่
    ... เราก็ใช้ หัวใจ เป็นข้อตกลงกันว่า จะทำให้เกิดสิ่งที่ดีที่สุดกับผู้ป่วย
  • ตอนนี้ขยายเพิ่ม เป็นการร่วมด้วยช่วยกัน เวลาที่ดูแลคนไข้คนเดียวกัน กับ พยาบาลวิสัญญี กลายเป็นกลุ่ม CoP ศัลย์ ซึ่งเท่ากับเป็นกิจกรรมระดับกลาง และในระดับใหญ่นั้น ผอ. จะเริ่มเข้ามาชื่นชม และขยายใหญ่ขึ้น (ทราบมาว่า ได้มีการจัดตลาดนัดความรู้ ของ บำราศฯ ไปแล้วนะคะ) ... เท่ากับ KM ก็เกิดแรงกระเพื่อม แผ่กว้างใหญ่ขึ้นๆ CoP บำราศฯ จึงได้ขยายใหญ่ขึ้นๆ เป็น Multidisciplanary รวมตัวกันหลายสาขา
  • KM ก็ได้ถูกนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการจัดการความรู้ กับเครือข่ายต่างประเทศด้วย ในโครงการที่บำราศฯ ได้ทำอยู่อย่างต่อเนื่อง
  • มีการขยายเข้าไปในงานจุลชีววิทยา โดย ชุมชนคนชุดเขียวจัด Morning talk และจุลชีววิทยา จัด Afternoon talk
  • ใช้วิธีการ communication อย่างหนึ่ง ก็คือ การคุย โดยเริ่มต้นจากการคุยกัน ดึงปัญหามา ลปรร. จนเกิด Innovation และเกิดการพัฒนาองค์กร
  • ความยั่งยืนนั้น อยู่ที่ ... มองเห็นคุณค่า
    ... ผู้ป่วยได้รับบริการโดยเจ้าหน้าที่ บุคลากรที่ดี มีความเป็นเลิศทางวิชาการ
    ... บุคคลที่ได้รับการ train มีคุณค่า สามารถไปเป็นวิทยากร เผยแพร่ความรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ เป็นหน้าเป็นตาให้กับสถาบันฯ

เนื้อหาของ ดร.ปรอง และคุณสุรเดช ท่านก็เล่าเรื่องได้น่าสนใจจริงๆ แต่คงขอให้รอติดตามจากบทสรุปของ สคส. อีกครั้งหนึ่งนะคะ ... มาเสวนาครั้งนี้คุ้มค่า คุ้มเวลากับเรื่องได้รับรู้ และเรียนรู้จริงๆ ค่ะ

และเพิ่งได้รู้ tactics ของทาง สคส. นะคะ ว่า ท่านให้เวลาพัก break ถึง ครึ่งชั่วโมง เพื่อให้เวลาสำหรับการ ลปรร. ระหว่างบุคคลค่ะ 

 

หมายเลขบันทึก: 79156เขียนเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2007 11:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
ขอบคุณคุณหมอที่นำมาเล่าค่ะ   พี่ไม่อยู่เพราะติดงานด่วนแต่ก็ทราบรายละเอียดจากคุณหมอค่ะ   ขอบคุณที่ไปเยี่ยม สบรบ่อยๆทางblogทำให้เด็กๆดีใจที่มีคนมา ลปรร ค่ะ   ขอชมว่าเป็นคุณลิขิตที่เยี่ยมมากจริงๆ

ขอบคุณค่ะ อาจารย์ Dr.อัจฉรา ... ที่บำราศฯ มีเรื่องเล่าดีดี เยอะค่ะ ก็เลยชอบที่จะเข้าไปเรียนรู้

... เคล็ดลับ "ตามดม ตามชม" ของอาจารย์ เป็นที่ติดตาต้องใจของผู้เข้าร่วมเสวนามากเลยนะคะ

ตัวเล็กเองขณะที่เล่าเรื่องรู้สึกว่าตัวเองพูดได้วกวนมาก... แต่พอมาฟังอ.นนท์สรุปแล้วถึงได้รู้นักสกัดความรู้นั้นคือคุณหมอนั่นเอง

ไม่รู้ว่าจะใช้คำไหนมาชื่นชมคุณหมอนนท์คนเก่งได้เท่ากับคำว่า "สุดยอดนักลิขิตและนักสกัด" จริง ๆ ค่ะ

คุณเล็กศุภลักษณ์ คุยได้สนุกมาก ไม่วกวนหรอกค่ะ ... ของดีก็ต้องชื่นชมกันค่ะ เป็นเรื่องธรรมชาติ

ขอบคุณคุณเล็กค่ะ ที่เข้ามาเยี่ยม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท