ลปรร. มสช. กับกรมอนามัย (2) ผลพวงจากการใช้ KM ในเวทีส้วมสาธารณะไทย


การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตรงนี้ เป็นการเพิ่มคุณค่า ทำให้คนที่เข้าร่วมการประชุมสามารถนำกลับไปใช้ และเกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งนี่ก็คือเป้าหมายสุดท้ายที่เราต้องการ และอาจจะเป็นบทเรียนให้กับเราในการนำ KM ไปใช้ ถ้าเราต้องการผลงานที่มีคุณภาพดีขึ้น

 

ต้องบอกว่า พี่หลี จากกอง สช. กรมอนามัย เจ้าภาพโครงการส้วมสาธารณะไทย เจ้าของโครงการที่ผ่านการดำเนินงานมาในรูปแบบต่างๆ มากมาย ... ได้เล็งเห็นว่า  "การจัดการความรู้" จะสามารถเข้ามาช่วยเสริมให้การประชุมใหญ่ๆ ที่เธอกำลังจะจัดนั้น เข้าถึงความตระหนักที่จะร่วมด้วยช่วยกันพัฒนาส้วมฯ ของไทย ให้กับผู้เข้าร่วมประชุมได้ เธอก็ไม่รอช้าละค่ะ OK เลย ... และก็ทำให้เห็นผลพวงค่ะ ถึงผลดีที่เกิดขึ้นแล้วจริงๆ เธอบอกว่า

  • ตัวเองไม่มีความรู้เรื่อง KM ไม่เคยลองใช้ และไม่ได้เป็นคณะทำงาน แต่เวลาที่ทำงาน น้องที่กองฯ บอกว่า พี่หลีเอากระบวนการ KM มาจัดการประชุมมั๊ย เพราะว่าของพี่มีเป้าหมายว่า เป็นการจัดการความรู้เกี่ยวกับส้วมสาธารณะ
  • เพราะว่า การจัดการเรื่องส้วมสาธารณะเป็นหน้าที่หนึ่ง ที่จะต้องไปแนะนำให้เขาปรับปรุงสิ่งที่เขามีอยู่ให้ดีขึ้น หรือถ้าไม่ดีให้สร้างใหม่ ซึ่งเขาจะต้องเอางบประมาณของเขาไปก่อสร้าง
  • สองคือ ถ้ามีโครงสร้างการบริหารจัดการที่ดีอยู่แล้ว ก็ต้องทำให้สะอาดตลอดเวลา ซึ่งต้องลงทุนในเรื่องของการก่อสร้าง ตัวโครงสร้าง และต้องมีการบริหารจัดการ ... ซึ่งต้องใช้เวลา กำลังคน และการดูแลตลอดเวลา
  • เพราะฉะนั้น การทำงานตรงจุดนี้จึงค่อนข้างยาก เพราะว่าใช้เงิน ใช้คนของเขา โดยที่เราไปทำอย่างไร? ให้เขาปรับปรุง และคล้อยตามเราว่า เอาเกณฑ์อะไรไปปรับปรุง
  • พอจัดการประชุมขึ้นมา ก็หวังผล เพราะว่างบประมาณของเรามีจำกัด เราจะทำอย่างไรให้ผลกระทบที่เกิดขึ้นมากที่สุด ... ให้เขาเอางานของเราไปใช้ให้มากที่สุด
  • พอน้องกบถามว่า พี่หลีเอา KM ไปใช้ไหม เป็นจังหวะพอดีที่กำลังคิดว่า ถ้าเราจัดประชุม และไม่ได้ผล เราจะทำอย่างไร ... มีความรู้สึกว่า เราอยากทำให้การประชุมของเรามีประโยชน์ คือ คนที่เข้าร่วมประชุมแล้ว เอาสิ่งที่ได้ ความรู้ ประสบการณ์ที่ได้ เอาไปปรับปรุงใช้ นี่คือ สุดยอดของความต้องการ
  • ก็คิดว่า น่าจะลองเอาดู เพราะว่าเป็นสิ่งใหม่ ก็เลยบอก OK น้อง เอาเข้ามาเลย พี่รับทันที ... และก็เริ่มลุย เพราะว่าเวลาเตรียมตัวช่วงสั้นมาก
  • เราต้องมีการเตรียมตั้งแต่ Facilitator คือ เป็นผู้ใหญ่ระดับรองอธิบดี ที่ไม่ใช่เพียงแค่กรมอนามัย แต่เป็นรองฯ ของที่อื่นด้วย และหลายคน เพราะว่าเวทีของเราเป็นช่วงเช้า และบ่าย ก็จะมีวิทยากรหลายคน และ Fa หลายคนด้วย ซึ่งต้องติดต่อประสานงานอย่างดี
  • พอทำไปแล้ว ค่อนข้างจะเหนื่อย เพราะมันกระชั้น และค่อนข้างลนลาน แต่ทำเสร็จแล้ว คิดว่า มันดี คุ้มกับการที่เราเหนื่อย
  • เพราะว่า จากการที่ case หนึ่งที่ได้เจอ หลังจากที่ได้ทำ KM ที่สุราษฎร์ธานี และไปดูงานที่ชุมพร ปรากฎว่า คนที่มาเข้าร่วมประชุมจะเป็นระดับผู้บริหาร รองนายกเทศมนตรี หรือระดับรองสมาคม หัวหน้าหน่วยงาน
  • พอเขาไปดูงาน นอกจากที่เขาได้ฟังในเวทีแล้ว ก็เหมือนกับในเวทีเป็นการโน้มน้าว จากประสบการณ์ที่คนมีอยู่ เป็นการโน้มน้าวความคิด ทำให้เขาได้เกิดทั้งความรู้ และความตระหนัก
  • พอเสร็จจากการประชุม เขาก็กลับไปที่ทำงาน ท่านรองนายกฯ เทศบาลนครหาดใหญ่ ก็เลยเอาลูกน้องในสังกัดเทศบาลทั้งหมด ไปดูงานใหม่อีกรอบหนึ่ง และก็บอกว่า ท่านต้องการปรับปรุงส้วมสาธารณะ ที่อยู่ในความรับผิดชอบของเทศบาลนครหาดใหญ่
  • ท่านเอาคนทั้งหมดที่เกี่ยวข้องไปดู และให้กลับมาทำ เอาครู รร. ที่สังกัดเทศบาลไปด้วย เอาเจ้าหน้าที่สาธารณสุขไป เอาเจ้าหน้าที่ สส. ที่ดูแลเรื่องตลาด เรื่องสวน ไปดู ไปดูกลับมาแล้วท่านบอกว่า ให้ดูแล้วไปปรับปรุงในส่วนที่ตัวเองรับผิดชอบ
  • เมื่อต้นเดือนตุลาคม ท่านอธิบดีได้มีโอกาสไปราชการที่หาดใหญ่ เราก็เลยถือโอกาสนี้พาท่านไปดูงานที่เทศบาลนครหาดใหญ่ ท่านนายกฯ ไปดูพร้อมกับพวกเรา คณะท่านอธิบดีฯ
  • พอพาไปดูเสร็จแล้ว ก็ให้จุดไหนที่ผ่าน HAS เราก็ให้ป้ายมาตรฐานไป พอไปจบที่จุดสุดท้าย ท่านก็พูดความในใจของท่านออกมาว่า ท่านขอพูดความในใจต่อหน้าท่านอธิบดี ว่า ขอขอบคุณมากเลย เพราะว่าท่านคาดไม่ถึงว่า ลูกน้องของท่านจะปรับปรุงได้ดี ในเวลาอันสั้นแค่เดือน ถึง 2 เดือนกว่าๆ นี้ เพราะได้ปรับปรุงแล้วดีแตกต่างกันออกไปเลย ต้องขอขอบคุณลูกน้องท่าน และท่านอธิบดีที่ได้ให้เกียรติไปดูงาน เหมือนกับเป็นกำลังใจให้ลูกน้องท่านด้วย
  • ตอนที่ท่านอธิบดีไปดูงานและมอบป้าย เจ้าของสถานที่คนแรกเขาก็บอกว่า เขาอยากทำ แต่ไม่รู้ว่าจะทำยังไง มันตรงกับสิ่งที่เขาต้องการอยู่แล้ว แต่เขาไม่รู้ว่าจะเริ่มกันอย่างไร พอเขาได้ไปดูงานที่สวนนายดำ ที่ชุมพรแล้ว เขาก็เลยรู้ว่า เขาต้องปรับปรุงอะไรบ้าง อันนี้คือ จุดสำคัญที่ทำให้เขาทำได้
  • อีกคนหนึ่งเป็นพยาบาล หัวหน้าศูนย์สาธารณสุขของเทศบาล บอกว่า "พี่รู้มั๊ยว่า หนูนะ กลับมาแล้วหนูปรับปรุงนี่ หนูมีความสุขมากเลย เมื่อก่อนนี้จะเข้าส้วมก็ต้องรีบออกมา (ของเขาเองนะคะ) แต่เดี๋ยวนี้ หนูชื่นชม แบบมีความสุขมาก เป็นโครงการที่ดีมาก"
  • ก็เป็นการเล่าให้ฟังว่า การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตรงนี้ เป็นการเพิ่มคุณค่า ทำให้คนที่เข้าร่วมการประชุมสามารถนำกลับไปใช้ และเกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งนี่ก็คือเป้าหมายสุดท้ายที่เราต้องการ และอาจจะเป็นบทเรียนให้กับเราในการนำ KM ไปใช้ ถ้าเราต้องการผลงานที่มีคุณภาพดีขึ้น

คงเป็นบันทึกความภูมิใจในผลงาน ที่ส่งผลถึงประชาชน ของโครงการส้วมสาธารณะไทย จากพี่หลีละค่ะ

เรื่องเล่างานส้วมสาธารณะไทย อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ค่ะ ... รวมเรื่อง เบื้องหลังความสำเร็จ ... การจัดการความรู้สู่การพัฒนาส้วมสาธารณะไทย ... สุราษฎร์ธานี ... และ ภาคีจัดการความรู้ภาคราชการ plus กรมอนามัย Open House (19) KM กองสุขาภิบาลชุมชนและประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ...

 

หมายเลขบันทึก: 145353เขียนเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2007 22:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 21:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท