ภาคีจัดการความรู้ภาคราชการ plus กรมอนามัย Open House (21) KM กองคลัง


เวลาตั้งคณะทำงานขึ้นมาก็ต้องไปเลือกคนที่ทำงานเกี่ยวกับเรื่องนี้ เรื่องการจัดซื้อจัดจ้าง เรื่องกระบวนงาน เข้าไปที่ทุกฝ่าย หัวหน้าฝ่าย คุณก็หยิบจับคนที่ทำออกมา จับเขาออกมาเพื่อให้เขามีกำลังใจว่า เราไม่ได้ลืมเขาเลย เราไม่ไปจับคนข้างนอกหรอก จับคนที่รับผิดชอบ เขาจะได้มีความรู้สึกว่า เขามีส่วนร่วมกับเรา ส่วนร่วมทั้งใจ ทั้งเงิน ทั้งแรงใจ แรงกายที่ทำ ... นี่ละค่ะ เราจับคนที่เกี่ยวข้อง ไม่จับสะเปะสะปะ และก็สร้างทีม

 

มาเยี่ยมกองคลัง ชุ่มฉ่ำด้วยน้ำส้ม 1 กล่องค่ะ อร๊อย อร่อย ... งานนี้เจ๊เปี๊ยก และคณะฯ มาร่วม ลปรร. กันค่ะ

  • กองคลัง กรมอนามัย เป็นหน่วยสนับสนุน แต่ทำ KM เป็นทีมต้นแบบของกรมอนามัยมาตั้งแต่ปี 48 ... เราทำด้วยใจรัก ทำโดยไม่รู้ว่า KM คืออะไร ทำโดยอยากรู้อยากเห็น และไม่อยากตก trend ว่า เออ KM เขาเข้ามานะ ... คุณหมอสมศักดิ์มาชวน จริงๆ แล้วก็เชิญทุกหน่วยงาน คุณหมอนันทาก็เชิญ ทำไปๆ ก็ยิ่งชอบ เพราะอยากรู้เพิ่มขึ้น และทำไปๆ ก็ยิ่งรู้ว่า KM แต่ละครั้งที่มีวิทยากรมาเล่าสู่กันฟัง หรือมีผู้เก่งๆ หรือหน่วยงานมาเล่าสู่กันฟัง ก็มีความรู้สึกน่าสนใจ
  • ... คำว่า ความรู้ไหลเวียน ตอนนี้ฟังแล้วก็เฉยๆ แล้วนะ ... แต่ตอนแรก ... เออ KM ทำให้ความรู้ไหลเวียน ... KM ทำให้ความรู้ไปใช้ประโยชน์ ... ภาษาของ KM วันละคำ ที่เขานำมาขาย มาสื่อ ของ อ.วิจารณ์ อ.ประพนธ์ น่าสนใจมากเลย เพราะรู้สึกว่าที่เรียนปริญญาตรีมาเราไม่ได้ใช้ ก็นำมาใช้ได้ ก็เป็นความอยากรู้อยากเห็นอันหนึ่งที่เข้าไป
  • ... เริ่มต้นตั้งแต่ปี 48 ปลายๆ ปี ก็ทำแบบไม่รู้นั่นแหล่ะ คุณหมอสมศักดิ์เชิญขึ้นไปประชุม บอกว่า มีนโยบายในการทำ KM ควรจะต้องทำ ก็ชักจูงกันใหญ่ ก็มี 6 เรื่องมาให้ Study ให้ไปทำแผน กองคลังก็เลือก
  • ... เผอิญกองคลังทำระบบควบคุมภายในอยู่แล้ว ก็เลือก เพราะว่าเหมาะเจาะ เราทำ Study group ได้ ก็เริ่มทำเลย ทำไปพร้อมๆ กับงานประจำ เพราะต้องทำอยู่แล้ว ทำคู่มือการทำงานของกองคลัง ระบบควบคุมการคลังของกองคลัง แสดงอยู่ในเวปไซต์ "การบริหารความรู้" ซึ่งมีข้อมูลหลายอย่าง ทุกคนสามารถไป Download ได้ค่ะ
  • การทำ KM ก็บอกว่า ยิ่งให้ยิ่งดี ยิ่งให้ยิ่งโต ปกตินักวิชาการจะหวงไม่ให้ความรู้ แต่ที่จริงไม่ใช่ ยิ่งให้ยิ่งโต เดี๋ยวเราก็ได้ความรู้อย่างอื่น เราก็บอกว่า ให้เขาเอาความรู้ไปเลย และกลับไปสอนต่อด้วยนะ อันนี้จะดี
  • พอปี 49 ระบบ GF เข้า ก็ต่อด้วยระบบ GF หัวปลาก็เปลี่ยนชื่อ
  • ตอนที่ทำเรื่องระบบควบคุมภายใน สตง. มาให้เราทำ แต่มันไม่สื่อเพราะมันการบริหารความเสี่ยง ผู้บริหารของกรมอนามัยบอกว่า ทำหน่อยเพราะว่าจะได้เป็นคู่มือที่หน่วยงานได้ใช้ (เดิมเรามี ISO อยู่แล้ว แต่ ISO ไม่ประสบความสำเร็จ แต่ก็ทำได้เกือบ 100% แล้วก็หยุด แต่ก็เก็บไว้) ... ก็มาต่อยอดกันทำ เอา ISO มาต่อยอด ทำระบบควบคุมภายในไป
  • ก็เลยทำกันใหญ่ ด้วยแรงจูงใจจากผู้บริหารด้วย และผู้บริหารของกองคลัง และผู้บริหารทุกระดับช่วยกันทำ เพื่อข้าราชการของเราเองนี่ละ และทุกคนจะได้ใช้
  • พอต่อยอด หัวปลาก็เปลี่ยนนิดหนึ่ง ให้มันเหมาะสมกับบรรยากาศของ GFMIS แทนที่จะทำระบบควบคุมภายในตาม GF เปลี่ยนเลยค่ะ เป็น "การบริหารงานคลัง การเงิน การคลัง พัสดุ ตามระบบ GFMIS"
  • ปีนี้ก็ต่อหัวปลาย่อยๆ ของเรา ก็บอกว่า เป็นเรื่องการลดขั้นตอน ก็คือ การตกลงราคาที่ไป sign กับ กพร. ไว้ ทำ KPI ที่กองคลังเป็นเจ้าภาพ ก็ได้มากับงานประจำของเรา ไม่ต้องไปทำเรื่องอื่นเลย
  • ... ก็ทำในยุทธศาสตร์ที่ 1 คือ ยุทธศาสตร์ที่เป็นภารกิจหลักของเราเอง
  • ... ภารกิจที่สอง ก็ทำยุทธศาสตร์การพัฒนาองค์กร ก็ทำ PMQA ไม่ยากเลยค่ะ ง่าย เพราะว่าทำเรื่องเดียวได้ 2 ทาง
  • แต่อย่าลืมแรงจูงใจให้เขาด้วยว่า คุณทำ ก็ต้องได้ Bonus หรือแรงจูงใจว่า เป็นที่ยอมรับ ทำให้เพื่อนๆ ยอมรับ น้องๆ เพื่อนร่วมงาน พี่ๆ คุณหมอนันทายอมรับ หน่วยงานพอใจแล้ว ไม่จำเป็นต้องเป็นเงินก็ได้ ก็เป็นความสุขอย่างหนึ่งที่ต้องอยากทำ
  • เวลาตั้งคณะทำงานขึ้นมาก็ต้องไปเลือกคนที่ทำงานเกี่ยวกับเรื่องนี้ เรื่องการจัดซื้อจัดจ้าง เรื่องกระบวนงาน เข้าไปที่ทุกฝ่าย หัวหน้าฝ่าย คุณก็หยิบจับคนที่ทำออกมา จับเขาออกมาเพื่อให้เขามีกำลังใจว่า เราไม่ได้ลืมเขาเลย เราไม่ไปจับคนข้างนอกหรอก จับคนที่รับผิดชอบ เขาจะได้มีความรู้สึกว่า เขามีส่วนร่วมกับเรา ส่วนร่วมทั้งใจ ทั้งเงิน ทั้งแรงใจ แรงกายที่ทำ ... นี่ละค่ะ เราจับคนที่เกี่ยวข้อง ไม่จับสะเปะสะปะ และก็สร้างทีม
  • พอทำ ก็ต้องบอกเลยว่า ต้องบอก step อธิบายให้เข้าใจ ว่างานจะเข้าตรงนี้นะ คนนี้ไปเกี่ยวพันกับตรงนี้นะ จะมีเวลาทำงานเท่านี้ๆ ก็ทำเป็นแผนการทำงาน สร้างแผนก่อน
  • จะบอกว่า เกิดจากความร่วมมือร่วมใจมั๊ย ขอบอกว่า เกิดจากตัวเองเป็นหลัก ตัวเองเป็นหลักเลย เพราะว่าต้องเป็นพี่ให้น้องๆ มาช่วยกันทำ
  • เราทำตกลงราคาด้วยอธิบายให้ทีมงานเข้ากันว่า งานของเราเป็นอย่างนี้แล้ว เราทำสรุประยะเวลาเพื่อเป็นคู่มือการทำงาน เรื่อง การตกลงราคา คุณจะทำจาก 30 วันทำการ เหลือ 15 วันทำการนั้น ทำอย่างไร ทำให้ง่ายขึ้น และเชิญแต่ละหน่วยมาคุยกัน ให้เขาเล่าว่า เขาทำอย่างเรามั๊ย เขามีสิ่งอะไรที่แตกต่างไปจากเรา คุยกัน แลกเปลี่ยนกัน เพื่อที่จะแก้ปัญหาของเราให้ได้ คือ ต้องสำเร็จให้ได้ วางเป้าเลยว่า เราต้องได้ 100% มาร่วมกันทำ
  • ทำไปสัก 6 เดือน ก็พบว่า มีปัญหาบ้างเล็กน้อยก็คือ ได้ 80% เอง คะแนน ไม่พอใจ ก็คุยกับคุณหมอนันทาว่า เออ มันน่าจะตรวจงบเดือน มันเป็นการเพิ่มภาระงานไหม เพิ่ม ... แต่เรามีคณะทำงาน 10.1 อีก 9 คน ที่จะมาร่วมตรวจสอบ
  • เราก็ทำค่ะ แบ่งกระจายงานไปทำเลย ทุกคนก็มีภาระเต็มมือ วิธีแก้ก็คือ แบ่งกันไป คนละปึก ไปทำร่วมกันงานประจำที่เขาทำ ซึ่งงานประจำของเขาหยุดไม่ได้ ทุกอย่างก็สำเร็จออกไปจากโต๊ะให้ทันเวลา คุณช้าก็ต้องชี้แจงว่า ทำไม และเหตุผลในการชี้แจงว่า ทำไมถึงช้า ก็ทำกันด้วยใจ
  • จนกระทั่ง จากศูนย์ฯ เขต เราใช้เวทีการประชุมพัฒนาการเงินการคลัง และแทรกทำ CoP ด้วย ให้ความรู้เสร็จก็ทำ CoP ในเรื่องนั้นด้วย และก็แจ้งวิธีการที่ว่า เรื่องตกลงราคาจะเป็น KPI แล้วนะ เราส่งตัวนี้เวียนให้ไปใช้ คุณทำได้หรือไม่ได้ให้บอกมา มีปัญหาให้บอกมา ก็ทำได้บ้าง
  • อย่างที่เล่า 6 เดือนก็ทำได้ 80% อีก 20% หายไปไหน เราก็บอกว่า ทำ ซ้อมความเข้าใจ โทรศัพท์ตาม ส่งต้นฉบับเข้ามาตรวจ สุ่ม เพราะว่า Trist เขาคงจะไม่ยอม คุณหมอก็บอกว่า เขาไม่ยอมหรอก ต้องมีระบบในการตรวจสอบ แต่ก็ต้องไม่เป็นการทำงานประจำที่ล่วงล้ำจนทำให้เราไม่มีเวลาทำงาน คุณต้องเชื่อ credit ของคุณด้วย ศูนย์ 10 กว่าศูนย์นี่ คุณต้องทำตามที่วางไว้ คุณโกหกไม่ได้ ก็ประสานกันทางโทรศัพท์กับเจ้าหน้าที่เรา ประสานงานกันทางโทรศัพท์ว่า การนัดเวลาเขาเป็นอย่างนี้นะ อย่าเกินนะ อย่าทำงานเกิน และก็เวียนหนังสือให้ไปทำ
  • มีปัญหาคือ แจงวิธีคิดง่ายๆ ของการคิดเวลา คุณอย่าเก็บงานไว้ คุณต้องรีบคีย์ PO นะ คุณอย่าเก็บงานไว้ คุณต้องรีบมาส่งเบิกนะ คุณต้องตั้งแฟ้มให้เสร็จไว้ คือ แนะนำให้งานเขาสำเร็จให้ได้
  • ซึ่งปีหน้านี่ เราจะเล่น CoP เยอะๆ เราจะทำ CoP ฝ่ายละเรื่อง ต่อเดือน จะทำให้ได้ เพราะจะเริ่มจากเรา เพราะว่าเราต้องเป็นคนนำเขาก่อน เริ่มจาก ตค. เดือนละ 1 เรื่อง เพื่อให้ทราบว่า ความรู้ของพัสดุกรมอนามัยเอง เจ้าหน้าที่ 10 กว่าคนนี่ รู้เรื่องความสำเร็จกันด้วยแบบไหน จากคู่มือ เขาจะทำไม่เหมือนกันหรอกนะ ในวิธีการทำ และเราก็จะสรุปบทเรียนมาเผยแพร่ให้นำไปใช้ ในเรื่องที่ดีดี เราจะสกัดออกมา
  • ส่วนเรื่อง PMQA มีคณะทำงานทำร่วมกัน 20 คน มีอาจารย์มาให้ความรู้ก่อน มาช่วยทำ มันจะสำเร็จด้วยตัวเราเองคงไม่ได้ เพราะว่า PMQA เป็นระบบใหญ่มาก แต่ทำไปบ่นไปนะคะ
  • มีหลายคนบอกว่า กรมอนามัยเขาชื่นชมความเป็นทีม เราบอกว่า มันคงเป็นในสายเลือด วัฒนธรรมองค์กรของกรมอนามัย คือ ต้องทำเป็นทีม ตั้งแต่ Top – Down ลงมาเลย คือ ทำตั้งแต่อยู่กันจนไม่รู้ว่าตัวเองมีวัฒนธรรมแบบนี้
  • "ไม่ต้องบังคับหรอก ก็บอกว่า ทำด้วยใจ" ... แต่ว่าทำไปบ่นไปนะ ทำด้วยภาระหน้าที่ ทำด้วยใจอยากทำ ทำด้วยนโยบาย ผู้บริหารด้วย ก็ทำจนสำเร็จออกมาก และเราจะถ่ายทอดไปที่เวปไซต์ ลองไปใช้ดูนะคะ
  • เวลาคัดเลือกทีม อย่าลืมมือ IT นะ มือ IT ของกองฯ คนนี้เก่งมาก น้องเขาเป็นน้องที่อยู่ฝ่ายพัสดุเอง เวลาเลือกก็ต้องเลือกคนที่ต้องมี IT เก่งด้วย เราจะไปเลือกคนที่ทำ IT ไม่เป็นก็ไปใช้ฝ่ายอื่นไม่สะดวก
  • เวลาสร้างประธาน เลขาก็ควรจะคู่กัน อันนี้ก็เป็นเทคนิคอย่างหนึ่ง

เรื่อง Sharing ในเรื่องของการลดขั้นตอน เป็นการ Share กันภายในกองคลัง หรือว่า เอาคนอื่นมาร่วมในการทำ Sharing ในเรื่อง Knowledge นี้ ?

  • ตอนแรกก็ share กันในฝ่ายพัสดุก่อน เพราะเราจะต้องเป็นต้นแบบให้หน่วยงานนำไปปฏิบัติ พอ share เสร็จ ช่วยกันทำเสร็จแล้วในฝ่าย ก็เรียกหน่วยงานของส่วนกลาง เพราะส่วนภูมิภาคยังไม่ได้เชิญ เพราะว่าไม่ประหยัดค่าใช้จ่าย วิธีเรียกก็ไม่ได้ทำหนังสือเชิญ โทรศัพท์ไปกริ๊งเดียวก็มาแล้วละค่ะ
  • เมื่อกี้เล่าไป เขาก็งง บอกว่าทำได้ยังไง ... ก็บอกว่า น้องๆ คงมีใจรักงาน ก็ต้องบอกว่า วัฒนธรรมของเรา คนกรมอนามัยมีความอยากรู้อยากเห็น ก็คือ ถ้าต้นแบบเขาเชิญ เราไม่ทำก็คงไม่ได้ คงจะผิดพลาดมากกว่า ถ้าหน่วย ก. ผิดพลาดมากกว่า หน่วย ข. ก็คงจะอับอายขายหน้า แล้วก็ไม่มา คุณก็จะไม่รับรู้ ก็จะตก trend เลย
  • สิ่งที่เราเชิญไปคือ วันนี้เราจะทำเรื่องลดขั้นตอนนะ ตกลงราคานะ เราเชิญมาคุยกันหน่อย ว่า สิ่งที่เราจะให้ คุณพอใจไหม คุณทำได้ไหม ก็มาเล่า เราก็เชิญหน่วยงานที่ใหญ่ๆ ก่อน เล่า ว่าคุณทำตกลงราคา คุณทำยังไง จึงสำเร็จ จนกระทั่งส่งมาที่กองคลัง
  • ระหว่างเล่า เราจะพบว่า ความสำเร็จของแต่ละหน่วยไม่เหมือนกัน และมีจุดบกพร่องอะไรบ้าง ที่ทำแล้วคิดว่า ไม่สำเร็จแน่นอน
  • เราจะแนะนำเลย ว่าสิ่งที่เราวาง Pattern ให้คุณ 15 ขั้นตอน 11 ขั้นตอน 15 วันนี่ คุณทำแตกต่างกับเราตรงไหน และทำไมถึงแตกต่าง ด้วยระเบียบ เพราะกองคลังเป็นหน่วยที่ต้องปฏิบัติตามระเบียบ เรื่องของระเบียบ มันดิ้นไม่ได้อยู่แล้ว
  • เพียงแต่ว่า คุณมี tricks ในการทำงานมั๊ย เช่น คุณทำจัดซื้อจัดจ้างไปแล้วนี่ คุณเอาไปสืบราคา คุณสืบกี่วัน สืบล่วงหน้ามั๊ย ทำให้สำเร็จ เราบอกว่า ให้เวลา 2 วันนะ ตอนไปสืบคุณไปสืบ 5 วันก็ได้ใช่มั๊ย คุณสืบล่วงหน้ามา คุณใช้วันเดียวก็ได้ หลังจากวันนั้นมา ที่จะไปออกใบสั่ง ตรงนี้เขาจะเล่าแตกต่างกัน มันก็จะได้ความรู้ขึ้นมาว่า คุณสามารถทำ 2 วันได้นะ ไม่เป็นไรแน่นอน เพราะคุณสามารถสืบล่วงหน้าได้
  • และพอได้จากส่วนกลางแลกเปลี่ยนกันสัก 4-5 หน่วย เราผู้เป็นคนที่จะต้องจัดการตรงนี้ให้เกิดขึ้น เราก็จะเป็นคนรวบรวมปัญหา ให้เขานำไปทำต่อจากเราได้
  • เขาอาจจะบอกว่า เขาสืบไว้เมื่อเดือนที่แล้ว ใช้ได้มั๊ยน๊า หรือว่าลงวันที่ไว้แล้ว ใช้ได้มั๊ย บอกว่า ใช้ไม่ได้ สืบโดยไม่ต้องวันที่ แต่สืบก่อน หรือคุณออกใบสั่งแล้ว นี่ คุณต้องไม่ลืมคีย์ PO ซะเลย เพราะเวลาวื่งแล้ว คุณอย่ามัวรีรอไม่ได้
  • แต่งานคุณอาจจะมีมาก คุณจะยังไงล่ะ คุณก็ใส่แฟ้มพิเศษสิ ใส่แฟ้มสีนี้ไปเลย บอกผู้บริหารไปเลยนะคะว่า KPI ตัวนี้ ในการลดขั้นตอน ในการทำเกณฑ์ตัวนนี้ จะใช้แฟ้มสีนี้เลย ผู้บริหาร หรือ รักษาการเห็น ไม่ยอมเซ็น โปรดกรุณาเซ็น มิฉะนั้น ท่านจะไม่บรรลุ KPI แน่นอน ถูกมั๊ยคะ
  • เวทีที่ติดตามก็จะพูดอย่างนี้ละค่ะ บอกว่า ถ้าคุณไม่ทำงาน ก็จะเกิดปัญหาอย่างนี้กับคุณ ซึ่งเป็นเรื่องเล็กๆ นิดเดียว ใช้แฟ้มพิเศษเลย ท่านก็เซ็นมา มันก็ออกไปจากกองฯ ท่าน เพื่อให้กองฯ อื่นเขาทำงานต่อ

ตอนที่ share กันในกองคลังเอง มันก็เหมือนเป็นประชุมร่วมกัน เพื่อพัฒนาขั้นตอนใช่ไหน เจ้าหน้าที่ทุกคนก็มาคุยกันว่า จะมาลดขั้นตอนกันตรงไหน อย่างไร ใช่ไหมคะ ?

  • ใช่ค่ะ ผู้บริหารกองคลังจะเป็นคนเชิญหัวหน้าฝ่ายฯ
  • แต่ตัวเองเป็นคนที่จะต้องเริ่มทำก่อน เพราะฉะนั้นจะต้องคุยกับฝ่ายของตัวเองก่อน
  • ฝ่ายฯ อื่นๆ ก็จะต้องคุยกับฝ่ายของตัวเองแล้ว
  • ผู้บริหารกองคลังก็จะเชิญมาทำร่วมกันก่อน ว่า วงจรของการทำงานเรื่องนี้ จะเป็นอย่างนี้ พัสดุมี 7 ขั้นตอน สมมตินะคะ ตรงการเงิน 1 ขั้นตอน บริหาร 1 ขั้นตอน ตรงบัญชีมีขั้นตอนเราไม่นับ เพราะว่าเขาไม่ได้เกี่ยวกับประชาชนแล้ว เข้าบัญชีก็ GF แต่เขาก็จะมีงานส่วนของเขาออกไป เพราะฉะนั้น ตัวสรุปเวลาที่เราวางไว้ให้ใน 11 ขั้นตอนได้เงินก็จบ 15 วัน

มีความเชื่อมั่นได้อย่างไรว่า คู่มือของเรามีความเที่ยง หรือว่านำไปใช้ประโยชน์ได้จริง ไม่ใช่เอาเรื่องที่ยังปฏิบัติไม่ได้จริง มีตัวกลั่นกรองอย่างไร ในการประชุม ?

  • ถ้าพูดถึงเรื่องระบบควบคุมภายในที่วางไว้ การวางระบบควบคุมภายในด้วย Flowchart แล้วมีขั้นตอนการทำงาน และมีระยะเวลาการทำงาน มีผู้รับผิดชอบแล้ว ตรงนี้ไปวางด้วยระเบียบ อย่างเรื่องพัสดุก็จะวางด้วยระเบียบพัสดุ มาแตกออกไปว่า การทำงานวิธีตกลงราคาทำอย่างไร
  • ไม่ต้องมีผู้กลั่นกรองให้เรา ... เราจะกลั่นกรองด้วยตัวของเราเอง
  • วัดที่การทักท้วงของหน่วยตรวจสอบภายนอก คือ สตง. ถ้าจะวัดกัน ใครที่คิดว่า เราทำผิดก็มาท้วงได้
  • เราต้องคิดว่า เราทำให้สอดคล้องกับระเบียบที่เรากำลังปฏิบัติอยู่ เพราะว่าเรามีกรอบของเราอยู่แล้ว
  • เราคงไม่ต้องไปกังวลว่า สิ่งที่เราวางนี้จะผิดระเบียบ
  • ถ้าเรากังวลขนาดนั้น เราก็ต้องหาเพื่อน เพื่อนพึ่งพามีเยอะ ภาคีเราก็เยอะ
  • คือ เราแกะระเบียบทำงาน เราก็ไม่กล้ว และวัดด้วยหน่วยตรวจสอบภายนอก หน่วยตรวจสอบภายในก็ได้ ก็จะวัดได้ 2 ทาง
  • หรือวัดด้วยเพื่อนร่วมงานของเราเองก็ได้ ที่จะทักท้วง เราก็ไม่ต้องกลัวละค่ะ

ผมมองว่า ผมสนใจ How to ในการใช้ KM เพราะว่าเทคนิคของแต่ละหน่วยงานไม่เหมือนกัน ผมมองว่าที่นี่ จริงๆ แล้ว มันกึ่งมีความเนียนอยู่ในเนื้องาน ที่ว่าหน่วยงานนั้นต้องทำในเรื่องการทำงานใน PMQA คือว่า จะมียุทธศาสตร์ในการลดขั้นตอนของกระบวนการ ก็เลยแทนที่จะจัดทำตามปกติ ก็เอา KM เข้ามาร่วมด้วย คือ ยิงปืนนัดเดียวได้นก 2 ตัว หลายหน่วยงานก็ทำอย่างนั้นจริงๆ ก็เหมือนกับประชุม สัมมนา กันปกติ เพียงแต่เอา KM เข้ามาเพื่อที่จะมีการทำให้เกิดคู่มือ ความรู้อะไรสักอย่าง ผมก็มีความรู้สึกอย่างหนึ่ง คือ การที่เอาคนที่อยู่ในหน่วยงานอื่น ที่ทำเรื่องเกี่ยวกับงบประมาณอยู่แล้ว และบอกว่าเอา KM ไปทำตรงนี้ จริงๆ ได้ตรงนี้คงน้อย เพราะผมเชื่อว่า ทางพี่คงรู้เยอะว่าพวกนี้อยู่แล้วละ แต่การที่ให้เขาได้ ลปรร. กัน ก็จะเป็นการทำเรื่อง KM ผมมองว่า พี่ไม่ได้ความรู้จากหน่วยย่อยๆ มามากนักหรอก จริงๆ อยากถ่ายทอดในเชิงความรู้ให้ได้รู้เท่าๆ กันมากกว่า ?

  • ตรงนี้เคยถามปัญหากับคุณหมอสมศักดิ์ สมัยที่ทำ KM ใหม่ๆ ว่า มันงงน่ะ ว่า tacit knowledge มันเกิดจากตัวคน ประสบการณ์ของเรา เอาออกมาบอกว่า มาเล่าว่า คุณทำยังไงแล้วมันสำเร็จ หรือ explicit k คุณได้จาก คุณไปศึกษาเล่าเรียนมา คุณไปเอาจากตำรามา คุณเอา 2 ตัวนี้มาช่วยกัน ในเวทีการประชุมให้ความรู้
  • ทำยังไงให้เกิด CoP ? ... ตอนนั้นงงมากเลยนะ ... ก็เลยคิดกันเล่นๆ ว่า เออ ก็ลองทำเอาจากปัญหาสิ
  • หลังจากการประชุมเสร็จแล้ว มันเกิด CoP ขึ้นระหว่างการประชุม ... เราทำการประชุมทำ CoP ด้วย 2 เรื่อง ตอนที่ GF เข้า เราทำเรื่องการทำคีย์ PO เพราะว่า PO มีปัญหามากเลย ทำกันไม่ถูก ไม่รู้ว่าจะทำยังไงให้ถูกต้อง ก็ทำผิดๆ ถูกๆ มา ก็ใช้เวทีให้อบรมแล้ว ก็ไม่เกิดประโยชน์เพราะทำไม่ถูก
  • ก็ให้เล่าเลยว่า ทำยังไง จะได้รู้เลยว่า ทำยังไง ให้เขาเล่า เขาก็เล่ามา ... ศูนย์ฯ หนึ่งเล่ามา เราปี๊งเลยนะคะว่า สิ่งที่กองคลังติดขัดเหมือนกันนี่ ทำให้เรารู้ว่า การติดขัด 2 หน่วยนี้มันต่างกัน แต่ผลสำเร็จ สำเร็จได้ทั้งคู่นะ แต่ทำต่างกัน ...
  • เวลาเล่ามันจะเกิด ปิ๊งไอเดียออกมา ความสำเร็จของแต่ละเรื่องที่ทำ และเราทำ PO สำเร็จ
  • เรามาสรุปบทเรียนว่า วิธีทำ PO มันทำยังไงจึงสำเร็จ จากการเล่า เล่าหลายๆ ศูนย์ และหลายๆ กองที่เล่า อย่างนี้ละค่ะ มันเป็นปัญหามาเลย ก็จับปัญหานี้ละ มาทำ CoP แต่ไม่ได้เอาวิธี เอาปัญหามาคุยกันนะ แต่เอาวิธีการแก้ปัญหา เพราะเขาก็ต้องทำสำเร็จ
  • ... แต่เรารู้ว่า เรื่องนี้มันเป็นปัญหามาก หรือวิธีการคีย์ การเบิกจ่ายตรงอย่างนี้ คีย์ยังไง คีย์ผิดๆ ถูกๆ ก็ให้เล่า แต่ละศูนย์ฯ ก็มาเล่า แต่ละกองฯ ก็เล่ากัน ก่อนที่จะคีย์ทำยังไง ก็ยังมีผิดอีก ปีนี้ก็จะให้เรื่อยๆ บ่อยๆ ก็มีผิดค่ะ เพราะว่ามันจะเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ รหัสจะเปลี่ยน ก็จะมีการประชุมก็เกิด CoP ได้

นี่ละค่ะ KM หน่วยงานสนับสนุนของกรมอนามัย ก็มีสไตล์ของการทำแบบ อยู่ภายใต้ระเบียบ ที่ให้เกิดชิ้นของความรู้ได้มากมาย ลองเข้าไปดูสิคะ ที่ "การบริหารความรู้" กองคลัง กรมอนามัย 

รวมเรื่อง ภาคีจัดการความรู้ภาคราชการ plus กรมอนามัย Open House  

 

หมายเลขบันทึก: 127468เขียนเมื่อ 12 กันยายน 2007 21:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ผม  หมออนามัย  ไกลปืนเที่ยง  ซึ่งทำงานกับพื้นที่ชนบท  ถิ่นอีสาน  ซึ่งจริงแล้ว อุดมการณ์เพื่อบ้านเกิดสมัยเรียนตั้งใจเต็มที่  ว่าจะทำงานเพื่ออุดมการณ์  แต่สัมผัสกับงาน  ราชการที่ผมสัมผัส  ประมาณ สิบ  ปีกว่าๆ  จึงถึงบางอ้อ  ว่า  จริงแล้วในกระทรวงไม่จริงใจ  เห็นแก่ประโยชน์ส่วนต้วเป็นส่วนใหญ่  ซึ่งงานที่ผู้ปฏิบัติ  กับงานผู้บริหาร  มองต่างมุม  ทำให้การพัฒนา ด้านมูลฐานที่จำเป็นต่อการพัฒนาประเทศไปคนละทิศทาง  ผมจึงฝังใจกับกระทรางนี้มาก  และคุยกับเพื่อนๆมากมาย  บอกว่า  เราก็ทำพอเสร็จๆ  ไป  การรายงานต่างๆ  ถ้าส่วนกลา

เขาต้องการอยากได้อะไร  ก็ทำไปให้เขาพอให้เสร้จ  ผมจึงจำเป็น  ต้องหา  หนทางเพื่อปลีกตัวเดินอีกเส้นเป็นงัย  

ถ้าไม่ถูกใจท่าน  ก็ขออภัยไว้  ณ  ที่  นี้ด้วย

ความเคารพ  ผู้ที่อยู่ส่วนกลาง

 

เวลาเราคิดจะทำสิ่งใดๆๆๆๆขอให้คิดเชิงบวก สร้างสรรค์ เพื่อ ประชาชน เพื่อความถูกต้อง รับใช้ประชาชน เพื่อแผ่นดินไทย ไม่ใช้ความรู้สึกมาตัดสิน เราจะได้ทำงานด้วยความสุข มีความตั้งใจ ผลงานจะออกมาดี ลองทำดูนะคะ

เราเป็นข้าราชการไทย รับเงินเดือนด้วยภาษีอากรของชาติไทย เวลาเราทำงานเพื่อบรรลุเป้าหมายของหน่วยงาน เราจะมีความสุข

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท