รวมก๊วนสร้างพลังเรียนรู้ และพัฒนากิจกรรมผู้สูงอายุ (20) เรื่องเล่าหมอจักรพันธุ์


ตอนแรกเราเริ่มจากการไปทำความรู้จักกับผู้นำ ดูพื้นที่ ดูกิจกรรมที่เขาทำ ก็จะมีการเต้นแอโรบิคตอนเย็นทุกเย็น และมีการรวมกลุ่ม ซึ่งกลุ่มนี้ค่อนข้างมีผู้นำที่ดี ซึ่งเป็นประธานชมรมนี้ เคยทำงานที่ รพ. ด้วย

 

หมอจักรพันธุ์ เพิ่งรับราชการมาทำงานแห่งแรกก็ที่นี่ละค่ะ รพ.บ้านเขว้า จ.ชัยภูมิ (... เป็นพระเอก Music ของคณะทันตฯ มข. ด้วยนะคะเนี่ยะ) ... เธอเล่าว่า

  • เพิ่งรับโครงการมาจากทางพี่เขาอีกที
  • ซึ่งโครงการเดิมที่ทำ เราทำกับกลุ่มผู้สูงอายุที่อยู่ที่ รพ. ส่วนมากเป็นข้าราชการเก่า เป็นกลุ่มที่มีความรู้ และมีความตระหนักในการดูแลสุขภาพช่องปากอยู่แล้ว
  • ก็คุยกับพี่ก่อนที่จะย้ายไปว่า ปีนี้เรามาเปลี่ยนกลุ่มกันดูมั๊ย ก็ไปคุยกับพี่ฝ่ายส่งเสริมฯ ในการมาเลือกกลุ่ม ก็ดูกลุ่มที่อยู่ใกล้ รพ. ที่เข้มแข็งที่สุด ก็เป็นหมู่ 14 ในตำบลบ้านเขว้า
  • ตอนแรกเราเริ่มจากการไปทำความรู้จักกับผู้นำ ดูพื้นที่ ดูกิจกรรมที่เขาทำ ก็จะมีการเต้นแอโรบิคตอนเย็นทุกเย็น และมีการรวมกลุ่ม ซึ่งกลุ่มนี้ค่อนข้างมีผู้นำที่ดี ซึ่งเป็นประธานชมรมนี้ เคยทำงานที่ รพ. ด้วย
  • กลุ่มชาวบ้านกลุ่มนี้ก็เป็นกลุ่มที่อยู่ในเมือง ค่อนข้างให้ความสนใจ และมีเวลาว่างเข้าร่วมกิจกรรม
  • ขั้นตอนแรก ... เราก็ไปนัดแนะกับผู้ใหญ่บ้าน
  • ทำกิจกรรมการพูดคุยเกี่ยวกับปัญหา ก็ให้เขาแบ่งกลุ่ม และให้คุยกันว่า
    ... เขามีภูมิปัญญาเดิมอะไรอยู่ไหม
    ... มีปัญหาอะไร
    ... อยากให้ รพ. ช่วยในการดูแลช่องปากอย่างไร
    ... มีการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างไร
  • และก็นำมาวิเคราะห์ว่า วิธีการดูแลของเขาถูกต้องไหม เราควรต้องไปให้เขารู้เกี่ยวกับอะไรบ้าง และเราสามารถนำภูมิปัญญาที่ได้นี่มาประยุกต์ใช้ได้หรือเปล่า
  • จากนั้นผมก็เริ่มทำการอบรมให้ความรู้ โดยออกไปให้ความรู้เหมือนที่ทุกคนทำ ก็คือ การแปรงฟัน การดูแลช่องปาก ปัญหาโรคในช่องปาก และสิทธิการรักษา (ซึ่งถูกเรียกร้องมามาก เพราะชาวบ้านส่วนใหญ่ยังไม่รู้ว่า สิทธิบัตรทองทำอะไรได้บ้าง)
  • ผมก็เลยคิดกับพี่ จัดทำคู่มือสำหรับผู้สูงอายุ เป็นหนังสือเล่มเล็กๆ ง่ายๆ แต่เขียนตัวใหญ่ๆ ว่า
    ... โรคฟันผุเกิดจากอะไร
    ... แปรงฟันที่ดีแปรงยังไง
    ... และเกี่ยวกับถ้าปวดฟัน เราควรทำยังไง
    ... ถ้ามีอาการยังไง ควรมาหาหมอฟัน
    ... และสิทธิการรักษา
    ... (มีรูปภาพประกอบ)
  • ทำกันเอง ใช้งบประมาณจากโครงการ เราพยายามใช้คำง่ายๆ ที่ชาวบ้านเข้าใจ เอาคำวิชาการมาพูดง่ายๆ ให้เข้าใจ และบางส่วนเราใช้ภาษาท้องถิ่นเข้าไปด้วย
  • และก็มีคล้ายๆ กัน ก็คือ มีการอบรมแกนนำ ทำกลุ่มแกนนำขึ้นมา เพื่อออกตรวจทันตสุขภาพ
  • และผมประยุกต์ใช้ จากที่ผมเรียน คือ ... ผมได้ร่วมกับรุ่นพี่ที่พนัส ตอนที่เรียนอยู่ ได้ทำโครงการเพลงพื้นบ้าน เรื่อง สุขภาพ ซึ่งเป็นเพลงหมอลำ ร้องเพลงเกี่ยวกับการแปรงฟัน ให้ความรู้การทำฟันเทียม
  • ... ผมก็นำเพลงส่วนนี้มาใช้ ทางหอกระจาย ซึ่งเขามีการกระจายข่าวอยู่แล้ว
  • ก็จัดตั้งกลุ่มแกนนำเกี่ยวกับเรื่องนี้เข้าไปให้ความรู้ ในหนังสือที่ผมทำ และเปิดเพลงที่ทำเป็นเพลงพื้นบ้านเข้าไปด้วย
  • ช่วงเย็นที่มีการเต้นแอโรบิค ก็มีการนำเพลงนี้มาเปิดด้วย
  • แต่โครงการพูดตรงๆ ก็ยังไม่ค่อยคืบหน้าเท่าไร ตอนนี้ก็ยังทำอยู่ เหมือนเริ่มทำใหม่หมดเลย เพราะเริ่มทำจากตอนที่ผมจบมาก็ทำได้ 2-3 อาทิตย์

นี่ขนาดเพิ่งทำใหม่ๆ หมาดๆ นะคะ เนี่ยะ ยังไปได้ไกลถึงขนาดนี้ ต้องดูต่อไปว่า จะมีความยั่งยืนอยู่หรือเปล่านะคะ

รวมเรื่อง "รวมก๊วนสร้างพลังเรียนรู้ และพัฒนากิจกรรมผู้สูงอายุ"

 

หมายเลขบันทึก: 115979เขียนเมื่อ 1 สิงหาคม 2007 06:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท