ไม่มีสัญชาติไทย ไม่มีเลข ๑๓ หลัก ไม่มีสิทธิในหลักประกันสุขภาพ ?


                         จากข้อมูลเบื้องต้นในเวปไซต์ของสำนักงานหลักประกันสุขภภาพแห่งชาติ (ซึ่งต่อไปนี้จะขอเรียกชื่อเล่นว่า สป.สช. ค่ะ) ปรากฎว่ามีการตีความ บุคคลทุกคนมีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขที่มีมาตรฐานและมีประสิทธิภาพ ในมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 ให้หมายถึง บุคคลที่มีสัญชาติไทย                 

                     โดยมีข้อความตอนหนึ่งว่า "บุคคลที่จะมีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขตาม มาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๕ นั้น หมายถึง บุคคลที่มีสัญชาติไทย ทั้งนี้เพราะพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๕ บัญญัติขึ้นตามมาตรา ๕๒ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งอยู่ในหมวด ๓ ว่าด้วย สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย ดังนั้นความหมายของคำว่า "บุคคล" ในมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๕ และในมาตรา ๕๒ แห่งรัฐธรรมนูญ จึงหมายถึง ชนชาวไทย ตามหมวด ๓ แห่งรัฐธรรมนูญ ซึ่งในทางกฎหมายคำว่า "ชนชาวไทย" หมายถึงบุคคลที่มีสัญชาติไทยตามกฎหมายว่าด้วยสัญชาติ จึงไม่ครอบคลุมถึงคนต่างด้าว "

                    นั่นย่อมหมายความว่าบุคคลผู้มีสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ก็ย่อมหมายถึง บุคคลที่มีสัญชาติไทย [1]เช่นกัน 

                    นอกจากนี้ในทางปฏิบัติบุคคลที่มาของลงทะเบียนใช้สิทธิจะต้อง มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก [2] และไม่มีสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาลอื่นใดที่รัฐจัดให้ด้วย

                   โดยตัวอย่างบุคคลที่มีสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาลจากรัฐ ได้แก่   (1.)    ผู้มีสิทธิตามพระราชบัญญัติประกันสังคม เช่น ลูกจ้างที่ทำงานในกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไปยกเว้น ลูกจ้างทำงานบ้าน หาบเร่ แผงลอย หรือลูกจ้างของบุคคลธรรมดาที่ไม่มีการประกอบธุรกิจรวมอยู่ด้วย  (2.)   ผู้มีสิทธิตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล เช่น ข้าราชการ ลูกจ้าง    ประจำของส่วนราชการ และครอบครัว  ( 3.)   ผู้อยู่ในความคุ้มครองของหลักประกันสุขภาพอื่นที่รัฐจัดให้ เช่น พนักงานรัฐวิสาหกิจ  พนักงานหรือเจ้าหน้าที่ในองค์กรอิสระ  ครูโรงเรียนเอกชนในระบบ 

v('o")v.....หลังจากกริ๊งกร๊างไปถามฝ่ายกฎหมายของ สป.สช.ก็ได้ความเพิ่มเติมว่า........

๑. ไม่มีสัญชาติไทยไม่มีสิทธิในหลักประกันสุขภาพ ?                 

                          ทาง สป.สช.ยังยืนยันคำเดิมว่าสิทธิในหลักประกันสุขภาพนั้นมีได้เฉพาะคนสัญชาติไทยเท่านั้น แม้ว่าก่อนหน้านี้(ครั้งที่ ระเบียบว่าด้วยการประกันสุขภาพถ้วนหน้า พ.ศ. ๒๕๔๔ ยังมีชีวิต)จะหมายถึงบุคคลทุกคน(จริงๆ) ที่มีชื่อในทะเบียนบ้าน [3]  แต่หลังจากประกาศใช้ พรบ.หลักประกันสุขภาพ พ.ศ.๒๕๔๕ ก็ถือเป็นจุดจบของระเบียบฉบับดังกล่าว ซึ่งผลในครั้งนั้นตกอยู่กับประชาชนตาดำๆ

๒. ไม่มีเลข ๑๓ หลัก ไม่มีหลักประกันสุขภาพ ?

                 ทาง สป.สช. บอกว่า ตอนนี้ระบบหลักประกันสุขภาพ (บัตรทอง) ถูกผูกติดกับ เลข ๑๓ หลัก ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้เข้าถึงหลักประกันสุขภาพจะต้องมีเลข ๑๓ หลัก

                 โดยมีข้อสังเกตว่าต้องผ่านด่านแรกมาก่อน คือ ต้องพิจารณาว่าบุคคลนั้นมีสัญชาติไทยหรือไม่ แล้วจึงพิจารณาเงื่อนไขต่อไปว่ามี เลข ๑๓ หลักหรือไม่ เนื่องจากไม่เฉพาะคนสัญชาติไทยเท่านั้นที่มีเลข ๑๓ หลัก [4]  ดังนั้น จะใช้สิทธิบัตรทองได้ในความหมายนี้ก็ต้องมีทั้ง สัญชาติไทย + มีเลข ๑๓ หลัก

๓. คนที่มีสัญชาติไทยตามข้อเท็จจริงล่ะ ก็เค้ายังไม่ได้รับการรับรองสถานะบุคคลตามกฎหมาย เค้าจึงยังไม่มีเลข ๑๓ หลัก ? จะทำยังไงดี    เช่น คนที่ไม่ได้แจ้งเกิดจึงไม่มีชื่อใน ทร.๑ จึงถูกกฎหมายสันนิษฐานว่าป็นคนต่างด้าว ]          

                 อย่างน้อยเค้าก็ต้องมีเอกสารจากทางราชการ(กรมการปกครอง) ที่รับรอง หรือยืนยันว่ามีสัญชาติไทย อย่างไรถือว่ามีสัญชาติไทยให้ถือตาม พรบ.สัญชาติ 

                      

      

.......................................................................................................................................................................................

ขอบคุณข้อมูลจาก

http://www.nhso.go.th/NHSOFront/SelectViewFolderAction.do?folder_id=000000000000055

http://www.dnp.go.th/MFCD4/FIRECONTROLWEB/know3.htm#f6

และที่สำคัญ ขอขอบคุณเจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมายของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่กรุณาช่วยตอบข้อหารือของข้าพเจ้ามา ณ ที่นี้ด้วย

[1] โปรดดูประกอบ  หนังสือตอบข้อหารือของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเลขที่ สปสป ๓๐/๐๑ ลงวันที่ ๕ มกราคม ๒๕๔๗  ต่อ ผู้อำนาวยการโรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์ ในปัญหาการขอรับเงินชดเชยจากการอนุเคราะห์ค่ารักษาพยาบาลคนต่างด้าว [pdf]

[2] ไม่มีระเบียบ หรือกฎกระทรวง

 [3] ทะเบียนบ้านมี ๒ ประเภท

๑.ทะเบียนบ้านสำหรับคนอยู่ถาวร หรือ ทร.๑๔  ได้แก่ คนสัญชาติไทยทุกคน และคนต่างด้าวที่เข้าเมืองถูกกฎหมาย(มีวีซ่า พาสปอต+ .ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว + หนังสือสำคัญแสดงถิ่นที่อยู่)   และ

๒.ทะเบียนบ้านสำหรับคนอยู่ชั่วคราว หรือ ทร.๑๓ ได้แก่ คนต่างด้าวที่ได้รับสิทธิอาศัยชั่วคราวตามกฎหมายคนเข้าเมือง(พรบ.คนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๑๗ และมาตรา ๓๔ )

[4] ใครมีสถานะทางกฎหมายอย่างไรสามารถดูได้จากเลขตัวแรกในเลข  ๑๓ หลัก

กลุ่มที่ขึ้นต้นด้วยเลข ๐    บุคคลตามยุทธศาสตร์จัดการปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคล ๑๘ มกราคม ๒๕๔๘

กลุ่มที่ขึ้นต้นด้วยเลข ๐๐ แรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่า ลาว กัมพูชา

กลุ่มที่ขึ้นต้นด้วยเลข ๑   คนสัญชาติไทยโดยการเกิด แจ้งเกิดภายในกำหนด (ตั้งแต่ ๑ มกราคม ๒๕๒๗)

กลุ่มที่ขึ้นต้นด้วยเลข ๒  คนสัญชาติไทยโดยการเกิด แจ้งเกิดเกินกำหนด (ตั้งแต่ ๑ มกราคม ๒๕๒๗)

กลุ่มที่ขึ้นต้นด้วยเลข ๓  คนไทย ,คนต่างด้าว+มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว+ มีที่อยู่ในทะเบียนบ้านสมัยเริ่มแรก (๑ มกราคม ๒๕๒๗ - ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๒๗)

กลุ่มที่ขึ้นต้นด้วยเลข ๔  คนไทย ,คนต่างด้าว+มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว+ แจ้งย้ายเข้าโดยยังไม่มีเลขประจำตัวประชาชนในสมัยแรก (๑ มกราคม ๒๕๒๗ - ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๒๗)

กลุ่มที่ขึ้นต้นด้วยเลข ๕  คนไทยที่ได้รับออนุมัติให้เพิ่มชื่อในทะเบียนบ้านกรณีตกสำรวจ หรือกรณีอื่น

กลุ่มที่ขึ้นต้นด้วยเลข ๖  ผู้เข้าเมืองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ได้รับการผ่อนผันให้สิทธิอาศัยชั่วคราว

กลุ่มที่ขึ้นต้นด้วยเลข ๗  บุตรของ คนต่างด้าวเข้าเมืองผิดกฎหมายซึ่งได้รับการผ่อนผันให้สิทธิอาศัยชั่วคราว 

กลุ่มที่ขึ้นต้นด้วยเลข ๘ คนต่างด้าวเข้าเมืองถูกกฎหมาย + มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว , คนที่ได้รับการแปลงสัญชาติเป็นไทย ,คนที่ได้รับการให้สัญชาติไทย

หมายเลขบันทึก: 162034เขียนเมื่อ 29 มกราคม 2008 09:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มิถุนายน 2012 19:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

ขอตอบข้อสงกาสัยของพี่ด๋าวที่ถามว่า ..คนถือใบต่างด้าว (มีสิทธิอาศัยถาวร + ทร.14) สามารถมีบัตรหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า(บัตรทอง)ได้ไหม ?

ถ้าพิจารณาจากการตีความของ สป.สช. ประกอบกับทางปฏิบัติตามที่ได้กล่าวมาตอนต้น ก็ฟันธงได้ว่า ในปัจจุบันบุคคลดังกล่าวไม่อยู่ในข่ายที่จะได้รับสิทธิในการมีบัตรทองค่ะ  แต่เค้าจะได้รับการรักษาตามหลักมนุษยธรรม แปลว่าโรงพยาบาลที่รับรักษาจะต้องรับผิดชอบในงบประมาณส่วนนี้เอง ๆไม่สามารถเบิกได้จาก สป.สช.

จากเดิมที่บุคคลกลุ่มนี้เคยมีสิทธิตามระเบียบว่าด้วยการประกันสุขภาพถ้วนหน้า พ.ศ.๒๕๔๔ เนื่องจากเป็นบุคคลที่มีชื่อในทะเบียนบ้าน โดยระเบียบฉบับดังกล่าวไม่ได้จำกัดว่าจะต้องเป็นบุคคลที่มีสัญชาติไทยเท่านั้น เพียงมีชื่อในทะเบียนบ้านก็มีสิทธิ

 

 

ตัวหนังสือสีเขียวอ่านยากมากเลยค่ะ ฮือๆ แต่ขอบคุณสำหรับข้อมูลนะคะ ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับงานทั่วไป ของชุดโครงกรย่อยอื่นๆ ด้วย แต่อยากได้ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญกับข้อค้นพบนี้ค่ะ

ขอขอบคุณสำหรับข้อมูลคะ

เห็นด้วยสำหรับความเห้นของจ๊อบคะ

ไหมช่วยเปลี่ยนสีตัวหนังสือก็ดีคะ

แก้สีให้แล้วนะ ขอบคุณมากจ้า จ็อบ & พี่รัตน์

ไหม

ดังนั้น ก็ฟันธงได้ว่า สปสช.ตีความกฎหมายไทยในลักษณะที่ปฏิเสธสิทธิในหลักประกันสุขภาพของคนต่างด้าวได้แล้วมังคะ

ประเด็นต่อไปที่ต้องฟันธ. ก็คือ ประเทศไทยมีพันธกรณีตามกฎหมายระหว่างประเทศที่จะรับรองสิทธิในหลักประกันสุขภาพแก่มนุษย์ทุกคนไหมคะ

 ไหม เตือน ด๋าว เปรียบเทียบกับกฎหมายระหว่างประเทศได้แล้วล่ะ

 

แก้ไขข้อมูลฟุตโน๊ต ด้วยจ้า

กลุ่มที่ขึ้นต้นด้วยเลข ๐   คือบุคคลตามยุทธศาสตร์จัดการปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคล ๑๘ มกราคม ๒๕๔๘

กลุ่มที่ขึ้นต้นด้วยเลข ๐๐  คือ แรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่า ลาว กัมพูชา

ตอนนี้มันสลับกันอยู่ ลองเชคอีกที

ขอบคุณค่ะ อันที่จริงเป็นมุขของผู้เขียน (อิอิ)

ที่ต้องการดูว่าจะมีใครสังเกตเห็นรึปล่าว ค่ะ

 

ไหม

ข้อมูลเยอะแล้วเนอะ-ไหม-เนอะ

สงกาสัยว่า เริ่มเขียนได้แล้วหล่ะจ้า..

พี่โน๊ตๆๆ จากข้อค้นพบไหมไว้หลายข้อเหมือนกัน

+ ยังไม่ได้โทร.กลับไหมเลย รวบยอดคุยกันวันจันทร์เลยนะจ๊ะ

เอ่อขอโทษครับขอรบกวนหน่อยนะครับ ถ้ากรณีที่เราเป็น กลุ่มที่ขึ้นต้นด้วยเลข ๖ ผู้เข้าเมืองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ได้รับการผ่อนผันให้สิทธิอาศัยชั่วคราว เราจะทำอย่างไรเพือที่จะทำให้เราสามารถเป้นบุคคลต่างด้าวเข้าเมืองถูกกฎหมาย ได้ครับ และหากเป็นกลุ่มที่ขึ้นต้นด้วยเลข ๖ สามารถเรียนต่อในมหาลัย หรือมีสิทธิอะไรบ้างครับ

อยากทราบว่า บุคคลที่บัตรเลข ประจำตัว

ขึ้นต้นด้วย 85009 01019497

มีสิทธ์ในหบักประกันสุขภาพหรือยัตรทองได้หรือเปล่าครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท