ผู้ชายแบบไหน กระดูก(โปร่ง)บาง


ทว่า... ผู้ชายบางคนกลับมีความเสี่ยงสูงไม่แพ้ผู้หญิง เชิญติดตามต่อไปว่า ท่านผู้อ่านหรือคนที่ท่านรักมีความเสี่ยงมากหรือไม่...

Hiker

ผู้ชายมีความเสี่ยงต่อโรคกระดูกโปร่งบาง (osteoporosis / กระดูกพรุน) หรือการสูญเสียมวลกระดูกมากจนเสี่ยงกระดูกหักน้อยกว่าผู้หญิง

 ทว่า... ผู้ชายบางคนกลับมีความเสี่ยงสูงไม่แพ้ผู้หญิง เชิญติดตามต่อไปว่า ท่านผู้อ่านหรือคนที่ท่านรักมีความเสี่ยงมากหรือไม่...

อาจารย์นายแพทย์อีริค ออร์เวลล์ นักวิจัยเรื่องกระดูกโปร่งบาง ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากสถาบันข้ออักเสบ โรคกล้ามเนื้อ-กระดูก และผิวหนังแห่งชาติอเมริกากล่าวว่า

มีเหตุผลสำคัญ 2 ประการที่ทำให้ผู้ชายเสี่ยงโรคกระดูกโปร่งบางน้อยกว่าผู้หญิงได้แก่...

  1. ผู้ชายมีกระดูกที่แข็งแรง และใหญ่กว่าผู้หญิง... ถ้าเปรียบเป็นท่อ อาจกล่าวได้ว่า ท่อใหญ่ย่อมแข็งแรง และหักยากกว่าท่อเล็ก หรืออะไรทำนองนั้น
  2. ผู้ชายมีอายุขัยสั้นกว่าผู้หญิง... กระดูกเลยไม่ทันได้หัก (ตายเสียก่อน)

อาจารย์ออร์เวลล์กล่าวว่า ผู้ชายบางคนมีความเสี่ยงสูงเหมือนกัน เพราะผู้ชายมีแนวโน้มจะมีอายุขัยยืนยาวขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะท่านที่มีความเสี่ยงดังต่อไปนี้...

  1. มีประวัติโรคกระดูกโปร่งบางในญาติสายตรง
  2. ดื่มเหล้า (เบียร์ ไวน์...) มากเกิน
  3. ออกกำลังกายน้อยเกิน
  4. ฮอร์โมนเพศต่ำเกิน
  5. มีโรคเรื้อรัง เช่น โรคไต โรคปอด โรคทางเดินอาหาร ฯลฯ
  6. กินยารักษาโรคบางอย่างเป็นประจำ เช่น ยาลดกรดชนิดน้ำขุ่น(มีอลูมิเนียม) ยากันชัก ยารักษาโรคหอบหืด ยารักษาข้ออักเสบ ฯลฯ (ยาบางชนิด ไม่ใช่ทุกชนิด)

ทีนี้ผู้ชายควรทำอย่างไร เพื่อป้องกันโรคนี้...

  1. กินแคลเซียมให้พอคือ วันละ 1,000 มิลลิกรัมก่อนอายุ 50 ปี และวันละ 1,200 มิลลิกรัมหลังอายุ 50 ปี
  2. รับแสงแดดตอนเช้า หรือตอนเย็น (ก่อน 9.00 น. หรือหลัง 16.00 น.) บ้าง เพื่อให้ผิวหนังสังเคราะห์วิตะมินดี วิตะมินนี้ช่วยการดูดซึมแคลเซียมเข้าสู่ร่างกาย
  3. ถ้าได้รับแสงแดดไม่พอ... ควรกินวิตะมินดีวันละ 400-800 หน่วยสากล (IU)
  4. ลด ละ เลิกเหล้า เบียร์ ไวน์...(แอลกอฮอล์)
  5. ละ ละ เลิกบุหรี่
  6. ออกกำลังกายเป็นประจำ อย่างน้อยเทียบเท่าการเดินเร็ววันละ 30 นาที และเดินขึ้นลงบันไดถ้าไม่ปวดเข่า และไม่มีโรคข้อเข่าเสื่อม เดินแนวราบรวมกันให้ได้วันละ 60-75 นาทีขึ้นไปถ้าน้ำหนักมากเกิน

ถึงตรงนี้... เรียนเชิญพวกเราหันมาใส่ใจสุขภาพกระดูกกันครับ จะได้มีอายุยืนยาวอย่างสง่างาม ไม่หักโน่นหักนี่ก่อนวัยอันควร

    แนะนำให้อ่าน:                                   

    ข่าวประกาศ:                                     
  • เนื่องจากผู้เขียนมีงานมาก และอินเตอร์เน็ตโรงพยาบาลช้ามากๆ คงจะตอบปัญหาทางบล็อกไม่ไหว
  • ขอความอนุเคราะห์ท่านที่มีโรคภัยไข้เจ็บ โปรดปรึกษาหมอ หรือบุคลากรสุขภาพใกล้บ้านท่าน เช่น อนามัย พยาบาล เภสัชกร ฯลฯ แทนครับ

    แหล่งที่มา:                                      

  • ขอขอบพระคุณ (thank Holy Cross Hospital) > When men battle brittle bones. > [ Click - Click ] > http://holycrosshealth.netreturns.biz/HealthInfo/Story.aspx?StoryID=34614CC0-5656-42F6-905E-BE1C44EC695F
  • ขอขอบพระคุณ > โรงพยาบาลค่ายสุรศักดิ์มนตรี + อาจารย์เทวินทร์ อุปนันท์ IT + พต.ศรัณย์ มกรพฤฒิพงษ์ + กองรังสีกรรม > สนับสนุนทางเทคนิค + อินเตอร์เน็ต.
  • ขอขอบพระคุณ > ศูนย์มะเร็งลำปาง + อาจารย์ ณรงค์ ม่วงตานี และอาจารย์เทพรัตน์ บุณยะประภูติ IT + กลุ่มงานรังสีวินิจฉัย > สนับสนุนทางเทคนิค + อินเตอร์เน็ต.
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ จัดทำ > 14 พฤษภาคม 2550.
หมายเลขบันทึก: 96145เขียนเมื่อ 14 พฤษภาคม 2007 15:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)
อ่าน Blog ของ อาจารย์หมอทีไรต้องได้ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทุกครั้งครับ ต้องขอขอบพระคุณจริงๆ ครับทำให้รู้สึกนึกถึงสุขภาพ เพราะบางครั้งก็ไม่ค่อยได้ใส่ใจมากนัก (ทั้งๆ ที่เป็นเรื่องสำคัญ) แต่พออ่าน Blog ของอาจารย์หมอก็ย้อนมาดูว่าตัวเราเองใส่ใจต่อเรื่องนั้นๆ อยู่หรือเปล่า

ใครที่อยู่หาดใหญ่ มีบริการตรวจความแข็งแรงของกระดูกฟรี (เขาเคยบอกว่างั้นนะครับ) ที่ร้านเรือนยา ตรงข้ามเซี่ยงตึ้งครับ

ถ้าว่างผมก็จะไปครับ :)

  • ไม่ทานเหล้าไม่สูบบุหรี่
  • บางทีเมื่อยล้า ก็ปวดหลังบ้างครับ ส่วนใหญ่มักจะมาจากการนั่งนานจนลืมตัวครับ
  • ออกกำลังการโดยการเดินขึ้นลงสามชั้นวันละหลายๆรอบ
  • แต่รู้สึกว่ากระดูกจะเปราะๆตั้งแต่เกิดครับ เพราะไม่ค่อยได้ทานน้ำนมแม่
  • เคยเป็นโรคกระเพาะหนักๆสองครั้งครับ

ได้ประโยชน์จากการไม่ประมาทในการทานอาหารการออกกำลังกายครับ อ้อตอนนี้ทานแคลเซียมดีด๊อกซอล บางวันครับไม่บ่อย ส่วนใหญ่จะเน้นปลาตัวเล็กทอดทานทั้งตัวครับ
ขอบพระคุณครับ

ขอขอบคุณ... คุณสาทิตย์

  • ขอขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมเยียนครับ

 

ขอขอบคุณ... คุณที

  • ถ้าฟรีน่าจะลองวัดดูครับ
  • ได้ผลอย่างไรจะได้ปรับเปลี่ยนดู

ขอขอบคุณ... คุณนิรันดร์

  • ขอแสดงความยินดีที่ใส่ใจสุขภาพ
  • ขอให้มีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

สวัสดีค่ะ

ถ้าทารกทานมแม่ และได้รับแคลเซียมเพียงพอก็ไม่น่ากระดูกโปร่งนะคะ แม้จะมีกรรมพันธ์

ขอขอบคุณอาจารย์ sasinanda...

  • ตามทฤษฎี... ปัจจัยเสี่ยงส่วนใหญ่จะมีหลายๆ ปัจจัย
  • ถ้าใครมีปัจจัยเสี่ยงทางพันธุกรรม เช่น มีญาติเป็นโรคกระดูกโปร่งบาง ฯลฯ เช่นตัวผมเองก็ไม่ต้องตกใจ(คุณย่า+คุณแม่มีโรคกระดูกโปร่งบาง)

พันธุกรรม...

  • พันธุกรรมเป็นปัจจัยเสี่ยงที่เราแก้ไขไม่ได้ และความเสี่ยงนี้จะไม่หมดไป
  • ส่วนสิ่งแวดล้อมเราแก้ไขได้ และแก้ไขได้ดีด้วย...

คนเรา...

  • คนเรามักจะทำอะไรดีๆ ได้มากกว่าที่คิดไว้เสมอ
  • กรณีที่อาจารย์ว่า ได้นมแม่+เสริมแคลเซียมตั้งแต่เล็กน่าจะมีชนะตั้งแต่ยกแรกแล้วทีเดียว
  • นี่เป็นศักยภาพที่น่าทึ่งของ "มนุษย์" ครับ...
  • เพิ่มเติมครับ.. ถึงไม่ค่อยได้ทานนมแม่แต่เด็ก ก็ยังรักแม่ครับ
  • เพราะตอนสมัยนั้นต้องทำงานหนักมากลางานแบบสมัยนี้ไม่ได้
  • ต้องทำงานแบงก์เอยหยุดก็ต้องขายผ้าที่รร.แอมบาสเดอร์เอย จึงมีเงินทำให้เป็นครอบครัวอยู่ได้

ขอขอบคุณ... คุณนิรันดร์

  • ก่อนอื่นขออนุโมทนา.... สาธุ สาธุ สาธุ
  • ขอกล่าวสาธุการกับท่านที่ยังคิดถึงพระคุณของคุณแม่ คุณพ่อ คุณครู หรือผู้มีพระคุณอื่นๆ

บางที...

  • บางทีชีวิตไม่ได้มี "สูตรสำเร็จ" สูตรเดียว
  • ชีวิตของคนส่วนใหญ่มักจะไม่ได้สิ่งที่ดีที่สุด (best) ทว่า... มักจะได้สิ่งที่ดีรองลงไป (second best)

สิ่งที่ดีรองลงไป + ความพอดี = สิ่งที่ใช้การได้จริง (practical)

  • ขอแสดงความยินดีกับคุณแม่ของคุณนิรันดร์ที่มีลูกดีๆ เช่นนี้... สาธุ สาธุ สาธุ
ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท