ไอเดีย คลังเลือดโรงพยาบาลเชียงรายฯ


ประมาณปี 2541 แท็กซี่คนหนึ่งบอกผู้เขียนว่า อาชีพขับแท็กซี่นี่ไม่ดีเลย เป็นอาชีพที่ไม่มีใครชม

ประมาณปี 2541 แท็กซี่คนหนึ่งบอกผู้เขียนว่า อาชีพขับแท็กซี่นี่ไม่ดีเลย เป็นอาชีพที่ไม่มีใครชม

เรื่องนี้คงจะจริง เพราะพวกเราส่วนใหญ่คงจะไม่ค่อยได้ชมแท็กซี่เหมือนกัน

ผู้เขียนมีโอกาสเดินทางไปดูงานที่เชียงราย-ท่าขี้เหล็กในเดือนมกราคม 2550 มีโอกาสแวะไปชมโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์

ขอบอกหน่อยว่า ด้านหลังโรงพยาบาลเชียงรายฯ มีร้านขายขนมจีนน้ำเงี้ยวอร่อย ที่นั่นมีน้ำพริกแกงน้ำเงี้ยวขาย

ขนมจีนน้ำเงี้ยวนี่... อาจารย์สาธารณสุขชาวไทยใหญ่ท่านหนึ่งจากแม่ฮ่องสอนท่านหนึ่งบอกว่า เรียก "ขนมจีนน้ำแกง" ดีกว่า

เพราะคำ "เงี้ยว(หมายถึงไทยใหญ่)" เป็นคำเชิงดูถูกกันนิดหน่อย คนไทยใหญ่ไม่ค่อยชอบ

ถึงตรงนี้... ขอเรียกชื่อเดิม(ขนมจีนน้ำเงี้ยว)ไปก่อน เพราะเป็นชื่อเรียกที่พวกเรารู้จักกันดี

ขนมจีนน้ำเงี้ยวเป็นเรื่องของภูมิปัญญา เช่น มีการใช้ดอกเงี้ยวมาเพิ่มรสชาดของเนื้อ ทำให้ดูเหมือนมีเนื้อมาก ทั้งๆ ที่จริงๆ อาจมีเนื้อน้อย มีเลือดสัตว์ที่เป็นแหล่งธาตุเหล็ก เหมาะกับผู้บริจาคเลือดเป็นประจำ ฯลฯ

คลังเลือดที่นั่นมีไอเดียดีๆ ไว้สอนใจคนที่ชมไม่เป็น โปรดอ่านจากภาพครับ...

ภาพที่ 1: ด้านหน้าคลังเลือด โรงพยาบาลเชียงรายฯ

ภาพที่ 2: โอวาทของท่านศาสตราจารย์นายแพทยนที รักษ์พลเมือง

ผู้เขียนเองมาย้อนดูตัวเอง... เวลาขอเลือด และได้เลือดสมใจแล้วก็เงียบเฉยเหมือนกัน ไม่ทันได้ชมคลังเลือดแบบในภาพเหมือนกัน

ต่อไปคงจะต้องบริจาค "คำชม" ให้คลังเลือดบ้างละ...

ขอเรียนเชิญพวกเราช่วยกันบริจาคเลือด และบริจาค "คำชม" ให้คลังเลือดได้ที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน หรือหน่วยกาชาดครับ...

ขอแนะนำ...                                                                  

  • เรียนเชิญชมไอเดียเชิญชวนบริจาคเลือดออสเตรเลีย + ภาพคนพม่า-ลาว-เขมรบริจาคเลือดได้ที่นี่...
  • [ Click - Click ]

    แหล่งที่มา:                                      

  • ขอขอบพระคุณ > คลังเลือด โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ > 28 มกราคม 2550.
  • ขอขอบพระคุณ > โรงพยาบาลค่ายสุรศักดิ์มนตรี + อาจารย์เทวินทร์ อุปนันท์ IT
  • ขอขอบพระคุณ > ศูนย์มะเร็งลำปาง + อาจารย์ ณรงค์ ม่วงตานี และอาจารย์เทพรัตน์ บุณยะประภูติ IT
  • ข้อมูลและการอ้างอิงในบล็อก "บ้านสุขภาพ" มีไว้เพื่อส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค ไม่ใช่เพื่อการรักษาโรค
  • ท่านที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ > 4 มิถุนายน 2550.
หมายเลขบันทึก: 100589เขียนเมื่อ 4 มิถุนายน 2007 10:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ความผิดพลาดครั้งเดียว อาจทำให้ความดีทั้งหมดที่ผ่านมาหายไปเลยก็มีครับ

แต่ผมมองว่า ระหว่างการทำแล้วเกิดผิดพลาดบ้าง กับการไม่ทำอะไรเลย เพื่อให้ไม่เจอกับความผิดพลาด ผมเลือกที่จะทำดีกว่าครับ

ขอขอบคุณอาจารย์จารุวัจน์...

  • ขอขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมเยียน + ให้ข้อคิดเห็น

จริงครับ... คนที่ไม่เคยทำผิดอะไรเลยคงจะมีแต่คนที่ไม่ทำงานเท่านั้น

  • ยิ่งงานทางด้านสุขภาพแล้ว แม้จะพยายามอย่างสูงสุดก็ยังพลาดกันได้
  • ขอส่งใจเชียร์ เชียร์ เชียร์คลังเลือดทุกแห่งครับ

มีช่วงหนึ่งอยากรู้เรื่องเกี่ยวกับระบบบริจาคเลือดในเมืองไทยมาก เพราะเกิดคำถามว่า จะมีวิธีป้องกันเลือกที่อยู่ในวินโดวส์พีเรียดของโรคเอดส์ได้อย่างไร

มีแพทย์ในห้องพันทิปเข้ามาตอบกันล้นหลาม จนเข้าใจกระจ่างแจ้ง แต่เค้าบอกว่าต่อให้ทำดียังไง มันก็ยังมีแก็ปอันตรายตั้ง 16 วัน

แต่เห็นมีคนบอกว่าบางประเทศ เค้าจะให้ผู้บริจาคตัดสินใจอีกครั้งว่าจะให้เอาเลือดตัวเองไปใช้หรือไม่ในวินาทีสุดท้าย เพราะตัวผู้บริจาคจะรู้ดีที่สุดว่าตัวเองได้รับปัจจัยเสี่ยงอะไรมาหรือเปล่า (ซึ่งเค้าอาจไม่กล้าบอกตอนซักประวัติ) อยากให้เอามาใช้ในประเทศเราจังเลยนะครับ

ส่วนเรื่อง "คำชม" เห็นด้วยครับ หลาย ๆ อาชีพก็เจอแบบนี้ โดยเฉพาะแพทย์นี่น่าเห็นใจ เพื่อนผมที่เป็นแพทย์ เค้าพูดให้ฟังว่า อาจารย์หมอบอกว่า "อาชีพแพทย์บางครั้งก็เหมือนพลเมืองดีที่กำลังจะไปช่วยคนกำลังตกเหว โดยหย่อนเชือกเท่าที่หาได้ลงไป บางครั้งเมื่อช่วยไม่ได้ ก็จะถูกประนามว่าทำไมไม่หาเชือกทีเส้นใหญ่กว่านี้..."

ฟังแล้วน่าเศร้านะครับ

ขอขอบคุณ... คุณกฤษพงษ์

  • ทุกวันนี้มีเทคนิคการตรวจเลือดดีขึ้น (NAT / nucleotide amplification test)...
  • ดูจะลด window period หรือช่วงที่ติดโรคแล้วยังไม่พบภูมิต้านทานของเอดส์ได้เหลือประมาณ 10-11 วัน

ความปลอดภัย...

  • ความปลอดภัยนี่สำคัญมาก
  • สิงคโปร์มีกฏหมายอาญามาหลายสิบปีแล้ว... ใครให้ประวัติเท็จผิดทางอาญา
  • กล่าวได้ว่า "โกหกหมอที่อื่นได้ โกหกหมอสิงคโปร์อาจจะติดคุก"... ทำนองนั้น

เมืองไทยเรามีระบบให้ผู้บริจาคตรวจสอบตัวเองด้วยคำถามมาประมาณ 14-15 ปีแล้วครับ

  • แห่งแรกที่ใช้ดูจะเป็นที่โรงพยาบาลรามาธิบดี
  • อาจารย์ท่านให้อ่านแบบสอบถาม > ให้ผู้บริจาคติดแถบบาร์โค้ดเองว่า เลือดปลอดภัยจริงหรือไม่
  • นี่ไม่นับตรวจเลือดอีกหลายรายการ

พม่า...

  • Myanmartimes online รายงานว่า แบบสอบถามดังกล่าวเพิ่งเริ่มใช้ในพม่ามาประมาณปี 2548-2549 นี่เอง

คำชม...

  • ขอให้พวกเราช่วยกันชมคนทำดีไว้ เพราะนี่จะทำให้ "คนดีอยากทำดีต่อไป"
  • สังคมที่คนดีคิดเลิก หรือท้อที่จะทำดี เช่น จับผิดกันประเภท "ดีไม่ชม - ไม่ได้ดังใจ(ก็)ด่า" มักจะไปได้ไม่ไกล...

ขอบคุณ อาจารย์ เป็นเกียรติมาก ที่อาจารย์ วัลลภแวะ รพ เชียงรายฯ

ต้องขอ อภัย ไม่ได้อยู่ต้อนรับ

 แต่อยาก เรียนว่า ห้องเลือด รพ เชียงรายฯ มีทีมงานดีมาก ใครไปเยี่ยมก็มักจะให้คำชม คงเพราะมีหัวหน้า ดี ด้วย

คุณ สมพร แต่เราเรียกเธอว่า สะ มะ พร

อยู่ใกล้เธอ จะได้ คุณ ภาพแบบ อารมณ์ดี คิกๆ ก๊ากๆ ตลอด เลย

เธอทำงาน จริงจัง ได้งานดี แต่ไม่ซีเรียส ค่ะ 

ขอขอบคุณอาจารย์รวิวรรณ...

  • ไม่ได้ไปดูงานอย่างเป็นระบบครับ...
  • หน่วยงานที่ผมอาศัยทำงานจัดอบรมที่เชียงราย
  • เลยตื่นแต่เช้าหาโอกาสเดินออกกำลัง ได้ใส่บาตร ไหว้พระนอกรายการ
  • จำได้ว่า เดินไปเดินมา ดูโน่นดูนี่ น่าจะวันละ 2 ชั่วโมงขึ้นไป 

ห้องเลือด...

  • ห้องเลือดโรงพยาบาลเชียงรายฯ มีระบบ ระเบียบ และการจัดการที่ดีมากๆ

คนที่ทำงานได้แบบคุณสมพร(ห้องเลือด)นี่...

  • ตอนเด็กๆ มีหนังสือเครื่องยนต์กลไกเล่มหนึ่งของซีเอ็ดฯ
  • อาจารย์ท่านเขียนไว้ว่า คนที่ทำงานแบบจริงจัง+มีสมาธิ (relaxed concentration)ได้น่าจะมีสมรรถภาพสูงมากๆ

ใครทำงานแบบนี้ได้คือ ได้คน(ชนะใจคน)+ได้งาน+ไม่เครียด นับว่า มีคุณค่าต่อสังคมสูงมากๆ

  • ขอแสดงความชื่นชมครับ...สาธุ สาธุ สาธุ
ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท