ทฤษฎีใหม่ : ความรู้ไม่มีสอน มนุษย์สร้างความรู้ได้เอง (ตอนจบ)


ถ้าทฤษฎีใช้ได้ดี แล้วครูนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์คงจะทำให้การศึกษาบ้านเราดีขึ้น

ผ่านไปสองตอน จาก ทฤษฎีใหม่ : ความรู้ไม่มีสอน มนุษย์สร้างความรู้ได้เอง (1)  และ ทฤษฎีใหม่ : ความรู้ไม่มีสอน มนุษย์สร้างความรู้ได้เอง (2)  ถ้าท่านได้ติดตามมาตลอด ท่านจะเห็นว่า มนุษย์สร้างความรู้ได้เองอย่างไร

บันทึกนี้ขอต่อยอดความรู้จากตอนที่ 1 และ 2

 

เห็นคุณค่าและสร้างความพร้อมรอบตัวสู่การเรียนรู้

     : วัสดุและแหล่งความรู้

อีกอันหนึ่งต้องมองเห็นคุณค่าการเรียนรู้ และก็สร้างความพร้อมให้เขา ปัจจัยรอบตัวผู้เรียนก็อยู่ที่พ่อแม่ และครูบาอาจารย์ เมื่อกี้ผมพูดถึงเรื่องวัสดุความรู้ เราต้องให้วัสดุดี ๆ กับเขา

โรงเรียนปริยัติธรรมสอนทั้งด้านบาลี สอนทั้งทางด้านนักธรรม และสอนทางด้านสายสามัญ แล้วก็เอาเณรมาเรียน เอาเณรมาบวชมาเรียน พระพี่เลี้ยงก็อบรมสั่งสอนหลักสูตรเขามีอยู่แล้ว

สิ่งต่าง ๆ ที่จะให้ก็ต้องถามตัวเองว่า วัสดุที่จะให้เณรเหล่านั้น เขาได้สิ่งที่ถูกต้องหรือไม่ ดีที่สุด หรือไม่ ในวัสดุที่เราให้เขา อักษรตำราที่ประกอบการเรียนรู้ของเณรดีที่สุดหรือเปล่า สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เป็นคำถามทั้งนั้นเลย

พวกเด็ก ๆ ก็เหมือนกัน หนังสือเรียนประกอบมีไหม บางคนไม่มีแม้หนังสือเรียน หนังสือประกอบยิ่งไม่มีใหญ่เลย วัฒนธรรมการเรียนรู้ สิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ อันนี้ก็อีกอันหนึ่ง

ความสำคัญของความรู้กับมนุษย์ มนุษย์เรียนรู้ผ่านสื่อต่าง ๆ เดี๋ยวนี้เรามีสื่อมากมายก่ายกอง สื่อจะดีจะชั่วก็ตามแต่ประโยชน์ของสื่อ สื่อสามารถให้ความรู้ได้เพียงว่า คนที่เป็นเจ้าของสื่อและคนที่จัดการสื่อ ใช้สื่อให้เป็นประโยชน์นการที่เป็นแหล่งให้ความรู้กับประชาชนได้ไหม

ถ้าได้ ตอนนี้จะเป็นแหล่งความรู้มหาศาลเลย เพราะสื่อมันไปได้กว้าง ไม่ว่าจะเป็นด้านธรรมะ ด้านโลก

 

ให้หลักคิด เสริมทุนความรู้

     : อย่าสอนรายละเอียด

มนุษย์สร้างความรู้เอง วิธีที่เราจะสอนลูก สอนลูกศิษย์ คือ ให้หลักในการสร้างความรู้ ให้หลักคิดเขา เวลาสอนหนังสืออย่าไปสอนรายละเอียด ให้สอนหลักวิชา แล้วเด็กจะไปสร้างความรู้เอง จากโครงสร้างบ้าน ความรู้อยู่ในสมอง

ความรู้ใหม่มีฐานมาจากทุนความรู้เดิม มนุษย์สร้างเทคโนโลยีมาจากทุนความรู้เพื่อมาใช้งาน

เทคโนโลยีคืออะไร แปลง่าย ๆ คือ การที่เอาความรู้มาใช้งาน ยิ่งมีทุนความรู้มากเท่าไหร่ก็ได้เปรียบ คนไหนมีทุนความรู้มากก็จะได้เปรียบ พ่อแม่และครูสามารถสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ได้ที่บ้าน ที่โรงเรียน ที่บ้านมีห้องสมุดให้ลูกบ้างไหม อ่านหนังสือกับลูกบ้างหรือเปล่า ตอนเด็ก ๆ อ่านหนังสือให้เขาฟังไหม ชวนเขาไปวัดไหมในวันหยุด สวดมนต์กับเขาไหมตอนกลางคืน เคยถกแถลงธรรมกับเขาไหม สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้มันเป็นคำถามทั้งนั้น

ครูก็เหมือนกัน ที่โรงเรียนเป็นอย่างไรบ้าง ห้องสมุดโรงเรียนมีหนังสือไหม ทันสมัยไหม เด็กเขาอยากอ่านหรือเปล่า ในโรงเรียนสะอาดไหม สงบไหม หรือว่าจุ้นจ้าน

เด็กเกเรก็ไปเกเร เด็กที่เรียนหนังสือก็ไม่ได้เรียน ผมกับเพื่อนโตมาจากโรงเรียนบ้านนอก แล้วเราก็มาคิดย้อนหลังว่า ที่พวกเราได้ดีก็เพราะครู

ที่โรงเรียนบ้านนอกที่ผมเรียนมาตอนมัธยมต้น ครูท่านเป็นคนดุมาก ตอนเย็นหลังจากทานข้าวแล้ว ท่านจะมาเดินตรวจตลาด ถ้าเด็กคนไหนไม่อยู่บ้านเรียนหนังสือ พรุ่งนี้เช้าได้เรื่อง แล้วในโรงเรียนจะให้เด็กเกเรมาแกล้งคนโน้นคนนี้ไม่ได้ แกปรามหมดเลย เพราะฉะนั้นทุกคนได้เรียนเต็มที่ เรายังรู้สึกเป็นพระคุณเลย

 

สร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้

     : ที่บ้านและโรงเรียน

อันนี้แหละ คือ การสร้างวัฒนธรรมของการเรียนรู้ เราสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ที่บ้าน ที่โรงเรียนบ้างหรือเปล่า เราให้วัสดุความรู้ที่ถูกต้องเหมาะสม เราให้วัฒนธรรมกับลูกของเรา กับลูกศิษย์เราหรือเปล่า

เพราะฉะนั้น ที่ติดต่อผมมาพูดเรื่องการศึกษา ผมว่า มันแคบไป ถ้าพูดเรื่องการเรียนรู้มันกว้างกว่าเยอะ การศึกษาพูดไปมันก็มีอยู่เฉพาะในโรงเรียน แต่ถ้าพูดเรื่องการเรียนรู้มันทั้งชีวิตเรา

 

ถอดความจากหนังสือ ชื่อ "การเรียนรู้ที่แท้และพอเพียง" โดย "ศ.นพ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรี"

 

โดยสรุป ทฤษฎีความรู้ไม่มีสอน มนุษย์สร้างความรู้ได้เอง นั้น ... มาจาก

  • ๓ ปัจจัยในการสร้างความรู้ คือ สุขภาพสมอง, เก่งคนละด้าน และ วิธีการเรียนที่ไม่เหมือนกัน
  • เห็นคุณค่าและสร้างความพร้อมรอบตัวสู่การเรียน ได้แก่ วัสดุและแหล่งความรู้ 
  • ให้หลักคิด เสริมทุนความรู้ คือ อย่าสอนรายละเอียด
  • สร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ ได้แก่ ที่บ้านและโรงเรียน

 

บันทึกที่เกี่ยวข้อง

 

ท่านมีความคิดอย่างไรสามารถแสดงความคิดเห็นได้ในสิ่งที่ท่านคิดนะครับ

ผมขอขอบคุณท่านที่ติดตามอ่านจนจบเรื่องราวนี้ หวังเพียงว่า ถ้าทฤษฎีใช้ได้ดี แล้วครูนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์คงจะทำให้การศึกษาบ้านเราดีขึ้น

บุญรักษา ทุกท่าน :)

หมายเลขบันทึก: 163338เขียนเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2008 17:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

      วันนี้   หากเราสามารถสอนนักศึกษาให้สามารถคิดต่อยอดความรู้ได้เอง   สามารถสืบเสาะหาความรู้ได้ด้วยตนเอง  ในแบบที่เรียกว่า เรียนรู้ตลอดชีวิต   ถ้านักศึกษาทำได้  เราคงดีใจมาก

      แต่ในปัจจุบัน  แทบจะต้องป้อนความรู้ให้กับนักศึกษา   บางคนป้อนให้ถึงปาก ยังไม่ยอมอ้าปากรับความรู้เลยคะ  ! 

สวัสดีครับ คุณ (^---^) Ph.D. IT Student Blog (^---^)

  • ใช่เลยครับ .. ป้อนให้ ยังคายทิ้งเสียอีก
  • ครูล่ะ ปวดหัว ปวดตัว หมดเลย :)

ขอบคุณครับที่ให้เกียรติเป็นท่านแรกเลย :)

สวัสดีครับ  ขออนุญาต ลปรร ด้วยครับ 

          ในเรื่องของการสร้างความรู้ได้เอง ตามทฤษฎีผมว่าเป็นเรื่องที่ดีมากครับ 

           แต่แนวปฏิบัติสำหรับสังคมไทย คงต้องค่อยเป็นค่อยไปครับ

           เพราะเราอยู่ในบริบทของวัฒนธรรมอำนาจนิยมมาหลายชั่วอายุคนแล้วครับ

                                            ขอบคุณครับ

P

Wasawat Deemarn

 

ลงชื่อเยี่ยม...

เคยเห็นที่รถซาเล้งเก็ยเศษกระดาษขาย มีป้ายเล็กๆ ติดไว้ว่า...

  • ความารู้ไม่มีขาย อยากได้้ต้องทำเอง

เจริญพร

สวัสดีครับ ท่าน ผอ.วิชชา small man

  • ใช่ครับ ท่าน ผอ. นี่เป็นทฤษฏีหนึ่งเท่านั้นครับ ซึ่งอาจจะไม่เหมาะกับสภาพสังคมไทยที่เดินทางมาอย่างยาวนาน ปรับและเปลี่ยนกันมาเรื่อย ๆ

ขอบคุณท่าน ผอ. มากครับ :)

นมัสการท่าน BM.chaiwut  ครับ

  • ยินดีนักครับที่ท่านได้นำคำสอน "ความรู้ไม่มีขาย อยากได้ต้องทำเอง" มาฝากครับท่าน
  • คล้าย  ๆ Learning by Doing นะครับ เรียนรู้จากการปฏิบัติ

กราบขอบพระคุณท่าน BM.chaiwut ครับ ;)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท