แบกเป้เบิ่งลาวใต้(ต่อ)


วิถีชีวิตชุมชนและความหลากหลายทางธรรมชาติ

แบกเป้......เบิ่งลาวใต้(ต่อ) 

วันที่19  ตุลาคม  2550           ตื่นกันตั้งแต่เจ็ดโมงเช้าเพื่อจะเดินทางไป วังเวียง ที่ถูกขนานนามว่า กุ่ยหลินแห่งเมืองลาว ทีแรกพวกเราคิดว่าจะเดินทางด้วยรถ VIP เลยนั่งรถจัมโบ้(สามล้อเครื่องบ้านเรา)มาที่บริษัทชื่อ บ่ลิลัด ท่องเที่ยว พัมทะวัง เพื่อจะนั่งรถไปช่วงที่รอรถอยู่นั้น ฉันได้เห็นบรรยากาศ/วิถีชีวิตผู้คน  มองเห็นความมีอัธยาศัยไมตรีของผู้คนที่นี่เหมือนๆกับที่น่านบ้านเรา ด้านหน้าของบริษัททัวฯ คือ ธนาคารแห่ง สปป.ลาว และศูนย์วัฒนธรรมแห่งชาติลาวและข้างๆ ก็คือ ADB BANK ฉันสังเกตเห็นคนทำงานทำไมมายืนอออยู่หน้าออฟฟิศ สอบถามจึงได้ความว่า พนักงานทำความสะอาดของ ADB BANK ลืมกุญแจทิ้งไว้ในออฟฟิศ  เออ! บ้านไหนเมืองไหนก็มีเน๊าะ ใช้เวลาอยู่บริษัทฯ ทัวร์ สัก 20 นาที  ได้ความว่ารถที่จะไปวังเวียง เต็มทุกที่นั่ง <table border="0" cellspacing="0" cellpadding="0" width="100%"><tbody><tr><td style="background-color: transparent; border: #ece9d8"><div><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p></div></td></tr></tbody></table><table border="0" cellspacing="0" cellpadding="0" width="100%"><tbody><tr><td style="background-color: transparent; border: #ece9d8"><div><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">  ขนมปังฝรั่งเศส  </p></div></td></tr></tbody></table><table border="0" cellspacing="0" cellpadding="0" width="100%"><tbody><tr><td style="background-color: transparent; border: #ece9d8"><div><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p></div></td></tr></tbody></table><p>  บรรยากาศบนรถประจำทาง         </p><p>    ฉันและเพื่อนจึงกลับมานั่งรถสามล้อเครื่องคันเดิมที่จอดรถรอเราอยู่มาที่สถานีขนส่งของลาว นั่งรถประจำทางจากนครเวียงจันทน์ไปวังเวียงระยะ  195 กิโลเมตร(หลัก) ซึ่งรถจะออกประมาณ 09.30 น. จากการสอบถามจะใช้เวลาวิ่งประมาณ 3-4 ชม. แล้วแต่ว่าจะจอดมากจอดน้อยแค่ไหน บรรยากาศของการเรียนรู้จึงเกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่ง  ฉันมีเวลาอีก 30 นาที ก่อนรถจะออกสถานี สำหรับเดินลัดเลาะชมบรรยากาศรอบ ๆ สถานีขนส่งได้บรรยากาศดีทีเดียว เหมือนๆ กับบ้านเราที่ผู้คนวุ่นวาย จอแจ ยาดม  ยาลม ยาหม่อง แต่ที่แปลกตา ก็คือ  ขนมปังอันยาวๆ ของฝรั่งเศส  แต่ฉันไม่กล้าซื้อกินเพราะเปิดขายท่ามกลางฝุ่นละออง ขึ้นมาบนรถเมล์เพื่อเตรียมตัวเดินทางไปวังเวียง ผู้คนไม่รู้มาจากไหนมีตั้งแต่สาวสูง สาวเทิง และคนต่างชาติอย่างเรา ๆ บนรถผู้โดยสารเต็มคันรถ ค่าโดยสารคนละ 25,000 กีบ (90 บาท) ม่วนชื่นหล่าย ๆ บนรถ มีเสียงเพลงอัลบั้ม รักสองฝั่งโขง เปิดอย่างครึนเครง มีเพลงฟัง ซึ่งแม้ว่าจะเป็นรถเก่าคร่ำครึ แต่มี TV/Karaoke ให้ดู/ร้องเพลง  เพลงดังๆ ในไทย จึงได้มานั่งที่นี่ สอบถามกระเป๋ารถบอกว่ารถคันนี้ใช้มาแล้ว 18 ปี ประเทศญี่ปุ่นให้การสนับสนุน </p><p>     รถประจำทางที่วังเวียง</p><table border="0" cellspacing="0" cellpadding="0" width="100%"><tbody><tr><td style="background-color: transparent; border: #ece9d8"><address class="MsoNormal" style="margin: 0in 0in 0pt"></address></td></tr></tbody></table>    ปรักควาย <table border="0" cellspacing="0" cellpadding="0" width="100%"><tbody><tr><td style="background-color: transparent; border: #ece9d8"><div> <p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"> </p> </div></td></tr></tbody></table><table border="0" cellspacing="0" cellpadding="0" width="100%"><tbody><tr><td style="background-color: transparent; border: #ece9d8"><div><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p></div></td></tr></tbody></table><p>     ป่าละเมาะข้างทาง                    </p><p>                บรรยากาศสองข้างทางก็พอๆกันกับ น่าน-บ่อเกลือ หรือ เชียงใหม่-แม่ฮ่องสอน ประมาณนั้น จนเคลิ้มหลับไป ประมาณ 11.30 น. รถจอดกลางทาง ฉันตกใจตื่นว่ามีอะไรเกิดขึ้น ที่ไหนได้เขาจอดให้ผู้โดยสารลงฉี่ ข้าง ๆ ถนน ได้บรรยากาศดีแท้ ๆ ฉันนั่งหัวเราะกับเพื่อนอยู่บนรถทั้งๆ  ที่ตัวก็อยากจะปลดปล่อยเหมือนกันแต่ไม่กล้า ฉี่ตามพงหญ้าข้างทาง บางคนเข้าไปในพง แต่บางคนเอามันข้างนอกนั่นแหละ ฉันถามท้ายรถว่าจอดที่นี่ทุกครั้งทุกเที่ยวหรือไม่ ได้รับคำตอบว่าจอดทุกครั้งแต่ไม่ใช่ที่เดิม ที่ถามไม่ใช่อะไรหรอกเกรงว่าวันต่อไปหรือเที่ยวต่อไป จะเจอดี เท่านั้นเอง แต่ฉันก็คิดว่านี่แหละคือวิถีชีวิตชุมชน </p><table border="0" cellspacing="0" cellpadding="0" width="100%"><tbody><tr><td style="background-color: transparent; border: #ece9d8"><div><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">ส่วนหนึ่งของน้ำงึม </p></div></td></tr></tbody></table><table border="0" cellspacing="0" cellpadding="0" width="100%"><tbody><tr><td style="background-color: transparent; border: #ece9d8"><div> <p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"> </p> <p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">ห้องน้ำข้างป่าละเมาะ                                    </p> </div></td></tr></tbody></table><p></p><p>ไก่ปิ้ง นำ นม ไข่</p><p>                                       ผ่านแม่น้ำงึมที่เป็นแม่น้ำที่ผลิตกระแสไฟฟ้าส่งมายังประเทศไทย ไม่แปลกใจเลย แต่ไม่ได้แวะ สองข้างทางมีผลิตภัณฑ์จากปลาที่มาจากแม่น้ำงึม  ฉันนั่งรถมองเห็นแต่ขุนเขาและแมกไม้ แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ของดินแดนแห่งนี้ มาถึงวังเวียงเวลา 13.05 นาที แสดงว่ารถยนต์โดยสารวิ่งใช้เวลา 4.30 ชม. พอมาถึงวังเวียง ลงจากรถหิวชก เห็นข้างทางมีร้านขายของ มีตำหมักหุ่ง ปลาปิ้ง ไก่ปิ้ง อ่อม ฯลฯ แต่เห็นคนเยอะมากไม่มีที่นั่ง เจ้าของร้านใจดี บอกพวกเราเข้าไปนั่งในบ้าน เราจึงเข้าห้องน้ำซะอย่างนั้น อิ่มแล้วก็เดินทางต่อโดยนั่งรถจัมโบ เข้ามาหาที่พัก ชึ่งไม่รู้ที่ไหน แต่บอกโชว์เฟอร์ว่า ให้สะอาด ปลอดภัย เงียบ ราคาถูก ซึ่งในที่สุด ก็มาลงตัวที่ “sunset home” เป็นห้องพักอยู่บนแม่น้ำสอง ที่สำคัญเจ้าของใจดีด้วย         </p><p>        นาน ๆ ถึงจะนั่งรถแบบนี้ ทำให้ร่างกายสะบักสบอมเหมือนกัน ทั้งๆที่ฟิตร่างกายมาแล้วนะเนี่ยะ เลยนอนพักเสีย 30 นาที เพื่อเอาแรง พอตื่นขึ้นมาเดินรอบ ๆ ตัวเมือง แล้วลงสำรวจแม่น้ำสองสวยงามให้นึกถึงบทกลอนสุนทรภู่ น้ำใสไหลกระเซ็นเห็นตัวปลา แหวกว่ายปทุมมาอยู่ไกล ๆ  ในขณะเดียวกันนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติจำนวนมาก มาใช้บริการในวังเวียงแห่งนี้ รีสอร์ทผุดขึ้นมากมายทำให้นึกถึง หาดป่าตอง ในไทยอีกหน่อยที่นี้คงไม่แตกต่างกันถ้ารัฐบาลไม่มีมาตรฐานในคุมเข้ม เกี่ยวกับ</p><p>   -         การจัดผังเมือง</p><p>   -         การจัดการขยะ</p><p>   -         ปริมาณของนักท่องเที่ยว</p><p>ในระยะยาว ความสวยงามทางธรรมชาติ และความหลากหลายทางชีวภาพก็จะถูกทำลายและสูญหายไป           </p><p>     ตกตอนเย็นฉันและเพื่อนแยกทางกันเดินเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งเดินศึกษาวิถีชีวิตของชุมชน อีกกลุ่มหนึ่งไปศึกษาธรรมชาติถ้ำ ปูคำหรือที่เรียกว่ากุ๊ยหลินเมืองลาว รายการที่สองนี้คุณภาคภูมิกับคุณประพันธ์ จะเป็นผู้ นำเสนอ ฉันกับคุณสนิท และเพื่อนที่รู้ใจเดินดูตลาดและวิถีชีวิตของผู้คนที่นี่ ซึ่งยังใช้วิถีแบบดั้งเดิม เดินดูในตามตลาดพบว่าปลาแม่น้ำนานาชนิดที่ฉันเคยเห็นยังมีวางขายเยอะมาก เช่น ปลาตะเพียน ฯลฯ ที่บ้านฉันตอนนี้ปลาเหล่านี้หายไปเสียแล้ว ผักพื้นบ้านเช่นผักโขม เมี่ยง แม้กระทั่งหญ้าปากควายก็เป็นอาหาร อันที่จริงอยากซื้อปลามาต้มกินเหมือนกันแต่จนใจมิใช่บ้านเรา เย็นนี้พวกเรากินอาหารพื้นบ้านคือ ปลาปิ้ง ป่นปลา(น้ำพริก)แกงหน่อไม้ รสชาติอาหารคงเติมแต่งไปด้วยแป้งนัว(ผงชูรส)เป็นแน่แท้ </p>        
หญ้าปากควายก็เป็นอาหารของคน                   ปลาน้ำจืดในวังเวียง    

หมายเลขบันทึก: 145219เขียนเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2007 13:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • สวัสดีครับ
  • ตามมาเยี่ยมชมบล็อกครับ
  • เพิ่งทราบนะครับว่าหญ้าปากควายก็เป็นอาหารได้ (เขาทำกินกันอย่างไรครับ)
  • เพิ่มขนาดของภาพอีกซักนิดจะเยี่ยมมากเลยนะครับประมาณ 350-400
  • ขอบคุณมากครับที่นำสิ่งดีๆ มาแบ่งปัน
  • มาเบิ่งเมืองลาวด้วยคนคะ
  • ชอบแม่หญิงลาวคะ
  • ธรรมชาติและผู้คนยังคงงดงามนะคะ

หวัดีครับ พี่พยอม

  • อ่านแล้วคิดตาม ว่า ถ้าผมยังอยู่ที่น่าน ในคณะต้องมีผมด้วยแน่เลย เสียดายๆ
  • เล่าบรรยากาศได้เยี่ยมเลยครับ
  • ขอบคุณ หลายๆ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท