เพศศึกษากับ สิทธิอำนาจในการศึกษาเรื่องเพศ: ฤาจะเป็นเพียงฝันกลางวัน?


โดยสรุปดังนี้แล้ว “เพศศึกษา” จึงมีนิยามที่กว้างขวางและลุ่มลึก มีความเป็น Active หรือกลิ่นไอของการต่อสู้ เพื่อสร้างสังคมที่เป็นธรรมทางเพศ เป็นเรื่องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

ฤกษ์งามยามดี วันนี้ก็จะมาถึงซะที วันที่ได้มีโอกาสนำวิชาการลงจาก หอคอยงาช้างมาสัมผัสกับครูและนักปฏิบัติการมากขึ้น

 

ผมรู้สึกดีใจ จนอยากส่งเสียงดังๆ ไปยังคณาจารย์แห่งสาขาวิชาพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และศูนย์สตรีศึกษา มหาวิทยาลับเชียงใหม่  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อาจารย์ฉลาดชาย  รมิตานนท์, อาจารย์วิระดา สมสวัสดิ์ ,  และอาจารย์จามะรี เชียงทอง  ที่มีส่วนสำคัญ ในการหยิบยื่นเครื่องมือทางกรอบคิด ทฤษฏีและการทำงานภาคสนาม จนกระทั่ง เริ่มเข้ามา คลุก วงในระดับจังหวัดแม่ฮ่องสอน ระดับอำเภอ และหมู่บ้าน ที่ผมและครอบครัวอาศัยอยู่มากขึ้น แม้จะเป็นระยะเริ่มต้นของการลอกคราบตัวเอง แต่ก็เป็นการเริ่มต้นที่ดี

  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal">เช้าวันนี้(26 ก.ค. 50) ผมได้รับเชิญให้ไปพูดเรื่องเพศศึกษาในโรงเรียนเจ้าภาพคือ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา(สพท.) เขต 1 จังหวัดแม่ฮ่องสอน งานนี้คือเป็น งานหนักงานหนึ่งของผมเพราะต้องไปพูดเรื่องเพศศึกษาให้กับบรรดาครูที่สอนเพศศึกษารวมถึงผู้บริหาร ตั้ง 40  โรงเรียน มิพักทางเจ้าภาพก็ใจดีให้เวลาผมเดี่ยวไมโครโฟนตั้ง 2  ชั่วโมง</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal">นึกในใจว่า นี่มันทุกขลาภแต๊ๆน้อ !!!</p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal"></p>

 ตามปกติ เวลาผมไปพูดที่ไหนมักจะถูกจำกัดเวลา ให้ประมาณ 15-30  นาที นี่ 120 นาที จะเอาอะไรมาพูดและสะกดคนฟัง จะเตรียมสื่ออะไรก็เตรียมไม่ทัน

ก็เลยตั้งคำถามกับเจ้าภาพว่า อยากให้ผมพูดอะไร หรือคาดหวังอะไรจากผมบ้าง คำตอบก็คือ อยากได้ข้อมูลที่เป็นงานวิจัย ที่แสดงถึงปัญหาเรื่องเพศศึกษา อยากผมช่วยกระตุ้นให้บรรดาครูกระตือรือล้นกับการสอนเพศศึกษา  เพื่อช่วงบ่ายจะได้มอบแนวทางการจัดการเรียนการสอนเพศศึกษาได้อย่างแน่นหนาขึ้น

ผมอาศัยข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตอยู่สองวัน อ่านและสังเคราะห์อีกวัน นับว่าฉุกละหุกมากกับการเตรียมเนื้อหาที่จะพูดไว้  แต่ตอนพูดไปพูดมาก็สังเคราะห์บางประเด็นได้เพิ่มเติม คือในเรื่องเพศศึกษากับการจัดการ สิทธิในสังคมไทย อันนี้มันโพล่งออกมาในหัว ตอนพูด คือบรรยายไปเรื่อยๆ สมองมันก็จับประเด็นใหม่ออกมากลายเป็นเรื่องสิทธิต่างๆ ที่ซ่อนอยู่ใน เพศศึกษา

เพื่อไม่ให้เยิ่นเย้อ สำหรับผู้ที่ติดตามมาอ่านสรุปในบันทึกนี้ ผมขอรวบประเด็นต่างๆ ที่ได้บรรยายไว้พอสังเขป  ดังนี้ครับ

 1) “เพศศึกษา  มีนิยามที่หลากหลาย และที่ผ่านมาเพศศึกษา  ในสังคมไทย หรือในการเรียนการสอน ระบบโรงเรียน จะถูกนิยามโดยรัฐ ที่มองแบบแยกส่วน และบูชาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี            เพศศึกษาของโรงเรียนในยุคก่อน และยังสืบทอดความหมายถึงปัจจุบัน  ก็คือการศึกษาที่มุ่งไปที่ระบบอวัยวะกลไกของฮอร์โมน และจิตวิทยาเป็นส่วนใหญ่ ขาดมิติทางสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์ ทำให้ เพศศึกษาในโรงเรียนเป็น สิ่งแปลกปลอม ของชุมชน เหมือนมีคอนโดมิเนียมไปตั้งอยู่ท่ามกลางกระต๊อบไม้ไผ่ ยังไงยังงั้น           

ผมเข้าใจว่าปัจจุบัน กระทรวงศึกษาธิการเองโดยเฉพาะ คุณหญิง กษมา  แม่ทัพใหญ่ของกระทรวงก็พยายามเพิ่มเติมประเด็นนี้  และพูดชัดว่า ปัญหาเรื่องเพศในโรงเรียน เป็นปัญหาอันดับหนึ่งของเยาวชนในระบบโรงเรียน แซงหน้าเรื่องยาเสพติดไปแล้ว

            ผมแบบคิดเล่นๆว่า ถ้าเพศศึกษาถูกทำให้สังคมมองว่ามันเป็นเรื่องเกี่ยวข้อง ความมั่นคงของชาติเช่นเดียว กับปัญหายาเสพติด ไม่แน่เราอาจจะได้เห็น รัฐบาลประกาศสงครามกับภัยทางเพศก็เป็นได้

  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">            ปัญหาหลักของ เพศศึกษาไม่ได้อยู่ที่งบประมาณ  ไม่ได้อยู่ที่ขาดปัจจัยสนับสนุน  ไม่ได้อยู่ที่ขาดบุคลากรสอนเพศศึกษาและไม่ได้อยู่ที่มีสิ่งยั่วยุมากมายเกินเยียวยา  แต่อยู่ที่ว่าคุณและครูมองเพศศึกษาอย่างไร</p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>

             เพศศึกษา เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่างๆมากมายหาใช่แค่เรื่อง ระบบอวัยวะสืบพันธ์ และพฤติกรรมทางเพศ แต่ยังเป็นเรื่อง ความสัมพันธ์ที่ไม่เท่าเทียมกันระหว่างเพศ ความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่ผู้ใหญ่และสถาบันต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสื่อสารมวลชน,ธุรกิจการท่องเที่ยว,สถานเริงรมย์,หรือแม้กระทั่งชุมชนและโรงเรียนที่กระทำต่อเด็ก ทั้งทางตรงทางอ้อม 

 

โจทย์ท้าทายที่1 ทำอย่างไรจึงจะทำให้ครู+และผู้บริหารศึกษามองนิยาม เพศศึกษาในมิติที่กว้างขึ้น

 เพศศึกษายังเป็นสิ่งที่สามารถค้นหาได้ในวิถีชีวิตตามจารีตประเพณีของชุมชน เช่นการร้องเพลงจีบสาว  การเกี้ยวพาราสี  การหมั้นหมาย สินสอด การแต่งงาน แม้กระทั่งมีลูกหลาน  เพศศึกษาก็ยังไม่จบ เพราะเพศศึกษาตามวิถีชีวิตชาวบ้านเป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิต 

 

โจทย์ท้าทายที่2 ทำอย่างไรเราจึงจะผนวกเอาทางสังคมวัฒนธรรม จารีตประเพณีในท้องถิ่น มาไว้ในการจัด เพศศึกษาของครูได้ 

2 ) เพศศึกษา ยังเป็นเรื่องของสิทธิเชิงซ้อนหลายประการที่ผนวกรวมกันในวิชานี้  ผมถือว่าผู้สอนวิชานี้เป็นผู้ยิ่งใหญ่สำหรับศิษย์ของท่านคือ เรื่องสิทธิ ซึ่งซ้อนกันอยู่หลายสิทธิดังนี้

1. สิทธิที่จะได้รับข้อมูลข่าวสาร และมีพื้นที่ทางสังคมในการแลกเปลี่ยนเรื่องเพศของเด็ก พูดง่ายๆคือ  มีพื้นที่ที่ครูจะรับฟังเด็กอย่างมีสุนทรียสนทนามากขึ้น

  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">2.  สิทธิความเสมอภาคทางเพศ  ที่ไม่จำกัดเฉพาะสองเพศแต่รวมถึง เพศสภาวะ (gender)อื่นๆ เช่น  หญิงรักหญิง  ชายรักชาย  วิชาเพศศึกษา ต้องไม่ผลิตซ้ำค่านิยม ที่ให้ผู้ชายมีอำนาจในเรื่องเพศมากกว่า ไม่ว่าจะเป็นการกีดกัน  การดูหมิ่น  ดูแคลน  ต่อเพศใดๆ</p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"> 3.  สิทธิในความเป็นคน  หรืออีกนัยยะหนึ่งก็คือ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์  การเรียนเพศศึกษาควรมุ่งเป้าเรื่องนี้ด้วย  ทั้งในกระบวนการเรียนการสอนก็ต้องเคารพสิทธิศักดิ์ศรีของนักเรียนที่เป็นหญิง ในฐานะที่เขาเป็นคนเหมือนกัน อันนี้จะทำให้การเรียน เพศศึกษาเป็นเรื่องการเรียนอย่างให้เกียรติต่อนักเรียนหญิง และนักเรียนเพศอื่น</p>

4. สิทธิที่จะป้องกันตัวและต่อสู้เมื่อถูกรุกรานทางเพศ            อันนี้ก็เป็นอีกเรื่องที่ เพศศึกษาแบบเดิมของกระทรวงศึกษายังครอบคลุมไม่ถึง คือยังมองว่าเด็กเป็นผู้ถูกกระทำในลักษณะ  passive  อยู่มากทั้งๆที่คลื่นลูกใหม่เหล่านี้ สามารถที่จะพัฒนาตัวเองได้อย่างมากมายกว่าที่ผู้ใหญ่อย่างเราคาดคิด 

หากแต่ว่าครูจะต้องค่อยๆฝึกและปล่อยให้พวกเขาเข้มแข็งได้ด้วยตนเอง หาไม่แล้วมันก็จะกลายเป็น  เพศศึกษาแบบพึ่งพิง  หมายความว่า ถ้ามีครู ไม่มีพ่อแม่ ไม่มีผู้ใหญ่ เด็กก็จะช่วยเหลือตนเองไม่ได้เลย  อันนี้ก็แย่ เพศศึกษาในยุคโลกาภิวัฒน์นี้ควรจะสอนให้เด็กเป็นนักสู้ ทั้งในแง่การป้องกันตัวเอง การใช้สิทธิ และการสร้างสิทธิในรูปแบบต่างๆ 

ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้จะเห็นได้ว่า เพศศึกษาในปัจจุบันจึงเป็นเรื่องที่น่าจับตามองอย่างยิ่ง 

หากจะมองว่ามีหินโสโครกมากมาย เหล่าเรือจ้างก็คงย่อท้อ  แต่หากจะมองว่านี่แหละเป็นสนามฝึก ที่มิเพียงยังประโยชน์ต่อตนเองและสาขาวิชานี้ แต่ยังสามารถช่วยอุ้มชู และพลิกผันชะตากรรมชีวิตน้อยๆอีกจำนวนมาก และเป็นเรื่องที่หลายภาคส่วน ต้องร่วมมือช่วยกัน           

เพราะแม้กระทั่ง เพศศึกษาสำหรับเด็กชาย แต่ใช้ครูผู้หญิงสอนก็ลำบาก เพศศึกษาสำหรับเด็กหญิง ให้ครูหนุ่มไปสอน ก็หมิ่นเหม่ต่อการเข้าใจคลาดเคลื่อน  การสอนเพศศึกษาจึงเป็นการสอนร่วมในรูปแบบ เครือข่าย หลายเพศ  หลายองค์กร  ด้วยเหตุนี้ การประชุมที่ สพท. วันนี้จึงเริ่มมีการคละเคล้ากัน  ทั้งในแง่ การประสานเป็นเครือข่ายเสริมสร้างการเรียนรู้ เรื่องเพศ ไม่ว่าจะเป็น จากวงการครู หรือทางฟากองค์กรปกครองท้องถิ่น  ซึ่งเป็นนิมิตหมายที่ดี  และผมคิดว่า คงจะเห็นความร่วมไม้ร่วมมือ จากวงการอื่นๆ เช่น สาธารณสุข , NGO ต่างๆ เข้ามาร่วมกันสานฝันเพศศึกษากันแบบนี้

หากสิ่งที่ผมอยากจะเสริมก็คือ  ลำพังการประสานระหว่างหน่วยงาน หาเพียงพอไม่ แต่ทุกคนต้องมองเห็นภารกิจร่วมกัน คือมองว่า ทุกคนล้วนเป็นครู            เพราะ ความเป็นครู หาได้จำกัดอยู่ที่ตำแหน่งหรือสาขาวิชาชีพ หรือสถาบันใดๆไม่  หากแต่ทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นธรรมชาติ ต้นไม้ สัตว์ตัวเล็กๆ ล้วนเป็นครูแก่เด็กๆและลูกหลานของเราได้ 

ฉะนี้แล้วท่านที่เป็นนายก  เป็นตำรวจ  ทหาร  หมอ  พยาบาล  พ่อค้า  จับกัง  คนเก็บของเก่า  นักร้อง  ช่างตัดผม  ฯลฯ  จะถูกปฏิเสธความเป็นครูที่มีอยู่ในตัวเองไปได้อย่างไรกัน 

โดยสรุปดังนี้แล้ว  เพศศึกษาจึงมีนิยามที่กว้างขวางและลุ่มลึก มีความเป็น  Active  หรือกลิ่นไอของการต่อสู้ เพื่อสร้างสังคมที่เป็นธรรมทางเพศ  เป็นเรื่องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ 

และจงอย่าน้อยใจไปเลยว่ามีครูผู้สอนน้อย แต่จงมองว่าคุณสมบัติความเป็นครูที่มีอยู่ในสรรพสิ่งต่างๆ มีอยู่ในบุคลากรอาชีพต่างๆ

             แล้วเพศศึกษาเมืองไทย (ในฝันของผม)จะไม่โดดเดี่ยว แต่เต็มไปด้วยสีสัน  ชีวิตชีวาและพลังแห่งความดีงาม

หมายเลขบันทึก: 116103เขียนเมื่อ 1 สิงหาคม 2007 15:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

หลังจากผ่านร้อนผ่านหนาวมีหลายปี ผมเปิดกะโหลกตัวเองเรื่องเพศศึกษาจริงๆ จังๆ ไม่นานมานี้เอง (อย่าคิดลึกนะครับ) หลังจากเห็นหนังสือ ชื่อ Genderism ของ คุณ โตมร ศุขปรีชา วางอวดบนแผงนาน ก็เลยซื้อมาอ่านซะ

เป็นมุมมองคล้ายๆ กับที่คุณยอดดอยว่าไว้ในบันทึกนี้ มันซับซ้อน โยงใยกันหลายระบบ และความเชื่อ เป็นเรื่องที่น่าเอามาพูดคุยมากๆ เลยครับ เพียงแต่คำว่า "เพศศึกษา" ทำให้หลายคนสะอึก พูดไม่ออก แต่ก็อยากรู้ พอมันมีให้รู้ ให้เห็นกันตามอินเตอร์เน็ต หรือสื่อลามก ก็เลยแห่กันไปดู อย่างที่พี่วิสุทธิ์เสนอให้ทุกฝ่ายช่วยกันสอนเพื่อลดความอึดอัด ลำบากใจของทุกฝ่ายนี่ น่าสนใจมากเลยครับ แต่ต้องหว่านล้อมกันพอสมควร เพราะผมว่าหลายๆ คนไม่อยากจะพูดเรื่องนี้ในที่สาธารณะ 

ผมชอบที่อาจารย์นิธิ เอียวศรีวงค์เคยพูดไว้่ว่า การดูสื่อลามกนั้นไม่ดี เพราะมันไม่มีเนื้อเรื่อง คือมาถึงก็ลงมือ แล้วก็จบเรื่องไป ไม่รู้ว่าตัวละครมาจากไหน เป็นใคร และเขารักกันไหม ผมชอบประเด็นที่อาจารย์เอามาโยงกับความรักมากเลยครับ

เมื่อไม่นานนี้ได้ดูสารคดีเรื่องเพศในประวัติศาสตร์อุตสาหกรรมภาพยนต์อเมริกัน มีสองประเด็นที่ผมติดใจ หนึ่งคือทางผู้ดำเนินรายการถามผู้กำกับว่าหนังที่เป็นศิลปะ (ที่ดาราแสดงกันแบบไม่แสดง คือนอนกันจริงๆ) นั้นต่างกับหนังลามกยังไง ผู้กำกับท่านหนึ่งบอกว่า ต่างตรงที่การผลิต คือเรื่องแสง เรื่องฉาก มุมมองกล้อง อารมณ์นักแสดง อีกท่านหนึ่งพูดเหมือนอาจารย์นิธิครับ ว่ามันอยู่ที่เนื้อเรื่อง 

เรื่องที่สองที่ผมติดใจคือการวิเคราะห์ูธุรกิจภาพยนต์อเมริกันอย่างละเอียด เจาะเป็นเรื่องการเสียความบริสุทธิ การปลุกฝังค่านิยมทางอ้อม เช่นภาพยนต์เรื่อง Halloween (1978) ที่ เจมี ลี เคอติส แสดงเป็นนางเอก โดยเธอแสดงเป็นคนดูแลเด็ก ที่ต้องเผชิญกับฆาตกรโรคจิต เรื่องนี้ฆาตกรจะโผล่มาในฉากที่มีสาววัยรุ่นกำลังมีเพศสัมพันธ์ หรือเสร็จจากกิจกรรม แล้วก็จะถูกฆาตกรไล่ล่า ตายตกไปทีละคน เหลือนางเอกของเราคนเดียว ที่บริสุทธิ์ และมีชีวิตรอดมาจนเขาทำหนัง Halloween กันอีกรอบตอนปี 1998

เขาวิเคราะห์ว่าการเอาเรื่องเพศ ความตาย ฆาตกร มาผูกกันนี้ ทำให้คนดูเข้าใจว่าการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรนั้น อาจถึงตายได้ ผมฟังแล้ว อืมม์ ... ลึกล้ำจริงๆ

อ้างอิง:

Indie Sex: Censored (2007)
Indie Sex: Teens (2007) 

 

P
sasinanda
เรื่อง“เพศศึกษา”  และเรื่อง ความสัมพันธ์ที่ไม่เท่าเทียมกันระหว่างเพศ

เป็นเรื่องที่ในสังคมยังมีปัญหาอยู่ แต่ แม้จะไม่เท่าเทียม แต่ก็เกิด บางที ก็เกิดจากการยอมรับเองด้วยค่ะ เพราะอิทธิพลของวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาค่ะ

สวัสดีครับคุณแว้บ

  • เรื่องลามกไม่ลามกนี่เป็นวัฒนธรรมชัดมากเลยครับ แต่ละวัฒนธรรมนิยามคำว่าลามกไม่เหมือนกันนะครับ และลามกหรือไม่ มักจะขึ้นอยู่กับกาละเทศะ (space & time) อีกด้วย
  • ตัวอย่าง การพูดเรื่องสองแง่สองง่ามในวงเพื่อนฝูง ก็ไม่ลามกอะไร แต่ถ้าไปพูดในวัดอันนี้ ชาวบ้านแช่งเอา
  • ลามกกับเพศศึกษาน่าจะเหมือนกันในแง่ที่ต่างเป็นเป็น Social Value และ Social Control และบ่อยครั้ง ที่มันเป็นอย่างที่คุณ Sasinanda ว่า คือมันเป็นการควบคุม กดขี่ผู้หญิงได้เหมือนกัน
  • แต่ไม่เฉพาะหญิงเท่านั้นที่ถูกผลกระทบ แต่ผู้ชายในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งที่อยู่ร่วมกับหญิง ก็เจ็บปวดจากความไม่เสมอภาคทางเพศได้เช่นเดียวกันครับ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท