โค้ชส้ม Citrus
Miss. ปรีดิ์ฤทัย โค้ชส้ม ตั้งจิตญาณพัฒน์

อยากเป็นคนเก่งคิดให้เกาะติดวิถีของ Leonardo Da Vince


คงต้องให้ความสำคัญกับการบันทึกมากขึ้น ไม่ใช่เฉพาะแต่ในเวลาไปอบรม หรือดูงานเท่านั้น

             ในแวดวงของนักวิชาการด้านความคิดสร้างสรรค์ คงต้องพาดพิง หรือพูดถึงความเก่งกาจของนักปราชญ์ที่มีชื่อว่า Leonardo Da Vince ผู้สร้างสรรค์ผลงานภาพวาดโมนาลิซา อันมีชื่อเสียงกระฉ่อนไปทั่วโลก หรือ The Last Supper นอกจากนั้นท่านยังเป็นสถาปนิก นักปั้น และอื่นๆ อีกมากมาย เรียกว่าเป็นคนครบเครื่องเก่งทั้งศาสตร์และศิลป์ทีเดียว 

            ในหนังสือที่ชื่อว่า How to Think Like Leonardo Da Vince ประพันธ์โดย Michael Gelb  ได้กล่าวถึงเรื่องราวของนักปราชญ์ผู้หนึ่ง ซึ่งไม่ได้เกิดมาจากครอบครัวที่ร่ำรวย และสมบูรณ์แบบ แต่ท่านมีแนวความคิดอย่างไร ทำอย่างไร จึงสามารถก้าวขึ้นมาเป็น นักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ระดับโลกได้

             ในหนังสือเล่มนี้มีการพูดถึงวิธีการไปสู่เส้นทางของนักปราชญ์ 7 วิธี (รายละเอียดเปิดดูได้ในไฟล์อัลบัม) วิธีแรก คือการใฝ่หาความรู้มีความอยากรู้อยากเห็นในสิ่งที่เป็นประโยชน์อย่างไม่มีที่สิ้นสุด และไขว่คว้าหาความรู้อย่างไม่หยุดหย่อน จนเข้าใจในสิ่งนั้นๆ อย่างถ่องแท้ เห็นได้ชัดจากการที่ Leonardo Da Vinci ทุ่มเทพลังชีวิตทั้งหมดให้กับการแสวงหาความจริงและความงาม โดยท่านเป็นคนช่างสังเกต และชอบตั้งคำถามอยู่ตลอดเวลา เช่น ท่านมักจะถามว่าในหนึ่งชีวิตของคนเรานั้นจะทำสิ่งใดได้บ้างก่อนจากโลกนี้ไป และในการสังเกตของท่านทุก ๆ ครั้ง จะต้องมีการจดบันทึกไว้เสมอ


ประโยชน์ของการจดบันทึก พอจะสรุปสั้นๆ ได้ดังนี้

  • เก็บข้อมูลต่าง ๆ จากการสังเกต และแนวคิดใหม่ ๆ ที่ได้รับ

  • ทำให้แนวคิดใหม่ ๆ ที่ผุดขึ้นมาในสมองไม่สูญเปล่า

  • เมื่อเกิดปัญหา ให้เขียนปัญหาลงในสมุดบันทึก หาเหตุผล ปัจจัยต่าง ๆ ข้อแก้ไข ซึ่งจะทำให้จิตใจไม่ฟุ้งซ่าน สามารถมองเห็นปัญหา และหนทางแก้ไขได้ในทุกแง่ทุกมุม

  • ทำให้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในด้านต่าง ๆ มากขึ้น

  • ทำให้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้อย่างแท้จริง

         บังเอิญอ่านพบในการทำ knowledge sharing ของบริษัท และเห็นว่าตรงประเด็นกับสิ่งที่กำลังทำ และคนมักพูดถึงกันบ่อยในกระบวนการเรียนรู้ต่างๆ สำหรับตัวเองแล้ว ปกติจะชอบจดบันทึกมาก แต่เท่าที่ผ่านมาจะจดในลักษณะของการรับรู้ จดเป็นเนื้อหาที่ได้ยิน ได้เห็น ได้ดู แต่ไม่เคยจดในลักษณะของการเรียนรู้ หรือคิดเชื่อมโยงไปยังเรื่องอื่นๆ ไว้ด้วย

         เคยได้ยินน้องคนหนึ่งเล่าว่า เขามีแบบอย่างของการเป็นเลขาที่ดี จากพี่คนหนึ่งซึ่งเป็นเลขาของผู้บริหารระดับสูงสุดของกลุ่มธุรกิจ ในพฤติกรรมหนึ่งที่น้องเขากล่าวถึงก็คือ พี่คนนี้จะจดบันทึกเกี่ยวกับสิ่งที่เธอได้รับบทเรียนจากการทำงานทุกวันไม่เคยขาด และเธอจะเรียนรู้ในสิ่งที่เธอทำได้ดีแล้ว เก็บไว้ใช้อีกในโอกาสหน้า และไม่ทำในสิ่งที่เคยทำพลาด เราจึงไม่สงสัยอีกเลยว่าทำไมแม้แต่เจ้านายยังรับฟังคำแนะนำของเธอ

      

        ประสบการณ์ของการบันทึกที่ดีโดยส่วนตัวเพิ่งเกิดขึ้น จากคำถามที่ได้รับจาก อ.ดร.วรภัทร์ ให้เราแยกให้ออกว่า สิ่งที่เราพูดหรือเขียนออกมาเมื่อเรามาเรียนเรื่องใหม่ ๆ อะไรคือการรับรู้ อะไรคือการเรียนรู้ ตั้งแต่นั้นมาเวลาจดบันทึก จะใส่ความคิดที่แว่บ

ออกมา ณ ขณะนั้น หรือเชื่อมโยงไปเรื่องอื่นด้วยเพื่อกันลืม ทำให้บันทึกของเรามีคุณค่าขึ้นมากเมื่อกลับมาทบทวนทุกครั้ง

          บันทึก = สิ่งที่ได้รับทางประสาทสัมผัส + ความคิดเชื่อมโยง + ความคิดต่อยอด

หมายเลขบันทึก: 96218เขียนเมื่อ 14 พฤษภาคม 2007 22:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 มิถุนายน 2012 23:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
สวัสดีค่ะ มาเยี่ยมค่ะ
ดีครับที่นำมาแนะนำ ผมก็ชอบหนังสือเล่มนี้มากครับ ยังเคยเอากิจกรรมบางอย่างจากหนังสือเล่มนี้ไปให้นักศึกษาทำด้วยครับ
P

สวัสดีค่ะ พี่ sasinanda

ขอบพระคุณค่ะ ที่พี่เข้ามาเยี่ยมอยู่เสมอ ทำให้มีกำลังใจเขียนบันทึกดีค่ะ

P

สวัสดีค่ะ อ.สุรเชษฐ

พออาจารย์บอกว่ามีหนังสือเล่มนี้ เดยอ่านแล้วนำมาสอนนักศึกษาด้วย สนใจมากเลยค่ะ คงต้องไปหามาอ่านบ้างแล้ว อาจารย์ซื้อในเมืองไทยหรือเปล่าคะ ไม่แน่ใจว่ายังมีขายอยู่หรือเปล่าคะ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท