Learning Mathematics


-

วันพฤกัสบดีที่ 8 มิถุนายน ผมและมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ ได้จัด Learning Forum เรื่อง "Lesson study in Mathematics" ซึ่ง Lesson study เป็นนวัตกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ ที่ใช้กันในญี่ปุ่นมากว่า 100 ปี เป็นวิธีการที่ครูได้เรียนรู้ สอน และทำวิจัยไปพร้อม ๆ กัน เพราะต้องมีการเก็บข้อมูลการสอนของครู โดยจะมีครูอีกคน สังเกตุการสอนอยู่หลังห้อง และเก็บข้อมูลของเด็กนักเรียน เนื่องจากโจทย์คณิตศาสตร์มีวิธีการแก้ปัญหาได้หลายวิธี ดังนั้นครูจะต้องเก็บข้อมูลของเด็กเพื่อมาวิเคราะห์ว่าเด็กสามารถเข้าใจบทเรียนได้มากน้อยเพียงใด Lesson study จึงเป็นวิธีการที่ช่วยให้การเรียนรู้และการสอนคณิตศาสตร์ของครูและนักเรียนสมบูรณ์
ขอเชิญทุกท่านร่วมแลกเปลี่ยนความเห็น

คำสำคัญ (Tags): #lesson#study#in#mathematics
หมายเลขบันทึก: 33388เขียนเมื่อ 9 มิถุนายน 2006 02:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

วิธีการสอนดังกล่าวครูผู้สอนจะทราข้อดีและข้อควรปรับปรุงของผู้ส้งเกตการสอน

ยม "บทความของ ศ.ดร.จีระ จาก น.ส.พ.แนวหน้า 10 มิ.ย. 2548/ การทูตภาคประชาชนฯ"

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ และท่านผู้อ่านทุกท่าน

 

ผมติดตามสาระน่ารู้จาก ศ.ดร.จีระ จาก น.ส.พ.แนวหน้า ฉบับวันที่ 10 มิ.ย. 2549 อาจารย์เขียน บทความเรื่อง "การทูตภาคประชาชนที่เวียงจันทน์"  มีสาระน่าสนใจ เท่าที่ผมอ่านเที่ยวเดียวแล้วจับประเด็นได้ อาจารย์กล่าวถึง ดังนี้

 

  • สหประชาชาติ ทูลเกล้าฯถวายรางวัลแด่ในหลวงของเรา
  • คนไทยต้องหันกลับมาสู่คุณธรรม ต้องวิเคราะห์ให้เป็น คิดให้เป็น ต้องรู้ว่าอะไรสำคัญ อะไรไร้สาระ และ อะไรคือความดีคุณธรรมที่จรรโลงสังคม
  • การสัมมนาของกลุ่ม Asia business forum เป็นเรื่องการบริหาร Talent หรือ การบริหารดาวดวงเด่นขององค์กร
  • การเรียนยุคใหม่ ต้องเรียนกันเป็นทีม style 4 L's
  • เรื่อง Talent management ต้องทำให้ง่ายๆ แบบ Simplicity
  • Talent ต้องเน้นการทำงานข้ามชาติ
  • Talent น่าจะประกอบ 3 เรื่องในตัวคนเดียวกัน ( คนอื่นอาจจะคิด แนวอื่น ) -
  • ทฤษฎี 20/70/10 ผู้ที่เป็นดาวเด่น 20% จะต้องทำงานกับคนอื่นๆด้วย และจะต้องพัฒนาคนในองค์กร 70% ให้เก่งด้วยฯ
  • การบริหารหรือเก็บเกี่ยว Talent ให้ได้ผลสูงสุดอย่างไร น่าจะอยู่ 3 ขั้น
  • และการทูตภาคประชาชน บทบาทของมหาวิทยาลัยขอนแก่น และการไปเยือนลาวฯ

 

ผมอ่านแล้ว รู้สึกว่าได้สาระความรู้ และเหมือนกับได้ไปลาวกับอาจารย์ด้วย ที่น่าสนใจ มากคือเรื่องเกี่ยวกับ Talent Management ที่สั้น เข้าใจง่าย แบบภูมิปัญญาไทย ซึ่งท่านผู้อ่าน หรือ นักบริหาร นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยเฉพาะกลุ่มที่เข้าร่วมการอบรมกับ Asia business forum สามารถนำไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติได้ง่าย

 

นอกจากนี้ ท่านผู้อ่านที่มีครอบครัวยังสามารถนำแนวคิดเกี่ยวกับ Talent Management ไปบริหารจัดการลูกหลานได้อีกด้วย เช่น ศ.ดร.จีระ กล่าวว่า องค์ประกอบของ Talent มี 3 อย่างอยู่ในตัวคนเดียวกัน คือ KSM, knowledge(ความรู้) Skill (ทักษะ ความชำนาญ) Mindset (ทัศนคติ) 3 อย่างนี้ ท่านสามารถนำไปกำหนดยุทธศาสตร์ในการสร้างบุตรหลานของท่าน ให้เป็นมรกดกแก่แผ่นดินได้ เป็นอย่างดี    

ส่วนการทูตภาคประชาชน ก็เป็นตัวอย่างที่ดีในการสร้างทุนทางสังคม ให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศ ผู้อ่านสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการสร้างเครือข่าย สร้างสัมพันธ์กับเพื่อนบ้าน เพื่อนร่วมงาน ได้

รายละเอียดบทความของ ศ.ดร.จีระ ในเรื่อง ดังกล่าว ผมคัดมาให้ไว้ตอนท้ายนี้ครับ  ขอให้ท่านโชคดี

สวัสดีครับ

ยม

การทูตภาคประชาชนที่เวียงจันทน์ *

 

สัปดาห์นี้ เป็นสัปดาห์มหามงคลแห่งความปลื้มปีติของคนไทย นอกจากที่สหประชาชาติ ทูลเกล้าฯถวายรางวัลแด่พระองค์ท่านแล้ว ยังมีรางวัลของ European Union เรื่องสิทธิบัตร "ฝน หลวง" ซึ่งเป็นเรื่องที่เป็นสิริมงคลและเป็นเกียรติประวัติของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของปวง ชนชาวไทย ในยุคโลกไร้พรมแดนนี้

 

ในสัปดาห์นี้ สีเหลืองเป็นสีที่ทุกคนภาคภูมิใจและหล่อหลอมรวมดวงใจของคนไทยด้วย แต่มีพ่อค้าบางคนยังเอาเปรียบสังคม ขายราคาแพง ยุคนี้คนไทยต้องหันกลับมาสู่คุณธรรม จริยธรรม หากรัฐบาลใดยังเน้นเรื่อง growth การเจริญเติบโต เรื่องความร่ำรวย การบริโภคนิยม และวัตถุนิยม โดยไม่มองมิติอื่นๆ ก็จะทำให้สังคมไทยเต็มไปด้วยความรุนแรง เพราะแข่งขันกัน และเอารัดเอาเปรียบกันตลอดเวลา ยิ่งนานไป เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น จะเป็นบทเรียนราคาแพง ให้คนไทย ฉะนั้นคนไทยต้องวิเคราะห์ให้เป็น คิดให้เป็น ต้องรู้ว่าอะไรสำคัญ อะไรไร้สาระ และ อะไรคือความดีคุณธรรมที่จรรโลงสังคม ในที่สุดแล้ว ความดีน่าจะสำคัญกว่าความเก่ง ซึ่งไปเพิ่ม ผลประโยชน์ให้แก่กลุ่มตัวเอง โดยไม่คำนึงถึงส่วนรวมคงไม่ได้

 

ช่วงนี้ คนไทยทุกคนควรจะต้องปรับตัว และคิดให้รอบคอบว่าอะไรจะเกิดกับสังคมไทย ระหว่างที่อ่านบทความนี้เป็นช่วงที่หยุดหลายวัน นอกจากพักผ่อนแล้วก็ขอความกรุณา สนใจข่าวสารและเรียนรู้ในพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไปด้วย

 

เพราะอีก 2 -3 สัปดาห์ข้างหน้าคงจะมีการต่อสู้ทางการเมืองรุนแรงต่อไป และคงจะเป็น การต่อสู้ที่กำหนดอนาคตของประเทศไทย คนไทยต้องเฝ้ามอง ระวังและตั้งสติให้ดี สัปดาห์นี้ ผมทำงานใหญ่หลายเรื่อง

เรื่องแรกคือ ในการสัมมนาของกลุ่ม Asia business forum เป็นเรื่องการบริหาร Talent หรือ การบริหารดาวดวงเด่นขององค์กร ซึ่งผมมีโอกาสได้ไปแสดงความคิดเห็นด้วย การประชุมเช่นนี้ น่าสนใจที่ว่า ผู้ที่ไปร่วมประชุมจะเป็นเจ้าหน้าที่ระดับค่อนข้างสูงของธุรกิจใหญ่ บางแห่งเป็นธุรกิจ ระหว่างประเทศที่เริ่มเห็นความสำคัญของทรัพยากรมนุษย์และเน้นทรัพยากรมนุษย์เป็น ยุทธศาสตร์มากขึ้น

 

ผมเน้นว่าการเรียนยุคใหม่ ต้องเรียนกันเป็นทีม style 4 L's ด้วย เพราะฉะนั้นการมีผู้แสดง ความเห็นจำนวนมาก แต่คนละแนว บางครั้งจะได้ประโยชน์ไม่มาก เพราะได้แต่ความคิด แต่ไม่ได้ ปะทะกับความจริง ทฤษฎี 2 R's และไม่ตรงประเด็น เป็นแบบดาวกระจาย แทนที่จะเน้นการเรียน เป็น team work ผมพูดเพียง 1 ชั่วโมง แต่ก็เห็นความสนใจของผู้ฟังที่อยากจะออกความเห็น และ อยากเอาไปใช้ share ความรู้ให้มากขึ้น

 

เรื่อง Talent management ต้องทำให้ง่ายๆ แบบ Simplicity ซึ่ง Talent ก็คือเรื่องทรัพยากรมนุษย์นั่นเอง แต่ที่สำคัญสุดก็คือ

 - องค์กรต้องปรับตัวและแข่งขันมาก ( Change and Innovate )

- customer ในโลกมีความคาดหวังสูง สลับซับซ้อน และมีประสบการณ์ในการบริโภค มายาวนาน

- สินค้าและบริการมีวงจรสั้นลง ต้องปรับตัวทั้งการผลิตและการบริการให้รวดเร็วอยู่ ตลอดเวลา วงจรจะสั้นลงเรื่อยๆ

- สุดท้าย Talent ต้องเน้นการทำงานข้ามชาติ เพราะ performance ผลประกอบการใน การทำงานมี Benchmark มาตรฐานอันเดียวคือ Global benchmark มาตรฐานโลก คือ มีการแย่งตัวกันระดับระหว่างประเทศ

สรุป Talent ในความเห็นของผมน่าจะประกอบ 3 เรื่องในตัวคนเดียวกัน ( คนอื่นอาจจะคิด แนวอื่น )

- skill

- ความรู้

- ทัศนคติ mindset

คนที่จะทำงานสำเร็จได้จะต้องเป็นคนที่มีหลายๆอย่างอยู่ในตัวคนเดียวกัน Talent ที่ดี ทำงานคนเดียวไม่ได้ ผมยกทฤษฎี 20/70/10 มาให้ดูว่า ผู้ที่เป็นดาวเด่น 20% จะต้องทำงานกับ คนอื่นๆด้วย และจะต้องพัฒนาคนในองค์กร 70% ให้เก่งด้วยคือถ้า 20% เป็น Talent อีก 70% จะต้องพัฒนาด้วย และอีก 10% ที่ไม่เอาไหน จะต้องดูแลว่าจะให้เขาอยู่อย่างไร

 

และสุดท้ายการบริหารหรือเก็บเกี่ยว Talent ให้ได้ผลสูงสุดอย่างไร น่าจะอยู่ 3 ขั้น

1) หาได้อย่างไร

2) เก็บรักษาได้อย่างไร

3) บริหารไปสู่ High performance ผลการทำงานอย่างไร

 

อีกเรื่องหนึ่งที่ผมภาคภูมิใจคือ การที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัย ระดับชาติของไทยได้ไปจัดงานคืนสู่เหย้าที่ เมืองเวียงจันทน์ ประเทศลาว เมื่อคืนวันที่ 6 มิถุนายนที่ ผ่านมา เพราะมหาวิทยาลัยขอนแก่นผลิตบุคลากรคนลาว ที่จบระดับปริญญาทั้งตรี โท เอก ประมาณ 200 คนและมีตำแหน่งสูงในประเทศ หากนับคนลาวที่มาเรียนหลักสูตรระยะสั้นอีก ก็มี ไม่ต่ำกว่า 3,000 คน ซึ่งได้จัดร่วมกับมหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว อธิการบดี ดร.สมกต มังหน่อเมฆ ซึ่งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการของลาวมาร่วมงานด้วย

 

ฝ่ายขอนแก่นนำโดยนายกสภามหาวิทยาลัยขอนแก่น พลตำรวจเอกเภา สารสิน ได้ร่วมกัน จัดพบปะศิษย์เก่ากว่า 300 คนในคืนนั้น มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางวิชาการ โดยมีท่านทูต ไทย คุณรัฐกิจ มานะทัต ซึ่งเป็นทูตที่ให้ความสนใจเรื่องการทูตภาคประชาชน แสดงความเห็นเรื่อง การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของไทย /ลาว ร่วมกัน ชี้ให้เห็นถึงการทูตภาคประชาชนยุคใหม่ ซึ่งมี ภาควิชาการมาร่วมทำงานเป็นรูปธรรมมากขึ้น

แนวคิดทางการทูตภาคประชาชน เป็นแนวคิดที่ปฎิบัติได้ และจะช่วยทำความสัมพันธ์ที่ดี สร้างความไว้ใจ trust ระหว่างกัน เมื่อ 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา ประเทศลาวได้ประท้วงผู้สร้างหนัง ไทย " หมากเก็บ โลกตะลึง " ที่ไม่ได้มองความละเอียดอ่อนของวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน คนไทย มักจะดูแคลนว่าประเทศลาวยากจน โดยไม่ได้คิดลึกซึ้งในด้านประวัติศาสตร์อันยาวนานและ วัฒนธรรมที่แตกต่าง ผมคิดว่ามหาวิทยาลัยขอนแก่น จะทำหน้าที่การทูตภาคประชาชนต่อไป และ คงขยายความร่วมมือไปยังประเทศเพื่อนบ้านอื่นด้วย เช่น พม่า เขมร จีน เวียดนาม รวมทั้ง มาเลเซีย

 

อนาคต รัฐบาลไทย น่าจะเพิ่มทุนให้กับรัฐบาลของลาว ให้ส่งนักศึกษามาเมืองไทยมากขึ้น และในระดับปริญญาเอกมากขึ้นด้วย และไปช่วยสร้างอาจารย์ในมหาวิทยาลัยแห่งชาติลาวด้วย จะสร้างความผูกพันที่แน่นแฟ้นมากขึ้น ผมในฐานะเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของสภา มหาวิทยาลัยขอนแก่น และเป็นผู้คิดเรื่องการทูตภาคประชาชน ซึ่งได้ทำอยู่ตลอดเวลาในนามของ มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ สนับสนุนการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างไทย/ ลาว น่าจะเป็นบันไดไปสู่ความไว้เนื้อเชื่อใจของประเทศ ยิ่งไปกว่านั้น การศึกษาก็เป็นการ แลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมของสองประเทศด้วย ซึ่งในคืนนั้นมีการแสดงวัฒนธรรมของทั้งสอง ประเทศรวมกันอย่างสวยงาม โดยการรำวง

 

ผมภูมิใจมากครับ

 

จีระ หงส์ลดารมภ์ [email protected]

โทร. 02-273-0180, 0-2619-0512-3

โทรสาร 0-2273-0181

------------------------------------------

*คัดมาจาก http://www.naewna.com/gotocolumn.asp?ID=97

ยม บทความของ ศ.ดร.จีระ "คนไทย : ทำเพื่อแผ่นดิน" จาก น.ส.พ. แนวหน้า เสาร์ที่ 17 มิ.ย. 2549

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ และท่านผู้อ่านทุกท่าน

 

  

เช้านี้ ผมขอนำเสนอบทความของ ศ.ดร.จีระ ที่เขียนไว้ใน น.ส.พ. แนวหน้า (17 มิ.ย. 49) ในบทความดังกล่าว ศ.ดร.จีระ เขียนเกี่ยวกับ องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เกี่ยวกับบทบาทของคนไทย 64 ล้านคน เป็นสิ่งสำคัญที่สุด การที่พระองค์ท่านทรงเน้นให้คนไทย สามัคคี  สุจริต มีคุณธรรม
มีความเมตตาและหวังดีต่อกัน ไม่ใช่คนในชาติเป็นศัตรูกันเอง ร่วมช่วยกันจรรโลงบ้านเมืองให้ก้าวต่อไป 

 

  

นอกจากนี้ อาจารย์ยังเขียนเกี่ยวกับ ภารกิจที่ท่านได้ทำประโยชน์ต่อสังคม ในสัปดาห์ที่ผ่านมา มีหลายกิจกรรมหน้าสนใจ เป็นแบบอย่างที่ดี ครับ  ท่านผู้อ่านสามารถ ติดตามสาระน่ารู้ กับ ศ.ดร.จีระ ได้ทางรายการ ทีวี UBC 7 วันอาทิตย์ ช่วงบ่ายโมงโดยประมาณ และรายการวิทยุ”Knowledge for People”   ในทุกวันอาทิตย์ เวลา 18.00-19.00น. สถานีวิทยุ F. M. 96.5 MHz. “คลื่นความคิด "   ซึ่งเป็นรายการที่ให้ทุนทางความรู้และทุนทางปัญญาแก่ผู้สนใจได้ดีมาก

 

  

ท้ายนี้ ผมขอเชิญชวนท่านทั้งหลาย มุ่งมั่นทำความดี ถวายแด่ในหลวงของเรา และขอให้ความดีที่ท่านทำ จงส่งผลให้ท่านมีความเจริญด้วย ทุนทางศีล สมาธิ สติ ปัญญา นำพาความสุข ความเจริญมาสู่ท่านและครอบครัว

 

 

สวัสดีครับ

 

 ยม

 

  คนไทย : ทำเพื่อแผ่นดิน

โดย ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์


 

สัปดาห์ที่ผ่านมา คนไทยทั้ง 64 ล้านคนปลาบปลื้มกับบรรยากาศการเฉลิมฉลองสิริราชสมบัติ ครองราชย์ 60 ปีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


โชคดีได้เห็นภาพต่าง ๆ ทางโทรทัศน์ โดยเฉพาะในช่วงที่ราชวงศ์ต่าง ๆ 25 ประเทศ มาร่วม ถวายพระพรชัยมงคลต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเรา

 

ผมคิดว่ามีหลายประเด็นที่ควรจะนำมาศึกษา วิเคราะห์ และสะท้อนเป็นบทเรียนที่มีคุณค่า อย่างยิ่ง
ประเด็นแรกคือ บทบาทของคนไทย 64 ล้านคน เป็นสิ่งสำคัญที่สุด คำว่า ประชาชนคนไทย ของพระองค์ท่านคือ มีหน้าที่รับใช้บ้านเมือง ในฐานะประชาชน เพื่อรักษาชาติให้อยู่อย่างยั่งยืนและ ผาสุก และมองประโยชน์ของส่วนรวมเป็นที่ตั้ง แม้แต่พระองค์ท่านเอง ยังทรงตรัสว่า พระองค์ท่านก็ เป็นประชาชนคนหนึ่งที่จะต้องทำหน้าที่ต่อชาติ ซึ่งผมว่ามีความหมายอย่างมาก ให้คนไทยหลายฝ่าย คิดว่า เราได้อะไรอย่างมากจากประเทศ บางกลุ่มก็ได้มากมาย แต่ต้องคิดให้รอบคอบ ว่าเราคืนอะไร ให้แก่ชาติ หากรับใช้ชาติ ชาติก็อยู่รอด
ประเด็นที่สองคือ เรื่องที่ท่านมีพระราชดำรัสในการออกมหาสมาคม เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน ที่ เน้นให้คนไทย
- สามัคคี
- สุจริต
- มีคุณธรรม
- มีความเมตตาและหวังดีต่อกัน ไม่ใช่คนในชาติเป็นศัตรูกันเอง ร่วมช่วยกันจรรโลงบ้านเมืองให้ก้าวต่อไป


ผมคิดว่า เป็นประเด็นที่พระองค์ท่านทรงปฏิบัติอย่างเคร่งครัดมากว่า 60 ปีที่ทรงครองราชย์
ที่ผู้อ่านคงเห็นด้วยกับผมว่า ระบบกษัตริย์ในโลกจะค่อย ๆ หมดไป ปัจจุบันมีอยู่เพียง 29 ประเทศ และอนาคตก็จะมีน้อยลง ในยุคที่โลกมีข่าวสาร มีประชาธิปไตย มีความเสมอภาค บทบาท ของกษัตริย์จะถูกเพ่งเล็งค่อนข้างมาก ว่าจะทำอะไรให้แก่ประชาชนและประชาชนได้อะไร


ในทางตรงกันข้าม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเรา ได้รับการยอมรับ เป็นที่ชื่นชมและ เป็นที่รักทั้งในประเทศและนอกประเทศอย่างไม่มีข้อกังขาใด ๆ และเป็นบทเรียนให้ระบบราชวงศ์อื่น ๆ ได้นำไปใช้เป็นแบบอย่างที่ดี


โดยเฉพาะข่าวที่ออกไปทั่วโลก 2-3 วันติดต่อกันไม่ว่าจะเป็น
- BBC
- CNN
- NHK
- CCTV
- AP หรืออื่น ๆ


นับว่าเป็นการสร้างเกียรติประวัติ ภาพลักษณ์และแสดงให้เห็นถึงความงดงามของ ประวัติศาสตร์ของไทย ซึ่งแตกต่างจากประเทศอื่น ๆ ให้โลกได้เห็นว่า ประเทศไทยก็มีอะไรที่น่าชื่นชม อย่างยิ่ง

 

สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับชีวิตของเราคือ เราได้เกิดเป็นคนไทย เราทำอะไรเพื่อประเทศบ้าง เพื่อ จรรโลงระบบที่เป็นเลิศให้อยู่คู่ประเทศไทยตราบนานเท่านาน สำคัญที่สุด เราทำอะไรเพื่อสนอง แนวทางและปรัชญาของพระองค์ท่าน


ผมจึงรายงานให้ทราบว่า สัปดาห์นี้มี 3 เรื่อง ที่เราทำและเป็นการเทิดพระเกียรติพระองค์ท่าน
เรื่องแรกคือ มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ ร่วมกับ วปอ33 จัดการ ประชุมสัมมนาระดับชาติเรื่องการสร้างสังคมการเรียนรู้ตามแนวพระราชดำริและปรัชญา เศรษฐกิจ พอเพียง ในวันศุกร์ที่ 16 มิถุนายน 2549 ที่ห้องประชุมสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ในครั้งนี้เป็นการจัดครั้ง ใหญ่ระดับรวบยอดและระดับชาติ เพราะหลายครั้งเราจัดที่ต่างจังหวัด และจัดเฉพาะภูมิภาค


มูลนิธิฯได้ริเริ่มและดำเนินการ มาโดยตลอดกว่า 4-5 ปี ซึ่งในวันที่ 16 มิถุนายนนี้ มีประธาน องคมนตรีและรัฐบุรุษ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นประธานกล่าวเปิดการประชุม และ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล กล่าวปาฐกถานำ พร้อมกับบุคคลที่มีชื่อเสียงอีกมาก เช่น
- คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- คุณอำพน กิตติอำพน เลขาธิการสำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
- ดร. ฉลองภพ สุสังกรกาญจน์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศไทย
- พลตรีพิเชษฐ์ วิสัยจร รองแม่ทัพภาค 4
- ดร. ณรงค์ โชควัฒนา
- นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เป็นต้น


ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นบุคคลตัวอย่างอีกท่านหนึ่งที่เชิดชูและรับใช้ พระมหากษัตริย์และแผ่นดินมาอย่างต่อเนื่อง

 

ส่วนอีกเรื่องหนึ่งคือ รายการคิดเป็นก้าวเป็น ทาง UBC 7 ในวันอาทิตย์ที่ 18 มิถุนายน เวลา 13.00-14.00 น. ผมและคุณพิชญ์ภูรี ได้สรุปประเด็นงานที่ได้ทำในช่วง 4-5 ปีที่แล้วได้ทำอะไรบ้างใน รายการ พบว่า เราได้ทำเรื่องเกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสืบต่อเนื่องกันหลายเรื่อง ซึ่งผู้อ่าน สามารถติดตามได้ทาง UBC 7


เริ่มตั้งแต่ การแนะนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการประชุมนานาชาติ Leadership Forum ติดต่อกัน 5 ครั้ง ได้เชิญตัวแทนจากต่างประเทศมาร่วมทุกครั้ง
 

เรื่องต่อมาคือ การเดินทางไปเชื่อมความสัมพันธ์กับต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้าน
- เขมร 4 ครั้ง
- พม่า 1 ครั้ง
- จีน 1 ครั้ง


ซึ่งเป็นที่มาของการทูตภาคประชาชน People to people diplomacy (PPD ) โดยใช้ปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทาง


เป็นความโชคดีในการทำงานของเรา ที่มีบุคคลที่สามารถถ่ายทอดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อย่างลึก ๆ ให้เพื่อนบ้านได้ทราบ เช่น องคมนตรีนายแพทย์เกษม วัฒนชัย และเลขาธิการมูลนิธิชัย พัฒนา ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล


เรื่องทำรายการโทรทัศน์ 6 ครั้ง เกี่ยวกับศูนย์ศึกษาและการพัฒนา ตามแนวพระราชดำริของ พระองค์ท่าน 6 แห่ง คือ
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เชียงใหม่
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สกลนคร
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จันทบุรี
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ฉะเชิงเทรา
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพชรบุรี
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ นราธิวาส
ให้วิธีการศึกษาปัญหาและทำอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นปัญหาที่แท้จริง และนำเอาสิ่งเหล่านั้นมา วิเคราะห์ ให้เกิด wisdom


และสุดท้าย การที่มูลนิธิฯได้เน้นปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ หลายแห่งในประเทศ ซึ่งเริ่มเป็นแห่งแรกที่จังหวัดสมุทรสงคราม

 

ส่วนการเทิดพระเกียรติโครงการสุดท้าย คือ เมื่อวันพุธที่ 14 มิถุนายน ที่ผ่านมาเป็นการ ประชุม workshop นานาชาติในระดับ APEC ที่ขอนแก่น ซึ่งเน้นการสอนคณิตศาสตร์ให้เด็กไทยคิด และวิเคราะห์เป็น โดยทางมหาวิทยาลัยขอนแก่นและผมในฐานะ เป็น Lead shepherd ถือว่าเป็นการ ยกย่องและเทิดพระเกียรติ ให้ตัวแทน APEC 13 เขตเศรษฐกิจได้ทราบถึงสัปดาห์แห่งการเฉลิมฉลอง มหามงคล และยกย่องพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในฐานะเป็นบุคคลที่ใฝ่รู้และสนใจคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และนำเอาวิชาเหล่านี้มาใช้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะการพัฒนา ชนบท


คนไทยต้องทำเพื่อแผ่นดินและทำเพื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


ขอจงทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน

 

 

จีระ หงส์ลดารมภ์
[email protected]
โทร. 02-273-0180, 0-2619-0512-3
โทรสาร 0-2273-0181

ยม "แนะนำเว็บ น่าสนใจ เพิ่มช่องทางทันข่าว ทันเหตุการณ์ สังคม เศรษฐกิจ การเมือง"

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ และท่านผู้อ่านทุกท่าน 

 

วันนี้ วันศุกร์ที่ 30 มิ.ย. ศุกร์สิ้นเดือน และสุดสัปดาห์  ผมหวังว่า ศ.ดร.จีระ และท่านผู้อ่านคงสบายดี ผมใคร่ขอแนะนำเว็บที่ผมอ่านพบจากหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่ง และลองเข้าไปติดตามหาอ่านอยู่ระยะหนึ่งแล้ว เห็นว่ามีประโยชน์  ชื่อเว็บ http://www.reporter.co.th/  เป็นเว็บ ที่รายงานข่าว สาระน่ารู้ แบบทันกาล รวดเร็วโดยเฉพาะ เว็บนี้ วันนี้ มีคลิปวีดีโอที่น่าสนใจ ผมเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์แก่ท่าน เชิญชวนท่านเข้าไปเยี่ยมชม  

 

อย่างไรก็ตาม อย่าลืมที่จะติดตามสาระน่ารู้ ร่วมแชร์ความรู้ใน Blog ของ ศ.ดร.จีระ ที่ http://gotoknow.org/blog/chirakm/35206 

 

ขอความสวัสดี จงมีแด่ท่าน ครับ

ยม

ยม " บทเรียนจากความจริง ขอบคุณ:สมาชิกวุฒิสภา โดย ศ.ดร.จีระ"

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ และท่านผู้อ่านทุกท่าน

 

 จากบทความของ ศ.ดร.จีระ จากหนังสือพิมพ์แนวหน้า บทเรียนจากความจริง เรื่อง ขอบคุณ:สมาชิกวุฒิสภา  ผมอดที่จะขอขอบคุณพี่ พี่บุญญา หลีเหลด ซึ่งเรียนปริญญาเอก รัฐประศาสนศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ด้วยกันไม่ได้  พี่บุญญามีส่วน เป็นจุดเริ่มต้นทำให้อาจารย์ของพวกเรา ได้มีโอกาสทำประโยชน์อันยิ่งใหญ่ ที่น้อยคนจะได้มีโอกาสเข้าไป ณ จุดนี้ ในบทความนี้ ศ.ดร.จีระ เขียน บทเรียนจากความเป็นจริงได้น่าสนใจ เช่น
  • เป็นคนมีอิสรภาพ มีความสุข ไม่มีเจ้านาย มีความสมดุลในชีวิต มีคนให้เกียรติ (Respect) และใช้ชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรี (Dignity) และชอบเรียนรู้ตลอดชีวิต ประโยคนี้ มีความหมายกับชีวิตมาก และน้อยคนที่จะทำได้ดี  แต่ ศ.ดร.จีระ เป็นอยู่ทุกวันนี้ อาจารย์น่าจะจัดอบรม ในเรื่องนี้ให้กับเยาวชนไทย ได้มีความรู้และเทคนิคเรื่องพวกนี้ เพราะคนเยาวชนไทย ส่วนมากเรียนแล้วมักจะเป็นลูกจ้างไปตลอดชีวิต ไม่มีอิสรภาพในชีวิตเพียงพอ ทำให้ขาดทุนทางความสุข เครียดกับงาน เป็นปัญหาสังคมอย่างหนึ่ง
  • ตุลาการศาลยุติธรรม เป็นบุคลากรที่เก่งเรื่องกฎหมายและคุณธรรม แต่ปัจจุบันกฎหมายเป็นเรื่องเกี่ยวกับประชาชนทั่วไป  ระบบตุลาการต้องกว้างขึ้น ไม่ใช่มองเฉพาะตัวบทกฎหมาย แต่ต้องมีการมองศาสตร์อื่นๆ ด้วย ประชาชนจะได้มีที่พึ่งประโยคนี้ สะท้อนให้เห็นว่า ในโลกปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การมองข้ามศาสตร์ มองนอกกรอบ เป็นเรื่องสำคัญ องค์กรใดก็ตามถ้าใช้เพียงศาสตร์เดียวบริหาร สั่งการ จะทำให้มีปัญหาตามมาได้  และผู้มีอำนาจ ผู้บริหารที่มีหลายศาสตร์จะมีความได้เปรียบในการบริหารจัดการ เป็นที่พึ่งของประชาชนได้มากยิ่ง ๆ ขึ้น
  • ศ.ดร.จีระได้รับเกียรติให้ช่วยเรื่องทรัพยากรมนุษย์เกือบทุกสาขา ถ้าจะมารับใช้ระบบตุลาการก็จะเอาประสบการณ์มาแบ่งปันกัน  ประโยคนี้ ผมประทับใจอาจารย์ตรงที่ อาจารย์มักจะใช้คำว่า แบ่งปัน แลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นกัน  อาจารย์เป็นคนให้เกียรติผู้อื่นเสมอ แม้กระทั่งลูกศิษย์ของอาจารย์ ก็ได้รับเกียรติ ได้รับความรักกันทั่วหน้า สิ่งนี้ เป็นสิ่งสำคัญที่นักบริหารที่เป็นเลิศพึงมี  มีความเมตตา มีความปรารถนาดีต่อมวลมนุษย์  
  • ผมเองเป็นคนกลาง ไม่ได้เป็นคนของรัฐบาล อย่างน้อยผมมีจุดยืน และไม่ยอมรับสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ประโยคนี้ ทำให้ผมคิดถึง อาจารย์ป๋วย อึ้งภากรณ์ และทราบว่า ศ.ดร.จีระ ก็เป็นลูกศิษย์คนสำคัญคนหนึ่งของท่าน ศ.ดร.จีระ เป็นแบบอย่างที่ดี ที่ซึบซับทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา และทุนอื่น ๆ จากอาจารย์ป๋วย อึ้งภากรณ์ อาจารย์ไม่ลืมครูอาจารย์ ทั้งยังสานต่อเจตนารมณ์ มุ่งมั่น ยึดมั่นทำความดี ต่อสังคมประเทศชาติ ตรงนี้ ตอกย้ำให้เห็นเป็นตัวอย่างที่ดีแก่บรรดาลูกศิษย์ ของอาจารย์จีระ ที่จะซึมซับคุณความดีเหล่านี้และนำไปปฏิบัติเป็นแบบอย่างทีดีต่อไป
  • การได้รู้จักระบบตุลาการศาลยุติธรรม จะเป็นการเรียนรู้ของผม ผมชอบเรียนรู้และคิดว่าจะศึกษาระบบตุลาการในต่างประเทศ และดูว่าในยุคโลกที่เปลี่ยนเร็ว และมีปัจจัยภายนอกมากระทบตุลาการศาลยุติธรรมไทยตลอดเวลา  ประโยคนี้ย้ำว่า ในยุคปัจจุบัน โลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วมาก และมีผลต่อการบริหารจัดการทุกองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน  จำเป็นที่จะต้องรู้ทันการเปลี่ยนแปลง และต้องพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงให้ทันโลก มองภาพรวมของการเปลี่ยนแปลงของโลก มาสูการปรับเปลี่ยนในประเทศ ในองค์กร ในชุมชน ระบบตุลาการศาลยุติธรรมโชคดีที่มีอาจารย์เข้าไปร่วมตรงนี้ เพราะอาจารย์มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล และมีทุนมนุษย์ ทุนทางปัญญา ทุนทางความสุข ทุนทางจริยธรรม ทุนแห่งความยั่งยืนฯ ถึงขั้นที่พร้อมจะแบ่งบันให้กับสังคมโลก
  • เราจะสร้าง competencies เพิ่มเติมให้ผู้พิพากษา ให้มีความรู้ที่ทันสมัย ให้มีความสุขในการทำงานเชื่อมโยงกับประชาชนมากขึ้น มีระบบเปิดมากขึ้น ประโยคนี้ ทำให้เห็นวิสัยทัศน์และแนวความคิดในการบริหารที่เป็นเลิศ ของ ศ.ดร.จีระ มีวิสัยทัศน์เพราะการบริหารในสมัยนี้ และสมัยหน้า เน้น out put /out come ไม่ได้เน้นที่ วิธีปฏิบัติมากนัก หลายองค์กรจึงหันมาพูดถึงเรื่อง competencies กัน  ถ้าระบบตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีตรงนี้ จะมีประโยชน์มากกต่อการบริหารและการพัฒนาการทำงาน  และจะเกิดผลดีต่อประชาชน และ ศ.ดร.จีระ ยังเน้นเรื่อง ทุนทางความสุข เชื่อมโยงกับการทำงานกับประชาชน ซึ่งแม้แต่ฝรั่งยังทำได้ยาก และมาขอเรียนรู้กับอาจารย์  เป็นข้อคิดที่ดีว่า การทำงานต้องควบคู่กันไปกับการทำความสุข  จะนำไปสู่ความสุขในการทำงาน

เชิญท่านผู้อ่าน ติดตามอ่านบทความ บทเรียนจากความเป็นจริง ขอบคุณ : สมาชิกวุฒิสภา ได้จาก Blog ถัดไปนี้  ขอบคุณพี่บุญญา หลีเหลด อีกครั้ง ที่มีส่วนทำให้ผมได้เรียนรู้บทเรียนจากความเป็นจริงในเรื่องนี้  และหากพวกเราที่เรียน ป.เอก ทุกคน มีความคิดเช่น พี่บุญญา นี้ เมื่อเราจบ ป.เอก มาแล้ว เราจะทีมที่ช่วยประเทศชาติได้เป็นอย่างมาก

 

ศ.ดร.จีระ ยังมีรายการโทรทัศน์สู่ศตวรรษใหม่ทาง ช่อง 11 ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน เวลา 14.00-15.00 น. และออกอากาศอีกทีทาง UBC 7 ทุกวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนเวลา 14.00-15.00 น. และรายการคิดเป็นก้าวเป็นกับดร.จีระ ทาง UBC 7 อาทิตย์ที่ 1,3 และ 5 ของเดือนเวลา 13.00-13.50 น. นอกจากนั้นยังมีรายการวิทยุ knowledge for people ทุกวันอาทิตย์ เวลา 18.00 – 19.00 น. ทางสถานีวิทยุ อสมท. F.M. 96.5 MHz Hz   คอลัมน์ บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระของหนังสือพิมพ์แนวหน้าทุกวันเสาร์หน้า 5 ผมขอเชิญให้คุณติดตามผลงานของ ศ.ดร.จีระ และร่วมกันแสดงความคิดเห็น สะสมสร้างทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา และทุนทางสังคม ใน Blog นี้ ครับ 

 

 

เชิญท่านผู้อ่าน ติดตามอ่านบทความ บทเรียนจากความเป็นจริง ขอบคุณ : สมาชิกวุฒิสภา ได้จาก Blog ถัดไปนี้ 

 

 

สวัสดีครับ

ยม

น.ศ.ปริญญาเอก รัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต

มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ยม " บทเรียนจากความจริง ขอบคุณ:สมาชิกวุฒิสภา โดย ศ.ดร.จีระ"

ขอบคุณ : สมาชิกวุฒิสภา[1]

โดย ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

 

เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ลูกศิษย์และผู้เกี่ยวข้องต่างประหลาดใจ เมื่อปรากฏชื่อผมเป็นผู้แข่งขันเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ กับคุณประมุท สูตะบุตร ซึ่งเป็นผู้ใหญ่ที่มีประสบการณ์ อดีตผู้อำนวยการองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย และเป็นรุ่นพี่ที่เทพศิรินทร์ ซึ่งผมได้รับคัดเลือกด้วยคะแนน 108 ต่อ 49

 ผมจะเล่าให้ฟังว่า เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นได้อย่างไร เมื่อเกิดขึ้นแล้ว เป็นประโยชน์ต่อคนไทยอย่างไร ข้อสำคัญ บรรดาตุลาการศาลยุติธรรมซึ่งเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพและมีคุณธรรมคาดหวังอะไร เขาพอใจการเลือกตั้งวิธีนี้หรือไม่ ประเทศได้อะไร


ก่อนอื่น ชีวิตของผม ที่คุณโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฏ์ ได้สรุปว่า เป็นคนมีอิสรภาพ มีความสุข ไม่มีเจ้านาย มีความสมดุลในชีวิต มีคนให้เกียรติ (Respect) และใช้ชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรี (Dignity) และชอบเรียนรู้ตลอดชีวิต

 

เหตุเกิดขึ้นเพราะ ลูกศิษย์ผมซึ่งเป็นสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดสงขลา ชื่อคุณบุญญา หลีเหลด เรียนปริญญาเอก รัฐประศาสนศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

 

คุณบุญญาพยายามอธิบายว่าสมาชิกวุฒิสภาต้องสรรหาตุลาการศาลยุติธรรมแทนท่านที่ลาออกไปสมัครเป็นคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ

 

ผมจะทำอะไร ไม่เคยอยากเป็นหรือสมัคร และจะต้องมีตำแหน่งเพื่อทำงาน ในทางตรงกันข้าม ผมกลับหลีกเลี่ยงที่จะให้เสนอชื่อผมในตำแหน่งต่างๆ แม้กระทั่งการเป็นนายกสมาคมนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์ในพระบรมราชูปถัมภ์ ผมก็ไม่เคยอยากเป็น แต่มีบรรดานักเรียนเก่าหลายกลุ่ม มาขอให้ผมช่วย

 

ผมเห็นว่าสมาชิกวุฒิสภาอย่างคุณบุญญาเห็นคุณค่าของผม ผมจึงส่งใบสมัครไปแข่งขัน หลังจากนั้นประมาณ 1 เดือน ผมถูกเรียกไปแสดงวิสัยทัศน์ต่อคณะกรรมการสรรหาของสมาชิกวุฒิสภา ซึ่งมีอยู่ 10 กว่าท่าน และผมก็ได้เรียนท่านไปว่า ผมมาสมัครเพราะลูกศิษย์ผม คุณบุญญาอยากให้ผมได้ช่วยระบบตุลาการ และมีผู้สมัครที่มีคุณสมบัติทางกฎหมาย กรุณาอย่าเลือกผมเลย

 

บรรดากรรมการสรรหาก็รับฟังและยังอยากให้ผมมีโอกาส ถามผมว่า ถ้าผมเป็น ผมจะทำอะไร

 

ผมได้บอกว่า ระบบตุลาการศาลยุติธรรม เป็นบุคลากรที่เก่งเรื่องกฎหมายและคุณธรรม แต่ปัจจุบันกฎหมายเป็นเรื่องเกี่ยวกับประชาชนทั่วไป แต่ประชาชนยังไม่เข้าใจเรื่องกฎหมายนัก ผมยังอยากให้ระบบตุลาการเป็นระบบที่ทรงคุณค่า และเป็นที่พึ่งของประชาชนส่วนใหญ่ได้

 

ดังนั้นความรู้ของระบบตุลาการต้องกว้างขึ้น ไม่ใช่มองเฉพาะตัวบทกฎหมาย แต่ต้องมีการมองศาสตร์อื่นๆ ด้วย ประชาชนจะได้มีที่พึ่ง สิ่งที่ผมถนัดคือเรื่องพัฒนาคุณภาพของผู้พิพากษาและพัฒนาบุคลากรที่ทำงานในระบบศาลให้เขาทำงาน มีคุณภาพมากขึ้น สร้างบรรยากาศในการทำงาน ดูระบบการบริหารและการทำงานเป็นทีม อาจจะต้องพัฒนาระบบการทำงาน ใช้ IT มีการทำวิจัยให้กับบุคลากรที่เกี่ยวข้อง Networking กับต่างประเทศและมหาวิทยาลัยมากขึ้น ให้มีความยุติธรรมอย่างแท้จริง ซึ่งก็ทำได้ดีอยู่แล้ว เพียงแต่ให้ดีขึ้นเรื่อยๆ

 

เพราะอย่างน้อย ผมได้รับเกียรติให้ช่วยเรื่องทรัพยากรมนุษย์เกือบทุกสาขา ถ้าจะมารับใช้ระบบตุลาการก็จะเอาประสบการณ์มาแบ่งปันกัน เพื่อให้ระบบตุลาการได้ทำงานสะดวก มีการมองกฎหมายในมิติของธุรกิจ เศรษฐกิจระหว่างประเทศ สังคม การเมือง หรือมุมมองอื่นๆ

 

หลังจากผมได้แสดงวิสัยทัศน์แล้ว ได้ทราบว่า ผมได้คะแนน 10 จาก 12 ซึ่งเป็นคะแนนที่สูง ผมภูมิใจที่วุฒิสมาชิกส่วนใหญ่ เห็นความสำคัญ รู้ว่า ผมทำในสิ่งที่ผมพูด

 

หลังจากนั้น ผมลืมเรื่องนี้ไปเลย เพราะอาจจะไม่มีโอกาสได้ให้วุฒิสมาชิกทั้งคณะเลือก เพราะหากกรรมการสรรหาชนะ แต่อาจจะแพ้ที่คณะสมาชิกวุฒิสภาก็ได้ เพราะสมาชิกวุฒิสภาไม่ได้เป็นอิสระอย่างที่รู้ๆ กัน และยิ่งไปกว่านั้น เวลาก็น้อยลงเพราะหมดวาระแล้ว

 

แต่วันนั้นก็มีวาระเรื่องนี้ และสมาชิกวุฒิสภา 108 ท่านกรุณาลงคะแนนให้ผม ซึ่งผมต้องขอขอบคุณอย่างมากที่ให้โอกาส

 

ในชีวิตการทำงานของผม ถือว่าเป็นความรู้สึกลึกๆ ว่า มีคนในสังคมไทยยังมองผมดี มีประโยชน์ เป็นที่พึ่งของประเทศได้ เพราะผมไม่ได้ lobby อะไรเลย ถ้าผมไม่ได้ พี่ประมุทก็ทำงานได้ดี เพราะพี่ประมุทมีประสบการณ์มากกว่าผม

 

เมื่อผมได้รับเลือก ต้องการเรียนว่า ที่ว่าสมาชิกวุฒิสภาเป็น Block vote อะไรนั้น อาจจะไม่จริงทุกเรื่อง เพราะผมเองเป็นคนกลาง ไม่ได้เป็นคนของรัฐบาล อย่างน้อยผมมีจุดยืน และไม่ยอมรับสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ท่านผู้อ่านก็ติดตามต่อไปว่า งานของผมจะเป็นอย่างไร แต่อย่าคาดหวังอะไรมาก เพราะตุลาการศาลยุติธรรมมีหน้าที่สนับสนุนให้ระบบบริหาร ระบบการแต่งตั้งของตุลาการให้มีความโปร่งใส ยุติธรรม

 

เรื่องที่น่าสนใจคือ ช่วงนี้มีคดีสำคัญที่เกี่ยวกับการเมือง การเลือกตั้ง อยากให้ทุกอย่างผ่านไป โดยให้ความยุติธรรมยังอยู่ โดยไม่มีอิทธิพลเหนือระบบตุลาการยุติธรรม เพราะประเทศไทย จะต้องอยู่อย่างยั่งยืนต่อไป

 

ฉะนั้น การได้รู้จักระบบตุลาการศาลยุติธรรม จะเป็นการเรียนรู้ของผม ผมชอบเรียนรู้และคิดว่าจะศึกษาระบบตุลาการในต่างประเทศ และดูว่าในยุคโลกที่เปลี่ยนเร็ว และมีปัจจัยภายนอกมากระทบตุลาการศาลยุติธรรมไทยตลอดเวลา โดยเฉพาะการเมือง สังคมภาคประชาชน และธุรกิจ รวมทั้งเรื่องคดีต่าง ๆ ในระดับระหว่างประเทศด้วย เราจะสร้าง competencies เพิ่มเติมให้ผู้พิพากษา ให้มีความรู้ที่ทันสมัย ให้มีความสุขในการทำงานเชื่อมโยงกับประชาชนมากขึ้น มีระบบเปิดมากขึ้น ใช้วิธีการต่างๆ ช่วยให้ข้อพิพาทต่างๆ ได้รับการดูแลอย่างมีคุณภาพ รวมทั้งการเจรจา การประนีประนอมนอกศาล รวมทั้งทำงานร่วมกับระบบยุติธรรมอื่นๆ ไม่ว่าตำรวจ อัยการ หรือแม้กระทั่ง สภาทนายความ

 บรรดาผู้ที่เป็นที่รักของผม คงสนใจว่า ผมได้รับเลือกเพราะอะไร จะได้เข้าใจและช่วยส่งข้อมูลที่ดีๆ มาให้ผม ผมจะได้ทำงานให้ดีที่สุด และขอขอบคุณสำหรับความปรารถนาดีที่ส่งมาถึงผมมากมาย  

 

จีระ หงส์ลดารมภ์
[email protected]
โทร. 02-273-0180, 0-2619-0512-3
โทรสาร 0-2273-0181

ยม "บทเรียนจากความจริง เรื่อง สร้าง Ideas ใหม่ๆ โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์"
สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ และท่านผู้อ่านทุกท่าน    
เช้าวันนี้ วันเสาร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2549  ผมแสวงหาอาหารทางสมอง เช่นเคย ด้วยการค้นหาข้อมูลข่าวสารจาก Internet   รายการแรกที่ผมอ่านในเช้าวันเสาร์ก็คือ บทเรียนจากความจริง ของ ศ.ดร.จีระ จาก เว็ปของ น.ส.พ.แนวหน้า http://www.naewna.com/gotocolumn.asp?ID=97 อาจารย์เขียน เกี่ยวกับ บทเรียนจากความจริง เรื่อง สร้าง Ideas ใหม่ๆ :  มีบทเรียนที่ อาจารย์เขียนเกี่ยวกับกีฬาที่น่าเรียนรู้ โดยเฉพาะฟุตบอลโลกที่สามารถนำมาปรับ ใช้ต่อชีวิตและการทำงานได้เป็นอย่างดี  ในบทความนี้ ศ.ดร.จีระ เขียน บทเรียนจากความเป็นจริงได้น่าสนใจ ข้อความข้างล่าง แถบสีน้ำเงินคือข้อความที่ผมคัดลอกมาบางส่วนจากบทความที่อาจารย์เขียน ส่วนสีดำเป็นความเห็นของผม
   ·        ความ พ่ายแพ้ของอังกฤษ ส่วนหนึ่งมาจากการไม่สามารถควบคุมอารมณ์ของ Rooney ความจริง ส่วนหนึ่งเพราะขาด Emotional Capital   เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ คนเราถ้าทำอะไร แล้ว ขาดไม่มีอารมณ์ที่ดี นอกจากจะเกิดโรคภัยไข้เจ็บตามมาแล้ว โอกาสพ่ายแพ้ในชีวิต ย่อมมี การควบคุมอารมณ์จึงเป็นเรื่องสำคัญที่สุด ต้องฝึกใช้ใน การดำรงชีวิต ที่บางครั้งจะทำให้ทุกอย่างพังพินาศในชั่วพริบตาเดียว


·        การที่นักฟุตบอลรุ่นเก่า เช่น Zidane หรือ Henry ถูกมองว่าแก่ และสู้พลังหนุ่มไม่ได้ ปรากฏความจริงว่า บางครั้งเราจะประมาทผู้อาวุโสไม่ได้ คนที่มีอายุ มากกว่า เราต้องยกย่อง อย่าดูถูกและประมาทเขา เพราะประสบการณ์ช่วยมาก  ชาติฝรั่งเศสเต็มไปด้วยผู้เล่นมีอายุ เปี่ยมไปด้วยประสบการณ์เล่นฟุตบอล ผลคือได้เข้าชิงกับ อิตาลี ยุคนี้จึงต้องมองประสบการณ์และพลังหนุ่มให้สมดุลกัน สังคมไทยก็เช่นกันต้องยกย่อง ผู้สูงอายุด้วย

เรื่องนี้ผมเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง  คนที่มีประสบการณ์ คนเก่าแก่ สะสมทุนมนุษย์ไว้มากมาย  การบริหาราทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร มักจะมองข้ามคนที่ใกล้เกษียณอายุ มองข้ามทุนมนุษย์ที่มีอยู่ในตัวของเขา  ทำกับสูญเสียคุณค่าในตัวคน เป็นการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ไม่มีประสิทธิภาพ   
·   การประชุม APEC Symposium on Socio-economic Disparity ที่กรุง โซล เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2549 ที่ผ่านมาพูดกันถึงช่องว่าง ระหว่างประเทศใน APEC และช่องว่างระหว่างกลุ่มประชาชนของประเทศใน APEC ซึ่งเป็นเรื่อง น่าสนใจว่า ปัจจุบันวิธีวัดความเหลื่อมล้ำของช่องว่างมี 3 วิธี
-
วัดจากรายได้หรือ GDP ต่อหัว
-
วัดจาก Human Development Index  และ วัดจากคุณภาพของคน
ผมได้แสดงความเห็นว่า คนที่มีรายได้มากกว่า ไม่ใช่มีความสุขมากกว่าเสมอไป ควรจะ เริ่มวัดจาก Happiness ด้วย ปรากฏว่าที่ประชุมรับฟังอย่างสนใจ และเริ่มมองประเด็นเรื่อง Happiness Capital เน้นความสุข ความสมดุลด้วย ผมเห็นว่าเศรษฐกิจพอเพียงของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็เน้นความสุข ความสมดุล     
เรื่องการวัดความเหลื่อมล้ำของช่องว่างของทรัพยากรมนุษย์ ผมเห็นด้วยอย่างยิ่งที่จะนำทุนตามทฤษฎี 8K’s ของอาจารย์บางตัวมาวัด ด้วย อาทิเช่น ทุนทางความสุข Happiness capital ทุนทางจริยธรรม ทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา ฯ  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องความสมดุล ตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว   ตรงนี้ สามารถนำมาใช้วัดช่องว่างระหว่างประชาชนในแต่ละจังหวัด ตำบล อำเภอได้  หรือนำมาใช้วัดช่องว่างระว่างประชาชนกลุ่มคนงานในแต่ละสถานประกอบการ แต่ละหน่วยงาน เพื่อนำมากำหนดยุทธศาสตร์ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ก็ย่อมได้ 
 ·        ได้รับเกียรติจากนักศึกษาปริญญาโท ภาควิชาจิตวิทยา อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้ไปบรรยาย 4 ชั่วโมง ผมแนะนำว่า การเรียนจิตวิทยา เป็นสิ่งจำเป็น แต่จะให้มีความสำเร็จในการทำงานจะต้องมี 2 H's คือ
- Head
และ
- Heart 
 
ผมเห็นว่า 2 H’s เป็นหัวใจสำคัญในการจะทำการงานให้สำเร็จ  ต้องมีหัวคิด มีทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา(Head) และต้องมีทุนทางปัญญา ทางจริยธรรม ทุนทางความสุขต้องมีความสนใจ ใส่ใจ เอาใจใส่ คือ Heart   ถือว่าเป็นหัวใจในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ก็ว่าได้  
 ·        ศ.ดร.จีระ ยังได้แนะนำทฤษฎีใหม่คือ 2 I's  

o        I แรกคือ Inspiration คือการเรียนยุคใหม่ เด็กนักเรียนต้องถูกกระตุ้นจุดประกายให้ เกิดความสุข และHappy ที่ถูกกระตุ้นให้ไปสู่ความเป็นเลิศ

             o       I ตัวที่ 2 เน้น Imagination เพราะ ไอ   น์สไตน์ ( Einstein ) ได้พูดไว้เลยว่า
" Knowledge สู้ Imagination ไม่ได้ " เพราะคนไทยปัจจุบันไม่ชอบมีจินตนาการ เราเรียนแบบท่องจำ จึงเกิด Innovation ได้ น้อย
  
เรื่องนี้ผมแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม เรื่องการบริหารโรงเรียนของรัฐบาล โดยเฉพาะในชนบท  มองไปทางไหน จะเห็นร่องรอยของการสอนเด็กนักเรียน แบบเก่า ไม่ได้เอื้อต่อการให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์ น่าเป็นห่วงประเทศชาติ เพราะเด็กคืออนาคตของชาติ รัฐบาลก็น่าจะทุ่มเทสร้างคนเพื่อสร้างชาติให้ยั่งยืน Mega project ของรัฐ น่าจะมี Innovation ทางการศึกษาของเด็ก บ้าง  
 ·        เรื่องสุดท้ายคือที่โรงเรียนบางหัวเสือบุญแจ่มเนียมนิล ซึ่งผมไปพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดย เตรียมตัวไปสู่โลกการทำงานให้เด็กมัธยมปลาย ประมาณ 40 คน  หลักสูตรธุรกิจอุตสาหกรรมซึ่ง เป็นนวัตกรรมของหลักสูตรสายสามัญ ต้องมีความรู้ที่กว้างและทันต่อเหตุการณ์  ให้เด็ก ส่ง Blog มาว่ามีความรู้สึกอย่างไรต่อการเรียนแบบนี้  ใน Blog เด็กก็ถามว่า จะมาสอนอีก เมื่อไร แสดงว่าการให้ความรู้ที่ตรงประเด็นที่นำไปใช้ได้ ดีกว่าสอนไปโดยไม่มีเป้าหมาย น่าจะ เน้นทฤษฎี 2 I’s และทฤษฎี 2 R’s ของผม    
อ่านมาถึงตรงนี้ ทำให้ทราบว่า ศ.ดร.จีระ ไม่ได้มุ่งพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ในระดับผุ้ใหญ่เท่านั้น  การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ให้ยั่งยืน ต้องหยั่งรากลงไปพัฒนาถึงเด็นในโรงเรียน สิ่งนี้เป็นตัวอย่างที่ดี รัฐบาลควรศึกษา นำไปเป็นแบบอย่างในการมุ่งมั่นพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างยั่งยืน  HR ในสถานประกอบการ ก็นำไปประยุกต์ใช้พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในระดับรากหญ้า ลูกหลานพนักงานที่จะสามารถมาเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่ดีขององค์กรได้ อนาคต  การบริหารทรัพยากรมนุษย์ต้องคิดให้ไกล ไปให้ถึง ให้ยั่งยืนและสมดุล ครับ

  ศ.ดร.จีระ ยังมีรายการโทรทัศน์สู่ศตวรรษใหม่ทาง ช่อง 11 ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน เวลา 14.00-15.00 น. และออกอากาศอีกทีทาง UBC 7 ทุกวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนเวลา 14.00-15.00 น. และรายการคิดเป็นก้าวเป็นกับดร.จีระ ทาง UBC 7 อาทิตย์ที่ 1,3 และ 5 ของเดือนเวลา 13.00-13.50 น. นอกจากนั้นยังมีรายการวิทยุ knowledge for people ทุกวันอาทิตย์ เวลา 18.00 – 19.00 น. ทางสถานีวิทยุ อสมท. F.M. 96.5 MHz Hz   คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระของหนังสือพิมพ์แนวหน้าทุกวันเสาร์หน้า 5 ผมขอเชิญให้ท่านติดตามศึกษาหาความรู้ จากผลงานของ ศ.ดร.จีระ และร่วมกันแสดงความคิดเห็น สะสมสร้างทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา และทุนทางสังคม ใน Blog นี้ ครับ  เชิญท่านผู้อ่าน อ่านบทความ บทเรียนจากความเป็นจริง  สร้าง Ideas ใหม่ๆ ของ ศ.ดร.จีระ ได้จาก Blog ถัดไปนี้      
ขอความสวัสดีจงมีแด่ทุกท่าน   
ยม  น.ศ.ปริญญาเอกรัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎี
บัณฑิต  มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี(รุ่น 2 กทม.)
ยม "บทเรียนจากความจริง เรื่อง สร้าง Ideas ใหม่ๆ โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์"
สร้าง Ideas ใหม่ๆ[1] 
ฟุตบอลโลกใกล้จะปิดฉากแล้ว ผมไม่ค่อยเขียนถึง เพราะมีเรื่องอื่นน่าสนใจหลายเรื่อง เช่น การเฉลิมฉลองการครองสิริราชสมบัติ 60 ปีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่สร้างความ ปลาบปลื้มให้แก่คนไทย 64 ล้านคน

เมื่อจบงานพระราชพิธีไปแล้ว การเมืองร้อนเริ่มตึงเครียดอีกแล้ว ต้องอดทน และติดตาม ศึกษาต่อไป
มีบทเรียนมากมายจากการกีฬาที่น่าเรียนรู้ โดยเฉพาะฟุตบอลโลกที่เราสามารถนำมาปรับ ใช้ต่อชีวิตและการทำงานของเรา

สัปดาห์นี้ ผมจึงเลือกเสนอ Ideas ใหม่ๆ 2-3 เรื่องเท่านั้นว่า ควันหลงฟุตบอลโลกทิ้งอะไร เป็นบทเรียน
-
เรื่องทุนทางอารมณ์ใน 5 K's ของผม หรือ Emotional Capital เป็นจุดหักเหในความ พ่ายแพ้ของอังกฤษ ส่วนหนึ่งมาจากการไม่สามารถควบคุมอารมณ์ของ Rooney ความจริง การ เล่น 10 คนของอังกฤษยังเกือบชนะโปรตุเกส
Rooney สมบูรณ์ทางร่างกาย หายจากบาดเจ็บทัน แต่ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ กระทืบเท้า ใส่คู่อริ แค่วินาทีเดียวก็ต้องโดนใบแดง การควบคุมอารมณ์จึงเป็นเรื่องสำคัญที่สุด ต้องฝึกใช้ใน การดำรงชีวิต ที่บางครั้งจะทำให้ทุกอย่างพังพินาศในชั่วพริบตาเดียว
 
อีกจุดหนึ่งที่น่าสนใจคือ การที่นักฟุตบอลรุ่นเก่า เช่น Zidane หรือ Henry ถูกมองว่าแก่ และสู้พลังหนุ่มไม่ได้ ปรากฏความจริงว่า บางครั้งเราจะประมาทผู้อาวุโสไม่ได้ คนที่มีอายุ มากกว่า เราต้องยกย่อง อย่าดูถูกและประมาทเขา เพราะประสบการณ์ช่วยมาก วันนี้ฟุตบอลทีม ชาติฝรั่งเศสเต็มไปด้วยผู้เล่นมีอายุ เปี่ยมไปด้วยประสบการณ์เล่นฟุตบอล ผลคือได้เข้าชิงกับ อิตาลี ยุคนี้จึงต้องมองประสบการณ์และพลังหนุ่มให้สมดุลกัน สังคมไทยก็เช่นกันต้องยกย่อง ผู้สูงอายุด้วย

อีกเรื่องหนึ่งคือ การประชุม APEC Symposium on Socio-economic Disparity ที่กรุง โซล เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2549 ที่ผ่านมา รัฐบาลเกาหลีใต้เป็นเจ้าภาพ มีการพูดกันถึงช่องว่าง ระหว่างประเทศใน APEC และช่องว่างระหว่างกลุ่มประชาชนของประเทศใน APEC ซึ่งเป็นเรื่อง น่าสนใจว่า ปัจจุบันวิธีวัดความเหลื่อมล้ำของช่องว่างมี 3 วิธี
-
วัดจากรายได้หรือ GDP ต่อหัว
-
วัดจาก Human Development Index วัดจากคุณภาพของคน

ผมได้แสดงความเห็นว่า คนที่มีรายได้มากกว่า ไม่ใช่มีความสุขมากกว่าเสมอไป ควรจะ เริ่มวัดจาก Happiness ด้วย ปรากฏว่าที่ประชุมรับฟังอย่างสนใจ และเริ่มมองประเด็นเรื่อง Happiness Capital เน้นความสุข ความสมดุลด้วย ผมเห็นว่าเศรษฐกิจพอเพียงของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็เน้นความสุข ความสมดุล ซึ่งจะเป็นประเด็นที่มีการกล่าวถึงกัน ระดับนานาชาติ ในระดับ APEC ในปีนี้และปีหน้าเฉลิมฉลองพระชนมพรรษาครบ 80 พรรษาด้วย

ในฐานะที่ผมดูแลเรื่อง APEC HRD จะต้องเน้นเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีความสุข ในภูมิภาค APEC มากขึ้น

ส่วนเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ผมได้รับเกียรติจากนักศึกษาปริญญาโท ภาควิชาจิตวิทยา อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้ไปบรรยาย 4 ชั่วโมง ผมแนะนำว่า การเรียนจิตวิทยา เป็นสิ่งจำเป็น แต่จะให้มีความสำเร็จในการทำงานจะต้องมี 2 H's คือ
- Head
และ
- Heart

Heart คือ Feeling ความรู้สึกมาจากใจ มี Heart อย่างเดียวก็ไม่พอ จะต้องมี Head ด้วย
Head
คือการมองเป้าหมาย การมีข้อมูล การมียุทธวิธี เข้าใจ การเงิน การตลาด การ แข่งขัน ที่ทำให้ Heart ไปสู่ความสำเร็จ

ถ้ามี Head แต่ไม่มี Heart ก็ไม่สำเร็จ ลูกศิษย์หลายคนบอกว่า วิศวกร มี Head มาก แต่ ไม่มี Heart เลย
ให้ดูตัวอย่างคุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา เป็นวิศวกร แต่มี Heart ที่เห็นคุณค่าของคน ให้การทำงานของ Heart และ Head ไปด้วยกัน
ผมยังได้แนะนำทฤษฎีใหม่คือ 2 I's

- I แรกคือ Inspiration คือการเรียนยุคใหม่ เด็กนักเรียนต้องถูกกระตุ้นจุดประกายให้ เกิดความสุข และHappy ที่ถูกกระตุ้นให้ไปสู่ความเป็นเลิศ โดยการคิดสร้างสรรค์และนอกกรอบ อาจารย์มหาวิทยาลัยกว่า 95% เป็นอาจารย์ที่ลอกตำรามาสอน และบางครั้งไม่เคยฝึกวิธีการสอน ให้เด็กมีส่วนร่วม และ Apply กับความจริง

- ส่วน I ตัวที่ 2 ผมเน้น Imagination เพราะ ไอน์สไตน์ ( Einstein ) ได้พูดไว้เลยว่า " Knowledge สู้ Imagination ไม่ได้ "

เพราะคนไทยปัจจุบันไม่ชอบมีจินตนาการ เราเรียนแบบท่องจำ จึงเกิด Innovation ได้ น้อย

เรื่องสุดท้ายคือที่โรงเรียนบางหัวเสือบุญแจ่มเนียมนิล ซึ่งผมไปพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดย เตรียมตัวไปสู่โลกการทำงานให้เด็กมัธยมปลาย ประมาณ 40 คน หลักสูตรธุรกิจอุตสาหกรรมซึ่ง เป็นนวัตกรรมของหลักสูตรสายสามัญ ต้องมีความรู้ที่กว้างและทันต่อเหตุการณ์ ปรากฏว่าให้เด็ก ส่ง Blog มาถึงผมว่ามีความรู้สึกอย่างไรต่อการเรียนแบบนี้ นักเรียนสนใจส่ง Blog มากเกือบทุก คน และแสดงความตั้งใจ คิดเป็น ไม่ว่าคุณภาพของเด็กจะอ่อนอย่างไร ถ้าสนใจก็สามารถพัฒนา สมองได้

การสอนหนังสือยุคใหม่ จะต้องสร้างแรงกระตุ้นให้เด็กสนใจ ซึ่งผมประทับใจมากที่เด็ก โรงเรียนบางหัวเสือบุญแจ่มเนียมนิล กระหายจะได้ความรู้ และใน Blog ก็ถามว่า จะมาสอนอีก เมื่อไร แสดงว่าการให้ความรู้ที่ตรงประเด็นที่นำไปใช้ได้ ดีกว่าสอนไปโดยไม่มีเป้าหมาย น่าจะ เน้นทฤษฎี 2 I's และทฤษฎี 2 R's ของผม  
จีระ หงส์ลดารมภ์
[email protected]
โทร. 02-273-0180, 0-2619-0512-3
โทรสาร 0-2273-0181  
ยม "บทเรียนจากความจริง เรื่อง สร้าง Ideas ใหม่ๆ โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์" (ปรับปรุงใหม่)

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ และท่านผู้อ่านทุกท่าน 

 

 

ผมปรับปรุงข้อความที่ผมเขียนเกี่ยวกับ บทเรียนจากความเป็นจริง เรื่อง สร้าง Ideas ใหม่ ๆ เพิ่มเติม เนื่องจากเมื่อเช้านี้รีบเขียนไป แล้วเห็นว่าน่าจะปรับปรุงข้อความบางส่วนโดยเฉพาะในส่วนที่ผมเขียนต่อจากข้อความของ ศ.ดร.จีระ ตอนท้ายนี้/สีฟ้า/ ส่วนที่ผมเขียนแสดงความคิดเห็น ผมทำสีดำไว้   มีดังนี้ครับ

 

เช้าวันนี้ วันเสาร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2549  ผมแสวงหาอาหารทางสมอง เช่นเคย ด้วยการค้นหาข้อมูลข่าวสารจาก Internet   รายการแรกที่ผมอ่านในเช้าวันเสาร์ก็คือ บทเรียนจากความจริง ของ ศ.ดร.จีระ จาก เว็บของ น.ส.พ.แนวหน้า http://www.naewna.com/gotocolumn.asp?ID=97 อาจารย์เขียน เกี่ยวกับ บทเรียนจากความจริง เรื่อง สร้าง Ideas ใหม่ๆ :  มีบทเรียนที่ อาจารย์เขียนเกี่ยวกับกีฬาที่น่าเรียนรู้ โดยเฉพาะฟุตบอลโลกที่สามารถนำมาปรับ ใช้ต่อชีวิตและการทำงานได้เป็นอย่างดี  ในบทความนี้ ศ.ดร.จีระ เขียน บทเรียนจากความเป็นจริงได้น่าสนใจ ข้อความข้างล่าง แถบสีน้ำเงินคือข้อความที่ผมคัดลอกมาบางส่วนจากบทความที่อาจารย์เขียน ส่วนสีดำเป็นความเห็นของผม

 

   ·        ความ พ่ายแพ้ของอังกฤษ ส่วนหนึ่งมาจากการไม่สามารถควบคุมอารมณ์ของ Rooney ความจริง ส่วนหนึ่งเพราะขาด Emotional Capital  ประโยคนี้จะเห็นว่า ศ.ดร.จีระ สะท้อนให้เห็น อารมณ์เป็นเรื่องสำคัญต่ออนาคต  ผมมีความเชื่อว่า คนเราถ้าทำอะไร แล้วไม่มีอารมณ์ที่ดี หรือมีอารมณ์มากเกินไป นอกจากจะเกิดโรคภัยไข้เจ็บตามมาแล้ว โอกาสพ่ายแพ้ในชีวิต ย่อมมี การควบคุมอารมณ์ ความสมดุลทางอารมณ์จึงเป็นเรื่องสำคัญที่สุด  ทรัพยากรมนุษย์ที่มีทุนมนุษย์ ทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา ทุนทางจริยธรรม ทุนแห่งความยั่งยืนฯ จะมีความสมดุลทางอารมณ์ได้ดี  นักบริหาร นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ หรือผู้เป็นบิดา มารดา ควรที่จะบริหารพัฒนาทุนมนุษย์ให้เกิดแก่สมาชิกในองค์กร สถาบันที่ตนเองเป็นผู้นำ อย่างมียุทธศาสตร์ที่ชัดเจน มีการติดตามประเมินผล มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง  ถ้าปล่อยให้สมาชิกในองค์กร ไม่มีความสมดุลทางอารมณ์ จะทำให้ทุกอย่างพังพินาศในชั่วพริบตาได้



·        การที่นักฟุตบอลรุ่นเก่า เช่น Zidane หรือ Henry ถูกมองว่าแก่ และสู้พลังหนุ่มไม่ได้ ปรากฏความจริงว่า บางครั้งเราจะประมาทผู้อาวุโสไม่ได้ คนที่มีอายุ มากกว่า เราต้องยกย่อง อย่าดูถูกและประมาทเขา เพราะประสบการณ์ช่วยมาก  ชาติฝรั่งเศสเต็มไปด้วยผู้เล่นมีอายุ เปี่ยมไปด้วยประสบการณ์เล่นฟุตบอล ผลคือได้เข้าชิงกับ อิตาลี ยุคนี้จึงต้องมองประสบการณ์และพลังหนุ่มให้สมดุลกัน สังคมไทยก็เช่นกันต้องยกย่อง ผู้สูงอายุด้วย

ประโยคนี้น่าสนใจ ผมจับประเด็นได้ว่า  ทรัพยากรมนุษย์ ยิ่งนาน ยิ่งเก่า ยิ่งมีมูลค่าเพิ่ม  ไม่เหมือนเครื่องจักร ยิ่งนานไปยิ่งเสียค่าเสื่อม ใช้งานไม่ค่อยได้ดีเรื่องนี้ผมเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง  คนที่มีประสบการณ์ คนเก่าแก่ สะสมทุนมนุษย์ไว้มากมาย จึงเป็นเรื่องที่ท้าทายความวิสัยทัศน์ ความสามารถของนักบริหาร หรือผู้นำเป็นอย่างมาก ว่าจะมีศักยภาพเพียงพอที่จะทำให้คนเก่าแก่ สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับองค์กรได้หรือไม่ 

 การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร มักจะมองข้ามคนที่ใกล้เกษียณอายุ มองข้ามทุนมนุษย์ที่มีอยู่ในตัวของเขา  เท่ากับสร้างความสูญเสียคุณค่าในตัวคน เป็นการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่ไม่มีประสิทธิภาพ   

 

·   การประชุม APEC Symposium on Socio-economic Disparity ที่กรุง โซล เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2549 ที่ผ่านมาพูดกันถึงช่องว่าง ระหว่างประเทศใน APEC และช่องว่างระหว่างกลุ่มประชาชนของประเทศใน APEC ซึ่งเป็นเรื่อง น่าสนใจว่า ปัจจุบันวิธีวัดความเหลื่อมล้ำของช่องว่างมี 3 วิธี

- วัดจากรายได้หรือ GDP ต่อหัว

- วัดจาก Human Development Index  และ วัดจากคุณภาพของคน

ผมได้แสดงความเห็นว่า คนที่มีรายได้มากกว่า ไม่ใช่มีความสุขมากกว่าเสมอไป ควรจะ เริ่มวัดจาก Happiness ด้วย ปรากฏว่าที่ประชุมรับฟังอย่างสนใจ และเริ่มมองประเด็นเรื่อง Happiness Capital เน้นความสุข ความสมดุลด้วย ผมเห็นว่าเศรษฐกิจพอเพียงของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็เน้นความสุข ความสมดุล    

 

ประโยคนี้ ผมคิดว่า เป็นผลพวงจากการใช้ระบบทุนนิยม ในการบริหารสังคมโลก ทำให้เกิดผู้ได้เปรียบ ผู้เสียเปรียบ ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางสังคมเกิดขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้  จึงจำเป็นต้องมีการวัดความเหลื่อมล้ำของสังคม เป็นระยะ และควรมีมาตรฐานว่า ในแต่ละปัจจัยที่ใช้วัดความเหลื่อมล้ำนั้น ควรมีค่ามาตรฐานกำหนดไว้ เมื่อวัดออกมาแล้ว หัวข้อใดเหลื่อมล้ำมีแนวโน้มสูงขึ้น ก็ควรมีสัญญาณเตือนภัย เรื่องพวกนี้ และมียุทธศาสตร์ในการแก้ไขและปัองกันภัยแห่งความเหลื่อมล้ำของสังคม ไม่ให้เกิดภัยแก่ทรัพยากรมนุษย์ของชาติ ของโลก

 

เรื่องการวัดความเหลื่อมล้ำของช่องว่างของทรัพยากรมนุษย์ ผมเห็นด้วยอย่างยิ่งที่จะนำทุนตามทฤษฎี 8K’s ของอาจารย์บางตัวมาวัด ด้วย อาทิเช่น ทุนทางความสุข Happiness capital ทุนทางจริยธรรม ทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา ฯ  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องความสมดุล ตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว   ตรงนี้ สามารถนำมาใช้วัดช่องว่างระหว่างประชาชนในแต่ละจังหวัด ตำบล อำเภอได้  หรือนำมาใช้วัดช่องว่างระว่างประชาชนกลุ่มคนงานในแต่ละสถานประกอบการ แต่ละหน่วยงาน เพื่อนำมากำหนดยุทธศาสตร์ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ก็ย่อมได้ 

 

 ·        ได้รับเกียรติจากนักศึกษาปริญญาโท ภาควิชาจิตวิทยา อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้ไปบรรยาย 4 ชั่วโมง ผมแนะนำว่า การเรียนจิตวิทยา เป็นสิ่งจำเป็น แต่จะให้มีความสำเร็จในการทำงานจะต้องมี 2 H's คือ

- Head และ

- Heart  

 

ศ.ดร.จีระ มีงานได้รับเชิญไปสอนหลายแห่งมาก  ทั้งสถานบันการศึกษา องค์กรภาครัฐและเอกชน  อาจารย์มีโอกาสทำประโยชน์ให้กับสังคมมากมาย  เป็นตัวอย่างที่ดี สำหรับผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้นำ เมื่อมีความรู้ เมื่อมีโอกาส ก็เผื่อแผ่เมตตา กับผู้อื่น  ผมได้มีโอกาสเรียนและใกล้ชิดกับ ศ.ดร.จีระ ทำให้ทราบว่า นอกจากท่านมีความรู้ มีประสบการณ์ มีอุดมการณ์ เหมือน ศ.ดร.ป๋วย อึ้งภากรณ์ แล้ว ท่านยังมีความเมตตาต่อลูกศิษย์ และให้โอกาส ให้ความรู้ กับศิษย์เสมอ

 

จากประโยคข้างต้น ผมเห็นว่า 2 H’s เป็นหัวใจสำคัญในการจะทำการงานให้สำเร็จ ต้องมีหัวคิด มีทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา(Head) และต้องมีทุนทางปัญญา ทางจริยธรรม ทุนทางความสุขต้องมีความสนใจ ใส่ใจ เอาใจใส่ คือ Heart   ถือว่าเป็นหัวใจในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ก็ว่าได้  

 

 ·        ศ.ดร.จีระ ยังได้แนะนำทฤษฎีใหม่คือ 2 I's  

 o        I แรกคือ Inspiration คือการเรียนยุคใหม่ เด็กนักเรียนต้องถูกกระตุ้นจุดประกายให้ เกิดความสุข และHappy ที่ถูกกระตุ้นให้ไปสู่ความเป็นเลิศ

 

 o       I ตัวที่ 2 เน้น    Imagination   เพราะ ไอน์สไตน์ ( Einstein ) ได้พูดไว้เลยว่า
" Knowledge สู้ Imagination ไม่ได้ " เพราะคนไทยปัจจุบันไม่ชอบมีจินตนาการ เราเรียนแบบท่องจำ จึงเกิด Innovation ได้ น้อย  

 

ข้อความนี้ ศ.ดร.จีระ กล่าวถึง แนวทางในการสอนเด็กของไทยเรา  ในอดีตเราสอนให้เด็กท่องจำ คนไหนท่องจำเก่ง คนนั้นคะแนนดี คนไหนคิดนอกกรอบ จะโดนข้อหาว่า นอกคอก ทำตัวไม่เหมือนคนอื่น ทำให้ผลผลิตของโรงเรียน ได้นักเรียนที่จบการศึกษา  ได้ทรัพยากรมนุษย์ ที่คิดในกรอบเท่านั้น และที่อันตรายมาก คือใครคิดไม่เหมือนตนเองคือคนไม่ดี ต้องขจัดออกไป พอโลกหรือสังคมมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดปัญหาเรื่องการปรับตัวให้อยู่รอด ไม่มีความคิดใหม่ ๆ มาพัฒนาชาติ ใครคิดใหม่ ๆ จะถูกวิจารณ์อย่างมาก  ประเทศเราไม่สามารถพัฒนาไปได้รวดเร็วนัก

 

เมื่อไม่กี่วันมานี้ ผมไปเยี่ยมโรงเรียนแห่งหนึ่งในชนบท  มีการจัดสถานที่ให้เด็กเล็กไว้เล่นคือมีสวนเด็กเล่น กั้นคอกไว้ ข้างในมีพื้นเป็นทราย และมีล้อยางรถเก่าอยู่ สี่ห้าเส้น ผมถามว่านั่นคืออะไร  ได้รับคำตอบว่าเด็กชอบเล่นทราย จึงทำไว้ให้เด็กเล่น  ของเล่นภายในไม่ได้เอื้อให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์นัก ปัญหามาจากผู้ใหญ่ที่ขาดความคิดสร้างสรรค์เพียงพอ กลายเป็นวัฐจักรแห่งความทางตันแห่งความคิดสร้างสรรค์

 

เรื่องการบริหารโรงเรียนของรัฐบาล โดยเฉพาะในชนบท  ยังมีการสอนแบบนี้อยู่มาก  นโยบายของรัฐ เกี่ยวกับบริหารการศึกษา การสอนเด็กนักเรียน  ไม่ได้เอื้อต่อการให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์ น่าเป็นห่วงประเทศชาติ เพราะเด็กคืออนาคตของชาติ รัฐบาลก็น่าจะทุ่มเทสร้างคนเพื่อสร้างชาติให้ยั่งยืน Mega project ของรัฐ น่าจะมี Innovation ทางการศึกษาของเด็ก บ้าง  

 

 ·        เรื่องสุดท้ายคือที่โรงเรียนบางหัวเสือบุญแจ่มเนียมนิล ซึ่งผมไปพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดย เตรียมตัวไปสู่โลกการทำงานให้เด็กมัธยมปลาย ประมาณ 40 คน  หลักสูตรธุรกิจอุตสาหกรรมซึ่ง เป็นนวัตกรรมของหลักสูตรสายสามัญ ต้องมีความรู้ที่กว้างและทันต่อเหตุการณ์  ให้เด็ก ส่ง Blog มาว่ามีความรู้สึกอย่างไรต่อการเรียนแบบนี้  ใน Blog เด็กก็ถามว่า จะมาสอนอีก เมื่อไร แสดงว่าการให้ความรู้ที่ตรงประเด็นที่นำไปใช้ได้ ดีกว่าสอนไปโดยไม่มีเป้าหมาย น่าจะ เน้นทฤษฎี 2 I’s และทฤษฎี 2 R’s ของผม    

 

อ่านมาถึงตรงนี้ ทำให้ทราบว่า ศ.ดร.จีระ ให้ความรู้ และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ หลากหลายทั้งในระดับผู้ใหญ่ และเยาวชน  การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ให้ยั่งยืน ต้องหยั่งรากลงไปพัฒนาถึงเด็กในโรงเรียน และถ้าจะลึกไปกว่านั้น ต้องพัฒนาตั้งแต่เด็กอยู่ในครรภ์มารดา ด้วย 

  

สิ่งนี้เป็นตัวอย่างที่ดี รัฐบาลควรศึกษา นำไปเป็นแบบอย่างในการมุ่งมั่นพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างยั่งยืน  HR Manager หรือผู้บริหารในสถานประกอบการ ต่าง ๆ ก็สามารถนำแนวคิดนี้ไปประยุกต์ใช้พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในระดับรากหญ้า ถึงระดับลูกหลานพนักงานที่มีแนวโน้มที่จะมาเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่ดีขององค์กรได้อนาคต  การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในยุคนี้ ต้องคิดให้ไกล ไปให้ถึง ให้ยั่งยืนและสมดุล อย่างมียุทธศาสตร์ครับ

 


  ศ.ดร.จีระ ยังมีรายการโทรทัศน์สู่ศตวรรษใหม่ทาง ช่อง 11 ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน เวลา 14.00-15.00 น. และออกอากาศอีกทีทาง UBC 7 ทุกวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนเวลา 14.00-15.00 น. และรายการคิดเป็นก้าวเป็นกับดร.จีระ ทาง UBC 7 อาทิตย์ที่ 1,3 และ 5 ของเดือนเวลา 13.00-13.50 น. นอกจากนั้นยังมีรายการวิทยุ knowledge for people ทุกวันอาทิตย์ เวลา 18.00 – 19.00 น. ทางสถานีวิทยุ อสมท. F.M. 96.5 MHz Hz   คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระของหนังสือพิมพ์แนวหน้าทุกวันเสาร์หน้า 5 ผมขอเชิญให้ท่านติดตามศึกษาหาความรู้ จากผลงานของ ศ.ดร.จีระ และร่วมกันแสดงความคิดเห็น สะสมสร้างทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา และทุนทางสังคม ใน Blog นี้ ครับ  เชิญท่านผู้อ่าน อ่านบทความ บทเรียนจากความเป็นจริง  สร้าง Ideas ใหม่ๆ ของ ศ.ดร.จีระ ได้จาก Blog ถัดไปนี้ 

     

ขอความสวัสดีจงมีแด่ทุกท่าน  

 

ยม  

น.ศ.ปริญญาเอกรัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต  

มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี(รุ่น 2 กทม.) 

ยม "บทเรียนจากความเป็นจริง เรือง no pain, no gain โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์"

ไม่มี pain ไม่มี gain[1]

 

วันที่ผมเขียนนี้เป็นวันพฤหัสบดีที่ 20 ที่ประชาชนชาวไทยทุกคน ต่างส่งจิตใจถวายพระพรด้วย ความเป็นห่วงใยขอให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงหายจากอาการพระประชวรอย่างรวดเร็ว เป็น มิ่งขวัญของคนไทยต่อไป


ระยะนี้เป็นช่วงอันตรายสำหรับสังคมไทย เพราะการเมืองยังไม่นิ่ง คนไทยส่วนมากที่คิดไม่เป็น อาจจะไม่เข้าใจถึงความรุนแรงของการเมืองไทย ฉะนั้นคนไทยต้องมีข้อมูลที่ถูกต้อง คิดเป็น วิเคราะห์ เป็น จึงจะสกัดกั้นคนไม่ดีออกไป ในประวัติศาสตร์ คนไม่ดี ไม่มีคุณธรรม ได้สร้างปัญหาไว้อย่างมาก ดังที่ผมเขียนไว้ในสัปดาห์ที่แล้ว


ขอแสดงความเสียใจต่อครอบครัวของ ศ.ดร.สิปปนนท์ เกตุทัต เพราะอายุท่านแค่ 76 ปี เสียชีวิต ด้วยโรคมะเร็ง ผมเป็นรุ่นน้องได้รับความกรุณาจากท่านเสมอ เพราะผู้ใหญ่ที่ดี จะต้องสนับสนุนให้รุ่นเด็ก ได้โตแทน ผมเริ่มเป็นผู้ใหญ่ ก็จะต้องทำบทบาทนี้มากขึ้น เช่น สนับสนุนให้อาจารย์ยม นาคสุขมีความ เก่งและดีเพิ่มขึ้น จำได้ว่า ผมเขียนบทความมาเกือบ 20 ปีแล้วใน Chula review ฉบับแรก เรื่อง ทรัพยากรมนุษย์ยุคแรกของไทย ดูได้จากกำลังคนทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ยังเป็นรองชาติอื่น ๆ มาก ท่านยังได้พูดถึงเสมอว่าเป็นประโยชน์ และท่านได้มาช่วยแสดงปาฐกถาให้สถาบันทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เสมอ


จำได้มาตลอดว่า ครั้งหนึ่ง ท่านพูดว่า " จีระ รู้ไหม " มาเฟียก็เก่ง แต่เป้าหมายของเขาไม่ดี ขาด คุณธรรม จริยธรรม เห็นแก่ตัว ทำเพื่อพรรคพวก ผมจึงยึดถือว่า คนเก่ง กับคนดี มีคุณธรรมควรจะต้องคู่ กัน ดูได้จาก 8 K's และ คนเก่งอย่างเดียวจะต้องแพ้คนดี ทุนทางจริยธรรมในระยะยาว ในสัปดาห์นี้มีคำสัมภาษณ์ของคนสำคัญต่อสาธารณชน ที่น่าสนใจคือ อดีตนายกรัฐมนตรี คุณ อานันท์ ปันยารชุน ได้แสดงความเห็นเรื่องการเมือง ผมได้คุยกับท่านหลายครั้ง ทราบว่าท่านระวังในการ แสดงความเห็นเรื่องการเมืองมาก แต่ครั้งนี้ ท่านพูดว่า นายกฯ ทักษิณอยู่รอดไปวัน ๆ เพื่อตัวเอง ไม่ได้ อยู่เพื่อประเทศหรือส่วนรวม ซึ่งคำพูดแบบนี้ น่าสนใจ ท่านผู้อ่านลองไปพิจารณาดูว่าถูกหรือไม่ ผมไม่ ขอแสดงความเห็น แต่ต้องการให้คนไทยคิดเป็น วิเคราะห์ต่อไป


 พูดถึงวิกฤติการณ์ครั้งนี้ หากทุกกลุ่มที่เป็นกลางจับเข่าคุยกัน หาเหตุผล และแสดงจุดยืนบ้างก็ จะดี จะได้แง่มุมจากประชาชนที่มีความรู้ ได้ share ideas ถ้าประเทศไทยมีแต่ตัวละครเดิม ๆ พูด ค่อนข้างจะเลือกข้างมากเกินไป คือมีสองฝ่าย ฝ่ายชอบรัฐบาล กับฝ่ายเกลียดรัฐบาล ซึ่งแนวคิดจะแคบ เกินไป ทำให้สังคมไทยไม่เรียนรู้พอเพียง


ในสัปดาห์นี้ ผมเริ่มงานที่คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ซึ่งประชุมทุกวันจันทร์ ได้ความรู้ และได้รู้จักกรรมการตุลาการที่คัดเลือกอีก 12 ท่าน รวมทั้งประธาน คือ ประธานศาลฎีกา ผมคิดว่าจุด แข็งของรัฐธรรมนูญฉบับนี้คือ อยากให้ตุลาการเป็นส่วนหนึ่งของประชาชน จึงมีการเลือกจากวุฒิสมาชิก ช่วยให้มุมมองที่สะท้อนประชาชนมากขึ้น บรรดาคณะกรรมการตุลาการที่เลือกมาจากคนดีและเก่ง ทั้งนั้น ผมโชคดีได้ทำงานท้าทาย และได้เรียนรู้ไปด้วย


เมื่อวันพุธที่ 19 ผมบินไปเชียงใหม่ ได้ร่วมงานกับคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ ผ่านคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยที่ผมเป็นกรรมการ จัดให้คณาจารย์ 150 คน ทั้ง มหาวิทยาลัย รับฟังเรื่องสร้างสังคมการเรียนรู้ ซึ่งเน้นทฤษฎี 4 L's มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน เพื่อนำไปปฏิบัติ เริ่มให้อาจารย์รับฟังลูกศิษย์แบบแลกเปลี่ยนความรู้ 2 ทางมากขึ้น ผมจะจัดให้ คณาจารย์ทุกเดือน ซึ่งครั้งหน้าจะเน้นคุณธรรม จริยธรรม ผมทำจริง หากใครเห็นว่าผมมีประโยชน์ก็บอก มาได้


ส่วนในวันพฤหัสบดีที่ 20 ผมในฐานะนายกสมาคมนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ไปพบคณาจารย์และนักเรียนของเทพศิรินทร์พุแค ที่พุแค จ.สระบุรี เทพศิรินทร์ในปัจจุบันไม่ได้มี เฉพาะเทพศิรินทร์ ซึ่งตั้งอยู่ที่ยศเส ในกรุงเทพฯเท่านั้น มีเครือข่ายอีก 6 โรงเรียน คือ เทพศิรินทร์ ร่มเกล้า เทพศิรินทร์นนทบุรี เทพศิรินทร์ปทุมธานี เทพศิรินทร์พุแค เทพศิรินทร์ลาดหญ้า กาญจนบุรี และเทพศิรินทร์ขอนแก่น ซึ่งผมได้มีนโยบายที่จะไปเยี่ยม รับฟังทุกโรงเรียน เพื่อสร้างความสัมพันธ์และ หาทางช่วยเหลือเรื่องการเรียน ดนตรีและกีฬา และความคิดสร้างสรรค์


ผมอยากบอกกระทรวงศึกษาธิการว่า การมีเทพศิรินทร์สาขาเป็นสิ่งที่ดี แต่ต้องสนับสนุน การเงิน และคณาจารย์ให้พอเพียงสำหรับโรงเรียนแม่ เพื่อให้สาขาดีขึ้น เช่น โรงเรียนเทพศิรินทร์พุแค ใน ระยะเวลาไม่ถึง 3 ปี ก็โดดเด่นมากในต่างจังหวัด เด็กต่างจังหวัดแย่งกันเข้าเรียน แต่ฐานของเขาอ่อนแอ มาก แต่เทพศิรินทร์ร่วม จะต้องเข้มแข็งกว่าเดิม ไม่ใช่อ่อนแอลง


จะขอจบบทความถึงเรื่องกีฬา ซึ่งตั้งหัวเรื่องว่า no pain , no gain มีตัวอย่างที่น่าสนใจคือ Phil Mickelson เล่น Grand slam อยู่ 40 กว่าครั้ง ไม่เคยชนะเลย แต่ 2 - 3 ปีที่ผ่านมา ชนะในระดับ Grand slam 3 ครั้ง แฟนกีฬากอล์ฟ จะรู้ว่า สังคมคาดหวัง Phil Mickelson ไว้สูงมาก ว่าจะสู้กับ Tiger woods ได้และเก่งตลอดไป และอาจจะเล่นเหนือกว่า woods ด้วย


ในการแข่งขัน US open เมื่อเดือนมิถุนายน Phil Mickelson นำอยู่ 1 แต้ม เหลือหลุมสุดท้าย แค่ตี par ก็จะชนะ แต่ผลคือตี double bogey คือถ้า ตีแค่ 4 ก็ชนะ แต่เกิดปัญหาตีผิดพลาด อย่างไม่น่า เชื่อ ตีถึง 6 ครั้ง ซึ่งตีไป 6 คนเล่นไม่เก่งอย่างผม ได้ 6 ก็แย่แล้ว


ในฐานะที่ผมชอบเรียนรู้ เห็นใจว่าเขาถูกคนมองว่า ผิดพลาดอย่างรุนแรง และอาจจะถึงกับ " กู่ไม่กลับ "


ดังนั้นการแข่งขันกอล์ฟ British open ในอาทิตย์นี้ จึงน่าสนใจว่า Phil Mickelson จะใช้ บทเรียนความเจ็บปวดราคาแพง เอาชนะตัวเองได้หรือไม่ หรือมี pain แล้วไม่สามารถเอาชนะได้ เพราะ ผมชอบทฤษฎีเจ็บปวดก่อนและไปสู่ความสำเร็จ ฉะนั้นจะต้องดูว่า Phil Mickelson มี pain และไปสู่ gain ได้หรือไม่ น่าติดตาม ในวันอาทิตย์นี้


บทเรียนเรื่องนี้สอนว่า ทุกคนเจออุปสรรค แต่ใช้อุปสรรคเป็นบันไดไปสู่ความสำเร็จ การมีความ เจ็บปวด ไม่ใช่ของเลว แต่ต้องนำไปสู่ความสำเร็จให้ได้ ผมชอบเอาชนะความเจ็บปวด เพื่อให้เรา แข็งแกร่งขึ้น จึงเรียกว่า มี pain แล้วมี gain

 

จีระ หงส์ลดารมภ์


[email protected]


โทร. 02-273-0180, 0-2619-0512-3

โทรสาร 0-2273-0181

ยม "วิเคราะห์บทความ no pain, no gain ของ ศ.ดร.จีระ"

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ และท่านผู้อ่านทุกท่าน 

เช้าวันนี้ ผมหาความรู้จาก Internet และได้ศึกษาบทความของ ศ.ดร.จีระ จาก น.ส.พ.แนวหน้า จาก http://www.naewna.com/gotocolumn.asp?ID=97 ศึกษาบทความ บทเรียนจากความจริง ไม่มี pain ไม่มี gain และคัดมาบางประโยคจากบทความที่ ศ.ดร.จีระ เขียนไว้ (สีนำเงิน) ส่วนที่ผมมีความเห็นเพิ่มเติม ผมเขียนไว้ทำเป็นสีดำ เพื่อแชร์ความรู้ประสบการณ์ ที่อาจจะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่าน นักเรียน นักศึกษาที่สนใจ รายละเอียดมีดังนี้           

วันพฤหัสบดีที่ 20 ที่ประชาชนชาวไทยทุกคน ต่างส่งจิตใจถวายพระพรด้วย ความเป็นห่วงใยขอให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงหายจากอาการพระประชวรอย่างรวดเร็ว เป็น มิ่งขวัญของคนไทยต่อไปเมื่อวันที่ 20 ที่ผ่านมา ผมได้บรรยายศิลปะการเป็นหัวหน้าให้กับหัวหน้างานในองค์กร ที่ผมทำงานอยู่ ผมนำภาพของในหลวง มาสอนหัวหน้างาน ให้เห็นพระอัจฉริยภาพของในหลวงในการเป็นผู้นำ เป็นหัวหน้าคนไทยทั้งชาติ เช่น

§       ภาพพระองค์ท่านทรงเสด็จไปปฏิบัติภารกิจยังท้องถิ่นกันดารและทรงเยี่ยมราษฎร  และภาพที่พระองค์ท่านทรงย่อตัวลงพูดคุยกับประชาชน แสดงให้เห็นว่าพระองค์ท่านทรงมีพระวิริยะ ในการปฎิบัติภารกิจ ติดดินใกล้ชิดราษฎรของท่าน โดยไม่ยึดถือตำแหน่งเป็นที่ตั้ง  การเป็นหัวหน้างานควรขยันเดินเยี่ยมพนักงาน และไม่ถือตนว่าใหญ่ มีจิตใจเมตตา ต่อผู้น้อย

§       ภาพขณะที่พระองค์ท่านทรงงาน เห็นสายพระเนตรของพระองค์ทรงทอดพระเนตรมาที่ประชาชนที่มารอรับเสด็จ ด้วยความเมตตา ปรารถนาดีแสดงให้เห็นว่า พระองค์ท่านทรงมีความรัก ห่วงใยคนไทย ในขณะที่ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจไปด้วยตลอดเวลา เป็นหัวหน้าต้องคิดและปราถนาดีต่อลูกน้อง ดุจดังเขาเป็นลูกและน้องของเรา

  

§       ภาพที่พระองค์ท่าน ทรงนำแผนที่ กล้องถ่ายรูป และดินสอ จดบันทึกสิ่งที่ได้ยินจากราษฎร สิ่งที่ได้ทรงทอดพระเนตรเห็นในพื้นที่ต่าง ๆ ของประเทศ แสดงให้เห็นว่า พระองค์ท่านทรงมีการเตรียมพระองค์ เตรียมแผนงานเป็นอย่างดีพระองค์ทรงมีความมุ่งมั่นในการปฏิบัติพระราชกรณียกิจของท่าน สมควรที่ผู้นำควรเจริญตามฝ่าพระบาทฯ

 

 §       ภาพพระฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หลายภาพ ขณะทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจ  บ่งบอกให้เห็นถึงคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้กับราษฎร เมื่อครั้งที่ท่านทรงมีปฐมบรมราชโองการว่า เราจะปกครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน  เป็นการยืนยันให้เห็นเป็นตัวอย่างที่ดีของผู้นำที่มีคุณธรรม มีสัจจะ อยู่ในทศพิศราชธรรม   ทำให้เกิดบารมีแผ่ไปทั่ว พระองค์อ่านจึงเป็นที่รักและเคารพยิ่งต่อประชาชนชาวไทย และเป็นที่ยอมรับของสังคมโลก  คนเป็นหัวหน้างานเป็นผู้นำ จึงควรศึกษาและเจริญลอยตามพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  

       การที่ผมสอนหัวหน้างานเช่นนี้ เป็นการสอน การคิดนอกกรอบ  ให้หัวหน้างานได้เห็นภาพและจินตนาการ และคิดตามไปด้วย

       ผมสังเกตุเห็นหัวหน้าทุกคนมีความสุขที่ได้เห็นพระฉายาลักษณ์จำนวนมากของพระองค์ท่านซึ่งผมนำมาฉายให้ชมในห้องอบรม ด้วยความจงรักภักดี ที่ผมมีต่อพระองค์ท่าน ทำให้ผมคิดเรื่องนี้ และสอนออกไปจากใจ 

         พอถึงเวลา บ่ายสองสามโมงในวันนั้น(20 ก.ค.) ผมขั้นรายการด้วยการแจ้งผู้เข้ารับการอบรมว่าขณะนี้ พระองค์ท่านคงกำลังเสด็จพระราชดำเนินไปรับการถวายการผ่าตัดที่โรงพยาบาลศิริราช ขอให้พวกหัวหน้างานตั้งจิต อธิฐานให้พระองค์ท่านทรงปลอดภัยจากการรับการถวายการผ่าตัดและทรงมีพระวรกายที่แข็งแรง ขอให้หัวหน้าทุกคนกลับไปบ้านคืนนี้ ชวนลูกหลานสวดมนต์ภาวนา ให้ในหลวงของเรา จงทรงพระเจริญ  หัวหน้างานทุกคนล้วนปิติยินดี กับภารกิจที่พระองค์ท่านทรงมีต่อราษฎร ครับ คนไทยโชคดีกว่าชาติใด ๆ ที่มีในหลวงผู้เป็นมิ่งขวัญของเราชาวไทย ครับ

ประโยคต่อมา ที่ ศ.ดร.จีระกล่าวว่า "คนไทยต้องมีข้อมูลที่ถูกต้อง คิดเป็น วิเคราะห์ เป็น จึงจะสกัดกั้นคนไม่ดีออกไป" ประโยคนี้ ผมเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง  ด้วยเหตุที่คนไทยอ่านหนังสือน้อย ไม่ค่อยรักการอ่าน เหมือนอย่างคนญี่ปุ่น ประกอบกับการสอนเด็กไทยมักจะเน้นการท่องจำ ทำให้เด็กเข็ด ไม่สนุกกับการเรียน โตขึ้นจึงกลายเป็นคนไม่รักการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ทำให้มีความคิดไม่กว้างไกล  ขาดทุนทางปัญญา  การตัดสินใจที่ดี เป็นการตัดสินใจที่ต้อง Base on information and knowledge บางครั้งคนไทยเราตัดสินใจโดยใช้อารมณ์ หรือตาม ๆ กันไป แต่ถ้าทรัพยากรมนุษย์ที่มีทุนมนุษย์ดีเป็นพื้นฐาน มีทุนตามทฤษฎี 8K’s ของอาจารย์ ผมคิดว่า ปัญหานี้จะไม่เกิดขึ้นครับ   อนาคตเด็กไทย อนาคตชาติจึงฝากไว้ที่ครู อาจารย์ ด้วย หวังว่ารัฐจะหันมาให้ความสำคัญของการพัฒนา ส่งเสริมครูและคณาจารย์ ให้เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น       

ผู้ใหญ่ที่ดี จะต้องสนับสนุนให้รุ่นเด็ก ได้โตแทน ผมเริ่มเป็นผู้ใหญ่ ก็จะต้องทำบทบาทนี้มากขึ้น เช่น สนับสนุนให้อาจารย์ยม นาคสุข มีความ เก่งและดีเพิ่มขึ้นประโยคนี้ ผมได้สองเรื่อง คือ ความยิ่งใหญ่ของผู้ใหญ่หรือผู้นำ ดูที่การปฏิบัติต่อผู้น้อย ดูตัวอย่างที่ในหลวงของเรา ทรงปฏิบัติของปวงชนชาวไทย  เป็นต้น การจะเป็นผู้ใหญ่หรือผู้นำที่มีคุณค่า คือการสร้างคนรุ่นใหม่ ให้เติบโตแทน  บทบาทหน้าที่ของผู้ใหญ่ในบ้านเมืองคือสนับสนุนคนรุ่นใหม่ให้เป็นคนที่มีคุณภาพและมีคุณค่าต่อประเทศชาติ   ประการต่อมา ผมทราบและซึ้งถึงความจริงใจ ได้กำลังใจจาก ศ.ดร.จีระ ท่านให้เกียรติผมมาก โดยไม่รังเกียจ ว่าจะเป็นลูกตาสีที่ไหน ผมได้ยินอาจารย์พูดว่า ผมต้องการให้โอกาสลูกศิษย์ทุกคน ผมประทับใจที่อาจารย์คิด พูด ทำ ด้วยความเมตตา เหมือนอาจารย์ป๋วย อึ้งภากรณ์ สอดคล้องกับกระแสพระราชดำรัสของในหลวงที่ทรงมีต่อผู้มาเข้าเฝ้าเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน ว่า ขอให้ทุกฝ่ายคิด พูด ทำ ด้วยความมีเมตตา ปรารถนาดีต่อกัน   

ผมสังเกตเห็นว่า ศ.ดร.จีระ  ทำงานเป็นทีม มีวิธีการบริหารทีมงาน และลูกศิษย์ที่น่าสนใจ  สามารถนำไปบูรณาการในการบริหารปกครองทีมงานในองค์กรได้เป็นอย่างดี

ท่านมีวิธีการบริหารความรัก ความเชื่อ ความศรัทธา ในทีมงานได้ดีอยู่เสมอ เป็นแบบอย่างที่ดีมากครับ เป็นตัวอย่างที่ดีของผู้ใหญ่หรือผู้นำที่มีคุณภาพ ขอบคุณอาจารย์มาก ที่ให้เกียรติผมและมีความกรุณา คิดสนับสนุนผมให้เก่งและดีเพิ่มขึ้น        

กำลังคนทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ยังเป็นรองชาติอื่น ๆ มาก ประโยคนี้ ผมมีความเห็นว่า ทรัพยากรมนุษย์ของไทย ทั้งปริมาณและคุณภาพ ยังเป็นรองชาติอื่นๆ หลายด้าน โดยเฉพาะด้านที่สำคัญ ๆ เช่น ด้านภาษาอังกฤษ ด้านคณิตศาสตร์ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีฯ   เป็นสิ่งที่ผู้นำบ้านเมืองควร กำหนดเป็นยุทธ์ศาสตร์พัฒนาชาติในเรื่อง ทุนทางทรัพยากรมนุษย์ เพื่ออนาคตของประเทศในระยะยาว อย่างชัดเจนและมีตัวชี้วัด ความสำเร็จ ทั้งระยะสั้น ระยะปานกลางและระยะยาว  ส่งเสริมให้สถานบันการศึกษาและครู มีบทบาทในเรื่องนี้   การสร้างคนในสาขาที่สำคัญ ควรวางรากฐานการสร้างตั้งแต่ในครรภ์มารดา และเมื่อเป็นเด็กเล็ก 

เมื่อไม่นานมานี้ ผมได้มีโอกาสไปเยี่ยมหมู่บ้านโพธิ์ทอง ต.ภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ผมเคยเข้าไปใช้ชีวิตอยู่ และทำวิจัย เมื่อสมัยเป็นบัณฑิตอาสาสมัคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อ 20 ปีที่ผ่านมา ผมได้แวะไปเยี่ยมกำนัน และชาวบ้านที่เคยใช้ชีวิตร่วมกันในหมู่บ้านยากจนแห่งนี้  และได้แวะเข้าไปเยี่ยม โรงเรียนเคียงศิริ ซึ่งเป็นโรงเรียนในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จย่าฯ  ซึ่งผมเคยเข้าไปช่วยสอนนักเรียนชั้น ป. 6 ผมดีใจที่เห็นโรงเรียนพัฒนาขึ้นด้วยอาคารเรียนหลายหลัง สามารถรับนักเรียนได้มากขึ้น แต่ที่น่าเศร้าใจคือ ห้อง Lap ที่มีไว้ให้นักเรียนได้เรียนวิทยาศาสตร์  แทบจะไม่มีอุปกรณ์ทำ Lapที่ทันสมัยให้นักเรียนได้ใช้เลย  แต่ก็ยังดีที่มีห้องคอมพิวเตอร์ให้นักเรียน ได้ฝึกใช้  ที่พบแล้วน่าคิดอีกเรื่องก็คือ  โรงเรียนมีคอกเป็นอาคารโปร่งเหมือนคอกวัว แต่ล้อมรอบด้วยไม้ระแนง จากพื้นถึงเพดาน มุงหลังคากระเบื้อง ขนาดเท่าบ้านขนาดเล็กชั้นเดียว ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกำนันในหมู่บ้าน  สร้างไว้ใกล้อาคารเรียนที่สมเด็จย่าทรงโปรดประทานให้ที่หมู่บ้านฯ  คอกที่ว่านั้นใช้เป็นที่ให้เด็กอนุบาลได้เข้าไปเล่นเหมือนในห้าง  ภายในห้องมีพื้นทราย และมีล้อรถยนต์เก่า ๆ อยู่ ห้าถึงหกเส้น ผมทราบภายหลังว่า คือ เพราะเด็กชอบเล่นทราย ยางรถยนต์เก่า ๆ เป็นของเล่นที่แปลกสำหรับเด็กในชนบท 

ตรงนี้เป็นมุมมองหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงนโยบายสาธารณะของรัฐ และวิสัยทัศน์ในการสร้างคนเพื่อสร้างชาติ ว่ายังไม่เข้มแข็งและจริงจังบ

รัฐยังไม่จริงจังกับการสร้างเด็กน้อยในชนบท ในขณะที่เด็กญี่ปุ่น อเมริกา สิงค์โปร์ มีสถานที่และของให้เด็ก ๆ เล่นเพื่อกระตุ้นความอยากรู้ อยากเรียน กระตุ้นทุนทางความรู้สติปัญญา ที่มีการวัดผลได้  

ที่เห็นแล้ว อดจะกล่าวถึงไม่ได้ ก็คือโรงเรียนเคียงศิริ ที่สมเด็จย่าทรงโปรดริเริ่มสร้างให้ไว้ เมื่อครั้งหมู่บ้านนี้มีปัญหาชายแดน เป็นพื้นที่สีชมพูมีผู้ก่อการร้ายนั้น เป็นอาคารไม้ชั้นเดียว  อาคารนี้ยังใช้เป็นที่เรียนของเด็กเล็ก มีป้ายขนาดใหญ่ติดไว้หน้าอาคารเรียนว่า โรงเรียนอยู่ในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จย่า ทรุดโทรมไปมาก  ไม่มีงบประมาณในการบำรุงรักษา ชาวบ้านช่วยกันซ่อมตามมี ตามเกิด  เป็นที่น่าเสียดายอย่างยิ่ง เพราะเป็นมรดกสำคัญที่สามารถใช้สร้างความรจงรักพักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ให้กับนักเรียนได้เป็นอย่างดี

ผมคิดว่า โรงเรียนที่สมเด็จย่าทรงโปรดสร้างไว้เช่นนี้ คงมีหลายแห่ง น่าจะมีหน่วยงานราชการเข้าไปตรวจสอบ บูรณะให้สมกับเป็นโรงเรียนที่สมเด็จย่าทรงสร้างไว้ให้เป็นมรดกแผ่นดิน ส่งเสริมให้เด็กไทยได้รู้ซึ้งถึงความมีพระหฤทัยเมตตาต่อปวงชนชาวไทยตราบนานเท่านาน เป็นการปลูกฝังให้เด็กไทยรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์  ผมขอฝากผู้เกี่ยวข้องในบ้านเมืองที่เกี่ยวข้อง ให้ตระหนักเรื่อง การสร้างเด็กในชนบทให้เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพของชาติในอนาคต ผ่าน Bog ของ ศ.ดร.จีระ นี้ ด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่สมเด็จย่า ทรงมีต่อผู้ยากไร้ ผมคิดว่า จะทำอะไรสักอย่างเพื่อหาทุนไปร่วมกับชาวบ้านที่นั่น ทำการบูรณะโรงเรียนเคียงศิริ โรงเรียนที่สมเด็จย่า ทรงโปรดพระราชทานให้เป็นมรดกแก่คนไทย และหาทางสนับสนุนส่งเสริมให้ห้อง Lap ที่โรงเรียนดังกล่าว มีอุปกรณ์ที่ทันสมัยมากยิ่งขึ้น       

ประโยคต่อมา ที่ ศ.ดร.จีระ เขียนว่า " มาเฟียก็เก่ง แต่เป้าหมายของเขาไม่ดี ขาด คุณธรรม จริยธรรม เห็นแก่ตัว ทำเพื่อพรรคพวก ผมจึงยึดถือว่า คนเก่ง กับคนดี มีคุณธรรมควรจะต้องคู่ กัน ดูได้จาก 8 K's และ คนเก่งอย่างเดียวจะต้องแพ้คนดี ทุนทางจริยธรรมในระยะยาว" 

ผมมีความเห็นว่า พวกมาเฟียมีคุณสมบัติของการเป็นผู้นำอยู่บางประการคือ   

  • รู้จักครองงาน จึงมีเป้าหมายชัดเจน  มุ่งมั่นที่จะทำ มีการวางแผนอย่างรัดกุม ลงมือปฏิบัติอย่างรวดเร็ว 
  • รู้จักครองคน คือคนในทีม ซึ่งมาเฟียส่วนใหญ่ทำงานเป็นทีม มีการหารือและทำงานร่วมกันได้อย่างน่าสนใจ  
  • แต่มาเฟียอาจจะ ไม่รู้จักครองตน  ปล่อยให้ความไม่ดี มาครอบงำ ขาดความคิดดี  ขาดทุนทางความรู้ ทุนมนุษย์ ขาดทุนทางจริยธรรม สุดท้าย จะทำให้ไม่มีทุนทางความสุข พบกับชะตากรรมไม่ดี ในท้ายของชีวิต ครับ  

 ประโยคที่ว่า   อยู่รอดไปวัน ๆ เพื่อตัวเอง ไม่ได้ อยู่เพื่อประเทศหรือส่วนรวม

ผมมีความเห็นเพิ่มเติมว่า คนไทยเรา ยังขาดทุนมนุษย์ อยู่หลายอย่าง เราไม่ค่อยได้สอนให้เด็กคุ้นเคยกับการมอง คิด ตั้งเป้าหมายชีวิตในระยะยาว จึงปล่อยเวลาให้ผ่านไป ทั้งที่มนุษย์มีเรื่องน่าเสียดาย 3 เรื่อง

  • วันนี้ผ่านไปโดยไร้ค่าน่าเสียดาย
  • ชาตินี้ไม่ได้ศึกษาแสวงหาความรู้น่าเสียดาย 
  • เกิดเป็นมนุษย์ทั้งทีเอาดีไม่ได้น่าเสียดาย ไม่ได้สร้างประโยชน์ หรือคุณค่าแก่คนรุ่นหลังหรือสังคมเลย น่าเสียดาย 

       ประโยคที่ ศ.ดร.จีระ เขียนว่า ผมโชคดีได้ทำงานท้าทาย และได้เรียนรู้ไปด้วย  ศ.ดร.จีระ ได้แสดงสิ่งที่น่าเอาอย่าง  ในความเห็นของผม คนที่เป็นเลิศ  มักมีคุณลักษณะตามทฤษฎี  6 ท. คือ  

  • ท.ท้าทาย  ทำงานที่ยากกว่า  
  • ท.ท่าทีที่ดี  มาจากความคิดที่ดีนำไปสู่การทำดี พฤติกรรมดี นิสัยและบุคลิกดี 
  • ท. เที่ยงธรรม มีคุณธรรม ความเที่ยงธรรมประจำใจ 
  • ท. ทน มีความอดทน อุตสาหะ ขยันหมั่นเพียร  
  •   ท. ทำ  มุ่งมั่นทำงาน ในหน้าที่รับผิดชอบ ให้สำเร็จ  
  •  ท.ทบทวน   ผู้ใดหมั่นทบทวนตรึกตรอง สิ่งที่ได้เรียนรู้หมั่นทบทวน ก็จะนำไปสู่ความคิดสร้างสรรค์ ทุนทางปัญญา มีความเป็นเลิศ ในการเรียนรู้

การที่ ศ.ดร.จีระ กล่าวว่า ผมโชคดีได้ทำงานท้าทาย และได้เรียนรู้ไปด้วย  แสดงให้เห็นชัดเจนว่า ท่านมี ท.ท้าทาย ท.ทำ ท.ท่าทีที่ดี ท.อื่น ๆ อย่างครบถ้วน  นักศึกษา ลูกศิษย์ของ ศ.ดร.จีระ ควรที่จะเรียนรู้ และดำเนินลอยตาม      

ประโยคที่ว่า    ให้อาจารย์รับฟังลูกศิษย์แบบแลกเปลี่ยนความรู้ 2 ทางมากขึ้น ผมจะจัดให้ คณาจารย์ทุกเดือน ซึ่งครั้งหน้าจะเน้นคุณธรรม จริยธรรม ผมทำจริง หากใครเห็นว่าผมมีประโยชน์ก็บอก มาได้  ประโยคนี้ ผมได้ข้อคิดว่า การเรียนการสอน/การจัดการ/การเป็นผู้นำสมัยใหม่นี้ ต้องมี two ways communication และ มีการแลกเปลี่ยนความรู้ เพื่อให้ได้ทั้งการบริหารความรู้ ได้ทั้งการบริหารทัศคติ ความรัก และความศรัทธา  เป็นสิ่งที่ผู้เป็นบิดา มารดา สามารถนำไปใช้สอนการบ้านบุตรธิดาได้  เป็นสิ่งที่ครู อาจารย์ ตามโรงเรียนต่าง ๆ ควรนำไปใช้ในการเรียนการสอน เลิกเสียทีการสอนแบบท่องจำ อย่างเดียว

ศ.ดร.จีระ นำองค์ความรู้ เรื่อง 4L’s ไปให้อาจารย์ตามโรงเรียนต่าง ๆ เป็นสิ่งที่เป็นคุณประโยชน์อย่างมากกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของชาติ เป็นสิ่งที่ดี ที่ผู้นำทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ควรนำเอาหลักการเหล่านี้ไปบูรณาการ ประยุกต์ใช้ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และพัฒนาองค์ความรู้ในองค์กร         

"no pain , no gain  ทฤษฎีเจ็บปวดก่อนและไปสู่ความสำเร็จ สอนว่า ทุกคนเจออุปสรรค แต่ใช้อุปสรรคเป็นบันไดไปสู่ความสำเร็จ การมีความ เจ็บปวด ไม่ใช่ของเลว แต่ต้องนำไปสู่ความสำเร็จให้ได้ ผมชอบเอาชนะความเจ็บปวด เพื่อให้เรา แข็งแกร่งขึ้น "

ประโยคนี้ ทำให้ผมตระหนักถึงคำว่า ลำบากเมื่อหนุ่ม ดีกว่ากลุ้มเมื่อแก่  ลำบากก่อน สบายทีหลัง   เมื่อสิ่งไม่ดีมาเยือน สิ่งดีมักจะตามมาภายหลัง  เป็นคำที่ผมเคยได้รับการสอน จากครูไทย และอาจารย์ต่างชาติ เมื่อสมัยผมเป็นนักศึกษาที่ บัณฑิตอาสาสมัคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในโครงการของอาจารย์ป๋วย อึ้งภากรณ์   

ในชีวิตผมตอนเป็นเด็กคุณแม่ผมในเลี้ยงดูผมแบบชาวบ้าน ๆ เหมือนสมัยก่อนเก่า คือเอาผมไปฝากไว้กับพระ ให้อยู่วัด  ถ้าปิดเทอมนาน ๆ ท่านก็ออกอุบายให้ผมบวชเณร ให้มีโอกาสซึมซับในหลักธรรม พุทธศาสนา ให้เดินตามพระทุกเช้า กินข้าววัด นอนวัด ช่วยพระทำกิจประจำวัน รู้สึกลำบาก แต่อานิสงค์ที่ได้ คือผมได้เรียนรู้ชีวิตความลำบากและมีประสบการณ์ชีวิตที่ทรงคุณค่า

ผมได้มีโอกาสเห็นซากศพที่วัด ซึ่งก่อนเผาซากศพ  ผมเห็นคนมุงดูศพและกล่าวอาลัยเสียดาย อาลัยอาวรณ์ ว่าเป็นคนดีแท้ ไม่น่าจากไปเลย   แต่บางศพ มีคนมุ่งดูแล้วซ้ำเติมว่าสมควรตายแล้ว ไปเสียได้ก็ดี  อยู่ไปก็ไม่ได้ทำประโยชน์อะไร หนักแผ่นดินเกิด  ทำให้ผมได้คิดว่า  ชีวิตมนุษย์ แท้ที่จริงคือคุณงามความดี  ชีวิตคือละคร เราเป็นผู้กำกับบทตัวเราเองว่า ตอนจบ จะให้ผู้ชมกล่าวถึงอย่างไร จะให้ผู้ที่มายืนดูศพเรา กล่าวถึงว่าเป็นคนดีน่าเสียดาย หรือเป็นคนร้ายสมควรตาย ตกนรกอเวจี และไม่เคยทำประโยชน์อะไรให้ชาติบ้านเมือง ฟ้าลิขิตให้เราเกิด  แต่ชีวิตจากเกิดถึงตาย เราเป็นผู้กำหนด     

 ท่านผู้อ่านที่สนใจติดตามสาระน่ารู้ กับ ศ.ดร.จีระ ท่านสามารถติดตามได้จากรายการโทรทัศน์สู่ศตวรรษใหม่ทาง ช่อง 11 ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน เวลา 14.00-15.00 น. และออกอากาศอีกทีทาง UBC 7 ทุกวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนเวลา 14.00-15.00 น. และรายการคิดเป็นก้าวเป็นกับดร.จีระ ทาง UBC 7 อาทิตย์ที่ 1,3 และ 5 ของเดือนเวลา 13.00-13.50 น. นอกจากนั้นยังมีรายการวิทยุ knowledge for people ทุกวันอาทิตย์ เวลา 18.00 – 19.00 น. ทางสถานีวิทยุ อสมท. F.M. 96.5 MHz Hz   คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระของหนังสือพิมพ์แนวหน้าทุกวันเสาร์หน้า   

ขอโชคดีจงมีแด่ผู้อ่านทุกท่าน  

สวัสดีครับ 

ยม 

น.ศ.ปริญญาเอก                    

หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ 

 มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (กทม.2)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท