Talented Capital Development Program: หลักสูตร “พัฒนาทุนทางความรู้ ทักษะและทัศนคติสำหรับบุคลากรของ สศก.”


ผมจะสร้างผู้นำให้เกิดขึ้นจริงที่ สศก.

สวัสดีครับลูกศิษย์ชาว สศก. ที่รักทุกท่าน

 

ผมรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้ทำงานต่อเนื่องให้กับสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) อีกครั้งหนึ่ง ในครั้งนี้ก็เป็นการจัดหลักสูตรพัฒนาทุนทางความรู้ ทักษะและทัศนคติสำหรับบุคลากรของ สศก. หรือ “Talented Capital Development Program for Young Executive, Office of Agricultural Economic” ซึ่งจะเป็นการพัฒนาข้าราชการระดับ 5 - 6 เป็นผู้นำรุ่นใหม่ที่จะเป็นกำลังสำคัญของการขับเคลื่อนผลงานที่เป็นเลิศของสศก. ในอนาคต

ช่วงเวลานี้ถือว่าเป็นโอกาส โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่ราคาของสินค้าเกษตรปรับตัวสูงขึ้น ดังนั้น บทบาทและภารกิจที่สำคัญและท้าทายสำหรับสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรคือการร่วมมือกันช่วยเหลือเกษตรกรไทยให้มีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น การได้เรียนรู้ร่วมกันในครั้งนี้ก็คงจะมีความคิดใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์

สุดท้าย ผมขอขอบคุณผู้นำและผู้บริหารระดับสูงของ สศก. นำโดย คุณอภิชาต จงสกุลเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ที่ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญและคุณค่าของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรและได้ผลักดันให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และต่อเนื่อง หากเรามีผู้นำที่เอาจริงเรื่องคน สศก. ก็จะเป็นองค์กรที่พัฒนาได้อย่างยั่งยืน

หลักสูตรนี้ออกแบบมาเพื่อพัฒนาให้ผู้นำรุ่นใหม่ของ สศก.

§       มีวิสัยทัศน์ เข้าใจภาพรวมของการทำงานขององค์กรโดยการวิเคราะห์จากภาพในระดับ Macro มาสู่ภาพในระดับองค์กรหรือ Micro

§       มีภาวะผู้นำ มีทัศนคติในการทำงานยุคใหม่ และเรียนรู้แนวทางในการพัฒนาตนเองไปสู่ความสำเร็จ

§       มีทักษะความสามารถในการบริหารจัดการเพื่อประสิทธิภาพ

อย่างไรก็ดี แม้ว่าเวลา 5 วันที่จะได้เรียนรู้ร่วมกันจะสั้นมาก ผมขอให้ทุกคนตั้งใจ เปิดใจ และเก็บเกี่ยวความรู้ที่เป็นประโยชน์ให้มากที่สุด

 และขอถือโอกาสใช้ Blog นี้เป็นคลังความรู้ที่เราจะนำสิ่งที่ได้เรียนรู้มาแลกเปลี่ยนกัน หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์แก่ทุกท่านครับ                                                           

จีระ หงส์ลดารมภ์

.....................................................................................................

   ภาพบรรยากาศการเรียนรู้ของรุ่นที่ 1 และ 2

 

สศก

สศก1

สศก2

สศก3

สศก4

 ..............................................................................................................

ภาพบรรยากาศการจัดการเรียนรู้ในวันที่ 4 สิงหาคม 2551

หลักสูตร “พัฒนาทุนทางความรู้ ทักษะและทัศนคติสำหรับบุคลากรของ สศก.”

วันที่ 4-8 สิงหาคม 2551

 

ภาพการศึกษาดูงาน ณ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

 

 

 

 

 

 

 

 หลักสูตร ทรัพยากรมนุษย์มีความสามารถพิเศษ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรก้าวไกล

รุ่นที่ 1 : 18 – 20 มกราคม2551

รุ่นที่ 2 : 25 – 27 มกราคม 2551

คำสำคัญ (Tags): #สศก 3
หมายเลขบันทึก: 198477เขียนเมื่อ 3 สิงหาคม 2008 20:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (224)

ตั้งแต่เช้าได้อะไร 1 เรื่อง

กลุ่ม 1 ความพร้อมในการที่จะต้องเผชิญกับสถานการณ์ในอนาคต ถ้ามีเหตุการณ์อะไรในวันข้างหน้า

กลุ่ม 2 งานที่ทำเกี่ยวกับเกษตรกร งานที่ทำด้านวิชาการ ถ้าเรายังไม่ดีพอเราจะไปแนะนำวิชาการกับเกษตรกรได้อย่างไรถ้าไม่มีความรอบรู้เลย

กลุ่ม 3 แนวคิดในนามข้าราชการ คือควรทำงานเพื่อกลุ่มเป้าหมาย คือเกษตรกร ไม่ใช่ทำงานเพื่ออำนาจ หรือ นักการเมืองต่าง ๆ

กลุ่ม 4 แรงผลักให้มีความเรียนรู้ ใฝ่รู้ กระตือรือร้น รู้จักคิดนอกกรอบ และกล้าแสดงความคิดเห็น

กลุ่ม 5 เลิกการทำงานแบบมนุษย์ 8 ขามาเป็น ทำงานแบบ 2 ขา คือเดินหาความจริง

กลุ่ม 6 ทราบถึงเป้าหมายของการอบรมครั้งนี้ว่าเป้าหมายที่จะได้มีอะไรบ้าง เมื่อจบไปแล้วจะได้แรงผลักดันที่จะใฝ่รู้มากขึ้น

กลุ่ม 7 เปิดสมอง แล้วพุ่งสมาธิไปที่อาจารย์ กระตุ้นการฟังให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ฟังแล้วคิด แล้วเกิดการยอมรับว่าจะใช่จริง ๆ หรือไม่ ท้าทายและกระตุ้นให้เกิดการยอมรับอารมณ์ ความจริงอย่างท้าทาย

เรียน ท่านอาจารย์ ดร.จีระ 

        จากที่วันนี้ที่ได้เรียนรู้เรื่องภาวะผู้นำ  ดิฉันได้รับความรู้/แนวคิดใหม่ๆ จากอาจารย์และเพื่อนๆที่เข้ารับการอบรมด้วยกัน ถึงแม้ว่าในตอนต้นชั่วโมงบรรยากาศในห้องจะเต็มไปด้วยความเงียบและแรงกดดันก็ตาม  แต่ก็เข้าใจว่าเป็นกลวิธีการสอนของอาจารย์ที่พวกเราอาจจะยังไม่ชิน  แต่พอมาภาคบ่ายก็รู้สึกผ่อนคลายและเป็นกันเองมากขึ้น  สำหรับการบ้านที่อาจารย์ให้ไว้นั้น

          1. เรื่องภาวะผู้นำ  มีอะไรบ้างที่จะเอาไปทำต่อ  และมีอะไรบ้างที่จะไปพัฒนาลูกน้อง

              สิ่งแรกที่จะนำมาทำต่อ คือ สำรวจตัวเอง  ค้นหาคุณค่าที่มีอยู่ในตัว  และมองไปในอนาคตข้างหน้าว่าเรามีเป้าหมายอะไร  จะทำอย่างไรเพื่อให้ได้เป้าหมายที่ต้องการ แล้วเราจะกระตุ้นหรือดึงพลังที่เรามีอยู่ในตัวออกมาใช้ได้อย่างไร  เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพกับงานเรามากที่สุด  ซึ่งตอนนี้สิ่งที่ดิฉันคิดไว้ขั้นแรกคือจะต้องพยายามอ่านให้มาก  ฟังให้มาก  และหมั่นเสวนากับผู้รู้อยู่เสมอ  เพื่อเปิดโลกทัศน์ให้กว้างและทันต่อเหตุการณ์  เพราะทุกวันนี้ที่ยังไม่สามารถแข่งขันกับคนอื่นหรือหน่วยงานอื่นได้เป็นเพราะเราขาดความพร้อมในด้านข้อมูล รู้เกือบทุกเรื่องแต่ไม่รู้จริงสักเรื่องก็ไม่ต่างกับคนที่ไม่รู้อะไรเลย  ดังนั้นเราจึงต้องปรับปรุงตัวเองให้เป็นคนที่รู้ลึกและรู้จริง  อย่างน้อยก็เป็นการทำให้เราเป็นคนที่มีความน่าเชื่อถือมากขึ้น  ซึ่งหากเรามีความน่าเชื่อถือแล้ว  ผลที่ตามมาคือความไว้วางใจและการยอมรับจากผู้อื่น  ทำให้งานของเราบรรลุวัตถุประสงค์ได้ง่าย

             สิ่งที่จะนำมาพัฒนาลูกน้องก็ไม่ต่างกับพัฒนาตัวเราเอง  คือพยายามให้พวกเขาเป็นผู้ใฝ่รู้และรอบรู้  นอกจากนี้เรายังต้องศึกษาจุดแข็งที่มีอยู่ในแต่ละคนเพื่อดึงศักยภาพที่มีอยู่มาใช้และพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น  พยายามจัดให้มีการรวมกลุ่มกันเพื่อแลกเปลี่ยนแนวคิดและวิสัยทัศน์ใหม่ๆ เพราะบางครั้งพวกเขาอาจจะมีแนวคิดที่แปลกออกไปซึ่งเราเองก็คาดไม่ถึงแต่เป็นประโยชน์ต่องาน  ดังนั้นเราจึงอย่าไปปิดกั้นความคิดของพวกเขา  นอกจากนี้หากพวกเขามีส่วนทำให้งานประสบความสำเร็จ เราก็ต้องชื่นชมและแสดงความยินดีกับพวกเขาด้วย 

           2. เรื่องโลกาภิวัฒน์  เศรษฐศาสตร์มหภาค  และเศรษฐศาสตร์จุลภาค  เลือก 3 เรื่องที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของ สศก. ที่จะต้องเอาไปทำต่อ

               จากทั้ง 3 เรื่องหากจะนำมาประยุกต์และสร้างเป็นโครงการของ สศก. ในความคิดส่วนตัวของดิฉัน  มีดังนี้

               2.1 การศึกษาถึงผลกระทบของภาวะโลกร้อนที่มีต่อการผลิตและการส่งออกสินค้าเกษตรที่สำคัญของไทย

               2.2 การวิเคราะห์ผลกระทบจากการปลูกพืชพลังงานทดแทนที่มีต่อสต็อกของพืชอาหารในอีก 5 ปีข้างหน้า

               2.3 การศึกษาแนวทางการพัฒนาศักยภาพการเกษตรของไทยให้สามารถแข่งขันกับประเทศผู้ผลิตและส่งออกสินค้าเกษตรที่สำคัญ

                                                                     ปวีณา

นายธานินทร์ ทองกาล

เรียน อาจารย์ ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

ขอตอบการบ้านที่อาจารย์มอบหมาย ดังนี้

1. เรื่องผู้นำ

    1.1  มีอะไรบ้างที่จะนำไปทำต่อสำหรับตัวเอง

           -  ไฝ่หาความรู้อยู่เสมอ

           -  ลำดับความสำคัญก่อน - หลัง ก่อนลงมือปฏิบัติ

           -  สร้างคุณค่าให้ตัวเองและเป็นแบบอย่างในการทำงาน

           -  ทำงานเป็นทีม มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกัน

           -  ทำงานให้เต็มความสามารถ  ปรับทัศนคติต่องานและการทำงาน

  1.2  มีอะไรบ้างที่จะนำไปใช้กับลูกน้อง

           -  การทำงานเป็นทีม และรับฟังความคิดเห็น

           -  ถ่ายทอดความรู้ และปรับทัศนคติในการทำงาน

           -  พัฒนาจุดแข็งของแต่ละบุคคล และมอบหมายงานที่เหมาะสม

           -  สร้างบรรยากาศในการทำงานให้เป็นกันเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

2.  เศรษฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์มหาภาค และโลกาภวัฒน์ เลือกมา 3 ข้อที่ สศก. ควรนำไปศึกษาต่อ

        - ศึกษาผลกระทบและความเป็นไปได้ในการทำโซนนิงภาคการเกษตรโดยใช้เทคโนโลยีภูมิศาสตร์สารสนเทศ 

        - ศึกษาผลกระทบ ปัญหา และอุปสรรคใสการเปิดการค้าเสรีกับประเทศตะวันออกลาง แอฟริกา

        - ศึกษาความเป็นไปได้ ความคุ้มค่า และความยั่งยืนในการขยายพื้นที่เพาะปลูกพืชพลังงานทดแทน

 

 ธานินทร์  

 

เรียน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

    สำหรับ "การสร้างผู้นำรุ่นใหม่" ในวันที่ 4 สิงหาคม 2551 นี้นับว่าเป็นโอกาสของดิฉันที่ได้เข้ามาเรียนรู้ในครั้งนี้ เพราะแนวคิด หลักการและทฤษฎีที่ท่านอาจารย์ได้ถ่ายทอดนั้นมีความสำคัญกับทุกองค์กรหากนำไปประยุกต์และปรับใช้ได้จริง หากย้อนไป..บรรยากาศและแรงกดดันในห้องเรียนถือว่าเป็นเรื่องปกติ (..รับได้ทุกอย่าง..) แต่ต้องขอขอบพระคุณท่านอาจารย์ที่เน้น เรื่องพลังในตัวเรา ทำให้ดิฉันเหมือนได้ถูกกระตุ้นให้เกิดขึ้นมาอีก ซึ่งดิฉันจะตั้งปณิธานว่า จะไม่ให้พลัง..ลดน้อยถอยลง..อีกต่อไป

สำหรับเรื่องภาวะผู้นำ สิ่งที่จะเอาไปทำต่อ คือสร้างพลัง(Energy) ให้กับตัวเองอยู่ตลอดเวลา รักในงานที่และตั้งเป้าหมายว่าทำเพื่อเกษตรกร ซึ่งจะเป็นการผลักดันให้เกิดความกระตือรือร้นที่จะใฝ่รู้ในภารกิจของงานและฉับพลันต่อสถานการณ์ปัจจุบัน ตลอดจนมีทัศนคติที่ดีที่จะรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น

     สิ่งที่จะนำไปพัฒนาลูกน้อง คือ Energize สร้างเสริมให้บุคลากรในองค์กรให้มีพลังและแรงบันดาลใจที่จะทำงานและก้าวเดินไปพร้อมๆกันเพื่อเป้าหมายขององค์กร

     และส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ เพื่อสร้างความเข้มแข็งในการจัดการกับอุปสรรคต่างๆอย่างรวดเร็วและทันเหตุกรณ์

      โลกาภิวัฒน์ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของ สศก. ที่จะต้องเอาไปทำต่อ ดังนี้ 

       ปัจจุบันเรื่องระบบ IT องค์การต้องมีการพัฒนาให้ทันสมัยอยู่ตลอดเพื่อให้มีข้อมูลที่มีเอกภาพและเป็นปัจจุบัน อาจเกิดความเสี่ยงในเรื่องความพร้อมทางด้านทักษะความชำนาญของบุคลากร สศก. ควรต้องสร้างทีมผู้ชำนาญการระบบIT ที่มีศักยภาพ เพื่อถ่ายทอดให้กับบุคลากรที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ซึ่งความคุ้มค่าอย่างหนึ่งที่จะทำได้คือ ส่งทีมผู้ชำนาญการเข้าศึกษาเรียนรู้จากองค์กรภายนอกที่ประสบความสำเร็จ และนำองค์ความรู้นั้นมาถ่ายทอด คือเป็น การศึกษาความต้องการของบุคลากรในการพัฒนาองค์ความรู้ และทักษะการปฏิบัติงานด้านระบบ IT

เรียน อาจารย์ ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

1. เรื่องภาวะผู้นำ มีอะไรบ้างที่จะเอาไปทำต่อ และมีอะไรบ้างที่จะไปพัฒนาลูกน้อง

1.1 สิ่งที่จะนำมาทำต่อหลังจากการเรียนรู้ภาวะผู้นำคือ การสร้างใจให้รักองค์กร รักสิ่งที่ทำอยู่ว่าเพื่ออะไร และเพื่อใคร พิจารณาเป้าหมายในชีวิตการทำงานว่าต้องการให้วิถีการทำงานเดินทางในรูปแบบใด เมื่อตั้งสติและมีทิศทางการทำงานแล้ว ความอยากทำงานจะเกิด และเป็นแรงกระตุ้นให้เรารู้สึกสนุกกับการทำงาน สนุกที่จะเรียนรู้โลกให้กว้างขึ้น แต่ทั้งนี้และทั้งนั้นก็ขึ้นกับบรรยากาศการทำงานว่าอำนวยให้เราอยากเรียนรู้มากขึ้นหรือไม่ด้วย เมื่อบรรยากาศการทำงานสนุก การทำงานเป็นทีมก็จะเกิด การทำงานก็จะยิ่งสนุกมากขึ้นเมื่อมีคนเข้ามาแชร์ความคิดกันมากขึ้น โลกทัศน์ก็จะเปิดมากขึ้น ความสำเร็จของงานตามเป้าประสงค์ก็จะตามมา

1.2 สิ่งที่จะนำมาพัฒนาลูกน้องคือการสร้างความรู้สึกที่ดีให้กับเขา ให้เขารักในองค์กรและงานที่ทำ พยายามชี้นำให้ใฝ่หาความรู้เพิ่มเติม เพื่อพัฒนาศักยภาพของเขา และหากเราเล็งเห็นว่าเขามีศักยภาพด้านใด ก็ควรสนับสนุน เปิดโอกาสให้เขาได้แสดงความเห็น และชื่นชมในความคิดของเขา หรือช่วยสนับสนุนแนวคิดและอธิบายต่อยอดความคิดของเขา เพื่อให้เขาเกิดความรู้สึกดีๆ ในการได้ออกความคิดเห็น เปิดโอกาสให้ทำงานร่วมกับเราในบางงาน เพื่อสอนประสบการณ์งานที่ผ่านมา และรับรู้ถึงความสำเร็จร่วมกัน

2. โลกาภิวัฒน์ เศรษฐศาสตร์มหภาค และเศรษฐศาสตร์จุลภาค เลือกมา 3 เรื่องที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของ สศก. ที่จะต้องเอาไปทำต่อ

2.1 การศึกษาผลกระทบจาการทำ FTA เป็นตัวเร่งทั้งภาครัฐและเกษตรกร รับรู้ถึงปัญหาที่รอคอยการแก้ไขมายาวนาน ซึ่ง สศก.ได้มีส่วนช่วยบรรเทาปัญหาจากผลกระทบดังกล่าวโดยการจัดตั้งกองทุนปรับโครงสร้างขึ้นมา ทำให้เกษตรกรร่วมมือกับสหกรณ์และนักวิชาการ ร่วมกันวิเคราะห์ปัญหา และแนวทางแก้ไข ทำให้ทุกคนตระหนักถึงปัญหา และมีความจริงจังในการให้ความร่วมมือแก้ปัญหา

2.2 การศึกษาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงราคาน้ำมันต่อภาคเกษตร

2.3 การวิเคราะห์สัดส่วนพื้นที่การปลูกพืชพลังงาน และพืชอาหาร เพื่อ Food security

ดีมากเลยครับหลักสูตรนี้ ได้พัฒนาความรู้ ทักษะ และทัศนคติด้วย ถือเป็นเรื่องสำคัญมาเลยครับไม่ว่าจะองค์กรไหนๆ เสียดายที่ไม่ได้ร่วมเข้าฟังในหลักสูตรด้วยเพื่อนมาเล่าให้ฟังเลยมานั่งอ่าน รวมทั้งกระทู้ที่มีคนมาโพสไว้ ได้ควา่มรู้ดีครับ ผมทำงานในส่วนทรัพยากรมนุษย์ของบริษัทเอกชน หากมีข้อสงสัยใดๆ ในอนาคต จะขออนุญาตมาโพสถามทางนี้น่ะครับ ขอบคุณล่วงหน้าครับ

จากเพื่อนบุษฎีรมณ์ เขต 2

เพ็ญระวี บุตรแก้วแตง

เรียน อาจารย์ ดร.จีระ

สำหรับวันนี้ถือว่าเป็นโอกาสดีที่ได้เข้าร่วมการอบรมในครั้งนี้คะอาจารย์ ถึงแม้ว่าช่วงเช้าจะดู serious ไปบ้าง แต่ต้องถือว่าเป็นจุดเริ่มของการปรับเปลี่ยนทัศนคติของผู้เข้าอบรมให้เป็นไปในทิศทางเดียว และเข้าใจวัตถุประสงค์ของการอบรมคะ

เรื่องภาวะผู้นำที่จำทำต่อไป คือ การสร้างพลังให้กับตนเอง (Energy)โดยการเปิดโลกทัศน์ เรียนรู้ และรับรู้สิ่งใหม่ๆ เพื่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์และนำมาพัฒนางานที่ทำอยู่ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

สิ่งที่จะนำมาพัฒนาลูกน้อง คือ จุดประกายให้ลูกน้องสามารถสร้างพลังในการ ทำงาน ทำให้เกิดการร่วมแรงร่วมใจในการทำงานเป็นทีม มีการเรียนรู้วัฒนธรรมกลุ่มและพัฒนาองค์ความรู้ร่วมกัน เพื่อนำไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ ประสบความสำเร็จในการทำงานร่วมกัน

เรื่องโลกาภิวัฒน์ เศรษฐศาสตร์มหภาค และเศรษฐศาสตร์จุลภาค ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของ สศก. ที่จะต้องเอาไปทำต่อ คือ

1. ศึกษาความต้องการสินค้าเกษตรของตลาดในประเทศตะวันออกกลาง

2. ศึกษาแนวทางการพัฒนาพืชพลังงานทดแทน เพื่อรองรับการขาดแคลนพลังงานในอนาคต

3. ศึกษาผลกระทบจากภาวะโลกร้อน ที่มีต่อการผลิตสินค้าเกษตรของประเทศไทย

นายยุทธชาติ วงศ์ประทุม (สศข.5)

เรียน อาจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

จากการได้รับการอบรมในวันนี้มีการที่ได้รับมอบหมาย จึงขอส่งงานครับ

ข้อ 1. จากการที่ผมได้มาเข้ารับการอบรมในครั้งนี้ทำให้เกิดแนวความคิดใหม่ๆและเป็นประโยชน์ต่อตัวเองและองค์กรหรือหน่วยงานอย่างมาก ถึงแม้ว่าในช่วงแรกๆจะยังไม่เข้าใจหรือยังไม่ได้เปิดใจยอมรับสิ่งที่ได้รับพอได้ฟังและสัมผัสแล้วทำให้รู้สึกว่าสิ่งที่เราได้รับนั้นเป็นประโยชน์แก่เราและองค์กรในปัจจุบันและอนาคตอย่างสูงสุดและเพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุดสิ่งที่ผมจะนำไปสานต่อก็คือ การสร้างคุณค่าให้กับตัวเอง ซึ่งบางคนอาจจะยังมองไม่เห็นว่าตัวเองมีคุณค่าอะไร อาจจะดูถูกตัวเองว่าไม่มีคุณค่าหรือไม่มีศักยภาพ แต่ในความเป็นจริงแล้วมนุษย์ทุกคนมีคุณค่าในตัวของมันเองอยู่ที่ว่าเราจะค้นพบหรือนำออกมาใช้ให้เกิดประโยชน์หรือเปล่าเท่านั้นเอง การที่เราจะรู้ว่าตัวเรามีคุณค่านั้นก็ต้องมีพลังหรือตัวกระตุ้นที่ค่อยให้เกิดความใฝ่รู้กับแนวความคิดใหม่ๆ ซึ่งพลังก็มาจากร่างกายและจิตใจของเรานั้นเอง เมื่อเรามีพลังพร้อมที่จะยอมรับเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมใหม่ก็จะส่งผลให้ตัวเรามีคุณค่าและมีความพร้อมที่จะแสดงศักยภาพที่อยู่ในตัวเราออกมาให้คนอื่นเห็น และเราก็จะเกิดความภาคภูมิใจในตัวเราทำให้เรามีภาวะจิตใจที่ดีแล้วทำให้เกิดการทำงานที่มีความสุขเพลิดเพลินกับงานที่เราได้รับมอบหมายส่งผลให้งานที่ได้ออกมามีประสิทธิภาพ

ข้อ 2. จากข้อ 1 ก็สามารถเชื่อมโยงมาถึงผู้ร่วมงานหรือลูกน้อง คือ เมื่อเรามีคุณค่าในตัวเองเราหรือค้นพบคุณค่าในตัวเองแล้วสิ่งที่จะตามมาก็คือ การเป็นตัวแบบที่ดีหรือเป็นผู้นำที่ดีต่อผู้ใต้บังคับบัญชา และสิ่งที่เราสามารถจะพัฒนาผู้ร่วมงานกับเราก็คือ การกล้าคิด กล้าแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนั้น ทำให้ได้แนวความคิดที่หลากหลายและนำความคิดนั้นมาปรับประยุกต์ใช้กับหน่วยงานของเราได้ จากการที่เราได้แนวความคิดที่หลากหลายจากเพื่อนร่วมงานหรือลูกน้องนั้น ก็มาจากเพื่อนร่วมงานเราเกิดการทำงานเป็นทีมประสานแนวความคิดที่เป็นประโยชน์ต่อองค์การทำให้เกิดการยอมรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็ล้วนเป็นส่วนหนึ่งของผู้นำที่ดี

ข้อ 3. จากการที่ได้รับฟังการอบรมเรื่องโลกาวิวัฒน์,เศรษฐศาสตร์มหภาคและเศรษฐศาสตร์จุลภาค นั้น สิ่งที่สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ซึ่งเป็นหน่วยที่ดำเนินการเกี่ยวกับข้อมูลทางการเกษตรเป็นหลักเพื่อนำไปพัฒนาเกษตรกรให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นกว่าเดิมนั้น เพื่อการทำงานของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรให้มีประสิทธิภาพสำนักงานฯควรมีการศึกษาศักยภาพของบุคลากรในสำนักงานว่าบุคลากรท่านใดมีความรู้หรือความถนัดในด้านใดก็มอบหมายงานที่เขาถนัดให้รับผิดชอบซึ่งจะเกิดการกระจายงานและการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุดและเมื่อมีการมอบหมายงานที่เขาถนัดแล้วเขาก็จะเกิดการทำงานที่อย่างมีความสุขไม่มีความวิตกกังวลกับงาน เมื่อเรามีความสุขแล้วการทำงานหรือการเกิดความคิดใหม่ๆก็จะเกิดขึ้นทำให้มองออกว่าเราต้องทำอะไรก่อนหลัง อะไรสำคัญ อะไรไม่สำคัญ เกิดการเรียนรู้งานจาก ใหญ่ (สำคัญ ) ไปหางานที่น้อย (สำคัญน้อยกว่า) ถ้านำหลักเศรษฐศาสตร์มาใช้ก็เปรียบได้กับการมองตามหลักเศรษฐศาสตร์มหภาคไปสู่เศรษฐศาสตร์จุลภาค ซึ่งการทำงานแบบเป็นขั้นเป็นตอนและเป็นระเบียบแบบแผนนี้ทำให้ง่ายต่อการบริหารและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ที่ได้รับ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ตรงวัตถุประสงค์”และง่ายต่อการตรวจสอบหรือประเมินผลว่าสิ่งที่ทำนั้นบกพร่องตรงจุดไหนหน่วยงานไหนขั้นตอนไหน ทำให้การแก้ปัญหาสะดวกและรวดเร็วซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรก็คือ ข้อมูลที่ทันสมัยมีความถูกต้องแม่นยำสูงหรือมีความผิดพลาดน้อยที่สุดพร้อมที่นำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในการพัฒนาระดับรากหญ้าหรือระดับชาติต่อไป

เรื่องที่เกี่ยวกับโลกาวิวัฒน์ ที่สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรควรศึกษาและเข้าไปมีส่วนร่วมก็คือการศึกษาศักยภาพของพื้นที่ปลูกพืชพลังงานทดแทนและอุปสงค์และอุปทานของพืชพลังงานทดแทน

อิศราภรณ์ ชัยกุณา (สศข.5)

เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

จากการได้รับการอบรมในวันนี้มีงานที่ได้รับมอบหมาย จึงขอส่งงานคะ

ข้อ 1. ชีวิตก่อนหน้านี้ก็เหมือนการเดินทางไปตามทางเดินที่ราบเรียบเส้นทางที่มีคนปูทางเดินให้ ไม่เคยคิดว่าข้างหน้าจะมีอะไรอยู่และจะสิ้นสุดการเดินทางเมื่อไหร่ แต่เมื่อได้มาเข้า course อบรมกับอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ก็ดูเหมือนว่าการเดินทางเดินทางนั้นมีคนมากระตุกหลังให้หยุดเดินก่อนแล้วลองถามตัวเองว่า “เราจะเดินทางไปไหน ไปทำไม ไปทำอะไร เพื่ออะไร” คำถามเหล่านี้ก็เกิดขึ้นในใจ ทำให้รู้ว่าตัวเองไม่เคยมีเป้าหมายในชีวิตเลย ไม่เคยมองอนาคตว่าคืออะไร ไม่เคยแสวงหาความเป็นไปได้ ทำให้ตนเองขาดพลัง แต่ท่านอาจารย์บอกว่าผู้นำสร้างได้ด้วยการเรียนรู้และฝึกฝน วันนี้รู้สึกมีแนวคิดใหม่เกิดขึ้นว่าเราควรมองหาคุณค่าของตัวเองให้เจอแล้วลงมือฝึกฝนเพื่อให้ตัวเราก้าวออกมาจากกรอบชีวิตเดิมๆและใช้ศักยภาพของตัวเราให้เต็มที่

ข้อ 2 . การเป็นต้นแบบที่ดี ถือว่าเป็นเบ้าหลอมที่ดีให้กับน้องๆ ที่มาที่หลัง การับฟังและเปิดใจให้ทุกคนได้แสดงความคิดเห็นจะเป็นการสร้างพลังให้เกิดขึ้นกับทุกคนและเป็นจุดเริ่มต้นของการทำงานเป็นทีมเป็นการสร้างภูมิความรู้ให้กับทีมงาน

ข้อ 3. ในฐานะที่สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เป็นเสนาธิการของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นผู้นำด้านข้อมูล เพราะฉะนั้นข้อมูลที่ได้จะต้องถูกต้อง รวดเร็วและนำไปใช้ได้จริง เพื่อให้เกิดประโยชน์กับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกร การได้มาซึ่งข้อมูลที่ถูกต้อง รวดเร็วนั้น ซึ่งปัจจุบันสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรก็มีเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆเหล่านั้นยังไม่ถูกใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดได้ เนื่องจากผู้ใช้ยังขาดความรู้และความเข้าใจใส่ต่อสิ่งเหล่านี้อยู่ ฉะนั้นจึงต้องพัฒนาทุนมนุษย์ให้มีความรู้ ความสามารถทันต่อการใช้เทคโนโลยีด้วย

นุชรัตน์ แสงแก้ว (สลก.)

เรียน อาจารย์ ดร.จีระ

          ฟังอาจารย์พูดวันนี้ ทำให้เราต้องกลับมามองตัวเองใหม่ ว่าที่ผ่านมาเราทำงานไปเพื่ออะไร ได้อะไรบ้าง ทำประโยชน์อะไรให้กับเกษตรกรหรือผู้ใช้ข้อมูลของ สศก. บ้าง คำตอบที่ได้คือ เราต้องมองให้รอบ ๆ ทุกด้าน ทุกทาง สำหรับตัวเองจะพยายามเปิดโลกทัศน์ให้กว้าง ฟังให้เข้าใจ อย่าผ่าน ๆ ไป เหมือนที่อาจารย์บอก เรารู้แต่รู้ไม่จริง

          ส่งการบ้านค่ะ

          1.เรื่องภาวะผู้นำ

             1.1 มีอะไรบ้างที่จะเอาไปทำต่อ หาพลัง (Energy)ให้ตัวเอง แล้วทำให้ผู้ร่วมงานมีพลัง(Energize)แล้วร่วมกันทำงานไปด้วยกัน ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็จะทำงานชิ้นนั้น ๆ ให้สำเร็จ(Execution)

             1.2 มีอะไรบ้างที่จะไปพัฒนาลูกน้อง ต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้ลูกน้อง อย่ามองว่าเขาเป็นลูกน้อง ให้มองว่าเขาเป็นผู้ร่วมงานของเรา ให้เกียรติและชมเชยลูกน้องเมื่อเขาทำงานดีหรือช่วยเราทำงาน

          2. เรื่องโลกาภิวัตน์ เศรษฐศาสตร์มหภาคและเศรษฐศาสตร์จุลภาค เลือก 3 เรื่องที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของ สศก.ที่จะต้องเอาไปทำต่อ

             2.1 การศึกษา เรื่องพลังงานทดแทนเพื่อผลิตน้ำมันไบโอดีเซล

             2.2 ศึกษาถึงการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน

             2.3 ศึกษาถึงต้นทุนการใช้พลังงานทดแทนของเกษตรกร นุชรัตน์

กุลธิดา ศรีวิพัฒน์(สศข.1)

เรียน ศ.ดร.จิระ หงส์ลดารมภ์

จากการได้รับการอบรมในวันนี้มีงานที่ได้รับมอบหมาย จึงขอส่งงานคะ

1. เรื่องภาวะผู้นำ

หลังจากที่ได้เรื่องรู้ในเรื่องของภาวะการเป็นนำแล้ว หากกลับไปสำนักงาน สิ่งที่จะต้องทำต่อไป คือ การสร้างความเชื่อมั่นและศรัทธาให้ตนเอง รวมทั้งปรับทัศนคติในการการทำงาน เพราะ หากเรามีความเชื่อมั่นและศรัทธาในตัวตนของตัวเอง และเชื่อมั่นในสิ่งต่างๆที่เราทำว่าเป็นสิ่งที่ดีถูกต้องและเป็นประโยชน์ต่อทั้งตนเองและส่วนรวมแล้ว เราก็จะเกิดกำลังใจและมีความมุ่งมั่นที่จะก้าวไปเป็นผู้นำที่ดีและเก่งในอนาคตได้

และหากในอนาคตมีลูกน้องสิ่งที่จะต้องนำไปพัฒนาและปรับใช้กับลูกน้องก็คือ จะต้องรู้จักรับฟังความคิดเห็นของลูกน้องและเปิดโอกาสให้ลูกน้องได้แสดงออกถึงความสามารถอย่างเต็มที่ และเชื่อมั่นในความสามารถเขา จะให้ทำงานเป็นกันทีม มีการshareความรู้กันเพราะเชื่อว่าแต่ละคนรู้ไม่เหมือนกันและเก่งไม่เท่ากัน และที่สำคัญจะให้ความรักความเอาใจใส่รวมถึงให้โอกาสแก่ลูกน้องในด้านต่างๆ โดยเฉพาะในเรื่องของทุนความรู้

2. เรื่อง โลกาภิวัฒน์ เศรษฐศาสตร์มหภาค เศรษฐศาสตร์จุลภาค

สำหรับ 3 เรื่องที่คิดว่าจะเกี่ยวข้องกับ สศก. ที่น่าที่จะนำไปศึกษาก็คือ

2.1 บทบาทของจีน อินเดีย และละตินอเมริกา

2.2 Global warming และภัยธรรมชาติ

2.3 เรื่อง พืชพลังงานทดแทน

ซึ่งคิดว่าทั้ง 3 เรื่องเป็นสิ่งใกล้ตัวและน่าศึกษามากที่สุด อย่างบทบาทของจีน อินเดีย รวมถึงละตินอเมริกา คิดว่าเป็นสิ่งที่ท้าทายน่าศึกษาว่าทำไมประเทศเหล่านี้จึงกลายมาเป็นประเทศมหาอำนาจภายในเวลาอันรวดเร็ว ซึ่งแม้แต่สหรัฐอเมริกายังต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ

Global warming และภัยธรรมชาติ ในปัจจุบันเรื่องของการภาวะโลกร้อนและภัยธรรมชาติกำลังเป็นปัญหาใหญ่ที่ทั่วโลกต่างให้ความสนใจ และหาทางแก้ไขปัญหา ซึ่งในส่วนของสศก คงเกี่ยวข้องกับเกษตรกร ผลผลิตในด้านการเกษตร ซึ่งเราจะช่วยแก้ไขปัญหาในเรื่องเหล่านี้อย่างไรเพื่อไม่ทำให้เกษตรกรบอบช้ำมากกว่าเดิม

เรื่องพืชพลังงานทดแทน ปัจจุบันปัญหาในเรื่องของราคาน้ำมันที่สูงขึ้นและไม่แน่นอนทำให้หลายฝ่ายต่างหันมาสนใจในเรื่องของพลังงานทดแทนกันมากขึ้น ซึ่งในด้านการเกษตร จะมีทรัพยากรมากมายที่สามารถทำมาผลิตเป็นพืชพลังงานทดแทนได้ในอนาคต

กุลธิดา ศรีวิพัฒน์

เรียน ศ.ดร.จิระ หงส์ลดารมภ์

1 ในเรื่องภาวะผู้นำมีอะไรบ้างที่คุณจะไปทำต่อ

ศึกษาตัวเองว่ามีจุดแข็ง จุดอ่อนอย่างไรบ้าง และปรับเปลี่ยนตนเองให้เป็นคนรักการอ่านเป็นคนใฝ่รู้ ให้มีความรอบรู้ มีเป้าหมายที่ชัดเจน ชอบการทำงานเป็นทีม รับฟังความคิดเห็นของทีมงาน ใช้หลักคุณธรรม จริยธรรม และแสดงออกในความรู้ ความสามารถที่ตนเองมี เพื่อให้เพื่อนร่วมงานเกิดความเชื่อมั่นในตัวเราและกล้าตัดสินใจที่จะมุ่งไปสู่เป้าหมาย ความสำเร็จ

2 อะไรที่จะไปพัฒนาลูกน้อง

หากในอนาคตมีลูกน้อง จะถ่ายทอดความรู้ที่มีอยู่ให้เค้าเข้าใจ ให้เค้ามีความอยากรู้ หรือรอบรู้ ให้มีความรักและศรัทธาในองค์กร ให้เค้าเกิดความร่วมมือในการทำงานและแบ่งความรับผิดชอบหรือกระจายอำนาจให้เค้าด้วย ให้เค้ามีความรู้สึกว่าเค้าคือกำลังสำคัญที่จะผลักดันองค์กรให้ไปสู่ความสำเร็จ เอาใจใส่ให้เค้ามีความกินดี อยู่ดี

3 โลกาภิวัฒน์ เศรษฐศาสตร์มหภาค เศรษฐศาสตร์จุลภาค เลือกมา 3 เรื่อง ที่เกี่ยวกับสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่จะต้องเอาต่อไป

1 ผลกระทบ FTA แก้ไขอย่างไร

2 พืชพลังงานทดแทน

(โดยการผลิตพืชทดแทนพลังงานแล้วจะส่งผลทำให้พืชอาหารลดลงหรือไม่)

3 ราคาปัจจัยการผลิตสูงขึ้น แก้ไขอย่างไร

สมฤทัย วรรณมาโส

เรียน ศ.ดร.จิระ หงส์ลดารมภ์

เรื่องภาวะผู้นำ

สิ่งที่ท่านอาจารย์ ศ.ดร.จิระ ได้สอนเรื่องภาวะผู้นำในวันนี้ ทำให้เราต้องหันกลับมามองตัวเองว่า เรามีศักยภาพ ความรู้เพียงพอและรู้จริงแค่ไหน สิ่งที่รู้สามารถก่อให้เกิดประโยชน์ได้ ดังนั้นการมีภาวะผู้นำ ไม่ใช่ของง่าย ไม่ใช่พรสวรรค์ แต่ฝึกฝนได้

- สิ่งที่เราต้องทำต่อไป คือ การสร้าง ความอยาก อยากรู้ อยากเห็น อยากทำ เพิ่มไฟให้กับตัวเอง สร้างพลังและความเชื่อว่า เราทำได้ เรามีความสามารถ ทีมทำได้ ไว้ใจเชื่อใจกันและกัน ทุกคนมีความสามารถ share ความรู้กัน จากพื้นฐานความรู้ที่ต่างกันทำให้เราได้รู้สิ่งใหม่ ๆ ความคิดริเริ่มใหม่ ๆ ที่เราไม่รู้ อีกทั้งต้องฝึกฝนตัวเองให้รักในการอ่าน คนที่รักการอ่านจะเป็นคนที่รู้กว้าง สามารถมองสิ่งต่าง ๆ ได้ดี มีเสน่ห์

- หากในอนาคตมีลูกน้อง สิ่งที่จะนำไปพัฒนาลูกน้อง คือ ถ่ายทอดสิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้ ให้ลูกน้องทราบและนำไปปรับใช้ในการทำงาน เห็นใจเอาใจเขามาใส่ใจเราและยอมรับฟังความคิดเห็นของลูกน้อง

เรื่อง โลกาภิวัฒน์ เศรษฐศาสตร์มหภาค เศรษฐศาสตร์จุลภาคที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของ สศก.ที่จะทำต่อไป คือ

1. พืชพลังงานทดแทน เนื่องจากวิกฤตการณ์ราคาน้ำมันที่สูงขึ้น และในอนาคตอาจจะหมดไป ทำให้เราต้องให้ความสนใจในพืชพลังงานทดแทนมากขึ้น เช่น ปาล์มน้ำมัน สบู่ดำ แต่ก็ต้องคำนึงเรื่องพืชพลังงานอาจเข้าไปรุกพื้นที่พืชอาหาร ซึ่งในอนาคตอาจทำให้เราต้องซื้อข้าวในราคาแพงขึ้น

2. การค้าเสรี WTO, FTA ศึกษาศักยภาพของสินค้าเกษตรให้สามารถแข็งขันในตลาดโลกได้

3. ศึกษาวิจัยพืชเศรษฐกิจที่สำคัญเพื่อเป็นทางเลือกให้กับเกษตรกร

น.ส.ปวริศา ศิริกุล

เรียน ศ.ดร.จิระ หงส์ลดารมภ์

เรื่องภาวะผู้นำ

สิ่งที่เราต้องทำต่อไป

- การพัฒนาตนโดยการ สร้างพลังให้กับตนเอง การศึกษาหาความรู้ ใฝ่รู้ สร้างศักยภาพให้กับตนเอง เปิดโลกทัศน์ เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจให้ตนเอง ให้เป็นที่ยอมรับต่อเพื่อนร่วมงานและสังคม

สิ่งที่เราต้องนำไปพัฒนาลูกน้องต่อไป

- การให้ความสำคัญ เปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น เป็นแรงผลักดันส่งเสริมให้ลูกน้องให้มีความก้าวหน้า ดูความรู้ความสามารถ ความถนัดโดยพัฒนาคนให้เหมาะสมกับลักษณะงาน สร้างบรรยากาศที่ดีให้กับเพื่อนร่วมงาน สร้างแรงจูงใจ และให้เพื่อนร่วมงานมีทัศนคติที่ดีต่องานที่ทำ และเพื่อนร่วมงาน

ความสำคัญเรื่อง โลกาภิวัฒน์ เศรษฐศาสตรีส่วนร่มาค เศรษฐศาสตร์จุลภาคที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของ สศก.ที่จะทำต่อไป คือ

1 การใช้เทคโนโลยีในการสำรวจโดยใช้ภาพภ่ายดาวเทียมมาใช้ในการสำรวจข้อมูลเนื้อที่เพาะปลูกพืช เช่น การสำรวจพื้นที่ปลูกยางพารา โดยผลการสำรวจสามารถนำมาคาดการณ์ผลผลิตยางพาราในอนาคตได้ ในการวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์ผลิตและผลผลิตในอนาคตผลผลิตยางพาราจะออกสู่ตลาดมาก จะเป็นแนวทางให้ภาครัฐเพื่อที่จะนำไปเป็นมาตรการในการแก้ปัญหาผลผลิตล้นตลาดให้มีการผลิตใช้ในประเทศให้มากขึ้นเพื่อเป็นการลดการพึ่งพาการส่งออก

2 การใช้เทคโนโลยีการผลิต โดยมีการถ่ายทอดการเรียนรู้และฝึกเกษตรกรให้สามารถผลิตปุ๋ยอินทรีย์ใช้เอง เพื่อทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมีเป็นการลดต้นทุนการผลิตให้กับเกษตรกร

3 การศึกษาพืชพลังงานทดแทน เนื่องจากราคาน้ำมันมีราคาสูง มีพืชหลายตัวเช่น สบู่ดำ ปาล์มน้ำมัน มาผลิตเป็นพืชพลังงานทดแทนได้

กรรณิกา บุญชิต [email protected]

เรียน อาจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

การมีโอกาสได้เข้ารับการอบรมจากอาจารย์ในวันนี้ ถือเป็นสิ่งที่ดีที่ชีวิตได้รับอีกครั้งหนึ่งค่ะ และขอส่งงานที่ได้รับมอบหมายในวันนี้ ดังนี้ค่ะ

1. เรื่องผู้นำ

1.1 สิ่งที่จะนำไปทำต่อสำหรับตัวเอง คือ เริ่มจากการสำรวจศักยภาพด้านความรู้ของตัวเอง โดยดูว่าตัวเองมีการศักยภาพความรู้พอเพียงหรือไม่ รู้จริงและรู้ลึกเพียงใด แล้วพยายามปรับปรุงตนเองเพื่อให้เกิดคุณค่า (Value) เพราะเมื่อตนเองเชื่อมั่นว่าตัวเองมีคุณค่าแล้ว จะเกิดพลัง (Energy) ความมุ่งมั่นในการพัฒนาตนเอง และสร้างสรรค์งานให้มีประสิทธิภาพต่อไป พร้อมทั้งมั่นใจในการแสดงศักยภาพของตนเองให้ผู้อื่นประจักษ์

1.2 สิ่งที่จะนำไปพัฒนาลูกน้อง คือ ส่งเสริมให้เกิดการทำงานเป็นทีม และเสริมสร้างให้ลูกน้องมีความรักและความผูกพันต่อองค์กรของตนเอง เพราะความรักความผูกพันที่มีต่อองค์กรจะทำให้เกิด Execution รวมถึงการส่งเสริมจุดแข็งที่แต่ละคนมี และพัฒนาจุดอ่อนที่ยังเกิดขึ้น

2. เรื่อง โลกาภิวัฒน์ เศรษฐศาสตร์มหภาค เศรษฐศาสตร์จุลภาค ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของ สศก.ที่จะทำต่อไป คือ

2.1 การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีทางการเกษตรที่สอดคล้องกับภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยเน้นการไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีดังกล่าวไปสู่เกษตรกร เพื่อให้เกษตรกรสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับวิถีชีวิตของตนเองได้ เพื่อลดต้นทุนการผลิตและปรับปรุงคุณภาพสินค้าเกษตร

2.2 การศึกษาผลกระทบของภาวะโลกร้อนที่มีต่อการผลิตพืชแต่ละชนิด แล้วนำมาวางนโยบายสำหรับแก้ไขต่อไป

2.3 การศึกษาเรื่องพืชทดแทนพลังงาน ซึ่งควรมีการศึกษาเปรียบเทียบระหว่างการปลูกพืชทดแทนพลังงานกับพืชอาหารในแต่ละพื้นที่ โดยศึกษาวิเคราะห์ศักยภาพความเหมาะสมของดินและปัจจัยอื่นๆ แล้วนำมากำหนดเป็นเขตการเพาะปลูกพืชแต่ละชนิด (Zoning) ต่อไป เพื่อป้องกันมิให้มีการปลูกพืชที่ไม่เหมาะสมกับพื้นที่ และรักษาพื้นที่ปลูกพืชอาหารสำหรับการบริโภคภายในประเทศ

น.ส. รุ่งสิรินธร เสงี่ยมวิบูล

เรียน อาจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

1. ฝึกให้มีพลังทั้งร่างกาย และจิตใจ มีเป้าหมาย ตั้งเป้าหมาย และหาวิธีที่จะไปให้ถึงเป้าหมาย ใฝ่เรียนรู้ หาความรู้ใหม่ๆ ใส่ตัว พัฒนาตัวเองตลอดเวลา ไม่หยุดนิ่ง

2. ส่งเสริมให้ลูกน้องได้พัฒนาตัวเอง ให้มีการทำงานเป็นทีม เปิดโอกาสให้ลูกน้องได้แสดงความคิดเห็น มอบหมายงานให้ตรงกับความสามารถของลูกน้อง

3. ยกตัวอย่าง ในกรณีที่ประเทศหนึ่งเกิดภาวะ Over demand ในสินค้าชนิดหนึ่ง ก็จะมีการนำเข้าสินค้านั้นจากต่างประเทศ เพื่อรองรับความต้องการบริโภคสินค้าชนิดนั้น โดยตามทฤษฏีเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ ประเทศที่มีต้นทุนการผลิตสินค้าใดๆ ต่ำกว่าโดยเปรียบเทียบจะทำการผลิตสินค้าชนิดนั้น และทำการส่งออกไปยังต่างประเทศ

เรียน ศ.ดร.จิระ หงส์ลดารมภ์

1 ในเรื่องภาวะผู้นำมีอะไรบ้างที่คุณจะไปทำต่อ

การพัฒนาตนให้เป็นคนรู้รอบ รู้จริง พูดถึงคุณค่าของตัวเองให้ชัด ปฏิบัติตามคุณค่านั้น มีพลังในการคิดนอกกรอบ เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในทางที่ดี และมุ่งมั่นไปสู่ความสำเร็จ ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นก็ตาม

2.เรื่องผู้นำมีอะไรบ้างที่จะะนำไปพัฒนาลูกน้องต่อ

จุดประกายการสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกัน โดยมองว่าอนาคตคืออะไร แสวงหาความเป็นไปได้ ดึงความเป็นเลิศของผู้ร่วมงาน ด้วยการแสวงหาความร่วมมือ พัฒนาจุดแข็งของคนอื่น และกระจายอำนาจให้ผู้อื่น ยอมรับความสำเร็จของผู้อื่นและยกย่องผู้อื่นอย่างจริงใจ

3.โลกาภิวัฒน์ 3 เรื่อง ที่เกี่ยวข้องกับสศก. ที่ต้องทำต่อ

- การค้าเสรี WTO FTA เศรษฐกิจยุคใหม่ บทบาทของ internet and web service

- บทบาทของจีน อินเดีย

- มหันตภัยต่างๆ จากการเปลี่ยนแปลงของโลก เช่น ภาวะโลกร้อน

นาวสาวณิริศพร มีนพัฒนสันติ

เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

จากเรื่องภาวะผู้นำที่ อ.จีระ ได้สอนพวกเราไป สิ่งที่ อ. ถามพวกเราทั้ง 3 ข้อ ได้กลับมาคิดและพบว่าสิ่งที่อยากจะทำมี ดังนี้

สิ่งที่คิดว่าอยากจะไปทำต่อไปในส่วนของตนเอง คือ

-เรียนรู้ตนเอง มองกลับเข้าหาตัวเองว่าจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส รวมถึงเป้าหมายในชีวิตที่อยากทำจริงๆว่าคืออะไรบ้าง

-เรียนรู้และใส่ใจบุคคลรอบข้างให้มากขึ้น

-ฝึกเรื่องการคิดบวก เรื่องการตัดสินใจบางเรื่องให้ได้ด้วยตนเอง มีจุดยืนของตนเองได้

-อยากศึกษาทางจิตวิทยาในเรื่องทักษะการคิด อ่านใจคน การควบคุมอารมณ์กลัว และศิลปในการโน้มน้าวใจและชี้แนะและหลักธรรม ที่นำมาปรับใช้และรู้จักการปล่อยวางบ้าง

-ส่วนด้านความรู้อยากที่จะฝึกเรื่องของภาษาอังกฤษเพราะสมัยเรียนไม่ชอบวิชาภาษาอังกฤษเลยจึงไม่ค่อยตั้งใจเรียนทั้งๆ ที่อยากจะพูดได้ฟังได้มากๆ

ส่วนสิ่งที่อยากจะนำไปพัฒนาลูกน้อง คือ

-ส่งเสริมแรงกระตุ้นภายในให้มีทัศนคติที่ดี คิดนอกกรอบ เปิดกว้างทางความคิด ตระหนักในคุณค่าของตนเพราะความคิดเป็นพื้นฐานทั้งหมดของการกระทำที่ส่งผลออกมา

-ดึงจุดเด่น แก้ไขจุดด้อยของแต่ละคนให้ได้

-รักและเคารพในวัฒนธรรมองค์กร แต่ไม่ยึดติดกับวัฒนธรรมเดิมๆที่ไม่พัฒนา

-กฎระเบียบวินัย และเสมอต้นเสมอปลาย

-การรู้จักแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

-การประสานงาน ความสามัคคี และความเชื่อใจกัน

-ส่งเสริมและให้กำลังใจอย่างสม่ำเสมอ

สำหรับเรื่องที่ทาง สศก. น่าจำทำวิจัยได้ในอนาคต คือ

1.เรื่องของนโยบาย และมาตรการช่วยเหลือ สนับสนุนการทำเกษตรอินทรีย์เพื่อบรรเทาความยากจนให้เกษตรกร เนื่องจากการผลิตอาหารอินทรีย์ส่วนใหญ่ในปัจจุบันเกษตรกรต้องเผชิญกับปัญหากระบวนการที่เคร่งครัด และค่าใช้จ่ายสูงเพื่อให้ได้มาตรฐานตามเอกสารรับรองรวมไปถึงค่าเอกสารรับรองแต่ละปีที่ต้องจ่ายเพื่อให้ได้มาตรฐานตามกฎ ยิ่งเกษตรกรรายย่อยจึงรับภาระไม่ไหว สินค้าเกษตรอินทรีย์จึงมีแน้วโน้มลดตัวลง

2.การพัฒนา บริหารจัดการเส้นทางระบบโลจิสติกส์ เพื่อศึกษา ปรับระบบการผลิต รูปแบบการตลาด ค้นหาเทคนิควิศวกรรม เทคโนโลยีใหม่ๆ ในการขนย้ายสินค้า ให้มีความปลอดภัย น่าเชื่อถือ เพิ่มมูลค่าสินค้าทางการเกษตรให้แข่งขัน ทัดเทียมตลาดโลกได้

3.การศึกษาเรื่องของพืชพลังงานว่าจะมีผลตอบแทนด้านต่างๆ อย่างไร ในระยะยาว ตัวเกษตรกรเองมีรายได้เพิ่มขึ้น แรงงานภาคเกษตรเป็นอย่างไร แต่จะมีผลกระทบระยะยาวต่อความมั่นคงทางอาหารโลก การผลิตอาหารหรือไม่ และมีผลระบบนิเวศน์สิ่งแวดล้อมให้เสื่อมลงหรือไม่

ขอบคุณอาจารย์สำหรับ แรงกระตุ้นที่ทำให้ผมมีความรู้สึกว่า ผมมีศักยภาพในการพัฒนาและสามารถเป็นผู้นำที่ดีได้

สำหรับสิ่งที่ผมจะต้องเรียนรู้ในเรื่องผู้นำ คือเรื่อง การคิดแบบยุทธศาสตร์ การวางแผนและการแก้ปัญหา และสำหรับเรื่องที่จะต้องพัฒนาลูกน้อง ผมเห็นว่า การสร้างทีม โดยการสร้างแรงจูงใจ เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด รวมถึงการคิดแบบ win/win จะสามารถทำให้ การทำงานบรรลุวัตถุประสงค์ได้เป็นอย่างดี และมีประสิทธิภาพ สูงสุดครับ

นางสาวกาญจนา มาลัยกฤษณะชลี

เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

1. เรื่องผู้นำ มีอะไรบ้างที่คุณจะนำไปทำต่อ

จากการอบรมเรื่องการเป็นผู้นำในวันนี้ ทำให้ดิฉันได้ข้อคิดในการที่จะนำไปปฏิบัติต่อ เพื่อเสริมสร้างภาวะการเป็นผู้นำให้กับตนเอง สรุปได้หลายข้อ หลายปัจจัย อาทิ

1) การเสริมสร้างพลังให้กับตนเอง โดยการหันกลับมามองและเรียนรู้ที่ตนเองก่อน ว่า

ตนเองมีศักยภาพในด้านใดบ้าง อะไรที่สามารถมองเห็นได้อย่างเด่นชัด และอะไรที่ยังดูเหมือนซ่อนเร้นอยู่ภายในแต่สามารถส่งเสริมทำให้โดดเด่นขึ้นมาได้ การกลับมามองและทำความรู้จักกับตนเองน่าจะเป็นจุดสำคัญที่สามารถชี้ให้เราเห็นได้ว่า เราควรพัฒนาส่งเสริมตนเองในเรื่องใด มากน้อยเพียงใด อันจะเป็นปัจจัยในการกระตุ้นตนเองและเสริมสร้างให้เกิดพลัง (Energy) ขึ้นมาในทางที่เราสนใจและถนัด การปรับปรุงในส่วนที่ยังซ่อนเร้นให้ดูโดดเด่นขึ้นมา หรือแม้แต่การปรับปรุงในสิ่งที่ดูเหมือนจะเป็นข้อด้อยให้อยู่ในสภาวะที่ยอมรับได้ สิ่งเหล่านี้น่าจะเป็นปัจจัยในการกระตุ้นพลังในตนเอง เสริมสร้างแรงจูงใจ และความมั่นใจในการจะเป็นผู้นำ ทั้งยังจะเป็นแบบอย่างให้แก่บุคคลอื่นทั้งในระดับเดียวกันและต่ำกว่า หรือผู้ใต้บังคับบัญชาได้เป็นอย่างดี

2) เมื่อตนเองมีพลัง มีความมั่นใจ และสามารถเป็นแบบอย่างได้แล้ว ก็จะเป็นขั้นตอนของการทำให้ผู้อื่นมีพลังและเกิดความฮึกเหิม เกิดความร่วมแรงร่วมใจตาม โดยการดึงศักยภาพของตนเองมาทำให้เห็น ทำให้เกิดเป็นแรงบันดาลใจ และเกิดการยอมรับ เมื่อนั้นให้ใช้วิธีการถ่ายทอดทั้งความรู้หรือศักยภาพด้านอื่นๆ การเป็นที่ปรึกษา ทำให้ผู้อื่นนึกชื่นชม มั่นใจ เชื่อมั่น และคล้อยตามเรา รวมทั้งในขณะเดียวกันให้กระตุ้นในตัวของพวกเขาเหล่านั้นให้เกิดพลัง (Energize) ในตนเอง และเป็นพลังที่จะพร้อมไปในทิศทางเดียวกันกับเรา

3) การอยู่ในสถานการณ์ใดใดก็ตาม ต้องทำให้ตนเองมีความสามารถในการตัดสินใจได้อย่างเด็ดเดี่ยว ฉับไว และพยายามให้เกิดความผิดพลาดให้น้อยที่สุดในเวลาอันจำกัด (Edge) พร้อมทั้งแสดงให้ผู้อื่นเห็นถึงความกล้าตัดสินใจ โดยการใช้พื้นฐานของความรอบรู้ ว่องไว และความมีไหวพริบปฏิภาณต่อการแก้ไขสถานการณ์นั้นๆ ทำให้บ่อยๆ จนเกิดเป็นความเคยชิน และไม่กลัวต่อผลที่จะตามมาภายหลัง ซึ่งอาจจะออกมาดีหรืออาจจะต้องมีการแก้ไขกันต่อไป แต่ประเด็นสำคัญจะอยู่ที่ความกล้า ความรวดเร็ว และเด็ดเดี่ยวในการตัดสินใจในเวลาอันจำกัดมากกว่า

4) การมุ่งผลสำเร็จของงาน หรือความมุ่งมั่นในการทำสิ่งใดใดให้สำเร็จ (Execution) ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็ตาม จะทำให้ผู้อื่นเห็นความวิริยะ อุตสาหะ การมีจุดมุ่งหมายที่แน่นอน ไม่โลเลเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา เกิดความเชื่อมั่นในตัวบุคคล เป็นที่เชื่อถือของบุคคลอื่นว่า ถ้าให้คนนี้เป็นผู้นำจะได้ผลลัพธ์ที่แน่นอน ไม่เกิดกรณีการล้มเลิกกลางครัน ซึ่งจะก่อให้เกิดผลเสียต่องาน และผลกระทบอื่นๆ ที่อาจจะตามมาอีกมากมาย

2. เรื่องผู้นำ มีอะไรบ้างที่คุณจะนำไปพัฒนาลูกน้องของตนเอง

การทำตนให้เห็นเป็นแบบอย่าง ทำให้เขารู้สึกศรัทธาและอยากทำตาม เมื่อเขาเกิดความเชื่อมั่นให้ใช้ความเมตตา ความเอื้ออาทรเข้าไปเสริม การชี้แนะให้เขามองเห็นตนเอง การช่วยดึงศักยภาพในตัวเขาเหล่านั้นออกมา ให้เขาได้มีโอกาสทำสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง โดยเราอาจเข้าไปประคับประคองในช่วงแรก ให้เขากล้าที่จะทำและเกิดความมั่นใจอย่างเรา เมื่อได้ผลลัพธ์ซึ่งคืองานออกมา เมื่อดีให้ชมและแม้ว่าจะไม่ดีให้ติเพื่อก่อ สั่งสอนและแนะนำด้วยความเมตตาแบบพี่น้อง ไม่ใช้อำนาจเกินงามหรือเกินความจำเป็น สิ่งเหล่านี้น่าจะทำให้เกิดความรักและความประทับใจขึ้นมา และเมื่อเราซื้อใจเขาได้ ขั้นต่อไปก็น่าจะสบาย

3. เรื่องโลกาภิวัตน์ เลือก 3 เรื่องที่เกี่ยวกับ สศก. ที่อาจจะต้องนำไปวิจัยต่อ

1) Information Technology ในปัจจุบันสื่อสารสนเทศเข้ามามีบทบาทกับชีวิตประจำวันเป็นอันมาก โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์ที่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการทำงานในปัจจุบัน อาทิ การนำมาใช้เก็บข้อมูล ประมวลผลข้อมูลทางการเกษตร แสดงรายงานและการนำเสนอ การร่นระยะเวลาในการทำงาน tedious การแลกเปลี่ยนข้อมูล (Information Sharing) การส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) การประชุม online (Video Conference) และอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งดูเหมือนว่าเทคโนโลยีสารสนเทศจะเข้ามามีบทบาททุกขั้นตอน ทำให้การทำงานเป็นไปได้สะดวก รวดเร็ว และง่ายขึ้น ซึ่งถ้า สศก. ได้มีการวางระบบไว้เป็นอย่างดี การทำงานก็จะเกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และทันกาลมากขึ้น ดังนั้น ประเด็นนี้ เป็นสิ่งที่ สศก. ควรจะเข้ามาให้ความสนใจกับการพัฒนาระบบสารสนเทศขององค์กร การสนับสนุนอุปกรณ์อย่างเพียงพอ และเสริมสร้างความรู้ในการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ และระบบสารสนเทศให้แก่เจ้าหน้าที่ให้มีความคุ้นเคยและสามารถใช้เครื่องมือดังกล่าวให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้ต่อไป

2) เรื่องการค้าเสรีทั้งในกรอบทวิภาคีและพหุภาคี เป็นเรื่องการค้าระหว่างประเทศไทยกับประเทศอื่นๆ แต่มิใช่เป็นเพียงเรื่องหรือประเด็นระหว่างรัฐต่อรัฐ (G to G) เท่านั้น แต่การเปิดเสรีทางการค้ายังส่งผลต่อคนในประเทศและระบบเศรษฐกิจทั้งระบบ โดยเฉพาะผลกระทบที่จะมีขึ้นต่อเกษตรกรอันเป็นคนกลุ่มใหญ่ของประเทศซึ่งอยู่ปลายสาย สศก. ซึ่งเป็นหน่วยงานสำคัญของกระทรวงเกษตรฯ จึงควรมีความระมัดระวัง วิเคราะห์ผลดี ผลเสียอย่างรอบคอบก่อนนำประเด็นขึ้นเจรจาในเวทีต่างๆ ควรมีการศึกษาผลกระทบให้รอบด้านทั้งด้านเศรษฐศาสตร์ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ รวมทั้งต้องไม่ลืมเกษตรกรจำนวนมากของประเทศ ประเด็นเหล่านี้ถือเป็นเรื่อง sensitive ที่ควรจะต้องมีการวิเคราะห์กันอยู่ตลอดเวลาให้ทันสถานการณ์ปัจจุบัน

3) ภาวะโลกร้อนและภัยธรรมชาติ เรื่องนี้ดูจะเป็นเรื่องที่ทันสมัยมาก จากการเปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศในปัจจุบัน ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงต่างๆ มากมายรวมทั้งการเกิดภัยธรรมชาติในที่ต่างๆ การปลูกพืชอาจต้องปรับเปลี่ยนให้ทันตามสภาพการณ์ปัจจุบัน อาทิ กรณีการเกิดภัยธรรมชาติหรือความไม่สามารถในการผลิตพืชบางชนิดในบางประเทศ โดยเฉพาะประเทศผู้ผลิตรายใหญ่ของโลก เราจะสามารถปรับแผนกลยุทธ์เพื่อ take action ตรงส่วนนั้นแทนได้ไหม เพื่อสนองตอบอุปทานของตลาดโลก ถ้าได้จะสามารถปลูกทดแทนพืชชนิดใด และการกระทำดังกล่าวจะกระทบกับเกษตรกรและเศรษฐกิจในประเทศอย่างไร เราจะมีแผนในการรับมืออย่างไร เป็นสิ่งที่ต้องมีการคิดวิเคราะห์อยู่ตลอดเวลาให้ทันสถานการณ์ รวมทั้งประเด็นการคำนวณสัดส่วนการเพาะปลูกของพืชพลังงานและพืชอาหารให้เหมาะสมและเพียงพอกับความต้องการในปัจจุบัน

เมษารัศมิ์ สังขวุฒิ

เรียน อาจารย์ ดร.จีระ

ก่อนอื่นต้องขอขอบพระคุณอาจารย์เป็นอย่างสูงนะคะที่กรุณาเสียสละเวลามาให้ความรู้อันเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับชีวิตการทำงานของพวกเรา

จากการเรียนวันแรกเรื่องภาวะผู้นำ ทำให้ได้รู้และเข้าใจว่าภาวะความเป็นผู้นำนั้นไม่ได้เป็นพรสวรรค์แต่เกิดจากการสร้างและพัฒนาขึ้นมา ซึ่งก็ทำให้เกิดกำลังใจและแรงกระตุ้นที่จะพัฒนาศักยภาพของตัวเองให้มีพลังเพื่อสร้างสรรค์ผลงานที่มีประสิทธิภาพต่อไปในอนาคต และจะถ่ายทอดพลังอันนั้นรวมถึงกระตุ้นให้ลูกน้องรู้สึกถึงศักยภาพของตัวเอง เพื่อที่จะร่วมกันพัฒนาองค์กรโดยรวมให้ขับเคลื่อนไปได้อย่างยั่งยืน และสามารถทำประโยชน์สูงสุดให้แก่เกษตรกรต่อไป

จากกระแสโลกาภิวัตน์ทำให้การปรับองค์กรเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวให้ทันโลกทันเหตุการณ์นั้นเป็นสิ่งสำคัญมาก ซึ่ง สศก. ในฐานะเสนาธิการของกระทรวงฯ ควรต้องมีความตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะในเรื่องของการค้าเสรี การศึกษาตลาดใหม่ๆ ภาวะโลกร้อน และพลังงานทดแทน ซึ่งล้วนแล้วแต่เกี่ยวข้องและส่งผลกระทบต่อภาคเกษตรทั้งสิ้น สศก.จึงต้องมีการศึกษาเรื่องดังกล่าวอย่างจริงจัง เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของเกษตรกรให้ได้มากที่สุด รวมถึงถ่ายทอดความรู้ดังกล่าวไปยังเกษตรกร เพื่อให้เค้าได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นหรือกำหนดนโยบายด้านการเกษตรที่เหมาะสมเพื่อรองรับผลกระทบต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

เมษารัศมิ์ สังขวุฒิ

เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

1.สิ่งที่จะไปนำไปทำต่อสำหรับตัวเอง คือ จะหาความรู้เพิ่มเติมให้กว้างขวางมากขึ้น ปรับเปลี่ยนวิธีทำงาน เปลี่ยนทัศนคติของตนเอง ให้รักองค์กรมากขึ้น

2.สิ่งที่จะไปพัฒนาลูกน้อง คือ จะถ่ายทอดความรู้ที่มีอยู่ให้กับลูกน้อง เปิดโอกาสให้ไปศึกษาหรือฝึกอบรมเพิ่มเติม ให้แสดงความคิดเห็นได้ เพื่อที่จะมีความคิดที่หลากหลายมากขึ้น

3.ศึกษาความต้องการใช้พืชพลังงานทดแทน ว่าในประเทศมีความต้องการใช้พืชพลังงานทดแทนแต่ละชนิดจำนวนเท่าใด ใช้สำหรับบริโภคจำนวนเท่าใด และจะแนะนำว่าควรจะส่งเสริมการปลูกพืชพลังงานทดแทนเพิ่มขึ้นหรือไม่

ศุภกรณ์ พุทธินันท์

เรียน ศ.ดร.จิระ หงส์ลดารมภ์

- ในเรื่องภาวะผู้นำมีอะไรบ้างที่คุณจะไปทำต่อ

ผมคิดว่าสิ่งที่สำคัญในการที่เราจะก้าวไปสู่ความเป็นผู้นำ ประกอบด้วย

1. มนุษยสัมพัธ์กับผู้ร่วมงาน

2. ความรู้ในเรื่องที่ทำ

3. ความสามารถในการแก้ไขปัญหา

ถ้ามีพื้นฐานขององค์ประกอบทั้ง 3 อย่างข้างต้นที่ดี ก็จะช่วยให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเกิดการยอมรับและทำให้การทำงานเป็นไปอย่างราบรื่น นอกจากนี้ก็ที่เราทำให้ตนเองมีความรอบรู้เรื่องอื่นๆที่เป็นประโยชน์ ก็จะทำให้มีวิสัยทัศน์ในการแก้ไขปัญหาจากการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น ซึ่งทั้งผมและเพื่อนผู้ร่วมงานจะได้พยายามทำให้เกิดขึ้น

- โลกาภิวัฒน์ เศรษฐศาสตร์มหภาค เศรษฐศาสตร์จุลภาค ที่เกี่ยวกับสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร และจะต้องนำไปศึกษาเพื่อใช้แก้ไขปัญหาให้แก่เกษตรกร

1 ผลกระทบจากภาวะโลกร้อนที่มีผลต่อการผลิตสินค้าเกษตร

2 พืชพลังงานทดแทน พื้นที่ปลูกและปริมาณการผลิตที่เหมาะสม

3 การบริหารจัดการแก้ไขปัญหาราคาปัจจัยการผลิตสูงขึ้น

กิติมา ประดิษฐกุล

เรียน ศ.ดร.จิระ หงส์ลดารมภ์

 

1. เรื่องภาวะผู้นำมีอะไรบ้างที่ต้องไปทำต่อ

 - จากการได้เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องภาวะผู้นำทำให้ต้องกลับมาพัฒนาศักยภาพของตนเองให้มากขึ้นกว่าเดิม เพราะผู้นำต้องเป็นผู้ที่รู้จริง  รู้กว้าง และสามารถคิดนอกกรอบได้  จึงต้องเพิ่มพูนความรู้ของตนเองตลอดเวลา และหาความรู้ในสิ่งใหม่ๆอยู่เสมอ

2.เรื่องภาวะผู้นำมีอะไรบ้างที่จะะนำไปพัฒนาลูกน้อง

- การได้เรียนรู้ ทฤษฎี 4E's Leadership ทำให้รู้ว่าเราสร้างพลังจากตนเองเพียงอย่างเดียวยังไม่เพียงพอ  เราจะต้องจุดประกายให้คนอื่นมีพลังเหมือนกับตัวเราด้วย ดังนั้นจึงต้องกลับไปพัฒนาลูกน้องให้มีความรู้และความสามารถเพิ่มมากขึ้น เพื่อที่จะช่วยกันเป็นพลังผลักดันให้การทำงานประสบความสำเร็จ

3.โลกาภิวัฒน์ เศรษฐศาสตร์มหภาค เศรษฐศาสตร์จุลภาค ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของ สศก.ที่จะพัฒนาต่อไป

      - ปัจจุบันประเทศไทยต้องเผชิญกับปัญหาวิกฤตการพลังงาน เนื่องจากราคาน้ำมันซึ่งเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญเพิ่มสูงขึ้นมาก ส่งผลกระทบต่อสถานการณ์เศรษฐกิจภายในประเทศ  ดังนั้นประเทศไทยจึงควรหันมาให้ความสำคัญกับการสร้างพลังงานทดแทนในด้านต่างๆ เช่น พลังงานจากลม น้ำ แสงแดด และจากพืชพลังงาน

        ปัจจุบันมีการส่งเสริมให้ปลูกพืชพลังงานเพื่อนำมาผลิตน้ำมันไบโอดีเซลซึ่งทำให้พื้นที่ปลูกพืชอาหารลดลง  และส่งผลให้ราคาพืชอาหารสูงขึ้นกว่าเดิมมาก เช่น ปาล์มน้ำมัน  ถั่วเหลือง เป็นต้น  ฉนั้นในฐานะของ สศก. จึงควรมีการวางแผนการผลิตและการใช้ทรัพยากรของพืชพลังงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งด้านการนำไปผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงและการนำไปบริโภคภายในประเทศ  โดยใช้หลักเศรษฐศาสตร์ วิเคราะห์ว่าควรนำไปผลิตเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงเท่าไร และเป็นพืชอาหารเท่าไร  นอกจากนี้ ยังควรนำ Biotechnology มาใช้ในการผลิตพืชที่สำคัญๆ เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในภาคเกษตรของประเทศควบคู่ไปด้วย

 

เรียน อ.ธีระ

1. มีอะไรบ้างที่จะไปทำต่อ

เริ่มต้นด้วยการพัฒนาตนเองก่อน โดยการเปิดสมอง ปรับทัศนคติว่า ฉันเป็นผู้นำ และสร้างพลังผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง โดยการเรียนรู้ทุกเรื่องอย่างกระตือรือร้น และไม่มีวันจบสิ้น จะพัฒนาการทำงานร่วมกันเป็นทีม สร้างแรงจูงใจในการทำงานให้มีพลัง มีความสุข เพื่อให้ได้งานที่มีประสิทธิภาพ

2. สิ่งที่จะไปพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชาเกี่ยวกับการเป็นผู้นำ คือ พยายามผลักดันให้เขาคิดอย่างผู้นำ โดยการนำความรู้ไปถ่ายทอดซึ่งมีเราเป็นต้นแบบผู้นำความคิด โดยการปฏิบัติตามข้อ 1 อย่างจริงจัง และผลักดันให้เขาวางเป้าหมายในแต่ละวัน เพราะความสำเร็จเล็กๆ นำไปสู่ความยิ่งใหญ่เสมอ ให้เขาลับคมความคิดให้คมอยู่เสมอ โดยการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องเช่นกัน ซึ่งทุกเช้าจะต้องมีการอ่านข้อมูลข่าวสาร 1/2-1 ช.ม. และสามารถนำมาประยุกต์หรือสร้างความคิดใหม่ประยุกต์ใช้ในการทำงานวันละ 1 เรื่อง เมื่อเขาสามารถทำได้เขาคือผู้นำรุ่นใหม่แทนเราต่อไป

3. เรื่องที่เกี่ยวข้องกับ สศก.ที่สามารถนำไปทำวิจัยต่อ เกี่ยวกับโลกาภิวัฒน์/เศรษฐศาสตร์มหภาค/เศรษฐศาสตร์จุลภาค 3 เรื่อง

3.1 จากภาวะการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ ก่อเกิดภัยธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นนำท่วม ฝนแล้ง หรือภัยอื่นๆ ซึ่งมีผลกระทบต่อภาคการเกษตรอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะภาคเกษตรเป็นภาคที่พึ่งพิงธรรมชาติมากที่สุด เกษตรกรไม่มีทางเลือก แต่เป้าหมายของเรา สศก. คือ การทำให้เกษตรกรมีความอยู่ดีกินดี ดังนั้น การวิจัยในด้านการประกันราคาพืชผล ในกรณีที่ได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติ จึงเป็นการวิจัยที่ริเริ่มให้มีกองทุนประกันภัยพืชผลในกรณีภัยธรรมชาติขึ้น

3.2 การแข่งขันระหว่างประเทศที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้ไทยเสียเปรียบการค้า เนื่องจากเราเน้นสินค้าเกษตรที่มีการเพิ่มมูลค่าน้อย สาเหตุหนึ่งเพราะต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น ประกอบกับ ประสิทธิภาพของแรงงานภาคเกษตรที่ต่ำมาก จึงเป็นเหตุให้ศึกษาวิจัย เรื่องการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิต (productivity)ของแรงงาน ภาคเกษตร เพื่อเพื่อประสิทธิภาพแรงงานเกษตร หรือแนวทางพัฒนาทุนมนุษย์ภาคเกษตรให้สูงขึ้น

3.3 ศึกษาการส่งเสริมการค้ายังประเทศที่มีโอกาสและศักยภาพ หรือประเทศที่มีความต้องการสินค้าเกษตร เช่น ประเทศแถบตะวันออกกลาง โดยส่งเสริมสินค้าเกษตรที่มี productivity สูงก่อนเป็นอันดับต้นๆ โดยวิจัยในเรื่อง การส่งเสริมสินค้าที่มีประสิทธิภาพการผลิตยังประเทศที่มีศักยภาพ

เรียน อาจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ขอขอบคุณสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ที่เล็งเห็นความสำคัญในด้านการพัฒนาทรัพยากรบุคคล โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ๆอย่างตัวเองและเพื่อนๆทุกคน ได้มีโอกาสเพิ่มพูนความรู้ ความสามารถ และฝึกฝนทักษะความเป็นผู้นำ ในการอบรมในครั้งนี้ จากวันแรกที่เข้าร่วม ก็สร้างแรงกระตุ้นให้ตัวเองอยากจะพัฒนาตัวเองให้มากยิ่งขึ้น

ภาวะผู้นำ

สิ่งที่จะเอาไปทำต่อ

สิ่งแรกที่ได้เรียนจากเมื่อวาน คือ ได้รู้ว่าตัวเองมีจุดแข็งและข้อด้อยในศักยภาพของตัวเองอย่างไรบ้าง และสิ่งที่จะทำต่อไปคือต้องสร้างมูลค่าให้กับตัวเองให้ได้ สร้างพลังในการทำงาน สร้างสรรค์แนวความคิดใหม่ๆ มีเป้าหมายในการทำงาน ถึงแม้อาจจะไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงกับตัวเองอย่างเห้นได้ชัด แต่จะต้องทำให้ดีขึ้นให้ได้

สิ่งที่จะนำไปพัฒนาลูกน้อง

เมื่อตัวเองมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาแล้ว ก็จะพยายามกระตุ้นหรือผลักดันให้ผู้ร่วมงานมีแนวคิดให้เกิดการพัฒนาตัวเอง ร่วมมือกันทำงาน เพื่อให้ตัวเองและผู้ร่วมงานดึงความเป็นเลิศของตนเองออกมาให้ได้

โลกาภิวัฒน์ กับการทำงานของ สศก. ที่จะต้องเอาไปทำต่อ

เนื่องในปัจจุบันเป็นโลกแห่งโลกาภิวัตน์ การแข่งขันเกิดขึ้นทุกๆด้านและด้านที่สำคัญและถือได้ว่าเป็นสิ่งสำคัญในชีวิตประจำวันไปแล้วคือการได้รับรู้ข่าวสาร และช่องทางที่รวดเร็วและกว้างไกลมากที่สุดตอนนี้ คงจะหนีไม่พ้น ของโลก INTERNET จึงเห็นว่าเรื่องที่น่าให้ความสนใจที่จะศึกษาและเป็นสิ่งที่สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร สามารถถ่ายทอดเพื่อเป็นประโยชน์ และเพิ่มความเป็นอยู่ของเกษตรกรให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นกว่าเดิม คือ INTERNET กับวิถีชีวิตเกาตรกร

นางสาวภัสชา ผ่องใส

1. ภาวะผู้นำ

1.1) ผู้นำมีอะไรบ้างที่คุณจะต้องไปทำต่อ

สิ่งสำคัญอันดับแรกที่ต้องทำต่อคือการพัฒนาตนเองให้มีคลังความรู้ ความสามารถ เพื่อให้มีศัยกภาพ และเป็นที่ศรัทธาของคนทั่วไป รวมทั้งพัฒนาวุฒิภาวะของตนเอง มีความมั่นใจในตนเอง แต่ะก็ไม่ละเลยที่จะรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น ร่วมกันพัฒนาTeamwork ในการทำงานของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

1.2) มีอะไรบ้างที่จะต้องไปพัฒนาลูกน้อง

ในฐานะที่เป็นหัวหน้าต้องพัฒนาคือ ปลูกฝังลูกน้องมีการพัฒนาตนเอง โดยแสวงหาความรู้ ใหม่ เพื่อสร้างให้ลูกน้องมีความน่าไว้วางใจหรือสร้างมูลค่าให้แก่ตัวลูกน้องเอง พัฒนาการทำงานให้เป็น Teamwork โดยปรับเปลี่ยนทัศนคติในการทำงานใหม่ให้ทุกคนรู้จักการทำงานเป็นทีม ระดมสมอง แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน สร้างแรงจูงใจในการทำงาน เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์และมีความสำเร็จร่วมกัน

2. จากโจทย์เรื่องโลกาภิวัตน์ เศรษฐศาสตร์มหภาค และเศรษฐศาสตร์จุลภาค

ให้เลือก 3 เรื่องที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของสศก. ที่จะต้องทำต่อไป

จากการวิเคราะห์แล้วเห็นว่าสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ควรมีการศึกษาวิเคราะห์ในเรื่องพลังงานทดแทน เรื่อง FTA และเทคโนโลยีสารสนเทศ ดังรายละเอียดต่อไปนี้

พลังงานทดแทนน้ำมัน

พลังงานทดแทนเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากเกิดภาวะราคาน้ำมันโลกที่สูงขึ้น ดังนั้นการปลูกพืชพลังงานจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง แต่หากส่งเสริมให้มีการเพาะปลูกพืชพลังงานอย่างเดียว ย่อมส่งผลกระทบต่ออาหารของโลก เกษตรกรที่เคยปลูกพืชอาหาร เพื่อการยังชีพและขายก็หันมาปลูกพืชพลังงานแทนกันมากขึ้น ไม่ว่าในประเทศไหนๆ รวมถึงประเทศไทยด้วย จำนวนพื้นที่ทางเกษตรที่มีอยู่จำนวนมากก็จะกลายไปเป็นพื้นที่ปลูกพืชพลังงาน จะทำให้อนาคตราคาอาหารส่วนใหญ่ในโลกจะสูงแต่ผลประโยชน์นี้กลับตกถือมือเกษตรกรน้อยมาก ผู้เข้ารับการอบรมตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว ในฐานะที่เป็นข้าราชการของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ภารกิจในการวางแผนพัฒนาด้านการเกษตร จึงเห็นควรศึกษา วิเคราะห์ เพื่อกำหนดพื้นที่เพาะปลูกพืชต่าง โดยกำหนดเขต Zoningของพื้นที่เพาะปลูกพืชพลังงาน กับพื้นที่เพาะปลูกพืชอาหาร ซึ่งจะทำให้พืชอาหารและพืชพลังงานสามารถพัฒนาไปพร้อมกันได้ โดยไม่แข่งราคากัน แต่อย่างไรก็ตามหากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ดำเนินการเพียงหน่วยงานเดียวย่อมจะไม่ประสบความสำเร็จ หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องต้องหันหน้าเข้าหากันร่วมกันทำงานอย่างบูรณาการ เช่น สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เป็นผู้กำหนดเขตเพาะปลูกพืชอาหารและพืชพลังงาน กรมวิชาการเกษตร ทำหน้าที่ให้ความรู้แก่เกษตรกร ในการเพาะปลูกพืชพลังงานที่ไม่ใช่อาหาร เช่นสบู่ดำ ปาล์ม อ้อย มันสำปะหลัง และข้าวโพด และให้ความรู้ในการเพาะปลูกพืชพลังงานและพืชอาหาร กระทรวงพาณิชย์ เข้ามาดูแลทางด้านราคาของผลผลิต ซึ่งหาทุกส่วนราชการทำงานแบบบูรณาการกัน จะทำให้คุณภาพชีวิตของเกษตรกรดีขึ้น

FTA

FTA เป็นกับดักเศรษฐกิจที่สามารถเปลี่ยนแปลงโฉมหน้าการค้าระหว่างประเทศของไทยอย่างมากมายในอนาคตได้ หากกระทำไปด้วยความไม่รอบคอบ มองผลประโยชน์เพียงแค่ระยะสั้น โดยขาดการศึกษาให้รอบคอบและรัดกุมทั้งผลดีผลเสีย ตลอดจนขาดการเปิดเผยผลการศึกษานั้นต่อสาธารณชนเพื่อหาหนทางที่ดีที่สุด การค้าระหว่างประเทศดำเนินและขยายตัวไปกว้างขวาง ซึ่งจะช่วยจัดสรรทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด และเป็นผลดีกับผู้ผลิตและผู้บริโภคส่วนรวม ภายใต้หลักการ FTA มีส่วนเกื้อกูลผลประโยชน์ของประเทศมหาอำนาจ และบรรษัทข้ามชาติเป็นในโลกทุนนิยม ที่มิได้มีความเท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจ

ที่ผ่านมาประเทศมหาอำนาจจะได้เปรียบในการต่อรองสูงกว่า และขาดความจริงใจในการทำ FTA เพราะขณะที่ดำเนินการให้คู่ค้าเปิดเสรี แต่ประเทศของตนได้สร้างกำแพงการค้า หรือมีกฎหมายที่มีลักษณะปกป้องคุ้มครองการค้าภายใน ดังเช่น สหรัฐอเมริกาชักนำชาติต่างๆ ให้หันมาตกลงการค้าเสรีทวิภาคี มีกฎหมายฟาร์มแอกต์เพื่อปกป้องสินค้าเกษตรในประเทศ มีกฎหมายสุขอนามัยและกฎหมายสิทธิมนุษยชนเพื่อปกป้องตลาด และล่าสุดก็มีกฎหมายต้านการก่อการร้ายมาคุมเข้มกีดกันการค้า เมื่อมีการทำสัญญาข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างกัน ประเทศที่ไม่มีกฎหมายหรือระเบียบภายในปกป้องคุ้มครองการค้าก็จะเสียเปรียบ และส่งผลกระทบให้ธุรกิจเสียหาย ก่อให้เกิดเป็นปัญหาสังคมและกระทบความมั่นคงของประเทศ ซึ่งจะเห็นได้จากประเทศไทยเสียเปรียบจีนมาก เพราะไทยนำเข้าผักและผลไม้จากจีนเพิ่มขึ้น ฝ่ายไทยจึงขาดดุลการค้ามหาศาลกับจีนทันที ในขณะที่จีนส่งแอปเปิล สาลี่ องุ่น ส้ม กระเทียม และหอมหัวใหญ่เข้ามาเกลื่อนตลาดไทย

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ต้องศึกษาผลกระทบ กรณีเจรจา FTA กับประเทศมหาอำนาจ และปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อหาแนวทางรักษาผลประโยชน์ของประเทศ ไม่ให้เสียเปรียบแก่ประเทศคู่ค้า เพื่อให้เกษตรกรผู้ปลูกผักและผลไม้ไทย เช่น ทุเรียน มะม่วง มังคุด ลำไย และส้มโอ ฯลฯ มีรายได้เพิ่มขึ้นและมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

Information Technology

“เทคโนโลยี” มีความสัมพันธ์กับการดำรงชีวิตของมนุษย์มาเป็นเวลานาน เป็นสิ่งที่มนุษย์ใช้แก้ปัญหาพื้นฐาน ในการดำรงชีวิต ต่อมามีการพัฒนาเทคโนโลยีมาใช้มากขึ้น การนำระบบสารสนเทศทำให้การปฏิบัติงานมีความรวดเร็วมากขึ้น โดยใช้กระบวนการประมวลผลข้อมูล ซึ่งจะทำให้สามารถเก็บรวบรวม ประมวลผลและปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยได้อย่างรวดเร็วระบบสารสนเทศช่วยในการจัดเก็บข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ หรือมีปริมาณมากและช่วยทำให้การเข้าถึงข้อมูล เหล่านั้นมีความรวดเร็วด้วย ช่วยลดต้นทุน การที่ระบบสารสนเทศช่วยทำให้การปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง กับข้อมูลซึ่งมีปริมาณมากมีความสลับซับซ้อนให้ดำเนินการได้โดยเร็ว หรือการช่วยให้เกิดการติดต่อสื่อสารได้อย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการประหยัดต้นทุนการดำเนินการอย่างมาก และระบบสารสนเทศช่วยทำให้การประสานงานระหว่างฝ่ายต่างๆ เป็นไปได้ด้วยดีและ ระบบสารสนเทศที่ยังช่วยในการสนับสนุนการตัดสินใจของผู้ผู้บริหาร

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร มีภารกิจหลักในการเผยแพร่ข้อมูลทางการเกษตรให้แก่กลุ่มเกษตรกร และมีศูนย์เตือนภัยทางภาคเกษตร ซึ่งที่ผ่านมาสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ได้พัฒนาระบบสารสนเทศให้ทันสมัยอยู่เสมอ เพื่อทำให้การติดต่อระหว่างหน่วยงานและเกษตรกร สามารถทำได้โดยถูกต้องและรวดเร็วขึ้น และยังสามารถปรับปรุงคุณภาพบริการให้ตรงกับความต้องการของเกษตรกรอย่างรวดเร็วขึ้นด้วยซี่งระบบสารสนเทศมีบทบาทต่อการทำงานในปัจจุบันอย่างสูง แต่อย่างไรก็ตามการเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาอย่างรวดเร็ว สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ต้องพัฒนาระบบสารสนเทศอยู่ตลอดเวลา เพื่อเผยแพร่ความรู้และข้อมูลให้แก่เกษตรกร

เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

1. เรื่องผู้นำ มีอะไรบ้างที่คุณจะนำไปทำต่อ

-สำรวจตัวเองว่ามีคุณสมบัติอะไรบ้างที่จะเป็นผู้นำได้

-เมื่อพบข้อบกพร่องแล้ว นำหลักการที่ได้จากการเรียนมาพัฒนาตนเองเพื่อให้ก้าวสู่การเป็นผู้นำที่ดี

-จาก 4E's leadership (Jack Walch) ทำให้เข้าใจมากขึ้นว่า หากต้องการจะมีพลังในการทำงาน ต้องมีความรักในงานเสียก่อน จึงจะเกิดพลังได้ ซึ่งจะนำไปสู่หนทางในการถ่ายทอดพลัง, แนวทางหรือการตัดสินใจที่เฉียบคม และการบริหารจัดการที่สำเร็จ

2.เรื่องผู้นำมีอะไรบ้างที่จะะนำไปพัฒนาลูกน้องต่อ

จากแนวคิดของ Posner และKouzes จากเรื่องLeadership Challenge บอกไว้ว่า ผู้นำต้องเป็นแม่แบบที่เป็นตัวอย่างที่ดี นั้นคือ หากเราอยากได้ลูกน้องที่มีความขยันชอบทำงานที่ท้าทาย เราต้องทำตัวให้เป็นแบบอย่างนั้นด้วย พร้อมกันนี้เราต้องรุ้จักสังเกตุว่า ลูกน้องเรามีความสามารถในด้านใด เพื่อส่งเสริมหรือสนับสนุนอย่างเหมาะสม

3.โลกาภิวัฒน์ เศรษฐศาสตร์มหภาค เศรษฐศาสตร์จุลภาค เลือกมา 3 เรื่อง ที่เกี่ยวกับสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่จะต้องเอาต่อไป

เศรษฐศาสตร์คือ การใช้ทรัพยากรการผลิตที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดย Macro เป็นการมองเศรษฐกิจทั้งระบบ เป็นภาพรวม ขณะที่ Micro เป็นการพิจารณาเศรษฐกิจระดับย่อย และเมื่อเศรษฐกิจมีการเชื่อมต่อกับระบบอื่นทำให้เกิดโลกาภิวัฒน์ โดยไม่ว่าจะเป็น Macro Micro หรือโลกาภิวัฒน์ ต่างก็มีความสำคัญต่อ สศก.ทั้งสิ้น เพราะ สศก.ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นองค์กรที่เชื่อมต่อกับองค์กรมทุกกรมภายในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ขณะเดียวกันยังเชื่อมต่อองค์กรต่างๆทั้งภายในและภายนอกประเทศ ซึ่งเป้าหมายหลักในการดำเนินงานคือ พัฒนาเศรษฐกิจของเกษตกรให้ดีขึ้น และเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ จำเป็นอย่างยิ่งที่ สศก. ควรให้ความสำคัญกับทรัพยากรบุคคล ซึ่งเป็นหน่วยที่เล็กสุดขององค์กร แล้วพัฒนาทัพยากรบุคคลให้ถึงขีดสุดของความสามารถ อันจะนำไปสู่องค์กรที่เข็มแข็ง และควรมีการบริหารจัดการภายในองค์กรให้มีการทำงานอย่างเป็นระบบ มีการประสานงานภายในองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้พร้อมต่อการเชื่อมต่อกับองค์กรอื่นที่อยู่ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ

จิรชาย เจริญ

1. มีอะไรบ้างที่แต่ละคนจะไปทำต่อ

หลังจากได้รับการอบรมและถูกปลุกกระตุ้นศักยภาพของตนเองแล้ว ก็จะนำEdge มาใช้ก่อนเพราะการเป็นผู้นำต่อจากนี้ไปต้องมีความเฉียบคม รวดเร็วในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าหรือตัดสินใจในเรื่องที่มี scope ที่ใหญ่ขึ้น ซึ่งผลของการตัดสินใจจะมีผลกระทบทั้งด้านบวกและด้านลบ โดยเราจะพยายามให้เการตัดสินใจเป็นแบบ win-winในทุก steakholder และนำ Execution มาเป็นแรงผลักดันให้ตั้งคำมั่นว่าจะทำงานที่ได้รับมอบหมายให้ประสบความสำเร็จ นอกจากนี้ยังต้องมีความเอื้ออาทร (Caring) เพื่อจะเป็นที่รักและศูนย์รวมใจของลูกน้อง เพราะเมื่อเราซื้อใจเขาได้แล้ว เขาจะทำงานให้เราอย่างมุ่งมั่นและเต็มที่

2. มีอะไรบ้างที่จะนำไปพัฒนาลูกน้อง

ก่อนอื่นต้องมีการละลายพฤติกรรมของเขาก่อน เพื่อให้เขาได้เตรียมตัวและเตรียมความพร้อมในการที่จะเริ่มปฏิบัติการปลุกสร้างและดึงศักยภาพของแต่ละคนออกมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเราต้องชี้ให้เขาเห็นถึงความสำคัญหรือคุณค่า (Value) ของเขาเองก่อน และนำความรู้ความสามารถที่มีมาใช้กับงาน เราจะปรับจูนกระบวนความคิดของเขาใหม่ Focus ที่เป้าหมายเดียวกัน นำ Energize มาใช้จุดประกายไฟสร้างพลังให้เขา เพื่อให้เขามีความกระตือรือร้น หึกเหิมที่จะร่วมมือกันทำงานให้ประสบความสำเร็จ สุดท้ายจะนำพาองค์กรให้ประสบความสำเร็จร่วมกัน

3. โลกาภิวัฒน์ Micro และ Macro ที่สศก.ต้องวิจัยต่อ

จากผลกระทบของโลกาภิวัฒน์ราคาน้ำมันโลกที่แพงขึ้น ส่งผลให้ประเทศไทยซึ่งนำเข้าสินค้าทุนประเภทน้ำมันในราคาที่สูงขึ้น ซึ่งแน่นอนว่าย่อมส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดมีมูลค่าลดลง นั่นเป็นเพราะเรามีการพึ่งพาปัจจัยการผลิตจากภายนอกมากเกินไป เมื่อมองถึงสินค้าเกษตรที่ได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันโลกแพงขึ้น แต่เป็นในด้านบวกคือ ราคายางพารา เพราะเป็นปฏิภาคโดยตรงกับราคาน้ำมัน ดังนั้นเกษตรกรจึงหันมาแห่กันปลูกยางพาราเพิ่มมากขึ้น แต่ด้วยความจำกัดของเนื้อที่ ทำให้เริ่มมีการขยายการปลูกไปยังพื้นที่อื่น เช่น พื้นที่นา โดยเริ่มจากนาดอนก่อน แต่การปลูกยางพาราในพื้นที่นาข้าวนั้นย่อมเป็นการส่งผลกระทบด้านลบแก่พื้นที่นาบริเวณใกล้เคียง เพราะยางพาราไม่ต้องการน้ำ แต่ข้าวกลับต้องการน้ำ จึงมีความขัดแย้งกัน และหากบริเวณรอบๆ ด้านของนามีการปลูกยางพารากันมากจะทำให้ชาวนารายอื่นๆ ไม่สามารถทำนาได้ เพราะรถเกี่ยวข้าวไม่สามารถผ่านพื้นที่ยางพาราไปยังพื้นที่นาที่อยู่ด้านในได้ จึงทำให้การทำนาต้องล้มเลิกไปเพราะสถานการณ์บังคับ และหากชาวนาบางรายที่ยังสามารถทำนาได้อีก ก็ต้องเผชิญกับนก หนูที่มารบกวนมากขึ้น เพราะพื้นที่นาบริเวณนั้นเหลือน้อยทำให้มารุมทำลายพื้นที่นาที่มีอยู่ ส่งผลให้ผลผลิตชาวนาลดลง ก็เท่ากับว่าเกิดต้นทุนทางสังคมที่เกิดจากการปลูกยางพาราในพื้นที่นาข้าว ดังนั้นในการคิดต้นทุนผลตอบแทนในส่วนของการปลูกยางพาราในพื้นที่นาข้าวต้องมีการรวมเอาต้นทุนทางสังคมไปด้วย

นางสาวจิรจิตต์ ตั้งภากรณ์

เรียน ศ.ดร.จิระ หงส์ลดารมภ์

1.เรื่องภาวะผู้นำ

1.1 มีอะไรบ้างที่จะเอาไปทำต่อ... สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ เรียนรู้เป็นทีม มีเป้าหมายร่วมกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

1.2 มีอะไรบ้างที่จะไปพัฒนาลูกน้อง ...กระตุ้นให้ลูกน้องมีวิสัยทัศน์กว้างขึ้น กล้าคิกนอกกรอบ พยายามดึง value ของลูกน้องตัวเองออกมา ให้กล้านำเสนอแนวคิดไอเดีย เพราะแนวคิดที่หลากหลาย สามารถเป็นพลังในการผลักดันทีมงานในการทำงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการทำงาน

2. เรื่องโลกาภิวัตน์ เศรษฐศาสตร์มหภาคและเศรษฐศาสตร์จุลภาค เลือก 3 เรื่องที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของ สศก.ที่จะต้องเอาไปทำต่อ...

1.ควรศึกษาแนวโน้มผลผลิตด้าน Supply และ Demand ของยางพาราในอนาคตของภูมิภาคเอเชีย 2.ศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากการใช้สารเคมีทางการเกษตรในปัจจุบัน 3. ควรศึกษาผลกระทบของการลดลงของพื้นที่ปลูกไม้ผลไปสู่การปลูกยางพารา

จิรจิตต์ ตั้งภากรณ์

มณทิรา พรหมพิทยายุทธ

เรียน ศ.ดร.จิระ หงส์ลดาร

1.เรื่องภาวะผู้นำ มีอะไรบ้างที่จะเอาไปทำต่อ และมีอะไรบ้างที่จะไปพัฒนาลูกน้อง

จะนำแนวคิดเรื่อง Leadership Challenge ของ Posner และ Kouzes มาพัฒนาตนเองพัฒนาลูกน้องดังนี้

1)สร้างความเป็นผู้นำให้กับตนเอง โดยแสดงศักยภาพตนเองให้ลูกน้องได้เห็น และยอมรับในตัวเรา ใช้แนวคิดใหม่ ๆ ในการทำงานไม่ทำงานย่ำอยู่กับที่

2)จุดประกายการทำงานให้ลูกน้องมีความสนใจในงานที่จะทำ และดึงความสามารถหรือจุดแข็งของลูกน้องออกมาให้ได้ และกระจายหน้าที่ให้กับลูกน้อง

3)ในการทำงานต้องมีความร่วมมือร่วมใจกันระหว่างผู้นำและลูกน้อง

2.เรื่องโลกาภิวัฒน์ เศรษฐศาสตร์มหภาค และเศรษฐศาสตร์จุลภาค เลือก 3 เรื่องที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของ สศก. ที่จะต้องเอาไปทำต่อ

จากทั้ง 3 เรื่องหากจะนำมาประยุกต์และสร้างเป็นโครงการของ สศก.มีดังนี้

2.1 การศึกษาถึงผลกระทบของการเปิดการค้าเสรีที่มีต่อการผลิตและการส่งออกสินค้าเกษตรที่สำคัญของไทย

2.2 การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการปลูกพืชพลังงานทดแทนเพื่อนำมาผลิตเป็นเอทานอล กรณีศึกษา:มันสำปะหลัง

2.3 การศึกษาถึงผลกระทบที่มีต่อการส่งออกสินค้าเกษตรของไทยเมื่ออัตราแลกเปลี่ยนมีการเปลี่ยนแปลง

เรียน อาจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

1. เรื่องภาวะผู้นำ มีอะไรบ้างที่จะเอาไปทำต่อ คือ

การวางเป้าหมายในการทำงาน คอยกระตุ้นตัวเองให้ใฝ่หาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ เปิดโลกทัศน์ให้กว้าง ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น เน้นการทำงานเป็นทีม

2. มีอะไรบ้างที่จะไปพัฒนาลูกน้อง

ส่งเสริมการเรียนรู้ที่มีประโยชน์กับการพัฒนางาน ทั้งความรู้ในหน้าที่และความรู้ทั่วไป เน้นการถ่ายทอดความรู้ในองค์กร เน้นการทำงานเป็นทีม

3. โลกาภิวัฒน์ เศรษฐศาสตร์มหภาค และเศรษฐศาสตร์จุลภาค เลือกมา 3 เรื่องที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของ สศก. ที่จะต้องเอาไปทำต่อ

3.1 ศึกษาและวิเคราะห์ผลกระทบจากภาวะโลกร้อนที่มีผลต่อการผลิตสินค้าเกษตร

3.2 การส่งเสริมการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร เพื่อการส่งออก

3.3 พืชพลังงานทดแทน และพืชอาหาร การวิเคราะห์สัดส่วน พื้นที่ปลูกและปริมาณการผลิตที่เหมาะสม

มณทิรา พรหมพิทยายุทธ

เรียน ศ.ดร.จิระ หงส์ลดาร

1.เรื่องภาวะผู้นำ มีอะไรบ้างที่จะเอาไปทำต่อ และมีอะไรบ้างที่จะไปพัฒนาลูกน้อง

จะนำแนวคิดเรื่อง Leadership Challenge ของ Posner และ Kouzes มาพัฒนาตนเองพัฒนาลูกน้องดังนี้

1)สร้างความเป็นผู้นำให้กับตนเอง โดยแสดงศักยภาพตนเองให้ลูกน้องได้เห็น และยอมรับในตัวเรา ใช้แนวคิดใหม่ ๆ ในการทำงานไม่ทำงานย่ำอยู่กับที่

2)จุดประกายการทำงานให้ลูกน้องมีความสนใจในงานที่จะทำ และดึงความสามารถหรือจุดแข็งของลูกน้องออกมาให้ได้ และกระจายหน้าที่ให้กับลูกน้อง

3)ในการทำงานต้องมีความร่วมมือร่วมใจกันระหว่างผู้นำและลูกน้อง

2.เรื่องโลกาภิวัฒน์ เศรษฐศาสตร์มหภาค และเศรษฐศาสตร์จุลภาค เลือก 3 เรื่องที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของ สศก. ที่จะต้องเอาไปทำต่อ

จากทั้ง 3 เรื่องหากจะนำมาประยุกต์และสร้างเป็นโครงการของ สศก.มีดังนี้

2.1 การศึกษาถึงผลกระทบของการเปิดการค้าเสรีที่มีต่อการผลิตและการส่งออกสินค้าเกษตรที่สำคัญของไทย

2.2 การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการปลูกพืชพลังงานทดแทนเพื่อนำมาผลิตเป็นเอทานอล กรณีศึกษา:มันสำปะหลัง

2.3 การศึกษาถึงผลกระทบที่มีต่อการส่งออกสินค้าเกษตรของไทยเมื่ออัตราแลกเปลี่ยนมีการเปลี่ยนแปลง

จุฑามาศ สังข์อุดม

เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

สวัสดีตอนเช้าค่ะอาจารย์ และเพื่อนพ้อง เวลาไม่ค่อยท่าแล้ว ขอส่งการบ้านเลยละกันนะคะ

1.มีอะไรบ้างที่จะไปทำต่อ

ปรับแนวคิด และพัฒนาตนเอง ดังนี้

1. ติดตามข้อมูลข่าวสาร ให้ทันโลก ทันสมัย รู้ให้กว้าง ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ฯลฯ

2. เวลาจะทำงานอะไร ก็จะคิดก่อนว่า เรากำลังทำอะไร ทำเพื่อใคร แล้วจะทำอย่างไรจึงจะสำเร็จ รู้จักการทำงานเป็นทีม ถ้าเกิดช่องว่างทางปัญญาก็ปรึกษาผู้รู้ อย่างน้อยก็ยังมีอาจารย์อีกคนที่จะคอยเป็นโค้ชให้ ใช่มั้ยคะ?????

3. สร้างสัมพันธ์ และหา network เพิ่มเติม รวมทั้งสานสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมโครงการนี้ต่อไป อันนี้ขอรวมโค้ชและทีมงานด้วยนะคะ :-)

4. กระตุ้นตัวเองให้มีพลังงาน พร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา ซึ่งในเช้าวันแรกหนูก็ได้เปิดใจ รวมทั้งเปิดกะโหลก ให้ขี้เลื่อยมันปลิวออกไป และจะนำความรู้ที่ได้รับมาทำให้สมองได้ใช้งานคิดสร้างสรรค์บ้าง

5.พัฒนาการสื่อสารให้มีประสิทธิภาพ (พูดแล้วคนเข้าใจ) และพูดให้ตรงประเด็น

6. ต้องประเมินผลการทำงานของตนเองว่า สำเร็จหรือไม่ มีข้อบกพร่องหรือมีอุปสรรคอย่างไร จะแก้ไขยัง

7. ต้องฝึกคิด ฝึกวิเคราะห์สถานการณ์ เพื่อมองทิศทางในอนาคต และพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเพื่อนร่วมงาน

2. มีอะไรบ้างที่จะไปพัฒนาลูกน้อง

1. ต้องศึกษาดูก่อนว่าแต่ละคนมีความเก่งด้านไหน จะได้สนับสนุนได้ตรงจุด

2. สร้างการทำงานเป็นทีมให้เกิดขึ้น

3. กระตุ้นให้มีพลังคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ไม่ปิดกั้นทางความคิดของเค้า ให้โอกาสได้แสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่ ทำดีก็ต้องชื่นชม ยกย่อง ทำผิดก็ต้องช่วยแก้ไข ชี้แนวทางที่ถูกต้อง

4. กระจายอำนาจ เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการบริหาร รวมทั้งเพื่อให้ลูกน้องได้ฝึกในการตัดสินใจ

5. ให้โอกาสลูกน้องได้รับการศึกษา อบรมเพื่อพัฒนาตนเอง

6. เน้นการทำงานมุ่งผลสำเร็จ และมีการประเมินผลการทำงาน

3. เรื่องโลกาภิวัตน์ เศรษฐศาสตร์มหภาคและเศรษฐศาสตร์จุลภาค เลือก 3 เรื่องที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของ สศก.ที่จะต้องเอาไปทำต่อ

- ศึกษาความเป็นไปได้ในการปรับเปลี่ยนเครื่องจักรกลการเกษตรมาใช้พลังงานทางเลือก

- ศึกษาศักยภาพในการส่งออกสมุนไพรและผลิตภัณฑ์ (สมุนไพรเป็นจุดแข็งของประเทศ สามารถแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าเป็นยาก็ได้)

- ศึกษาแนวทางการทำโครงการเพื่อขายคาร์บอนเครดิตสำหรับเกษตรกรผู้ปลูกสวนป่าเศรษฐกิจ

สุปริญญา แก้วนนท์

เรียน ศ.ดร.จิระ หงส์ลดารมภ์ สำหรับการเรียนรู้เรื่อง "การสร้างผู้นำรุ่นใหม่" นั้น ดิฉันได้รับความรู้และแนวคิดใหม่ๆ เพื่อนำไปปรับใช้กับตนเองและผู้อื่นเพิ่มขึ้นมาก ทั้งจากอาจารย์และผู้ร่วมเข้ารับการอบรมทุกๆ ท่าน

การบ้าน

1. เรื่องภาวะผู้นำ มีอะไรบ้างที่จะเอาไปทำต่อ และมีอะไรบ้างที่จะนำไปพัฒนาลูกน้อง

- สิ่งที่จะนำไปพัฒนาตัวเองต่อไปคือ การสร้างพลัง สร้างความเชื่อมั่นให้กับตนเอง ให้พร้อมรับกับสถานการณ์แห่งความเป็นจริง อีกทั้งตั้งเป้าหมายให้กับการทำงาน ตลอดจนการดำเนินชีวิต เพราะเรื่องดังกล่าว จะเป็นแรงผลักดันเราเกิดความกระตือรือร้นที่จะแสวงหาความรู้ ใฝ่รู้ในเรื่องต่างๆ สถานการณ์ใหม่ๆ เพื่อให้มีทัศนคติที่กว้างขึ้น

- สิ่งที่จะนำมาพัฒนาลูกน้องนั้น ก็น่าจะไม่ต่างอะไรกับสิ่งที่เราเอามาพัฒนาตนเอง คือต้องกระตุ้นให้เค้าใฝ่รู้ และติดตามสถานการณ์ใหม่ๆ เพื่อพัฒนาตนเองเพิ่มศักยภาพให้กับตนเอง อีกทั้งศึกษาว่าแต่ละคนมีความสามารถทางใดก็ให้รวมกลุ่มเพื่อแชร์ประสบการณ์แสดงความคิดเห็นในสิ่งที่ตนถนัดให้กับผู้อื่น ซึ่งจะทำให้ทั้งตนเองและผู้อื่นได้เพิ่มพูนความรู้ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการทำงานต่อไป

2. โลกาภิวัฒน์ เศรษฐศาสตร์มหภาค และเศรษฐศาสตร์จุลภาค เลือกมา 3 เรื่องที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของ สศก.ที่จะต้องเอาไปทำต่อ

2.1 ศึกษาเรื่องผลกระทบจากภาวะโลกร้อนที่มีผลต่อฤดูกาลผลิตและผลผลิตทางการเกษตรของประเทศ

2.2 ศึกษาเรื่องการพัฒนาและส่งเสริมการปลูกพืชพลังงานทดแทน และผลกระทบจากการใช้พืชพลังงานชนิดต่างๆ

2.3 ศึกษาเรื่องผลประโยชน์ที่ประเทศไทยได้รับจากการเปิดตลาดเสรีทางการค้า

 

1. เรื่องที่จะนำไปทำต่อ จะให้ความสำคัญกับการทำในส่วนที่ยังขาดหรือมีความบกพร่อง คือ การฝึกฝนพัฒนาตนเองตลอดจนลูกน้องให้มีภาวะผู้นำ เพื่อเป็นกลไกในการผลักดันในการยกระดับมาตรฐานความเป็นอยู่ให้แก่เกษตรกรให้มีความสุขอย่างยั่งยืน

ในขั้นแรกจะเริ่มพัฒนาที่ตนเองก่อน โดยจะพัฒนาให้ตนเองมีคุณสมบัติ ดังนี้

1) เป็นผู้มองสิ่งต่างๆแบบองค์รวมได้ และสร้างความสมดุลในการใช้สมองทั้ง 2 ซีก

2) มองโลกในแง่ดี

3) การมีพรหมวิหาร4

4) เรียนรู้และยอมรับการเปลี่ยนแปลงและสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้

5) ให้ความสำคัญกับความยั่งยืน

6) เน้นที่ผลสัมฤทธิ์ของงาน

7) กล้าคิด กล้าทำ กล้าตัดสินใจ และรับผิดชอบ

8) สร้างทีมงานที่เข้มแข็งเน้นการทำงานเป็นทีม

สำหรับในส่วนของลูกน้องจะพัฒนา 4E และให้มีคุณสมบัติดังกล่าว 8 ข้อ โดยจะเริ่มจากเราทำให้เป็นตัวอย่างแก่ลูกน้อง และทำให้ลูกน้องเกิดความศรัทธาในตัวเรา ให้ลูกน้องเกิดการเห็นอนาคตร่วมกับเรา (Shared Vision) ทั้งนี้ในคุณสมบัติ 8 ข้อ ในเบื้องต้นจะเน้นให้ลูกน้องมีการมองโลกในแง่ดี การทำงานเป็นทีม กล้าคิด กล้าทำ กล้าตัดสินใจ

2. จากบริบทในปัจจุบันทั้งด้าน Micro และ Macro พบว่ามีประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับการทำงานในอนาคต 2 ประเด็น คือ

1) การสร้างผลิตภาพให้เกิดขึ้นกับภาคเกษตร จากข้อมูลกำลังแรงงานและผลผลิตที่ได้ในภาคเกษตรชี้ให้เห็นว่าภาคเกษตรยังมีผลิตภาพที่ต่ำมาก ดังนั้นแนวทางในการจะเพิ่มผลิตภาพ ในภาพรวมอาจเริ่มจากการแบ่งชั้น หรือแบ่งกลุ่มระดับผลิตภาพหรือประสิทธิภาพการผลิตว่ามีกี่ระดับแต่ละระดับมีสัดส่วนเท่าไร ปัญหาที่เกิดขึ้นในแต่ละระดับ เนื่องจากระดับต่างกัน มีปัญหาต่างกัน การเข้าไปส่งเสริมหรือสนับสนุนก็ต้องใช้แนวทางที่ต่างกัน โดยให้ความสำคัญในการเพิ่มผลิตภาพที่ตัวเกษตรกร

2) แนวทางการใช้พลังงานทดแทนในภาคเกษตร ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ตัวอย่างเช่น

- การแบ่งกลุ่มการใช้เครื่องยนต์ดีเซลเพื่อการเกษตรว่ามีกี่กลุ่มแต่ละกลุ่มมีสัดส่วนอย่างไร ความต้องการในแต่ละกลุ่มเป็นอย่างไร คุณภาพของน้ำมันดีเซลที่แต่ละกลุ่มต้องการใช้เป็นอย่างไร บทบาทบาทของไบโอดีเซลที่มีต่อการใช้ในระดับต่างๆ รวมทั้งจะต้องมีการประเมินถึงความคุ้มค่า ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น

- การเพิ่มผลผลิตต่อไร่ของปาล์มน้ำมัน เช่น การวิเคราะห์การจัดทำระบบน้ำในสวนปาล์มน้ำมัน

1. มีอะไรบ้างที่คุณจะไปทำต่อ

1.1  เป็นผู้ที่ใฝ่รู้ ศึกษาให้รู้จริงในเรื่องนั้น ๆ

1.2 พัฒนาภาวะความเป็นผู้นำ

1.3 ทำงานเป็นทีม

2. มีอะไรบ้างที่คุณจะไปพัฒนาลูกน้อง

2.1 ส่งเสริมการทำงานเป็นทีม (Teamwork)

2.2 สร้างแรงจูงใจในการทำงาน

2.3 ปรับทัศนคติแนวคิดในการทำงานให้มีวิสัยทัศน์ 4. ให้มีการพัฒนาตนเอง และมีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

3. เรื่องที่ สศก. จะต้องทำวิจัยต่อ

3.1 ทำอย่างไรให้เกษตรกร มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน

3.2  การเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันสินค้าเกษตรไทยในตลาดโลก 3.3  ภาวะโลกร้อนที่มีผลกระทบต่อภาคเกษตรไทย

เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์์์์์

1.สิ่งที่จะไปนำไปทำต่อสำหรับตัวเอง คือ

- ตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนในการทำงาน

- ฝึกภาวะความเป็นผู้นำ มีใจรักในงานที่ทำ ปลดปล่อยตัวเอง

- ศึกษาหาความรู้ตลอดชีวิต และนำความรู้นั้นมาพัฒนาองค์กร และนำความเจริญไปสู่เกษตรกร และจะเห็นประโยชน์ของประเทศชาติเป็นสำคัญ

1.สิ่งที่จะไปนำไปทำต่อสำหรับตัวเอง คือ

- ตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนในการทำงาน

- สร้างบรรยากาศการทำงานในองค์กรให้เป็นทีม

- ฝึกภาวะความเป็นผู้นำ มีใจรักในงานที่ทำ ปลดปล่อยตัวเองออกจากสิ่งเดิมๆ

- ศึกษาหาความรู้ตลอดชีวิต และนำความรู้นั้นมาพัฒนาองค์กร และนำความเจริญไปสู่เกษตรกร และจะเห็นประโยชน์ของประเทศชาติเป็นสำคัญ

2.สิ่งที่จะไปพัฒนาลูกน้อง คือ

- กระตุ้นให้เขาเกิดพลังการเรียนรู้ มีการพัฒนาการทำงานของตนเอง เพื่อให้เกิดความคิดนอกกรอบ ต่างจากสิ่งเดิมๆ ที่เคยทำในองค์กร

- เปิดโอกาสให้ลูกน้องได้แสดงความคิดเห็นของตัวเองอย่างเต็มที่ และเมื่อเปิดโอกาสแล้วก็ต้องยอมรับความคิดเห็นของเขาด้วย ถ้าความคิดเห็นนั้นมีความเป็นไปได้และสามารถนำไปใช้ได้จริง ทำให้องค์กรเกิดการพัฒนาต่อไป

3.โลกาภิวัฒน์ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของสศก. คือ

- พลังงานทดแทน

- ราคาสินค้าเกษตร

- ภาวะโลกร้อน, ภัยธรรมชาติ

สุภัค วงศ์วิวัฒน์ไชย

เรียน อาจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

การบ้านที่อาจารย์มอบหมาย

1. เรื่องผู้นำ มีอะไรบ้างที่คุณจะนำไปทำต่อสำหรับตนเอง คือ ค้นหาคุณค่าของตนเองให้พบ เพราะจากการอบรมในวันแรกตามแนวทางที่ได้จึงเกิดแรงกระตุ้นว่าจุดเริ่มต้นของการเป็นผู้นำคือต้องรู้จักตนเองก่อน ว่าเรามีคุณสมบัติอะไร และมีความสามารถพิเศษอะไรที่จะนำมาพัฒนาให้เกิดคุณค่าเหมาะแก่การเป็นผู้นำ นอกจากนั้นยังต้องรู้จักการนำไปใช้ให้ถูกทาง มีการพัฒนาอยู่เสมอ อย่าหยุดนิ่งอยู่กับที่ สร้างTEAMWORK โดยการยอมรับความสามารถของบุคคลอื่น ซึ่งเชื่อว่าทุกคนก็ย่อมมีคุณค่าในตนเองทุกคน และสร้างเป้าหมายร่วมกันที่จะใช้คุณค่านั้น ให้เป็นประโยชน์ต่อไป

2.สิ่งที่จะไปพัฒนาลูกน้อง คือ มองคุณค่าของลูกน้องแต่ละคนให้ออก ว่าใครมีความสามารถด้านใด ซึ่งทุกคนย่อมแตกต่างกัน แล้วพัฒนาในสิ่งที่เขามีให้เป็นเลิศ พร้อมทั้งจูงใจให้ทุกคนรู้รักสามัคคี ยอมรับความสามารถของกันและกัน ตั้งเป้าหมายร่วมกัน และบอกถึงความสำคัญของแต่ละคนที่มีต่อเป้าหมายนั้น

3.โลกาภิวัฒน์ เศรษฐศาสตร์จุลภาค เศรษฐศาสตร์มหภาค 3 เรื่อง ที่เกี่ยวข้องกับสศก. ที่ต้องทำต่อ

1. เรื่องการปลูกพืชพลังงานทดแทน และที่มีผลกระทบต่อพื้นที่เพาะปลูกพืชการเกษตร

2. เรื่องภาวะโลกร้อนที่มีผลกระทบต่อผลผลิตทางการเกษตรและสิ่งแวดล้อม

3. เรื่องการใช้เทคโนโลยีการผลิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง

เรียน อาจารย์จีระที่เคารพ

          หลังจากที่ได้อบรมกับอาจารย์  1 วัน ก็รู้สึกมีความหวังเพิ่มขึ้นสำหรับเกษตรกรและระบบงานราชการที่ต้องทำงานเพื่อประชาชน หลังจากที่มีความหวังเพิ่มขึ้นที่ท่านเลขา สศก.ท่านอภิชาติ จงสกุล ได้ไปให้นโยบายที่ สศข.6 ชลบุรี เมื่อวันที่ 2 ส.ค.

1.สิ่งที่ตนเองจะกลับไปทำ

          จะกลับไปเป็นผู้นำด้วยความมั่นใจเพิ่มขึ้น คือผู้นำทางความคิด ซึ่งเดิมก็ทำอยู่แล้วแต่ไม่ทราบว่าเป็นลักษณะของผู้นำ เพราะเป็นคนที่ไม่ชอบสังคม ชอบแต่สิ่งที่เป็นจริง ไม่ชอบสิ่งไม่จริง จะกลับไปพัฒนาการเป็นผู้นำของตนเองในส่วนที่เป็นจุดอ่อน โดยหาแบบอย่างผู้นำหลายหลายคน ผสมผสานกัน  ดึงจุดดีของแต่ละคนมาทำตาม  ติดตามข้อมูลทางเศรษฐกิจ สังคม การเมืองและวัฒนธรรม อย่างรอบด้าน ถึงแม้จะไม่มีโอกาสได้แสดงความคิดเห็นเห็นได้มากนัก เพราะความคิดของผู้น้อยย่อมอ่อนกว่าผู้ใหญ่เสมอ  แต่จะรอเรียนเรื่องการบริหารความขัดแย้ง การเจรจาต่อรองกับอาจารย์ว่าจะสามารถผลักดันความคิดของตนเองได้เพิ่มขึ้นหรือไม่ กลับไปผลักดันให้ลูกน้อง เพื่อนร่วมงาน เพื่อนต่างกรม ได้ทราบตามที่ตนเองได้ทราบจากอาจารย์ จะคิดและปฏิบัติให้คมมากขึ้น กล้าคิด กล้าพูด กล้าทำ จะติดตาม ประเมินผลความคิด การกระทำ ว่าสำเร็จหรือไม่ เพราะอะไร จะมีทางแก้ไขอย่างไร แก้ได้เลยหรือไม่ หรือจะต้องรอเวลา

2.สิ่งที่จะไปทำกับลูกน้อง

ถ่ายทอดความรู้ที่ได้จากอาจารน์

กระตุ้นให้เขาเป็นผู้นำ พัฒนาการเป็นผู้นำ

ทำงานร่วมกันเป็นทีม  ช่วยกันติดตาม วิเคราะห์ข่าวสารข้อมูลให้รอบด้าน ช่วยกันเสนอแนะ ผลการวิเคราะห์ ทำใจถ้าไม่ได้รับการตอบสนองและทำต่อไปอย่างต่อเนื่องเพื่อทำบุญและสร้างกรรมดี

3.แนวคิดด้านโลกาภิวัฒน์ เศรษฐศาสตร์จุลภาค มหภาคที่จะทำวิจัยต่อ

แนวทางปรับตัวของเกษตรกร  แนวทางการทำงานของเจ้าหน้าที่ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในยุคโลกาภิวัฒน์

ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม

(งานวิจัยที่มีคุณภาพ จะต้องให้ความสำคัญกับข้อมูลเชิงคุณภาพ วิธีการได้มาของข้อมูล ไม่ควรใช้มาตรฐานเดียวกับงานเก็บข้อมูลปกติ)

                    ธีรารัตน์ สมพงษ์ สศข.6 ชลบุรี

เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์์์์์

1.สิ่งที่จะไปนำไปทำต่อสำหรับตัวเอง คือ

- ตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนในการทำงาน

- สร้างบรรยากาศการทำงานในองค์กรให้เป็นทีม

- ฝึกภาวะความเป็นผู้นำ มีใจรักในงานที่ทำ ปลดปล่อยตัวเองออกจากสิ่งเดิมๆ

- ศึกษาหาความรู้ตลอดชีวิต และนำความรู้นั้นมาพัฒนาองค์กร และนำความเจริญไปสู่เกษตรกร และจะเห็นประโยชน์ของประเทศชาติเป็นสำคัญ

2.สิ่งที่จะไปพัฒนาลูกน้อง คือ

- กระตุ้นให้เขาเกิดพลังการเรียนรู้ มีการพัฒนาการทำงานของตนเอง เพื่อให้เกิดความคิดนอกกรอบ ต่างจากสิ่งเดิมๆ ที่เคยทำในองค์กร

- เปิดโอกาสให้ลูกน้องได้แสดงความคิดเห็นของตัวเองอย่างเต็มที่ และเมื่อเปิดโอกาสแล้วก็ต้องยอมรับความคิดเห็นของเขาด้วย ถ้าความคิดเห็นนั้นมีความเป็นไปได้และสามารถนำไปใช้ได้จริง ทำให้องค์กรเกิดการพัฒนาต่อไป

3.โลกาภิวัฒน์ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของสศก. คือ

- พลังงานทดแทน

- ราคาสินค้าเกษตร

- ภาวะโลกร้อน, ภัยธรรมชาติ

นางอุสา เสือสุภาพ

เรียน ศ.ดร.จิระ หงส์ลดารมภ์

1.เรื่องภาวะผู้นำ

1.1 มีอะไรบ้างที่จะเอาไปทำต่อ..

ตั้งปณิธานไว้ในใจตนเองว่า “ฝันให้ไกล แล้วไปให้ถึง”

ขวนขวายหาความรู้เพิ่มขึ้น.หาข้อมูลที่กว้างขึ้น เวลาไปคุยกับเกษตรกรจะคุยได้ทุกเรื่อง และต้องทันสมัย แนะนำสิ่งดี ๆ ให้เขา ทำให้เกษตรกรเกิดการยอมรับ ไว้วางใจ แล้วความร่วมมือในการให้ข้อมูลต่าง ๆ จะเกิดขึ้น

1.2 มีอะไรบ้างที่จะไปพัฒนาลูกน้อง ...

กลับไปกระตุ้นความรู้สึกของลูกน้อง แม้กระทั่งเพื่อนร่วมงาน ที่มีความท้อแท้ อยู่ไปวัน ๆ ให้ลุกขึ้นเป็นคนใหม่ ทำตัวเราเป็นตัวอย่างที่ดี มอบหมายงานเป็นทีม ยอมรับฟังความคิดเห็น กล่าวชมเชยลูกน้องที่ทำงานดี ให้กำลังใจถ้าทำงานผิดพลาด ใส่ความจริงใจในทุกสถานการณ์

2. เรื่องโลกาภิวัตน์ เศรษฐศาสตร์มหภาคและเศรษฐศาสตร์จุลภาค เลือก 3 เรื่องที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของ สศก.ที่จะต้องเอาไปทำต่อ...

1. ทบทวนบทบาท สศก.ที่มีต่อเกษตรกรไทย เพื่อศึกษาว่า สิ่งที่ สศก.ทำอยู่ทุกวันนี้ มีสิ่งใดที่เป็นผลงานที่มีผลดีต่อเกษตรกร และสิ่งใดที่เป็นผลเสียบ้าง

2. ผลักดันนโยบายการประกันภัยพืชเศรษฐกิจ เพื่อป้องกันความเสี่ยงต่อภัยธรรมชาติที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

3. การบริหารจัดการการใช้ที่ดินที่มีประสิทธิภาพ วิเคราะห์การใช้ที่ดินที่มีอยู่อย่างจำกัด ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

อุสา เสือสุภาพ

หทัยรัตน์ หยีวิยม

เรียน อาจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

1. เรื่องภาวะผู้นำ มีอะไรบ้างที่จะเอาไปทำต่อ คือ

นำหลักทฤษฎีต่างๆที่ๆด้เรียนมาประยุกต์ใช้ หาข้อดีของตัวเอง สร้างแรงผลักในตัวเอง และพาผู้ร่วมงานไปสู่ความสำเร็จด้วยกัน

2. มีอะไรบ้างที่จะไปพัฒนาลูกน้อง

ให้เขาหาศักยภาพของตัวเองว่าเป็นอย่างไร อะไรคือจุดเด่น แล้วพัฒนาเขาให้ก้าวหน้าต่อไป

3. โลกาภิวัฒน์ เศรษฐศาสตร์มหภาค และเศรษฐศาสตร์จุลภาค เลือกมา 3 เรื่องที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของ สศก. ที่จะต้องเอาไปทำต่อ

3.1 ศึกษาถึงฤดูกาลที่เปลี่ยนแปลงว่ามีผลกระทบอย่างไรกับการเพาะปลูกของเรา

3.2 ศึกษาสมดุลระหว่างการปลูกพืชอาหารและพืชพลังงาน

3.3 ศึกษาถึงการเพิ่มผลผลิตต่อไร่และลดต้นทุนในการผลิตและการขนส่ง

เรียน อาจารย์จีระที่เคารพ

1.ในเรื่องผู้นำที่ต้องการจะพัฒนาและทำต่อ คือ

_ สร้างมุมมองและแนวคิดให้ก้าวไกล และเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงของโลกเพื่อให้ทันกับสถานการณ์ สร้างพลังในการทำงานให้มีแรงจูงใจในการทำงานอย่างมีความสุขและมีประสิทธิภาพเกิดไฟในการทำงานให้สำเร็จและเกิดความพึงพอใจต่อเกษตรกร และจะมีการพัฒนาตนเองและเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

2. มีอะไรจะพัฒนาลูกน้อง

- ต้องเข้าใจลูกน้องตนเองก่อน มีบุคลิกความคิดอย่างไรในการทำงาน จากนั้นจึงปรับเปลี่ยนแนวคิดวิธีการทำงานให้มีทัศนะคติร่วมกันและทำงานเป็นทีมได้ โดยเน้นการทำงานที่มีความสุข แบ่งปันกัน และสร้างพลังการทำงานให้กับลูกน้อง เพื่อให้ทุกคนมีความคิดก้าวไกลมีแนวคิดใหม่ ๆ เกิดขึ้น

3. แนวคิดด้านโลกาภิวัตน์ เศรษฐศาสตร์จุลภาค มหภาค ที่เกี่ยวข้องกับ สศก ที่สนใจจะทำวิจัย

- เริ่มศึกษาวิจัยทางด้านโลกาภิวัตน์ เพื่อให้ทันต่อสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน และเป็นประโยชน์แก่เกษตรกรอย่างแท้จริงในการปรับตัวให้ทันต่อภาวะการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น

1. เรื่องภาวะผู้นำ มีอะไรบ้างที่จะเอาไปทำต่อ และมีอะไรบ้างที่จะไปพัฒนาลูกน้อง

สิ่งที่จะนำมาทำต่อคือการสร้างภาวะผู้นำให้กับตัวเอง เราจะต้องพัฒนาความคิดของเราอยู่ตลอดเวลา ปรับเปลี่ยนความคิด และตามให้ทันกับสิ่งที่เปลี่ยนแปลงรอบๆ ตัวเราอยู่เสมอ ไขว่คว้าแสวงหาความรู้ใหม่ๆ เพื่อนำมาคิดและปรับใช้กับการทำงานให้ทันสมัยอยู่เสมอ รู้จักคิดและพัฒนาความคิดของเรา กระตุ้นให้รู้จัก และคิดให้หลากหลาย สามารถมีไอเดียกับการทำงานใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา และต้องรู้อย่างรู้จริง และรู้ลึกซึ่ง และเข้าใจอย่างถ่องแท้ ไม่ใช่เพียงแต่รู้เพียงแค่ผิวเผิน รวมทั้งต้องมีการปรับและพัฒนาความสามารถของตนเองด้วย

เมื่อเรามีการพัฒนาสิ่งเหล่านี้ให้กับเราและหมั่นฝึกฝนทำอยู่เสมอ ให้เป็นนิสัย แล้ว เราจะสามารถเป็นต้นแบบที่ดีที่จะโน้มน้าวให้ลูกน้องมีการพัฒนาตามเราได้เพราะการที่เราจะไปพัฒนาลูกน้องนั้นหากเพียงแค่ไปบอกๆๆๆๆ แต่ไม่ทำให้เป็นต้นแบบหรือตัวอย่างให้เห็น ลูกน้องก็จะไม่มีความเชื่อถือ ซึ่งหากเราเป็นแบบที่ดีแล้ว มีการทำงานแบบพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา ลูกน้องจะเห็นว่าสิ่งที่เราทำนั้นเป็นสิ่งที่ดี เขาจะเริ่มมีการยอมรับในตัวเราและเชื่อถือเราจนกระทั่งยอมทำตามในที่สุด

2. เรื่องโลกาภิวัฒน์ เศรษฐศาสตร์มหภาค และเศรษฐศาสตร์จุลภาค รื่องที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของ สศก. ที่จะต้องเอาไปทำต่อ

การวิเคราะห์ผลกระทบทางเศรษฐกิจของโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการด้านโคเนื้อต่อรายได้ของเกษตรกร

เรียน ศ.ดร.จิระ หงส์ลดารมภ์

1.มีอะไรบ้างที่จะไปทำต่อ

สิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ คือ การเป็นผู้นำที่ดีจะต้องเป็นผู้นำทางด้านข้อมูลข่าวสาร และผู้นำในการตัดสินใจ จะต้องตัดสินใจที่ถูกต้องและรวดเร็ว

2. สิ่งที่จะไปพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชาเกี่ยวกับการเป็นผู้นำ คือ การสร้างทีมงานที่มีประสิทธิภาพ และสิ่งแรกที่ต้องเพื่อสร้างให้ทีมงานเป็นหนึ่งเดียวกันและสร้างความรักในองค์กร คือ "สร้างค่านิยมร่วม" ขององค์กร

3. เรื่องที่เกี่ยวข้องกับ สศก.ที่สามารถนำไปทำวิจัยต่อ เกี่ยวกับโลกาภิวัฒน์/เศรษฐศาสตร์มหภาค/เศรษฐศาสตร์จุลภาค 3 เรื่อง

3.1 ศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบจากการปลูกพืช GMO ต่อมนุษย์และเศรษฐกิจ

3.2 ศึกษาเกี่ยวกับ การทำ FTA ไทย-จีน ว่าไทยเสียเปรียบอย่างไรบ้าง

เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

1. นำความรู้ด้านภาวะผู้นำมาปรับใช้กับตนเองอย่างไร

“ภาวะผู้นำ ไม่ได้เกิดจากพรสวรรค์ แต่เกิดจากการฝึกฝนและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง” ดังนั้น การนำมาปรับใช้ จึงเริ่มจากค้นหาจุดเด่นและด้อยในการเป็นผู้นำของตนเอง ประเมินการทำงาน และหน้าที่ความรับผิดชอบว่าจำเป็นต้องอาศัยความเป็นผู้นำในด้านใด ปรับปรุงและพัฒนาในด้านที่บกพร่อง โดยต้องกำหนดเป้าหมายสูงสุดในการทำงาน เพื่อสร้างแรงจูงใจให้เกิดเป็นพลังผลักดันในการทำงานอย่างกระตือรือร้น กล้าคิด กล้าเสนอแนวทางใหม่ กล้าเปลี่ยนแปลง แต่ต้องเป็นไปในแนวทางที่ถูกต้อง มีจริยธรรม และมุ่งผลสัมฤทธิ์ต่อเกษตรกรไทย

2. นำความรู้ด้านภาวะผู้นำมาปรับใช้กับเพื่อนร่วมงานและผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างไร

“ทรัพยากรมนุษย์ นับเป็นปัจจจัยทุนที่สำคัญ” ดังนั้น การจะขับเคลื่อนองค์กรให้ประสบผลสำเร็จได้จำเป็นต้องมีบุคคลากรที่ดี เช่นเดียวกัน ผู้นำจะประสบผลสำเร็จได้จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากเพื่อนร่วมงานและลูกน้องที่ดี ดังนั้น ผู้นำที่ดีจึงควรเริ่มจากการทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่ลูกน้อง เพื่อสร้างแรงศรัทธาและการยอมรับ กระตุ้นลูกน้องให้ใฝ่รู้ กระตือรือร้นในการทำงาน สร้างระบบการทำงานแบบ Teamwork รับผิดชอบงานร่วมกัน ลำบากและสำเร็จร่วมกัน โดยผู้นำต้องเปิดใจรับฟัง ให้โอกาส และกระจายอำนาจให้แก่ลูกน้อง

3. Macro Economics, Micro Economics, โลกาภิวัตน์ เรื่องใดที่เกี่ยวกับสศก.

หากวิเคราะห์ในสภาวการณ์ปัจจุบัน มองว่าเรื่องโลกาภิวัฒน์มีบทบาทสำคัญต่อสศก. ที่จำเป็นต้องรู้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกที่เชื่อมโยงกันทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และวัฒนธรรม อันอาจส่งผลกระทบต่อภาคการเกษตรของประเทศ ทั้งในแง่บวกและลบ ดังนั้นเรื่องที่ สศก. ควรให้ความสนใจนำไปศึกษาต่อ

- เรื่องพลังงานเชื้อเพลิง : การเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีผลต่อต้นทุนการผลิตและผลตอบแทนของเกษตรกร และโอกาสในการผลิตพืชพลังงานทดแทน ด้วยทุนทางทรัพยากรธรรมชาติที่ประเทศมี สร้างทางเลือกใหม่ในการเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร

- เรื่องการเปิดเสรีทางการค้า ที่จำเป็นต้องวิเคราะห์ให้ทันกลยุทธ์ของประเทศคู่ค้า เช่น การใช้มาตรการกีดกันทางการค้าต่างๆ และผลกระทบจากการเปิดเสรีที่กระทบต่อภาคการเกษตร ก่อนเจรจาการค้า

- เรื่องภัยทางธรรมชาติและภาวะโลกร้อนที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น เพื่อเตรียมความพร้อม และหามาตรการรองรับสถานการณ์ในอนาคตที่อาจเกิดขึ้น

เรียน อาจารย์จีระที่เคารพ

1. ในเรื่องผู้นำที่ต้องการจะพัฒนาและทำต่อ คือ

_ สร้างพลังในการทำงานให้มีแรงจูงใจในการทำงาน และจะมีการพัฒนาตนเองและเรียนรู้อย่างต่อเนื่องเพื่อให้มีมุมมองและสร้างแนวคิดให้ก้าวไกล เข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงของโลกเพื่อให้ทันกับสถานการณ์ อย่างมีความสุขและมีประสิทธิภาพเกิดไฟในการทำงานให้สำเร็จและเกิดความพึงพอใจต่อลูกค้า

2. มีอะไรจะพัฒนาลูกน้อง

- โดยเน้นการทำงานที่มีความสุข จากนั้นต้องเข้าใจลูกน้องตนเองก่อน มีบุคลิกความคิดและทัศนะอย่างไรในการทำงาน เพื่อจะได้นำแนวคิดภาวะผู้นำที่มีอยู่มาปรับเปลี่ยนแนวคิดวิธีการทำงานให้มีทัศนะคติที่ดีที่จะทำงานร่วมกัน แบ่งปันกัน และสร้างพลังการทำงานให้กับลูกน้อง เพื่อให้ทุกคนมีความคิดก้าวไกลมีแนวคิดใหม่ ๆ เกิดขึ้น

3. แนวคิดด้านโลกาภิวัตน์ เศรษฐศาสตร์จุลภาค มหภาค ที่เกี่ยวข้องกับ สศก ที่สนใจจะทำวิจัยต่อ

- เลือกศึกษาวิจัยทางด้านจุลภาค เช่น งานวิจัยที่แท้จริงควรทราบถึงความต้องการลูกค้าที่แท้จริง ตั้งแต่ระดับผู้ผลิตคือเกษตรกรของเรา ว่าเกษตรกรต้องการให้เราช่วยเหลือแก้ไขปัญหาที่มีอยู่อย่างไร เราในฐานะภาครัฐจะได้นำมาช่วยเหลือเกษตรกรได้อย่างรวดเร็วและตรงกับความต้องการ

นางสาวรักชนก ทุยเวียง

สวัสดีค่ะท่านอาจารย์

เมื่อคืนดูรายการของอาจารย์ด้วยค่ะ...ได้แนวคิดที่ดี ..สำหรับเมื่อวานแนวคิดที่ได้จากการบรรยายทำให้รู้ว่าตัวเองควรจะเริ่มพัฒนาอย่างไรเพื่อให้การทำงานบรรลุเป้าหมายและมีประสิทธิภาพ อย่างแรกจะต้องปรับเปลี่ยนทัศนคติในการทำงานให้เป็นคนรักงานและทำงานอย่างมีความสุขรวมทั้งเป็นคนที่ใฝ่รู้ รู้ให้กว้างและรู้ให้ลึกซึ้งอย่างแท้จริง สองคือรู้จักควบคุมอารมณ์ของตนเองให้ได้ สามมีนำใจรู้จักเอื้อเฟื้อและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น สี่รู้จักการทำงานเป็นทีม และห้าต้องเป็นคนที่กล้าหาญ

ส่วนที่จะไปพัฒนาลูกน้องต่อ ถ่ายทอดสิ่งที่ได้เรียนรู้มาทั้งหมด เช่น เรื่องการใฝ่รู้ การยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น การทำงานเป็นทีม เพื่อจะได้ร่วมกันทำงานให้สำเร็จและมีประสิทธภาพต่อไป

ในเรื่องหัวข้องานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ สศก.และมีความจำเป็นที่ต้องทำวิจัยต่อคือ 1. ผลกระทบของภาวะโลกร้อนที่มีต่อครัวเรือนภาคการเกษตร

2.ผลกระทบของพืชพลังงานทดแทนที่มีต่อพืชอาหารของประเทศ

3.ผลกระทบของการเปิดเสรีทางการค้าที่มีต่อภาคการเกษตรของประเทศ

เรียน ท่านอาจารย์จิระ หงส์ลดารมณ์

หลังจากเข้ารับการอบรมทำให้ทราบว่าภาวะผู้นำเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้จาการสร้างและแสวงหาไม่ใช่พรสวรรค์ดังที่เคยเข้าใจ บางสิ่งบางอย่างที่เราได้รับฟังทำให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ต่อได้ อย่างเช่น การแสดงความมีน้ำใจต่อผู้อื่น รับฟังความคิด ตลอดจนยอมรับในความสำเร็จของผู้อื่นอย่างจริงใจ จากการทำงานเป็นทีม แสวงหาความร่วมมือจากบุคคลรอบข้างภายในองค์กรเพื่อที่จะให้ได้งานที่ออกมาประสบความสำเร็จทั้งหมดไม่ใช่เพียงบางส่วนเท่านั้น

เรื่องโลกาภิวัตน์ เศรษฐศาสตร์มหภาคและเศรษฐศาสตร์จุลภาค เลือก 3 เรื่องที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของ สศก.ที่จะต้องเอาไปทำต่อ คือ

1. ศึกษาความเป็นไปได้ของพื้นที่ที่เหมาะสมกับการส่งเสริมในการผลิตพืชเพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทน กรณีศึกษาภาคเหนือตอนบน

2. ศึกษาผลกระทบจากภาวะโลกร้อนที่ส่งผลต่อสินค้าเกษตร

3. การศึกษาถึงผลกระทบของการเปิดการค้าเสรีที่มีต่อการผลิตและการส่งออกสินค้าเกษตรที่สำคัญของไทย

สรรเสริญ ศรีเหนี่ยง

เรียน อาจารย์จีระ

จากที่ได้รับการพัฒนาทุนทางความรู้จากอาจารย์ในเรื่องผู้นำ ผมมีความคิดเห็นในการที่จะนำมาพัฒนาตนเองได้คือ สิ่งจำเป็นที่เราจะต้องรู้คือ “รู้ตัวเอง” ว่าตัวเองเป็นอย่างไร มีความสามารถอย่างไร เนื่องจากหากเราไม่รู้ตัวเองแล้วจะพัฒนาสิ่งอื่นคงเป็นไปได้ยาก เมื่อเราทราบถึงสิ่งที่เป็นตัวเองแล้ว จะนำมาสร้างแรงผลักดันจากตนเอง เพื่อออกสู่ภายนอก รวมทั้งต้อง ”รู้งานที่ทำ” รู้สิ่งที่เรากำลังทำอยู่ สิ่งที่เราทำ ให้จับประเด็นหลักที่เราทำอยู่ ทำให้ถูกจุดประสงค์ ไม่ออกนอกประเด็นหลักของงานที่ทำ เพื่อให้งานที่ทำสู่ถึงเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งงานที่เราทำนั้น และทบทวนงาน ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการทำงานเพื่อพัฒนาแก้ไข รวมทั้งพัฒนาความรู้ของตนเองเพื่อให้เท่าทันหรือไปให้ไกลกว่างานที่เราทำ อย่างไรก็ตามความรู้ไม่มีที่สิ้นสุด การพัฒนาตนเองนั้นจำเป็นจะต้องพัฒนาสิ่งอื่นๆ รอบตัวเองนอกจากงานที่ทำด้วย พยายามทำตนเองเป็นแก้วที่ยังว่างเปล่า เพื่อสร้างแรงแห่งการเรียนรู้

การเป็นผู้นำนั้น ไม่จำเป็นจะต้องเก่งที่สุด เก่งคนเดียว เพราะการทำงานนั้นจะต้องมีทีมงาน เพื่อผลักดันงานให้ประสบผลสำเร็จ ในทีมงานนั้นผู้นำอาจจะไม่ใช่คนที่เก่งที่สุด หรืออาจจะเก่งน้อยที่สุดในบางเรื่องก็เป็นได้ และความสามารถแต่ละอย่างที่แตกต่างกัน ซึ่งแต่ละคนมีความสามารถทุกคน แต่อาจจะมีความสามารถไม่เท่ากัน หรืออาจจะมีความสามารถไม่เหมือนกัน แต่ผู้นำจำเป็นจะต้องสร้างแรงจูงใจ แรงผลักดัน ต่อเพื่อนร่วมงาน ตลอดจนลูกน้อง ที่มีความสามารถ ดึงความสามารถออกมาอย่างเต็มประสิทธิภาพ ตลอดจนชักชวนผู้มีความสามารถและมีจุดหมายร่วมกันเข้ามาร่วมงานกัน โดยเห็นตัวอย่างจาก เล่าปี่ ในเรื่องสามก๊ก ซึ่งเล่าปี่ ถ้ากล่าวถึงความเด็ดขาด เฉียบขาด ตลอดจนความแข็งแกร่งแล้ว ยังห่างไกลจากโจโฉ แต่จะเห็นได้ว่า เล่าปี่ สามารถดึงผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ เข้ามาร่วมกับตนเองได้ ซึ่งแต่ละคนล้วนมีความสามารถมากกว่าเล่าปี่ ดังนั้นการสร้างแรงผลัก แรงบันดาลใจ ที่ให้ผู้นำมีเสน่ห์ และมีความน่าเชื่อถือ ตลอดจนความมีคุณธรรมของผู้นำจึงเป็นความสำคัญอย่างยิ่ง

การทำงานนั้น สักวันเราต้องมีลูกน้อง สิ่งจำเป็นที่เราจะต้องพัฒนาพวกเขาคือ การถ่ายทอดประสบการณ์ ความรู้ ในเบื้องต้นที่จำเป็นกับลูกน้องเพื่อให้ลูกน้องสามารถดำเนินงานไปได้ถูกทาง และมีประสิทธิภาพ รวมทั้งให้ลูกน้องรับผิดชอบงานที่ทำเพื่อให้เขาแสดงความสามารถออกมา และเราต้องเป็นที่ปรึกษา และประคับประคองลูกน้องเพื่อให้เขาสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ไม่ควรก้าวก่ายงานของเขา นอกจากนี้ต้องผลักดันให้เขาเพิ่มขีดความรู้ ความสามารถ รวมทั้งสร้างคุณธรรมให้แก่ลูกน้องเพื่อให้เขาสามารถเติบโตขึ้นเป็นผู้นำที่ดีในอนาคต

และในเรื่องของโลกาภิวัตน์ เศรษฐศาสตร์จุลภาค เศรษฐศาสตร์มหภาคนั้น สามารถนำไปศึกษา ได้คือ

1. การลดต้นทุนในการใช้น้ำมันจากการผลิตภาคการเกษตร ซึ่งการเกษตรนั้นใช้น้ำมันเป็นปัจจัยในการผลิตอย่างแพร่หลาย ทั้ง การผลิตพืช ปศุสัตว์ ประมง ซึ่งควรจะศึกษาหาทางลดต้นทุนจากการใช้น้ำมันในการผลิตภาคการเกษตร โดยอาจจะเป็นการปรับกระบวนการจัดการ หรือใช้พลังงานชีวมวล

2. การศึกษาความต้องการความรู้ของเกษตรกร ซึ่งเกษตรกรในประเทศไทยส่วนใหญ่จะมีต้นทุนทางความรู้น้อย เราจำเป็นจะต้องรู้ความรู้พื้นฐานที่เกษตรกรจำเป็นจะต้องมีเพื่อให้การพัฒนาความรู้เป็นไปอย่างถูกทาง และวางแผนการพัฒนาความรู้ให้แก่เกษตรกรอย่างเป็นระบบ

3. การศึกษาผลกระทบต่อเกษตรกรจากการเปิดการค้าเสรี ซึ่งจะเป็นได้ว่ามีปัญหาค่อนข้างมากหลังจากการเปิด FTA ซึ่งเราควรหาวิธีการแก้ไขหรือปรับกระบวนการทำงานอย่างเร่งด่วน เพื่อให้เกษตรกรสามารถยืนหยัดได้

1. เรื่องภาวะผู้นำ มีอะไรบ้างที่จะเอาไปทำต่อ

สิ่งที่ผมได้เรียนรู้จากการอบรมและเป็นการจุดประกายให้เป็นพลังในการพัฒนาตนเองคือคำกล่าวที่ว่าภาวะผู้นำเกิดจากการพัฒนาและการเรียนรู้ ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจให้ผมได้คิดที่จะเริ่มพัฒนาตนเองโดยนำแนวทางทฤษฎีต่าง ๆ ที่ได้เรียนมาประยุกต์ใช้ เริ่มตั้งแต่การสำรวจตัวเองหาจุดเด่นจุดด้อยในการเป็นผู้นำ แล้วนำจุดด้อยของตนไปพัฒนาและเรียนรู้ จากนั้นต้องสร้างพลังให้กับตัวเองในการกำหนดเป้าหมายและบทบาทที่จะทำเพื่อนำไปปรับใช้กับงานที่ทำอยู่

2. มีอะไรบ้างที่จะไปพัฒนาลูกน้อง

หลังจากที่ผมพัฒนาตนเองจนสามารถเป็นผู้นำที่ดีเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับลูกน้อง สิ่งนี้จะเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับลูกน้องในการปฏิบัติตาม และสามารถสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ลูกน้องในการสั่งการหรือมอบหมายงานให้ ซึ่งหลังจากที่เราสร้างพลังให้กับตนเองแล้วสิ่งต่อไปคือการสร้างพลังให้ลูกน้องให้เกิดภาวะกระตือรือร้นในการทำงานและสร้างพลังร่วมกันในการทำงานเป็นทีมเพื่อให้งานสำเร็จลุล่วงตามเป้าหมาย

3. เรื่องโลกาภิวัฒน์ เศรษฐศาสตร์มหภาค และเศรษฐศาสตร์จุลภาค ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของ สศก. ที่จะต้องเอาไปทำต่อ

-การวิเคระห์ผลกระทบของดุลการชำระเงินที่ต่อระบบเศรษฐกิจภาคการเกษตรของประเทศไทย

- การวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจของกลุ่มผลิตพืชอินทรีย์เปรียบเทียบการผลิตแบบเคมี

เรียน อาจารย์ จีระ

1)ภาวะผู้นำทำอะไรกับตนเอง

จากความรู้ที่ได้รับจากอาจารย์ ทำให้ทราบว่าการที่เป็นผู้นำที่ดีได้นั้น ต้องมีก่เรียนรู้อยู่ตลอดเวลาและทำให้ต้องกลับไปคิดทบทวน ว่าตนเองวมีจุดแข็งอะไรจุดอ่อนอะไร มีความสามารถด้านไหน จากที่ไม่เคยคิดมาก่อนเลย

2)การพัฒนาลูกน้อง

การที่จะพัฒนาลูกน้องก็ต้องดูว่าลูกน้องแต่ละคนมีทักษะและความถนัดในด้านไหน เพื่อที่จะได้มอบหมายงานนตามความเหมาะสม และเปิดโอกาศสให้ลูกน้องได้แสดงความคิดอย่างเสรี ปรึกษาหารือร่วมกัน เพื่อสร้างบรรยากาศที่ดีในองค์กร

3)โลกาภิวัตน์ที่เกี่ยวข้องกับ สศก.

ในยุคนี้เป็นยุคแห่งเสรี สศก.ได้นำเทคเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการกำหนดเขตเศรษฐกิจหรือกำหนดเขตการเพาะปลูก เพื่อรองรับการขยายตัวของเศรษฐกิจในการส่งออกสินค้าเกษตรให้ได้มากและคุ้มค่ายิ่งขึ้น และศึกษาหาทางเลือกในการใช้พลังงานทดแทนเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนพลังงานในอนาคต

ถึงลูกศิษย์ทุกคน

            ขอบคุณมากที่ทุกคนเขียน Blog ได้ดี และขอฝากการบ้านสำหรับวันนี้ไว้ 2 ข้อ

1.      ขอให้แต่ละคนคิดอย่างรอบคอบ (360 องศา) ว่างานที่ทำอยู่มีอะไรบ้างที่จะปรับปรุงให้ไปสู่การวัดผลที่ชัดเจนของการสร้างมูลค่าเพิ่มของเกษตรกร และอะไรคืออุปสรรค

2.      ในแนวคิด 8 K’s และ 5K’s ซึ่งผมยังไม่ได้พูดถึงมากนัก แต่ขอให้ทุกคนอ่าน และถ้าไม่เข้าใจก็ขอให้ปรึกษาคุณวราพร ทีมงานของผม แล้ววิเคราะห์ว่า ทุน 8 K’s และ 5K’s ส่วนไหนบ้างที่ท่านมีแล้ว และส่วนไหนบ้างที่ต้องปรับปรุง เป็นเพราะอะไร

      ส่งภายในวันพุธเช้าครับ

                                                                     จีระ หงส์ลดารมภ์

1.เรื่องผู้นำ มีอะไรบ้างที่คุณจะทำต่อ

- ใฝ่รู้ สนใจต่อสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปเพื่อทันต่อกระแสลาภิวัตน์

- มีความคิดเป็นเหตุเป็นผล สามารถต่อยอดความรู้ได้ เช่น ต้องรู้จริงในเรื่องเกษตร+เศรษฐศาสตร์ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการทำงานได้

- มีทัศนคติ และวิสัยทัศน์ที่ดีในการทำงาน

- สื่อสารกับผู้ร่วมงานและเกษตรกรอย่างตรงประเด็น

- มีจริยธรรมในการทำงาน

2. คุณจะทำอะไรบ้างที่จะพัฒนาลูกน้อง

- ฝึกทำงานเป็นทีม เช่น ระดมสมอง ทำ workshop เพื่อสร้างสรรค์ผลงานที่ดี มีความคิดใหม่ๆในการทำงาน และเสริมสร้างความสามัคคี

- สร้างแรงจูงใจในการทำงาน โดยมีเป้าหมายร่วมกัน

- เปิดโอกาสให้ลูกน้องแสดงความคิดเห็น และมีความอดทนในการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

3. โลกาภิวัตน์ เศรษฐศาสตร์จุลภาค และมหภาค ให้เลือกมา 3 เรื่อง ที่เกี่ยวข้องกับ สศก. ที่ต้องนำไปวิจัยต่อไป

- การศึกษาการปรับตัวของเกษตรกรในธุรกิจการเลี้ยงโคนม จ.ชลบุรี

- แนวโน้มการผลิตสินค้าเกษตรของประเทศเพื่อนบ้านในช่วงปี 2552-2556

- การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนปุ๋ยอินทรีย์เปรียบเทียบกับปุ๋ยเคมีในการผลิตข้าวหอมมะลิ

1.เรื่องผู้นำ มีอะไรบ้างที่คุณจะทำต่อ

- ใฝ่รู้ สนใจต่อสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปเพื่อทันต่อกระแสลาภิวัตน์

- มีความคิดเป็นเหตุเป็นผล สามารถต่อยอดความรู้ได้ เช่น ต้องรู้จริงในเรื่องเกษตร+เศรษฐศาสตร์ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการทำงานได้

- มีทัศนคติ และวิสัยทัศน์ที่ดีในการทำงาน

- สื่อสารกับผู้ร่วมงานและเกษตรกรอย่างตรงประเด็น

- มีจริยธรรมในการทำงาน

2. คุณจะทำอะไรบ้างที่จะพัฒนาลูกน้อง

- ฝึกทำงานเป็นทีม เช่น ระดมสมอง ทำ workshop เพื่อสร้างสรรค์ผลงานที่ดี มีความคิดใหม่ๆในการทำงาน และเสริมสร้างความสามัคคี

- สร้างแรงจูงใจในการทำงาน โดยมีเป้าหมายร่วมกัน

- เปิดโอกาสให้ลูกน้องแสดงความคิดเห็น และมีความอดทนในการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

3. โลกาภิวัตน์ เศรษฐศาสตร์จุลภาค และมหภาค ให้เลือกมา 3 เรื่อง ที่เกี่ยวข้องกับ สศก. ที่ต้องนำไปวิจัยต่อไป

- การศึกษาการปรับตัวของเกษตรกรในธุรกิจการเลี้ยงโคนม จ.ชลบุรี

- แนวโน้มการผลิตสินค้าเกษตรของประเทศเพื่อนบ้านในช่วงปี 2552-2556

- การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนปุ๋ยอินทรีย์เปรียบเทียบกับปุ๋ยเคมีในการผลิตข้าวหอมมะลิ

สวัสดีค่ะอาจารย์

หนูเป็นเพื่อนกับคุณรักชนก แนะนำให้เข้ามาอ่านบล็อคของอาจารย์ ได้ความรู้เพิ่มเติมเยอะเลยค่ะ

แล้วจะติดตามผลงานอาจารย์ไปเรื่อยๆ น่ะค่ะ

ทั้งงานเขียนและรายการทางทีวี

หทัยรัตน์ สกลวิทยานนท์

เรียน ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์

 

1. ขอให้แต่ละคนคิดอย่างรอบคอบ (360 องศา) ว่างานที่ทำอยู่มีอะไรบ้างที่จะปรับปรุงให้ไปสู่การวัดผลที่ชัดเจนของการสร้างมูลค่าเพิ่มของเกษตรกร และอะไรคืออุปสรรค

      สำหรับงานที่ทำอยู่ปัจจุบันนั้น ค่อนข้างห่างไกลกับตัวเกษตรกรเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับด้านต่างประเทศ เกี่ยวกับลดภาษีบ้าง ความร่วมมือบ้าง แต่คิดว่าสามารถที่การนำงานที่ทำอยู่ไปเชื่อมโยงกับเกษตรกร เพื่อพัฒนาเกษตรกรนั้น คือเมื่อมีการเจรจาการลดภาษีสองฝ่าย อาทิการทำ FTA หรือภายใต้กรอบอื่นๆ จะผลักดันให้เกิดการลดภาษีในสินค้าที่เกษตรกรเรามีความสามารถ และกีดกันการลดภาษีในสินค้าที่เกษตรกรจะต้องเดือดร้อน หรืออย่างน้อยที่สุดยืดระยะเวลาการลดภาษีเพื่อให้เกษตรกรได้มีเวลาปรับตัว ตลอดจนการเสนอให้กรมภายในกระทรวงเกษตรฯ ผลักดันโครงการความร่วมมือที่นำไปสู่การพัฒนาต่อเกษตร อุปสรรคในการทำงานคือ การประสบการณ์และความเข้าใจด้านการเกษตรยังมีไม่มากเท่าที่ควร ตลอดจนทิศทางการทำงานของตนเองยังสับสน และวิถีการดำเนินการยังไม่ชัดเจนในบางครั้ง ซึ่งคิดว่าจะต้องหารือหรือขอคำชี้แนะต่อไป

2. แนวคิด 8K's และ 5K's ส่วนไหนบ้างที่ท่านมีแล้ว และส่วนไหนบ้างที่ต้องปรับปรุง เพราะอะไร

8K's

 

1. ทุนมนุษย์

มีแล้ว

2. ทุนทางปัญญา

มีบ้าง และต้องพัฒนาต่อไปเรื่อยๆ

3. ทุนทางจริยธรรม

มีแล้ว และต้องมีสติระลึกทุกเวลา

4. ทุนแห่งความสุข

มีแล้วในชีวิต แต่มีบ้างในชีวิตทำงาน อาจต้องใช้ 7 habits มาช่วยบรรเทา

5 ทุนทางสังคม

มีแล้ว แต่ต้องขยายวงสังคมต่อไป

6. ทุนแห่งความยั่งยืน

มีบ้าง เพราะต้องอาศัยประสบการณ์ในการรับมือการเปลี่ยนแปลงต่างๆ

7. ทุนทาง IT

มีแล้ว แต่ต้อง update เสมอๆ

8. ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ

มีแล้ว แต่ต้องพัฒนาเรื่อยๆ

5K's

 

1. ทุนแห่งการสร้างสรรค์

ไม่มี หรืออาจมีแต่ไม่รู้ เนื่องจากประสบการณ์ทำงานยังไม่มากนัก การสร้างสรรค์ใดๆ ต้องเกิดจากความเข้าใจในเนื้องานเป็นอย่างดีก่อน ในขณะที่ปัจจุบันยังเข้าใจเนื้องานที่ทำไม่แตกฉานมากนัก ซึ่งคิดว่าจะปรับปรุงได้เมื่อมีเวลาศึกษาอย่างถ่องแท้ และมีผู้มีประสบการณ์ชี้นำ

2. ทุนทางความรู้

มีแล้ว แต่ต้องพัฒนาเรื่อยๆ

3. ทุนทางนวัตกรรม

ไม่เข้าใจว่าจะต่างจากทุนแห่งการสร้างสรรค์อย่างไร

4. ทุนทางอารมณ์

มีน้อยในบางครั้ง เนื่องจากภาวะเครียดสะสมจากการทำงาน  อาจต้องใช้ 7 habits มาช่วยบรรเทา

5. ทุนทางวัฒนธรรม

มีบ้าง รับวัฒนธรรมองค์กรในบางเรื่องที่คิดว่าเป็นเรื่องที่ดีเท่านั้น

สวัสดีค่ะอาจารย์

ดิฉันเป็นเพื่อนกับคุณสรรเสริญ ค่ะ พอดีคุณสรรเสริญแนะนำเวบนี้มาให้อ่าน

เพราะเห็นว่าเวบนี้มีประโยชน์ จะคอยติดตามผลอ่านในเวบนี้ต่อไปค่ะ

นุชรัตน์ แสงแก้ว (สลก.)

เรียน ศ.ดร.จีระ

ส่งการบ้านค่ะ

1. ขอให้แต่ละคนคิดอย่างรอบคอบ 360 องศา ว่างานที่ทำอยู่มีอะไรบ้างที่จะปรับปรุงให้ไปสู่การวัดผลที่ชัดเจนของการสร้างมูลค่าเพิ่มของเกษตรกร และอะไรคืออุปสรรค

ตอบ ในส่วนงานที่ตนเองทำ เป็นการดูแลการใช้จ่ายงบประมาณของสำนักงานเลขานุการกรม และภาพรวมของ สศก. เป็นงานที่บริการเจ้าหน้าที่ของ สศก. ในการเบิกจ่ายเงินงบประมาณที่ได้รับจัดสรร ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเกษตรกร หากจะวัดผลที่ชัดเจนเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้เกษตรกร คิดว่าเป็นการวัดผลที่จะได้ผลลัพธ์ออกมาไม่ตรงตามความต้องการ แต่จะปรับปรุงงานที่ทำอยู่ หาพลัง (Energy) ให้ตัวเอง แล้วทำให้ผู้ร่วมงานมีพลัง (Energize) แล้วร่วมกันทำงานไปด้วยกัน ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็จะทำงานชิ้นนั้น ๆ ให้สำเร็จ (Execution)

2. ในแนวคิด 8K’s และ 5K’s ซึ่งผมยังไม่ได้พูดถึงมากนัก แต่ขอให้ทุกคนอ่าน และถ้าไม่เข้าใจขอให้ปรึกษาคุณวราพร ทีมงานของผม แล้ววิเคราะห์ว่า ทุน 8K’s และ 5K’s ส่วนไหนบ้างที่ท่านมีแล้วและส่วนไหนบ้างที่ต้องปรับปรุงเป็นเพราะอะไร

ตอบ 1. แนวคิด 8K’s

ทุนที่ตัวเองมีแล้ว คือ

1. ทุนมนุษย์(Human Capital)

2. ทุนทางปัญญา (Intellectual Capital)

3. ทุนทางจริยธรรม (Ethical Capital)

4. ทุนทางความสุข (Happiness Capital)

5. ทุนทางสังคม (Social Capital)

6. ทุนทาง IT(Digital Capital)

7. ทุนทาง Knowledge Skill และ Mindset (Talented Capital)

 ทุนที่ต้องการปรับปรุง

1. ทุนทาง Knowledge Skill และ Mindset (Talented Capital) อยากปรับปรุงทักษะภาษาอังกฤษของตนเอง เพราะไม่ได้ทั้งการพูด อ่าน เขียน

2. ทุนทางสังคม (Social Capital) เพราะสังคมของตนเองยังแคบ จะมีสังคมเฉพาะกับผู้ร่วมงานในฝ่าย,กองเดียวกัน

3. ทุนแห่งความยั่งยืน(Sustainability Capital) จะพัฒนาตนเองให้รู้กว้าง มีข้อมูลที่ทันเหตุการณ์ ทันสมัย และรู้จริง

4. ทุนทางปัญญา (Intellectual Capital) จะพัฒนาให้ตนเองรู้จักคิดให้เป็น วิเคราะห์ข้อมูล เหตุการณ์ต่าง ๆ เพื่อมาปรับใช้กับงานที่ตนเองรับผิดชอบอยู่

2. แนวคิด 5K’s

ทุนที่ตัวเองมีแล้ว คือ

1. ทุนทางความรู้(Knowledge Capital)

ทุนที่ต้องการปรับปรุง

1. ทุนทางความรู้(Knowledge Capital) อยากปรับปรุงทักษะภาษาอังกฤษของตนเอง เพราะไม่ได้ทั้งการพูด อ่าน เขียน

2. ทุนทางนวัตกรรม (Innovation Capital) ต้องรู้จักสร้างสรรค์ ต้องมีความพร้อมที่จะก้าวไปข้างหน้า ปรับตัวให้ทันกับความเปลี่ยนแปลง

3. ทุนทางวัฒนธรรม (Cultural Capital) การรู้จักเข้าสังคม การรู้จักวางตัว

4. ทุนทางอารมณ์ (Emotional Capital)

5. ทุนแห่งการสร้างสรรค์ (Creativity Capital) ต้องรู้จักสร้างสรรค์ คิดนอกกรอบ

อาจารย์จิระ

1. คิดอย่างรอบคอบว่างานที่ทำอยู่มีอะไรบ้างที่จะปรับปรุงให้ไปสู่การวัดผลที่ชัดเจนของการสร้างมูลค่าเพิ่มของเกษตรกร และอะไรคืออุปสรรค

ปัจจุบันงานที่ทำอยู่คือ ติดตามโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการด้านโคเนื้อ และโครงการคัดเลือกพ่อโคกำแพงแสนเพื่อผลิตน้ำเชื้อ ซึ่งเป็นโครงการที่จัดตั้งขึ้นเพื่อเตรียมพร้อมในการรองรับผลกระทบจาก FTA โดยการอบรมเรื่องเกี่ยวกับโคเนื้อให้เกษตรกรผู้เลี้ยงโคได้รับรู้ถึงวิธีการเลี้ยงและเทคโนโลยีใหม่ๆ รวมทั้งดำเนินการเพาะและหาน้ำเชื้อให้กับเกษตรกรเพื่อขยายพันธุ์โคกำแพงแสน เนื่องจากโคกำแพงแสนเป็นโคที่เกิดจากการผสมกันระหว่างโคพันธุ์พื้นเมือง และโคพันธุ์ชาโลเร่ส์ เป็นโคที่มีความอดทน ทนร้อนได้ดี และมีเนื้อแน่น หนา นุ่ม มีคุณภาพทัดเทียมกับโคเนื้อต่างประเทศ ซึ่งหากมีการขยายพันธุ์โคกำแพงแสนคุณภาพดี ให้มีมากขึ้น และมีคุณภาพทัดเทียมกับต่างประเทศแล้ว จะส่งผลให้ลดการนำเข้าเนื้อโค และส่งเสริมการบริโภคเนื้อโคในประเทศแทน ช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ยกระดับให้เกษตรกรมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น การติดตามโครงการเหล่านี้ เพื่อที่จะตามดูการดำเนินงานของโครงการ ดูความก้าวหน้าของโครงการว่าได้ทำไปเท่าไรแล้ว ตรงตามเป้าหมายที่ได้วางไว้หรือไม่ มีปัญหา หรืออุปสรรคที่เกิดจากการดำเนินงานหรือไม่ เพื่อนำมาสรุป และนำเสนอให้กับผู้บริหารของ กระทรวงฯ ต่อไป เพื่อให้ผู้บริหารได้พิจารณาและนำไปปรับปรุงแก้ไขโครงการให้มีประสิทธิภาพ และผลักดันให้บรรลุผลตามที่ตั้งไว้

2. แนวคิด 8 K’s และ 5 K’s มีส่วนไหนที่มีแล้ว และส่วนไหนที่ต้องปรับปรุง เพราะอะไร

เนื่องจากอาจารย์ไม่ได้กล่าวถึงรายละเอียดเนื้อของ 8K’s และ 5 K’s ในแต่ละ ทุนว่าคืออะไร ไม่ได้ขยายความจึงขอพูดเฉพาะทุนที่ตัวเอง(เดา)เข้าใจเท่านั้น

ส่วนที่คิดว่าตัวเองมีคือ ทุนทางปัญญา ทุนทางจริยธรรม ทุนทาง IT ทุนทางความรู้ เนื่องจาก เป็นคนที่เมื่ออยากรู้อะไรจะต้องหาข้อมูล และใฝ่หาความรู้ ให้ลึก และรู้จริง (ข่าวกรอง) และเป็นคนที่มีความยุติธรรม มีจิตสำนึก รับผิดชอบ ไปตามที่ถูกที่ควร และชอบศึกษาและฝึกฝนในเรื่องของเทคโนโลยี สิ่งที่จะต้องปรับปรุงคือ ทุนทางอารมณ์ เนื่องจากในบางครั้งยังขาดการระงับอารมณ์ บางครั้งเจอหัวหน้างี่เง่า ลำเอียง ไม่มีสมอง มีตอบโต้ไปทันทีบ้าง บางครั้งคิดว่าตัวเองตอบเสียงราบเรียบแล้ว แต่ฟังดูดีๆ หรือการแสดงออกทางสีหน้า คือความไม่พอใจ เพราะจากการที่ตนเองเป็นคนไม่ชอบให้ใครเอาเปรียบ และไม่ชอบเห็นอะไรไม่ถูกไม่ควร เวลาปฏิบัติกับใครก็จะเสมอภาค บางครั้งเห็นความลำเอียงของหัวหน้า การบริหารงานของหัวหน้าที่ ใช้ระบบเลีย ในการบริหารงาน ทำให้รู้สึกขัดใจ หงุดหงิด ซึ่งในบางครั้งเป็นผลร้ายกับตัวเอง ในการที่ reaction ซึ่งจะต้องมีการปรับปรุง และพัฒนาอารมณ์ให้ดีกว่านี้ นอกจากนี้ทุนทางความสุข (ถ้ามองในแง่เรื่องงาน) ยังไม่มี เพราะไม่มีความสุขกับการทำงาน ที่บอกว่าไม่มีความสุขหมายถึง ตัวคนผู้ร่วมงานมากกว่า ตัวเนื้องาน มีความสุขดี เพราะมีเรื่องที่เรายังไม่มรู้อีกหลายเรื่อง และอยากรู้กระตือรือร้น และพร้อมที่จะใฝ่หาความรู้เพิ่มเติม เพียงแต่ขาดโอกาสที่ดีเท่านั้น

สวัสดีค่ะ..อาจารย์ จีระ

หนูเป็นเพื่อนกับคุณฐิติพร อนุชาตานนท์ ค่ะ พอดีโดนบังคับให้เข้ามาอ่าน blog นี้ค่ะ เพราะเพื่อน(คุณฐิติพร)บอกว่าเป็น blog ที่มีสาระความรู้เกี่ยวกับเรื่องทุนของมนุษย์ ซึ่งตรงกับที่กำลังสนใจพอดี และพอได้เข้ามาเห็นสาระการอบรมของหน่วยงานนี้แล้ว รู้สึกอยากให้ที่ทำงานหนูมีการอบรมอย่างนี้บ้างค่ะ

หลังจากที่ได้อ่านสาระใน blog นี้แล้ว ก็คิดว่าจะคอยติดตามผลงานของอาจารย์ต่อๆ ไปเรื่อยๆ นะค๊ะ

สวัสดีอาจารย์ จีระ ค่ะ

ดิฉันเป็นเพื่อนร่วมงานกับคุณจิตรา เดชโคบุตร อยากจะเข้าร่วมอบรมในครั้งนี้ด้วยแต่ไม่มีโอกาส เพราะเคยติดตามผลงานของอาจารย์ทางรายการทีวีมาบ้าง คุณจิตราได้แนะนำให้เข้ามาอ่าน blog ของอาจารย์ อ่านแล้วได้รับความรู้มากมาย และคิดว่าเป็นประโยชน์ที่จะนำไปปรับใช้กับตนเอง

เพ็ญระวี บุตรแก้วแตง

เรียน อาจารย์ ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์ 

1. ขอให้แต่ละคนคิดอย่างรอบคอบ (360 องศา) ว่างานที่ทำอยู่มีอะไรบ้างที่จะปรับปรุงให้ไปสู่การวัดผลที่ชัดเจนของการสร้างมูลค่าเพิ่มของเกษตรกร และอะไรคืออุปสรรค

งานที่ทำอยู่จะเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำแผนปฏิบัติราชการ 4 ของกระทรวงเกษตรฯ (51-54), แผนพัฒนาการเกษตร ของ กษ. ซึ่งเป็นต่อยอดลงมาจากนโยบายของชาติ และนโยบาลของรัฐบาล รวมทั้งแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที 10 ซึ่งการจัดทำได้มีการประสานงานหน่วยงานต่างๆ ใน กษ. ให้จัดทำเป้าหมาย กลยุทธ์  และแผนงาน /โครงการ งบประมาณ เพื่อเป็นกรอบงานใน 4 ปี ซึ่งได้มีการประชุม ผ่านความเห็นชอบจากผู้บริหาร กษ.หลายครั้ง ซึ่งในความเห็นคิดว่าการทำงานทางด้านนโยบายต่างๆ ที่ผ่านมายังไม่มีความชัดเจนและการคิดนโยบายต่างๆ เป็นเพียงการความคิดของเห็นด้านเดียวของผู้จัดทำนโยบายและผู้บริหารฯ   ซึ่งออกนโยบายตามนโยบายหลักของรัฐบาล ให้ไปสู่เป้าหมายที่รัฐบาลต้องการ แต่ไม่รู้ความต้องการของเกษตรกรหรือศักยภาพของเกษตรกรในพื้นที่ ซึ่งเป็นอุปสรรค ที่ทำให้ไม่สามารถพัฒนา สร้างรายได้ให้กับเกษตรกได้อย่างแท้จริงคะ

2.  ในแนวคิด 8 K’s และ 5K’s ส่วนไหนบ้างที่ท่านมีแล้ว และส่วนไหนบ้างที่ต้องปรับปรุง เป็นเพราะอะไร

8K's

  1. ทุนมนุษย์           มีแล้ว
  2. ทุนทางปัญญา    มีแล้ว  แต่ต้องได้รับการพัฒนาอยู่เสมอ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตลอกเวลา ทำให้ต้องมีเรียนรู้ตลอดเวลา
  3. ทุนทางจริยธรรม  มีแล้ว
  4. ทุนแห่งความสุข   มีบ้าง  คงต้องนำหลักการบริหารการเปลี่ยนแปลงและ 7 habit มาใช้ในการทำงานและชีวิตประจำวันเพื่อเพิ่มความสุขในชีวิตให้มากขึ้น
  5. ทุนทางสังคม มีแล้ว แต่คงต้องพัฒนาสร้างเครือข่ายมากขึ้น
  6. ทุนแห่งความยั่งยืน  มีแล้ว
  7. ทุนทาง IT  มีแล้ว  แต่ต้องพัฒนาทักษะใหม่อยู่เสมอ เพราะ IT มีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วมาก
  8. ทุนทางความรูุ้ ทักษะและทัศนคติ  มีแล้ว แต่ต้องได้รับการพัฒนาทักษะ และเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ อยู่เสมอ

5K’s

  1. ทุนแห่งการสร้างสรรค์  ไม่ค่อยมี เนื่องจากการทำงานส่วนใหญ่ขึ้อยู่กับความเห็นหัวหน้างานเป็นส่วนใหญ่ ทำให้การทำงานในปัจจุบันไม่ได้เกิดความคิดสร้างสรรค์มากเท่าที่ควรและงานเป็นงาน routine อีกด้วย
  2. ทุนทางความรู้   มีแล้ว แต่ต้องเพิ่มพูนความรู้ อ่านหนังสือให้มากขึ้น เพื่อเปิดโลกทัศน์รับสิ่งใหม่ๆ เสมอ
  3. ทุนทางนวัตกรรม  ไม่ค่อยมี อาจเป็นเพราะการทำงานในระบบราชการถูกบล็อคความคิด เลยไม่ค่อยมีความคิดทางด้านนวัตกรรมใหม่ๆ
  4. ทุนทางอารมณ์   มีแต่น้อยมาก เนื่องสภาพการทำงานในระบบราชการปัจจุบันที่เปลี่ยนไป จากเดิม คือ การทำงานต้องอาศัยความรวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ รวมทั้งระบบการวัดผลงานของแต่ละบุคคลทำงานเกิดความเครียด ต้องมีการปรับเปลี่ยน พัฒนาอารมณ์ สร้างความคิดในทางบวกเสมอ
  5. ทุนทางวัฒนธรรม  มีแล้วคะ

 

เรียน อาจารย์จีระ หงส์ลดารมภ์

ข้อ 1.การสร้างมูลค่าเพิ่มของเกษตรกรมีอะไรบ้าง

ทฤษฎีมูลค่าเพิ่ม เน้นให้ทุกคนสามารถที่จะเปลี่ยนข้อมูล เป็นข่าวสาร เป็นความรู้ และสามารถนำไปสร้างมูลค่าเพิ่ม และก่อให้เกิดความฉลาดเฉลียว ในการปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดี โดยมีลำดับดังนี้ มีการเก็บข้อมูล (data) และจัดหมวดหมู่ (coding) ก่อให้เกิดข่าวสาร (information) เมื่อนำข่าวสารมาคิดต่อ วิเคราะห์ วิจัยจะเกิดเป็นความรู้ (knowledge) หากมีการนำความรู้ไปใช้เกิดการสร้างมูลค่าเพิ่ม (value added) นั่นคือ เป็นการเปิดโลกทัศน์ เป็นการบริหารแบบ Paradigm Shift เปลี่ยนวิธีคิดในการทำงานให้สอดคล้องกับสังคมจุดใดจุดหนึ่ง ซึ่งการสร้างมูลค่าเพิ่มนี้ต้องการ การบริหารจัดการมาก และสุดท้ายจะก่อให้เกิดความฉลาดเฉลียว (wisdom) ขึ้น

สิ่งสำคัญในการการสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าเกษตร คือ เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย ซึ่งช่องทางดังกล่าวนั้น มีหลายรูปแบบ เช่น แปรรูปสินค้า ลดต้นทุนโลจิสติกส์ การบริหารจัดการที่ดี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและขีดความสามารถในการแข่งขัน จำเป็นต้องมีการเก็บข้อมูลข่าวสารที่แม่นยำถูกต้อง เพื่อที่จะได้นำข้อมูลนั้นมาวิเคราะห์วิจัย เพื่อจะได้ปรับปรุง แก้ไขจุดบกพร่องนั้น

…………………………………………………………………………………………

ข้อ 2.แนวคิด 8K's และ 5K's ส่วนไหนบ้างที่ท่านมี และส่วนไหนบ้างที่ต้องปรับปรุง

การบริหารทรัพยากรมนุษย์สมัยใหม่ให้ความสำคัญกับความหลากหลายของทุนมนุษย์ในองค์กร เป็นพื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ทุนมนุษย์ ของ ศ.ดร.จีระ ตามทฤษฎี 8 K’s ได้แก่

1. ทุนมนุษย์(Human Capital) คือ ทุนที่ได้จากความรู้พื้นฐานของการศึกษาเล่าเรียนซึ่งทุกคนจะต้องมี

2.ทุนทางความรู้(Talented Capital) คือ ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ การมีความรู้ ทักษะ และทัศนคติ (Mindset) ที่ถูกต้องในการทำงาน บุคคลจะไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3.ทุนทางปัญญา (Intellectual Capital) คือ ความสามารถในการคิดเป็น วิเคราะห์เป็น ทุนทางปัญญาเป็นการแสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่อง

4. ทุนทาง IT(Digital Capital) คือ การพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถ พร้อมที่จะแข่งขันในยุคโลกาภิวัตน์ได้ จำเป็นต้องพัฒนาทุนด้านนี้

5. ทุนทางความสุข (Happiness Capital) คือ ความสุขทั้งทางกาย และใจ ซึ่งการจะทำสิ่งใดควรคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของตนเอง และผู้อื่นด้วย

6. ทุนทางจริยธรรม (Ethical Capital) คือ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ควรปลูกฝังทุนทางจริยธรรมไว้ในเบื้องต้น

7.ทุนทางสังคม (Social Capital) คือ การรู้จักเข้าสังคม การวางตัว หน้าที่ และบทบาทของตนเองต่อสังคม

8.ทุนแห่งความยั่งยืน(Sustainability Capital) คือ ทุนที่สำคัญของทรัพยากรมนุษย์ในยุคโลกาภิวัตน์ เพราะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา หากเราไม่พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง เราไม่สามารถอยู่รอดและแข่งขันกับผู้อื่นได้

สำหรับทฤษฏี 5K’s ได้แก่

1.Creativity Capital (ทุนแห่งการสร้างสรรค์)

2. Knowledge Capital (ทุนทางความรู้)

3. Innovation Capital (ทุนทางนวัตกรรม)

4. Emotional Capital (ทุนทางอารมณ์)

5. Cultural Capital (ทุนทางวัฒนธรรม)

ทฤษฎีข้างต้นนี้ เป็นทฤษฏีพื้นฐานในการปฏิบัติงานซึ่งต้องให้ความสำคัญกับทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งทุกหน่วยงานจะต้องมีทรัพยากรบุคคลที่มีทุนดังกล่าวครบ หน่วยงานนั้นจึงจะมีศักยภาพ มีความแข็งแกร่ง สามารถนำพาองค์กรให้บรรลุเป้าหมายร่วมกันได้ ซึ่งในหน่วยงานที่ทำอยู่ ก็ยึดถือแนวปฏิบัติตามทฤษฏีดังกล่าวทุกข้อ

…………………………………………………………………………………………………………

เรียน อาจารย์จีระ หงส์ลดารมภ์

ข้อ 1.การสร้างมูลค่าเพิ่มของเกษตรกรมีอะไรบ้าง

ทฤษฎีมูลค่าเพิ่ม เน้นให้ทุกคนสามารถที่จะเปลี่ยนข้อมูล เป็นข่าวสาร เป็นความรู้ และสามารถนำไปสร้างมูลค่าเพิ่ม และก่อให้เกิดความฉลาดเฉลียว ในการปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดี โดยมีลำดับดังนี้ มีการเก็บข้อมูล (data) และจัดหมวดหมู่ (coding) ก่อให้เกิดข่าวสาร (information) เมื่อนำข่าวสารมาคิดต่อ วิเคราะห์ วิจัยจะเกิดเป็นความรู้ (knowledge) หากมีการนำความรู้ไปใช้เกิดการสร้างมูลค่าเพิ่ม (value added) นั่นคือ เป็นการเปิดโลกทัศน์ เป็นการบริหารแบบ Paradigm Shift เปลี่ยนวิธีคิดในการทำงานให้สอดคล้องกับสังคมจุดใดจุดหนึ่ง ซึ่งการสร้างมูลค่าเพิ่มนี้ต้องการ การบริหารจัดการมาก และสุดท้ายจะก่อให้เกิดความฉลาดเฉลียว (wisdom) ขึ้น

สิ่งสำคัญในการการสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าเกษตร คือ เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย ซึ่งช่องทางดังกล่าวนั้น มีหลายรูปแบบ เช่น แปรรูปสินค้า ลดต้นทุนโลจิสติกส์ การบริหารจัดการที่ดี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและขีดความสามารถในการแข่งขัน จำเป็นต้องมีการเก็บข้อมูลข่าวสารที่แม่นยำถูกต้อง เพื่อที่จะได้นำข้อมูลนั้นมาวิเคราะห์วิจัย เพื่อจะได้ปรับปรุง แก้ไขจุดบกพร่องนั้น

…………………………………………………………………………………………

ข้อ 2.แนวคิด 8K's และ 5K's ส่วนไหนบ้างที่ท่านมี และส่วนไหนบ้างที่ต้องปรับปรุง

การบริหารทรัพยากรมนุษย์สมัยใหม่ให้ความสำคัญกับความหลากหลายของทุนมนุษย์ในองค์กร เป็นพื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ทุนมนุษย์ ของ ศ.ดร.จีระ ตามทฤษฎี 8 K’s ได้แก่

1. ทุนมนุษย์(Human Capital) คือ ทุนที่ได้จากความรู้พื้นฐานของการศึกษาเล่าเรียนซึ่งทุกคนจะต้องมี

2.ทุนทางความรู้(Talented Capital) คือ ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ การมีความรู้ ทักษะ และทัศนคติ (Mindset) ที่ถูกต้องในการทำงาน บุคคลจะไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3.ทุนทางปัญญา (Intellectual Capital) คือ ความสามารถในการคิดเป็น วิเคราะห์เป็น ทุนทางปัญญาเป็นการแสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่อง

4. ทุนทาง IT(Digital Capital) คือ การพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถ พร้อมที่จะแข่งขันในยุคโลกาภิวัตน์ได้ จำเป็นต้องพัฒนาทุนด้านนี้

5. ทุนทางความสุข (Happiness Capital) คือ ความสุขทั้งทางกาย และใจ ซึ่งการจะทำสิ่งใดควรคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของตนเอง และผู้อื่นด้วย

6. ทุนทางจริยธรรม (Ethical Capital) คือ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ควรปลูกฝังทุนทางจริยธรรมไว้ในเบื้องต้น

7.ทุนทางสังคม (Social Capital) คือ การรู้จักเข้าสังคม การวางตัว หน้าที่ และบทบาทของตนเองต่อสังคม

8.ทุนแห่งความยั่งยืน(Sustainability Capital) คือ ทุนที่สำคัญของทรัพยากรมนุษย์ในยุคโลกาภิวัตน์ เพราะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา หากเราไม่พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง เราไม่สามารถอยู่รอดและแข่งขันกับผู้อื่นได้

สำหรับทฤษฏี 5K’s ได้แก่

1.Creativity Capital (ทุนแห่งการสร้างสรรค์)

2. Knowledge Capital (ทุนทางความรู้)

3. Innovation Capital (ทุนทางนวัตกรรม)

4. Emotional Capital (ทุนทางอารมณ์)

5. Cultural Capital (ทุนทางวัฒนธรรม)

ทฤษฎีข้างต้นนี้ เป็นทฤษฏีพื้นฐานในการปฏิบัติงานซึ่งต้องให้ความสำคัญกับทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งทุกหน่วยงานจะต้องมีทรัพยากรบุคคลที่มีทุนดังกล่าวครบ หน่วยงานนั้นจึงจะมีศักยภาพ มีความแข็งแกร่ง สามารถนำพาองค์กรให้บรรลุเป้าหมายร่วมกันได้ ซึ่งในหน่วยงานที่ทำอยู่ ก็ยึดถือแนวปฏิบัติตามทฤษฏีดังกล่าวทุกข้อ

…………………………………………………………………………………………………………

สรรเสริญ ศรีเหนี่ยง

งานที่ผมทำอยู่ จะทำในส่วนเกี่ยวกับการวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร ซึ่งสิ่งที่จำเป็นจะต้องปรับปรุงคือ ความรวดเร็ว และถูกต้องในการวิเคราะห์ข้อมูล เนื่องจากปัจจุบันอยู่ในยุคที่ข้อมูลข่าวสาร มีการเปลี่ยนแปลงเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว เราจำเป็นจะต้องมีการปรับการทำงานให้เสร็จก่อนที่จะเกิดปัญหาหรือวิกฤตขึ้นมา ปัญหาอย่างหนึ่งที่เกิด คือ การทำวิจัยนั้น ในบางครั้งอาจจะทำเสร็จออกมาเป็นรูปเล่มเมื่อปัญหานั้นได้เกิดขึ้นไปแล้ว หรือทำการศึกษาหลังจากที่ปัญหานั้นเกิดขึ้น ดังนั้นสิ่งจำเป็นคือ ควรมองปัญหาที่คาดว่ามีความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้น แล้วทำการศึกษาปัญหานั้นเตรียมไว้ เพื่อเตรียมการแก้ไขปัญหา หรือเฝ้าระวัง ป้องกันไม่ให้ปัญหานั้นเกิดขึ้น

นอกจากนี้ในการศึกษาวิจัยปัญหานั้น บางครั้งไม่จำเป็นต้องเป็นใช้เชิงเศรษฐศาสตร์อย่างเต็มเหนี่ยว เนื่องจากการใช้โมเดลทางเศรษฐศาสตร์นั้น ส่วนใหญ่จะเห็นได้ว่า เรามักใช้ข้อสมมติ ในการที่จะรันสมการนั้นๆ ซึ่งปัจจัยที่มีผลกระทบต่อสินค้าแต่ละชนิด มันจะมีมากกว่าปัจจัยที่เราใส่ลงไปในสมการนั้น

ดังนั้นนอกจากการที่ควรจะต้องศึกษาปัญหาที่จะเกิดขึ้นให้ถูกต้อง นำเสนอผลงานที่ความรวดเร็วแล้ว เราจำเป็นจะต้องได้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องในการที่จะวิเคราะห์ปัญหาถูกต้องให้ได้มากที่สุด เพื่อนำมาวิเคราะห์ และเสนอข้อเสนอแนะ ในการแก้ไขให้ถูกวิธี และตรงจุด เพื่อไม่ให้หลงทิศทางในการแก้ไขปัญหา ให้เกิดการแก้ไข ป้องกันปัญหาได้ทันท่วงที และไม่สิ้นเปลืองงบประมาณในทางผิดๆ อีกต่อไป ซึ่งเราอาจจะเห็นตัวอย่างได้ เช่น ในการที่เราสร้างโรงปุ๋ยผลิต ให้กับเกษตรกร แต่ปัจจุบัน โรงปุ๋ยหลายๆ โรงกลายเป็นอนุสาวรีย์รกร้างให้เจ็บใจเล่น

อุปสรรคที่สำคัญนั้น คือ การได้มาซึ่งข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง และรวดเร็ว ซึ่งการเก็บข้อมูลนั้นบางครั้งเราอาจจะลงไปในพื้นที่ที่เกิดปัญหาแล้วนำมาวิเคราะห์ แต่บางครั้งมันอาจจะไม่ทันท่วงที แต่เรายังโชคดีตรงที่เรามีสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 1-9 คอยช่วยเหลือ อย่างไรก็ตามประเทศไทยนั้นมี 76 จังหวัด แต่เรามีสำนักงานเขตเพียง 9 เขต ซี่งงานปัจจุบันของเขตก็มีมากอยู่แล้ว การที่หน่วยงานส่วนกลางจะเร่งให้ได้ข้อมูลจากเขตอย่างรวดเร็วนั้น บางครั้งหากเป็นจังหวัดที่อยู่ห่างไกลนั้น ก็จำเป็นที่จะต้องใช้เวลา และงบประมาณที่ลงไปยังเขตนั้นบางปีก็ได้น้อยกว่าที่ควรจะเป็น โดยผมเห็นว่ามีความจำเป็นที่จะต้องทำการประสานงานกับหน่วยงานภายนอกสังกัดกระทรวงเกษตร อื่นๆ ซึ่งมีหน่วยงานประจำจังหวัด เพื่อให้ได้มาถึงข้อมูลที่ถูกต้องและรวดเร็ว

นอกจากนี้อุปสรรคที่สำคัญที่สุด คือ อุปสรรคทางการเมือง ซึ่งแม้ว่าข้อเสนอแนะของเรานั้นจะดีหรือถูกต้องเพียงใด แต่หากไม่ได้รับความเห็นชอบทางการเมืองนั้น ก็อาจจะตกไป หรืออาจจะจำเป็นต้องปรับให้ถูกต้องกับความต้องการจากการเมือง ดังนั้นสิ่งจำเป็นที่สำคัญที่สุด คือ เราจำเป็นจะต้องมีจุดยืนในการนำเสนอ ซึ่งจำเป็นจะต้องนำเสนอสิ่งที่ถูกต้อง ซึ่งหากทำได้จะช่วยให้การแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับพี่น้องเกษตรกรเป็นไปอย่างถูกต้องตรงประเด็น

จากทฤษฎี 8 K’s นั้น เมื่อผมมาวิเคราะห์กับตัวผมเองนั้น ผมคิดว่าผมมีทุก K แต่อยู่ที่ว่ามีมากมีน้อย ซึ่งใน ด้านทุนมนุษย์ (Human Capital) นั้นถือเป็นทุนพื้นฐานที่ทุกคนควรต้องมีอยู่แล้ว แต่เมื่อมองในแต่ละด้าน พบว่า ทุนทางปัญญา (Intellectual Capital) ,ทุนแห่งความยั่งยืน (Sustainability Capital) ทุนทาง IT (Digital Capital) และ ทุนทาง Knowledge Skill และ Mindset (Talented Capital) นั้นเราจำเป็นต้องพัฒนาอยู่เสมอ เนื่องจากความรู้และเทคโนโลยีต่างๆ นั้นมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ และเป็นไปอย่างรวดเร็ว โดยในทุนทางสังคม (Social Capital) นั้นควรจะมีการขยายฐาน หรือรักษาฐานเดิมไว้ เพื่อไม่ให้หายไป และ ทุนด้านจริยธรรม (Ethical Capital) มีความจำเป็นที่จะต้องฝึกให้รู้ตัวเองอยู่เสมอ เพราะใจคนนั้นเปรียบเสมือนน้ำ เผลอเป็นไม่ได้ มันจะไหลลงสู่ที่ต่ำ ซึ่งทุนสุดท้าย คือ ทุนแห่งความสุข (Happiness Capital) ต้องรู้จักปล่อยวาง ผ่อนปรนในบางสิ่งที่ไม่จำเป็น สิ่งที่แก้ไขไม่ได้ และนำสิ่งนั้นเป็นบทเรียนแก้ไข แล้วเราจะเห็นได้ว่าความสุขนั้น มิได้อยู่ห่างไกล มันอยู่ที่ใจของเราเอง

และในทฤษฎี 5 K’s นั้นสิ่งที่ผมขาดอย่างมาก คือ ทุนทางนวัตกรรม (Innovation Capital) และทุนแห่งการสร้างสรรค์ (Creativity Capital) ซึ่งผมคิดว่าเราจำเป็นจะต้องมีการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ให้เกิดขึ้น แต่ในส่วนของ ทุนทางความรู้ (Knowledge Capital) ทุนทางอารมณ์ (Emotional Capital) และ ทุนทางวัฒนธรรม (Cultural Capital) นั้นแม้ว่าจะมีแล้ว แต่จำเป็นจะต้องมีการพัฒนาอยู่เสมอ

กุลธิดา ศรีวิพัฒน์

เรียน อ.จีระ ที่เคารพ

สำหรับการบ้าน 2 ข้อในวันนี้ หนูขออนุญาติตอบดังนี้ค่ะ

1.เรื่องของการปรับปรุงงานที่ทำอยู่ให้ไปสู่การวัดผลที่ชัดเจนของการสร้างมูลค่าเพิ่มของเกษตรกร นั้น

โดยส่วนตัวแล้วคิดว่างานที่ทำอยู่ในปัจจุบันนี้ที่ควรจะได้รับการปรับปรุงก็คือ การลดต้นทุนการผลิตสำหรับสินค้าเกษตร เพราะจากการที่ได้ลงพื้นที่พบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่มีต้นทุนในการผลิตสินค้าแต่ละชนิดสูงแต่ผลตอบแทนที่ได้รับไม่คุ้มค่ากับการลงทุน ซึ่งหากเราสามารถทำให้เกษตรกรหันมาลดต้นทุนการผลิตในด้านการใช้ ปุ๋ย ยา สารเคมีต่างๆ ลงได้ ก็จะเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่เกษตรกรได้

ปัญหา/อุปสรรค

1.เกษตรกรส่วนใหญ่ยังมีความเชื่อในเรื่องของการใช้สารเคมีว่าจะทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นจากเดิม และดีกว่าการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ซึ่งมีความยุ่งยาก และผลผลิตไม่ได้ตามที่ต้องการ

2. นโยบายของรัฐในเรื่องดังกล่าวยังไม่ชัดเจน

2. การวิเคราะห์ทุน 8K’s และ 5K’s สำหรับทั้ง 2 ทฤษฎีแล้ว จากการที่วิเคราะห์ตัวเองคิดว่าทฤษฎี 8K’s และ 5K’s เป็นทฤษฎีที่ตัวเองค่อนข้างจะมีอยู่ครบทุกข้อแล้ว แต่หากวิเคราะห์ลงไปในแต่ละข้อแล้วก็จะพบว่ามีอยู่ไม่ถึง 50%

ส่วนทุนที่ต้องปรับปรุงคิดว่าคงจะเป็นในเรื่องของInnovation Capital และCreativity Capital เพราะคิดว่าตัวเองยังไม่ค่อยมีความคิดที่สร้างสรร และไม่ชอบคิดอะไรที่อยู่นอกกรอบ (think outside the box)

กุลธิดา ศรีวิพัฒน์

เรียน ท่านอาจารย์ จีระ หงส์ลดารมภ์

จากการคิดทบทวนว่างานที่ต้องรับผิดชอบอยู่ในปัจจุบันนี้มีสิ่งที่จะต้องปรับปรุงเพื่อไปสู่การวัดผลที่ชัดเจนของการสร้างมูลค่าเพิ่มของเกษตรกร นั้น เกษตรกรของเรามีปัญหาด้านราคาที่เรื้อรังมานาน สินค้าเกษตรของเรามีราคาที่ค่อนข้างตกต่ำ เกษตกรมีแต่จะแย่ลง ไม่รู้ว่าสินค้าที่ลงทุนปลูกไปแล้วจะขายให้ใคร ขายได้ราคาเท่าไร ลงทุนไปแล้วแต่ไม่สามารถกำหนดราคาสินค้าเองได้ สินค้าถูกกำหนดราคาโดยพ่อค้าคนกลาง ซึ่งหากเราสามารถทำให้เกษตรกร สามารถร่วมกลุ่มกันอย่างเข้มแข็งภายในชุมชน เพื่อเพิ่มอำนาจในการต่อรองราคาก่อนการตกลงขายสินค้า ก็จะเป็นสิ่งที่สามารถเพิ่มมูลค่าของสินค้าเกษตรนั้นได้ในระดับหนึ่ง

ทฤษฎีทุน 8 K’s และ 5 K’s โดยส่วนตัวคิดว่าตัวเรานั้นมีทุนทุกตัวอยู่แล้วแต่อาจจะมีอยู่มากน้อยไม่เท่ากัน แต่คิดว่าทฤษฎีที่เราต้องปรับปรุงแก้ไขจะอยู่ในส่วนของทุนแห่งการสร้างสรรค์ ทุนทางนวัตกรรมและทุนทางอารมณ์ เพราะว่าความคิดนอกกรอบและความคิดสร้างสรรค์ของเราค่อนข้างน้อย

จุฑารัตน์ คงเกษม

เรียน อาจารย์จีระ หงส์ลดารมภ์

1. คิดอย่างรอบคอบว่างานที่ทำอยู่มีอะไรบ้างที่จะปรับปรุงให้ไปสู่การวัดผลที่ชัดเจนของการสร้างมูลค่าเพิ่มของเกษตรกร และอะไรคืออุปสรรค

งานที่ผมทำอยู่คือการประเมินผลแผนพัฒนาเกษตรอินทรีย์ ลักษณะงานที่ทำคือการประเมินผลโครงการของหน่วยงานต่างๆ ภายในกระทรวงเกษตรที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการผลิตแบบอินทรีย์ โดยกระบวนการประเมินจะกำหนดตัวชี้วัดในแต่ละประเด็นประกอบด้วย ด้านการบริหารจัดการ(Management) ปัจจัยนำเข้า (Input) ผลได้ (Output) และผลกระทบ (Impact) สิ่งหนึ่งที่ต้องตระหนักและให้ความสำคัญเพิ่มมากขึ้นคือผลกระทบ (Impact) อันได้แก่มูลค่าเพิ่มของเกษตรกร โดยการวัดจากการเปลี่ยนแปลงระบบจากเกษตรเคมีเป็นเกษตรอินทรีย์ที่นอกจากการวัดผลจากด้านกำไรสุทธิที่เพิ่มขึ้น การลดต้นทุนจากค่าปุ๋ยเคมี ซึ่งเป็นการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจหลังจากที่เกษตรปรับระบบเป็นการผลิตแบบอินทรีย์แล้ว สิ่งที่ต้องตระหนักเพิ่มขึ้นอีกประการคือมูลค่าทางสังคมและสุขภาพ อันเกิดจากการลดสารเคมี สารพิษ เข้าสู่ร่างกายซี่งนอกจากจะทำให้เกิดผลดีต่อตัวเกษตรกรเองแล้ว ยังทำให้ผู้บริโภคได้อนิสงตามด้วย ทั้งนี้หากผลการวิจัยเชิงประเมินผลสามารถวัดให้เห็นผลที่ชัดเจนของการสร้างมูลค่าเพิ่มของเกษตรกรทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมแล้ว งานชิ้นนี้จะเป็นส่วนหนึ่งในการกระตุ้นให้ทั้งภาครัฐ และเกษตรกรหันมาให้ความสำคัญกับเกษตรอินทรีย์มากขึ้น สำหรับอุปสรรคสำคัญที่ทำให้เกษตรกรบางส่วนไม่ให้ความสำคัญกับระบบการผลิตแบบอินทรีย์ เนื่องมาจากความเชื่อ และการยึดติดกับระบบการผลิตแบบเคมี ซึ่งคิดว่าให้ผลผลิตที่สูงกว่า สะดวกกว่า รวมทั้งหน่วยงานในภาครัฐและเอกชนอันเกี่ยวเนื่องจากผลประโยชน์ของธุรกิจปุ๋ยเคมีและสารเคมี ทำให้การพัฒนาระบบอินทรีย์ของประเทศไทยไม่สามารถเติบโตได้เท่าที่ควร

2. แนวคิด 8 K’s และ 5 K’s มีส่วนไหนที่มีแล้ว และส่วนไหนที่ต้องปรับปรุง เพราะอะไร

ทั้งแนวคิด 8 8 K’s และ 5 K’s ส่วนใหญ่จะมีอยู่แล้วแต่ที่ต้องพัฒนาและให้ความสำคัญเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะทุนแห่งการสร้างสรรค์ ทุนทางความรู้ ทุนทางนวัตกรรม เพราะทุนเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาตนให้เป็นผู้นำและสามารถทำให้การทำงานสัมฤทธิ์ผลได้ดียิ่งขึ้น

นายยุทธชาติ วงศ์ประทุม(สศข.5 )

เรียน อาจารย์ จิระ หงส์ลดารมภ์ ที่เคารพ

จากที่อาจารย์ได้ให้การบ้านมาทำนั้น ผมจึงขอส่งงานครับ

ข้อ 1.ขอให้แต่ละคนคิดอย่างรอบคอบ 360 องศา ว่างานที่ทำอยู่มีอะไรบ้างที่จะปรับปรุงให้ไปสู่การวัดผลที่ชัดเจนของการสร้างมูลค่าเพิ่มของเกษตรกรและอะไรคืออุปสรรค

ตอบ ถ้านั่งพิจารณาอย่างรอบคอบและถี่ถ้วนเกี่ยวกับงานที่ได้รับมอบหมายและได้มีการดำเนินการอยู่ในปัจจุบันมีอยู่ชิ้นหนึ่งที่จะช่วยส่งเสริมให้เกษตรกรมีมูลค่าเพิ่ม คือ งานสำรวจศัพยภาพของพื้นที่ปลูกพืชพลังงานทดแทนและอุปสงค์,อุปทานของพืชพลังงานบริเวณชายแดนในเขตพื้นที่จังหวัดสุรินทร์,ศรีสะเกษ,อุบลราชธานี ซึ่งมีจุดประสงค์ ก็เพื่อศึกษาถึงศักยภาพของพื้นที่ดังกล่าวว่ามีศักยภาพในการปลูกพื้นมากน้อยเพียงใดพร้อมยังได้รู้ถึงอุปสงค์และอุปทานของพืชพลังงานในเขตพื้นที่ดังกล่าวว่ามีความพร้อมที่จะรองรับความเปลี่ยนแปลงไปสู่การผลิตเป็นพลังงานทดแทนในอนาคต ถ้าเราได้ศึกษาถึงศักยภาพของพื้นที่ดังกล่าวแล้วว่ามีศักยภาพที่ควรจะเป็นไปได้กับที่ปลูกอยู่ในปัจจุบันว่ามีความสอดคล้องกันหรือเปล่า ผลการศึกษาพบว่าพื้นที่ดังกล่าวยังมีสามารถเพิ่มศักยภาพในการทำการเกษตรได้อีกเราก็ควรแนะนำและส่งเสริมให้เกษตรในพื้นที่เพิ่มพื้นที่ทำการเกษตรมากขึ้นและยังทราบถึงความต้องการของตลาดอีกด้วยและผลที่ได้ก็ส่งให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นแต่ถ้าผลการศึกษาพบว่าพื้นที่ดังกล่าวมีศักยภาพในการทำการเกษตรไม่ดีหรือปลูกพื้นนั้นไม่ได้ดี เราก็แนะนำให้เกษตรกรหันไปปลูกพืชอื่นที่ให้ผลผลิตหรือรายได้ที่ดีกว่าที่ทำอยู่ในปัจจุบันและจะทำให้เกษตรกรไม่ต้องประสบกับปัญหาผลผลิตไม่ดีอาจจะทำให้เกษตรกรขาดทุนได้

จากการที่ได้ลงพื้นที่จริงและได้พบปะกับเกษตรกรทำให้เราได้ทราบถึงอุปสรรคของเกษตรกรในพื้นที่คือ เกษตรกรยังมีวัฒนธรรมเดิมๆเกี่ยวกับการปลูกพืชชนิดเดิมๆซ้ำๆในพื้นที่เกษตรกรยังไม่มีความรู้ด้านการตลาดของพืชที่ปลูกเท่าที่ควรและยังอยู่ใต้อำนาจของนายทุนอยู่

ข้อ 2. ในแนวความคิด 8 k’s และ 5 k’s ซึ่งผมยังไม่ได้พูดถึงมากนักแต่ขอให้ทุกคนอ่านและถ้าไม่เข้าใจให้ปรึกษาคุณวราพร ทีมงานของผม แล้ววิเคราะห์ว่าทุน k’s และ 5 k’s ตัวไหนบ้างที่ท่านมีแล้วและส่วนไหนที่ต้องปรับปรุงเป็นเพราะอะไร

ตอบ จากการได้อ่านแนวความคิด8 k’s และ 5 k’s แล้วมาวิเคราะห์หรือนำมาเปรียบเทียบกับตัวเองว่ามีส่วนไหนที่เรามีเกี่ยวกับแนวคิดทั้งสองได้ดังนี้ (1). ทุนมนุษย์ (Human Capital) -ได้แก่ ความมีต้นทุนพื้นฐานที่ดีของตัวเราเอง ที่ได้รับมาจากการบิดามารดา ซึ่งทุนมนุษย์มีความสำคัญมาก (2). ทุนทางปัญญา (Intellectual Capital) ในด้านนี้กระผมก็มีต้นทุนด้านนื้คือ ความมีต้นทุนทางสติปัญญา ความรู้ การศึกษาที่ดี มีความรอบรู้กว้าง และมีความรู้จริงในสิ่งที่ตนเองกระทำอยู่ (3) ทุนทางจริยธรรม (Ethical Capital) -ได้แก่ ความเป็นผู้มีต้นทุนมนุษย์ทางด้านจิตใจที่ดี มีจริยธรรม มีคุณธรรม มีการปฏิบัติงานหน้าที่การงาน หรือการดำรงชีวิต, ต้องมีสติยึดมั่นในหลักแห่งความยุติธรรม วางตัวเป็นกลาง-ไม่เอนเอียง (4) ทุนแห่งความสุข (Happiness Capital) ก็คือ การกระทำตนให้เป็นคนที่มีต้นทุนในเชิงบวกเข้าไว้ แล้วจะทำให้ชีวิตจิตใจของเราเบิกบานมีความคิดในลักษณะเชิงสร้างสรรค์ มีความสนุกสนานและมีความพอใจในงานที่เราทำให้งานเราออกมาดี (5). ทุนทางสังคม (Social Capital) ก็คือการที่เรารู้จักการวางตัวที่เหมาะสม มีการเข้าสังคมที่ถูกต้อง คนที่วางตัวได้เหมาะสมกับหน้าที่และบทบาทของตัวเองต่อสังคม จะทำให้เกิดการยอมรับในสังคม ซึ่งก็ต้องเกิดจากการสั่งสมความรู้และประการณ์มาอย่างดีแน่ (6). ทุนแห่งความยั่งยืน (Sustainable Capital) -ได้แก่ ความเป็นคน, ที่-ไม่หยุดนิ่งสำหรับการพัฒนาตนเองในทุกรูปแบบ เพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคปัจจุบันซึ่งเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วตลอดเวลา จึงต้องเร่งหมั่นสร้างต้นทุนแห่งการพัฒนาที่ต่อเนื่อง อย่างสม่ำเสมอ อย่างยาวนานตลอดไป (7). ทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (Digital Capital) ก็คือ ความเป็นผู้ที่มีความรอบรู้ในสถานการณ์ของโลกในปัจจุบัน และเป็นผู้ที่มีความสนใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งถือว่าเป็นเครื่องมือที่สำคัญในยุคนี้ (8) ทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ (Talented Capital) ได้แก่ ความมีต้นทุนทางความรู้ความสามารถ มีทักษะ และทัศนคติที่ดีอยู่ในตัวเองยึดถือไว้เป็นต้นทุนของมนุษย์ จะสามารถสังเกตได้ง่าย ๆ ว่า ผู้ที่มี Human Capital อยู่ในตัวเองที่ดีแล้วนั้น ย่อมจะส่งผลให้ผู้นั้นมีโอกาสที่เรียนรู้ได้กว้างขวางมากกว่า

ส่วนทฤษฎีต้นทุนมนุษย์ 5K’s , นั้น (1). Innovation Capital ป็นบุคคลที่นิยมชมชอบในการค้นหานวัตกรรม และรักชอบการค้นคว้าเพื่อหาสิ่งใหม่ ๆ ที่ทันสมัยมาประยุกต์ใช้เนื่องในชีวิตประจำวัน และรวมถึงการนำมาใช้ในการปฏิบัติงานด้วย เพื่อให้เกิดความสำเร็จในชีวิต (2). Creativity Capital หมายถึง เป็นต้นทุนในตัวเองสำหรับการมีความคิดที่สร้างสรรค์ ที่สามารถนำใช้ในการดำเนินการชีวิตให้มีความสุข และสามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติหน้าที่การงานประจำให้ประสบผลสำเร็จได้ (3). Knowledge Capital เป็นทุนด้านการเรียนรู้ซึ่งการเรียนรู้ก็มีอยู่หลากหลายรูปแบบและสามารถเรียนรู้ได้ อย่างสม่ำเสมอไม่มีวันที่สิ้นสุด (4). Cultural Capital การประพฤติตนให้ตั้งอยู่ในกรอบระเบียบวินัย ขนมธรรมเนียมประเพณีแห่งวัฒนธรรมไทย, ที่ดีงาม (5). Emotion Cultural : การมีต้นทุนทางอารมณ์-ที่ดี!! นั่นหมายถึง, การมีอารมณ์ที่เบิกบาน มีหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส ไม่เป็น-คนหน้าหงิกหน้างอ, อยู่เป็นนิจ ไม่เป็น-คนที่ขี้หงุดหงิดโมโหง่ายจนใครต่อใครเข้าหน้า-ไม่ติด, อยู่เป็นประจำ เป็นคนที่มีจิตใจสงบเยือกเย็นสุขุมรอบคอบ มองโลกในแง่ดี ไม่มีจิตอกุศล คิดแต่อิจฉาริษยาผู้อื่นที่

1)งานที่ทำอยู่ในปัจจุบัน มีอะไรบ้างที่ต้องปรับปรุง

งานที่ทำในปัจจุบันเป็นงานเกี่ยวกับการติดตามความก้าวหน้าและประเมินผลโครงการ ปัญหาของการประเมินผลก็คือ งานที่ประเมินผลออกมาไม่ได้ใช้ในการแก้ไขปัญหาให้กับเกษตรกรอย่างแท้จริง ทำแล้วถูกเก็บไว้ ไม่ได้นำปัญหาและข้อเสนอแนะมาใช้เพื่อแก้ไขปัญหาให้ตรงจุด และในบางงานหรือโครงการถูกบิดเบือน เนื่องจากเกรงว่าจะเกิดผลกระทบกับหน่วยงานที่ปฎิบัติงานโครงการนั้นๆ เพื่อให้งานประเมินผลเกิดประโยชน์ต่อเกษตรกรอย่างแท้จริง เห็นสมควรให้นำข้อเสนอแนะจากการประเมินผลนั้นไปคิดพิจารณาและแก้ไขปัญหา เพื่อไม่ให้สิ้นเปลืองงบประมาณโดยเปล่าประโยชน์

2)แนวคิด 8K's และ 5K's ส่วนไหนที่มีแล้ว และส่วนไหนต้องปรับปรุง เพราะอะไร

แนวคิด 8K's

1.ทุนมนุษย์ มีแล้ว

2.ทุนทางปัญญา มีแล้วแต่ต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

3.ทุนทางจริยธรรม มีแล้ว

4.ทุนแห่งความสุข มีแล้วในชีวิตครอบครัว แต่ในชีวิตการทำงานมีบ้างแต่ไม่มากเนื่องจากแต่ละคนถือเอาความคิดของตนเป็นใหญ่

5.ทุนทางสังคม มีบ้างแต่ยังแคบเนื่องจากมีอยู่แต่เฉพาะในหน่วยงานของตนเอง

6.ทุนแห่งความยั่งยืน มีบ้างแต่ยังไม่ยั่งยืน เนื่องจากขาดการเรียนรู้ที่ต่อเนื่อง

7.ทุนทาง ไอที มีแต่ไม่ทันสมัย

8.ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ มีบ้างแต่ต้องศึกษาเพิ่มเติม เช่นภาษาอังกฤษ

แนวคิด 5K's

1.ทุนแห่งความสร้างสรรค์ มีแต่น้อยเนื่องจากขาดจินตนาการและความคิดริเริ่ม

2.ทุนทางความรู้ มีแต่ต้องพัฒนาให้มากขึ้น

3.ทุนทางนวัตกรรม มีแต่น้อยเนื่องจากกลัวการเปลี่ยนแปลง

4.ทุนทางอารมณ์ ควบคุมอารมณ์ได้ในบางสถานการณ์

5.ทุนทางวัฒนธรรม มีแล้วในสิ่งที่คิดว่าดีและถูกต้อง

ศุภกรณ์ พุทธินันท์

เรียน อาจารย์จีระ หงส์ลดารมภ์

1. งานที่ทำอยู่ทุกวันนี้ เป็นการจัดทำข้อมูลด้านการเกษตรที่ได้จากการสำรวจและวิเคราะห์ผล ซึ่งยังมีสิ่งที่ต้องปรับปรุงอยู่เสมอ โดยเฉพาะการพัฒนาความรู้ด้านวิชาการและเทคโนโลยีที่ต้องทำอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ก็เพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีความถูกต้องน่าเชื่อถือ ทันสมัยและทันเวลา ซึ่งจะสามารถวัดผลได้จาก การที่ผู้ใช้ข้อมูลนำไปใช้ประโยชน์แล้วสามารถแก้ไขปัญหาให้กับเกษตรกรในเรื่องนั้นๆได้อย่างเป็นรูปธรรม จึงจะถือว่าเป็นผลสำเร็จของงานและองค์กร แต่อุปสรรคหลักที่พบ ได้แก่ ข้อจำกัดด้านเวลา งบประมาณ ผู้ร่วมงาน รวมถึงผู้ใช้ประโยชน์ข้อมูลที่มีแนวคิดร่วมกันในการช่วยเหลือเกษตร

2. แนวคิด 5K's และ 8K's จากที่ได้ศึกษาอย่างที่มีเวลาค่อนข้างจำกัดแล้ว

คิดว่า สิ่งสำคัญที่สุดและต้องเร่งปรับปรุงตนเอง คือ Talented Capital

ใน 8K's เพราะยังค้นไม่พบว่าตนเองมีความสามารถที่เหนือกว่าคนอื่นหรือไม่

เราจะใช้โอกาสที่ได้รับการคัดเลือกให้มาเรียนรู้ถึงการเป็นผู้นำตามหลักสูตรที่อาจารย์เรียกว่า Talent Management แล้วนำกลับไปใช้ประโยชน์ต่อตนเอง ผู้ร่วมงานและองค์กร ได้มากน้อยเพียงใด ซึ่งก็คิดว่าจะได้เร่งปรับปรุงและนำความรู้จากการอบรมครั้งนี้มาปรับใช้กับการทำงานในปัจจุบันให้ได้มากที่สุดครับ

เรียน อาจารย์จีระ หงส์ลดารมภ์

1)งานที่ทำอยู่ในปัจจุบัน มีอะไรบ้างที่ต้องปรับปรุง

-ระยะเวลาในการทำงานวิจัยหรืองานวิชาการนั้นยังล่าช้า ทำให้ในบางครั้งผลงานวิจัยที่ได้รับมาไม่ทันสมัยต่อเหตุการณ์ปัจจุบัน ซึ่งอุปสรรคของปัญหานี้คือระบบการทำงานขององค์กรมีหลายขั้นตอน และขาดการประสานงานที่ดีภายในองค์กร

-นักวิชาการยังขาดทักษะในการใช้เครื่องมือวิจัยแบบใหม่ๆในการเสนอผลงานวิชาการ ทำให้เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยยังขาดความหลากหลายในการนำเสนอ อุปสรรคของปัญหานี้คือ นักวิชาการไม่กล้าคิดนอกกรอบ ในการทำสิ่งแปลกใหม่ เพื่อหลีกเลี่ยงความคิดเห็นที่ขัดแย้งของนักวิชาการท่านอื่น

-ขาดการติดตามผลกับเกษตรกร แม้ว่ามีงานวิจัยหลายชิ้นที่สามารถตอบปัญหาทางด้านเศรษฐกิจของเกษตรกร พร้อมเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาที่ถูกต้อง แต่ขาดหน่วยงานที่จะเข้าไปติดตามผลการดำเนินงานเหล่านั้น ทำให้เกษตรกรเคว้งคว้าง เช่น เรื่องสบู่ดำพลังงานทางเลือกทดแทนน้ำมันปิโตรเลียม มีการส่งเสริมในการปลูกพร้อมทั้งสนับสนุนเครื่องมือที่ใช้ในการสกัดน้ำมัน แต่สุดท้ายแล้วเครื่องมือเหล่านั้นก็ไม่ได้ใช้ประโยชน์อะไรเลย อันเนื่องจากการขาดการติดตามของเจ้าหน้าที่ภาครัฐ

2)แนวคิด 5K's และ 8K's ส่วนไหนที่มีแล้ว และส่วนไหนต้องปรับปรุง เพราะอะไร

-5K's

ส่วนที่มีอยู่แล้วคือ ทุนทางวัฒนธรรม, ทุนทางนวัตกรรม และทุนทางความรู้ โดยทุนทางวัฒนธรรมนั้นได้รับการซึมซับมาตั้งแต่เกิดเป็นเวลานาน ขณะที่ทุนทางนวัตกรรมและทุนทางความรู้นั้น ได้รับการถ่ายทอดจากสถาบันการศึกษา

ส่วนทุนที่ยังขาดคือ ทุนแห่งการสร้างสรรค์ และทุนทางอารมณ์ เพราะทุนแห่งการสร้างสรรค์นั้นเกิดขึ้นได้จากการที่กล้าคิดในนสิ่งที่แตกต่าง โดยระบบการศึกษาแบบเดิมนั้น เน้นเรื่องการปฏิบัติตามคำสั่งมากกว่าให้คิดเอง ขณะที่ทุนทางอารมณ์นั้น เกี่ยวกับการควบคุมสติให้อยู่กับเนื้อกับตัว เมื่อมีสิ่งใดมากระทบเรา แล้วเราไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้ ก็จะทำให้เกิดอารมณ์แปรปรวนหรือเกิดสติแตกได้ง่าย

-8K's

สิ่งที่คิดว่ามีอยู่แล้วคือ ทุนมนุษย์, ทุนทางปัญญา, ทุนแห่งความสุข, ทุนแห่งจริยธรรม, ทุนทางIT, และทุนทางสังคม

ส่วนสิ่งที่คิดว่ายังขาดคือ ทุนแห่งความรู้ ทักษะ และทัศนคติ, ทุนแห่งความหยั่งยืน โดยทุนแห่งความรู้ ทักษะ และทัศนคตินั้น ต้องมีการใฝ่หาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ เพื่อให้เกิดทักษะในหารเรียนรู้ พร้อมกันนี้ยังเป็นการเพิ่มทัศนคติเชิงบวกในการดำเนินชีวิต ส่วนทุนแห่งความหยั่งยืนนั้น เป็นทุนแห่งแนวคิดที่ว่า ปัญหาทุกอย่างสามารถแก้ไขได้ โดยมีทางเลือกใหม่ทดแทนทางเลือกเดิมเสมอ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วเวลาประสบกับปัญหาต่างๆ มีหลายครั้งทีหาทางออกที่เหมาะสมกับปัญหาดังกล่าวไม่ได้เลย

จิรชาย เจริญ

ณิริศพร มีนพัฒนสันติ

เรียน อ.จีระ หงษ์ลดารมภ์

1.เมื่ออ่านคำถามที่ อ. มอบหมายให้เป็นการบ้านในวันที่ 2 แล้วคิดว่า งานที่ปฏิบัติยู่ในปัจจุบันของตนเองเป็นด้านการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ของ สศก. ซึ่งนับเป็นศูนย์กลางข้อมูลด้านการเกษตรของเกษตรของประเทศ และเมื่อนึกถึงผลต่อเกษตรกรแล้ว จึงคิดอยากที่จะปรับปรุงการทำงานที่จะให้ข้อมูลเข้าถึงเกษตรกรในทุกระดับ โดยเฉพาะข้อมูลด้านที่จำเป็นกับเกษตรกรด้านนั้นๆ ไม่ว่าจะด้านราคา พื้นที่ ปัจจัยที่ส่งผลต่อต้นทุนและการผลิต ผลผลิต การเตือนภัย ที่ดินทำกิน เป็นต้น โดยเฉพาะกับเกษตรรายย่อย เนื่องจากการทำงานส่วนใหญ่จะนึกถึงแต่เพียงภาพรวมของภาคเกษตรระดับประเทศ ทำให้เกษตรกรรายย่อยเข้าไม่ถึง แถมยังมีอุปสรรคในด้านความห่างไกลพื้นที่ เข้าถึงข้อมูลได้ยากนอกจากผ่านทางผู้นำชุมชน บางส่วนยังยึดติดกับวิถีชีวิตเดิมๆ ไม่เกิดการพัฒนา และเกิดความรู้สึกว่าต้องต่อสู้ตามลำพัง โดยภาครัฐไม่เข้ามาช่วยเหลือ จึงคิดว่าเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงด้านนี้เพราะนอกจากจะช่วยพัฒนาภาคเกษตรเพิ่มมูลค่าเกษตรกร ความผาสุกของเกษตรในทุกระดับมากขึ้นแล้ว ยังเป็นการสร้างภาพลักษณ์ขององค์กรและ ภาครัฐให้ดีขึ้นด้วย

2.จากแนวคิด ทุน 8K’s ที่ อ. ได้ให้ไว้ คิดว่าทุนมนุษย์ Human Capital ทุนทางจริยธรรม Ethical Capital ทุนแห่งความสุข Happiness Capital ทุนทางสังคม Social Capital และทุนแห่งความยั่งยืน Sustainability Capital มีอยู่แล้วเนื่องจากคิดว่าบุคคลรอบข้างทั้งครอบครัวและที่ทำงานเป็นบุคคลที่หวังดี และพยายามปูทางให้เรา เปิดโอกาสในทุกด้านของชีวิตในด้านดี จึงรู้สึกว่า ทำให้ตนเองได้มีส่วนคิดดีไปด้วยมีคุณธรรมในใจ และมีความสุข มองสังคมรอบกายด้านดีๆ พอใจทั้งชีวิตครอบครัวและหน้าที่การงานที่มั่นคง ส่วนทุนทางปัญญา Intellectual Capital ทุนทาง IT digital Capital และทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ Talented Capital คิดว่าตนเองยังขาดอยู่ เพราะแม้มีโอกาสดีๆในการศึกษา พัฒนาความคิด ทักษะ ตลอดเวลา แต่ไม่ใส่ใจและปล่อยปะละเลย บางครั้งรู้สึกว่าไม่จำเป็นแต่นึกมาเสียดายภายหลัง และรู้สึกว่ามีสิ่งที่ควรเรียนรู้อีกมากมายในชีวิตจึงยังขาดทุนด้านเหล่านี้อยู่มาก

สำหรับทุน 5k’s ที่คิดว่าตนเองมีอยู่คือ ทุนทางอารมณ์ Emotional Capital และทุนทางวัฒนธรรม Cultural Capital เพราะส่วนหนึ่งรู้สึกว่าเราโชคดีที่อยู่ในวัฒนธรรมดีๆ หากมองถึงการอยู่ร่วมกันเอื้อเฟื้อกัน ไม่มองถึงวัฒนธรรมส่วนที่ล้าหลัง และชอบที่จะฝึกสติเพื่อมองดูอารมณ์ตนเองให้มากๆ ก่อนที่จะทำอะไรออกไป ส่วนทุนแห่งการสร้างสรรค์ Creativity Capital ทุนทางความรู้ Knowledge Capital และทุนทางนวัตกรรม Innovation Capital คิดว่าตนเองยังขาดอยู่ เนื่องจากยังมีนิสัยปล่อยและรักสบาย จึงไม่ค่อยใฝ่หาความรู้ใส่ตนเอง ความคิดใหม่ๆ คิดสร้างสรรค์ต่างๆ จึงไม่แล่น ไม่เกิดการแตกยอดทางความรู้ขึ้น

นางสาวกาญจนา มาลัยกฤษณะชลี

เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

1. งานที่ทำอยู่ มีอะไรบ้างที่จะปรับปรุงให้ไปสู่การวัดผลที่ชัดเจนของการสร้างมูลค่าเพิ่มของเกษตรกร และอะไรคืออุปสรรค

งานในหน้าที่ความรับผิดชอบในปัจจุบัน เป็นงานภายใต้กรอบยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (ACMECS: Ayeyawady-Chao Phraya-Mekong Economic Cooperation Strategy) ซึ่งจะมีการเน้นเรื่องการทำการเกษตรแบบมีพันธะสัญญา (Contract Farming) กับประเทศเพื่อนบ้าน (กัมพูชา พม่า และลาว) โดยการส่งเสริมการเพาะปลูกพืชเป้าหมายในประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งในปัจจุบันมี 10 ชนิด เนื่องจากในปัจจุบัน มีความเปลี่ยนแปลงต่างๆเกิดขึ้นมากมาย ทำให้ประเทศไทยไม่สามารถเพาะปลูกพืช หรือสินค้าเกษตรที่จำเป็นหลายรายการได้เพียงพอกับปริมาณความต้องการในการบริโภค หรือเป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมหลายชนิด รวมถึงการส่งออกทั้งในรูปดิบหรือการทำเป็นสินค้าแปรรูป ทำให้ต้องมีการพึ่งพาสินค้าเกษตรจากต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้านจะเป็นกลุ่มประเทศที่ไทยให้ความสนใจที่จะทำการเกษตรแบบมีพันธะสัญญาด้วยมากเป็นพิเศษ ด้วยเล็งเห็นถึงประโยชน์ทางด้านโลจิสติกส์ คือมีการนำเข้าได้สะดวก รวดเร็ว และประหยัดค่าใช้จ่ายมากกว่าการนำเข้าจากประเทศอื่นๆ ที่อยู่ห่างไกลออกไป

โครงการ Contract Farming ที่เกิดขึ้นมานั้น ดูเหมือนว่าจะเป็นการไปช่วยส่งเสริมประเทศเพื่อนบ้านโดยเฉพาะเกษตรกร และแม้ว่าในขณะเดียวกันจะก่อให้เกิดผลประโยชน์กับประเทศไทยด้วย อาทิ การสนองตอบความต้องการวัตถุดิบที่ขาดแคลนและไม่เพียงพอในประเทศ การลดปัญหาสังคม เช่น การลักลอบเข้าเมือง แรงงานต่างด้าว สามารถสร้างงานสร้างรายได้เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการค้าชายแดนระหว่างประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านที่เพิ่มสูงขึ้น แต่สิ่งที่ได้ดังกล่าวดูเหมือนจะเป็นประโยชน์ที่อยู่ในองค์รวมของทั้งระบบเศรษฐกิจ แต่ถ้าจะมองเจาะเฉพาะเกษตรกรไทย โครงการดังกล่าวน่าจะส่งผลกระทบต่อเกษตรกรอยู่มาก กล่าวคือ การส่งเสริมการเพาะปลูกในประเทศเพื่อนบ้านและนำเข้าพืช/สินค้าเกษตรนั้น จะทำให้สินค้าเกษตรในประเทศต้องมาแข่งขันกับสินค้าเกษตรนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้านโดยเฉพาะในเรื่องของราคา ทำให้สินค้าเกษตรไทยต้องราคาตกลงไปตามกลไกของราคาตลาดและกฏเกณฑ์ทางเศรษฐศาสตร์ บวกกับในสภาวการณ์ปัจจุบันอัตราค่าครองชีพ และอัตราเงินเฟ้อที่ดูเหมือนมีแต่จะสูงขึ้น ส่งผลต่อต้นทุนการผลิตสินค้าเกษตรในประเทศที่ต้องเพิ่มสูงขึ้นตามไป ทำให้เกษตรกรไทยต้องมารับภาระตรงจุดนี้ การวัดผลสำเร็จของโครงการ อาจเป็นการเน้นการวัดผลในภาพรวม แต่ในความเป็นจริงน่าจะมีการคำนึงถึงเกษตรกร ซึ่งเป็นกลุ่มคนส่วนใหญ่ของประเทศให้มากขึ้นด้วย โดยอาจสร้างมาตรการที่จะช่วยปกป้องเกษตรกรในประเทศ อาทิ การประกันราคาสินค้าเกษตรให้กับเกษตรกรในประเทศ การกำหนดให้ผู้ประกอบการที่จะนำเข้าสินค้าเกษตรต้องรับซื้อผลผลิตในประเทศก่อนในอัตราส่วนที่กำหนด หรืออาจให้มีการอุดหนุนแก่เกษตรกร เป็นต้น โดยสรุปคือไม่ควรมองเพียงแค่ว่าจะได้หรือเสียในภาพรวม ควรเน้นไปที่กลุ่มของเกษตรกรไทย ซึ่งเป็นกลุ่มคนส่วนใหญ่ด้วย

อย่างไรก็ตาม โครงการนี้ดูเหมือนว่าจะค่อยๆ ก้าวไปอย่างช้ามาก และยังมองไม่ค่อยเห็นเป็นรูปธรรม เนื่องจากปัญหาและอุปสรรคหลายประการ เช่น นโยบายที่เปลี่ยนแปลงไปมาของภาครัฐ ความเชื่องช้าและการไม่ค่อยประสานการทำงานของหน่วยงานราชการ รัฐรอเอกชน เอกชนรอรัฐ ท้ายที่สุด เอกชนต้องเข้าไปบุกเบิกในประเทศเพื่อนบ้านเองภายใต้ความไม่แน่ใจในนโยบายและกฎเกณฑ์ต่างๆ หลายบริษัทต้องกลับมาพร้อมกับความเจ็บปวด เกิดปัญหาต่างๆตามมาหลายประการ เนื่องจากยังไม่มีการพูดคุยกันระหว่างรัฐบาล (G to G) เกษตรกรประเทศเพื่อนบ้านไม่ทำตามข้อสัญญาในการดูแลพันธุ์พืชที่เรานำเข้าไปให้และสอนให้ปลูก การขายผลิตผลที่ได้ให้แก่ประเทศอื่นที่เข้ามาตัดราคาแบบชุบมือเปิบ หรือแม้แต่การไม่สามารถนำผลผลิตเข้าสู่ประเทศไทย เป็นต้น ทั้งหลายทั้งมวลนี้ เกิดจากการไม่ได้รับความคุ้มครองจากภาครัฐ ความไม่ชัดเจนในนโยบายและความเชื่องช้า เป็นต้น ดังนั้น ภาครัฐจึงควรต้องหันมาเอาจริงเอาจังกับโครงการที่สร้างขึ้นมานี้ เพื่อประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นโดยรวมของประเทศ ส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ พร้อมทั้งไม่ลืมเกษตรกรซึ่งเป็นประชาชนในระดับรากหญ้าของไทยด้วย

2. ในแนวคิด 8K’s และ 5K’s ทุนส่วนไหนบ้างที่ท่านมีแล้ว และส่วนไหนบ้างที่ต้องปรับปรุง เพราะอะไร

ทฤษฎีทุน 8K’s

ทุนที่มีแล้ว ได้แก่ ทุนมนุษย์ ทุนทางปัญญา ทุนทางจริยธรรม ทุนทางสังคม ทุนแห่งความยั่งยืน ทุนทาง IT

ส่วนที่ต้องปรับปรุง ได้แก่

ทุนแห่งความสุข – เป็นทุนที่มีอยู่บ้างแล้ว แต่ยังไม่ค่อยแน่ใจว่าเป็นความสุขที่แท้จริงที่เราต้องการหรือไม่ จึงยังคงต้องปรับปรุง ค้นหาความต้องการและความสุขที่แท้จริงต่อไป

ทุนทาง Knowledge Skill และ Mindset – เราอาจมีทุนทางปัญญาที่ได้จากการศึกษาเล่าเรียนมา แต่ทุนทาง Knowledge Skill และ Mindset น่าจะมาจากการสร้างทักษะทางความรู้ขึ้นมาในภายหลัง เช่น การเสริมสร้างจากประสบการณ์ การเรียนรู้จากสถานการณ์จริง จึงต้องใช้เวลาในการสั่งสม

ทฤษฎีทุน 5K’s ได้แก่ ทุนทางนวัตกรรม ทุนทางความรู้ ทุนทางวัฒนธรรม ทุนทางอารมณ์ และทุนแห่งการสร้างสรรค์ ดูเหมือนจะมีอยู่แทบทุกตัว แต่ยังถือว่ามีอยู่น้อยและยังต้องมีการพัฒนาและปรับปรุงอีกมาก ดังนี้

ทุนทางนวัตกรรม – เป็นทุนที่คิดว่ายังไม่ค่อยจะมีในตนเองสักเท่าไร ยังคงต้องใช้เวลาในการฝึกฝน เสริมสร้างในการพัฒนาสิ่งใหม่ๆ ให้เกิดขึ้น เพื่อเป็นประโยชน์ต่อองค์กร

ทุนทางความรู้ – เป็นทุนที่มีพื้นฐานมาจากการศึกษาเล่าเรียนในอดีตแล้ว แต่ยังคงต้องปรับปรุงและเสริมสร้างความรู้ให้แก่ตนเองให้มากยิ่งขึ้นตลอดเวลา ให้รู้จริง รู้รอบ และทันกาล

ทุนทางวัฒนธรรม – วัฒนธรรมในแต่ละองค์กรมีทั้งสิ่งที่ดีและไม่ดี เราไม่ควรตามน้ำไปกับสิ่งไม่ดี เพราะจะทำให้องค์กรแย่และไม่มีประสิทธิภาพ จึงควรปรับปรุงโดยค่อยๆ โละวัฒนธรรมของเก่าที่ไม่ดีออกไป และนำเอาวัฒนธรรมใหม่ดีดีเข้ามา

ทุนทางอารมณ์ – การเสริมสร้าง ฝึกฝนและเรียนรู้เรื่อง EQ พร้อมกับทำความรู้จักกับอารมณ์ของตนเองให้ดีขึ้น ปรับให้เข้ากับกลุ่มคนและสถานการณ์

ทุนแห่งการสร้างสรรค์ – การเสริมสร้างจินตนาการ และความคิดในทางบวก ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและองค์กรมากยิ่งขึ้น

1)งานที่ทำอยู่ในปัจจุบัน มีอะไรบ้างที่ต้องปรับปรุง

งานที่ทำในปัจจุบันเป็นงานด้านการเจรจาสินค้าเกษตร FTA ซึ่งมีผลกระทบกับราคาสินค้าเกษตรและเกษตรกร โดยตรง

ปัจจุบันการกำหนดนโยบายการเปิดการค้าเสรี เป็นการเปิดโดยฝ่ายบริหารเป็นผู้นำ คือรัฐบาลเป็นผู้วางแนวทาง หรือ หาแนวทาง ซึ่งโดยส่วนตัวผมเห็นว่า รัฐบาลน่าจะคำนึงถึง เกษตรกร

และให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการ วางแนวทาง การเปิดการค้าเสรี ให้มากกว่าในปัจจุบัน คือ มีส่วนร่วมในทุกขั้นตอน และที่สำคัญที่สุด คือ ให้ เกษตรกร เป็นผู้ตัดสินใจ หลัก ว่าจะเปิดหรือไม่ มีความพร้อม อย่างไร รัฐบาล เป็นผู้ให้ความช่วยเหลือ ได้อย่างไร

2)แนวคิด 8K's และ 5K's ส่วนไหนที่มีแล้ว และส่วนไหนต้องปรับปรุง เพราะอะไร

โดยส่วนตัวเห็นว่า คนเรามีทุน ทั้ง 8K และ 5K อยู่ครบทุกคน แต่ มีไม่เท่ากันในแต่ละคน และนั่นก็คือ ความแตกต่างและหลากหลาย ในแต่ละปัจเจกชน ซึ่ง ไม่มีใครจะสมบูรณ์แบบในทุกด้าน ไม่มีใครฉลาดได้ทุกเรื่อง และในขณะเดียวกัน ก็ไม่มีใครโง่ ไปซะทุกเรื่อง สิ่งสำคัญที่สุดก็คือ เมื่อมี ทุน แล้ว ก็ จะต้อง ดำเนินชีวิตให้ มีกำไร ที่ได้เกิดมา โดยผมเห็นว่าคนเราจะต้องมีการพัฒนาอย่าง ต่อเนื่อง เพราะ มนุษย์เป็นสัตว์ประเสริฐ ได้ก็ต่อเมื่อได้รับการฝึกฝนที่ดี และอย่างต่อเนื่อง

เมษารัศมิ์ สังขวุฒิ

เรียน อาจารย์จีระ

งานที่ทำอยู่ในปัจจุบันเป็นงานด้านต่างประเทศ ซึ่งบางคนมองว่าเป็นเรื่องไกลตัวเกษตรกร แต่โดยส่วนตัวแล้วกลับมองว่ามันเป็นเรื่องที่เกษตรกรควรจะได้รับการเผยแพร่ความรู้และสร้างความเข้าใจในเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศ ความร่วมมือองค์การระหว่างประเทศ การเจรจาการค้า และความร่วมมือของไทยกับประเทศต่างๆ ทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคี เป็นต้น ซึ่งเหล่านี้จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อเกษตรกร จึงเห็นว่าควรให้เค้ามีส่วนร่วมทางความคิดและการกำหนดนโยบายในเรื่องดังกล่าวอย่างใกล้ชิดเนื่องจากเป็นกลุ่มผู้ได้และเสียผลประโยชน์โดยตรง แต่อุปสรรคที่สำคัญคืองบประมาณและบุคลากรมีไม่เพียงพอ รวมถึงการนำเรื่องที่เข้าใจยากไปถ่ายทอดให้เกษตรกรมีความเข้าใจอย่างถ่องแท้นั้นเป็นเรื่องไม่ง่าย ซึ่งต้องอาศัยทักษะและความชำนาญการในเรื่องดังกล่าวเป็นอย่างมาก และต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

สำหรับแนวคิดทฤษฎีทุน 8K’s และ 5K’s นั้น คิดว่าส่วนตัวมีครบทุกอย่างแล้ว แต่สิ่งที่อยากปรับปรุงและพัฒนาตนเองให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม คือ ทุนทางปัญญา ทุนทางความรู้ และทุนแห่งการสร้างสรรค์ เนื่องจากเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เราเป็นคนรอบรู้ รู้ลึก รู้จริง และสามารถนำความรู้ดังกล่าวไปถ่ายทอดให้กับผู้อื่นต่อไป

1.งานที่ทำอยู่มีอะไรบ้าง : หน้าที่ที่ได้รับผิดชอบในปัจจุบัน เป็นงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยมีเป้าหมายให้กลุ่มผู้ใช้ เช่น นักวิชาการ นักวิเคราะห์ นักสถิติ เกษตรกร และ บุคคลทั่วไป ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการทำงานเพื่อเก็บข้อมูล ประมวลผล ที่จะให้ได้มาซึ่ง ข้อมูล ( DATA) ข่าวสาร(INFORMATION) จากนั้นให้เป็นความรู้ (KNOWLEDGE) และนำไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่ม (VALUE ADDED) เพื่อให้ผู้ใช้นำสิ่งที่ได้ไปวางแผน เพื่อการแก้ปัญหา และ การคิดค้นสิ่งใหม่ๆ เพื่อให้เกิดการพัฒนาความเป็นอยู่ ของ เกษตรกรให้ดียิ่งขึ้นให้ได้

แต่รูปแบบการทำงานในปัจจุบันยังไม่สมบูรณ์ เพราะยังมีขั้นตอนการทำงานที่จะได้มาซึ่งข้อมูลนั้นมีขั้นตอนการทำงานที่ซับซ้อนและต้องใช้ระยะเวลานาน ทำให้เกิดความล่าช้า จึงทำให้ข้อมูลที่ได้มา ไม่ UP TO DATE ซึ่งต้องปรับปรุงปัญหาดังกล่าว ให้มีการทำงานที่รวดเร็วให้ทันกับความต้องการของผู้ต้องใช้ข้อมูล

2. แนวคิด 8K's และ 5K's

เนื่องจากตนเองไม่มีพื้นฐานความรู้ด้านเศรษฐศาสคร์มากนัก ขอวิเคราะห์ตนเองเปรียบเทียบ ทฤษฎี 8K's และ 5K's ตามความเข้าใจและความรู้สึกที่คิดว่าสอดคล้องกับทฤษฎีดังกล่าว

ทุนที่มีอยู่

-Human Capital : จากการศึกษาที่ได้เล่าเรียนมา

-Ethical Capital และ Cultural Capital : ได้รับจากครอบครัวที่ได้ปลูกฝังมาตั้งแต่เด็ก

-Happiness Capital และ Emotion Capital

ทุนที่ต้องปรับปรุง เพราะคิดว่ายังมีน้อยมาก

-Intellectual Capital และ Knowledge Capital : เพราะยังขาดความรู้ ความสามารถในการคิด การวิเคราะห์ ที่จะนำไปสร้างมูลค่าเพิ่ม

-Social Capital : เพราะการทำงานในองกรค์ราชการ จึงไม่มีความเข้าใจในเรื่องของสังคมธุรกิจ หรือสังคมอื่น ๆ

-Digital Capital และ Innovation Capital : เพราะเทคโนโลยี มีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาต้องปรับปรุงและ เพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง

- Talented Capital และ Creativity Capital : ยังต้องพัฒนาตัวเองให้มีมากขึ้น

เรียน ท่านอาจารย์ ดร.จีระ

การบ้านครั้งที่ 2

1. ให้คิดอย่างรอบคอบ 360 องศา ว่างานที่ทำอยู่มีอะไรบ้างที่จะปรับปรุงให้ไปสู่การวัดผลที่ชัดเจนของการสร้างมูลค่าเพิ่มของเกษตรกร และอะไรคืออุปสรรค

เนื่องจากงานที่ทำอยู่ทุกวันนี้ เป็นงานด้านการติดตามและประเมินผลโครงการที่สำคัญของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ด้วยการนำเสนอข้อมูลตามความเป็นจริงที่ได้จากการลงพื้นที่สัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานโครงการและเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อให้หน่วยงานเจ้าของโครงการ (กรมต่างๆ ในกระทรวงเกษตร) ได้ทราบผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ว่าสัมฤทธิ์ผลหรือไม่ เกิดผลได้และผลกระทบอย่างไร รวมทั้งทราบปัญหาและอุปสรรคต่างๆที่เกิดขึ้น เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขการดำเนินงานโครงการในปีต่อไปหรือใช้เป็นแนวทางสำหรับโครงการที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน ซึ่งถือว่าเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเกษตรกรทางอ้อม เพราะหากเรานำเสนอผลตามความเป็นจริงแล้ว หน่วยงานเจ้าของโครงการจะสามารถแก้ไขปัญหาได้ตรงจุดและทันเวลา เกษตรกรก็จะได้รับระโยชน์จากการประเมินผลนี้ สิ่งที่ควรปรับปรุงคือความรวดเร็วและทันต่อเวลาในการนำเสนอข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน ส่วนอุปสรรคที่เกิดขึ้น คือ ข้อจำกัดในด้านเวลาและงบประมาณ

2. ให้วิเคราะห์ว่าทุน 8K’s และ 5K’s ส่วนไหนบ้างที่ท่านมีแล้ว และส่วนไหนบ้างที่ต้องปรับปรุง เป็นเพราะอะไร

- ทุน 8K’s ในบรรดาทุนทั้ง 8 ประเภท ทุนที่ดิฉันมีแล้ว คือ ทุนทางจริยธรรม ทุนแห่งความสุข ทุนแห่งความยั่งยืน และทุนทางความรู้ ซึ่งส่วนที่ต้องปรับปรุงคือทุนทางความรู้ เนื่องจากระยะเวลาที่เปลี่ยนแปลงไป แต่ละศาสตร์ย่อมมีการปรับปรุง / เปลี่ยนแปลงเพื่อให้ทันกระแสโลกาภิวัฒน์ มีการคิดค้นและประยุกต์แนวคิดต่างๆ ขึ้นมากมาย ซึ่งดิฉันมีทุนความรู้อยู่บ้างแต่ยังไม่ลึกและไม่ทันต่อเหตุการณ์เท่าที่ควร ดังนั้นจึงต้องพัฒนาและปรับปรุงโดยการอ่านให้มากขึ้น ติดตามข่าวสารเพื่อให้ทันต่อสถานการณ์ และนอกจากจะค้นคว้าหาความรู้เกี่ยวกับงานที่ทำแล้ว ยังต้องรอบรู้ในเรื่องราวต่างๆที่อยู่รอบตัวด้วย

- 5K’s จากทฤษฎีทุนใหม่ 5 ประการ ดิฉันมีครบทั้ง 5 ทุน คือ ทุนแห่งการสร้างสรรค์ ทุนทางความรู้ ทุนทางนวัตกรรม ทุนทางอารมณ์ และทุนทางวัฒนธรรม แต่มีอยู่น้อยมาก เพราะความคิดยังไม่สร้างสรรค์และแปลกใหม่เท่าที่ควร ขาดความรอบรู้ในด้านข้อมูล ทำให้ต้องปรับปรุงและพัฒนาตนเองอยู่เสมอ

เรียน อาจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ขอส่งงานที่ได้รับมอบหมายในวันนี้ค่ะ

1. ขอให้แต่ละคนคิดอย่างรอบคอบ (360 องศา) ว่างานที่ทำอยู่มีอะไรบ้างที่จะปรับปรุงให้ไปสู่การวัดผลที่ชัดเจนของการสร้างมูลค่าเพิ่มของเกษตรกร และอะไรคืออุปสรรค

งานที่ทำอยู่ในปัจจุบันเป็นงานความร่วมมือระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน (กัมพูชา ลาว และพม่า)ภายใต้ชื่อโครงการความร่วมมือพัฒนาการเกษตรแบบมีสัญญา (AC-4)ภายใต้กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ACMECS โดยได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบในส่วนความร่วมมือระหว่างประเทศไทยกับประเทศกัมพูชา ซึ่งมีเป้าหมาย คือ การพัฒนาศักยภาพการทางการเกษตรที่มีประสิทธิภาพทั้งด้านการผลิต การตลาดของพืชเศรษฐกิจ และพืชพลังงานในประเทศกัมพูชา โดยเชื่อมโยงฐานการผลิตและการตลาดระหว่างประเทศร่วมกัน (Contract Farming) อันเป็นการนำไปสู่การเพิ่มมูลค่าการค้าระหว่างประเทศ การค้าชายแดน และผลดีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยและกัมพูชา

สำหรับสิ่งที่จะปรับปรุงให้ไปสู่การวัดผลที่ชัดเจนของการสร้างมูลค่าเพิ่มของเกษตรกร และอะไรคืออุปสรรค คือ จากการที่โครงการที่รับผิดชอบเป็นโครงการที่ดำเนินการร่วมกันระหว่างสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรและหน่วยงานอื่นๆ เช่น กรมส่งเสริมการเกษตร กรมวิชาการเกษตร และกรมพัฒนาที่ดิน แต่การดำเนินงานโครงการตั้งแต่เริ่มจนถึงปัจจุบัน พบว่า การทำงานของแต่ละหน่วยงานยังเป็นไปในลักษณะต่างคนต่างทำ ดังนั้น สิ่งที่ดิฉันต้องการจะปรับปรุงในขั้นแรก คือ ดำเนินการแสวงหาความร่วมมือ (Collaboration)เพื่อให้เกิดการทำงานเป็นทีมในลักษณะบูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ส่วนมูลค่าเพิ่มที่เกษตรกรจะได้รับจากการปรับปรุงการทำงานให้เป็น Teamwork ได้แก่ ข้อมูลที่ถูกต้องชัดเจนที่เกิดจากการวิเคราะห์ร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเป็นข้อมูลที่อยู่ภายใต้ฐานข้อมูลเดียวกัน เช่น การกำหนดชนิดพืชเศรษฐกิจที่จะส่งเสริมให้มีการปลูกในประเทศกัมพูชา ซึ่งถ้าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีการพิจารณาร่วมกันแล้วเห็นว่าควรส่งเสริมให้มีการปลูกพืชชนิดใดที่จะไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อเกษตรกรภายในประเทศไทย ก็จะสามารถลดความกังวลใจให้แก่เกษตรกรคนไทยได้ว่าผลผลิตที่เกิดภายในประเทศไทยจะมีผู้รับซื้อแน่นอน เป็นต้น

2. ในแนวคิด 8 K’s และ 5 K’s ซึ่งผมยังไม่ได้พูดถึงมากนัก แต่ขอให้ทุกคนอ่าน และถ้าไม่เข้าใจก็ขอให้ปรึกษาคุณวราพร ทีมงานของผม แล้ววิเคราะห์ว่า ทุน 8 K’s และ 5 K’s ส่วนไหนบ้างที่ท่านมีแล้ว และส่วนไหนบ้างที่ต้องปรับปรุง เป็นเพราะอะไร

สำหรับทฤษฎีทุน 8 K’s และ 5 K’s ที่ตัวดิฉันได้พิจารณาตามความเข้าใจแล้ว เห็นว่าทุนที่มีอยู่ในตัวบ้างแล้วได้แก่ ทุนมนุษย์ ทุนทางปัญญา ทุนทางจริยธรรม ทุนทางสังคม และทุนทาง IT แต่ทุนทั้งหมดที่มีอยู่จำเป็นต้องได้รับการพัฒนาและเติมเต็มอยู่ตลอดเวลา เนื่องจากทุนหลายทุนที่มีอยู่จะอยู่ในมิติเชิงลึกและแคบ ยกตัวอย่างเช่น ทุนทางสังคมของดิฉัน ก็จะเป็นสังคมแค่ที่ทำงานและญาติพี่น้อง โอกาสการเชื่อมโยงเครือข่ายทางสังคมในเชิงกว้างของดิฉันยังมีน้อยมาก ส่วนทุนที่ตัวดิฉันจำเป็นต้องปรับปรุง คือ ทุนแห่งความสุข ดิฉันขอเน้นคำนี้ เพราะความสุขในความหมายของดิฉันไม่ได้อยู่ที่เงินทองซึ่งน่าจะได้แต่ความสุขกาย แต่ความสุขในที่นี้ของดิฉันคือความสุขใจ ใจอิ่ม ใจยิ้มได้ ซึ่งดิฉันคิดว่าเมื่อใดที่ใจอิ่มใจยิ้มได้ ก็จะก่อให้เกิดพลัง (Energy) ในการขับเคลื่อนความคิดสร้างสรรค์หรือทุนแห่งการสร้างสรรค์และทุนทางอารมณ์ได้ ซึ่งดิฉันคิดว่าตัวเองยังโชคดีที่ยังพอมองเห็นแนวทางในการพัฒนาทุนแห่งความสุขได้ เนื่องจากในอดีตที่ผ่านมาดิฉันเคยมีโอกาสได้เข้าร่วมโครงการอาสาสมัครเป็นผู้ช่วยครูข้างถนน แม้เป็นการทำงานเพียงแค่ระยะสั้นๆ แต่ก็ทำให้ดิฉันได้รู้จักคำว่าอิ่มใจและคำว่าใจยิ้มได้ ซึ่งการทำรายงานในวันนี้ทำให้ดิฉันได้ค้นพบว่าตนเองจำเป็นต้องรีบพัฒนาทุนแห่งความสุข โดยเริ่มจากการดำเนินชีวิตอย่างมีสติ ลดละความเครียดที่เกิดจากการทำงาน หรือปัญหาจากการทำงานบางอย่างที่ตัวเองไม่สามารถแก้ไขได้ แล้วหาโอกาสทำกิจกรรมเพื่อสังคมเพื่อเติมใจให้อิ่มให้ยิ้มได้ พร้อมทั้งพยายามนำหลัก 7 อุปนิสัยมาประยุกต์ใช้กับตัวเอง เพื่อดิฉันเชื่อว่าเมื่อตัวเรามีความสุขแล้ว เราก็พร้อมที่จะโยงใยความสุขให้แก่คนรอบข้างและสร้างสรรค์สิ่งที่ดีๆ ให้แก่หน่วยงานต่อไป

เรียน ศ.ดร.จิระ หงส์ลดารมภ์

การบ้านครั้งที่ 2

1. ขอให้แต่ละคนคิดอย่างรอบคอบ (360 องศา) ว่างานที่ทำอยู่มีอะไรบ้างที่จะปรับปรุงให้ไปสู่การวัดผลที่ชัดเจนของการสร้างมูลค่าเพิ่มของเกษตรกร และอะไรคืออุปสรรค

สิ่งสำคัญอันดับแรกของการทำงานให้บรรลุเป้าหมาย ซึ่งเป้าหมายในที่นี้คือทำให้เกษตรกรมีความอยู่ดีกินดีขึ้น บุคลากรของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ต้องรู้จักงาน รู้จักขอบข่ายของงาน และรู้จักตน คือ รู้ว่าตนเองมีความสามารถเท่าไร และพร้อมที่จะพัฒนาความรู้อยู่ตลอดเวลา รู้จักเป้าหมายของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร การทำให้ภาคการเกษตรพัฒนาต้องอาศัยการร่วมแรงร่วมใจกับทุกหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องทุกหน่วยงาน แต่ในที่นี้จะกล่าวถึงการปรับปรุงการทำงานของสศก. ซึ่งมีดังนี้

1. การจัดการความรู้ และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระดมความรู้ให้เกิดเป็นคลังแห่งความรู้ของ

สศก.เพื่อสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการ

2. กระจายอำนาจการทำงานให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชา โดยให้กล้าการตัดสินใจ เพื่อความรวดเร็วในการทำงาน

3.การสนับสนุนให้มีการปฏิบัติงานเป็น Teamwork เพื่อระดมสมองในการทำงาน

4. เพิ่มศักยภาพในการทำงาน ด้วยการสนับสนุนให้บุคลากรพัฒนาตนเอง ใฝ่เรียนรู้ตลอดเวลา

5.ประเมินผลความสัมฤทธิ์ของงานทุก ๆ 6 เดือน

6 เกษตรกรเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดแผนพัฒนาการเกษตร

ซึ่งเมื่อมีการปรับปรุงการทำงานดังกล่าว และบุคลากรตระหนักว่าต้องทำให้เกษตรกรมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ย่อมสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่เกษตรกรได้

อุปสรรคที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการปรับปรุงการทำงาน

1.อาจขาดการสนับสนุนจากผู้บริหาร ซึ่งเป็นผู้นำในปฏิวัติการทำงานดังกล่าว

2.การทำงานเป็นทีมอาจทำไม่ประสบความสำเร็จ หากทุกคนไม่รวมแรงร่วมใจกัน

3.ขาดความร่วมมือจากเกษตรกรในการร่วมกำหนดแผนพัฒนาการเกษตร

2. ในแนวคิด 8 K’s และ 5K’s ซึ่งผมยังไม่ได้พูดถึงมากนัก แต่ขอให้ทุกคนอ่าน และถ้าไม่เข้าใจก็ขอให้ปรึกษาคุณวราพร ทีมงานของผม แล้ววิเคราะห์ว่า ทุน 8 K’s และ 5K’s ส่วนไหนบ้างที่ท่านมีแล้ว และส่วนไหนบ้างที่ต้องปรับปรุง เป็นเพราะอะไร

8 K’s ซึ่งประกอบด้วย

1.Human Capital หรือ ทุนมนุษย์

2. Intellectual Capital หรือ ทุนทางปัญญา

3. Ethical Capital หรือ ทุนทางจริยธรรม

4. Happiness Capital หรือ ทุนแห่งความสุข

5. Social Capital หรือ ทุนทางสังคม

6. Sustainability Capital หรือ ทุนแห่งความยั่งยืน

7. Digital Capital หรือ ทุนทางเทคโนโลยี

8. Talented Capital หรือ ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ

5K’s ซึ่งประกอบด้วย

1. Creativity Capital ทุนแห่งการสร้างสรรค์

2. Knowledge Capital ทุนทางความรู้

3. Innovation Capital ทุนทางนวัตกรรม

4. Emotional Capital ทุนทางอารมณ์

5. Cultural Capital ทุนทางวัฒนธรรม

ซึ่งผู้อบรมคิดว่าทุนทั้ง 8 ของผู้ฝึกอบรมมีทุกครบ แต่จะมากน้อยไม่เท่ากัน และคิดว่าทุนดังกล่าวจะหมดลงหากไม่มีการพัฒนา ไม่สะสม ในส่วนตัวคิดว่าทุนทั้ง 8 K’sและ5K’s ของผู้ฝึกอบรมต้องพัฒนาและสะสมไปเรื่อย ๆ ค่ะ

กิติมา ประดิษฐกุล

เรียน อาจารย์จีระ หงส์ลดารมภ์

ข้อ 1. ขอให้แต่ละคนคิดอย่างรอบคอบ 360 องศา ว่างานที่ทำอยู่มีอะไรบ้างที่จะปรับปรุงให้ไปสู่การวัดผลที่ชัดเจนของการสร้างมูลค่าเพิ่มของเกษตรกรและอะไรคืออุปสรรค

- งานที่ทำอยู่ในปัจจุบันเป็นการติดตามและประเมินผลโครงการที่สำคัญของหน่วยงานต่าง ๆ ภายในกระทรวงเกษตร  และสิ่งที่ควรปรับปรุงให้ไปสู่การวัดผลที่ชัดเจนก็คือ การสร้างตัวชี้วัด(KPI) ที่สามารถวัดคุณภาพของงานที่ทำอยู่ให้ได้ มิใช่เป็นเพียงตัวชี้วัดที่วัดผลในเชิงปริมาณเท่านั้น ซึ่งจะเป็นการทำให้งานประเมินผลโครงการต่างๆในกระทรวงเกษตรมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

- อุปสรรคที่พบ คือ การวัดผลผลงานในเชิงคุณภาพนั้นทำได้ยากเพราะจะต้องใช้ระยะเวลา  งบประมาณ และขั้นตอนการทำงานที่มากขึ้นกว่าเดิมในการติดตามผลการดำเนินงานของโครงการ ซึ่งอุปสรรคดังกล่าวต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่ายด้วยกัน

ข้อ 2. ในแนวคิด 8K’s และ 5K’s ทุนส่วนไหนบ้างที่ท่านมีแล้ว และส่วนไหนบ้างที่ต้องปรับปรุง เพราะอะไร

แนวคิด 8K’s

-  ทุนที่ดิฉันคิดว่าตัวเองมีอยู่แล้ว คือ ทุนมนุษย์  ทุนแห่งความสุข  ทุนทางจริยธรรม ทุนทางความรู้  ทักษะ  และทัศนคติ และทุนทางสังคม  แต่ทุนที่คิดว่ามีอยู่น้อยและต้องหาเพิ่มพูน คือ ทุนทางปัญญา เพราะปัจจุบันเป็นยุคแห่งการเรียนรู้  ทุนแห่งความยั่งยืน ก็คือการมีความรู้อยู่แล้วแต่ต้องทำให้ความรู้ที่มีอยู่ยั่งยืน และ ทุนทาง IT เพราะโลกในปัจจุบันเป็นโลกในยุคโลกาภิวัฒน์ มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เทคโนโลยีข้อมูลข่าวสารที่ทันสมัยจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น

แนวคิด 5K’s

- ทุนที่ดิฉันคิดว่าตัวเองมีอยู่แล้ว คือ ทุนทางความรู้ ทุนทางอารมณ์และทุนทางวัฒนธรรม ที่ได้รับและจากการปลูกฝังมาตั้งแต่เด็ก แต่ทุนที่คิดว่าตัวเองยังขาดอยู่ก็คือ ทุนแห่งการสร้างสรรค์ เพื่อนำไปพัฒนาการทำงานให้ดีและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น  และทุนทางนวัตกรรม เพื่อพัฒนาให้เกิดสิ่งใหม่ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงการทำงานทั้งระบบ

   

 

 

 

 

 

วันที่สองหลังจากได้รับโจทย์การบ้านจากอาจารย์ ดิฉันก็ได้มาทบทวน 360 องศา แล้วก็พบว่างานที่ทำอยู่ในปัจจุบันมีสิ่งที่จะต้องปรับปรุงเพื่อนำไปสู่การวัดผลที่ชัดเจนเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มของเกษตรกร คืองานวิจัยสินเกี่ยวกับค้าเกษตร โดยจะนำประเด็นปัญหาที่สำคัญและน่าสนใจขึ้นมาทำการวิจัย อย่างเช่นในช่วงที่ผ่านมามีปัญหาเกี่ยวกับราคาน้ำมันมีราคาแพงก็ทำการศึกษาเรื่องผลกระทบของพืชพลังงานทดแทนที่มีต่อพืชอาหาร ในการทำวิจัยแต่ละเรื่องก็จะมีปัญหาในส่วนของการหาข้อมูลและองค์ความรู้ใหม่ในการวิจัยยังไม่เพียงพอ บางครั้งได้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องครบถ้วน รวมทั้งการร่วมมือการทำงานอาจยังไม่เป็น team work ที่ดีพอ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จำเป็นจะต้องได้รับการปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้ได้งานวิจัยที่มีคุณภาพเกษตรกรสามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลในการแก้ไขปัญหาได้อย่างแท้จริง

ส่วนอุปสรรคอีกอย่างคือ การไม่ยอมปรับเปลี่ยนทัศนคติใหม่ ยังยึดติดการทำงานแบบเดิมๆ ทำงานโดยขาดแรงจูงใจ และไม่กล้าเสนอแนวความคิดใหม่ ไม่เคยคิดนอกกรอบทำงานตามแนวทางเดิมๆ เพราะกลัวว่าถ้าคิดอะไรที่แหวกแนวอาจจะเป็นเหมือน บอนไซ สวยแต่ไม่โต

2. แนวคิดทฤษฏี 8 K’s และแนวคิดทฤษฏี 5 K’s

เมื่อพิจารณาเกี่ยวกับ แนวคิดทฤษฏี 8 K’s และแนวคิดทฤษฏี 5 แล้วดิฉันคิดว่าทั้งสองทฤษฏีมีบางส่วนที่คล้ายกัน แต่ขอแยกพิจารณาในแต่ทฤษฏีดังนี้

ทฤษฏี 8 K’s ส่วนที่ 1 ที่คิดว่าตัวเองมีอยู่แล้วคือ ทุนทางจริยธรรมเพราะทำงานด้วยความซื่อสัตย์ สุจริตโปร่งใสตรวจสอบ ทุนทาง IT สามารถที่จะใช้งานและตามทันความเปลี่ยนแปลงนั้นได้ ทุนแห่งความสุขก็มีอยู่แล้วแต่เป็นความสุขตามอัตภาพ

ส่วนที่ 2 ทุนที่ต้องพัฒนาคือ ทุนมนุษย์ และทุนทางปัญญา ทุนทางสังคม

ทุนแห่งความยั่งยืน และทุนทาง Knowledge Skill และ Mindset ซึ่งดิฉันคิดว่าตัวเองยังไม่มี

และควรได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เป็นทุนมนุษย์ที่มีประสิทธิภาพต่อไป

ทฤษฏี5 K’s ส่วนที่ 1 ที่คิดว่าตัวเองมีอยู่แล้ว คือทุนทางความรู้ (ความรู้ในงานที่ทำ) ทุนทางวัฒนธรรม และทุนทางอารมณ์ เพราะสามารถควบคุมอารมณ์ของตนเองได้

ส่วนที่ 2 ทุนที่ต้องได้รับการพัฒนาคือ ทุนทางนวัตกรรม ทุนแห่งความคิดสร้างสรรค์ โดยเฉพาะความคิดสร้างสรรค์ต้องได้รับการพัฒนาโดยด่วน

เรียน อ.ธีระ

ผ่านไป 2 วันสำหรับการอบรม talented management ซึ่งเป็นหลักสูตรที่มีประโยชน์และคุณค่าสูงมาก เป็นการเปลี่ยนความคิด ทัศนคติ มีแรงผลักดัน อยากทำงานเพื่อให้เกษตรกรมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ซึ่งนั่นคือเป้าหมายของเรา ขอบคุณอาจารย์ที่ผลักดันให้เกิดการเรียนรู้และพลังอย่างมหาศาล

สำหรับข้อถามที่ว่า 1. ขอให้คิดอย่างรอบคอบ 360 องศา ว่า งานที่ทำอยู่มีอะไรบ้างที่จะปรับปรุงไปสู่การวัดผลที่ชัดเจน ของการสร้างมูลค่าเพิ่มของเกษตรกร และอะไรคืออุปสรรค

ในที่ต้องรับผิดชอบใน สศก. เป็นงานด้านการวิจัย รวมทั้ง การติดตามและประเมินผล โครงการของรัฐบาล ซึ่งงานวิจัยจะเป็นงานหลัก และสำคัญซึ่งเป็นการวิจัยเพื่อการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ รายได้ และความสามารถในการแข่งขัน เพื่อความอยู่ที่ดินดีของเกษตรกร ทั้งนี้ งานวิจัยที่ทำคนที่รับผิดชอบเป็นผู้เสนอโครงการเพื่อของบประมาณ และดำเนินการ หลังจากได้เป็นผลงานออกมา ส่วนใหญ่จะมีผู้เปรียบเทียบหรือแม้แต่ใน สศก. เองก็ยังพูดกันว่า งานวิจัยเสร็จแล้วนำไปขึ้นหิ้ง คือ ไม่ได้นำไปใช้เพื่อการวางแผน และพัฒนาเกษตรกรอย่างแท้จริง หนักเข้าถึงกับพูดว่า ทำไปเพื่อเสนอ ว. (ผลงานทางวิชาการ) ซึ่งก็เป็นผลประโยชน์ของผู้ทำอีกนั่นแหละ ฟังแล้วก็เหนื่อย ท้อแท้ ทั้งๆ ที่จริงๆ แล้วเรามีความตั้งใจดีในการทำ ตั้งใจอย่างเต็มที่เพื่องานที่ออกมามีประโยชน์ที่สุด แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่างานที่ทำอาจเป็นดั่งที่เขาว่าจริงๆ เราก็ต้องยอมรับ และเราต้องปรับปรุงซึ่งแนวทางการปรับปรุง ได้แก่

-งานวิจัยที่เราทำหรือคิดที่จะทำ มีเป้าหมายเพื่อให้เกษตรกรมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น แต่ถ้าเกิดจากความต้องการของเกษตรกรเองจะเป็นการดีมาก โดยในแต่ละพื้นที่ผู้วิจัยต้องเข้าไปคลุกคลี สอบถามเกษตรกรถึงปัญหาที่แท้จริงที่เกิดขึ้นและเขาต้องการให้เราวิจัยเพื่อหาคำตอบเรื่องใด ปัญหาเขาคืออะไร เรื่องนั้นจึงจะเป็นประเด็นปัญหา ถ้าเป็นเช่นนี้งานวิจัยที่ทำคงไม่ขึ้นหิ้งแน่นอน เพราะอย่างน้อยก็ตอบปัญหาและความต้องการของเกษตรกรได้

- ในแต่ละปี มีงานวิจัยหลายชิ้นของ สศก. โดยการทำของศูนย์ สำนักต่างๆ ที่มีการทำแผนเพื่อของบประมาณ โดยจะเชิญ ผอ. หัวหน้ากลุ่ม/ฝ่าย ประชุมแผน แต่ไม่มีการประชุมร่วมกันของผู้ทำวิจัย ซึ่งดิฉันมองว่า ถ้ามีการประชุมร่วมของผู้ที่ทำงานวิจัยในแต่ละปี จะเกิดการระดมความคิด การ่วมแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนความเห็นกันและกันในแต่ละเรื่อง เกิดความแตกต่างทางความคิดที่นำมาปรับให้สมดุลได้ อาจเกิดงานวิจัยที่หลากหลาย ตอบโจทย์ได้หมดทุกข้อในงานเดียว แต่มีผู้วิจัยหลายคน ไม่ใช่ต่างคนต่างทำ ต่างคนต่างคิด จะก่อเกิดประโยชน์แก่เกษตรกรแน่นอน

ดังนั้น อุปสรรคที่มีในงานวิจัย คือ ขาดการมีส่วนร่วมของเกษตรกร และขาดพลังผลักดันการรับรู้ถึงความสำคัญของงานวิจัยร่วมกันระหว่าง ผู้ทำ ผู้ร่วมงาน และผู้บังคับบัญชา

ส่วนคำถามข้อที่ 2 ในแนวคิด 8k’s และ 5k’s ส่วนที่มี และต้องปรับปรุงทั้ง 2 แนวคิด จะมีทั้ง 2 แนวแต่ไม่ครบถ้วนในทุกแนว และยังต้องมีการพัฒนาเพิ่มเติม โดยเฉพาะทุนแห่งความยั่งยืน และทุนทางนวัตกรรม และทุนแห่งการสร้างสรรค์ ซึ่งมุ่งหวังมาเรียน เรียนเก็บเกี่ยวจากหลักสูตรในครั้งนี้

ท้ายสุดขอขอบคุณอาจารย์อีกครั้งที่ผลักดันให้เกิดการเรียนรู้และใช้ความคิดในครั้งนี้

พนิดา ฮั้วประเสริฐ

เรียน อาจารย์ ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์

ขอส่งงานนะคะ

1. งานปัจจุบันที่ทำอยู่ เป็นการดูแลฐานข้อมูลบางส่วนของสศก. และพัฒนาโปรแกรมบ้าง อาจจะไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการช่วยเหลือเกษตรกร แต่ข้อมูลบางส่วนที่เก็บอยู่ในฐานข้อมูลนี้ก็มีความสำคัญ สามารถนำมาใช้วิเคราะห์ เพื่อช่วยในการวางแผนและตัดสินใจ ดังนั้นข้อมูลที่เก็บจะต้องมีความถูกต้อง เพื่อรายงานที่นำเสนอผู้บริหารหรือผู้ใช้ข้อมูล จะได้มีความถูกต้องและน่าเชื่อถือ

2.แนวคิด 8K's และ 5K's จากการวิเคราะห์แล้วคิดว่า ตัวเองมีทุกทุน แต่บางข้ออาจจะมีน้อยมาก ในส่วนที่ต้องการจะปรับปรุง คือ

แนวคิด 8K's

1.Intellectual Capital หรือ ทุนทางปัญญาเพราะทุนนี้เกิดจากการแสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่อง และสม่ำเสมอ ซึ่งตัวเองยังขาดข้อนี้อยู่มาก

2.Happiness Capital หรือ ทุนแห่งความสุข ในการทำสิ่งใดก็ตามจะต้องคำนึงถึงความสุขกับสิ่งที่ทำด้วย เช่นในการทำงานจะต้องมีความสุขกับการทำงานด้วย

3.Social Capital หรือ ทุนทางสังคม การรู้จักเข้าสังคม การรู้จักวางตัว หน้าที่และบทบาทของตนเองต่อสังคมซึ่งก็จะเป็นการสร้างให้เกิดยอมรับในสังคม ซึ่งข้อนี้ยังต้องปรับปรุงอยู่

4.Talented Capital หรือ ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ เป็นทุนที่ขาดไม่ได้สำหรับทรัพยากรมนุษย์ในยุคนี้ การมีความรู้ ทักษะ และทัศนคติ ที่ไม่ถูกต้องในการทำงาน ก็จะไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

แนวคิด 5K's

1.Innovation Capital หรือทุนทางนวัตกรรม ไม่กล้าที่จะทำอะไรนอกกรอบ

2.Knowledge Capital หรือทุนทางความรู้ ต้องใฝ่หาความรู้เพิ่มเติม ไม่เฉพาะความรู้ที่เกี่ยวข้องกับงานเท่านั้น

3.Creativity Capital หรือทุนแห่งการสร้างสรรค์ คิดว่าตัวเองมีความคิดสร้างสรรค์น้อย อาจจะไม่กล้าแสดงออกมา

จิรจิตต์ ตั้งภากรณ์

1. เรื่อง (360 องศา) ว่างานที่ทำอยู่มีอะไรบ้างที่จะปรับปรุงให้ไปสู่การวัดผลที่ชัดเจนของการสร้างมูลค่าเพิ่มของเกษตรกร และอะไรคืออุปสรรค

งานที่เกี่ยวกับเกษตรกรที่สำคัญที่จะสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มของเกษตรกรได้มากที่สุดคือการพัฒนาทุนมนุษย์ให้เกษตรกรรู้จักคิด เพราะเชื่อว่าหลายสิ่งหลายอย่างที่ภาครัฐส่งเสริมให้การสนับสนุนโดยเฉพาะด้านตัวเงินไม่เกิดผลดีต่อตัวเกษตรกร ควรสร้างสร้างขบวนคิด สร้างทักษะ ความมั่นใจ และร่วมสร้างความรู้ในบางส่วนที่ขาดเพราะเชื่อว่า วิชาการเกษตรทางทฤษฎี เกษตรกรมีความชำนาญมากกว่า หน่วยงานภาครัฐ ซึ่งจะเป็นทางที่ดีในการพัฒนาการเกษตรของประเทศให้ยั่งยืน

2. ในแนวคิด 8 K’s และ 5K’s ส่วนไหนบ้างที่ท่านมีแล้ว และส่วนไหนบ้างที่ต้องปรับปรุง เป็นเพราะอะไร

8K's

ทุนที่มีอยู่เป็นทุนมนุษย์ ทุนทางจริยธรรม ทุนแห่งความสุขมีแล้ว

ทุนที่ยังขาดยังไม่เติมเต็ม ต้องแสวงหาตลอดเวลา เนื่องจาก การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตลอด ทำให้ต้องมีเรียนรู้ตลอดเวลา เช่น ทุนทางปัญญา ทุนทาง IT ทุนทางความรู้ ทักษะและทัศนคติต้องพัฒนาต่อเนื่อง และทุนทางสังคมต้องสร้างชื่อให้เกิดขึ้นก่อน

สุดท้ายจึงจะเกิดเป็นทุนแห่งความยั่งยืน

5K’s

ทุนที่มีอยู่เป็นทุนแห่งการสร้างสรรค์ และทุนทางวัฒนธรรม

ทุนที่ยังขาดยังทุนทางนวัตกรรมและทุนทางความรู้ เป็นทุนที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ไม่สามารถเรียนได้หมด แต่ยังสามารถเรียนรู้ได้ ส่วนทุนทางอารมณ์ ในบางสถานการณ์ยังคงไม่ค่อยมี คงต้องฝึกฝนพัฒนาต่อเนื่อง

เรียน ท่านอาจารย์ ศ.ดร.จิระ

เรื่องของการปรับปรุงงานที่ทำอยู่ให้ไปสู่การวัดผลที่ชัดเจนของการสร้างมูลค่าเพิ่มของเกษตรกร จากการศึกษาวิจัยของการผลิตสินค้าเกษตร รวมถึงการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารซึ่งเป็นศึกษาแนวทางให้กับเกษตกรเพื่อใช้เป็นแนวทางในการวางแผนการผลิต ให้เกษตรกรมีการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต มีการใช้เทคโนโลยีการผลิตเพื่อช่วยเหลือให้เกษตรผลิตสินค้าเกษตรให้ได้ผลผลิตสูง และลดต้นทุนการผลิต เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเกษตรกร

ปัญหา/อุปสรรค

การปรับเปลี่ยนแนวคิด ความเชื่อ เป็นสิ่งที่ทำได้ยาก เพราะวิถีชีวิตของเกษตรกรยึดกับการทำเกษตรแบบเดิมๆ เกษตรกรส่วนใหญ่มีการผลิตสินค้าเกษตรขึ้นกับสถานการณ์ด้านราคาเป็นแรงจูงใจให้เกษตรกรเพิ่มขึ้นทำให้ปริมาณผลผลิตล้นตลาด ซึ่งเกษตรกรไทยมีความสามารถในการผลิตแต่ไม่มีความรู้ในด้านการตลาด

ทฤษฎีทุน 8 K’s และ 5 K’s คิดว่ามีทุน 8 K’s มีทุกข้อ ส่วน 5 K’s มีเป็นบางข้อ ยกเว้นในเรื่องของนวัตกรรม ทุน 8 K’s และ 5 K’s ขึ้นกับพื้นฐานของความรู้ การแสวงหาความรู้ ความใฝ่รู้ และประสบการณ์ สามารถนำมาพัฒนาเป็นทุน 8 K’s และ 5 K’s และการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลาโดยไม่มีขีดจำกัด ส่วนที่ยังต้องปรับปรุง คือ ทุนทางนวัตกรรม ซึ่งระบบราชการยังเป็นระบบเกื้อหนุน การติดกับอำนาจของผู้นำ เป็นข้อจำกัดในการกีดกั้นความรู้ความสามารถในการจะนำไปพัฒนางานและบุคลากรขององค์กร

กรรณิกา บุญชิต [email protected]

จุฑามาศ สังข์อุดม

1)ขอให้แต่ละคนคิดอย่างรอบคอบ 360 องศา ว่างานที่ทำอยู่มีอะไรบ้างที่จะปรับปรุงให้ไปสู่การวัดผลที่ชัดเจนของการสร้างมูลค่าเพิ่มของเกษตรกร และอะไรคืออุปสรรค

งานที่ทำอยู่จะเป็นเป็นการทำยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาการเกษตร ซึ่งการที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มให้เกิดขึ้นแก่เกษตรกรนั้น จะต้องสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ให้เกษตรกร จะต้องกำหนดยุทศาสตร์เพื่อพัฒนาศักยภาพของเกษตรกร และแปลงไปสู่แผนการปฏิบัติให้ได้ โดย

- เกษตรกรต้องตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาตนเอง เกษตรกรเป็นผู้รู้จริงด้านการเกษตร ต้องสำรวจตัวเองเพื่อให้รู้ปัญหาที่แท้จริง ใฝ่รู้ และเปิดใจที่จะเรียนรู้

- หน่วยงานราชการต้องให้ความรู้ เช่น ความเหมาะสมของสภาพดินกับพืชที่จะปลูก การปลูกพืชเชิงเดี่ยวมีความเสี่ยงสูงควรกระจายความเสี่ยงในการปลูกพืชผสมผสาน ให้ความรู้ด้านวิทยาการและเทคโนโลยีการเกษตรใหม่ๆ การทำบัญชี และเรียนรู้จากเกษตรกร เพื่อผสมผสานภูมิปัญญาที่เกษตรกรมี กับเทคโนโลยี หรือวิทยาการเกษตรใหม่ๆ เพื่อหาวิธีการที่เหมาะสมร่วมกัน รวมทั้งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นต่อการทำการเกษตร

- สร้างโอกาสให้เกษตรกรได้เข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ทั้งในด้านความต้องการของตลาด เพื่อจะผลิตสินค้าได้ตรงกับความต้องการ ได้ราคาดี ต้องผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ ไม่ให้มีสารพิษตกค้าง เนื่องจากมีการกีดกันทางการค้าโดยใช้มาตรการสุขอนามัย และมีการตรวจสอบย้อนกลับ และต้องรู้ศักยภาพของคู่แข่ง

- สร้างทีม รวมตัวกันเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกันและเพื่อให้เกิดอำนาจต่อรองในการซื้อปัจจัยการผลิต และขายผลผลิต

เมื่อเกษตรกรมีมูลค่าเพิ่มแล้ว ผลที่จะวัดได้คือ ผลิตภาพการผลิตจะสูงขึ้น

อุปสรรคที่มี คือ การพัฒนาขาดความต่อเนื่อง และการสร้างทีมเกิดขึ้นได้ยาก

2.ให้วิเคราะห์ว่าทุน 8K's และ 5K's ส่วนไหนที่ท่านมีแล้ว และส่วนไหนที่ต้องปรับปรุง เพราะอะไร

ทุน 5K's ที่มีแล้ว ได้แก่ emotional capital เนื่องจากสามารถควบคุมอารมณ์ได้และดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข

ที่ต้องปรับปรุง ได้แก่

- Innovatio capital ขาดความคิดสร้างสรรค์ ที่จะสร้างความแตกต่างจากคนอื่น เกิดสิ่งใหม่ๆ จะต้องฝึกคิดนอกกรอบ สร้างความแตกต่างให้เกิดสิ่งใหม่ๆ ขึ้นมา

- crativity capital ขาดการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ขึ้นมาทำ งานที่ทำเป็นลักษณะงาน routine เคยทำมาอย่างไรก็ทำแบบเดิมๆ

- cultural capital ลักษณะของงานที่ทำเป็นประจำ รูปแบบเดิมๆ ไม่ได้มีสิ่งใหม่ที่ท้าทายความสามารถ ทำให้ขาดความกระตือรือร้นในการพัฒนาตนเอง

- knowledge capital มีความรู้เฉพาะทาง ขาดความรู้กว้าง ต้องมีการ update ข้อมูลข่าวสารทันสมัย ใฝ่รู้ เรียนรู้ตลอดชีวิต

ทุน 8 K's ที่มีแล้ว ได้แก่

- Ethical capital มีจริยธรรม ความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น

- Happiness capital สามารถควบคุมอารมณ์ได้และดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข มีปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีพครบถ้วน ครอบครัว เพื่อนฝูง เพื่อนร่วมงานมีความเอื้ออาทรต่อกัน

- social capital ได้รับการยอมรับจากเพื่อนฝูง และเพื่อนร่วมงงาน ไม่ได้อยู่โดดเดี่ยวเดียวดาย

- sustainability capital มีความรู้คู่คุณธรรม ทำให้เกิดความยั่งยืนในชีวิต

- Digital capital มีทักษะการใช้และมีอุปกรณ์ IT สามารถปฏิบัติงานได้

- Human capital มีสุขภาพดี มีการศึกษา เปิดใจรับสิ่งใหม่

สิ่งที่ขาด ได้แก่

- Talented ขาดการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ยังต้องมีการพัฒนาทักษะต่างๆ อีกหลายด้าน ให้มี multi skill รู้กว้าง

- Intellectual capital ต้องปรับปรุงวิธีคิดให้เป็นระบบ ทั้งในการแก้ไขปัญหา การคิดแบบเป็นเหตุเป็นผล

เรียน อาจารย์จีระ

งานที่ทำอยู่ มีอะไรบ้างที่ต้องปรับปรุงเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มของเกษตรกร และอะไรคืออุปสรรค งานที่ทำช่วงนี้ได้เข้าไปสัมผัสกับปราชญ์ชาวบ้าน คือ ประเมินผลโครงการศูนย์ปราชญ์ชาวบ้าน ปี 2551 เริ่มตั้งแต่การคัดเลือกปราชญ์ชาวบ้าน มีปราชญ์ชาวบ้านบางท่านที่ไม่สมควรยกย่องเป็นปราชญ์ (ไม่มีความเหมาะสม) เข้าไปสังเกตการณ์การจัดอบรมเกษตรกร เข้าไปเห็นอะไรหลายอย่างที่ไม่คุ้มค่ากับงบประมาณที่เสียไป 2,550/คน การหาคนมาฝึกอบรมเหมือนขอไปที เนื้อหาการอบรมไม่ได้ช่วยให้เกษตรกรได้ประโยชน์สูงสุด เหมือนการจัดฉาก การคัดเลือกเกษตรกรมาอบรมเหมือนเกณฑ์มา เกษตรกรที่มาไม่มีความตั้งใจที่จะมาอบรม เขียนรายงานประเมินผลโครงการออกมา นำเสนอปัญหาต่าง ๆ คิดว่าคงจะไม่มีการแก้ไขปรับปรุงเนื่องจากเป็นงานของสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรฯ สศก.ไม่มี Power เพียงพอ ปีหน้าก็จัดอบรมแบบเดิมอีก ตัวคนประเมินเองจึงเกิดความท้อแท้เมื่อได้รับมอบหมายให้ติดตามประเมินผลโครงการในลักษณะนี้มาก

แนวคิด 8K's และ 5K's ส่วนไหนที่มีแล้ว ส่วนไหนต้องปรับปรุง เป็นเพราะอะไร

8K's

1.ทุนมนุษย์ คิดว่ามี

2.ทุนทางปัญญา มีน้อยแต่จะพยายามหาเพิ่มขึ้น

3.ทุนทางจริยธรรม มีอยู่บ้าง

4.ทุนแห่งความสุข มีแบบเรียบง่าย เรียกว่าความสุขเล็ก ๆ

5.ทุนทางสังคม มีน้อย เพราะไม่ค่อยไปติดต่อกับบุคคลภายนอกเท่าไหร่

6.ทุนแห่งความยั่งยืน มีบ้างแต่ยังไม่ยั่งยืน เนื่องจากขาดการเรียนรู้ที่ต่อเนื่อง

7.ทุนทาง IT มีเล็กน้อยแบบงูๆ ปลาๆ

8.ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ มีบ้างแต่ไม่เพียงพอ คือ ภาษาอังกฤษ สถิติ เศรษฐศาสตร์

5K's

1.ทุนแห่งความสร้างสรรค์ มี แต่ไม่ได้นำไปใช้ในงาน เพราะ งานเป็นลักษณะเดิม ๆ ไม่สามารถ คิดอะไรที่แตกต่าง

2.ทุนทางความรู้ มีแต่ไม่พอ ต้องศึกษาตลอดไป

3.ทุนทางนวัตกรรม มีแต่น้อย

4.ทุนทางอารมณ์ บางเวลาควบคุมอารมณ์ได้ แต่ถ้าเจอความถูกต้องไม่ก็อาจควบคุมไม่ได้

5.ทุนทางวัฒนธรรม มีแล้ว

เรียน ท่านอาจารย์ ศ.ดร.จิระ

เรื่องของการปรับปรุงงานที่ทำอยู่ให้ไปสู่การวัดผลที่ชัดเจนของการสร้างมูลค่าเพิ่มของเกษตรกร นั้น งานที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเกษตรกร คือ ศึกษาวิจัยในเรื่องการเพิ่มผลผลิตโดยใช้ต้นทุนการผลิตต่ำกับพืชสำคัญต่าง ๆ โดยศึกษาตั้งแต่เทคโนโลยี พันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูง ศักยภาพของพื้นที่ที่เหมาะกับพืช เสนอแนะแนวทางที่จะทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำไม่ว่าจะเป็นเรื่องผลิตปุ๋ยใช้เอง หรือใช้ยากำจัดแมลงที่ทำจากวิธีธรรมชาติ และหาตลาดที่เหมาะสมให้กับสินค้าเกษตรนั้น หากได้ตลาดที่เหมาะสมจะทำให้ราคาสินค้าเกษตรดี แล้วเผยแพร่ให้เกษตรกรทราบอย่างชัดเจนถึงข้อดีข้อเสียหากปลูกพืชที่เหมาะสมกับศักยภาพของดิน เช่น จะทำให้ไม่ต้องใส่ปุ๋ยมากหรือดูแลรักษามาก อีกทั้งยังทำให้ผลผลิตสูงและต้นทุนต่ำ หากปลูกในดินที่ไม่เหมาะสมจะต้องปัจจัยการผลิตมากเท่าใด เพื่อเป็นทางเลือกในการตัดสินใจปลูกพืชในปีต่อ ๆ ไป ส่วนอุปสรรคเกิดจากการที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและทัศนคติของเกษตรกรที่เคยปลูกจะทำได้ยากมาก เนื่องจากวิถีชีวิตเป็นอย่างไรก็จะเป็นอย่างนั้นเสมอทำอย่างเดิมเสมอ

ทฤษฎีทุน 8 K’s และ 5 K’s จากที่ได้อ่านในชีทคิดว่ามีทุน 8 K’s และ 5 K’s ในทุกข้อ แต่ทุนทุกข้อนั้นต้องมีการปรับปรุงหรือกระตุ้นให้เกิดขึ้นและนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ซึ่งทุนที่ต้องปรับปรุงเป็นอย่างมากคือ ทุนทางนวัตกรรม ทุนแห่งการสร้างสรรค์ ซึ่งทั้ง 2 สิ่งนี้หากเราไม่คิดสร้างสรรค์ก็ไม่ทำให้เกิดสิ่งใหม่หรือนวัตกรรมใหม่

ปวริศา ศิริกุล

สุปริญญา แก้วนนท์

เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

สำหรับการบ้านครั้งที่ 2

1. ให้คิดอย่างรอบคอบ 360 องศา ว่างานที่ทำอยู่มีอะไรบ้างที่จะปรับปรุงให้ไปสู่การวัดผลที่ชัดเจนของการสร้างมูลค่าเพิ่มของเกษตรกร และอะไรคืออุปสรรค

ตอบ  งานที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบ คือ การจัดทำงบประมาณของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร และการจัดทำแผนปฏิบัติงานในการเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราว ซึ่งอาจจะดูไม่เกี่ยวกันโดยตรงกับการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเกษตรกร แต่จริงๆ แล้ว งานด้านการจัดทำงานประมาณนั้น ก็เพื่อให้เจ้าหน้าที่ และผู้ปฏิบัติงานทุกระดับชั้นของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร สามารถปฏิบัติงานด้านต่างๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็น ด้านการศึกษาวิจัย ด้านนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตร ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านการติดตามประเมินผล และการร่วมประชุมเจรจาความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการเกษตรระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นงานหลักของสำนักงานฯ ล้วนแล้วแต่เป็นการปฏิบัติงานเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเกษตรกร หรือกลุ่มเป้าหมายมีชีวิตที่ดีขึ้นทั้งสิ้น

     แต่ในปัจจุบันนี้การจัดทำงบประมาณ และการใช้จ่ายงบประมาณมีหลักเกณฑ์ วิธีการที่ยุ่งยาก ซับซ้อน และรัดกุมมากขึ้น ทำให้การทำงานยากขึ้น แต่ในแง่ดีคือ ทำให้การปฏิบัติงานเป็นตามระเบียบ และหากมีการตรวจสอบก็จะไม่เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา

2. แนวคิด 8 K's และ 5 K's ให้วิเคราะห์ว่า ส่วนไหนบ้างที่มีแล้ว และส่วนไหนบ้างที่ต้องปรับปรุง เพราะอะไร

ตอบ 

- สำหรับทุน 8 K's ซึ่งเป็นพื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และทุน 5 K's ซึ่งเป็นทุนเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุกโลกาภิวัฒน์ นั้น คิดว่า ตัวเองก็มีทุนในทุกประเภท แต่อาจมีมากบ้าง หรือน้อยบ้าง ไม่เท่ากัน แต่อย่างไรก็ต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม เพื่อพัฒนาในตนเองมีทุนในทุกประเภทให้มากขึ้น โดยเฉพาะทุนทางความรู้ ทุนแห่งการสร้างสรรค์ ทุนทางปัญญา ซึ่งต้องยิ่งพัฒนาเพิ่มขึ้นให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน เพราะโลกก้าวไปข้างหน้าอยู่เสมอ เราก็ต้องก้าวไปให้ทันโลก และเหตุการณ์เช่นกัน

 

เรียน ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์

1. งานที่ทำอยู่มีอะไรบ้างที่จะปรับปรุงไปสู่การวัดผลที่ชัดเจนของการสร้างมูลค่าเพิ่มของเกษตรกร และอะไรคืออุปสรรค

สศก. นับเป็นองค์กรแห่งคลังข้อมูลทางเศรษฐกิจด้านการเกษตร ที่ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และรวบรวมองค์ความรู้ภาคการเกษตรในหลากหลายด้าน แต่ขาดการเชื่อมโยงความรู้ดังกล่าวไปสู่เกษตรกรโดยตรง ซึ่งงานที่ตนเองรับผิดชอบนั้นส่วนใหญ่เป็นงานด้านการวิจัยที่อยู่เพียงในตำรา แต่ขาดการนำมาประยุกต์ และปรับใช้จริงให้เกิดประโยชน์แก่เกษตรกร จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเน้นเรื่องการเผยแพร่องค์ความรู้ดังกล่าวให้แก่เกษตรกรที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้รู้เท่าทันต่อสถานการณ์ที่ปรับเปลี่ยน รับรู้ถึงปัญหาและผลกระทบ เพื่อช่วยให้เกษตรกรไทยสามารถตั้งรับ ปรับตัว และลดการสูญเสียรายได้ โดยอาจมีอุปสรรคในการเข้าถึงตัวเกษตรกร และการสร้างการตระหนักถึงความสำคัญของการรับรู้ข้อมูล ข่าวสารที่ทันสมัยในโลกแห่งการแข่งขันยุคปัจจุบัน

2. ทุน 8 K’s และ 5 K’s ส่วนไหนที่มี ส่วนไหนที่ต้องปรับปรุง เพราะอะไร

- Human Capital , Ethical Capital , Happiness Capital (ในทฤษฎีทุน 8 ประการ) และEmotional Capital (ในทฤษฎีทุนใหม่ 5 ประการ) : เป็นทุนที่คิดว่าตนเองมี นั่นคือทุนแห่งความเป็นมนุษย์ ซึ่งเป็นทุนขั้นพื้นที่ฐานที่ทุกคนควรมี ส่วนทุนแห่งจริยธรรม ความสุข และอารมณ์ เป็นทุนที่ตนเองได้รับการปลูกฝังจากครอบครัว และสร้างขึ้นเพื่อเป็นกำลังใจให้สามารถใช้ชีวิตอยู่ในสังคม

- Intellectual Capital , Social Capital , Talented Capital (ในทฤษฎีทุน 8 ประการ) และ Knowledge Capital (ในทฤษฎีทุนใหม่ 5 ประการ) : เป็นทุนที่ตนเองต้องปรับปรุง โดยต้องหมั่นเพิ่มเติม และสะสมทั้งทุนทางปัญญา ความรู้ ทักษะ และทัศนคติ ที่ต้องเรียนรู้ และแสวงหาอย่างสม่ำเสมอ และทุนทางสังคมที่ระบบเครือข่ายมีบทบาทสำคัญ เพราะการทำงานยากที่จะบรรลุได้โดยบุคคลเพียงผู้เดียว ต้องอาศัยความร่วมมือจากบุคคลหลายฝ่าย ซึ่งสร้างได้จากสัมพันธ์ไมตรีที่ดีต่อกัน

มณทิรา พรหมพิทยายุทธ

1.ให้คิดอย่างรอบคอบ 360 องศา ว่างานที่ทำอยู่มีอะไรบ้างที่จะปรับปรุงให้ไปสู่การวัดผลที่ชัดเจนของการสร้างมูลค่าเพิ่มของเกษตรกร และอะไรคืออุปสรรค

ตอบ งานหลักที่ทำคืองานวิจัย โดยวิเคราะห์ปัญหาของเกษตรกรและหาวิธีการแก้ไข ซึ่งอุปสรรคในการทำงานวิจัยคือ บางครั้งไม่สามารถช่วยเหลือเกษตรกรได้เต็มที่เพราะอำนาจหน้าที่ของเรามีจำกัด

2. แนวคิด 8 K's และ 5 K's ให้วิเคราะห์ว่า ส่วนไหนบ้างที่มีแล้ว และส่วนไหนบ้างที่ต้องปรับปรุง เพราะอะไร

ตอบ ทุน 8 K's เป็นพื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และทุน 5 K's เป็นทุนเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุกโลกาภิวัฒน์ นั้น คิดว่า ตัวเองก็มีทุนในทุกประเภท แต่อาจมีมากน้อยแตกต่างกัน โดยเฉพาะทุนทางความรู้ ทุนแห่งการสร้างสรรค์ ทุนทางปัญญา อาจจะมีน้อยกว่าทุนอื่นๆ เพราะทุนประเภทนี้ต้องมีการเรียนรู้อยูเสมอ

สวัสดีค่ะ อาจารย์จีระ

ดิฉันเป็นเพื่อนของ คุณจุฑามาศ สังข์อุดม หนึ่งในผู้เข้าร่วมอบรมหลักสูตรนี้

ดิฉันได้ติดตามผลงานของอาจารย์มาแล้วระยะหนึ่ง รู้สึกประทับใจในความรู้ ที่อาจารย์ได้ถ่ายทอดอย่างมาก และพยายามนำมาใช้ปรับปรุงการทำงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

น่าเสียดายที่ไม่มีโอกาสได้เข้าร่วมอบรมในครั้งนี้ ดิฉันหวังเป็นอย่างยิ่งว่า คงได้มีโอกาสเข้าร่วมอบรม เพื่อพัฒนาตนเอง และจะเข้ามาติดตามผลงานของอาจารย์อย่างสม่ำเสมอคะ

สวัสดีครับ อาจารย์จีระ

ผมได้รับแนวคิดดีๆ เพื่อใช้ในการพัฒนางานที่ดำเนินงานอยู่ จากการได้สนทนากับ

กิติมา และหวังว่าทางหน่วยงานน่าจะเชิญอาจารย์จีระมาบรรยายเพื่อพัฒนาองค์ความรู้

ของพนักงานต่อไป

จากพีระศักดิ์ เพื่อนกิติมา ประดิษฐกุล ค้าพลอย

สุภัค วงศ์วิวัฒน์ไชย

เรียน ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์

1. ให้คิดอย่างรอบคอบ 360 องศา ว่างานที่ทำอยู่มีอะไรบ้างที่จะปรับปรุงให้ไปสู่การวัดผลที่ชัดเจนของการสร้างมูลค่าเพิ่มของเกษตรกร และอะไรคืออุปสรรค

ตอบ งานที่ทำอยู่คือการวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยผลผลิต และรายงานการเบิกจ่ายงบลงทุนประจำปี วึ่งอาจจะไม่เกี่ยวข้องโดยตรง แต่ก็เป็นงานที่ต้องประสานกับทุกสำนัก / ศูนย์ ภายใน สศก. ซึ่งเป็นการติดตามเร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณด้านต่างๆ ที่สำนัก/ศูนย์ใช้ไปเพื่อการดำเนินงานซึ่งล้วนเป็นภารกิจหลักที่ สศก.ใช้จ่ายไปเพื่อโครงการ/งานที่เกี่ยวข้องกับการสร้างมูลค่าเพิ่มของเกษตรกรตามหน้าที่ที่รับผิดชอบของสำนัก/ศูนย์

2.แนวคิด 8 K's และ 5 K's ให้วิเคราะห์ว่า ส่วนไหนบ้างที่มีแล้ว และส่วนไหนบ้างที่ต้องปรับปรุง เพราะอะไร

ตอบ สำหรับทุน 8 K's ซึ่งเป็นพื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และทุน 5 K's ซึ่งเป็นทุนเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุกโลกาภิวัฒน์ คิดว่าตนเองมีทุนอยู่แล้วทั้ง ทุน 8 K's และ 5 K's แต่ความมากน้อยแตกต่างกัน แต่คิดว่าทุนที่ต้องการพัฒนาเพิ้มขึ้น คือ ทุนทางปัญญาซึ่งคิดว่าป็นทุนที่ต้องพัฒนาตลอดชีวิต ทุนทาง IT ที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และทุนทางนวัตกรรม ที่ต้องให้ทันความเปลี่ยนแปลงของโลกปัจจุบันอยู่เสมอ

หทัยรัตน์ หยีวิยม

1. งานที่รับผิดชอบเป้นงานด้านแผนงานและงบประมาณ สิ่งที่ควรปรับปรุงคือการที่หน่วยงานภายในสศก. จะของบประมาณแต่ละปีจะต้องมีการตั้งโครงการเพื่อขอเงินงบประมาณ ดังนั้น เราควรให้แต่ละกองตั้งโครงการที่มีความสำคัยและเร่งด่วนตามนโยบายรัฐบาลและของกระทรวงฯ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายเกษตรกรอยู่ดีกินดี และจัดทำระบบการวางแผนการปฏิบัติงานและติดตามให้เป็นระบบ ส่วนอุปสรรค คือ หน่วยงานต่างๆ ไม่เห็นความสำคัญในการตั้งโครงการและของบประมาณเท่าที่ควร คิดว่าเป็นเรื่องของอนาคตจะรู้ได้อย่างไร อะไรก็เปปลี่ยนแปลงได้

2. ใน่ส่วนของทุน 8K's และ 5K's ข้าพเจ้าคิดว่าขาดทุกทุน เพราะถ้าเราคิดว่ามีทุนแต่ละข้อแล้วเราไม่พัฒนาต่อ โลกจะไม่รอเรา สิ่งที่มีอาจจะไม่เพียงพอต่อการพัฒนาตัวเอง ดังนั้นเราควรจะพัฒนาทุกทุนอยู่อย่างสม่ำเสมอ เพราะโลกหมุนเร็วขึ้น มีสิ่งใหม่เกิดขึ้นตลอดเวลา

สวัสดีครับ อาจารย์จีระ

ผมเป็นเพื่อนของคุณปวีณา แซ่ตั้ง ผู้เข้ารับการอบรมในรุ่นปัจจุบัน คุณปวีณาได้เล่าให้ผมฟังว่า ตลอดระยะเวลาที่ได้เข้ารับการอบรมมาสองวัน ทำให้เขาได้รับความรู้ เเละประโยชน์อย่างมากในการอบรมครั้งนี้ ทำให้เขามีความคิดว่า จะสามารถพัฒนาตัวเอง ตลอดจนพัฒนาลูกน้องได้อย่างไร ซึ่งจากคำบอกเล่าของคุณปวีณา ทำให้ผมก็ได้รับประโยชน์จากการอบรมในครังนี้เช่นกัน โดยผมจะใช้ความรู้ในครั้งนี้เพื่อพัฒนาตนเอง เพื่อที่จะได้เป็นผู้นำที่ดีต่อไป น่าเสียดาย ที่ไมสามารถเข้าร่วมอบรมในครั้งนี้ได้ โดยหวังว่าสักวันคงได้เข้ารับการอบรมบ้าง

ขอบคุณความรู้ที่ได้รับจากท่านอาจารย์จีระ

ของแสดงความนับถือ

นายรณชัย เกิดมณี

น.ส.จงลักษณ์ สร้อยมณี

เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

สวัสดีค่ะท่านอาจารย์ หนูเป็นรุ่นน้องของพี่ปวีณา แซ่ตั้งซึ่งเมื่อคืนนี้หนูได้โทรไปหาพี่เขา ซึ่งหนูมีปัญหากับหัวหน้าที่ทำงาน โดยพี่เขาก็เล่าเรื่องที่ไปอบรมมาเกี่ยวกับผู้นำ ซึ่งทำให้หนูมีความคิดที่ว่า บางครั้งปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างหนูกับหัวหน้า บางครั้งก็น่าจะเกิดจากตัวหนูเองด้วย ซึ่งต่อไปภายหน้าหนูก็ต้องมีโอกาสเป็นผู้นำเหมือนกัน ทำให้หนูมีความคิดที่ว่า ก่อนที่จะเป็นผู้นำที่ดี เราจะต้องเป็นผู้ตามที่ดีเสียก่อน ต้องขอขอบคุณอาจารย์ และพี่ปวีณา เป็นอย่างมาก ที่ทำให้หนู ได้รับแนวคิกดีๆ ขอบอกว่าพี่ปวีณาให้คำเเนะนำที่ดีมาก ขอบคุณค่ะ

จงลักษณ์

สุดารัตน์ แซ่อุ้ย

เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

หลักสูตรนี้เหมือนได้ออกกำลังการสมองทุกวัน ทำให้รู้สึกง่วงเร็วกว่าปกติเพราะสมองทำงานทั้งวัน แต่เป็นการออกกำลังกายสมองที่ดีทางหนึ่งค่ะ

1. จากงานที่ทำอยู่ในกลุ่มแผนพัฒนาเขตเศรษฐกิจการเกษตร จึงเป็นงานวิจัยเพื่อเสนอแนะนโยบาย เพื่อให้เกษตรกรได้มีความกินดีอยู่ดีขึ้น และจากโจทย์ที่ท่านอาจาย์ได้ให้มาคิด ขอแสดงความคิดเห็นว่า ตัวชี้วัดควรจะเป็นการเป็นหนี้สิน เพราะ รายได้ > รายจ่าย = กำไร นำไปสู่เงินออม แต่หาก รายได้ < รายจ่าย = ขาดทุน นำไปสู่หนี้สิน และเมื่อพิจารณาด้านรายได้ซึ่งเกิดจาก P*Q การสร้างมูลค่าเพิ่มจึงน่าจะมาจากด้าน P โดยเป็นการเพิ่มในแง่ของราคาสินค้าเฉพาะกลุ่ม หรือเพิ่มมูลค่าด้วยรูปแบบ Packaging ที่สวยงามดึงดูดใจ หรือการขายแบบแบ่งเกรดสินค้า ส่วนด้านรายจ่าย ต้องให้เกษตรกรพึ่งพาปัจจัยการผลิตจากภายนอกน้อยที่สุด เช่น อาจจะผลิตปุ๋ยหมัก ปุ๋ยชีวภาพใช้เอง หรือใช้วิธีชีววิถี

2. มนุษย์ทุกคนเกิดมาย่อมมีทุกข้อในทุน 8K's และ 5K's แต่อาจจะมีในปริมาณที่น้อย แต่พร้อมที่จะเรียนรู้และเพิ่มเติมทุนในทุกข้อ ส่วนตัวแล้วต้องการจะปรับปรุงในด้านของ Knowledge Capital เพราะต้องมีการ update ข้อมูลตลอดเวลา เพราะความรู้เปรียบเสมือนอาวุธทางความคิด ดังนั้นต้องทันสมัย ถูกต้องอยู่เสมอจึงจะเป็นอาวุธที่มีอำนาจการทำลายล้างที่รุนแรง และขอปรับปรุง Talented Capital เพราะทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคตินั้นต้องสร้างและเสริม Skill ในทุกด้านเพื่อให้มีความรู้ที่ update มีการตกผลึกทางความคิด และมีทัศคติที่ดี

เรียน ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์

1. ให้คิดอย่างรอบคอบ 360 องศา ว่างานที่ทำอยู่มีอะไรบ้างที่จะปรับปรุงให้ไปสู่การวัดผลที่ชัดเจนของการสร้างมูลค่าเพิ่มของเกษตรกร และอะไรคืออุปสรรค

ตอบ ตอนนี้งานที่ทำก็คือ การสร้างตารางปัจจัยการผลิตและผลผลิตภาคเกษตรกรรม ปี 2005 ( I-O 2005 ) เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อการพัฒนาภาคเกษตรอย่างต่อเนื่อง แต่งานที่ทำในปัจจุบันยังไม่สมบูรณ์ เพราะมีขั้นตอนการทำงานที่ซับซ้อน ต้องใช้ข้อมูลที่หลากหลาย ทั้งต้นทุนและปัจจัยการผลิตสินค้าเกษตร ราคาสินค้าเกษตร ปริมาณการผลิตสินค้าเกษตร และข้อมูลการนำเข้า-ส่งออก สินค้าเกษตร เมื่อได้ข้อมูลมาแล้วจะต้องทำการจัดรูปแบบ ใส่รหัสของข้อมูล และทำการคำนวณตามวิธีการจัดทำตาราง I-O จึงต้องใช้ระยะเวลานาน ทำให้เกิดความล่าช้า ซึ่งต้องแก้ไขและปรับปรุงปัญหาดังกล่าว ให้มีการทำงานที่รวดเร็วและถูกต้อง เพื่อให้ทันกับความต้องการของผู้ใช้ตาราง I-O

2.แนวคิด 8 K's และ 5 K's ให้วิเคราะห์ว่า ส่วนไหนบ้างที่มีแล้ว และส่วนไหนบ้างที่ต้องปรับปรุง เพราะอะไร

ตอบ สำหรับทุน 8 K's ซึ่งเป็นพื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และทุน 5 K's ซึ่งเป็นทุนเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุกโลกาภิวัฒน์ คิดว่าตนเองมีทุนอยู่แล้วทั้ง ทุน 8 K's และ 5 K's แต่ยังขาดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ถ้าฝึกฝนอย่างต่อเนื่องจะทำให้มีทุนแต่ละทุนเพิ่มมากขึ้น และสามารถนำไปใช้ร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่องค์กร เกษตรกร และประเทศชาติ

เรียน ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์

1. คิดอย่างรอบคอบ 360 องศา ว่างานที่ทำอยู่มีอะไรบ้างที่จะปรับปรุงให้ไปสู่การวัดผลที่ชัดเจนของการสร้างมูลค่าเพิ่มของเกษตรกร และอะไรคืออุปสรรค

การติดต่อสื่อสารประสนงานระหว่างคนในองค์กรถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่จะทำให้เกิดการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างกัน (Social Capital) ซึ่งพบว่ามีอุปสรรคในการทำงานบ้างซึ่งเกิดจากความไม่ชัดเจนในการถ่ายทอดงานทำให้เกิดความไม่คล่องตัวในการปฏิบัติงานหรือยืนอยู่บนความเปลี่ยนแปลงเป็นความเสี่ยงตลอดเวลา สิ่งที่จะทำได้และปรับปรุงเพื่อสร้าง Value added คือเราทุกคนต้องพัฒนาTalented Capital & Intellectual Capital ซึ่งหากมีความครบถ้วน แน่นในหลักวิชาการและพยายามผลักดันพลังมองไปที่ Share Vision จะทำให้ตอบสนองความต้องการของเกษตรกรได้อย่างตรงประเด็น

2.แนวคิด 8 K's และ 5 K's ให้วิเคราะห์ว่า ส่วนไหนบ้างที่มีแล้ว และส่วนไหนบ้างที่ต้องปรับปรุง เพราะอะไร

เหตผลอย่างหนึ่งทีทำให้องค์กรหรือบุคคลไม่ประสบความสำเร็จอย่างสูงสุดนั้น คือยังมีทุนที่จะพัฒนาด้านต่าง ๆ ในระดับที่ไม่สูงพอที่จะพัฒนาศักยภาพได้ สำหรับทุน 5 K's พบว่ามีข้อจำกัดด้านทุนนวัตกรรม และทุนแห่งความคิดสร้างสรรค์ ส่วนทุน 8 K's คือ Talented Capital Social CapitalและIntellectual Capital

ตามแนวคิดของ Mandela บุคคลและองค์กรยังขาดหรือมีไม่พอในทุนเหล่านี้คือ-ด้านบุคคล ความกล้าที่จะเปลี่ยนแปลงมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ผลักดันพลังที่มีอยู่ในตัวตนที่แท้จริง -ด้านองค์กรคือ ยังขาดการมีสัมพันธ์ร่วมกันในการปฏิบัติงาน Social CapitalและIntellectual Capital เพราะฉนั้นควรเพิ่มดีกรีในหลักการที่ว่าพบกันครึ่งทางแบบ Win-Win

เรียน อ.จีระ หงส์ลดารมภ์ (การบ้านครั้งที่2)

1.ขอให้แต่ละคนคิดอย่างรอบคอบ 360 องศา ว่างานที่ทำอยู่มีอะไรบ้างที่จะปรับปรุงให้ไปสู่การวัดผลที่ชัดเจนของการสร้างมูลค่าเพิ่มของเกษตรกร และอะไรคืออุปสรรค

ตอบ งานที่ผมทำอยู่ปัจจุบันคือการเก็บข้อมูลสินค้าเกษตร เช่น ปริมาณการผลิต ต้นทุนการผลิต ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อทั้งตัวเกษตรกรและประเทศ ในด้านเกษตรกรข้อมูลเหล่านี้จะช่วยเกษตรกรในการตัดสินใจลงทุนผลิตสินค้าหรือไม่ โดยดูจากต้นทุนการผลิตและผลตอบแทนที่ได้รับ รวมถึงช่วยให้เกษตรกรปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตสินค้าของตน เป็นการเพิ่มมูลค่าแก่เกษตรกรได้ ในด้านประเทศชาติข้อมูลเหล่านี้สามารถนำไปใช้วางแผนในการผลิตให้เหมาะสมกับอุปสงค์ซึ่งจะช่วยให้ราคามีเสถียรภาพ เกษตรกรวางแผนที่จะผลิตสินค้าได้ และได้รับผลตอบแทนที่ยุติธรรม ก็จะเป็นการช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มแก่เกษตรกรได้ และที่เป็นอุปสรรคต่อการทำงานคือการไม่ได้รับความร่วมมือในการให้ข้อมูลของเกษตรกร สิ่งที่อยากปรับปรุงในการทำงานคืออยากให้มีสิ่งตอบแทนแก่เกษตรกรเพื่อเป็นแรงจูงใจในการให้ความร่วมมือแก่ราชการ หรือให้มีการออกกฎหมาย ให้เกษตรกรต้องให้ความร่วมมือในการให้ข้อมูลแก่ราชการ

2.ในแนวคิด 8 K และ 5 K ส่วนไหนบ้างที่ท่านมีแล้ว และส่วนไหนที่ต้องปรับปรุง เพราะอะไร

ตอบ ในความคิดเห็นของผมเรื่องทุน 8K และ 5K นั้น ผมคิดว่าตัวเองมีครบทุกส่วนแล้ว แต่ว่าบางส่วนอาจยังมีน้อยไม่เพียงพอต้องปรับปรุง เช่น Talented Capital (ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ)ด้านความรู้ภาษาอังกฤษ ยังไม่ค่อยเก่ง ,ด้านภาวะความเป็นผู้นำ การทำงานเป็นทีม ซึ่งผมคิดว่ายังมีน้อย ต้องปรับปรุงให้เพิ่มมากขึ้น

นางสาวอรรถพร เจริญผล

สวัสดีครับ อาจารย์จีระ

ดิฉันเป็นเพื่อนของคุณวราภรณ์ แซ่ลี้ ผู้เข้ารับการอบรมในรุ่นปัจจุบัน คุณวราภรณ์ได้เล่าให้ฟัง ถึงความรู้และประโยชน์ที่ไ้ด้รับจากการเข้าร่วมการอบรมในครั้งนี้

ทำให้เขามีความคิดว่า จะสามารถพัฒนาตัวเอง ตลอดจนพัฒนาลูกน้องได้อย่างไร ซึ่งจะทำให้เกิดการทำงานที่ง่ายและได้ประสิทธิภาพมากขึ้นในองกรณ์

ซึ่งจากคำบอกเล่า ทำให้ได้รับประโยชน์จากการอบรมในครังนี้เช่นกัน โดยจะใช้ความรู้ในครั้งนี้เพื่อพัฒนาตนเอง เพื่อที่จะได้เป็นผู้นำที่ดีต่อไป และคิดว่าการอบรมแบบนี้น่าจะมีขึ้นในทุกๆองกรณ์ เพื่อเพิ่มศักยภาพให้คนพัฒนาในการก้าวเป็นผู้นำที่ดี ซึ่งจะเป็นผลดีต่อประเทศชาติที่จะมีคนดีๆ มานำพาประเทศไปสู่การพัฒนาด้วย

ขอบคุณความรู้ที่ได้รับจากท่านอาจารย์จีระ

ของแสดงความนับถือ

นางสาวอรรถพร เจริญผล

ไพบูลย์ เตชะกัมพลสารกิจ

ได้มีโอกาสเข้ามาอ่านดู รู้สึกชื่นชมกับแนวคิดของเพื่อนที่มองเห็นว่างานที่ตนรับผิดชอบนั้นเกี่ยวข้องและส่งผลกระทบต่อภาคการเกษตรและเกษตรกรอย่างไร การทำงานในแต่ละหน้าที่อาจดูเหมือนว่าเป็นส่วนเล็ก แต่เมื่อรวมงานของทุกคนเข้าด้วยกันแล้ว แล้วนำไปสู่ทิศทางเดียวกันได้ ผมว่าจะเกิดผลัพธ์ที่มีพลังมหาศาลเลยทีเดียว

จากเพื่อนฝ่ายแผนงาน

พงศ์พัฒน์ บูรณะนนท์

สวัสดีครับอาจารย์

ผมเป็นเพื่อนกับหทัยรัตน์ สกลวิทยานนท์

เขาได้แนะนำให้เข้ามาอ่านบล็อคของอาจารย์ ซึ่งผมเห็นว่ามี issue ต่างๆ มากมายที่ช่วย update ความรู้ผมมากขึ้น

แล้วผมจะติดตามข่าวสารในบล็อคต่อไปเรื่อยๆ นะครับ

สุดารัตน์ แซ่อุ้ย

เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

หลักสูตรนี้เหมือนได้ออกกำลังการสมองทุกวัน ทำให้รู้สึกง่วงเร็วกว่าปกติเพราะสมองทำงานทั้งวัน แต่เป็นการออกกำลังกายสมองที่ดีทางหนึ่งค่ะ

1. จากงานที่ทำอยู่ในกลุ่มแผนพัฒนาเขตเศรษฐกิจการเกษตร จึงเป็นงานวิจัยเพื่อเสนอแนะนโยบาย เพื่อให้เกษตรกรได้มีความกินดีอยู่ดีขึ้น และจากโจทย์ที่ท่านอาจาย์ได้ให้มาคิด ขอแสดงความคิดเห็นว่า ตัวชี้วัดควรจะเป็นการเป็นหนี้สิน เพราะ รายได้ > รายจ่าย = กำไร นำไปสู่เงินออม แต่หาก รายได้ < รายจ่าย = ขาดทุน นำไปสู่หนี้สิน และเมื่อพิจารณาด้านรายได้ซึ่งเกิดจาก P*Q การสร้างมูลค่าเพิ่มจึงน่าจะมาจากด้าน P โดยเป็นการเพิ่มในแง่ของราคาสินค้าเฉพาะกลุ่ม หรือเพิ่มมูลค่าด้วยรูปแบบ Packaging ที่สวยงามดึงดูดใจ หรือการขายแบบแบ่งเกรดสินค้า ส่วนด้านรายจ่าย ต้องให้เกษตรกรพึ่งพาปัจจัยการผลิตจากภายนอกน้อยที่สุด เช่น อาจจะผลิตปุ๋ยหมัก ปุ๋ยชีวภาพใช้เอง หรือใช้วิธีชีววิถี

2. มนุษย์ทุกคนเกิดมาย่อมมีทุกข้อในทุน 8K's และ 5K's แต่อาจจะมีในปริมาณที่น้อย แต่พร้อมที่จะเรียนรู้และเพิ่มเติมทุนในทุกข้อ ส่วนตัวแล้วต้องการจะปรับปรุงในด้านของ Knowledge Capital เพราะต้องมีการ update ข้อมูลตลอดเวลา เพราะความรู้เปรียบเสมือนอาวุธทางความคิด ดังนั้นต้องทันสมัย ถูกต้องอยู่เสมอจึงจะเป็นอาวุธที่มีอำนาจการทำลายล้างที่รุนแรง และขอปรับปรุง Talented Capital เพราะทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคตินั้นต้องสร้างและเสริม Skill ในทุกด้านเพื่อให้มีความรู้ที่ update มีการตกผลึกทางความคิด และมีทัศคติที่ดี

เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

1.ให้คิดอย่างรอบคอบ 360 องศา ว่างานที่ทำอยู่มีอะไรบ้างที่จะปรับปรุงให้ไปสู่การวัดผลที่ชัดเจนของการสร้างมูลค่าเพิ่มของเกษตรกร และอะไรคืออุปสรรค

ปัจจุบันงานที่ทำอยู่คือ การสร้างตาราง IO 2005 ซึ่งอยู่ในขั้นตอนการหาโครงสร้างปัจจัยการผลิต โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ผู้บริหารระดับสูงของ สศก.ได้ใช้เป็นข้อมูลในการวางแผน วางนโยบาย เพื่อช่วยเหลือ และแก้ไขปัญหาของเกษตรกร เพื่อให้เกษตรกรอยู่ได้ด้วยตัวเอง ไม่มีหนี้สิน โดยที่เกษตรกรไม่ต้องอยู่แบบพึ่งพารัฐบาล

2.แนวคิด 8 K's และ 5 K's ให้วิเคราะห์ว่า ส่วนไหนบ้างที่มีแล้ว และส่วนไหนบ้างที่ต้องปรับปรุง เพราะอะไร

- ทุนที่คิดว่าตนเองมี คือ ทุนมนุษย์ ทุนทางปัญญา ทุนทางจริยธรรม ทุนแห่งความสุข ทุนทางสังคม ทุนแห่งความยั่งยืน ทุนทาง IT ทุนทาง Knowledge (ในทฤษฎีทุน 8 ประการ) ทุนแห่งการสร้างสรรค์ ทุนทางความรู้ ทุนทางนวัตกรรม และ ทุนทางวัฒนธรรม (ในทฤษฎีทุนใหม่ 5 ประการ)

- ทุนที่ตนเองต้องปรับปรุง คือ

2.1 ทุนทาง knowledge เพราะโลกสมัยนี้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ถ้าเราไม่เพิ่มทุนทาง knowledge เราจะก้าวตามโลกยุคปัจจุบันไม่ทัน แล้วจะทำให้เราขาดทุนทางด้านอื่นๆ

2.2 ทุนทาง IT เพราะเทคโนโลยีสมัยนี้เปลี่ยนแปลงเร็วมากแล้วถ้าเรามีทุนทางIT แล้วไม่มีการพัฒนาทุนทาง IT จะทำให้มีอุปสรรคในการทำงานเกิดความล่าช้า

2.3 ทุนทางสังคม ณ ปัจจุบันเรามีทุนทางสังคมที่เป็นสังคมของศูนย์สารสนเทศการเกษตรหรือสังคมของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร แต่เรายังไม่มีทุนทางสังคมกับบริษัทเอกชน ธนาคารหรือแม้กระทั้งกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เราจึ่งควรเพิ่มทุนทางสังคมเพื่อการแลกเปลี่ยนความรู้ ข้อมูล ข่าวสารระหว่างองค์กร ในงานที่เรารับผิดชอบ

2.4 ทุนทางนวัตกรรม ฝึกให้เรากล้าที่จะคิดนอกกรอบมากขึ้น มีการทำงานในเชิงรุกมากขึ้น

2.5 ทุนแห่งการสร้างสรรค์ เพราะความคิดสร้างสรรค์เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรมากเพราะการทำงานปัจจุบันส่วนมากจะเป็นงาน routine เคยทำอย่างไรก็ทำแบบเดิม จึ่งควรมีแนวคิดใหม่ๆ และมีวิธีการที่จะทำให้องค์กรโดดเด่นและนำความเจริญไปสู่เกษตรกรได้

สุดารัตน์ แซ่อุ้ย

เรียน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

   หลักสูตรนี้เหมือนได้ออกกำลังการสมองทุกวัน ทำให้รู้สึกง่วงเร็วกว่าปกติเพราะสมองทำงานทั้งวัน แต่เป็นการออกกำลังกายสมองที่ดีทางหนึ่งค่ะ

1. จากงานที่ทำอยู่ในกลุ่มแผนพัฒนาเขตเศรษฐกิจการเกษตร จึงเป็นงานวิจัยเพื่อเสนอแนะนโยบาย เพื่อให้เกษตรกรได้มีความกินดีอยู่ดีขึ้น และจากโจทย์ที่ท่านอาจาย์ได้ให้มาคิด ขอแสดงความคิดเห็นว่า ตัวชี้วัดควรจะเป็นการเป็นหนี้สิน เพราะ รายได้ > รายจ่าย = กำไร นำไปสู่เงินออม แต่หาก รายได้ < รายจ่าย = ขาดทุน นำไปสู่หนี้สิน และเมื่อพิจารณาด้านรายได้ซึ่งเกิดจาก P*Q การสร้างมูลค่าเพิ่มจึงน่าจะมาจากด้าน P โดยเป็นการเพิ่มในแง่ของราคาสินค้าเฉพาะกลุ่ม หรือเพิ่มมูลค่าด้วยรูปแบบ Packaging ที่สวยงามดึงดูดใจ หรือการขายแบบแบ่งเกรดสินค้า ส่วนด้านรายจ่าย ต้องให้เกษตรกรพึ่งพาปัจจัยการผลิตจากภายนอกน้อยที่สุด เช่น อาจจะผลิตปุ๋ยหมัก ปุ๋ยชีวภาพใช้เอง หรือใช้วิธีชีววิถี

 

2. มนุษย์ทุกคนเกิดมาย่อมมีทุกข้อในทุน 8K's และ 5K's แต่อาจจะมีในปริมาณที่น้อย แต่พร้อมที่จะเรียนรู้และเพิ่มเติมทุนในทุกข้อ ส่วนตัวแล้วต้องการจะปรับปรุงในด้านของ Knowledge Capital เพราะต้องมีการ update ข้อมูลตลอดเวลา เพราะความรู้เปรียบเสมือนอาวุธทางความคิด ดังนั้นต้องทันสมัย ถูกต้องอยู่เสมอจึงจะเป็นอาวุธที่มีอำนาจการทำลายล้างที่รุนแรง และขอปรับปรุง Talented Capital เพราะทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคตินั้นต้องสร้างและเสริม Skill ในทุกด้านเพื่อให้มีความรู้ที่ update มีการตกผลึกทางความคิด และมีทัศคติที่ดี

เรียน อาจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ขอส่งงานที่ได้รับมอบหมายในวันนี้ค่ะ

1. ขอให้แต่ละคนคิดอย่างรอบคอบ (360 องศา) ว่างานที่ทำอยู่มีอะไรบ้างที่จะปรับปรุงให้ไปสู่การวัดผลที่ชัดเจนของการสร้างมูลค่าเพิ่มของเกษตรกร และอะไรคืออุปสรรค

งานที่ทำอยู่ในปัจจุบันเป็นงานความร่วมมือระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน (กัมพูชา ลาว และพม่า)ภายใต้ชื่อโครงการความร่วมมือพัฒนาการเกษตรแบบมีสัญญา (AC-4)ภายใต้กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ACMECS โดยได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบในส่วนความร่วมมือระหว่างประเทศไทยกับประเทศกัมพูชา ซึ่งมีเป้าหมาย คือ การพัฒนาศักยภาพการทางการเกษตรที่มีประสิทธิภาพทั้งด้านการผลิต การตลาดของพืชเศรษฐกิจ และพืชพลังงานในประเทศกัมพูชา โดยเชื่อมโยงฐานการผลิตและการตลาดระหว่างประเทศร่วมกัน (Contract Farming) อันเป็นการนำไปสู่การเพิ่มมูลค่าการค้าระหว่างประเทศ การค้าชายแดน และผลดีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยและกัมพูชา

สำหรับสิ่งที่จะปรับปรุงให้ไปสู่การวัดผลที่ชัดเจนของการสร้างมูลค่าเพิ่มของเกษตรกร และอะไรคืออุปสรรค คือ จากการที่โครงการที่รับผิดชอบเป็นโครงการที่ดำเนินการร่วมกันระหว่างสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรและหน่วยงานอื่นๆ เช่น กรมส่งเสริมการเกษตร กรมวิชาการเกษตร และกรมพัฒนาที่ดิน แต่การดำเนินงานโครงการตั้งแต่เริ่มจนถึงปัจจุบัน พบว่า การทำงานของแต่ละหน่วยงานยังเป็นไปในลักษณะต่างคนต่างทำ ดังนั้น สิ่งที่ดิฉันต้องการจะปรับปรุงในขั้นแรก คือ ดำเนินการแสวงหาความร่วมมือ (Collaboration)เพื่อให้เกิดการทำงานเป็นทีมในลักษณะบูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ส่วนมูลค่าเพิ่มที่เกษตรกรจะได้รับจากการปรับปรุงการทำงานให้เป็น Teamwork ได้แก่ ข้อมูลที่ถูกต้องชัดเจนที่เกิดจากการวิเคราะห์ร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเป็นข้อมูลที่อยู่ภายใต้ฐานข้อมูลเดียวกัน เช่น การกำหนดชนิดพืชเศรษฐกิจที่จะส่งเสริมให้มีการปลูกในประเทศกัมพูชา ซึ่งถ้าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีการพิจารณาร่วมกันแล้วเห็นว่าควรส่งเสริมให้มีการปลูกพืชชนิดใดที่จะไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อเกษตรกรภายในประเทศไทย ก็จะสามารถลดความกังวลใจให้แก่เกษตรกรคนไทยได้ว่าผลผลิตที่เกิดภายในประเทศไทยจะมีผู้รับซื้อแน่นอน เป็นต้น

2. ในแนวคิด 8 K’s และ 5 K’s ซึ่งผมยังไม่ได้พูดถึงมากนัก แต่ขอให้ทุกคนอ่าน และถ้าไม่เข้าใจก็ขอให้ปรึกษาคุณวราพร ทีมงานของผม แล้ววิเคราะห์ว่า ทุน 8 K’s และ 5 K’s ส่วนไหนบ้างที่ท่านมีแล้ว และส่วนไหนบ้างที่ต้องปรับปรุง เป็นเพราะอะไร

สำหรับทฤษฎีทุน 8 K’s และ 5 K’s ที่ตัวดิฉันได้พิจารณาตามความเข้าใจแล้ว เห็นว่าทุนที่มีอยู่ในตัวบ้างแล้วได้แก่ ทุนมนุษย์ ทุนทางปัญญา ทุนทางจริยธรรม ทุนทางสังคม และทุนทาง IT แต่ทุนทั้งหมดที่มีอยู่จำเป็นต้องได้รับการพัฒนาและเติมเต็มอยู่ตลอดเวลา เนื่องจากทุนหลายทุนที่มีอยู่จะอยู่ในมิติเชิงลึกและแคบ ยกตัวอย่างเช่น ทุนทางสังคมของดิฉัน ก็จะเป็นสังคมแค่ที่ทำงานและญาติพี่น้อง โอกาสการเชื่อมโยงเครือข่ายทางสังคมในเชิงกว้างของดิฉันยังมีน้อยมาก ส่วนทุนที่ตัวดิฉันจำเป็นต้องปรับปรุง คือ ทุนแห่งความสุข ดิฉันขอเน้นคำนี้ เพราะความสุขในความหมายของดิฉันไม่ได้อยู่ที่เงินทองซึ่งน่าจะได้แต่ความสุขกาย แต่ความสุขในที่นี้ของดิฉันคือความสุขใจ ใจอิ่ม ใจยิ้มได้ ซึ่งดิฉันคิดว่าเมื่อใดที่ใจอิ่มใจยิ้มได้ ก็จะก่อให้เกิดพลัง (Energy) ในการขับเคลื่อนความคิดสร้างสรรค์หรือทุนแห่งการสร้างสรรค์และทุนทางอารมณ์ได้ ซึ่งดิฉันคิดว่าตัวเองยังโชคดีที่ยังพอมองเห็นแนวทางในการพัฒนาทุนแห่งความสุขได้ เนื่องจากในอดีตที่ผ่านมาดิฉันเคยมีโอกาสได้เข้าร่วมโครงการอาสาสมัครเป็นผู้ช่วยครูข้างถนน แม้เป็นการทำงานเพียงแค่ระยะสั้นๆ แต่ก็ทำให้ดิฉันได้รู้จักคำว่าอิ่มใจและคำว่าใจยิ้มได้ ซึ่งการทำรายงานในวันนี้ทำให้ดิฉันได้ค้นพบว่าตนเองจำเป็นต้องรีบพัฒนาทุนแห่งความสุข โดยเริ่มจากการดำเนินชีวิตอย่างมีสติ ลดละความเครียดที่เกิดจากการทำงาน หรือปัญหาจากการทำงานบางอย่างที่ตัวเองไม่สามารถแก้ไขได้ แล้วหาโอกาสทำกิจกรรมเพื่อสังคมเพื่อเติมใจให้อิ่มให้ยิ้มได้ พร้อมทั้งพยายามนำหลัก 7 อุปนิสัยมาประยุกต์ใช้กับตัวเอง เพื่อดิฉันเชื่อว่าเมื่อตัวเรามีความสุขแล้ว เราก็พร้อมที่จะโยงใยความสุขให้แก่คนรอบข้างและสร้างสรรค์สิ่งที่ดีๆ ให้แก่หน่วยงานต่อไป

1. การปรับปรุงงาน

1.1 งานวิจัย ที่จะนำไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มให้เกษตรกร

1) การจัดกลุ่มลูกค้า และศึกษา พฤติกรรมการบริโภคของผู้บริโภคแต่ละกลุ่มในประเภทสินค้าเกษตรต่างๆที่มีความสำคัญหรือมีศักยภาพ โดยค้นหาการวิเคราะห์ในรูปแบบใหม่ๆที่น่าสนใจและมีความน่าเชื่อถือเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ เช่น การใช้Cluster Analysis Factor Analysis ทั้งนี้หากสินค้าเกษตรสามารถขายได้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายที่มีความต้องการ จะมีส่วนทำให้สินค้าเกษตรที่ผลิตได้เกิดมูลค่าเพิ่มขึ้น นอกเหนือจากการขายในลักษณะคละเกรด หรือขายโดยไม่คำนึงถึงพฤติกรรมหรือรสนิยมผู้บริโภค

2) การจัดกลุ่มเกษตรกร และศึกษาพฤติกรรมการใช้ปัจจัยการผลิตต่างๆของเกษตรกรที่จะนำไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ปัจจัยการผลิตของเกษตรกร หรือการเพิ่มประสิทธิภาพ การใช้ปัจจัยการผลิตต่างๆของเกษตรกรในกลุ่มต่างๆที่ได้จัดกลุ่มไว้ ตัวอย่างเช่น

(1) ศึกษาพฤติกรรมการใช้เครื่องมือเครื่องจักรกลทางการเกษตร(ในสวน) แล้วประมาณการใช้นำมัน และศึกษาความเป็นไปได้ของการใช้ไบโอดีเซลคุณภาพต่ำ(การผลิตไบโอดีเซลระดับครัวเรือนหรือชุมชน) สำหรับเครื่องจักรกลการเกษตรเหล่านั้น ซีงหากวิเคราะห์ออกมาแล้วมีความเป็นไปได้จะช่วยให้เกิดการลดค่าใช้จ่ายค่าน้ำมันเชื้อเพลิง และสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่น้ำมันพืชใช้แล้วเป็นต้น

(2) การศึกษาแนวทางในการนำภูมิศาสตร์สารสนเทศ(GIS) มาประยุกต์ใช้ร่วมกับแนวคิด Data Mining เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่การใช้ที่ดินของเกษตรกร

(3) การร่วมทำงานวิจัยระหว่างหน่วยงานในพื้นที่ ดดยเฉพาะหน่วยงานที่มีโครงสร้างพื้นฐานและมีความรู้ความสามารถ ด้านเทคโนโลยีการผลิต เช่น ศูนย์วิจัยทางด้านการเกษตรในพื้นที่

1.2 งานประเมินผล การประเมินผลการรวมกลุ่มเกษตรกรในรูปแบบต่างๆ เช่น กลุ่มสหกรณ์ กลุ่มวิสาหกิจชุมชน เป็นต้น ซึ่งจะต้องเน้นการทำในลักษณะการสร้างตัวชี้วัดในดด้านต่างๆ เพื่อให้กลุ่มเกษตรกรได้ทราบปัญหาของตัวเอง และพัฒนาตัวเอง ซึ่งในที่สุดจะนำไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่กลุ่มของเกษตรกรเอง

แต่อย่างไรก็ตามในการดำเนินงานดังกล่าวข้างต้นอาจเลือกดำเนินการเป็นส่วนๆ และต้องมีการจัดลำดับควารมสำคัญของกลุ่มที่จะทำหรือสินค้าที่ต้องการจะศึกษาเพื่อให้เกิดเป็นผลได้อย่างเป็นรูปธรรม

โดยที่แนวทางในการปรับปรุงงานมีข้อสมมติฐานที่สำคัญคือผู้ปฏิบัติงานสามารถ up-date ความรู้ที่ทันสมัยได้ตลอดเวลา

ทั้งนี้การดำเนินงานเพื่อให้ประสบความสำเร็จนั้น ผู้ดำเนินงานจะต้องหาวิธีการโน้มน้าวให้ผู้มีบทบาทสำคัญในสำนักงานทราบถึงความสำคัญและให้ความเห็นชอบ ให้การสนับสนุนในการดำเนินงาน

2. การวิเคราะห์ตนเองผ่านทฤษฎีทุน 5 K’s

1. Creativity Capital ยังขาดเนื่องจากยังใช้สมองไม่สมดุลระหว่างสมองซีกซ้ายและซีกขวา

2. Knowledge Capital ยังมีไม่เพียงพอ

- ยังขาดการ up – date องค์ความรู้ใหม่ๆบางอย่างที่น่าสนใจในการทำวิจัยและติดตามประเมินผล เนื่องจากมีปัญหาในการเข้าถึงข้อมูล และมีความล่าช้า หรือเข้าถึงข้อมูลได้แต่ก็ไม่เต็มที่

- ยังขาดการ up – date ข่าวสารใหม่ๆ เนื่องจากยังบริหารจัดการเวลาไม่ดีพอ

3. Innovation Capital ยังขาดในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการคิดค้น และการปรับปรุงระบบงานใหม่ๆให้การทำงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นเนื่องจากยังบริหารจัดการเวลาไม่ดีพอ

4.Emotional Capital ยังมีไม่เพียงพอเนื่องจากยังไม่ได้นำหลักพรหมวิหาร4มาประยุกต์ใช้อย่างเต็มที่

5.Cultural Capital มีแต่ยังไม่ได้นำมาใช้เต็มที่ เช่นการทำงานเป็นทีม การทำให้เกิดบรรยากาศการเรียนรู้

ชุลีภรณ์ ฉิมเจริญ

ดิฉันเป็นเพื่อนทำงานฝายเดียวกับคุณเพ็ญระวี บุตรแก้วแตง ได้ยินคุณเพ็ญระวีมาพูดเรื่องสาระของการอบรมและสาระใน blog ของอาจารย์ น่าสนใจมาก พอเข้ามาดูแล้วก็ประทับใจจริงๆ ค่ะ ที่ให้สาระที่มีประโยชน์และสำคัญสามารถนำไปใช้ในการทำงานได้เลยค่ะ ขอบคุณอาจารย์จีระมากเลยค่ะที่สร้าง blog ดีๆและมีประโยชน์อย่างนี้ และจะติดตามเป็นแฟนคลับใน blog นี้ต่อไป

ผมเป็นพี่ร่วมงานฝ่ายเดียวกันกับ น.ส.กาญจนา มาลัยกฤษณะชลี ซึ่งได้เห็นน้องเข้าร่วมอบรมด้วยความตั้งใจ และได้พูดถึงเนื้อหาของการอบรม ซึ่งทำให้ผมสนใจตามไปด้วย จึงได้สอบถามถึงวิธีการใช้ blog ของอาจารย์ จึงได้เข้ามาสังเกตุการณ์ดู พบว่ามีประโยชน์มาก และถ้ามีโอกาสจะเข้ามาเยี่ยมชมต่อไปเรื่อยๆ

ผมเข้ามาติดตามเนื้อหาสาระของการอบรมในครั้งนี้ เนื่องจากน้องผู้ร่วมงาน คือ น.ส.ฐิติพร อนุชาตานนท์ ได้แนะนำให้เข้ามาติดตามการอบรม พร้อมทั้งได้แนะนำว่า blog ของอาจารย์มีเนื้อหาสาระที่น่าสนใจหลายเรื่อง ซึ่งเมื่อผมได้เข้ามาอ่านแล้วพบว่ามีประเด็นที่น่าสนใจ และคิดว่าน่าจะมีประโยชน์สำหรับคนรุ่นใหม่หลายอย่าง

สวัสดีค่ะ อาจารย์จีระ

ดิฉันเป็นเพื่อนของคุณวราภรณ์ แซลี้ ซึ่งเป็นคนหนึ่งที่ได้เข้าร่วมการอบรมที่มีคุณค่านี้กับอาจารย์ คุณวราภรณ์เล่าเนื้อหาบางส่วนของการอบรมให้ฟัง ซึ่งดิฉันเองก็มีความสนใจในเรื่องนี้อยู่พอสมควร เพราะต้องทำงานและเป็นผู้นำให้กับทีมงานด้วยเช่นกัน

การพัฒนาตัวเองเป็นเรื่องสำคัญเป็นอย่างมากสำหรับคนที่จะก้าวขึ้นเป็นผู้นำขององค์กรในอนาคต คงต้องขอขอบคุณสำหรับความรู้ของอาจารย์ที่มอบให้กับเพื่อนของดิฉัน และตัวดิฉันเอง ถ้ามีโอกาสจะลองนำเสนอกับทางองค์กรของตัวเองดูค่ะ เพราะอยากพัฒนาความรู้ความสามารถของตัวเองให้มากๆเช่นกัน

ขอบคุณค่ะ

ด้วยความนับถือ

ศิวาลัย ลอยแก้ว

บริษัท อาร์ทีบี เทคโนโลยี จำกัด

เรียน อาจารย์ ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์

1. ขอให้แต่ละคนคิดอย่างรอบคอบ (360 องศา) ว่างานที่ทำอยู่มีอะไรบ้างที่จะปรับปรุงให้ไปสู่การวัดผลที่ชัดเจนของการสร้างมูลค่าเพิ่มของเกษตรกร และอะไรคืออุปสรรค

- ปัจจุบันทำงานในด้านแผนงาน โครงการ และนโยบาย ปัญหาที่สำคัญของตัวเอง คือ ขาดประสบการณ์ในการทำงาน และมีความรู้ในเนื้องานที่แท้จริง เมื่อได้รับมอบหมายให้ทำงาน ก็ทำให้ขาดความมั่นใจ หากได้รับโอกาสในการทำงานหรืออบรมเพิ่มเติม จะเป็นประโยชน์อย่างมาก และสร้างความมั่นใจยิ่งขึ้น

2. ในแนวคิด 8 K’s และ 5K’s ส่วนไหนบ้างที่ท่านมีแล้ว และส่วนไหนบ้างที่ต้องปรับปรุง เป็นเพราะอะไร

- ทุน ทั้ง 2 ประเภท ทุกคนมีอยู่แล้ว แต่ละคนมีความแตกต่างกัน และทุนในแต่ละด้านก็เป็นประโยชน์กับทุกคน แต่ที่สำคัญใครจะนำทุนเหล่านั้นมาใช้ประโยชน์จะในด้านไหนเท่านั้นเอง ซึ่งเป็นหัวใจหลักและสำคัญอย่างมาก และควรจะเป็นประโยชน์กับตัวเราและสังคม

1.ขอให้แต่ละคนคิดอย่างรอบคอบ (360 องศา) ว่างานที่ทำอยู่มีอะไรบ้างที่จะปรับปรุงให้ไปสู่การวัดผลที่ชัดเจนของการสร้างมูลค่าเพิ่มของเกษตรกร และอะไรคืออุปสรรค

* งานที่ทำอยู่เกี่ยวข้องกับงานในระดับพื้นที่ ซึ่งถ้ามีการบูรณาการในการทำงาน โดยให้เห็นภาพและมีแนวคิดร่วมกันในการวิเคราะห์และการจัดทำแผนงาน/โครงการที่จะช่วยเหลือเกษตรกรได้ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำก็จะทำให้ครอบคลุมและเกิดการทำงานร่วมกันเป็นทีม ก็จะทำให้เกษตรกรได้รับประโยชน์ได้มากขึ้น

2. ในแนวคิด 8 K’s และ 5K’s ส่วนไหนบ้างที่ท่านมีแล้ว และส่วนไหนบ้างที่ต้องปรับปรุง เป็นเพราะอะไร

* แนวคิด 8K's คือ ทุนมนุษย์ และ ทุนทางจริยธรรม มีแล้ว , ทุนทางความสุข และ ทุนทางความยั่งยืน มีบ้างถ้าทำแล้วเป็นอย่างที่ได้วางแผนไว้และเป็นไปตามที่เราต้องการ ส่วนทุนทางปัญญา , ทุนทางไอที และ ทุนทางความรู้ มีแล้ว แต่ยังต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และส่วนทุนทางสังคม มีบ้างแต่ยังไม่กว้างพอ

* แนวคิด 5K’s คือ ทุนแห่งความคิดสร้างสรรค์ มีแต่ยังคิดได้ไม่รวดเร็ว , ทุนทางความรู้ ยังต้องพัฒนาให้มากขึ้น , ทุนทางอารมณ์ บางสถานการณ์ยังควบคุมได้ไม่ดีพอ ส่วนทุนทางวัฒนธรรม มีแล้วและคิดว่าเป็นสิ่งถูกต้องและดี

นิรันดร์ พัฒนศิริมากร

สวัสดี อาจารย์ จีระ ครับ

ผมเป็นเพื่อนของ คุณสุมาลยา งานดี หนึ่งในผู้เข้าร่วมอบรมหลักสูตรนี้ครับ ได้เข้ามาอ่าน blog ของอาจารย์แล้วรู้สึกประทับใจมากครับ ได้ความรู้และเนื้อหาสาระครบครันเลยทีเดียว ผมคิดว่าจะนำไปเผยแพร่ต่อไปครับเพราะเป็นสิ่งที่มีประโยชน์มากครับ

ขอบคุณครับ

เรียน ท่านอาจารย์ ดร.จีระ

1.ให้แต่ละคนแสดงความเห็นที่มีต่อ Nelson Mandela

จากที่ได้อ่านบทเรียนผู้นำของ Mandela ซึ่งเป็นบุคคลที่มีชีวประวัติน่าศึกษาและน่าค้นหาเป็นอย่างมาก เพราะการที่คนๆหนึ่งต้องติดคุก 27 ปี แล้วสามารถกลับมาเป็นผู้นำที่ได้รับการยอมรับและสร้างคุณประโยชน์ให้กับสังคม จนเป็นที่เลื่องลือของคนทั้งโลก ไม่ใช่เรื่องง่าย เมื่อดิฉันได้อ่านบทความแล้วนาทีแรกรู้สึกทึ่งในความคิดของ Mandela อยากให้นักบริหาร/นักการเมืองไทยได้มาอ่าน แล้วนำมาใช้ให้มาก ซึ่งการเป็นผู้นำที่ดีนั้นนอกจากเราจะพัฒนาตัวเราให้ดีแล้วยังต้องพัฒนาลูกน้องโดยการจุดประกายให้เค้าสามารถไปสู่ความเป็นเลิศ อย่าให้เกิดจุดบกพร่อง กำจัดความอ่อนแอ และต้องยกย่องให้เค้ารู้สึกว่าเค้าได้เป็นผู้นำอย่างน่าภูมิใจ โดยไม่กลัวว่าคนนั้นจะมาแทนที่ตำแหน่งตน นอกจากนี้เรายังต้องศึกษาคู่แข่งให้ดี และพยายามสร้างเครือข่ายความร่วมมือให้มาก ลดการสร้างความขัดแย้ง และไม่เอาเปรียบกันโดยการทำการตกลงเพื่อให้ได้แบบ win-win ต่างฝ่ายต่างได้ประโยชน์

2.บทเรียนจากกีฬา

(1)ในการทำงานเราต้องมีความมุ่งมั่น พร้อมที่จะแก้ปัญหาที่จะเกิดขึ้น ต้องควบคุมวินัยของตัวเองอยู่ตลอดเวลา และต้องใช้ชีวิตให้สมดุลคือทำงานเก่งและมีความสุขกับการทำงาน นอกเวลางาน เราต้องเข้าสังคม มีเพื่อน และมีครอบครัวที่อบอุ่น รู้จักแบ่งเวลาให้ได้ ไม่เอนเอียงไปทางใดทางหนึ่งจนเกินไป ก็จะทำให้เราเป็นคนที่ทำงานเป็น มีความสุขและสนุกกับการทำงาน

(2)ในการใช้ชีวิตประจำวัน เราต้องจัดให้มีความสมดุล ต้องมีจิตใจและจิตวิญญาณที่พอดีและสมดุล ไม่กลัวการแข่งขันกับภายนอก และต้องรู้จักการควบคุมอารมณ์ สำหรับแนวทางในการจัดการชีวิตให้มีความสมดุล คือ การใช้สติปัญญาในการแก้วิกฤติ หลีกเลี่ยงการตัดสินปัญหาด้วยอารมณ์ ต้องมีจิตใจนิ่งและสงบ มีความอดทนอดกลั้น และต้องมีความมุ่งมั่นที่จะให้งานหรือสิ่งที่เรามุ่งหวังประสบความสำเร็จให้ได้

กุลธิดา ศรีวิพัฒน์

เรียน อ.จีระ ที่เคารพ

วันนี้ขออนุญาติตอบการบ้านแบบสั้นๆ ดังนี้นะคะ

1. สำหรับบทความในเรื่อง “8 บทเรียนผู้นำของMandela” เมื่ออ่านแล้วทำให้รู้สึกว่าน่าจะนำแนวคิดในเรื่องที่ว่า “ผู้นำต้องมีภาพลักษณ์ที่ดี” มาปรับใช้กับการทำงาน ซึ่งหมายความว่าการเป็นผู้นำที่ดีนั้นผู้นำจะต้องมีภาพลักษณ์ มีเกียรติ มีความสง่างามและมีความสามารถ พร้อมที่จะนำพาองค์กรของตัวเองออกไปสู่สายตาประชาชนได้อย่างภาคภูมิใจ ทั้งตนเองและลูกน้องในหน่วยงาน เพราะการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีและน่าเชื่อถือของผู้นำจะเป็นการให้เครดิตอย่างดีแก่องค์กร อีกทั้งยังเป็นตัวอย่างที่ดีแก่ลูกน้อง ซึ่งนับได้ว่าเป็นการสร้าง Value ให้เกิดขึ้นอย่างมหาศาลแก่องค์กรและตัวผู้นำเอง

2. ส่วนในเรื่องของ “บทเรียนจากกีฬา” ที่ต้องนำมาปรับใช้กับพฤติกรรมของตนเอง โดยส่วนตัวแล้วคิดว่าตัวเองมี Balance Life อยู่ในตัวเองอย่างมาก คือเป็นคนที่ชอบทำอะไรแบบสายกลาง สบายๆ ใช้ชีวิตอย่างพอเพียง มีชีวิตและการทำงานที่พอดีและมีความสุข ซึ่งคิดเอาเองว่านี้แหละคือสิ่งที่เป็นตัวตนของตัวเองชีวิตมีความสมดุลดีแล้ว จนกระทั้งได้ถามตัวเองว่าทำไมบางอย่างที่เราอยากจะได้หรือตั้งใจจะทำมันไม่ประสบความสำเร็จ และเมื่อได้อ่านเรื่อง“บทเรียนจากกีฬา” ทำให้รู้ว่าเพราะเรายังขาดความมีวินัยในตัวเอง และประมาทเกินไป ซึ่งอาจจะเป็นเพราะว่าเราใช้ชีวิตแบบสบายๆ นานเกินไป(ไม่ได้หมายความว่าอยู่แบบไปวันวัน) และพอใจกับสิ่งที่เรามีอยู่ ทำให้บางครั้งความสบายกลายเป็นความเคยชิน ทำก็ได้ ไม่ทำก็ได้ ชีวิต OK อยู่แล้ว จนทำให้ความเป็นระเบียบวินัยของตนเองที่เคยมีเกือบจะหายไปด้วยความประมาทของตัวเอง.

Dear Ajarn Chira,

My name is Nonthawan Songserm, a lecturer of the Hospitality Management program at Ubon Rajathanee University. I have just talked to my friend, Khun Piyamaporn Srisuk, who is attending this program. As I am a big fan of gotoknow's blog, I was familiar to your name when my friend mentioned it to me.

Khun Piyamaporn has shared me the knowledges which she has received from your class. It was really interesting to learn how to develop ourself in an organization.

I have some inquiries and would like your kind recommendation.

  • As I always believe that a successful employee starts with a good attitude, how can I teach my new staff to create and keep a good attitude towards his/ her job then?
  • Do you usually provide any evaluation method for measuring attendees after finishing your programs? What?

Best regards,

NS

เรียน อาจารย์ ดร.จีระ

1.ความเห็นที่มีต่อบทเรียนผู้นำของ Nelson Mandela

จากที่ได้อ่านบทความเกี่ยวกับ Mandela คงต้องบอกว่าทึ่งมากๆ อย่างแรกที่เห็นชัดเลยก็คือความอดทน ไม่ย้อท้อ ไม่เปลี่ยนแปลงเป้าหมายในชีวิตที่ตั้งไว้จนได้รับความสำเร็จกลับ และอีกประเด็นที่น่าสนใจคือการที่เขาไม่หยุดที่จะไฝ่รู้ และแสวงหาปัญญา แม้สภาพแวดล้อมไม่เอื้ออำนวยก็ตาม ถ้าเป็นคนทั่วไปคงเลิกล้ม หรืออยู่เฉยๆ ตั้งแต่ถูกตัดสินให้ติดคุกแล้ว และในสถานการณ์บ้านเมืองเราที่เป็นอยู่นี้ น่าจะนำมาใช้ในประเทศเราได้ดี ในด้านของผู้นำเองก็ต้องมีภาพลักษณ์ที่ดี ปรากฎตัวที่ไหนต้องสง่างาม ไม่ใช่ขึ้นต้นก็ด่าใครเขาไปทั่วแล้ว และแต่ละกลุ่มแต่ละฝ่าย ควรเน้นเป้าหมายของประเทศ ทำยังไงประเทศถึงจะพัฒนาก้าวหน้า ประชาชนไม่เดือดร้อน เพราะไม่มีอะไรเป็นสีดำหรือขาว ถูกหรือผิด 100% ต้องรู้จักประนีประนอมกันบ้าง รู้จักพอ รู้จักถอยกันบ้าง ไม่งั้นประเทศคงมีแต่แย่ลงไปทุกวัน

2.บทเรียนจากกีฬา ที่สามารถปรับใช้ได้

(1)สร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงาน ไม่ใช่สร้างเพื่อแข่งขัน แต่สร้างให้ผู้ร่วมงานมีความสุข มีส่วนร่วมในการทำงาน ให้เขาเห็นว่าเขาเป็นคนสำคัญคนหนึ่งในการทำงาน และพร้อมที่เผชิญปัญหาและแก้มันไปด้วยกัน

(2)สร้างความสมดุลระหว่างชีวิตกับงาน ไม่บ้างานจนลืมครอบครัว เพื่อนฝูง หรือทำแบบเช้าชามเย็นชามก็ไม่ดี ในการทำงานเราควรมีวินัยและความรับผิดชอบในบทบาทและหน้าที่ ทำงานให้เต็มที่เต็มความสามารถ ขณะเดียวกันก็หาเวลาพักตามสมควร

เรียน อาจารย์ ดร.จีระ

ดิฉันเป็นblog buddyของคุณบุษฎรรมณ์ ลมูลศิลป์ ผู้เข้าอบรมหลักสูตรนี้ เธอได้แนะนำให้เข้ามาหาความรู้เรื่องการบริหารงานทรัพยากรมนษย์ เนื่องจากเห็นว่าดิฉันเป็นเจ้าของธุรกิจ จะได้นำความรู้ที่ได้อ่านไปใช้ในการบริหารงานที่เป็นอยู่

เรื่องที่ดิฉันมีความสนใจเป็นพิเศษคือ การบริหารความเปลี่ยนแปลงในงานทรัพยากรมนุษย์ อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงทั้งองค์รวมที่เกิดจากโลกาภิวัฒน์ จึงคิดว่าจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องรู้เท่าทัน

การสร้างผู้นำใน สศก.มีความสำคัญยิ่ง เพราะบุคคลากรเหล่านี้จักเป็นผู้เชื่อมโยงความสำเร็จระหว่างประเทศและเกษตรกร เกษตรกรจะมุ่งสู่อาชีพของตัวเองอย่างมีเป้าหมาย และเต็มไปด้วยความหวัง ดิฉันดีใจมากเพราะดิฉันเห็นว่าเกษตรกรเป็นบุคคลากรที่มีคุณค่าต่อประเทศ

ขอบคุณอาจารย์ ดร.จีระ ที่มีแหล่งความรู้ให้ได้เข้ามาหาความรู้ค่ะ

นภาพร บุญยอด

หทัยรัตน์ สกลวิทยานนท์

เรียน อาจารย์ ดร.จีระ

1. บทความในเรื่อง "8 บทเรียนผู้นำของ Mandela"

 สิ่งที่ได้จากการอ่านบทความนี้ เริ่มจากอ่านประสบการณ์ 3 เรื่องของ Mandela ก่อนก็รู้สึกว่า เริ่มแรก Mandela ก็เหมือนคนหัวใหม่ไฟแรงทั่วๆไป ที่ต้องการเรียกร้องความเป็นธรรมให้คนผิวสี ทำให้เห็นว่าเป็นคนไฟแรง มุ่งมั่นมีอุดมการณ์ มีเป้าหมาย แต่ว่าความสุขุมยังไม่มากพอ อาจเป็นการเรียกร้องที่เกิดจากมุมมองเพียงด้านเดียว จึงเป็นการเรียกร้องความเป็นธรรมที่รุนแรงจนกระทั่งต้องเข้าคุกถึง 27 ปี แต่เมื่ออยู่ในคุกเขาก็ไม่ได้ท้อถอย กลับเป็นช่วงเวลาที่ทำให้เขาได้หยุดคิดทบทวนอุดมการณ์และวิธีการไปสู่เป้าหมายที่ผ่านมา  และคิดว่าน่าจะเป็นช่วงที่เขาปลดปล่อยมุมมองของตนเพียงฝ่ายเดียว  และมองรอบตัวอย่างถี่ถ้วนมากขึ้น  และเปลี่ยนเป็นพลังความคิดที่มุ่งสู่เป้าหมายเดิมด้วยวิธีการที่ละมุนละม่อมมากขึ้น จึงนำไปสู่ชัยชนะที่ไม่มีผู้สูญเสีย จาก 8 ประเด็นของความเป็นผู้นำของ Mandela ซึ่งเป็นข้อที่สอดคล้องรองรับกันแต่ละข้อ ประทับใจตั้งแต่ข้อ 1 จนถึงข้อสุดท้าย แต่ที่ประทับใจหลักๆ คือ การที่ Mandela เป็นแม่แบบในความกล้าเผชิญหน้าต่อสิ่งที่รู้ว่ายิ่งใหญ่เกินกว่าคนเล็กๆ คนหนึ่งจะกล้าเรียกร้อง แต่เขาก็มุ่งมั่นจนสำเร็จ แต่การจะได้มาด้วยความสำเร็จเขาก็ต้องเรียนรู้ตัวเอง และเรียนรู้ศัตรูหรือคู่แข่ง ไม่ใช่เพื่อก้าวข้ามหัว ไม่ใช่เพื่อล้างแค้น แต่เพื่อบรรเทาความบาดหมาง และการอยู่ร่วมกันโดยสันติวิธี รู้จักที่จะพอหรือถอยในการดำเนินการ ทำให้เกิด win-win ทั้งสองฝ่าย และเกิดสันติภาพในแอฟริกาใต้  (น่าเสียดายที่ยังไม่ได้อ่านเรื่องเต็ม ไม่งั้นคงมองออกว่า 8 ประเด็นผู้นำที่อาจารย์สรุปมานั้น Mandela มีวิธีการดำเนินการอย่างไร)

ผู้นำภายในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หากนำ 8 ประเด็นผู้นำของ Mandela ไปปฏิบัติได้ ก็จะกลายเป็น Role Model ให้กับข้าราชการทุกคน ไม่ว่าจะเป็นยืนหยัดข้างความถูกต้อง หรือการกล้าเผชิญหน้ากับปัญหาและยอมรับความจริง  ใช้ความเป็น Role Model จุดประกายความสร้างสรรค์ของข้าราชการ สร้างความสามัคคีร่วมกันมองรอบตัว หาจุดอ่อนและปรับเป็นจุดแข็ง จุดอ่อนก็เสมือนศัตรูที่กร่อนความแข็งแรง  เราต้องเผชิญหน้า ยอมรับ และเรียนรู้ที่จะรับมือและปรับปรุง โดยใช้วิธีการที่ทำให้เกิด win-win ให้ได้

 2. บทเรียนจากกีฬา ที่เรานำมาประยุกต์ใช้ได้

วางแผนและมีเป้าหมายหรือแรงบันดาลใจ จะทำให้เรารู้สึกสนุกที่จะทำงาน แต่ต้องสร้างวินัยในการทำงานให้ อย่าทำสะเปะสะปะเพื่อนำไปสู่เป้าหมาย และต้องจัดสรรเวลาทำงานและส่วนตัวที่ไม่ทำร้ายตัวเองและครอบครัวจนหมดความอยากทำงาน ฝึกควบคุมอารมณ์เพื่อรองรับปัญหาต่างๆ ที่เข้ามาในชีวิต เพื่อให้มีสติไตร่ตรองอย่างรอบคอบ ทั้งนี้ เป็นหลักการที่ทุกคนควรมีและควรทำอยู่แล้ว ไม่ว่าจะอยู่ในสายอาชีพใด แต่ต้องถามตัวเองว่าสามารถทำได้หรือไม่ โดยหลักการอ่านแล้วเหมือนไม่ยาก แต่จริงๆ แล้วทำยาก เพราะคนเรารักสบายมากกว่าที่จะมาฝืนใจทำโน่นทำนี่  แต่คิดว่าหากมีความตั้งใจ กัดฟันฝึกฝนสักระยะเวลาหนึ่ง เรื่องต่างๆ ที่กล่าวมาจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตโดยปริยาย (คงเหมือนนักกีฬาที่ต้องฝึกซ้อมเสมอๆ ช่วงแรกๆ คงขี้เกียจบ้าง แต่เมื่อซ้อมไปสักระยะ อาจกลายเป็นความเคยชิน และรู้สึกเหมือนขาดอะไรไปสักอย่างถ้าขาดซ้อม)

เรียน อาจารย์ ดร.จีระ

จากบทความที่อาจารย์เขียน "บทเรียนจากกีฬา" ทำให้ได้รู้ว่าการที่เราจะประสบความสำเร็จ ไปสู่เป้าหมายตามที่ต้องการ เราต้องมีองค์ประกอบเพื่อจะบรรลุตรงนั้นได้ ซึ่งประโยคของอาจารย์ที่ให้ข้อคิดมี 3 ประเด็นหลักคือ

1.Focus คือ การทำอะไรที่มุ่งมั่นไปสู่เป้าหมาย ต้องมีวินัย ไม่ประมาท ต้องมีความพร้อมตลอดเวลา พร้อมที่จะเผชิญปัญหา พร้อมที่จะทำสิ่งใหม่ๆ

2.ความสมดุลระหว่าง work/ Playของชีวิต คือ ไม่ใช่ให้ความสำคัญกับสิ่งนั้นอย่างเดียว จนลืมสิ่งอื่นๆ รอบข้าง เช่น มุ่งมั่นทำแต่งาน ไม่สนใจเพื่อนฝูง ไม่สนใจสิ่งรอบข้าง ไม่หาโอกาสเติมเต็มความสุขให้ชีวิต ถ้าถึงจุดสูงสุดที่เราต้องการ ณ วันนั้นอาจไม่มีคนให้เราแสดงความยินดีกับความสำเร็จนั้นก็ได้ เพราะคุณไม่เคยถามพวกเค้าว่า ส่งที่คุณกำลังทำอยู่ คนที่อยู่ข้างๆ คน เค้าต้องการสิ่งที่คุณกำลังทำหรือไม่

3.การมีชีวิตที่สมดุล คืออย่าทำอะไรที่มากเกินไป หรือน้อยเกินพอดี มีเวลามองสิ่งสวยงามของชีวิต ผ่อนคลาย เติมเต็มความสุขให้ชีวิต

ขอบคุณอาจารย์ สำหรับข้อคิดดีๆ ที่อาจารย์ได้มอบให้ศิษย์

เพ็ญระวี บุตรแก้วแตง

เรียน อาจารย์ ดร.จีระ

1.บทเรียนผู้นำของ Nelson Mandela

จากการที่ได้อ่านบทความเรื่องภาวะผู้นำของ Nelson Mandela แนวคิดที่ได้รับก็คือ ผู้นำที่ดีต้องรู้จักวิเคราะห์สภาพแวดล้อมที่อยู่รอบตัว ต้องรู้จักประเมินสถานการณ์ต้องรู้จักตนองและรู้จักผู้อื่นด้วยทั้งเพื่อนร่วมงาน ลูกน้อง รวมทั้งคู่แข่งขัน เพื่อที่การเตรียมพร้อมกับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา และที่ชอบอีกเรื่องคือ ผู้นำที่ดีต้องไม่บอกว่าถูกหรือ ผิด ซึ่งตรงนี้ผู้นำที่ดีควรมีทักษะในเรื่องของการบริหารความแตกต่าง เนื่องจาก ในองค์กรนึงมักจะมีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน ซึ่งผู้นำต้องบริหารความคิดที่แตกต่างกัน ให้มีความเหมาะสมและหาแนวทางที่ดีร่วมกัน

2.บทเรียนจากกีฬา ที่นำปรับใช้กับพฤติกรรมตนเอง

(1)การที่จะพัฒนาตนเองให้มีความกระตือรือร้นในการทำงาน ประสบความสำเร็จตามที่มุ่งหวัด เราควรหาโอกาสพาตนเองให้เข้าไปอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่มีการแข่งขันบ้าง เพื่อเป็นแรงกระตุ้นผลักดันให้ประสบความสำเร็จ และที่ควรตั้งเป้าหมายในการทำงานทุกครั้งด้วย

(2)ในแต่ละวัน ควรที่จะมีการจัดแบ่งเวลาให้เหมาะสม เช่นเวลาไหนควรทำงาน มุ่งมั่นทำในสิ่งที่ตั้งใจให้สำเร็จ และหลังจากที่ทำงานมา ก็ควรแบ่งเวลาให้กับการพักผ่อน ให้กับครอบครัว เพื่อน เพื่อให้ชีวิตมีความสมดุล สามารถสร้างความสุขให้กับตนเองคะ

อาจารย์ จิระ

ขอส่งการบ้านที่สั่งให้ทำ

1. บทความในเรื่อง "8 บทเรียนผู้นำของ Mandela"

จากการที่ได้อ่านบทความ 8 บทเรียนผู้นำของ Mandela พบว่า ในแต่ละข้อเป็นข้อที่ท้าทายความสามารถในการปฏิบัติเป็นอย่างมาก ซึ่งหากคนเราสามารถทำในแต่ละข้อได้อย่างดีอย่างนี้ ก็ไม่แปลกใจถ้ามีคนจะมายอมรับเรา และนับถือให้เราเป็นผู้นำของเขา เรียกได้ว่าเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพเลยทีเดียว ทั้ง 8 ข้อ ของ Mandela เป็นสิ่งที่อ่านดูแล้วเหมือนจะทำได้ง่าย แต่ ถือว่าปฏิบัติอยากเลยทีเดียว โดยเฉพาะในข้อ สี่ ที่ว่ารู้เขารู้เรา การรู้จักศัตรู ซึ่งคิดว่าหากเราจะมีข้อนี้ เราก้อต้องรู้จักศัตรู รู้จักจุดอ่อน หรือช่องทางที่จะรู้หรือประมาณการศัตรูได้ว่าเขาคิดอะไร อย่างไหน หรือวิธีไหนที่จะ สามารถเข้าถึงใจเขาได้ เพราะการที่เราเป็นผู้นำ คนที่เป้นมิตรกับเราก็จะยอมทำตามอยู่แล้วไม่ว่าเราจะสั่งหรือให้ทำงานอะไรก็ตาม แต่คนที่เป็นศัตรู คนที่แอนตี้เรา เขาย่อมไม่ทำตาม และไม่ช่วยเหลือ แต่หากเราเข้าถูกจุด รู้จักวิธีที่จะให้เขาช่วยหรือทำงานให้เราอย่างฉลาด โดยที่เขาไม่รู้สึกว่าเขากำลังเป็นเบี้ยล่างหรือลูกน้องเรา เรียกง่ายๆว่าไม่ใช้พระเดชอย่างเดียว คือเอาพระคุณเข้าหาด้วย ย่อมจะทำให้งานเราประสบผลสำเร็จได้มากขึ้น นอกจากนี้บางทีการเข้าถึงเขาได้บ่อยๆ ก้ออาจเป็นผลดีทำให้เขาเปลี่ยนแปลงทัศนคติที่มีกับเราได้ เป็นต้น 8 ข้อนี้ ถือว่าเป็นสิ่งที่ตัวเองคิดว่าต้องทำให้ได้ และต้องฟัง และตื่นตัวอยู่เสมอ

2. ในเรื่องของ “บทเรียนจากกีฬา” ที่ต้องมาปรับใช้กับตนเอง

คือ การทำงานใดๆ ก็แล้วแต่ ต้องมีการวางแผนและมีสติอย่างรอบคอบ ตั้งใจทำอย่างจริงจัง และมีเป้าหมายว่าสิ่งที่เราต้องการคืออะไร มีทิศทาง ในขณะเดียวกันในการวางแผนก็ต้องคำนึงถึงความสามารถของตนเองว่าจะทำงานที่เราได้วางแผนแบบนี้สำเร็จหรือไม่ หรือหากเป็นงานที่เราไม่รู้และไม่เคยทำมาก่อน เราจะลองพยายามได้หรือไม่ เพราะไม่มีสิ่งใดที่เกินความสามารถ หากเราไม่พยายาม เพราะทุกคนย่อมมีครั้งแรกเสมอ ทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิตที่เข้ามา ก็จะเป็นครั้งแรกที่เราได้เจอ ได้แก้ปัญหา ได้ทดลองทำ เมื่อเราผ่านจุดนั้นไปได้ เราจะมั่นใจขึ้นและพร้อมที่จะเผชิญปัญหาใหญ่ๆ ต่อไปได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องควบคู่ไปกับความแสวงหา ใฝ่รู้ หรือศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอๆ เราถึงจะสามารถมีความคิดหรือแนวทางใหม่ๆ ในการวางแผนหรือแก้ปัญหาได้

เรียน อาจารย์ ดร.จีระ

จากที่ได้อ่านแนวคิดเรื่องภาวะผู้นำของ Mr.Nelson Mandela มีอยู่ 8 ประเด็นหลัก ถ้าผู้นำทุกคนมีแนวคิดแบบนี้สามารถนำพา ประเทศ องค์กร ไปสู่จุดที่ประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน ซึ่งอ่านแล้วประทับใจทุกประเด็น เช่น

1.ผู้นำต้องมีความกล้าหาญ ไม่ใช่ไม่มีความกลัว แต่สามารถนำผู้อื่นไปสู่จุดนั้นได้ ผู้นำต้องกล้าที่ประปฏิเสธสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ไม่คล้อยตามในสิ่งที่ผิด จะพาองค์กรไปสู่ความหายนะได้

2.ผุ้นำอยู่ข้างหน้า แต่อย่าเปิดแนวหลังให้มีความอ่อนแอ คือผู้นำต้องต้องใฝ่รู้ พัฒนา และมองดูองค์กรเราด้วยว่ามีจุดบกพร่องอะไรบ้างที่ควรจะแก้ไขพัฒนาปรับปรุง ไม่ใช่ไม่เหลียวแลสิ่งที่บกพร่อง มองไปข้างหน้าอย่างเดียว

3.การเป็นผู้นำอยุ่ข้างหน้า อย่างสมศักดิ์ศรี การได้มาซึ่งความสามารถของผู้นำ เป็นคนที่คนอื่นยกย่องให้เป็นผู้นำ พร้อมที่จะร่วมมือไปในแนวทางเดียวกัน

4.รู้เขารู้เรา คือในโลกของการแข่งขันเสรี ผู้นำต้องมีบทบาทในการเจรจาต่อรอง win –win เรียนรุ้อย่างชาญฉลาด เพื่อจะได้รู้จุดอ่อนของคู่แข่ง สร้างความได้เปรียบของเรา

5.ต้องใกล้ชิดกับศัตรูหรือคนที่เราไม่ชอบ เพราะการที่เป็นมิตรกับศัตรูเท่ากับการเรียนรู้ที่จะเอาชนะได้

6.ผู้นำต้องมีภาพลักษณ์ที่ดี คือต้องมีเบื้องหลังที่สง่างาม ตำแหน่งขององค์กรที่ได้มาต้องมีเบื้องหลังที่สง่างามด้วย มีบุคคลิคภาพที่เป็นมิตร ได้มาด้วยความสามารถจึงจะทำให้ลูกน้องมีความศรัทธา

7.อย่าเน้นถูกผิด ขาวดำ 100% คือผู้นำต้องมีใจที่เปิดกว้าง รับความคิดเห็นของลูกน้อง ทุกคนมีเหตุผลของความคิดทั้งสิ้น เพียงแต่ว่าเหตุผลของใครที่เหมาะสมที่จะใช้กับสถานการณ์นั้น ๆ

8.ต้องรู้จัก พอ และ ถอย ต้องวิเคราะห์สถานการณ์ได้อย่างชาญฉลาด มีความยืดหยุ่นในการแก้ปัญหาตลอดเวลา อย่าเป็นผู้นำที่ดันทุรัง ความคิดตัวเองเป็นใหญ่ ขงเบ้งได้พูดไว้ว่า “เมื่อเสียหลักก็ต้องหลบอย่างฉลาด เมื่อพลั้งพลาดต้องรู้หลึกใส่ปลีกหาง ค่อย ๆ คิด ค่อย ๆทำ ค่อยคลำทาง จึงจะย่างสู่จุดหมายเมื่อปลายมือ”

ถ้าองค์กรใด ไม่ว่าจะเป็นเอกชน หรือหน่วยงานของรัฐ มีภาวะผู้นำครบทุกข้อ ถือว่าเป็นบุญของประเทศชาติ เพื่อที่จะช่วยนำพาประเทศชาติให้รอดพ้นจากความวิกฤติในหลายๆ เรื่อง ดังสุภาษิตจีนที่ว่า

“มังกรถ้าไร้หัว หางก็ตีกันเอง ถ้าคานบนเอน คานล่างก็เบี้ยว ถ้าเสาเอกเฉียง เสาโทก็เฉ”

ขอขอบคุณอาจารย์ สำหรับบทความดีๆ ที่ทำให้ศิษย์คนนี้มีโอกาสได้อ่าน

สรรเสริญ ศรีเหนี่ยง

เกี่ยวกับบทความของอาจารย์เรื่องบทเรียนจากกีฬานั้น สิ่งที่สามารถนำมาประยุกต์กับการทำงานได้ก็คือ การที่เราจะตั้งเป้าหมายนั้น เราจะต้องตั้งไว้ให้ไกล ตั้งไว้ให้สูงไว้ก่อน เพื่อให้เราตื่นตัว และมีความชินกับบรรยากาศและเกิดแรงบันดาลใจ และต้องมีการพัฒนาตนเองอยู่เสมอ ดั่งคำของขงเบ้งที่ว่า “แสวงหามิใช่เพราะรอคอย เชี่ยวชาญมิใช่เพราะโอกาส สามารถมิใช่เพราะโชคช่วย ดังนี้แล้ว ลิขิตฟ้าหรือจะสู้มานะคน” แต่การทำงานนั้นการจะสำเร็จได้ แค่การทำงานหนักเท่านั้นยังไม่เพียงพอจะต้องมีความฉลาดในการทำงานควบคู่กันไปด้วย ซึ่งตัวอย่างในวงการกีฬาผู้ที่เป็นตัวอย่างในเรื่องความมุ่งมั่น นอกจาก Tiger Woods แล้ว ยังมีโค้ชคนปัจจุบันของทีมอินเตอร์มิลาน คือ Jose Mourinho ซึ่งนับได้ว่าเป็นคนที่มีความมุ่งมั่น มีความฝันว่าจะเป็นโค้ชที่เก่งที่สุด โดยการเลิกเล่นฟุตบอลตั้งแต่อายุยังน้อย แล้วเบนเข็มมาเข้าสู่วงการโค้ช ซึ่งเขาก็สามารถทำได้จริงๆ โดยได้รับการยอมรับฝีมือในวงกว้าง แต่อย่างไรก็ตาม การที่มุ่งมั่นในงานจนเกินไป อยู่กับงานจนเกินไป ทำให้ Mr.Mourinho ขาดเพื่อน ไม่ค่อยมีเพื่อนนัก ซึ่งเขาได้สร้างศัตรูไว้ทั่วสารทิศ ดังนั้น เราต้องมองมิติอื่นๆ นอกจากงาน คือการมีสังคม เพื่อให้ชีวิตสมดุล รวมทั้งยังต้องมีการออกกำลังกายบ้าง เนื่องจากสมองที่ดี มาจากร่างกายที่แข็งแรง

จาก 8 ประเด็นความเป็นผู้นำของ Mandela นั้น ผมมองได้ว่าจะนำมาปรับกับการทำงานได้คือ ต้องรู้จักศัตรูและการที่ใกล้ชิดศัตรูให้มากกว่ามิตร เป็นการรู้เข้ารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง ตลอดจนทำให้ศัตรูในวันนี้คือมิตรในวันข้างหน้า หากมองในอีกแง่ คือมองศัตรูให้เป็นปัญหาหรืออุปสรรค คือ เราต้องใกล้ชิดกับอุปสรรคและปัญหา ต้องรู้ว่ามันเป็นอย่างไร รู้ให้จริง หากเป็นดั่งนี้แล้ว เราก้อจะแก้ไขได้ถูกจุด แต่อย่างไรก็ตามในการทำงานราชการแล้วการคิด win-win ก็เป็นสิ่งสำคัญ การเจรจาต่อรอง ยืดหยุ่นก็เป็นสิ่งจำเป็น แต่ก็อยู่ภายใต้หลักการ ซึ่งแม้ว่าในบางครั้งที่เราจะได้เปรียบ แต่เราก็ไม่ควรเร่งรัด หรือรวบรัดฝ่ายตรงข้าม ในบางครั้งคำว่า “ตีงู ต้องตีให้ตาย” ก็ไม่ควรนำมาใช้ เพราะบางครั้งสำนวน “หมาจนตรอก” ก็ยังใช้ได้อยู่ เพราะการบีบคั้นฝ่ายตรงข้ามจนถึงที่สุด เขาก็จะโต้ตอบกลับมาสุดชีวิต ทำให้เราต้องหาทางลงไว้ให้กับอีกฝ่ายหนึ่งไว้ด้วย หรือรู้ว่าเส้นความพอดีอยู่ที่ตรงไหน นอกจากนี้เราต้องทำงานโดยไม่ประมาท และต้องรู้จักจุดประกายทางความคิดให้กับลูกน้อง หรือคนรอบข้าง จนกระทั่งเมื่อวันหนึ่งเราต้องมาทำงานอยู่เบื้องหลัง เราก็ไม่ควรก้าวก่ายงานของคนที่เป็นผู้นำ ไม่ทำตนเป็นผู้ครอบงำเขา จนทำให้เขารู้สึกไม่ภาคภูมิใจในการทำงาน

เรียน อาจารย์ ดร.จีระ

1)จากแนวคิดของ Nelson

nelson ถือเป็นคนที่สมควรนำมาเป็นแบบอย่างเป็นอย่างยิ่ง เป็นคนที่ทำวิกฤตให้เป็นโอกาส โดยมุ่งมั่นที่จะแสวงหาความรู้ เพื่อเพิ่มพูนปัญหาให้กับตนเองอยู่ตลอดเวลา แม้ว่าตัวเองจะต้องอยู่ในคุกนานถึง 27 ปี เป็นการแสดงให้รู้ว่าคนเราไม่มีอะไรจะมาขวางกั้นได้ถ้าต้องการที่จะเรียนรู้ เป็นคนที่มีคุณธรรม ไม่คิดล้างแค้น แต่ได้สร้างความสงบ

สุข มีการประนีประนอมที่เหมาะสม ถือเป็นการประสบความสำเร็จที่ทั้งสองฝ่ายมีชัยชนะร่วมกัน ถือเป็นแบบอย่างที่ดีที่ข้าราชการไทยต้องนำไปเป็นแบบอย่าง

2)บทเรียนจากกีฬา

1.จากการอ่านบทความนี้ ทำให้ทราบว่า การจะทำอะไรให้ประสบผลสำเร็จ จะต้องทำอย่างมุ่งมั่นและมีเป้าหมาย สิ่งที่สำคัญอีก ประเด็นก็คือ ต้องไม่ประมาทมีวินัยและซื่อสัตย์ต่อตัวเอง

2.ต้องรู้จักผ่อนปรน ทำชีวิตให้สมดุลย์ รู้จักผักผ่อนและมีสังคมกับเพื่อนร่วมงานตามเวลาและโอกาสที่สมควร เมื่อมีปัญหาอะไรเกิดขึ้นต้องมีสติและใช้สติในการแก้ไขปัญหาอย่างดีที่สุด

สวัสดีครับ อาจารย์

ขอกล่าวทักทายกับอาจารย์ในแบบที่ป็นกันเองมากขึ้น หลังจากที่ต้องปรับตัวอยู่พักใหญ่ หลังจากที่ผมได้อ่านบทความเรื่อง บทเรียนจากกีฬา แล้วเห็นว่าอาจารย์เข้าใจยกตัวอย่างการสอนเกี่ยวกับเรื่องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

โดยการยกตัวอย่างในมุมมองของนักกีฬาที่ประสบความสำเร็จหลายๆท่าน

โดยเฉพาะ Tiger Wood เพื่อสะท้อนให้เห็นว่า กว่าที่เขาเหล่านั้นจะประสบความสำเร็จ เป็นผู้นำที่เป็นเลิศทางด้านกีฬา เขาทำอย่างไรบ้าง ผมขอสรุปเป็นหัวข้อสั้นๆดังนี้

1.มุ่งมั่นที่จะไปสู่เป้าหมาย

2.ทำงานอย่างมีความสุขบนเป้าหมายที่สูง

3.การตัดสินใจแก้ปัญหาที่ดี

4.มีความพอดี

5.มีจิตวิญญาณ

6.มี EQ

ที่สรุปมาทั้งหมด ผมเห็นว่าสามารถนำมาปรับใช้กับการทำงานในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี อยู่ที่การนำไปใช้ของแต่ละคนเพราะทุกข้อที่กล่าวมาเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้งานมีประสิทธิภาพ อย่างยั่งยืน อย่างไรก็ตาม ผมจะได้ยกตัวอย่างที่ได้นำข้อคิดข้างต้นมาปรับใช้อีกครั้ง เพราะแม้จะอบรมเสร็จแล้ว ผมจะพยายามขอข้อแนะนำเรื่องต่างๆจากอาจารย์ผ่าน Blog นี้อย่างสม่ำเสมอ

เมษารัศมิ์ สังขวุฒิ

เรียน อาจารย์จีระ

จากแนวคิดของ Nelson Mandela เกี่ยวกับประเด็นของความเป็นผู้นำนั้น ส่วนตัวแล้วชอบแนวคิดที่ว่า การจะอยู่อย่างผู้นำควรใกล้ชิดกับทั้งเพื่อนและคู่แข่ง ซึ่งเป็นแนวคิดที่ชาญฉลาดมาก ถ้าเรารู้เขา รู้เราทั้งมิตรและศัตรู จะทำให้เราสามารถวิเคราะห์ได้อย่างตรงจุด ซึ่งสามารถนำมาปรับใช้กับการทำงานได้ เช่น ด้านการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งมีการแข่งขันกันสูงมากในตลาดโลก ดังนั้น เราจึงต้องมีการวิเคราะห์ SWOT ของเราเอง รวมถึงการวิเคราะห์คู่แข่งด้วย เพื่อเป็นการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน

อีกแนวคิดที่ชอบมากเหมือนกันก็คือ การเป็นผู้นำแนว Mandela อย่าไปเน้นถูกหรือผิดแบบ 100% เราต้องมีทางออกที่พบกันครึ่งทาง มีการประนีประนอมที่เหมาะสม แต่รักษาหลักการไว้ และหาทางตกลงกันได้แบบ Win Win ซึ่งเป็นการยึดทางสายกลางตามคำสอนของพระพุทธเจ้าและยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งสามารถนำมาปรับใช้ทั้งในด้านการทำงานและการดำเนินชีวิต เช่น การเจรจาการค้าภายใต้กรอบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น WTO หรือ FTA ควรที่จะคงไว้ซึ่งหลักการ และปกป้องผลประโยชน์ของประเทศและเกษตรกร ในขณะเดียวกันก็ต้องมีการประนีประนอมที่เหมาะสมและพยายามให้ได้ประโยชน์ร่วมกันทั้งสองฝ่าย

จากบทความ “เรียนรู้จากกีฬา กับ ดร.จีระ” ทำให้ได้รับประโยชน์อย่างยิ่ง สิ่งแรกที่ได้เรียนรู้จากบทความและสามารถนำมาปรับใช้กับพฤติกรรมของเรา ก็คือ เราควรที่จะ Work Smart มากกว่า Work Hard ซึ่งจะเชื่อมโยงไปถึงความสามารถในการบริหารเวลาของเราว่ามีประสิทธิภาพเพียงพอหรือไม่ ยกตัวอย่างเช่น การอยู่ทำงานจนค่ำมืด ในมุมมองของคนส่วนใหญ่จะมองว่าคนๆ นี้ขยันทำงานมาก แต่ถ้าคิดในมุมกลับกันอาจจะมองว่าคนๆ นี้ เป็นคนที่ไม่มีการบริหารเวลาที่ดีก็เป็นได้ ซึ่งผลผลิตของงานที่ออกมาในความเป็นจริงอาจไม่ต่างกันเลยก็ได้ ซึ่งการ Work Smart จะทำให้เราจัดสรรเวลาได้ลงตัวทั้งเรื่องงานและการดำเนินชีวิต อันจะนำไปสู่สิ่งที่ได้เรียนรู้ต่อมา ก็คือ การมีชีวิตที่สมดุล (Balance Life) อย่าทำงานหนักเกินไปจนไม่มีเวลาพักผ่อนและลืมสนใจครอบครัว เพื่อน และสิ่งแวดล้อมรอบด้าน เราต้องทำงานอย่างมีความสุขและพักผ่อนให้เพียงพอเพื่อจะได้มีพลังที่จะสร้างสรรค์สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อไป

สิ่งที่นึกถึงอีกอย่างหนึ่ง คือคำว่า “น้ำใจนักกีฬา” ซึ่งถ้าเราเอามาปรับใช้กับการทำงานหรือการใช้ชีวิตแล้วจะมีประโยชน์มาก ยิ่งปัจจุบันนี้มีการแข่งขันกันสูงในเกือบทุกด้านและทุกช่วงของชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการเรียน การทำงาน และการทำธุรกิจ เป็นต้น ถ้าเรามีน้ำใจนักกีฬาแล้วเราก็จะรู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย ยอมรับได้กับผลการแข่งขันนั้น ไม่ว่าจะออกมาแพ้หรือชนะ เราจะไม่มีนิสัยขี้แพ้ชวนตี เนื่องจากการเล่นกีฬาเป็นการสร้างความสามัคคี และเป็นการเอาชนะใจตนเอง ถ้าเราขยันฝึกซ้อมและพัฒนาทักษะของตัวเองอย่างเพียงพอ เราก็จะมีโอกาสสูงที่จะเป็นผู้ชนะในเกมนั้นๆ ได้

ณิริศพร มีนพัฒนสันติ

เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

หลังจากอ่านบทเรียน 8 ประเด็นของ Mandela แล้ว มีความเห็นว่า การเป็นผู้นำ ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้มีอำนาจ มีอิทธิพลเสมอไป ผู้นำควรรู้จักสร้างคุณค่าในตนเอง แม้เมื่อจากโลกนี้ไป คุณค่าในตัวก็ยังเป็นที่กล่าวขวัญ และคิดว่าข้อที่สำคัญที่สุดในความคิดของตนเองคือ การรู้จัก “พอ” และรู้จัก “ถอย” พอ คือพอในทุกสิ่ง พอดีในทุกอย่างที่ผู้นำควรจะมี มีความกล้าหาญที่พอดี ไม่ใช้กล้าบ้าบิ่นจนเกินตัว มีการบริหารที่พอเหมาะพอสมทั้งในยามที่ต้องพาลูกน้องนำ หรือในยามที่ต้องคอยประคับประคองลูกน้องอยู่ข้างหลัง มีภาพลักษณ์บุคลิกที่พอดี สง่างาม เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน และรู้จักถอยในบางครั้ง ไม่ใช่ท้อถอย แต่ให้รู้จักถอยมาตั้งหลักบ้าง หากเกิดข้อผิดพลาด กลับมาเรียนรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นกับตัวเราหรือลูกน้องหรือองค์กร หรือถอยตั้งหลักเพื่อเรียนรู้ฝ่ายตรงข้าม ให้รู้เขารู้เรายิ่งขึ้น แล้วเดินหน้าสู้กับวิกฤต และปัญหานั้นอีกครั้งอย่างรอบคอบมีสติ

เช่นเดียวกับกระทรวงเกษตรฯ ที่ผู้บริหารและบุคลากร จะต้องเป็น role model ที่ดี จำเป็นที่จะต้องรู้จัก พอ และ ถอย การที่ข้าราชการ รู้จักพอทั้งตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง และทางสายกลางตามพระพุทธศาสนา นำมาปรับใช้กับตนเองและการทำงานตลอดจนการให้บริการประชาชน ไม่เห็นแก่ส่วนตน นึกถึงส่วนรวมเป็นหลักโดยเฉพาะเกษตรกร การคอรัปชั่น ความยากจนของเกษตรกรที่เป็นปัญหาคาราคาซัง แรงงานภาคเกษตร มูลค่าเกษตรที่สู้และแข่งขันกับตลาดโลกไม่ได้ ก็จะ ได้รับการแก้ไขที่เป็นรูปธรรมและเห็นผลเร็วมากขึ้น รวมทั้งรู้จักถอยที่จะหันมามองถึงต้นตอของปัญหาที่แท้จริงในการบริหารงาน ปัญหาหลักที่สำคัญเป็นต้องแก้ไขเร่งด่วน หาข้อเสียเปรียบได้เปรียบทางภาคเกษตรรอบด้าน ทั้งในระดับประเทศและระดับโลก และสิ่งที่ควรพัฒนาเร่งดำเนินการ เป็นต้น ซึ่งก็ต้องร่วมมือกันทุกฝ่าย อย่าติดอยู่กับวัฒนธรรมการทำงานเดิมๆ เพื่อไม่ให้ตายไปกับวัฒนธรรม โดยเฉพาะผู้นำ หากรู้จักปรับเปลี่ยนกระบวนการ แนวคิด ผลักดันสิ่งที่ถูกที่ควร แก้ที่ต้นตอปัญหา ลูกน้องที่อยู่ข้างหลังก็จะกล้าและมั่นใจที่กล้าที่จะนำเสนอช่วยให้ภาคเกษตรของประเทศพัฒนายิ่งขึ้น แม้ปัญหา หรือวิกฤตจะเกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่าแต่ทุกปัญหาก็ยังมีทางออก ทุกวิกฤตก็ยังปรับเปลี่ยนเป็นโอกาสได้เสมอ และทุกสถานการณ์ก็ยังสร้างผู้นำที่ยิ่งใหญ่ได้เช่นกัน

เมื่อได้อ่านบทเรียนกับกีฬาของอาจารย์จีระแล้ว ทำให้ได้ข้อคิดเปิดประโยชน์กับตนเอง 2 เรื่อง ดังนี้

1) การไม่ประมาทในชีวิต ซึ่งนับว่าสำคัญที่สุดในการใช้ชีวิต การมีสติ ตั้งตนอยู่ในความไม่ประมาท มีความพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจ ไม่ใช่ถือตนว่าเก่ง เพราะเหนือฟ้ายังมีฟ้า ความไม่ประมาทในชีวิตจะทำให้เราเกิดการเรียนรู้ อยากที่จะฝึกฝนตนเอง อย่างที่ไทเกอร์ วูดบ้าคลั่งการซ้อมอยู่ตลอด และมีวินัยกับตนองอย่างมาก เปรียบการที่เราจะใช้ชีวิตในการทำงาน การทำตนเป็นผู้นำที่ดีก็เช่นกัน หากประมาท ขาดสติ ไม่เตรียมพร้อมตนเองเมื่อเวลาเผชิญหน้ากับวิกฤต หรือปัญหาใหญ่ ระดับยากและซับซ้อนขึ้น แล้วจะตามทันสิ่งเหล่านั้นได้อย่างไร

2) การสร้างสมดุลให้ชีวิต นอกจากที่เราจะตั้งตนให้ไม่ประมาท และมีสติในกิจกางานต่างๆ แล้ว การดูแลสุขภาพกายและใจของเราให้เกิดความสมดุลนับว่าเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะต่างก็เกื้อหนุนกันและกัน นักกีฬาที่เก่งกาจ ต้องหมั่นฝึกฝน ดูและร่างกายให้แข็งแรง ดูแลอารมณ์ให้พร้อม ดูแลจิตใจให้มั่นคง ชีวิตการทำงานก็เหมือนกับการแข่งขันเกมกีฬา ต้องเตรียมพร้อมทั้ง ร่างกายดูและสุขภาพ การมีสุขภาพที่ดีนับเป็นหนึ่งในวิธีที่ทำให้เรามีอารมณ์ดีไม่มีปัญหาทางสุขภาพเป็นอุปสรรค, การฝึกฝนสติปัญญาให้เฉียบคมทันต่อโลกที่ก้าวหน้าอย่างก้าวกระโดดทำให้เราไม่ล้าหลัง, การฝึกสติ พิจารณาจิตใจทำให้เรารู้เท่าทันตนเอง, การฝึกอารมณ์ควบคุมตนเองให้เผชิญกับสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างทันท่วงที และการมีเป้าหมายในชีวิตสร้างแรงกระตุ้นในตัวเพื่อให้สิ่งนั้นสำเร็จ ก็จะเป็นแรงบันดาลใจที่สำคัญ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ทุกสิ่งทุกกอย่างควรมีทางสายกลางในระดับที่พอดีโดยนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาปรับใช้ หากตึงเกินไปสายพิณก็ขาด หย่อนเกินไปเสียงเพลง ก็ไม่เพราะ ดังนั้นสมดุลแห่งชีวิต ทั้งภายใน คือ จิตใจ และ ภายนอก คือร่างกาย จึงนับว่าสำคัญไม่ยิ่งย่อนกว่ากัน แม้จิตใจจะสู้แต่ร่างกายไม่พร้อมก็อาจสำเร็จอย่างยากเย็น ยิ่งหากจิตใจย่ำแย่ ร่างกายมีหรือจะทนไหว เพราะจิตเป็นนายกายเป็นบ่าว การที่เราดูและสร้างสมดุลให้กับกายและใจอย่างสมบูรณ์จะทำให้เป้าหมายในชีวิตของเราอาจสำเร็จอย่างง่ายดายเหมือนตีกอล์ฟแบบโฮลอินวัน ยิงประตูฟุตบอลแบบไม่มีกำแพงคนและมือประตูเลยก็ได้

นางสาวกาญจนา มาลัยกฤษณะชลี

เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

1. แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ Mr. Nelson Mandela และสามารถประยุกต์กับกระทรวงเกษตรฯ ได้อย่างไร

ดิฉันรู้สึกชื่นชอบหลักการในข้อ 4,5 และ 7 กล่าวคือ ในข้อ 4 และ 5 เป็นหลักเกี่ยวกับการบริหารศัตรูและคู่แข่ง ซึ่งเราต้องเรียนรู้ ทำความรู้จัก และเข้าใกล้ ไม่ใช่คิดว่าศัตรูคือคนที่เราเกลียด ไม่อยากยุ่งด้วย ไม่อยากเข้าใกล้ ไม่อยากรับรู้อะไรเกี่ยวกับเขาทั้งนั้น การกระทำแบบนั้นไม่น่าจะเป็นผลดี เนื่องจากเราจะไม่รู้เลยว่าเขาจะมาแนวไหน จะทำอะไรที่จะส่งผลกระทบกับเราหรือเปล่า ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อเราและเกิดผลกระทบทางธุรกิจหรืออื่นๆ ตามมาได้ เปรียบเทียบกับถ้าเราเป็นกระทรวงเกษตรฯ เรากำลังทำการค้ากับประเทศต่างๆ ในตลาดโลก ประเทศอื่นๆ ถือเป็นคู่แข่ง การที่เราจะไปเจรจาการค้า สร้างนโยบาย โครงการ หรือแผนปฏิบัติการต่างๆ ขึ้นมาเพื่อเป็นกรอบหรือแนวทางกับประเทศนั้นๆ นอกจากการที่เราต้องเรียนรู้เกี่ยวกับตนเอง สภาพเศรษฐกิจภายในประเทศของเราแล้ว ยังจำเป็นต้องเรียนรู้ข้อมูลพื้นฐานของประเทศนั้นๆ สภาพเศรษฐกิจและสภาวการณ์ปัจจุบันของเขาด้วย เพื่อเราจะได้เตรียมท่าทีของตน เพื่อนำไปใช้ในการเจรจาทางการค้า สร้างกรอบความร่วมมือหรือนโยบายระหว่างประเทศได้โดยผิดพลาดหรือเสียเปรียบน้อยที่สุด

ในส่วนของข้อ 7 นั้น กล่าวถึงการใช้หลักประนีประนอม ไม่เน้นถูกหรือผิดแบบ 100% นั้นก็น่าสนใจ เนื่องจากในโลกแห่งความเป็นจริงนี้ ไม่น่าจะมีอะไรที่ถูกหรือดีทั้ง 100% และไม่น่าจะมีอะไรที่ผิดหรือไม่ดีทั้ง 100% ทุกอย่างมีทั้งดีและไม่ดี ถูกและไม่ถูก ขึ้นกับมุมมองของแต่ละบุคคล สถานการณ์ และเวลา เราจึงควรเลือกใช้ให้ถูกกับปัจจัยดังกล่าวมาแล้ว หรืออาจหยิบมาหลายๆ อย่างโดยแบ่งเป็นสัดส่วนเพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์นั้นๆ นอกจากนั้น หลักการประนีประนอม ก็เป็นหลักการที่น่าสนใจและเหมาะสมกับสังคม เนื่องจากไม่มีสังคมใดที่ทุกคนจะชอบหรือเลือกสิ่งเดียวกันทุกคน และไม่มีใครที่จะชอบหรือยอมรับได้หากมีคนมาความคิด การกระทำ หรืออะไรต่างๆ ของคุณผิดทั้ง 100% เราอาจนึกย้อนในใจได้ว่า แล้วเขาแน่ใจหรือว่าของตัวเขาเองถูกทั้ง 100% สิ่งเหล่านี้ต้องใช้หลักการประนีประนอมเข้ามาจัดการ เพื่อให้สถานการณ์คลี่คลาย เปรียบเทียบกับการทำงานใน กษ. ในกลุ่ม ในทีม กับกระทรวงอื่น หรือแม้แต่กับต่างประเทศ ก็ต้องใช้หลักการนี้เพื่อหาข้อสรุปในการประชุมและในการเจรจาการค้า มิฉะนั้นก็คงไม่มีใครยอมใครและไม่สามารถหาข้อสรุปได้ เกิดการทะเลาะเบาะแว้งกันต่อมา ผู้นำหรือหัวหน้าทีมใดที่ได้นำหลักการนี้มาใช้ จะสามารถส่งเสริมการทำงานเป็นทีมให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ได้ รวมทั้งสามารถลดข้อขัดแย้งของลูกทีมอีกด้วย

2. จากบทความ บทเรียนจากกีฬา มีอะไรที่เป็นประโยชน์ที่จะสามารถนำมาปรับพฤติกรรมตนเองได้บ้าง

1) Focus คือ การกระทำที่มุ่งมั่นไปสู่เป้าหมาย

2) การมีวินัยในการทำงาน

3) พร้อมที่จะแก้ปัญหาและตัดสินใจในเรื่องที่ยาก

4) การให้ความสมดุลระหว่างการทำงานกับการพักผ่อนหรือเวลาส่วนตัว ไม่มุ่งมั่นทำแต่ในมิติเดียว

5) ต้อง work smart มากกว่า work hard

6) การมีชีวิตที่สมดุล (Balance Life) ได้แก่

- สมดุลทางร่างกาย (Physical Balance) คือ การปรับตัวให้เหมาะสม กล่าวคือ ทำงานอาจจะหนักแต่ต้องพักผ่อนให้เพียงพอ

- สมดุลทางจิตวิญญาณ (Spiritual Balance)

- ความสมดุลของชีวิต (Competitive Balance) คือ ความสมดุลของการแข่งขัน กล่าวคือ งานที่ยากทำให้เรามีความสามารถเป็นเลิศ

- การควบคุมอารมณ์ (Emotional Balance)

7) แนวคิดจากเรื่อง Tiger

- Head ใช้สติปัญญาในการแก้วิกฤติ

- Heart จิตใจนิ่ง

- Guts การแก้ปัญหาและอดทนอดกลั้น

- Execution ทำให้บรรลุผลสำเร็จ

พนิดา ฮั้วประเสริฐ

เรียน อาจารย์ ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์

1.จากที่ได้อ่าน 8 บทเรียนผู้นำของ Mandela มีความเห็นว่า การที่จะทำให้เกิดความน่าเชื่อถือในตัวผู้นำขององค์กรหนึ่งๆนั้น ผู้นำควรมีภาพลักษณ์ที่ดี มีบุคลิกภาพที่ดี และมีการแต่งตัวที่เหมาะสม มีความสง่างาม เพื่อให้คนในองค์กรเกิดความศรัทธาในตัวผู้นำ เมื่อไปที่สาธารณะหรือออกงาน บุคคลทั่วไปก็จะเกิดความศรัทธาและเชื่อถือด้วย อีกประการหนึ่ง ผู้นำที่ดีต้องมีความกล้าหาญและอดทน กล้าที่จะเผชิญหน้ากับปัญหาทุกอย่างที่เข้ามา และใช้สติในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อนำพาองค์กรให้ผ่านพ้นวิกฤตนั้นได้อย่างปลอดภัย

2.สำหรับบทเรียนจากกีฬานั้น สิ่งที่จะนำมาปรับใช้กับตัวเองคือ ต้องมีการตั้งเป้าหมายในการทำงาน ต้องทำงานอย่างตั้งใจ มุ่งมั่นที่จะทำให้สำเร็จ ไม่ใช่ทำไปวัน ๆ และจะต้องมีความพร้อมเสมอที่จะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในอนาคต ต้องมีการวางแผนการทำงานเป็นขั้นเป็นตอน และจัดลำดับความสำคัญของงานที่จะทำด้วย ควรทำงานอย่างมีระเบียบคือต้องมีการจัดเวลาทำงานและเวลาพักผ่อนอย่างเหมาะสม การที่จะทำตามแผนที่วางไว้ได้หรือไม่นั้น ก็ต้องมีวินัยในตัวเอง เมื่ออยู่ในเวลาทำงานก็ต้องทำอย่างตั้งใจ ต้องควบคุมจิตใจ และมีสติอยู่เสมอไม่ให้ออกนอกลู่นอกทาง ไม่เช่นนั้น งานที่วางแผนไว้ก็จะเสร็จไม่ทัน หรืองานที่ได้ก็ไม่มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะไม่ประสบผลสำเร็จตามที่เราตั้งเป้าหมายไว้ เมื่อถึงเวลาพักผ่อนก็ควรที่จะผ่อนคลาย ไปสังสรรค์กับครอบครัว หรือเพื่อน แต่สิ่งสำคัญที่ควรทำคือการออกกำลังกาย เลือกกีฬาที่ตัวเองชอบหรือมีความถนัด แต่ไม่ควรเล่นอย่างหักโหม ต้องมีความสมดุล เช่นเล่นกีฬาอย่างน้อยวันละ 1 ชั่วโมง อาทิตย์ละ 3 วัน ก็จะทำให้สุขภาพกาย และสุขภาพจิตดี เมื่อถึงเวลาทำงานก็จะทำให้มีสมาธิ และมีสติในการทำงาน

เรียน อ.ดร.จีระ

1.แนวคิดของ Nelson

Nelson เป็นผู้ที่มีวิธีคิดที่ดี และสามารถเปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาสได้เสมอ สิ่งที่ได้เรียนรู้จากบทความและควรนำมาปรับใช้กับการทำงาน ดังเช่นวิธีคิดที่ว่าการจะจัดการบริหารศัตรู  ต้องรู้จักเขาดีว่า เขาชอบอะไรและต้องใกล้ชิดเค้าให้มาก  เพราะหากเรารู้ถึงความเคลื่อนไหวของศัตรูแล้วเราจะรู้ว่าเค้าคิดอะไร และจะทำอะไรต่อไป  ทำให้เราสามารถวางแผนตั้งรับกับสถานการณ์ต่าง ๆที่จะเกิดขึ้นได้  นอกจากนี้ยังประทับใจเรื่องของแนวคิดที่กล่าวว่า ผู้นำที่ดีต้องมีภาพลักษณ์ที่ดี เพราะผู้นำเมื่อไปไหนก็จะเปรียบเหมือนเป็นผู้แทน หรือเป็นหน้าเป็นตาขององค์กรนั้น เรียกได้ว่าเป็น "brand" ขององค์กรเลยทีเดียว ดังนั้นผู้นำจึงต้องมีภาพลักษณ์ที่ดีอยู่เสมอ

2.บทเรียนจากกีฬา

ประโยชน์จากการได้เรียนรู้จากบทความเรื่อง พบว่า

      1) กีฬาช่วยให้ชีวิตมีความสมดุลระหว่างร่างกายกับจิตใจ  เพราะนอกจากจะทำให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง บุคลิกภาพดีขึ้นแล้ว การเล่นกีฬายังช่วยฝึกให้การตัดสินใจดีขึ้นอีกด้วย ซึ่งจะส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานดีขึ้นกว่าเดิม

      2) การเล่นกีฬาคล้ายกับการทำงาน หากเราต้องการจะชนะเราจะต้องมีการวางแผนในการเล่น หมั่นฝึกซ้อม และมุ่งมั่นไปสู่เป้าหมาย  เช่นเดียวกัน  การทำงานหากเราต้องการประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน  เราจะต้องมีการวางแผน หมั่นฝึกฝนทักษะด้านต่าง ๆ ให้พร้อมที่จะทำงานที่ท้าทาย และต้องมีความมุ่งมั่น  เพื่อจะไปสู่ความสำเร็จเช่นกัน

 

เรียน ท่าน ศ.ดร. จีระ

1. หลังจากที่ได้อ่านบทเรียนจากความจริงของ อ. จีระ ในเรื่องของผู้นำ ใน 8 ประเด็นของความเป็นผู้นำของ Mandela นั้น รู้สึกประทับใจที่จะนำมาใช้ในการดำเนินชีวิต คือเรื่อง

อุปนิสัยที่สำคัญก็คือ Think Win/Win คือการที่เราอยู่ในสังคมการที่จะตัดสินใจว่าอะไรถูกอะไรผิด เลยก็จะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์มากนักแต่จะเกิดความขัดแย้งมากกว่า ดังนั้น ควรมีการประนีประนอมหรือพบกันครึ่งทางจะดีกว่าหรือไม่ก็หาวิธีคิดทางเลือกใหม่แล้วให้ทุกฝ่ายยอมรับ อีกทั้งจะได้แระโยชน์ในเรื่องของผู้ที่อยู่ข้างหลังซึ่งอาจจะหมายถึงลูกน้องหรือเพื่อนรวมงาน ยังรู้สึกมั่นใจในตัวผู้นำอีกด้วย และยังก่อปรโยชน์ต่อองค์กรและประเทศชาติอีก

อีกประเด็นหนึ่งที่ประทับใจคือเรื่องการเกาะติดคู่แข่ง คือให้รู้เขารู้เราและเตรียมพร้อมอยู่ตลอด จะทำให้เราดำเนินชีวิตได้ง่ายขึ้น คำว่าคู่แข่งรวมถึงสถานการณ์ต่างๆ โลกาภิวัฒน์ ภาวะเงินเฟ้อ การเมือง เป็นต้น

2. หลังจากที่ได้อ่านบทเรียนจากความจริงของ อ. จีระ ความเป็นผู้นำของ ที่จะนำมาใช้ในการดำเนินชีวิต คือเรื่องการตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนแล้วมีความพยายามมุ่งมั่นไปสู่จุดหมาย คือต้องมีความเตรียมพร้อมตัวเองอยู่ตลอดเวลา มีความพยายามไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค เมื่อเกิดปัญหาก็ต้องแก้ไขอย่างมีสติ ไม่ท้อถอย มีการสร้างแรงจูงใจให้ตนเองมีแรงที่จะสู้ต่อไป แม้บางครั้งเหนื่อยก็ต้องมีวินัยต่อตนเอง แต่ทั้งนี้ก็ต้องมีการดำเนินชีวิตในภาวะสมดุลย์คือไม่มุ่งทำแต่สิ่งเดียวจนทำให้สภาพร่างกาย หรือจิตใจ เสื่อมสภาพเร็วเกินไป ต้องมีการพักผ่อนหรือออกกำลังกายควบคู่ไปด้วย

สมฤทัย วรรณมาโส

เรียน ท่านอาจารย์จีระ หงส์ลดารมภ์

1. จากที่ได้อ่านประเด็นความเป็นผู้นำของ Mandela นั้นคิดว่ามีประเด็นที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับสำนักงานเศรษฐกิจได้เป็นอย่างดีมาก เพราะจากการที่ทำงานอยู่ในส่วนภูมิภาคต้องออกสนามไปเก็บข้อมูลโดยตรงจากเกษตรกร หรือ พ่อค้า โรงงานในพื้นที่ทำให้ทราบว่า ชื่อของสำนักงานเศรษฐกิจนั้นเป็นชื่อที่ ไม่ค่อยเป็นที่รู้จักมากเท่าไรนัก อาจจะเป็นเพราะสาเหตุที่ว่าสำนักงานนี้ ไม่ได้มีหน้าที่เข้าไปส่งเสริมในพื้นที่ หรือมีของไปแจก โดยตรง ทำให้ลูกค้าของเราที่เป็นเกษตรกรไม่ค่อยรู้จัก หรือไม่ค่อยคุ้นหูนักเท่าไร ทำให้คิดถึงประเด็นของ Mandela ที่ว่า การเป็นผู้นำต้องมีภาพลักษณ์ที่ดี ต้องปรากฏตัวตามของที่ต่าง ๆ อย่างมีเกียรติและสง่างามเสมอ ทำให้เราคิดได้ว่า สำนักงานเศรษฐกิจ ควรมีการส่งเสริม ให้มีการสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักกับบุคคลอื่น ๆ ให้ได้มากกว่านี้ อาจจะกระทำได้โดยการออกสื่อบ่อย ๆ เข้าไปมีส่วนร่วมในสังคมเกษตรให้มากขึ้นมีการประชาสัมพันธ์องค์กรให้มากขึ้นกว่าเดิม ทำให้บุคคลอื่น ๆ ทราบให้ได้ว่าสำนักงานเศรษฐกิจเป็นใคร มีหน้าที่อะไรในกระทรวงเกษตรฯบ้าง ต้องทำให้เขารู้จักเราให้ดีขึ้นให้ได้

2. จากที่ได้อ่านบทเรียนจากกีฬาแล้ว ทำให้ได้ทราบว่ามีประโยชน์ที่สามารถนำมาปรับพฤติกรรมของเราได้ ดังนี้ คือ การทำงานของเรานั้นเวลาทำงานเราก็ควรจะทำงานอย่างมุ่งมั่น ต้องพร้อม ที่จะแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่จะต้องเผชิญ จะต้องควบคุมวินัยของตนเองอยู่ตลอดเวลา แต่เราก็ไม่ควรที่จะลืมที่จะสร้างความสมดุลให้แก่ชีวิตของเราด้วย ไม่ใช่ว่าทำแต่งานอย่างเดียว จนทำให้เราไม่มีสังคม ไม่มีเพื่อน ไม่มีครอบครัว ซึ่งจะทำให้เรากลายเป็นคนที่ไม่มีความสุขในที่สุด

เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

1)จากแนวคิดของ Nelson

จากแนวคิดทั้ง8ของ Nelson รู้สึกประทับใจในเรื่องความกล้าหาญ และ การนำอยู่ข้างหลัง ดังนี้

-ความกล้าหาญ มีความอดทนสูง สามารถใช้ชิวิตอยู่ในคุก 27 ปี จุดประกายให้คนอื่นสามารถไปสู่จุดของความเป็นเลิศได้ ทำให้คนจำนวนมากมีความหวัง แม้ว่าสถานการณ์ในช่วงนั้นจะเลวร้ายเพียงใด ซึ่งทำให้ผมเข้าใจมากขึ้นว่า ความกล้าหาญ ไม่ไช่ไม่มีความกลัว หรือไม่ใช่ความกล้าบ้าบิ่น กล้าตาย กล้าได้กล้าเสีย แต่เป็นความกล้าที่จะจุดประกายความหวังของผู้อื่นที่อยู่รอบข้าง ให้มีพลังที่จะกล้วก้าวไปข้างหน้าโดยไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคใดๆ

-การนำอยู่ข้างหลัง ซึ่งจะเห็นได้ว่าในช่วงที่ Nelson อยู่ในคุกนั้น ก็ยังมีประชาชนจำนวนมากที่รอคอยเขาอยู่ รอคอยอย่างมีความหวังว่า สักวัน เค้าต้องกลับมาเพื่อมาช่วยเหลือบ้านเมืองที่เต็มไปด้วยความแบ่งแยก ระหว่างเชื้อชาติ และจากบทความนี้เอง ทำให้นึกถึงผู้นำอีกคนที่กำลังต่อสู่อย่างกล้าหาญ และเป็นการนำอยู่ข้างหลัง นั่นคือ นางซูจี เป็นผู้นำที่จุดประกายความหวังของประชาชนพม่าทั้งชาติ ในการต่อสู้กับระบบการปกครองที่ทหารเป็นใหญ่ มีอำนาจสูงสุดในการบริหารบ้านเมืองตามอำเภอใจ

2)บทเรียนจากกีฬา

จากบทความดังกล่าวทำให้แง่คิดอยู่ 2 ประเด็น ดังนี้

-ได้แนวคิดจาก Brad Kearm ที่เขียนถึงTiger ว่า ประสบความสำเร็จได้นั้นต้อง สร้างบรรยากาศในการแข่งขันที่เป็นเลิศ เช่น Tiger ชอบแข่งรายการใหญ่ๆ ระดับ Grand Slam ซึ่งสามารถปรับใช้ในการทำงานได้ คือ อย่างหวังเพียงแค่ทำงานให้พอผ่านๆ แต่เราต้องทำให้ดีที่สุด เสิศที่สุด สร้างมาตรฐานในการทำงานระดับสูงเข้าไว้ เพื่อความเป็นหนึ่งในหน้าที่การงาน

-ตั้งเป้าหมายที่ Horizon (ขอบฟ้า) หรือจุดสูงสุด คือสิ่งใดที่เราเคยทำมาแล้วในอดีต ปัจจุบันต้องทำให้ดีกว่า และในอนาคตต้องเหนือกว่าปัจจุบัน การทำงานต้องมีความทะเยอทะยาน ต้องกล้าที่จะคิดว่าเราสามารถเป็นเบอร์1ขององค์กรได้ เพราะโลกมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ก้าวให้ทันกับโลกคงยังไม่พอ ต้องวิ่ง วิ่งเพื่อให้อยู่ด้านหน้าสุดของกลุ่ม

จิรชาย เจริญ

1)Nelson Mandela

มีความสามารถในการพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส และเพื่อเพิ่มพูนปัญหาให้กับตนเองอยู่ตลอดเวลา ที่อยูู่่ในคุก 27 ปี นับเป็นการใช้สงบสยบความเคลื่อนไหว รู้จักว่าจังหวะไหนควรทำอย่างไร ควร เป็นฝ่ายเดินหน้า หรือเป็นฝ่ายตัั้งรับ คล้ายกับ หลักของคุณเทียม ที่ว่า คนเรา ต้อง รู้จัก ว่า เหมือนไหร่ ควร จะ หนัก เบา อ่อน แข็ง

2)บทเรียนจากกีฬา

1.การจะประสบความสำเร็จ ต้อง ใช้ ควรมเพียร เพียร และก็เพียร

2.ในขณะเดียวกันก็ต้อง รู้จักวิธีการคิดและแนวทางการฝึกฝนอย่างมีระเบียบวินัย เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายที่วางไว้

เรียนอาจารย์จีระ

บทความดังกล่าว ทำให้เกิดความคิดว่าสิ่งที่ทำให้ Tiger Wood ประสบความสำเร็จ ประกอบด้วย

1. การ Focus หรือการทำอะไรมุ่งไปสู่เป้าหมายโดย การนำตัวเองเข้าไปอยู่ในบรรยากาศการแข่งขัน หรือการนำไปสู่การพัฒนาที่เป็นเลิศ ตลอดจนมีความพร้อมที่จะตัดสินใจและแก้ปัญหาที่ยาก ไม่ประมาท และมีวินัยสูง

2. การทำงานอย่างมีความสุข สร้างสมดุลให้กับชีวิตในเรื่องของร่างกาย จิตใจ และการทำงาน

3. การทำงานอย่างมีความสุข

4. อย่ามีเป้าหมายที่จำกัด ให้นึกถึงการมุ่งไปสู่เส้นขอบฟ้า(Horizon)

5. ให้ Work Smart มากกว่า Work Hard

ดังนั้นจากประเด็นดังกล่าวทั้ง 5 ประเด็น ในส่วนของตัวผมเอง มีความชอบเป็นพิเศษ 2 ประเด็น คือ

1. การ Focus โดยการ

- สร้างหรือนำตัวเองเข้าไปอยู่ในบรรยากาศของการแข่งขัน หรือการพัฒนาอันนำไปสู่ความเป็นเลิศ ซึ่งขยายความเพิ่มเติมได้ว่า คู่แข่ง เพื่อนร่วมงาน และกัลยานมิตร จะช่วยผลักดันให้เราสามารถพัฒนาตัวเราเองไปสู่ความเป็นเลิศได้

- เตรียมตัวหรือทำตนเองให้มีวินัยและพร้อมรับมือกับปัญหาและการตัดสินใจที่ยากๆ ด้วยความไม่ประมาท

2. อย่ามีเป้าหมายที่จำกัด ให้นึกถึงการมุ่งไปสู่เส้นขอบฟ้า(Horizon) นั่นคือการตระหนักถึงการทำในสิ่งที่ดีกว่าสิ่งที่เคยทำมาแล้ว หรืออาจกล่าวได้ว่าต้องมีการพัฒนาไม่หยุดยั้ง ทำตัวเป็นน้ำที่ไม่เต็มแก้วอยู่เสมอ นั่นคือหากเราทำงานชิ้นหนึ่งจนชำนาญมีความเข้าใจระบบงานขั้นตอนอย่างถ่องแท้แล้ว แต่กลับหยุดอยู่กับที่ ไม่หาทางให้พัฒนาให้ดียิ่งขึ้น จะทำให้เกิดเป็นความเคยชิน ทำให้รู้สึกเหมือนเป็นงาน Routine ซ้ำซากน่าเบื่อ เมื่อนานๆเข้าก็จะทำให้เกิดเป็นความเฉื่อย สุดท้ายก็อาจจะกลายเป็น Dead Wood ขององค์กรได้

ดังนั้นในส่วนของผมจะให้ความสำคัญใน 2 ประเด็นนี้ ทำซ้ำไปซ้ำมาใน 2 ประเด็น จนเป็นวงจรและผลที่ตามมาก็คือ จะมีความสุขอยู่กับงานที่ทำทุกวัน

เรียน อาจารย์ ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์

 

1.ให้แต่ละคนแสดงความเห็นที่มีต่อ Nelson Mandela

จากที่ได้อ่านบทเรียนผู้นำของ Mandela ซึ่งเป็นบุคคลที่มีชีวประวัติน่าศึกษาและน่าค้นหาเป็นอย่างมาก เพราะการที่คนๆหนึ่งต้องติดคุกนานถึง 27 ปี แล้วสามารถกลับมาเป็นผู้นำที่ได้รับการยอมรับและสร้างคุณประโยชน์ให้กับสังคม จนเป็นที่เลื่องลือของคนทั้งโลก ไม่ใช่เรื่องง่าย เมื่อดิฉันได้อ่านบทความแล้ว รู้สึกทึ่งในความคิดของ Mandela อยากให้นักบริหาร/นักการเมืองไทยได้มาอ่าน แล้วนำมาใช้ประโยชน์เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาองค์กรและประเทศชาติ ซึ่งการเป็นผู้นำที่ดีนั้นนอกจากเราจะพัฒนาตัวเราให้ดีแล้วยังต้องพัฒนาลูกน้องโดยการจุดประกายให้เค้าสามารถไปสู่ความเป็นเลิศ   โดยไม่กลัวว่าคนนั้นจะมาแทนที่ตำแหน่งตน ตัองฝึกลูกน้องให้เก่งกว่าตนเอง นอกจากนี้เรายังต้องศึกษาคู่แข่งให้ดี เพื่อจะได้รู้เท่าทันความคิดของคู่แข่ง ต้องรู้ว่าจังหวะไหนควรทำอะไร จังหวะไหนควรหยุด และพยายามสร้างเครือข่ายความร่วมมือให้มาก ลดการสร้างความขัดแย้ง และไม่เอาเปรียบกันโดยการทำการตกลงเพื่อให้ได้แบบ win-win ต่างฝ่ายต่างได้ประโยชน์

2.บทเรียนจากกีฬา

 คนเราจะต้องรู้จัดตั้งเป้าหมายในชีวิต และการทำงาน ต้องมุ่งมั่น ฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆ เพื่อจุดมุ่งหมายที่ตั้งเอาไว้ ต้องรู้จักสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดขึ้นในตนเอง หมั่นฝึกฝนตนเองอยู่เสมอ ตั้งชีวิตอยู่ในความไม่ประมาท ต้องรู้จักเตรียมความพร้อมของตนเองทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา และรู้จักควบคุมอารมณ์ตนเอง พร้อมรับมืิอกับทุกปัญหาที่เจอ พร้อมที่จะก้าวผ่านปัญหาต่างๆ อย่างมีสติ และสมเหตุสมผล และสิ่งที่สำคัญที่สุดเมื่อทำงานหนักต้องรู้จักแบ่งเวลาพักผ่่อนให้เพียงพอ เพื่อให้ร่างกายไม่เหนื่อยล้าจนเกินไป สมองจะได้ปลอดโปร่ง เพื่อสร้างพลังในการทำงานต่อไป

1. ความคิดเห็นจากบทเรียนผู้นำของ Mr. Nelson Mandela สามารถนำมาประยุกต์กับกระทรวงเกษตรฯ ได้อย่างไร

จาก 8 ประเด็นของความเป็นผู้นำของ Mandela สามารถแสดงความเห็นเพื่อนำมาประยุกต์กับกระทรวงเกษตรฯ ได้ในเรื่อง การเป็นผู้นำไม่ควรเน้นถูกหรือผิดแบบ 100 % แต่ควรแสวงหาทางออกที่พบกันครึ่งทาง มีการประนีประนอมที่เหมาะสม แต่รักษาหลักการไว้ และหาทางตกลงกันเพื่อให้ได้ Win-Win เพราะนโยบายกระทรวงเกษตรฯ ส่วนใหญ่ถูกกำหนดโดยเจ้าหน้าที่ซึ่งอยู่ส่วนกลาง ดังนั้น เมื่อทางเกษตรกรมีข้อเรียกร้องอะไร ผู้นำเช่น รมว.กระทรวงฯ ควรมีการรับฟังปัญหาอย่างสนใจ และมีการเจรจาไกล่เกลี่ยแบบให้ได้มาซึ่ง Win-Win นั่นคือ เกษตรกรได้ และภาครัฐก็ได้ และควรมีแนวทางในระยะยาว คือ การให้ผู้นำเกษตรกรมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายต่างๆ ที่เค้าเกี่ยวข้อง ควรรวบรวมรับฟังความคิดเห็นของ Stakeholder ทั้งหมดในการกำหนดและแก้ไขนโยบาย และผู้นำที่ดีควรต้องรู้จังหวะว่าตอนไหนควรจะ “พอ” และรู้จัก “ถอย” เช่น เมื่อเกิดปัญหาเกี่ยวกับเกษตรกร คณะผู้นำในกระทรวงเกษตรฯ ก็ควรรู้จักจังหวะว่าตอนไหนควรถอยเพื่อกลับไปรับฟังปัญหาที่เกิดขึ้น และพอ คือ รู้ว่าควรหยุดตรงไหน นโยบายอะไรที่ไม่เอื้อประโยชน์ต่อส่วนรวม โดยเฉพาะลูกค้าของกระทรวงเกษตรฯ คือ เกษตรกร ถ้าเกษตรกรไม่ได้อะไร หรือไม่มีอะไรดีขึ้น ควรปรับเปลี่ยนหรือแก้ไขนโยบายก็ควรทำ อย่าไปดื้อดึง

2. จากบทความเรื่อง บทเรียนจากกีฬา มีอะไรที่เป็นประโยชน์ที่จะสามารถนำมาปรับพฤติกรรมตนเองได้

จากการอ่านบทความเรื่อง บทเรียนกับกีฬาของอาจารย์จีระแล้ว ทำให้ได้ข้อคิดที่เป็นประโยชน์กับตนเองในเรื่องการดำเนินชีวิตและการทำงาน คือ ต้องใช้ Head หรือใช้สติปัญญาในการดำรงชีวิตอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะในช่วงที่ชีวิตเกิดวิกฤติ และควรหัดทำให้ Heart เป็นจิตใจที่นิ่งสงบ เพราะความสงบและสติจะทำให้เกิดปัญญา อย่างที่มีคนเคยกล่าวไว้ว่า “สติมาปัญญาเกิด” และเมื่อชีวิตเกิดปัญหาควรมี Guts หรือการแก้ปัญหาและอดทนอดกลั้น ควรมี EQ ในการร่วมแก้ไขปัญหา และสิ่งที่สำคัญที่สุดที่ต่อไปดิฉันต้องสร้างให้เกิดขึ้นให้ได้หลังจากอบรมกับอาจารย์ คือ การสร้างสรรค์แรงบันดาลใจให้ชีวิตมุ่งไปสู่ความสำเร็จ หรือ Execution ทำให้บรรลุผลสำเร็จ

สุปริญญา แก้วนนท์

เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

1. แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นความเป็นผู้นำของ Nelson Mandela และสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้อย่างไร

ตอบ จากที่ได้ศึกษาประเด็นความเป็นผู้นำของ Nalson Mandela ทั้ง 8 ข้อนั้น ทั้ง 8 ข้อเป็นแนวคิดที่ดีทุกข้อ แต่ข้อที่ดิฉัน เห็นว่าชอบ และคิดว่าสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับกระทรวงเกษตรฯ ได้เป็นอย่างดีคือ ข้อ 4 การรู้จักศัตรู เรียนรู้ว่าเขาชอบอะไรสิ่งใด เมื่อรบร้อยครั้งก็ชนะร้อยครั้ง ข้อ 5 อย่าปล่อยให้คู่ต่อสู้อยู่ห่างตัว คือ เราไม่จำเป็นต้องคบแต่กับคนที่เราชอบเท่านั้น เราสามารถทำความรู้จักและสนิทสนมกับคู่แข่งของเราได้ เพื่อจะได้รู้ความเคลื่อนไหวของเขาอยู่ตลอดเวลา และข้อ 7 คือ ไม่มีอะไรถูกหรือผิด 100% ต้องรู้จักยืดหยุ่น ประนีประนอม ยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น แชร์ความคิดเห็นกัน ซึ่งจะทำให้เราได้คำตอบในสิ่งที่ต้องการที่ดีที่สุด Win - Win

2. บทเรียนจากกีฬา มีอะไรบ้างที่นำมาปรับใช้ได้

ตอบ จากการอ่าน blog บทเรียนจากกีฬา แล้วนั้น คิดว่าได้ประโยชน์สำหรับการนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันและการทำงานได้เป็นอย่างดี ทำให้ทราบถึงหลักในการทำงาน การปฏิบัติตน ต้องทำเช่นไร

1. Focus - คือ ต้องมีเป้าหมายในการทำงานและต้องมุ่งมั่นไปให้ถึงเป้าหมายที่เราตั้งไว้ อย่างมีวินัย ไม่ประมาทกับการดำเนินชีวิตเตรียมพร้อมรับกับสถานการณ์ต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นอย่างมีสติ เพราะเมื่อมีสติ ปัญญาก็เกิด ไม่ว่าจะเกิดปัญหาอะไรก็สามารถแก้ไขและตัดสินใจในเรืองต่างๆ ให้ผ่านลุล่วงไปได้อย่างไม่เกิดข้อผิดพลาดหรือเกิดข้อผิดพลาดให้น้อยที่สุด

2. ความสมดุลระหว่าง work/play จะต้องไม่มุ่งมั่นกับสิ่งๆ เดียว จนกระทั่งไม่สนใจสิ่งต่างๆ รอบตัว ต้องรู้จักการสร้างสมดุลระหว่างการทำงาน การพักผ่อน เพราะชีวิตเราไม่ได้มีแต่งานเท่านั้นที่สำคัญ คนรอบข้างไม่ว่าจะเป็นครอบครัว หรือเพื่อนก็ต้องให้ความสำคัญเช่นกัน ทุกอย่างล้วนเป็นปัจจัยสนับสนุนให้เราประสบความสำเร็จทั้งสิ้น เมื่อเราเช่นนี้ได้ เราก็จะทำงานได้อย่างมีความสุข

3. ความสมดุลทางร่างกาย (Physical Balance) คืด ต้องรู้จักปรับตัวให้เหมาะสม แม้ว่าเราจะต้องทำงานอย่างหนัก แต่ก็ต้องมีเวลาในการพักผ่อนร่างกายให้เพียงพอเช่นเดียวกัน เพราะหากร่างกายไม่ได้พักผ่อนก็จะทำให้การทำงานขาดประสิทธิภาพเช่นกัน

4. ความสมดุลทางจิตใจ (Spiritual Balance) คือ ต้องรู้จักปรับให้จิตใจของเราไม่ฝักใฝ่หรือหมกมุ่นกับสิ่งใดจนเกินไป

5. ความสมดุลของการแข่งขัน (Competitive Balance) คือ หากเรามีคู่แข่งที่เก่งก็อย่ากลัว เพราะยิ่งคู่แข่งเก่งเท่าไรก็จะเป้นตัวกระตุ้นให้เรามีความเพียรพยายามมากขึ้นเท่านั้น เพื่อไปสู่เป้าหมายให้ได้

6. ความสมดุลของอารมณ์ (Emotional Balance) การควบคุมอารมณ์จำเป็นอย่างยิ่งไม่ว่าเราจะทำอะไร ก็ต้องรู้จักการควบคุมอารมณ์ให้ดี เพราะหากควบคุมไม่ได้เต้นไปตามแรงยุ ก็จะมีแต่ทำให้ทุกอย่างพังไม่ประสบความสำเร็จ

นับจากวันจันทร์ ก็เป็น 3 วัน ที่ได้ร่วมอบรมในโครงการนี้ สิ่งแรกที่เปลี่ยนไปของตนเอง คือการใช้เวลาที่คุ้มค่ามากยิ่งขึ้น คงเพราะมีการบ้านของอาจารย์ที่ทำให้ต้องใช้เวลาที่เคยใช้ไปกับการดูทีวี นั่งคุยเล่น ไม่ทำอะไร เปลี่ยนมาเป็นการนั่งอ่านบทความและหนังสือของอาจารย์ เพื่อจะสรุปและวิเคราะห์สิ่งที่ได้ มาเป็นการบ้านในทุกๆวัน และสำหรับการบ้านในครั้งนี้ คือ อ่านบทความบทเรียนจากกีฬา แล้วมีอะไรที่เป็นประโยชน์ที่จะสามารถนำมาปรับพฤติกรรมตนเองได้บ้าง

Focus : คือการทำอะไรอย่างมุ่งมั่น เพื่อไปให้ถึงสู่เป้าหมายที่ตั้งใจไว้ และต้องสร้างแรงบันดาลใจให้กับตัเองให้ได้ พร้อมที่จะแก้ปัญหาและการตัดสินใจที่ต้องเผชิญ รวมทั้งต้องมีวินัยในการทำงาน เพื่อเป็นสิ่งที่ควบคุมให้ตนเองทำงานอย่างเป็นระบบ สำหรับตนเองคิดว่ายังขาดในเรื่องของการ FOCUS เป้าหมายของการทำงาน ที่ต้องปรับปรุงให้ดีขึ้นให้ได้

Balance Life : คือการใช้ชีวิตที่สมดุล ซึ่งก็ตรงตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และหลักคำสอนพระพุทธสาสนา ให้เราเดินทางสายกลาง อย่าทำอะไรมากเกินไป - น้อยเกินไป , ตึงเกินไป หย่อนเกินไป คิดให้ได้ว่าไม่มีอะไรถูก 100 % และก็ไม่มีอะไรผิด 100 % ฉะนั้นเราต้องปรับตัวให้เหมาะสมเพื่อต้องมีชีวิตที่ดีและมีความสุขที่ดำรงชีวิตอยู่ได้

เรียน ศ.ดร จีระ หงส์ลดารมภ์

1. อ่านบทเรียนจากกีฬา แล้วได้ประโยชน์อะไรที่สามารถนำมาปรับใช้กับพฤติกรรม ยกมา 2 ข้อ

(1) การสร้างสมดุลให้กับชีวิต (Balance Life) :

เมื่อได้อ่านบทความของอาจารย์ ทำให้นึกถึงคำ 2 คำ คือ การยึดติด กับ การปล่อยวาง เนื่องจากทุกสิ่งในโลกต้องเปลี่ยนไปตามกระแสของกาลเวลา จึงอย่ายึดติดอยู่กับอดีต ความคิดเดิมๆ และการใช้ชีวิตที่เคยชิน ต้องหัดเรียนรู้ที่จะปล่อยวาง หมายถึง ปลดปล่อยหรือทิ้งจากสิ่งที่เคยยึดติด แล้วกล้าเผชิญต่อการเปลี่ยนแปลง “change before you are force to change” สร้างสรรค์ แต่งแต้มสิ่งใหม่ๆ ให้กับชีวิต แต่ยังต้องยึดติดอยู่กับหลักการและความดี เพื่อเป็นกรอบไม่ให้ชีวิตล่องลอยอย่างไร้จุดหมาย

(2) Tiger “กีฬา ไม่ใช่ดูเฉยๆ เท่านั้น ควรจะวิเคราะห์ด้วย”

เช่นเดียวกับการได้เข้าร่วมฝึกอบรม หรือ ฟังสัมมนา ในเมื่อได้รับโอกาส ก็ควรใช้โอกาสให้เกิดประโยชน์สูงสุด อย่าคิดเพียงว่ามาเพราะถูกสั่งให้มา ในเมื่อผู้ฝึกอบรมตั้งใจนำความรู้มาสอน เราเองก็ควรตั้งใจเรียนรู้ คิดตาม และทบทวน เพื่อนำความรู้มาวิเคราะห์และประยุกต์ใช้กับงานให้ได้มากที่สุด

2. 8 บทเรียนของ Mandela ที่จะนำมาประยุกต์ใช้กับกระทรวงฯ

การที่จะพาองค์กรให้ขับเคลื่อนไปอย่างก้าวกระโดดให้ทันต่อกระแสโลกาภิวัฒน์ บางครั้งจำเป็นต้องเรียนรู้จากประสบการณ์ แนวความคิด กลยุทธ์ของประเทศคู่แข่งทางการค้า ที่ถือว่าเป็นผู้นำทางการตลาด “รู้เค้า รู้เรา” เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการวางแผนนโยบายทั้งเชิงรับและรุก ที่สำคัญพยามยามปรับเปลี่ยนจากศัตรูหรือคู่แข่งทางการให้เป็นมิตร เพื่อสร้างโอกาสในการขยายฐานทางการค้าในอนาคต

สุภัค วงศ์วิวัฒน์ไชย

เรียน อาจารย์ ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์

จากการได้อ่านบทเรียนจากกีฬาตามที่อาจารย์ได้กรุณาแนะนำให้อ่านแล้ว ทำให้ได้ทราบถึงประโยชน์หลายๆด้านที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับตนเองได้ และแนวทางที่น่าสนใจสำหรับตนเอง คือ

1.การควบคุมอารมณ์ เพราะคิดว่าในสถานการณ์ทุกอย่างไม่ว่าคุณจะเป็นใคร จะเป็นนักกีฬา จะเป็นผู้บริหาร เป็นลูกน้อง ฯลฯ การควบคุมอารมณ์เป็นสิ่งจำเป็นสิ่งแรกที่จะใช้แก้ปัญหา หรือจัดการเรื่องต่างๆได้ เพราะหากเราควบคุมอารมณ์ได้ สติและปัญญาก็จะเกิด สิ่งที่คิดหรือกระทำจะมีความรอบคอบมากขึ้น ความผิดพลาดจะน้อยลงหรือไม่มีเลยหากเรามองไปได้ถึงปัญหาและวางแผนแก้ไขไว้ด้วย นอกจากนั้นการควบคุมอารมณ์ของตนเองได้ ยังทำให้เราดูสง่างามและน่านับถือด้วย

2.การใช้สติปัญญาในการแก้วิกฤติ เนื่องจากแนวคิดนี้ตรงกับคำสอนทางพุทธศาสนาที่ว่า สติมาปัญญาเกิด สติเตลิดก็เกิดปัญหา ดังนั้นคำว่าสติกับปัญญามักจะพูดคู่กันเสมอ ซึ่งแนวคิดนี้ ต่อเนื่องจากแนวคิดที่เลือกไว้ข้อแรก คือเมื่อเกิดปัญหา/วิกฤต ต้องควบคุมอารมณ์ให้ได้ก่อน สิ่งที่ตามมา คือ สติปัญญา เมื่อใช้สองแนวทางร่วมกัน ทุกอย่างก็จะลุล่วงไปได้ ไม่ว่าปัญหาหรือวิกฤต

ผ่านไป 3 วันสำหรับการฝึกอบรมและความรู้ทีได้รับอย่างมหาศาล ขอบคุณหักสูตรดีๆ เช่นนี้

จากที่ได้อ่านคอลัมภ์บทเรียนจากกีฬา ประทับใจความเห็นเกี่ยวกับไทเกอร์วูด และสามารถนำมาเป็น ideal ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและได้กับการทำงาน ณ ปัจจุบัน ในทุกประเด็นที่อาจารย์นำเสนอ ตั้งแต่การมีความมุ่งมั่นเพื่อที่จะไปให้ถึงเป้าหมาย เป้าหมายของเราคือ ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของเกษตรกร โดยการทำงานนั้นต้องสร้างบรรยากาศที่ทำให้เกิดแรงบันดาลใจที่สูง การข่งขันทางความคิดที่จะให้เกษตรกรมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยการทำงานต้องมีการเตรียมพร้อม ที่สำคัญคือ วินัย เป็นการทำงานอย่างมุ่งมั่น ทุ่มเทให้กับานที่ทำ กับเป้าหมายที่เราวางไว้

นอกจากนั้นแล้วเรายังต้องมีสมดุลในชีวิต ไม่ใช่ทำงานจนลืมสมดุลด้านอื่นๆ ไป ต้องบริหารเวลาเราให้เป็น ให้มีประสิทธิภาพ ทั้งกับร่างกาย จิตใจ ครอบครัว และสังคม ที่สำคัญที่สุดอย่าหยุดป้าหมายไว้เพียงเท่านั้น ฝันถึงเป้าหมายที่สูงขึ้นไปอีก ฝันให้ไกลแล้วไปให้ถึง ความสำเร็จคงอยู่ในมือไม่ยาก

นอกจากประเด็นไทเกอร์วูด ยังมีประเด็นที่น่าสนใจในคอลัมภ์นี้อีกมหาศาล ทั้งความสำคัญของการกีฬา และที่สำคัญความแตกต่างด้านศาสตร์ ไม่ได้เป็นอุปสรรคในการเรียนรู้อีกด้านเลย ทั้งๆ ที่อาจารย์เป็นสาสตราจารย์ ทางเศรษฐศาสตร์ เป็นกูรูทางการบิรหารทรัพากรมนุษย์แล้ว ยังเป็นผู้ที่มองไกลและสนใจในทุกเรื่อง มีความรู้ในด้านกีฬาอย่างน่าพิศวง ทำให้เห็นว่าคนเราไม่มี limit สามารถเป็นอะไรก็ได้เท่าที่เราอยากเป็น

ส่วนบทเรียนจากผู้นำที่ยิ่งใหญ่ Mandela ประเด็นความเป็นผู้นำที่กระทรวงเกษตรสามารถนำมาปรับใช้ เรียกได้ว่า แทบจะทุกข้อ แต่ที่น่าสนใจ คือความกล้าหาญ ที่จะจุดประกายความเป็นเลิศ กล้าที่จะเปลี่ยนเพื่อเกษตรกรที่มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และต้องเป็นผู้ที่นำที่ข้างหน้ากล้าท้ากล้าลุยกับฝ่ายการเมือง ในขณะที่ไม่ลืมลูกน้องที่อยูข้างหลังพร้อมที่จะส่งเสริม และผลักดันคนเก่ง คนดี ให้เป็นผู้นำรุ่นต่อไปได้ตลอดเวลา และที่สำคัญควรเป็นผู้นำที่มีเสน่ห์และร่ำรวยรอยยิ้มด้วย

เรียน อาจารย์จีระที่เครพ

หลังจากที่ได้อ่านบทเรียนผู้นำของ Mandela คิดว่ามีประโยชน์สามารถนำมาปรับใช้ได้ทุกข้อ ตั้งแต่ ความกล้าหาญ การนำที่ต้องระวังแนวหลัง การนำอยู่ข้างหลังที่ต้องให้ผู้ที่อยู่ข้างหน้ามีความภูมิใจ การใกล้ชิดกับศัตรูหรือคู่แข่ง เพื่อที่จะทราบและบริหารจัดการได้อย่างถูกต้อง ผู้นำต้องมีภาพลักษณ์ที่ดี การหาข้อตกลงแบบ win-win การรู้จังหวะรุกจังหวะถอย แต่หลักทั้ง 8 ข้อนี้ ข้อที่ยังไม่เคยใช้เลย คือ การใกล้ชิดกับคู่แข่งหรือศัตรู ต่อไปจะใช้หลักนี้เพิ่มขึ้นเพราะเป็นหลักที่ดี ถึงแม้จะขัดความรู้สึกบ้างแต่จะทำให้เราทราบข้อมูลมากขึ้นและรวดเร็วมากขึ้น

สำหรับด้านการเมือง คิดว่าประชาชนต้องเข้ามาสนใจการเมืองมากขึ้นทั้งติดตามข้อมูล ข่าวสารและการเข้าไปมีส่วนร่วมตามศักยภาพ กำลัง หน้าที่ ของตนเอง คนที่มีศักยภาพ หรือมีหน้าที่มากกว่า อาจจะต้องมีส่วนช่วยมากกว่า เพราะชาวบ้าน ชาวไร่ชาวนาที่เขาไม่รู้ไม่เข้าใจ แต่เขาก็มีสิทธิ์ในการลงคะแนน 1 เสียงเหมือนกัน ก็อาจจะส่งผลดีหรือผลเสียกับสังคมโดยรวมได้ ถ้าเขาไม่รู้ เห็นกงจักรเป็นดอกบัว ถ้าเขาขายเสียง เลือกคนโกงมาบริหารบ้านเมือง คนที่มีความรู้ มีคุณธรรม ต้องช่วยกันผลักดันให้ประเทศชาติ สังคม ดีขึ้นให้ได้

สำหรับบทเรียนจากกีฬา สามารถนำไปปรับใช้ได้ คือ ต้องพยายาม work smart คือ มีความสมดุลระหว่างการทำงาน ตนเอง ครอบครัว แต่ที่ยังไม่เห็น คือ สังคม ซึ่งเราอาจจะไม่ทราบก็ได้ การเป็นลูกครึ่งไทย มีส่วนช่วยประเทศไทยอย่างไรบ้าง การจะนำเขามาประชาสัมพันธ์ทางกีฬาให้กับประเทศไทย เขามีส่วนลดค่าจ้างให้เราบ้างหรือไม่ ถ้าไม่ หรือเขาไม่ได้ให้ความสำคัญกับประเทศไทย ก็ยังมีคนอื่นที่สามารถประชาสัมพันธ์ให้เราได้

ธีรารัตน์ สมพงษ์

จุฑามาศ สังข์อุดม

1. แนวคิดของ Nelson Mandela ที่จะมาประยุกต์ใช้กับการเกษตร ได้แก่

"อย่าไปเน้นถูกหรือผิดแบบ 100% บางครั้งเราต้องมีทางออกที่พบกันครึ่งทาง มีการประนีประนอมที่เหมาะสม แต่รักษาหลักการไว้ และหาทางตกลงกันได้แบบ win-win" ภายใต้วิกฤตอาหารและพลังงานของโลก ซึ่งประเทศไทยไม่ได้ขาดแคลนอาหารแต่มีโอกาสที่จะส่งออกเพิ่ม แต่ในอีกทางหนึ่งประเทศไทยได้รับผลกระทบอย่างแรงในเรื่องราคาน้ำมัน ซึ่งเป็นต้นทุนส่วนใหญ่ในการผลิตสินค้าและบริการ จึงได้มีการคิดที่จะส่งเสริมการปลูกพืชพลังงงานทดแทน ซึ่งบางคนก็กลัวว่ามันจะกระทบต่อการผลิตอาหาร จะทำให้ขาดแคลนอาหาร ราคาสินค้าจะสูงขึ้น แต่ดิฉันคิดว่าทุกอย่างมันขึ้นอยู่กับการวางแผน และการบริหารจัดการที่จะทำให้เกิด win-win situation ได้ในเรื่องของอาหารและพลังงานทดแทน เราต้องมีการคาดคะเนความต้องการในอนาคต เพื่อจะมากำหนดเป้าหมายในการผลิตเพื่อตอบสนองอย่างมีความเหมาะสมทั้งในภาคของอาหาร และพลังงาน

"การเป็นผู้นำอยู่ข้างหน้า ก็จำเป็น แต่อย่าเปิดแนวหลังให้มีความอ่อนแอ" เช่น ในกรณีการส่งออกสินค้าเกษตรที่ไทยเป็นผู้ส่งออกได้รายใหญ่ เช่น ข้าว มันสำปะหลัง ฯลฯ อย่าประมาทว่าเราส่งออกได้มากเป็นอันดับต้นๆ เก่งแล้ว จะต้องมีการปรับปรุงประสิทธิภาพในการผลิต และสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ให้เกิดขึ้น เนื่องจากการเพิ่มผลผลิต คู่แข่งใช้เวลาไม่นานก็ตามเราทันได้ แต่เรื่องนวัตกรรมมันต้องใช้เวลา ซึ่งจะทำให้คู่แข่งตามเราไม่ทัน และมันเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าของเราด้วย

2. บทเรียนจากกีฬา ที่อ่านแล้วได้ประโยชน์และที่จะนำมาปรับพฤติกรรม มี 2 เรื่อง ดังนี้

1) การมีชีวิตที่สมดุล ซึ่งเน้นใน 4 เรื่อง ได้แก่

- physical balance อย่าบ้างานมากจนเกินไป ต้องแบ่งเวลาสำหรับการพักผ่อนให้เพียงพอ ร่างกายของเราก็เหมือนกับนาฬิกาชีวิต ซึ่งการทำงานของอวัยวะภายในของเราเป็นเสมือนแบตเตอรี่ ที่จะส่งผลต่ออายุการใช้งานของนาฬิกาชีวิตนี้ การพักผ่อนที่เพียงพอจะเป็นเสมือนการชาร์จแบตเตอรี่เพื่อให้อวัยวะภายในได้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ และมีพลังที่จะทำให้นาฬิกาชีวิตเดินต่อไปได้นาน

- spiritual balance หลังจากที่เราต้องเผชิญกับเรื่องวุ่นวายมาทั้งวัน กลับมาบ้านเราก็ต้องมาอาบนำชำระล้างร่างกายให้สะอาดจึงจะรู้สึกสบายตัว จิตใจก็เช่นเดียวกัน หลังจากที่ผ่านความวุ่นวายมาทั้งวันแล้ว เราก็ควรจะชำระล้างจิตใจ โดยการทำสมาธิ หรือ โยคะก็ได้ เพื่อปล่อยวางเรื่องต่างๆ ให้ใจว่าง กำหนดลมหายใจเข้าออก หายใจเข้าท้องพอง หายใจออกท้องยุบ เมื่อจิตใจสะอาด สบายแล้ว จะส่งผลให้ร่างกายดีไปด้วย ซึ่งจะทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานเพิ่มขึ้น สมดุลย์นี้ยังส่งผลต่อสมดุลย์ต่อไปด้วย คือ สมดุลย์ทางอารมณ์

- Emotional Balance การฝึกฝนชำระล้างจิตใจอยู่เสมอ จะทำให้เรามีสติ รู้เท่าทันอารมณ์ ทำให้เราสามารถควบคุมอารมณ์ได้ดี

- Competitive Balance การมีคู่แข่ง เป็นตัวกระตุ้นให้เราต้องพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ การแข่งขันเป็นสิ่งที่ดี ถ้าคนในประเทศมีการแข่งขันกันสูง ประเทศก็จะยิ่งพัฒนา แต่จะต้องมีน้ำใจเป็นนักกีฬา และชัยชนะที่ได้มาต้องเป็นชัยชนะที่ขาวสะอาด

2)การทำงานต้องทำอย่างมีความสุข

เมื่อเรารักที่จะทำงานนี้ เราก็จะมีความมุ่งมั่นต้องการที่จะทำให้สำเร็จ ซึ่งจะต้องอาศัยการฝึกฝน การฝึกฝนทำให้เกิดประสบการณ์ การฝึกฝนทำให้เกิดความมั่นใจ ทำให้เกิดความพร้อมในการแก้ไขปัญหาและกล้าตัดสินใจ เนื่องจากเราต้องใช้เวลาอยู่ในที่ทำงานอย่างน้อยๆ 8 ชม./วัน จึงควรจะช่วยกันสร้างบรรยากาศในที่ทำงานให้เอื้อต่อการทำงานอย่างมีความสุข นอกจากนี้อย่าบ้างานอย่างเดียว ต้องรู้จักแบ่งเวลาให้กับครอบครัว สังคม เพื่อนฝูง ดูแลสุขภาพ และออกกำลังกายบ้าง เพราะจะทำให้ร่างกายแข็งแรง และไม่เจ็บป่วยง่าย นอกจากจะทำให้มีพลังในการทำงานเต็มประสิทธิภาพแล้ว ยังช่วยรัฐประหยัดงบประมาณในเรื่องของค่ารักษาพยาบาลได้ด้วย

จิรจิตต์ ตั้งภากรณ์

เรียน อ.ดร.จีระ

1.แนวคิดของ Nelson Mandela

มีความสามารถในการพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส รู้จังหวะของเวลา รู้เวลาว่าควรเดินหน้า หรือ ถอยตั้งรับ การอยู่ในคุก 27 ปี ถือเป็นการหาข้อมูลพัฒนาตน ให้รู้เขารู้เรา รู้จักว่าจังหวะไหนควรทำอย่างไร แล้วจึงใช้คุณสมบัติที่สำคัญของผู้นำคือ แบบ win win ทำให้บรรลุเป้าหมายการปรองดองของชาวผิวขาวและผิวดำให้ระยะยาว

2.ประโยชน์จากการได้เรียนรู้จากบทความจากกีฬา

1) การจะทำอะไรให้มุ่งมั่นไปให้สู่เป้าหมาย หมายความว่าจะทำอะไรเราต้องมีเป้าหมาย เพื่อที่จะมีทิศทาง หาแรงผลักดัน หาสิ่งสนับสนุน การเป้าบรรลุเป้าหมาย จึงไม่ยาก

2) การทำงานจะต้องเกิดความสมดุลในชีวิต มีชีวิตที่มีความสุขและยั่งยืน หมายความว่าจะทำงานต้องสนุกกับงานทำแล้วมีความสุข มีสุขภาพร่างกาย และสุขภาพจิตที่ดี ไม่ควรเน้นเฉพาะเรื่องเงิน รายได้ แต่จะต้องมีสมดุลในชีวิต ชีวิตจึงจะมีความสุข

เรียน อาจารย์จีระ

ได้อ่านบทเรียนจากกีฬาของอาจารย์ แล้วเกิดความประหลาดใจว่าอาจารย์สามารถยกตัวอย่างTiger ได้เหมาะสมมาก ส่วนตัวชอบบุคลิกของTiger อยู่แล้ว ภูมิใจที่แกเป็นลูกครึ่งไทย แต่เสียใจที่แกไม่ค่อยให้ความสนใจประเทศไทยสักเท่าไหร่ แต่โดยรวมถือเป็นต้นแบบที่ดีสำหรับเยาวชนที่แกมีความทะเยอทะยาน แม้เป็นคนผิวดำ คนผิวชาวต้องยอมรับ

สิ่งที่นำไปปรับพฤติกรรมของตนเองคือ

1. ความสมดุลของชีวิต คือ Tiger มีความมุ่งมั่นในการฝึกซ้อมอย่างหนัก แต่ก็ไม่ละเลยที่จะผ่อนคลายโดยการพักผ่อน หาความสุขอยู่กับครอบครัว เปรียบร่างกายเหมือนเครื่องยนต์ ถ้าไม่หยุดตรวจสภาพเครื่องยนต์บ้าง ถ้าพังก็จะไม่สามารถแก้ไขอะไรได้

2. การควบคุมอารมณ์ Tiger มีบุคลิกที่นิ่งมาก ไม่เหมือนนักกีฬาบางคนที่เวลาอยู่ในเกมส์เล่นไม่ได้ดังใจ ก็จะออกอาการขว้างปาไม้เทนนิสบ้าง ชกต่อยคู่ต่อสู้ Tiger จะมีสมาธิตลอดเวลา พร้อมที่จะเผชิญสถานการณ์ที่ไม่คาดคิด รู้จักคิดแก้ปัญหาได้ดี จึงสามารถรักษาอันดับของตัวเองไว้ได้ จะนำข้อนี้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน ต้องรู้จักนิ่งเพื่อฟังแล้วคิด มองโลกในแง่ดี

สุภัค วงศ์วิวัฒน์ไชย

เรียน ศ.ดร จีระ หงส์ลดารมภ์

1. ให้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นความเป็นผู้นำของ Nelson Mandela และสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้อย่างไร

ตอบ แนวทางของ Mandela ที่คิดว่าจะนำมาประยุกต์ใช้กับกระทรวงเกษตรฯได้ น่าจะเป็น ข้ออ 5 คือการใกล้ชิดกับศัตรู/คู่แข่ง เพราะแนวทางของเขาขัดกับความรู้สึกพื้นฐานของมนุษย์ปกติ ที่มักจะผลักไสสิ่งที่เกลียดไว้ไกลตัว แต่แนวทางนี้สอนให้เราต้องรู้จัก เรียนรู้ทั้งมิตร และศัตรู สอนให้ รู้เขารู้เรา เมื่อทำตามแนวทางนี้ได้แล้ว ข้อที่ต่อเนื่องคือ ข้อ 7 เพราะเราสามารถใช้ข้อมูลของศัตรูหรือคู่แข่ง มาใช้ในการตัดสินใจในการบริหารคู่แข่ง โดยรู้ว่าต้องประณีประนอมได้แค่ไหน คู่แข่งมีอะไร เรามีอะไร การพบกันครึ่งทางที่สร้างประโยชน์ทั้ง 2 ฝ่ายคืออะไร คู่แข่งก็ไม่กล้าข่มเรา และเราก็ไม่แสดงการข่มคู่แข่ง ต้องมองว่าโลกนี้ไม่ได้มีแค่ ขาวกับดำ แต่ยังมีสีเทาด้วย

เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

1)จากแนวคิดของ Nelson Mandela

สิ่งสำคัญในประเด็นความเป็นผู้นำของ Mandela ทุกประเด็นล้วนสำคัญเพราะถ้าผู้นำคนไหนสามารถปฏิบัติตัวตามทั้งหมดต้องเป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่ และเป็นที่ยอมรับของทั้งลูกน้องและบุคคลภายนอก แต่สิ่งสำคัญประการหนึ่งที่ผู้นำทุกคนควรมีคือความกล้าหาญ ซึ่งเป็นบุคลิกที่สำคัญของผู้นำเพราะนอกจากความกล้าหาญในการกล้าคิดกล้าตัดสินใจแล้วความกล้าหาญนี้ยังสามารถที่จะจุดประกายให้คนอื่นสามารถไปสู่เป้าหมายได้ ดังนั้นความกล้าหาญจึงเป็นประเด็นสำคัญอันดับต้นๆ ของผู้นำและเป็นส่วนหนึ่งของภาพลักษณ์ที่ของผู้นำตามมา และสิ่งสำคัญตามมาคือการบริหารศัตรูและแนวความคิดแบบ

2)บทเรียนจากกีฬา

การกระทำที่มุ่งมั่นไปสู่เป้าหมายโดยอาจารย์พยายามยกตัวออย่างของไทยเกอร์ ที่มีความมุ่งมั่นและ Focus ไปสู่งเป้าหมาย โดยจะเล่นในเกมที่ทำให้เขาสามารถกระตุ้นและตั้งใจที่จะให้ได้ชัยชนะจนเกิดการมีวินัยในการทำงาน ซึ่งก็คือการฝึกซ้อมอย่างมีวินัย ซึ่งเหล่านี้เป็นตัวอย่างทำให้คนเราสามารถมีวินัยในการควบคุมตนเอง ดังนั้นในการทำงานใดก็ตามหรือการใช้ชีวิตของเราจะต้องมี Focus ไปยังเป้าหมายและต้องมีวินัยในการควบคุมตนเองก็จะทำให้การทำงานประสบผลสำเร็จ

เรียน อ.จีระ

จากการติดตามอ่านข่าวที่อาจารย์เขียน ใน 2 ประเด็น คือทางสยามกีฬาและเกี่ยวกับผู้นำ ที่สง่างาม mandela มีแนวคิดที่สนใจ

จากที่ได้อ่านคอลัมภ์บทเรียนจากกีฬา ประทับใจความเห็นเกี่ยวกับไทเกอร์วูด และสามารถนำมาเป็น ideal ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและได้กับการทำงาน ณ ปัจจุบัน ในทุกประเด็นที่อาจารย์นำเสนอ ตั้งแต่การมีความมุ่งมั่นเพื่อที่จะไปให้ถึงเป้าหมาย เป้าหมายของเราคือ ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของเกษตรกร โดยการทำงานนั้นต้องสร้างบรรยากาศที่ทำให้เกิดแรงบันดาลใจที่สูง การข่งขันทางความคิดที่จะให้เกษตรกรมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยการทำงานต้องมีการเตรียมพร้อม ที่สำคัญคือ วินัย เป็นการทำงานอย่างมุ่งมั่น ทุ่มเทให้กับานที่ทำ กับเป้าหมายที่เราวางไว้

นอกจากนั้นแล้วเรายังต้องมีสมดุลในชีวิต ไม่ใช่ทำงานจนลืมสมดุลด้านอื่นๆ ไป ต้องบริหารเวลาเราให้เป็น ให้มีประสิทธิภาพ ทั้งกับร่างกาย จิตใจ ครอบครัว และสังคม ที่สำคัญที่สุดอย่าหยุดป้าหมายไว้เพียงเท่านั้น ฝันถึงเป้าหมายที่สูงขึ้นไปอีก ฝันให้ไกลแล้วไปให้ถึง ความสำเร็จคงอยู่ในมือไม่ยาก

นอกจากประเด็นไทเกอร์วูด ยังมีประเด็นที่น่าสนใจในคอลัมภ์นี้อีกมหาศาล ทั้งความสำคัญของการกีฬา และที่สำคัญความแตกต่างด้านศาสตร์ ไม่ได้เป็นอุปสรรคในการเรียนรู้อีกด้านเลย ทั้งๆ ที่อาจารย์เป็นสาสตราจารย์ ทางเศรษฐศาสตร์ เป็นกูรูทางการบิรหารทรัพากรมนุษย์แล้ว ยังเป็นผู้ที่มองไกลและสนใจในทุกเรื่อง มีความรู้ในด้านกีฬาอย่างน่าพิศวง ทำให้เห็นว่าคนเราไม่มี limit สามารถเป็นอะไรก็ได้เท่าที่เราอยากเป็น

ส่วนบทเรียนจากผู้นำที่ยิ่งใหญ่ Mandela ประเด็นความเป็นผู้นำที่กระทรวงเกษตรสามารถนำมาปรับใช้ เรียกได้ว่า แทบจะทุกข้อ แต่ที่น่าสนใจ คือความกล้าหาญ ที่จะจุดประกายความเป็นเลิศ กล้าที่จะเปลี่ยนเพื่อเกษตรกรที่มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และต้องเป็นผู้ที่นำที่ข้างหน้ากล้าท้ากล้าลุยกับฝ่ายการเมือง ในขณะที่ไม่ลืมลูกน้องที่อยูข้างหลังพร้อมที่จะส่งเสริม และผลักดันคนเก่ง คนดี ให้เป็นผู้นำรุ่นต่อไปได้ตลอดเวลา และที่สำคัญควรเป็นผู้นำที่มีเสน่ห์และร่ำรวยรอยยิ้มด้วย

เรียน อ.จีระ ที่เคารพ

1. บทความในเรื่อง “8 บทเรียนผู้นำของMandela” ทุกประเด็นผู้นำควรจะนำมาประยุกต์ใช้โดยผู้นำจะต้องไม่ยึดติดกับวิธีการใด โดยนำมาใช้ร่วมกันเป็นแบบผสมผสานสามาถรนำมาปรับใช้ได้ขึ้นกับสถานการณ์ ลักษณะของผู้นำควรมีภาพลักษณ์ที่ดีทั้งภายนอกและภายใน มีความโปร่งใสทั้งเบื้งหน้าและเบื้องหลัง มีวิสัยทัศน์ รอบรู้ มีความกล้าหาญเด็ดเดี่ยวในการตัดสินใจและเผชิญความจริง รู้จังหวะรุก รู้จังหวะรับ รู้เขารู้เรา โดยนำเอาประเด็นเหล่านี้มาใช้พัฒนาคนในภาคการเกษตรให้คน 2 กลุ่มเป้าหมาย

เป้าหมายที่ 1 คนในองค์กร ต้องพัฒนาคนในองค์กรให้มีศักยภาพ มีประสิทธิภาพ ฝึกฝนคนในองค์กรให้เก่ง ให้มีคุณธรรม ให้แรงบันดาลใจ มีการส่งเสริมผลักดัน กระตุ้น สร้างแรงจูงใจ ให้คนรักองค์กร เพื่อให้คนในองค์กรมีทัศนคติที่ดีต่อเพื่อนร่วมงาน

เป้าหมายที่ 2 เกษตรกร เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นนักผลิต มีความสามารถผลิตสินค้าเกษตร แต่เกษตรกรมีความอ่อนแอในเรื่องการตลาดซึ่งต้องอาศัยให้ภาครัฐเป็นผู้ให้การช่วยเหลือในเรื่องของการแข่งขันการส่งออก การปรับปรุงประสิทธิภาพในการผลิต เน้นการผลิตให้สินค้ามีคุณภาพต่อการส่งออก การพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกรให้มีความเป็นอยู่ดีขึ้น โดยให้เกษตรกรสามารถพึ่งพาตนเองได้ โดยนำเอาแนวคิด ค่านิยม ภูมิปัญญา การทำเกษตรแบบผสมผสาน นำปราชญ์ชาวบ้านมาประยุกต์ใช้ เพื่อเป็นการทำอาชีพเกษตรให้ยั่งยืนแบบเศรษฐกิจพอเพียง

2. “บทเรียนจากกีฬา” ที่ต้องนำมาปรับใช้กับพฤติกรรมของตนเอง การใช้ชีวิตที่มีความสมดุล balance Life เป็นปรัชญาที่นำมาใช้ได้ทุกด้านในการดำเนินชีวิต และการทำงาน ให้ทราบถึงการที่จะเราจะทำอะไรจะต้องเตรียมความพร้อมในด้านร่างกายและจิตใจ พร้อมที่จะปรับเปลี่ยนหรือการพัฒนาตนเองได้อย่างไม่มีขีดจำกัด ชีวิตคนในการดำเนินชีวิต ในการทำงานไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ อาจจะมีปัญหาและอุปสรรคเกิดความกดดัน ความโกรธความเสียใจ หรือความเครียด เราต้องมีความควบคุมอารมณ์กับสิ่งเหล่านี้ได้ การใช้แนวคิดของ kearns เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหา เพราะปัญหาทุกอย่างที่เกิดขึ้น ต้องมีสติในการแก้ไขปัญหา มีจิตใจที่แน่วแน่เด็ดเดี่ยวและรอบคอบ เพราะปัญหาทุกอย่างแก้ไขได้ แต่ต้องอาศัยเวลาและ EQ ใช้ความพยายามอดทนอดกลั่นเพื่อให้มีความสำเร็จ

กรรณิกา บุญชิต [email protected]

เรียนท่านอาจาย์ ศ.ดร.จิระ

ขอตอบการบ้าน เรื่อง “8 บทเรียนผู้นำของMandela” สิ่งที่ควรจะนำมาปรับใช้คือ การเป็นผู้นำอยู่ข้างหน้า ก็จำเป็น แต่อย่าเปิดแนวหลังให้มีความอ่อนแอ คือ ผู้นำ เป็นผู้ที่มีความรู้ ความกล้า มีความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม ภาพลักษณ์ที่ดี ฯลฯ ผู้ตามหรือทีมงานก็จะต้องเป็นเช่นนั้นหรือเข้มแข็งกว่า การที่จะทำให้ผู้ตามหรือทีมงานเป็นเช่นนั้นหรือเข้มแข็ง จะต้องได้รับการส่งเสริมสนับสนุนจากผู้นำโดยการพัฒนาการฝึกอบรม ทำบ่อยๆพัฒนาให้เกิดทักษะ ทำงานร่วมกันแบบประนีประนอม เกิดการยอมรับซึ่งกันและกัน ตกลงกันได้แบบ win win ดังนั้น เมื่อมีผู้นำที่ดีบวกกับทีมงานที่เข้มแข็ง งานที่ทำจะประสบผลสำเร็จได้อย่างง่ายดายส่งผลให้องค์กรก้าวหน้า

ขอตอบการบ้าน เรื่อง บทเรียนจากกีฬา สิ่งที่จะนำมาปรับใช้กับตัวเอง

ข้อที่ 1 คือ ความสมดุลในชีวิตระหว่าง work/play เมื่อเวลาทำงานก็ทำงานอย่างมุ่งมั่นและจริงจัง เป้าหมายคือความสำเร็จของงาน และทำงานอย่างมีความสุข นอกเวลาทำงานให้มีครอบครัว สังคมและเพื่อนๆ พูดคุยสื่อสารกันอย่างสม่ำเสมอ จะทำให้เราได้รับทราบถึงแนวคิดที่แตกต่าง เติมพลังให้ตัวเองโดยการไปท่องเที่ยวบ้าง และหาเวลาออกกำลังกายเพื่อให้มีสุขภาพที่แข็งแรง ปลดปล่อยความเครียด เพื่อกลับมาสู้กับงานและคิดงานอย่างสร้างสรรค์ได้อีกครั้ง

ข้อที่ 2 คือ ไม่จำกัดเป้าหมาย โดยทำและคิดในสิ่งที่ดีกว่าเสมอ เพื่อให้เป็นแรงผลักให้เรามุ่งมั่นที่จะไปสู่เป้าหมายต่อๆ ไป(ฝันให้ไกลแล้วไปให้ถึง)

ปวริศา ศิริกุล [email protected]

เรียน อาจารย์ ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์

บทเรียนจากกีฬา

Inspiration เป็นแรงบันดาลใจที่จะทำในสิ่งที่มุ่งหวังประสบความสำเร็จอย่างงดงาม แต่เส้นทางสู่ความหวังหรือความฝันเราจะประมาทไม่ได้เลย เราจึงต้องพร้อมที่จะรับมือกับปัญหาหรืออุปสรรคที่จะเกิดขึ้น ความพร้อมที่ว่านี้คือ ความสมดุลทางชีวิตโดยใช้สติปัญญา : IQ & EQ แก้ปัญหาให้ผ่านพ้นไปได้อย่างชาญฉลาด

สำหรับเรื่องหนึ่งที่อาจารย์เน้นวินัยกับกีฬา “วินัยในการควบคุมตนเองให้รู้จักรักและให้เวลากับการออกกำลังกายเพื่อให้มีพลังร่างกายที่แข็งแรง” เท่ากับเป็นการเปิดโลกทัศน์ยกกำลังสองให้กับอีกหลาย ๆ คนที่ 1. คิดว่ายัง “ไม่มีเวลาพอ” และ 2. กลุ่มที่ยังขาดโลกทัศน์ทางด้านกีฬา ซึ่งถือว่ามีความคุ้มค่าอย่างมากกับความหลายหลายและความรอบรู้ที่เพิ่มขึ้น

ความคิดเห็นจากบทเรียนผู้นำของ Mr. Nelson Mandela

ขอเชื่อมโยงจากบทความเรียนรู้ "สถานการณ์สร้างผู้นำ & ประเด็นของ Mandela ดังนี้คือ เหตุของการที่จะทำให้เกิดผู้นำเชิงสถานการณ์เกิดจากหลากหลายปัจจัยซึ่งอาจเป็นภาวะกดดัน บีบคั้น หรือวิกฤตการณ์ ไม่ว่าจะดีหรือร้าย โดยผู้นำคนนั้น ๆ มีความกล้าที่จะรับผิดชอบในวิกฤติการณ์เหล่านั้นให้ผ่านพ้นไปได้ จากที่ Mandela

กล่าวว่า ความกลัวนั้นมีทุกคน แต่เมื่อถามว่าถ้าไม่กล้าแล้วประเทศชาติ หรือองค์กรอาจจะพบกับทางตันได้ในที่สุด จึงต้องมีผู้กล้าที่จะแสดงตัว ใช้สัญชาติญาณจากความกลัวปกป้อง ออกมาเผชิญกับปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ ให้ประเทศชาติและองค์กรอยู่รอดต่อไป ซึ่งนั่นก็คือ ถึงเวลาแล้วที่บุคลากรทุกคนในสศก.จะต้องใช้เป็น Role Model

เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

1.บทความในเรื่อง "8 บทเรียนผู้นำของ Mandela"

จากบทความเกี่ยวกับ Mandela สิ่งที่ได้ คือ ความอดทน ไม่ย้อท้อ ไม่เปลี่ยนแปลงเป้าหมายในชีวิตจนประสบความสำเร็จ การเป็นผู้นำที่อยู่ข้างหน้า ไม่เปิดแนวหลังให้มีความอ่อนแอ ต้องรุกได้ รับได้ ไม่ประมาท และถ้าเป็นการนำที่อยู่ข้างหลัง ต้องยกย่องผู้มีบทบาทอยู่ข้างหน้า ให้เขารู้สึกว่าได้นำอย่างน่าภูมิใจและสมศักดิ์ศรี คือ ถ้าเราเป็นนายเราก็เป็นนายที่ดี ถ้าเป็นลูกน้องก็เป็นลูกทีมที่ดี และการเป็นผู้นำที่ไม่เน้นถูกหรือผิดแบบ 100 % ไม่มีอะไรเป็นสีดำหรือขาว 100% ต้องรู้จักประนีประนอม รู้จักพอ รู้จักถอย

2.บทเรียนจากกีฬา ที่อ่านแล้วได้ประโยชน์และนำมาประยุกต์ใช้ได้

2.1 การทำอะไรที่มุ่งมั่นไปสู่เป้าหมาย ทำงานอย่างมุ่งมั่น มีวินัยในตนเอง หาความรู้เพิ่มเติม มีความพร้อมที่จะกล้าที่จะตัดสินใจในสิ่งยากๆ กล้าทำสิ่งใหม่ๆ

2.2 ความสมดุลระหว่าง work/ Play คือ ต้องจัดสรรเวลาทำงานและเวลาส่วนตัวให้เหมาะสม เวลางานก็มีความมุ่งมั่นในการทำงาน หลังจากทำงานเสร็จก็ควรให้เวลากับการพักผ่อน ให้เวลากับครอบครัว ทานข้าวกับแม่บ้าง สังสรรค์กับเพื่อน รู้จักหาความสุขให้กับตนเอง

สุดารัตน์ แซ่อุ้ย

เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

สำหรับเรื่องแนวคิดของ Nelson ที่ได้อ่าน ขอแสดงความคิดเห็นดังนี้

1. ขอชื่นชมในความมีสติ มองโลกในเชิงบวก และการพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสของเขา เขาสามารถทำได้เยี่ยมมาก ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่ดีของผู้นำ และหากจะนำจุดเด่นหรือแนวคิดของ Nelson มาปรับใช้ในภาคเกษตรนั้น โดยส่วนตัวชอบในภาวะการเป็นผู้นำของเขาในแนวคิดข้อ 2 และ 3 เพราะการพัฒนาการเกษตรเพื่อให้เกษตรกรมีความกินดีอยู่ดีขึ้นนั้น ไม่ใช่มองไปข้างหน้าเพียงอย่างเดียว แต่ต้องให้ความสนใจและใส่ใจด้วยว่า ผลจากการพัฒนาที่เกิดขึ้นมาภายหลังการพัฒนานั้น เป็น Impect หรือ Effect มากกว่ากัน เพราะการพัฒนาที่ดีต้องไม่ใช่การเพิ่มปัญหา จึงจะถือเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืนจริง

สำหรับเรื่องบทเรียนจากกีฬา ขอแสดงความคิดเห็นดังนี้

2. ก่อนอื่นในฐานะคนไทยคนหนึ่งขอใช้สิทธิอันชอบธรรมแสดงมุมมองประเทศไทยด้านการกีฬาว่ายังมีช่องว่างในการใช้กีฬามาพัฒนาคุณภาพชีวิต เพราะมีค่านิยมไม่ได้มองว่ากีฬาเป็นอาชีพที่มั่นคง สร้างรายได้ที่แน่นอนได้ เนื่องจากตัวอย่างนักกีฬาที่สร้างชื่อให้ประเทศไทยหลายคนเมื่อประสบความสำเร็จแข่งขันชนะ ได้รางวัล ก็จะจบฝีมือไปเลย เนื่องจากไม่มีวินัยในการฝึกซ้อมเพื่อรักษาแชมป์ หรือไต่บันไดแชมป์ต่อไป แต่นักกีฬาอาชีพอย่าง Tiger Wood นอกจากจะใช้พลังกายแล้วเขายังใช้สมองในการแข่งขันด้วย เพราะเขารู้จักวางแผนรู้ว่าทำอย่างไรจึงจะประสบความสำเร็จในอาชีพนักกอล์ฟ เขามีการคิดอย่างเป็นระบบ ซึ่งนักกีฬาบ้านเราน่าจะศึกษาและยึดเป็น Role Model เพื่อให้การกีฬาไทยก้าวหน้าต่อไป

มณทิรา พรหมพิทยายุทธ

1)จากแนวคิดของ Nelson Mandela

สิ่งที่ควรจะนำมาปรับใช้กับตนเองคือ การเป็นผู้นำอยู่ข้างหน้า ก็จำเป็น แต่อย่าเปิดแนวหลังให้มีความอ่อนแอ คือนอกจากเราที่จะเป็นผู้นำที่เก่งและดีแล้ว เราจำเป็นที่จะต้องมีลูกน้องที่ดีด้วยเพื่อที่ทีมงานของเราจะแข็งแกร่งไม่มีจุดอ่อนให้ใครมาทำลายเราได้

2.ประโยชน์จากการได้เรียนรู้จากบทความจากกีฬา

1)ต้องมีความมุ่งมั่นและมีเป้าหมายเมื่อต้องทำการอะไร เพื่อให้ไปสู่จุดมุ่งหมายที่เราตั้งไว้ การมีเป้าหมาย เพื่อที่จะได้มีทิศทางในการทำงาน นอกจากนี้ต้องหาแรงผลักดัน หาสิ่งสนับสนุน เพื่อไปให้ถึงเป้าหมาย

2) การทำงานจะต้องเกิดความสมดุลในชีวิต อย่าจริงจังกับงานมากเกินไป ต้องมีการพักผ่อนเพราะร่างกายไม่ใช่เครื่องจักรที่จะทำงานได้ตลอด 24 ชั่วโมง เมื่อทำงานให้เกินความสมดุลในชีวิตจะทำให้งานที่ได้ออกมาดี และสุขภาพร่างกายและจิตใจเราก็จะดีด้วย

1. แนวคิดของ Nelson Mandela ที่ดิฉันชอบคือ

การบริหารจัดการศัตรู ต้องรู้ศัตรูให้ลึกซึ้ง รู้จุดอ่อน จุดแข็งของศัตรูก่อน เราจึงจะสามารถแข่งขันกับศัตรูได้ และการนำมาประยุกต์ใช้กับกระทรวงเกษตรคือ ประเทศไทยเรามีโครงสร้างพื้นฐานอยู่ในภาคเกษตรกรรม เป็นผู้ส่งออกข้าวอันดับหนึ่งของโลก ขณะเดียวกันโลกการค้าเสรีเข้ามามีบทบาท และประเทศในภูมิภาคก็พัฒนาขึ้นมาเป็นคู่แข่งที่สำคัญ เช่น เวียดนาม ดังนั้น เราจะประมาทคู่แข่งไม่ได้ ต้องศึกษาข้อมูลของเวียดนามให้ลึกซึ้งมากที่สุด เพื่อเราจะได้เป็นผู้นำการผลิตสินค้าเกษตรในภูมิภาคนี้ต่อไปได้

2. หลังจากได้อ่านบทความของอาจารย์แล้ว (บทเรียนจากกีฬา) ดิฉันคิดว่ามีประเด็นที่น่าสนใจและการนำมาปรับใช้กับตัวเองคือ

1)คนเราควรมีความมุ่งมั่น และพร้อมที่จะตัดสินใจในเรื่องที่ยาก และต้องควบคุมควบคุมวินัยของตนเองอยู่ตลอดเวลา เพราะถ้าขาดสิ่งเหล่านี้จะทำให้ชีวิตไม่มีแรงผลักดันไปสู่ความสำเร็จได้

2)คนเราควรจะมีความสุขกับการทำงาน เพราะถ้าทำงานด้วยความจำใจ ก็จะทำให้งานออกมาไม่ดี ดังนั้น คนเราควรหันมาทำใจให้มีความรักในงานแล้วจะมีความสุขในการทำงาน แล้วจึงจะส่งผลให้งานออกมาดีเอง

เรียน ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์

ดิฉันได้เข้ามารู้จักและติดตามผลงานของอาจารย์เนื่องจากดิฉันเป็นเพื่อนร่วมงานของคุณบุษฎีรมณ์ เขต2 (blog buddy ของบุษฎีรมณ์เขต 2) หนึ่งในผู้ร่วมอบรมครั้งนี้ ซึ่งได้ส่ง blog และโทรมาเล่าให้ฟัง ดิฉันจึงรู้สึกสนใจ และประทับใจมากจึงเข้ามาอ่านเพิ่มเติมโดยตรง ซึ่งแต่ละเรื่องมีสาระน่าอ่าน สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันและในองค์กรได้อย่างดี ทั้งเรื่องให้คิดอย่างรอบคอบ 360 องศา เรื่องแนวคิด 8 K’s และ 5K’s และเรื่องอื่นๆอีกมากมาย

ดังนั้นถ้าเกิดมีโอกาสดิฉันจะติดตามผลลงานของอาจารย์ไปเรื่อยๆ และเผยแพร่ให้คนอื่นๆได้รับรู้เช่นเดียวกัน

เรียน อาจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

จากคำบอกเล่าจากเพื่อนที่เข้าอบรม (ปิยมาภรณ์ ศรีสุข) ว่าได้มีโอกาสเข้าร่วมอบรมเพื่อเพิ่มพูนความรู้ในด้านการพัฒนาความรู้ ทัศนคติและฝึกฝนทักษะความเป็นผู้นำ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาองค์กร

ทำให้บุคลากรในองค์กรมีความเข้าใจและมุ่งพัฒนาขีดความสามารถในการปฏิบัติได้ตามหน้าที่และความรับผิดชอบให้ดียิ่งขึ้น พร้อมกับการที่ต้องเรียนรู้เรื่องใหม่ๆ อยู่เสมอ เพื่อที่จะทำงานให้มีคุณภาพเกิดผลสำเร็จ ได้ผลงานที่มีคุณภาพดียิ่งขึ้น ทำให้ทราบว่าสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเล็งเห็นความสำคัญในด้านการพัฒนาทรัพยากรบุคคลโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่อย่างต่อเนื่อง จึงอยากเห็นองค์กรอื่นๆ ให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรดังเช่นสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

ปารวี ศรีอุบล

เจ้าหน้าที่วิเคราะห์สินเชื่อ

สำนักงานธุรกิจชัยภูมิ

บมจ.ธนาคารกรุงไทย

เรียน อาจารย์ ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์

บทเรียนจากผู้นำที่ยิ่งใหญ่ Mandela ในประเด็นความเป็นผู้นำที่กระทรวงเกษตรมาปรับใช้ในการบริหารได้อย่างไรนั้น ก่อนอื่นผู้นำควรเป็นนักวางแผนที่ดี มองงานต่าง ๆ ในมุมกว้าง และที่ดีในที่นี่ต้องเป็นทั้งผู้รุกและผู้รับกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นได้เสมอในการทำงาน หากตั้งอยู่ในความไม่ประมาทก็จะนำนำทีมงานผ่านไปด้วยดี นอกจากเป็นนักวางแผนแล้ว ต้องสร้างสัมพันธ์มิตรกับลูกน้องภายในองค์กร และเชื่อมโยงไปถึงนอกองค์กรซึ่งเป็นสิ่งสำคัญ หากเรามีมิตรไม่มีศัตรูการทำงานของเราก็จะราบรื่น สุดท้ายนี้เห็นด้วยกับแนวความคิดของ Mandela ทั้ง 8 ข้อ แต่จะเลือกนำมาใช้อย่างไรให้ถูกกับสถานการณ์ต่าง ๆ เพื่อให้การทำงานสำเร็จไปได้ดี เท่านั้นเอง

สรุปจากบทความกีฬาได้อ่านแล้ว ทำให้รู้ว่าการทำงานของเราควรตั้งเป้าหมายในชีวิตด้วย ประการแรก การทำงานต้องมีวินัยก่อน เพราะวินัยจะเป็นสิ่งที่ติดตัวเรา หากเราเป็นคนไม่มีวินัย การทำงานของเราก็จะไม่ดี แล้วจะสร้างความเสียหายให้กับเราและองค์กรได้ และการทำงานก็ควรมีความตั้งใจม่งมั่นในความสำเร็จของงาน แต่ก็อย่าคาดหวังว่าต้องดีเกินไป เพราะการทำงานจะต้องมีการผิดพลาดกันบ้าง และเมื่อเรามีปัญหาในการทำงาน ก่อนอื่นเราต้องตั้งสติ คิดไตรตรองดูก่อนว่าปัญหาเกิดจากอะไร แล้วค่อย ๆ แก้ปัญหาให้ตรงจุด โดยใช้ความอดทน อดกลั้น และพยายามให้มากที่สุด งานต่าง ๆ ที่เราคิดว่ายากและทำไม่ได้หรือมีปัญหาก็จะสำเร็จไปด้วยดี

1. มีแนวคิดอย่างไร กับบทเรียนผู้นำของ Nelson Mandela ที่นำมาประยุกต์ใช้กับการทำงานของกระทรวงเกษตรฯ ได้

* ชอบแนวคิดที่ว่า “การเป็นผู้นำอยู่ข้างหน้า ก็อย่าเปิดแนวหลังให้มีความอ่อนแอ หรือ ต้องรุกได้ แต่ต้องตั้งรับและไม่ประมาท ต้องมีการเตรียมความพร้อม” ถ้ามองในภาคเกษตร จะมองในส่วนของการจัดทำแผนพัฒนาการเกษตร ซึ่งในการวางแผนที่ดีก็จะต้องมีข้อมูลที่ดีด้วย เช่น ในการเข้าร่วมประชุมในการจัดทำแผนงาน/โครงการต่างๆ ฝ่ายแผนก็จะเปรียบเสมือนเป็นด่านหน้าที่จะต้องไปร่วมพิจารณาแผนงาน/โครงการต่างๆ ส่วนหน่วยงานอื่นๆ ในองค์กร เช่น ฝ่ายข้อมูล ซึ่งถือว่าเป็นหน่วยสนับสนุนอยู่ข้างหลัง เพราะต้องนำข้อมูลไปใช้ในการประกอบการวางแผนและจัดทำยุทธศาสตร์ต่างๆ ดังนั้น ถ้าหน่วยงานที่อยู่เบื้องหลังในการทำแผน มีข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง แม่นยำ ก็จะส่งผลให้มีการวางแผนได้ไม่ดี เท่าที่ควร ดังนั้นถ้าเรามีการปรับปรุงฐานข้อมูลในภาคการเกษตรให้มีคุณภาพมากขึ้นและมีการติดตามสถานการณ์อย่างดี ก็จะทำให้เราเตรียมความพร้อมเพื่อพัฒนาการเกษตรได้อย่างถูกต้องและส่งผลต่อตัวเกษตรกรได้อย่างชัดเจนขึ้น

2.บทเรียนจากกีฬา ที่นำปรับใช้กับพฤติกรรมตนเอง

* อ่านแล้วได้แง่คิดดังนี้ คือ การทำงานอะไรก็แล้วแต่ ต้องมุ่งมั่นไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ และต้องสร้างบรรยากาศให้เกิดการแข่งขันที่เป็นเลิศ คือ การสร้างแรงบันดาลใจให้สูงสุด ต้องเตรียมความพร้อมเสมอ โดยการมั่นฝึกฝน มีวินัยต่อตนเองและต้องไม่ประมาท เตรียมพร้อมที่จะแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น โดยทั้งหมดนี้ต้องมีความสมดุลกัน ทั้งชีวิตตนเองและการทำงานอย่างมีความสุขและยั่งยืน เมื่อไปถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้แล้ว ก็จะต้องพยายามให้ไปสู่จุดต่อไปที่ดีกว่าเดิมอีก ซึ่งปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เราประสบความสำเร็จอย่างมีความสุข ตามที่เราตั้งใจไว้ได้นั้น คือ การมีความสมดุลในชีวิต ดังนั้น การปรับตัวที่เหมาะสม มีการแบ่งเวลาและพักผ่อนให้เพียงพอ จะทำให้เกิดพลังในการทำงานให้สำเร็จได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เราต้องมีความอดทน ควบคุมอารมณ์ให้ได้ และรู้จักใช้สติในการแก้ไขปัญหาต่างๆ

หทัยรัตน์ หยีวิยม

1. การที่จะเป็นผู้นำที่ดี เราควรจะเดินไปข้างหน้าโดยต้องพาลุกน้องเข้าเราไปสู่ความสำเร็จด้วย นอกจากนี้เราควรจะไม่ละสายตาจากศัตรู เพื่อเราจะด้รู้ความเคลื่อนไหวของศัตรู เพื่อเตรียมตั้งรับ

2. ในการแข่งกีฬา เราต้องไม่กลัวที่จะแข่ง ยิ่งเรามีศัตรูที่เก่งมากๆ ยิ่งเป้นการฝึกเรา นอกจากนี้ ในการแข่งขันเราต้องควบคุมอารมณ์ของเราให้ได้ เราถึงจะสามารถชนะคู่แข่งได้

เรียน เรียน อาจารย์ ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์

บทเรียนจากผู้นำที่ยิ่งใหญ่ Mandela สิ่งที่นำมาปรับใช้ในภาคการเกษตร คือ การเป็นผู้นำอยู่ข้างหน้า ก็จำเป็น แต่อย่าเปิดแนวหลังให้อ่อนแอ ซึ่งในที่นี้ผู้อบรม คิดว่าหากให้เปรียบผู้นำ เสมือนข้าราชการทุกคน ซึ่งเป็นฟันเฟืองในกับขับเคลือนภาคการเกษตรเพื่อสู้ประเทศอื่น ๆ ซึ่งผู้นำต้องใช้ความรู้ความสามารถอย่างเต็มที่ เพื่อที่จะรุกขึ้นสู้กับประเทศต่าง ๆ พร้อมกันนั้นก็ต้องถ่ายทอดวิทยายุทธ์ (ความรู้ทางการเกษตร) ให้แก่เกษตรกร เพื่อไม่ให้เกษตรกรเข้มแข็ง และหากเกิดวิกฤติข้าราชการเอกต้องพร้อมที่รับกับสิ่งที่เกิดขึ้นโดยใช้สติปัญญาแก้ปัญหาอย่างเต็มที่ โดยไม่ประมาทเพื่อให้ประเทศพ้นวิกฤติความยากจน

สรุปจากบทความกีฬา อ่านแล้วได้แง่คิดหลายอย่าง ที่เป็นประโยชน์สามารถนำมาปรับใช้กับพฤติกรรมของผู้ฝึกอบรมหลายข้อหลายประเด็น แต่ประเด็นที่คิดว่าน่าจะนำมาปรับใช้ก่อนเป็นอันดับแรกคือ การฝึกหัดอย่างมีวินัย คือไม่ประมาท เหมือนการพัฒนาความรู้ ซึ่งผู้อบรมบางครั้งทำงานมากรู้สึกเหนื่อยล้า จึงหยุดพักพ่อนที่จะสะสมอาหารสมองมารู้สึกว่าตนเองว่าอาหารสมองร่อยหรอลง เมื่อได้มาพบอาจารย์ เพราะว่าอ.มีคลังความรู้ที่ทันสมัย และ fresh มาก ๆ ก็เพราะว่าผู้อบรมขาดวินัยในการสะสมอาหารสมอง และขอขอบคุณ อ.ค่ะ ที่ทำให้ผู้ฝึกอบรมได้รู้ตัว และจะไม่ละเลยหรือขาดวินัยอีกต่อไปค่ะ

ตัวอย่างข้อสอบ 5 ข้อ อาจารย์จะเลือกให้ทำ 3 ข้อ (ใช้เวลา 1 ชั่วโมง)

1.      วิเคราะห์แรงจูงใจ (Motivation) ว่าสำคัญต่อการทำงานในสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) อย่างไร ยกตัวอย่างสิ่งที่เป็นไปได้ 3 เรื่อง

2.      ทำไมการสร้างผู้นำใน สศก. จึงสำคัญ แต่ถึงสำคัญก็ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่เข้ามากระทบ อะไรบ้างยกตัวอย่างและแนวทางแก้ไข

3.      เปรียบเทียบผู้นำต่อไปนี้ โดยใช้ทฤษฎี 8 K, 5 K และ 8 H

·       Bush – Obama

·       อานันท์ ทักษิณ

·       Blair - Brown

4.      ภาวะโลกร้อนจะนำไปสู่ผลกระทบทางการเกษตรอย่างไร

·       จุดแข็ง - จุดอ่อน

·       โอกาส การคุกคาม

5.      โปรดแสดงวิสัยทัศน์ของท่าน เมื่อจบหลักสูตรนี้แล้วท่านจะทำอะไรต่อเพื่อประโยชน์ต่อการทำงานของ สศก.

...............................................................................

นุชรัตน์ แสงแก้ว (สลก.)

1.ความเป็นผู้นำของ Nelson Mandela ที่ได้อ่านจากบทความ อ่านแล้ว ทำให้เรารู้ว่าคนจริงในสังคม ยังมีอยู่อีกมากมาย และอยู่ในทุก ๆ ที่ และผู้นำก็เป็นได้ในทุก ๆ ที่และทุกสถานการณ์ และที่ตนเองจะนำมาใช้ในการทำงาน คือ อย่าไปเน้นถูกหรือผิด อย่าเลือกว่าขาวหรือดำ ทุกอย่างมีทางออก พบกันครึ่งทาง คุยกันถกเถียงกันด้วยความประนีประนอม  โดยหาทางตกลงให้เป็นแบบ WIN - WIN  และสิ่งที่จะนำมาปรับใช้ให้เข้ากับองค์กร คือ กระทรวงเกษตรฯ ทำงานให้เกษตรกร  มีการประชุมร่วมกับเกษตรกรในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการเกษตร เช่น เกษตรกรให้กระทรวงเกษตรฯ ช่วยเหลือด้านการประกันราคาสินค้า มีการประชุมร่วมกับเกษตรกร ต้องการราคาผลผลิตทางการเกษตร กก.ละ 15 บาท ทางกระทรวงเกษตรฯ ประกันราคาให้ได้เพียง 12 บาท ประชุมกันแล้วตกลงกันไม่ได้ ต่างคนต่างไม่ยอม แต่ถ้าใช้แนวทางตกลงกันแบบ WIN - WIN ไม่มีใครถูกหรือผิด ประนีประนอมกัน พบกันคนละครึ่งทาง ก็จะทำให้ทั้งสองฝ่ายตกลงกันได้ด้วยดี

2.จากบทความเกี่ยวกับด้านกีฬาที่ได้อ่าน ทำให้ได้รู้ว่า

      2.1 ทุกอย่างฝึกฝนกันได้ เมื่อได้รับการฝึกฝนแล้วก็ต้องเรียนรู้ หาข้อมูล ศึกษา วิเคราะห์ ทำไปเรื่อย ๆ ให้เกิดความเคยชิน (อ.พจนารถ สอนว่าถ้าทำอะไรอย่างน้อย 28 วันติดต่อกัน แล้วเราจะติดเป็นนิสัย) ที่ทำไม่ได้เพราะความปรารถนายังมีไม่มากพอ ต้องมีวินัยจัดการกับตนเองให้ได้

      2.2 พัฒนาตนเอง Competitive Balance ดูคนที่เก่งเป็นแบบอย่าง แล้วทำให้ได้เหมือนเขา ให้เขาเป็นคู่แข่งของเรา แข่งขันกับเขา ถ้าแข่งแล้วแพ้ ก็พยายามใหม่ สู้ใหม่ ทำให้เราชนะเขาให้ได้  เมื่อชนะเขาได้แล้ว ก็หาคู่แข่งขันคนใหม่ไปเรื่อย ๆ แข่งขันไปเรื่อย ๆ เป็นการฝึกฝนความสามารถของเราโดยไม่หยุด พัฒนาต่อไป

เรียน ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์

ดิฉันเป็นเพื่อนกับภัสชา ผ่องใส ซึ่งภัสชาได้โทรมาและบอกว่ามีข่าวดีมาบอกว่าตอนนี้พบคลังสมบัติให้ดิฉันรีบไปขุด โดยให้ดิฉันเปิด blog ของอาจารย์จีระ ค่ะ ตอนแรกดิฉันนึกว่าคงเป็นเรื่องหลอกลวงเพื่อขอความช่วยเหลือ แต่ขอบอกว่าภัสชาไม่ได้หรอกค่ะ ดิฉันได้อ่านบทความหลายบทความของอาจารย์ รู้สึกว่าได้รับความรู้เยอะและจะติดตาม blog ของอาจารย์ต่อไปนะค่ะ

เรียนท่านอาจารย์ ดร.จีระ

จากการอ่านหนังสือ HR Champions ซึ่งรวบรวมแนวคิดและประสบการณ์ในการทำงานเกี่ยวกับ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ของ ท่านพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ทั้งสองท่าน ซึ่งมีเส้นทางไม่เหมือนกันแต่มีเป้าหมายเหมือนกัน คนหนึ่งเป็นนักวิชาการ อีกคนหนึ่งเป็นนักปฏิบัติ ตามแนวความคิดของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรของท่านพารณนั้น ท่านเน้นเรื่องคนในทุกระดับ ทั้งระดับผู้บริหาร ระดับกลาง ระดับล่าง และระดับผู้ปฏิบัติทุกระดับมี Manual ที่ชัดเจน ดังนั้นการบริหารแบบมีส่วนร่วม การทำงานเป็นทีม จึงเป็นหัวใจของการสร้างผลผลิตให้กับองค์กร ผู้บริหารจะต้องพัฒนาคนให้มีการศึกษา พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง แนวคิดการพัฒนาบุคลากรของท่านพารณ ภายใต้แนวคิดที่ว่า การพัฒนาบุคลากรเป็นการลงทุน (Investment) ของบริษัท ไม่ใช่ต้นทุน ผู้บริหารจะต้องขับพลังและอัจฉริยภาพของคนในทุกระดับในองค์กรให้ได้ เมื่อคนมีความจงรักภักดี ร่วมกับความมีวินัยของคนในองค์กรจึงทำให้องค์กรมั่นคง ลักษณะการทำงานท่านพารณ เป็นแบบ Participative Management คือการบริหารงานแบบมีส่วนร่วม ส่วนแนวคิดของศ.ดร.จีระ แสดงบทบาทในฐานะผู้ผลักดันให้คนยอมรับทรัพยากรมนุษย์เพื่อประโยชน์ของสังคม ระหว่างนายจ้าง กับลูกจ้าง หรือผลักดันให้เกิดกฎหมาย ประกันสังคม ทำหน้าที่ในการให้คำปรึกษาแนะนำ ตลอดจนแก้ไขปัญหาเพื่อการพัฒนาและบริหารทรัพยากรมนุษย์ระดับชาติ และระดับองค์กรไปสู่ความเป็นเลิศในนามของบริษัท เอเชียแปซิฟิคคอนซัลแตนท์ จำกัด แม้ว่าทั้งสองท่านจะมีเส้นทางที่แตกต่างกัน แต่มีบั้นปลายหรือผลลัพธ์ที่เหมือนกัน คือมีความเชื่อว่าทรัพยากรมนุษย์เป็นสิ่งที่มีค่าและสำคัญที่สุด ขององค์กรการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นการลงทุน เพื่อทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มมิใช่เป็นการลงทุนที่สูญเปล่า เพราะการแข่งขันในโลกสมัยใหม่ที่ต้องใช้ความรู้เป็นหลักทรัพยากรธรรมชาติ ย่อมมีทางที่จะหมดสิ้นแต่ ทรัพยากรบุคคลนั้นเราจะทำอย่างไรให้กลายเป็นเหมือนปัจจัยการผลิตอย่างหนึ่ง ไม่ใช่แค่เรื่อง แรงงาน แต่เป็นบุคคลที่สามารถพัฒนาตนเอง จนเป็นทรัพย์สินที่มีค่า

ขอขอบพระคุณอาจารย์ ที่ได้ให้ปรัชญาความรู้ ที่ท่านอาจารย์ถ่ายทอดเป็นตัวอักษร

นายยุทธชาติ วงศ์ประทุม (สศข.5 )

เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ในบทความของ Nelson Mandela ที่เกี่ยวกับการมีภาวะผู้นำ ซึ่งมีอยู่หลายข้อที่เราสามารถนำมาปรับใช้กับการทำงานของเราในปัจจุบันอยู่หลายข้อซึ่งจะขอยกมาสัก 3 ข้อดังนี้

1. ความกล้าหาญ ซึ่งเป็นคุณสมบัติของหนึ่งการเป็นผู้นำของ Nelson Mandela ที่เราสามารถนำมาใช้ได้เพราะ ความกล้าหาญของ Nelson Mandela เป็นความกล้าแบบที่จุดประกายให้คนอื่นนำไปสู่ความเป็นเลิศได้ถ้าเรารู้จักนำความกล้าหาญนี้ไปประยุกต์ใช้เกี่ยวกับการใฝ่ศึกษาหาความรู้ก็จะทำให้เราเป็นผู้นำที่ดีได้ที่พร้อมด้วยภูมิความรู้

2. ผู้นำต้องมีบุคลิกลักษณะหรือภาพลักษณ์ที่ดี ซึ่งข้อนี้ก็จะแสดงให้เห็นถึงว่าบุคลิกที่ดีก็จะมีชัยไปเกินครึ่งแล้วเพราะสามารถสร้างความน่าเชื่อถือหรือความเชื่อมั่นของผู้พบเห็นหรือผู้ที่ทำงาร่วมกับเรา

3. บทบาทภาวะผู้นำของ Nelson Mandela ข้อที่ว่าการที่เราได้อยู่ใกล้กับคู่แข่งหรือศัตรูมากกว่าเพื่อนสนิท ความหมายก็คือ การที่เราได้อยู่ใกล้กับศัตรูทำให้เราได้รู้ถึงความเคลื่อนไหวของศัตรู แล้วทำให้เราได้เตรียมความพร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงหรือสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอย่างรอบคอบ

จากบทความของอาจารย์จิระ หงส์ลดารมภ์ ที่ได้เขียนบทความเกี่ยวกับกีฬา เมื่อผมได้อ่านแล้วก็เลยมีความคิดว่าสิ่งที่อาจารย์จิระ เขียนเราสามารถนำมาใช้เกี่ยวกับการทำงานของเราในปัจจุบันได้หลายอย่างที่เกี่ยวกับการกีฬา ซึ่งข้อหนึ่งที่สามารถนำมาใช้ได้ก็คือ ความอดทน ความมีระเบียบวินัย ของนักกีฬา เพราะถ้านักกีฬาที่ปราศจากซึ่งความอดทนและความมีระเบียบวินัยแล้วก็จะเป็นนักกีฬาที่เก่งไม่ได้ ฉะนั้นถ้าเรามีความอดทนและความมีระเบียบวินัยแล้วการทำงานของเราก็จะประสบผลสำเร็จและผลประโยชน์ก็จะตกสู่เกษตรกรของเราได้ด้วย

อิศราภรณ์ ชัยกุณา

เรียน อาจารย์ จีระ หงส์ลดารมภ์

ได้อ่านบทความของอาจารย์จิระ หงส์ลดารมภ์ ที่พูดถ้า แนวคิดการเป็นผู้นำของ Nelson แล้วรู้สึกประทับใจมากดูเหมือนว่า Nelson จะเป็นบุคคลที่เยี่ยมจริงๆ จิตใจเขาแข็งแกร่งและสะอาดมากที่ไม่คิดแก้แค้นใคร ศาสนาพุทธของเราเองก็สอนให้รู้จักการให้อภัย ที่เป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับคนไทยเราวันนี้ที่ควรรู้จัก สามัคคีกัน มีความกล้าหาญที่จะทำความดีเพื่อประเทศชาติของเรากันเองเถอะคะ

ความสมดุลทางร่างกายและจิตใจ ก่อให้เกิดความสุขในชีวิตของตนเองจริงๆ ความสุขใจอยู่ที่การที่เราได้ทำความดี ความสุขกายอยู่ความสมบูรณ์แข็งแรงและการออกกำลังกายเรื่องนี้คงไม่มีใครปฎิเสธแต่คนส่วนใหญ่มักจะไม่ค่อยได้เล่นกีฬาออกกำลังกายทั้งๆที่รู้ว่าสิ่งนี้เป็นสิ่งที่ทำแล้วจะทำให้ตัวเราแข็งแรงเพราะคนเราปล่อยให้ความขี้เกียจเข้าครอบงำจิตใจ ไม่มีความมุ่งมั่นและไม่มีวินัยในตัวเรา ดังนั้นสิงที่คาดหวังก็สุดจะไขว่คว้าชีวิตจึงไม่ได้ถึงดวงดาวสักที แบบนี้ต้องไปศึกษาความมุ่งมั่นและความมีวินัยกับ Tiger wood กระมังคะ

ได้อ่านหนังสือเรื่องทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้แล้ว ก็รู้สึกดีคะที่ประเทศไทยมีบุคคลที่ทุ่มเททั้งเวลาทำงานเพื่อสร้าง “คน” ซึ่งเป็นทรัพยากรที่สำคัญของชาติ ท่านทั้ง 2 มีหัวใจที่ยิ่งใหญ่ จริงๆ กำลังพูดถึงท่านพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา กับ อาจารย์ จิระ หงส์ลดารมภ์ คะ ถึงแม้ว่าทั้ง 2 จะมีเดินสู่สนามของงานสร้างทรัพยากรมนุษย์อย่างบังเอิญ แต่ท่านทั้งสองก็มีหัวใจเดียวกัน คือ หัวใจของการให้หยัดสู่มุ่งมั่นพัฒนาทรัพยากรมนุษย์บนปรัชญาแห่งความยั่งยืน

หทัยรัตน์ สกลวิทยานนท์

เรียนอาจารย์ ดร.จีระ

จากการอ่านทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ แต่ไม่ทั้งหมดเล่ม พอสรุปได้คร่าวๆ ว่าจุดมุ่งหมายของทั้งท่านพารณ และ อ.จีระ คือการให้ความสำคัญกับทรัพยากรมนุษย์ เข้าใจว่าการดำเนินการของท่านพารณเป็นตัวอย่างแม่แบบ คล้ายๆ ว่าเป็นตัวอย่างที่มีผลสัมฤทธิ์ให้เห็นเด่นชัดในระดับบริษัท มีวิธีดำเนินการจับต้องสังเคราะห์ได้ และ อ.จีระได้นำมาประยุกต์กับทฤษฎีของตนเองและต่อยอดเพิ่มขึ้นเพื่อให้เกิดการพัฒนาในระดับประเทศ โดยเนื้อหาและวิธีการปฏิบัติเพื่อนำไปสู่ผลสัมฤทธิ์อาจมีข้อแตกต่างกันบ้าง แต่เหมือนกันในหลักการ และทั้งสองท่านต่างได้เน้นย้ำถึงการพัฒนาคนอย่างไม่หยุดยั้ง และไม่ลืมเน้นย้ำถึงจริยธรรมที่ต้องควบคู่กันไปให้สมดุล และเหนือสิ่งอื่นใด  การพัฒนาต่างๆจะไม่อาจเกิดขึ้นได้หากผู้บริหารระดับสูง หรือเจ้าของกิจการไม่เห็นถึงความสำคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  สุดท้ายเพิ่งทราบเหมือนกันว่า HR ไม่ใช่การ Training แต่เป็นการเรียนรู้ ซึ่งทั้งท่านพารณ และ อ.จีระต่างให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ 4 L's ที่คล้ายคลึงกัน

การอ่านหนังสือเล่มนี้ทำให้มุมมองเรื่อง HR กว้างขึ้น และเริ่มเห็นความสำคัญมากขึ้น และทำให้รู้สึกตัวว่าแม้เรียนจบแล้ว แต่การเรียนรู้ในชีวิตยังไม่จบ การอ่านและการใฝ่รู้ยังต้องมีอยู่ตลอดเวลา

กฎ 8 ข้อ ของ Mandela

1.ความกล้าหาญ ที่สามารถจุดประกายผู้อื่นให้ไปสู่ความเป็นเลิศ เช่น เพื่อนของข้าพเจ้า ตั้งเป้าหมายว่าจะไปเรียนต่อปริญญาโท ในมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศสหรัฐอเมริกาให้ได้ เพื่อนทุ่มเทอย่างเต็มที่ แม้บางครั้งจะเจอกับอุปสรรคมากมาย เพื่อนก็ไม่เคยยอมแพ้ ทำให้ข้าพเจ้ากล้าที่จะตั้งความหวัง และเดินไปสู่ความหวังของตนเองอย่างแน่วแน่

2. การเป็นผู้นำอยู่ข้างหน้า ผู้นำต้องรุกไปข้างหน้า แต่ต้องไม่ประมาท และถ้าบางโอกาสที่การรุกไปข้างหน้าไม่ก่อให้เกิดผลดี ก็ควรเป็นฝ่ายตั้งรับ

3. การเป็นผู้นำอยู่ข้างหลัง ให้คนที่เรายกย่องอยู่ข้างหน้า ได้แสดงบทบาทของเขาอย่างเต็มที่และทำให้เขารู้สึกภูมิใจในบทบาทของตนเอง

4. การบริหารศัตรู ข้อนี้ข้าพเจ้าคิดว่าสำคัญสำหรับทุกคน โดยเฉพาะตัวข้าพเจ้าเอง เนื่องจากเมื่อข้าพเจ้ามีศัตรู ข้าพเจ้าจะเลี่ยง หรือหลีกหนีไป โดยไม่เคยคิดที่จะบริหารศัตรู เพื่อทำให้ศัตรูนั้นมีประโยชน์ต่อเรา

5. การจะอยู่อย่างผู้นำต้องใกล้ชิดกับเพื่อน แต่กับคู่แข่งหรือคนที่เราไม่ชอบต้องใกล้ชิดมากกว่า ข้อนี้ ก็น่าจะใกล้เคียงกับข้อ 4 เพราะถ้าเราใกล้ชิดกับคู่แข่งหรือคนที่เราไม่ชอบ จะทำให้เรารู้จักคู่แข่งหรือ คนที่เราไม่ชอบ ถึงก็น่าจะหมายถึง รู้เขารู้เรา รบกี่ครั้งก็ชนะทุกครั้ง

6. ผู้นำต้องมีภาพลักษณ์ที่ดี ภาพลักษณ์ที่ดี นำให้ผู้พบเห็นเชื่อถือ และมีแนวโน้มคล้อยตามได้ง่าย

7. การเป็นผู้นำ อย่าเน้น ถูกหรือผิด 100 %

8. การเป็นผู้นำต้องรู้ว่าเมื่อไรควรจะพอ หรือจะถอย

การเป็นผู้นำที่เกิดจากสถานการณ์

สถานการณ์ที่ไม่ดีหรือเกิดวิกฤติ ไม่ว่าจะทางการเมืองหรือเศรษฐกิจ ถ้าเราไม่มีผู้นำที่ดี เข้ามาแก้ปัญหา ประเทศก็คงไปไม่รอด ซึ่งคนที่กล้าเข้ามานำพาประเทศให้ผ่านวิกฤตต่างๆ ไปได้นั้น ถือว่าเป็นผู้นำที่กล้าหาญ ถ้าไม่มีสถานการณ์เรานี้เกิดขึ้น เราคงไม่ได้ผู้นำแบบนี้

เพ็ญระวี บุตรแก้วแตง

เรียน อาจารย์ ดร.จีระ

จากการอ่านหนังสือ ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ ซึ่งเป็นการเขียนที่เกี่ยวข้องกับหลักการณ์ และแนวคิดในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของของอาจารย์ ดร.จีระ และคุณพารณ นั้น คือ ท่านทั้งสองได้เห็นความสำคัญของทรัพยากรบุคคล มุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุย์อย่างจริงจัง โดยคิดว่าการพัฒนาทรัพยากรบุคคลไม่ได้เป็นต้นทุน แต่เป็นการลงทุนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในอนาคต หรือเป็นการลงทุนในระยะยาว รวมทั้ง รวมทั้งการพัฒนาบุคลากรต้องทำให้เป็นทั้งคนเก่งและคนดีด้วย อีกทั้งเห็นว่าผู้นำที่ดีควรสนับสนุนลูกน้องให้ประสบความสำเร็จ ให้การสนับสนุนในด้านต่างและให้กำลังใจ และที่เหมือนกันของท่านของท่านอีกประกาหนึ่งคือ เน้นการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ ให้ความสำคัญกับการพัฒนาการศึกษา การเรียนรู้ตลอดเวลา รวมถึงการใชh IT

จะเห็นได้ว่า คุณพารณ จะจบทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นนักปฏิบัติ ทำงานทางด้านธุรกิจ,อุตสาหกรรม ส่วนอ.จีระ เป็นนักเศรษฐศาสตร์ หรือเป็นนักคิด ทำงานในส่วนราชกามาก่อนแต่การเห็นความให้ความสำคัญกับทรัพยากรมนุษย์เหมือนกัน แม้จะมีวิธีคิดที่แตกต่างกันแต่อยู่บนเป้าหมายเดียวกัน คือพัฒนาทรัพยากรมนุย์ เช่น มีทฤษฎี 4 L's เหมือนกัน แม้ว่า4 L's ของทั้งสองท่านจะไม่เหมือนกัน

สรรเสริญ ศรีเหนี่ยง

เรียน อาจารย์จีระ

จากการที่ได้ผ่านการเปิดหน้าหนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ ของคุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และ อาจารย์ ซึ่งทั้งสองท่านอาจจะมีการเริ่มต้นที่อยู่คนละสายงานกัน ระหว่างวิศวกรรมศาสตร์ กับ เศรษฐศาสตร์ รวมทั้งความเป็นนักบริหารกับนักวิชาการกระบวนความคิด ลักษณะการทำงาน การบริหารงาน แต่เนื้อแท้ในหลักการนั้นมีความเหมือนกันโดยไม่แปลกแยก ซึ่งทั้งสองท่านมีความต้องการ มีแรงผลัก ที่จะพัฒนาบุคลากร ให้มุ่งสู่ความเป็นเลิศ มีความเชื่อว่าทรัพยากรมนุษย์นั้นเป็นสิ่งมีค่ายิ่ง ซึ่งการลงทุนกับทรัพยากรมนุษย์อย่างไรก็ไม่สูญเปล่า มนุษย์ควรมีการเรียนรู้อย่างไม่หยุดนิ่ง ตราบใดที่ยังมีลมหายใจมนุษย์ก็ยังคงต้องเรียนรู้

นุชรัตน์ แสงแก้ว (สลก.)

เรียน อาจารย์จีระ

        จากการที่อาจารย์ได้มอบหนังสือ ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ ที่อาจารย์จีระและคุณพารณได้ร่วมกันเขียนเพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน ทำให้ได้ทราบถึงเป้าหมายในการทำงานของทั้งสองท่าน ว่ามีแนวทางเดียวกัน คือ ทำเพื่อพัฒนาคน สร้างคน ให้โอกาสคน มีความเป็นผู้นำที่จะเริ่ม มีความคิดสร้างสรรค์คิดนอกกรอบจากคนอื่น ๆ เพราะในสมัยที่ท่านทั้งสองทำงานนั้น ส่วนใหญ่จะคำนึงว่า พนักงานในหน่วยงานเป็นแค่ส่วนหนึ่งในการทำงาน แต่ไม่คำนึงว่า พนักงานในหน่วยงานเป็นทรัพยากรที่สามารถพัฒนาได้ และต้องเห็นความสำคัญของ พนักงาน และเมื่อเป็นคนเริ่มแล้วทั้งสองก็ไม่ได้หยุดยั้ง ยังเรียนรู้ ศึกษาต่อ ๆ ไปเรื่อย พัฒนา หาความรู้ใหม่ ๆ คิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ตลอดเวลา ทำให้ต่อยอดไปเรื่อย ๆ และท่านทั้งสองยังทำให้รู้ว่า ไม่ว่าเราจะเรียนจบอะไรมา แต่เราก็สามารถเรียนรู้ในสิ่งที่เราไม่รู้ได้ หากเรามีความคิดที่จะเรียนรู้ เรียนรู้และก็เรียนรู้ ถึงแม้ในการพัฒนาของท่านทั้งสอง จะมีอุปสรรคมากมายและถือว่าหนักหนาสาหัส แต่ท่านทั้งสองก็ไม่เคยย่อท้อ หรือคิดที่จะล้มเลิก แต่ยังเอาอุปสรรคเหล่านั้นมาเป็นแรงผลักให้ต่อสู้ต่อไป

เรียน อาจารย์ ดร.จีระ

ความคล้ายคลึงระหว่างท่านพารณ กับ ดร.จีระ

จากการที่ได้อ่านทรัพยากรมนุษย์พันธ์แท้อย่างคร่าวๆ พบว่า ท่านพารณ กับ ดร.จีระ ทั้งสองท่านมีเป้าหมายที่คล้ายคลึงกัน ก็คือ มุ่งมั่นในเรื่องของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งถือเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่ามากที่สุดขององค์กร ในขณะที่ท่านพารณเป็นนักคิดและเป็นวิศกรนักบริหารเน้นการพัฒนาคนแบบมีส่วนร่วม และดร.จีระเป็นนักปฏิบัติและเป็นนักเศรษฐศาสตร์ผลจากการพัฒนาคนจะต้องวัดผลออกมาได้ทั้งในด้านทักษะและความสามารถ ท่านทั้งสองแสวงหาแนวคิดใหม่ๆอยู่เสมอ และเห็นด้วยอย่างยั่งยืนว่า การลงทุนในคุณค่าของสังคมนั้นจะวัดผลจากการศึกษาและการฝึกอบรมอย่างเดียวไม่ได้ แต่จะต้องดูด้วยว่าคนคนนั้นมีความสามารถในการสร้างผลผลิตเพิ่มหรือ productivity แค่ไหน การลงทุนทางปัญญาจะต้องควบคู่ไปกับการลงทุนทางจริยธรรมด้วย โดยการพัฒนาของท่านทั้งสองจะเน้นการพัฒนาคนทุกระดับเพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศ

ขอขอบคุณที่ได้มีโอกาสอ่านหนังสือเล่มนี้และจะอ่านต่อไปอย่างละเอียด

กิติมา ประดิษฐกุล

เรียน อ.ดร.จีระ

สิ่งที่ได้จากการอ่านหนังสือ "ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้" ทำให้รู้ว่าการพัฒนาคนเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่ง เพราะความสำเร็จต่าง ๆ ขององค์กรล้วนขึ้นอยู่กับคนทั้งสิ้น องค์กรที่แท้จริงเป็นอย่างไรย่อมขึ้นกับคนในองค์กรนั้น  และแม้ว่าทั้งคุณพารณ แล ดร.จีระ จะศึกษามาคนละศาสตร์ก็ตาม แต่ทั้งสองท่านค้นพบว่าจะต้องมุ่งมั่นในเรื่องของการ"พัฒนาคน"เหมือนๆกัน อีกทั้งท่านทั้งสองยังเป็นผู้ที่มีอิทธิพลทางความคิดต่อสังคม และเป็นผู้มีบุคลิกแบบ "Global Man" จึงทำให้เป็นผู้มีวิสัยทัศน์กว้างไกลอีกด้วย

ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ สิงที่คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และ ดร.จีระ หงส์ลดารมณ์ เหมือน/แตกต่างกันอย่างไร

เรียน อาจารย์ จีระ ค่ะ

หนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ น่าสนใจ และก็น่าอ่านมากค่ะ แต่ด้วยที่เวลาที่มีจำกัดจึงทำให้อ่านยังไม่ครบทุกหน้าค่ะ เสียดายมากหากหนูสามารถบริหารจัดการกับเวลาได้ดีกว่านี้ แต่ก็พอสรุปคร่าว ๆ ได้ดังนี้ค่ะ

สิ่งที่เหมือนกันระหว่าง คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และ ดร.จีระ หงส์ลดารมณ์ ก็คือ

1. สนใจในเรื่องทรัพยากรมนุษย์ ทั้งที่คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา จบการศึกษาปริญญาตรีด้านวิศวกรรมศาสตร์ และปริญญาโทด้านวิศวกรรมเครื่องกล ส่วนดร.จีระ หงส์ลดารมณ์ จบการศึกษาทางด้านเศรษฐศาสตร์ ทั้งปริญญาตรี-เอก

2. ทั้งสองท่านมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาทรัพยกรมนุษย์อย่างจิงจัง

3. ทั้งสองท่านมีคนคลั่งใคร่จำนวนมาก

4. ทั้งสองทั้งมีบุคลิกแบบ Global man คือติดต่อกับคนต่างชาติ และสามารถนำเอาวิธีคิดทางตะวันตก มากประยุกต์ใช้กับการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และผนวกวับมีวิสัยทัศน์กว้างไกล

5. เป็นที่รักของลูกน้อง /ลูกศิษย์ เนื่องจากทั้งสองท่านเป็นผู้ให้ ซึ่งให้ทั้งความรู้และความรัก รู้สึกประทับใจคุณพารณ แม้กระทั้งเวลาทานข้าว มีลูกน้องหายไปเพียงคนเดียวท่านยังตามหาเพื่อเรียกว่าทานข้าวด้วยกัน ซึ่งหากดิฉันเป็นลูกน้องของท่านดิฉันจะทำงานให้กับท่านเต็มที่แม้ไม่สบายก็จะหิ้วสายน้ำเกลือมาทำงานเลยค่ะ

สำหรับความต่างกันน่าจะมีวัยและการศึกษาที่แตกต่างกันเท่านั้นนะค่ะ

นางสาวจิรจิตต์ ตั้งภากรณ์

เรียน อาจารย์ จีระ

ความเหมือนของอาจารย์จีระ กับ คุณพารณ

1. เข้าสู่งานสร้างทรัพยากรมนุษย์อย่างบังเอิญ จนกลางเป็นนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เป็นผู้นำความคิด ผู้บุกเบิก และปฏิบัติ

2. มุ่งมั่นพัฒนาทรัพยากรมนุษย์บนปรัชญาแห่งความยั่งยืน คือทำอะไรทำจริง และทำอย่างต่อเนื่อง

3. มีแบรนด์เป็นของตัวเอง เป็นผู้มีอิทธิพลทางด้านความคิดต่อสังคม

4. มีบุคลิกแบบ “Global Man” ทำให้มีวิสัยทัศน์

5. มีความเป็นผู้ใหญ่ พร้อมที่ให้ความรู้ความรัก แก่คนใกล้ชิดอย่างมีความสุข โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน

6. มีชาติกำเนิดมาในชนชั้นปกครองของสังคมเหมือนกัน คือตระกูลอิศรเสนา ณ อยุธยา และตระกูลหงส์ลดารมภ์

ความแตกต่างของอาจารย์จีระ กับ คุณพารณ

1. อายุที่แตกต่างกันถึง 21 ปี

2. คุณพารณจบวิศวะ, บัญชี และบริหารธุรกิจ ถือเป็นวิศวกรนักบริหาร ส่วนอาจารย์จีระจบทางเศรษฐศาสตร์และด้านนโยบายรัฐ ถือเป็นนักเศรษฐศาสตร์

3. คุณพารณ เป็นผอ. ระบบงานวิธีการและตรวจสอบ ของบริษัทปูนซิเมนต์ไทยจำกัด เมื่ออายุ 44 ปี ส่วนอาจารย์จีระ เป็นผอ. สถาบันทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่ออายุเพียง 33 ปี

นาวสาวณิริศพร มีนพัฒนสันติ

เรียน ศ.ดร.จีระ

หนังสือของอ.จีระ ที่พูดคุยในเรื่องทรัพยากรมนุษย์กับคุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา ซึ่งนำเสนอในรปแบบของการสนทนาแสดงความคิดของบุคคลที่ถือได้ว่ามีประโยชน์อย่ามากมายทั้งเรื่องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ภาวะผู้นำ ซึ่งคิดว่า อ.จีระ กับคุณพารณมีสิ่งที่เหมือนกัน คือ

ทั้ง 2 ท่าน มีเป้าหมายและทฤษฎีด้านเดียวกันทาง 4L’s โดยเป้าหมายเหมือนกันคือ พัฒนาทรัพยากรมนุษย์, มีภาวะผู้นำ ซึ่งอ.เป็นผู้นำตั้งแต่อายุยังน้อย ที่สำคัญคือมีภาวะผู้นำทางความคิดทั้งคู่อย่างยอดเยี่ยม เข้าใจการเรียนรู้และพัฒนาทุนทางมนุษย์ที่ถูกทาง และทั้งคู่เป็นผู้กล้าที่จะปฏิบัติ, เป็นนักบริหารมืออาชีพ และไม่หยุดที่จะพัฒนาตนเองตลอดเวลา, เป็นผู้บุกเบิกทางความคิด คิดสร้างสรรค์ คิดแบบมองการณ์ไกล คิดข้ามศาสตร์ มีเอกลักษณ์ทางความคิดเฉพาะตน ยืนหยัดและมั่นคงทางความคิด, อุทิศตนทำเพื่อสังคมส่วนรวม เกือบร่วม 30 ปีทั้ง 2 ท่าน, มีบุคลิก ลักษณะของความเป็นครู ผู้ถ่ายทอดความรู้ มีความรัก หวังดี และมอบโอกาสกับลูกศิษย์ทุกคน รวมทั้งเป็นบุคคลที่สังคมยอมรับเชื่อถือ และศรัทธา เรียกได้ว่าเป็นทรัพย์กรมนุษย์พันธ์แท้ทั้งคู่

ส่วนความแตกต่างกันแน่นอนว่า 2 ท่านต้องแตกต่างกันในเรื่องพื้นฐานชีวิต อายุ การศึกษา และประสบการณ์ที่แตกต่างส่วนความแตกต่างกันในส่วนรายละเอียดของทฤษฎี 4L’s เนื่องจากของ อ.จีระนั้น เป้าหมายการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ต้องเริ่มจาก ทำความเข้าใจการเรียนรู้ Learning Methodology สร้างสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียน Learning Environment สร้างโอกาสในการเรียนรู้ Learning Opportunity และสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ Learning Society

ส่วนของคุณพารณได้บอกถึงว่าการเรียนรู้เริ่มจากหน่วยย่อยไปสู่หน่วยใหญ่คือ ระดับหมู่บ้าน Village that learn สู่โรงเรียน School that learn ไปสู่สถานประกอบการ Industry that learn และสุดท้ายคือนำพาสู่ประเทศ Nation that learn

จะเห็นว่า อ.จีระ มีเป้าหมายการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่เริ่มจากภายในจิตใจให้ทำความเข้าใจให้ดีเสียก่อนแล้วจึงขยายโอกาสทางด้านต่างๆ ต่อไป แต่คุณพารณจะเน้นทางหน่วยของการศึกษาตั้งแต่ระดับเล็กไปจนระดับใหญ่ แต่สุดท้ายก็ไปสู่จุดมุ่งหมายเดียวกันคือการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

เมษารัศมิ์ สังขวุฒิ

เรียน อาจารย์จีระ

จากการอ่านหนังสือเรื่องทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ ได้ข้อสังเกตถึงความเหมือนในความต่างของนักคิดทั้งสองท่านคือ อาจารย์จีระและคุณพารณ ซึ่งก็คือ ทั้งสองท่านมีเป้าหมายที่เหมือนกันก็คือมุ่งมั่นในเรื่อง “คน” โดยการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับทรัพยากรมนุษย์ มีการทำงานที่เน้นเรื่องการวัดผล สนใจเรื่องความยั่งยืนระยะยาว และสนใจที่จะแสวงหาความรู้ความคิดใหม่ๆ ซึ่งแสดงให้เห็นได้จากทฤษฎี 4 L’s ที่แตกต่างกันบนเป้าหมายเดียวกัน กล่าวคือ 4 L’s ของคุณพารณ จะประกอบด้วย Village that Learn (หมู่บ้านแห่งการเรียนรู้) School that Learn (โรงเรียนแห่งการเรียนรู้) Industry that Learn (อุตสาหกรรมแห่งการเรียนรู้) และ Nation that Learn (ชาติแห่งการเรียนรู้) สำหรับ 4 L’s ของอาจารย์จีระ จะประกอบด้วย Learning Methodology (เข้าใจวิธีการเรียนรู้) Learning Environment (สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้) Learning Opportunity (สร้างโอกาสในการเรียนรู้) และ Learning Community (สร้างชุมชนการเรียนรู้)

สิ่งที่น่าสนใจอย่างยิ่งก็คือ หนังสือได้วิเคราะห์ความคล้ายคลึงของทั้งสองท่าน ดังนี้ 1) เดินสู่สนามของงานสร้างทรัพยากรมนุษย์อย่างบังเอิญ  2) หยัดอยู่ มุ่งมั่นพัฒนาทรัพยากรมนุษย์บนปรัชญาแห่งความอย่างยั่งยืน  3) จากความยั่งยืน สู่การเป็นผู้ทรงอิทธิพลทางความคิดต่อสังคม  4) มีบุคลิกลักษณะแบบ “Global Man” ทำให้เป็นคนมีวิสัยทัศน์  5) มีความเป็นผู้ใหญ่ พร้อมจะเป็น “ผู้ให้” ทั้ง “ความรู้” และ “ความรัก” แก่คนใกล้ชิด  6) มีความสุขกับการเป็น “ผู้ให้” ต่อสังคมโดยไม่สนใจว่าจะได้รับ “กล่อง” หรือ การเชิดชูเกียรติจากใคร

ทำให้เกิดความประทับใจได้ว่าทั้งสองท่านมุ่งมั่นที่จะพัฒนา “คน” อย่างจริงจัง ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมหาศาลกับประเทศในอนาคต

สวัสดีครับ อาจารย์

สำหรับ Home work วันนี้ ขอเริ่มต้นด้วยเรื่องของ Mandela กับ 8 ประเด็นของความเป็นผู้นำ ที่โดยส่วนตัวแล้วชอบวลีที่ว่า " ความกล้าหาญไม่ใช่ว่าไม่มีความกลัว" ในบทความที่ได้อ่าน วันแรกที่ผมรับราชการที่สศก.รู้สึกกลัวมาก เพราะไม่มั่นใจกับตำแหน่งนักสถิติเลยว่าตนเองจะทำได้หรือไม่ ผมไม่ได้จบมาทางสถิติ แต่ได้เรียนมาบ้าง ผมจบป.ตรีสัตวศาสตร์ ป.โทภูมิศาสตร์ แต่ก็คิดอยู่ในใจว่าเมื่อมีโอกาสแล้ว อย่างไรก็ต้องลอง ยอมรับว่าช่วงแรกต้องปรับตัวอย่างมาก ทั้งเรื่องวิชาการ โครงสร้างของงาน และเพื่อนร่วมงานที่ผมต้องมาเริ่มใหม่ทั้งหมด ที่ผ่านมาผมทำงานมาหลายอย่างแต่ไม่ค่อยจะเกียวข้องกับงานในofficeมากนัก โดยเฉพาะสถิติ แต่หลังจากที่ผ่านช่วงทดลองงานแล้วความกลัวก็ค่อยๆลอลง ความรู้ที่ต้องใช้เกี่ยวกับงานก็มีมากขึ้นแม้จะยังไม่ดีนัก กล้าที่จะเสนอแนะข้อคิดเห็น ซึ่งอาจเป็นเพราะเรามีหัวหน้าที่ให้โอกาส มีเพื่อนร่วมงานที่ไปด้วยกันได้ จึงทำให้มีความมั่นใจว่างานที่รับผิดชอบอยู่จะต้องพัฒนาคุณภาพให้ดีขึ้นเรื่อยๆ ทันต่อการเปลี่ยนแปลง ที่กล่าวมาคำตอบอาจจะไม่ตรงกับโจทย์ที่อาจารย์ให้มากนัก แต่คิดว่าความกล้าน่าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่เราจะแก้ปัญหา แม้เราจะมีความกลัวอยู่ก็ตาม คงจะขอตอบเพียงเท่านี้ก่อนครับ แล้วจะส่ง Home work เรื่องต่อไปตามมา

8 บทเรียนผู้นำ Mandela ชอบตรงที่ ผู้นำที่ดีต้องรู้ว่าเวลาใดควรรุก หรือเวลาใดควรถอย คือ การผ่อนสั้นผ่อนยาว อย่าถือว่าการถอยเป็นการยอมแพ้ เสียฟอร์ม ถ้าผู้นำประเทศนำข้อนี้มาปรับใช้ก็คงไม่เกิดสงครามทำลายชีวิตมนุษย์นับครั้งไม่ถ้วน

หนังสือ ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ เมื่ออ่านแล้วเห็นความเหมือนกันของคุณพารณและอาจารย์จีระในเรื่อง พื้นฐานครอบครัวที่ดี มีความมุ่งมั่น เสียสละเพื่อยกระดับคุณภาพทรัพยากรมนุษย์ พัฒนาคนมากกว่าการเพิ่มผลผลิต เป็นผู้ใฝ่รู้ เรียนรู้ตลอดเวลา อ่อนน้อมถ่อมตน โลกทัศน์กว้างไกล ไม่ฝักใฝ่การเมือง คิดนอกกรอบ ทำงานจริงจังและต่อเนื่องไม่ยอมแพ้อุปสรรค สามารถแก้ไขวิกฤติ ปัญหาเฉพาะหน้า มีความคิดสร้างสรรค์กล้าที่แหวกวงล้อมเพื่อเดินไปสู่เป้าหมายให้สำเร็จ จุดประกายความคิดของคนให้เกิดภาวะผู้นำ เป้าหมายเดียวกัน คือ มุ่งมั่นในเรื่องคน

สิ่งที่ไม่เหมือนคือ คุณพารณจบการศึกษาทางด้านวิศวกร นักบริหารจากจุฬาลงกรณ์ แต่อาจารย์จีระจบทางด้านเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ แต่มาทำงานด้านทรัพยากรมนุษย์เหมือนกัน อายุที่ห่างกัน แต่มีแนวคิดคล้ายกัน

เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

จากการอ่านหนังสือ HR Champions สรุปได้ ว่า

สิ่งที่เหมือนกัน

มีเป้าหมายเดียวกัน คือ การมุ่งเรื่องคน มุ่งมั่นกับการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งถือเป็นสินทรัพย์ที่มีค่าสูงสุดขององค์กร และทำงานที่เน้นเรื่องวัดผล สนใจเรื่องความยั่งยืนระยะยาว และสนใจแสวงหาความคิดใหม่ๆ

คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา ให้น้ำหนักชีวิตมุ่งไปทางการสร้างคนตามแนวคิดแบบ “Constructionism” ใฝ่ฝันจะจับต้องถึงรูปธรรมของคำว่า “Global Citizen” มากกว่าการซึมซับในแง่ของนิยามและความหมาย

ดร.จีระ หงส์ลดารมณ์ หลังจากลาออกจากอาจารย์ประจำ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์แล้วท่านมุ่งมั่นกับการสร้างอาณาจักรแห่งการเรียนรู้ขึ้นอย่างไม่ยึดติดรูปแบบ

สิ่งที่ต่างกัน

คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา ท่านเป็นคนเอาจริงเอาจัง กัดไม่ปล่อย ท่านอะไรจะทำจนจบ มองผลระยะยาว ไม่ใช่เป็นไปตามแฟชั่น ท่านเชื่อว่า คนที่จะสามารถพาองค์กรให้ประสบความสำเร็จได้ต้องเป็นทั้งคนเก่งและคนดี จึงจะพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จได้ และคนเป็นบุคลากรและทรัพยากรที่มีคุณค่ามากที่สุด และการทำงานเพื่องาน ไม่ใช่มุ่งเรื่องเงินอย่างเดียว เช่นหมอรักษาคนไข้ ต้องการให้คนไข้หาย ไม่ใช่อยากได้เงิน และท่านเคยเปรียบเทียบว่า ปัญหาแรงงานเหมือนไฟไหม้ ถ้ารู้จักดับไฟตั้งแต่ต้นลม คือแก้ปัญหาให้กับพนักงานเสียแต่เนินๆ ไฟก็จะไม่ลุกลามใหญ่โต

ดร.จีระ หงส์ลดารมณ์ ท่านเป็นคนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ พูดจริงทำจริง ไม่ใช่แต่จะพูดอย่างเดียว แต่พอใจที่จะทำ ถ้าลงมือทำท่านจะทำจริงจนสำเร็จ ไม่คอยให้คนอื่นมาแนะนำ แต่รู้จักที่จะประติสัมพันธ์กับเขา ในขณะที่คนอื่นมุ่งที่การขาย การผลิตสินค้า แต่ท่านจะให้ความสำคัญกับ HR

เรียน อาจารย์ จีระ

ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ สิงที่คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และ ดร.จีระ หงส์ลดารมณ์ เหมือน/แตกต่างกันอย่างไร  

แม้ว่าท่านทั้งสองจะจบการศึกษาในสาขาวิชาที่แตกต่างกัน อายุต่างกัน แต่ ทั้งสองท่านมีเป้าหมายเีดียวกันความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาทรัพยกรมนุษย์อย่างจริงจัง

มุ่งมั่นในเรื่องของ "คน" การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับทรัพยากรมนุษย์ เห็นว่า คนเป็นสมบัติที่มีค่าขององค์กร องค์กรจะมีผลประกอบการที่ดีขึ้นอยู่กับบุคลากรที่ทั้งเก่งและดี เน้นการเพิ่มผลผลิตและคุณภาพควบคู่ไปกับการพัฒนาคน เน้นความยั่งยืนในระยะยาว และสนใจแสวงหาความคิดใหม่ๆ อยู่เสมอ  ส่งเสริมให้มีการทำงานเป็นทีม และสนับสนุนให้มีการศึกษาพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ท่านทั้งสองยังสามารถนำเอาแนวคิดแบบตะวันตก มาประยุกต์ใช้กับการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีวิสัยทัศน์กว้างไกล

 

เรียน อ.จีระ หงส์ลดารมภ์

การบ้านครั้งที่ 3

1.ความเห็นจากการอ่าน “บทเรียนผู้นำของ Mandela” และจะนำมาประยุกต์ใช้กับกระทรวงเกษตรอย่างไร

ตอบ ประเด็นที่คิดว่าจะนำมาประยุกต์ใช้กับกระทรวงเกษตรได้คือ การจัดการบริหารศัตรู ในที่นี้จะหมายถึงประเทศที่เป็นคู่แข่งทางการค้า ซึ่งเราจะต้องศึกษาประเทศที่เป็นคู่แข่งว่ามีจุดดี จุดด้อยอย่างไร เพื่อเราจะได้มาวางแผนในการผลิตสินค้าให้สามารถสู้กับคู่แข่งของเราได้ ดังเช่นสุภาษิตที่ว่า รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง

2.ประโยชน์ที่ได้จากการอ่านบทความ “เรียนรู้จากกีฬา กับ ดร.จีระ” มาใช้ในการปรับพฤติกรรม

ตอบ ประโยชน์ข้อแรก คือ การสร้างความสมดุลให้แก่ชีวิตของเรา ทั้งในด้านงาน ครอบครัวและสังคม เพราะชีวิตเราจะมุ่งเน้นอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ จะต้องประกอบกันทั้ง 2 ด้าน ชีวิตจะมีความสุขที่ยั่งยืน

ข้อที่สอง คือ การเตรียมพร้อมฝึกหัดอย่างมีวินัย การทำงานจะต้องเผชิญกับปัญหาที่ยากและท้าทายใหม่ๆ ดังนั้นเราจะต้องพร้อมที่จะแก้ปัญหา โดยการเตรียมความรู้ ใฝ่หาความรู้ ฝึกฝนทักษะ สดใหม่อยู่เสมอ เราก็จะชนะอุปสรรคปัญหาที่เผชิญเข้ามาได้อย่างไม่ยาก ดังเช่นคำพูดที่ว่า การเตรียมพร้อมที่ดี มีชัยไปกว่าครึ่ง

การบ้านครั้งที่ 4

สิ่งที่อ.จีระและคุณพารณเหมือนกัน

ตอบ

1.ต่างคนต่างจบมาคนละด้านแต่มาสนใจเรื่องการพัฒนาทรัพยากรเหมือนกัน โดยจีระจบการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์ ส่วนพารณจบการศึกษาด้านวิศวกรรมศาสตร์

2.ความมุ่งมั่นในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างจริงจัง ทั้งคู่ให้ความสำคัญกับความยั่งยืน โดยทำอย่างต่อเนื่อง

3.ความคิดของทั้งคู่มีอิทธิพลทางความคิดต่อสังคม หลังจากที่ทั้งคู่เกษียณอายุแล้ว แต่ก็ยังทำงานด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างต่อเนื่อง โดยความคิดของทั้งคู่ได้แผ่ขยายออกไปมากกว่าเดิม

4.ความเป็น GlobalMan ของทั้งคู่ ทั้ง 2คนต้องปฏิสัมพันธ์กับคนต่างชาติอยู่เสมอ และได้รับการยอมรับจากคนเหล่านั้น

5.ความเป็นผู้ใหญ่ที่ให้ทั้งความรู้และความรักแก่คนใกล้ชิด ทั้งคู่จะเป็นคนที่มีความเมตตาต่อผู้ใต้บังคับบัญชา เช่น พารณจะกล่าวชื่นชมความเก่งของลูกน้องเสมอ ทำให้คนเหล่านั้นมีกำลังใจ เช่นเดียวกับจีระเขาจะเคี่ยวกรำผู้ใต้บังคับบัญชาให้เป็นคนมีความสามารถในการคิด แก้ปัญหาด้วยตนเอง และทำให้มีโอกาสได้เพิ่มศักยภาพการเรียนรู้

6.มีความสุขกับการเป็นผู้ให้ความรู้ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยไม่สนใจว่าจะได้รับรางวัลหรือการชื่นชมยกย่องหรือไม่

จุฑามาศ สังข์อุดม

สิ่งที่เหมือนกันระหว่าง อ.จีระ และ คุณพารณ ได้แก่

- มีเป้าหมายเดียวกัน มุ่งมั่นพัฒนาทรัพยกรมนุษย์บนปรัชญาแห่งความยั่งยืน ทำอะไรทำจริง และทำอย่างต่อเนื่อง ไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรค

- เดินสู่สนามของงานสร้างทรัพยากรมนุษย์อย่างบังเอิญ ทั้งคู่ไม่ได้จบการศึกษาด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์มาทั้งคู่ แต่สามารถทำงานด้านนี้ได้ดีจากการมุ่งมั่น ใผ่รู้

- มีบุคลิกลักษณะแบบ "Global Man" ทำให้เป็นคนมีวิสัยทัศน์ คือ ได้เปิดโลกทัศน์รับแนวคิดจากนักคิดระดับโลก ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์จากผู้รู้ชาวต่างชาติอยู่ตลอด ทำให้ได้นำแนวคิดทั้งตะวันตกและตะวันออกมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสม ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์กร และของสังคมไทย

- มีความเป็นผู้ใหญ่ พร้อมจะเป็นผู้ให้ทั้งความรู้และความรักแก่คนใกล้ชิด และมีความสุขกับการเป็นผู้ให้ต่อสังคม

สิ่งที่แตกต่างกัน คือ

- ทฤษฏี 4L's เพื่อการสร้างวัฒนธรรมและสังคมแห่งการเรียนรู้ ของ อ.จีระ ได้แก่ Learning Methodology เข้าใจวิธีการเรียนรู้ Learning Environment สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ Learning Opportunities สร้างโอกาสในการเรียนรู้ และ Learning Communities สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ ทฤษฏี 4L's ของคุณพารณ ได้แก่ Village that learn หมู่บ้านแห่งการเรียนรู้ School that learn โรงเรียนแห่งการเรียนรู้ Industry that learn อุตสาหกรรมแห่งการเรียนรู้ และNation that learn ชาติแห่งการเรียนรู้

- ชีวิตหลังเกษียณคุณพารณมุ่งสร้างเยาวชนให้เป็น Global Citizen ตามแนวคิด Constructionism โดยเข้าไปดำเนินการตามสถาบันการศึกษา ส่วน อ.จีระ หลังเกษียณตัวเองจากงานประจำที่ธรรมศาสตร์ ได้มุ่งให้ความรู้ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในวงกว้าง สำหรับบุคคลทั่วไปโดยใช้สื่อ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ การเขียนบทความการทำ blog และการเป็นวิทยากร เป็นต้น

สุปริญญา แก้วนนท์

เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

จากหนังสือเรื่องทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ สามารถสรุปความเหมือนและความแตกต่างของคุณพารณ และ ดร.จีระ ได้คือ

ความเหมือนของทั้ง 2 ท่าน คือ การให้ความสำคัญกับ "คน" ซึ่งถือเป็นสมบัติที่มีค่าที่สุดขององค์กร มิได้เป็นเพียงแค่ต้นทุน ตามแนวคิดเดิมๆ ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาคนให้มีความใฝ่รู้ เรียนรู้ เพื่อเพิ่มศักยภาพ ประสิทธิภาพ และมูลค่าให้กับคนอยู่เสมอ ส่งเสริมให้บุคลากรในองค์กรได้เรียนรู้ในสิ่งใหม่ๆ รู้จักการทำงานเป็นทีม ซึ่งแสดงได้จากทฤษฎี 4 L's ของทั้ง 2 ท่าน ดังนี้

ทฤษฎี 4 L's ของคุณพารณ ประกอบด้วย

1. Village that Learn หมู่บ้านแห่งการเรียนรู้

2. School that Learn โรงเรียนแห่งการเรียนรู้

3. Industry that Learn อุตสาหกรรมแห่งการเรียนรู้

4. Nation that Learn ชาติแห่งการเรียนรู้

ทฤษฎี 4 L's ของ ดร.จีระ ประกอบด้วย

1. Learning Methodology เข้าใจวิธีการเรียนรู้

2. Learning Environment สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้

3. Learning Opportunity สร้างโอกาสในการเรียนรู้

4. Learning Community สร้างชุมชนการเรียนรู้

จากทฤษฎี 4 L's ของทั้ง 2 ท่าน จะเห็นได้ว่าเป็นการพัฒนาคนไปในแนวทางเดียวกัน ถึงแม้ว่าท่านทั้ง 2 จะมีวัยที่แตกต่างกัน จบการศึกษาต่างกัน คือ คุณพารณ จบการศึกษาทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ ส่วน ดร.จีระ จบการศึกษาทางด้านเศรษฐศาสตร์ แต่ก็มีแนวคิดไปในทิศทางเดียวกัน คือ การจะพัฒนาองค์กรให้เจริญก้าวหน้า ต้องเริ่มมาจากการพัฒนา "คน" ก่อนเป็นอันดับแรก

เรียน ศ.ดร. จิระ หงส์ลดารมภ์

ความเหมือนและแตกต่างของอาจารย์พารณ และอาจารย์จีระ

ท่านอาจารย์ทั้ง 2 ต่างเป็น “ครูผู้สร้างคน” ที่มีรูปแบบการใช้ชีวิต แนวคิด และแนวปฏิบัติที่ต่างกัน แต่อยู่บนเป้าหมายร่วมกันในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณค่าต่อองค์กรและสังคม มุ่งสร้างคนไปพร้อมกับการเพิ่มผลผลิตที่จะนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จ และเป็นผู้แรกเริ่มในการนำความรู้ด้านทรัพยากรมนุษย์มาใช้ในการงานเพียงแต่ท่านอาจารย์จีระเป็นนักปฏิบัติที่อาศัยความชาญฉลาดในการนำสื่อ media หรือเทคโนโลยีสารสนเทศ มาประยุกต์ใช้ในงานสอน เช่น Website สื่อโทรทัศน์ และวิทยุ ฯลฯ ทำให้สามารถเข้าถึงคนได้ในทุกช่วงอายุและทุกระดับชั้น

มณทิรา พรหมพิทยายุทธ

ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ สิงที่คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และ ดร.จีระ หงส์ลดารมณ์ เหมือน/แตกต่างกันอย่างไร?

สิ่งที่เหมือนกันระหว่าง คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และ ดร.จีระ หงส์ลดารมณ์ ก็คือ

1. สนใจในเรื่องทรัพยากรมนุษย์ และมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาทรัพยกรมนุษย์อย่างจริงจัง ทั้งที่เรียนกันคนละคณะ

2. ทั้งสองทั้งมีบุคลิกแบบ Global man คือติดต่อกับคนต่างชาติ และสามารถนำเอาวิธีคิดทางตะวันตก มากประยุกต์ใช้กับการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นที่ยอมรับของคนทั่วไป

5. เป็นที่รักของลูกน้อง /ลูกศิษย์

สำหรับความต่างกัน คือ

1. มีวัยและการศึกษาที่แตกต่างกัน

จากที่อ่านหนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ของ ดร.จีระ หงลดารมณ์ vs.

คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา พบว่าท่าน Guru ทั้งสองมีความเหมือนและความแตกต่างกันคือ

1.ท่านทั้งสองมาจากตระกูลที่ดี เป็นชนชั้นปกครองทั้งคู่ จึงถูกปลูกฝังในเรื่องการคิดดี มุ่งเน้นในการพัฒนาประเทศให้เติบโตได้อย่างยั่งยืนเหมือนกัน

2.ท่านทั้งสองเป็นปราญช์ในด้านการทรัพยากรมนุษย์มีแนวคิดในการบริหารจัดการมนุษย์โดยมองมนุษย์เป็นสิ่งที่มีค่าที่สุด มีวิธีการที่แตกต่างกันในทฤษฏี 4 L แต่มีเป้าหมายเดียวกันคือการพัฒนาคน

3. ท่านพารณท่านเป็นวิศวกร เป็นนักบัญชี และหันมาเป็นนักบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่มีความสามารถชั้นแนวหน้าของประเทศ ส่วน ดร.จีระ ท่านเป็นนักเศรษฐศาสตร์ เป็นนักบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ และหันมาสนใจด้านสื่อโดยจัดรายการเป็นของตัวเองทั้งทาง ทีวี วิทยุ และหนังสือพิมพ์ที่มีผู้ให้ความสนใจเป็นอย่างมาก ถือว่าท่านทั้งสองมีความสามารถในการข้ามศาสตร์ที่เหมือนกัน

นางสาวกาญจนา มาลัยกฤษณะชลี

เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

1. สรุปความเหมือนและความแตกต่างระหว่าง อ.จีระ หงส์ลดารมภ์ และ อ.พารณ อิสรเสนา ณ อยุธยา

ความเหมือน

1) มีการทำงานที่ให้ความสำคัญและเน้นหลักของทรัพยากรมนุษย์

2) การมุ่งมั่นพัฒนาทรัพยากรมนุษย์บนปรัชญาแห่งความยั่งยืน

3) เป็นผู้มีความโดดเด่นและทรงอิทธิพลทางความคิดต่อสังคม

4) มีบุคลิกแบบ Global Man คือ การมีชีวิตที่ต้องปฏิสัมพันธ์กับคนต่างชาติอยู่เป็นประจำ และประสบความสำเร็จทั้งในเชิงเป้าหมายและการยอมรับ ความน่าเชื่อถือจากคู่กรณีที่เข้าไปเกี่ยวข้องด้วย ทำให้เป็นผู้มีวิสัยทัศน์

5) มีความเป็นผู้ใหญ่ พร้อมจะเป็นผู้ให้ทั้งความรู้และความรักแก่คนใกล้ชิด

6) มีความสุขกับการเป็นผู้ให้ต่อสังคม โดยไม่สนใจต่อสิ่งตอบแทนหรือการยกย่องเชิดชูเกียรติ

ความแตกต่าง แตกต่างกันที่ทฤษฎี 4L’s

ของ อ. พารณ - ทฤษฎี 4L’s ได้แก่

• Village that Learn – หมู่บ้านแห่งการเรียนรู้

• School that Learn - โรงเรียนแห่งการเรียนรู้

• Industry that Learn – อุตสาหกรรมแห่งการเรียนรู้

• Nation that Learn - ชาติแห่งการเรียนรู้

ของ อ. จีระ - ทฤษฎี 4L’s ได้แก่

• Learning Methodology – เข้าใจวิธีการเรียนรู้

• Learning Environment - สร้างบรรยาการศในการเรียนรู้

• Learning Opportunity - สร้างโอกาสในการเรียนรู้

• Learning Community - สร้างชุมชนการเรียนรู้

เรียน อ. จิระ หงส์ลดารมภ์ ที่เคารพ

คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยาและดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ แม้ท่านทั้งสองจะมีวัยวุฒิ รูปแบบการใช้ชีวิต ลักษณะการงาน และพื้นฐานความรู้ที่แตกต่างกัน แต่คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยาและดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ก็ยังเหมือนกันตรงที่มีความเชื่อและศรัทธา และความมุ่งมั่นในเรื่องคนเหมือนกัน ซึ่งอีกคนเป็นนักบริหารและอีกคนเป็นนักวิชาการที่มีบทบาทมากในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยเห็นว่าคนเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดขององค์กร การพัฒนามนุษย์โดยมุ่งเน้นการเรียนรู้พร้อมทั้งกลยุทธ์ในการสร้างความเป็นเลิศให้องค์กรจากแรงจูงใจ เป็นการสร้างศักยภาพการแข่งขันระดับประเทศ ด้วยการพัฒนาทรัพยากรคนเป็นสำคัญ มีความสุขต่อการเป็นผู้ให้ต่อสังคม และไม่ยึดติดกับกรอบแนวคิดเดิมๆ แต่อยู่บนปรัชญาแห่งความยั่งยืน

ความเหมือนของอาจารย์จีระ กับ คุณพารณ

1. ทั้ง 2 ท่าน เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ทั้งที่คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา จบการศึกษาปริญญาตรีด้านวิศวกรรมศาสตร์ และปริญญาโทด้านวิศวกรรมเครื่องกล ส่วนดร.จีระ หงส์ลดารมณ์ จบการศึกษาทางด้านเศรษฐศาสตร์ ทั้งปริญญาตรี-เอก

2. ทั้งสองท่านมีความมีความเชื่อว่าทรัพยากรมนุษย์เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการบริหารงาน จึงมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาทรัพยกรมนุษย์อย่างจิงจัง

3. ทั้งสองทั้งมีบุคลิกแบบ Global man คือติดต่อกับคนต่างชาติ และสามารถนำเอาวิธีคิดทางตะวันตก มากประยุกต์ใช้กับการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และผนวกวับมีวิสัยทัศน์กว้างไกล

4. เป็นที่รักของลูกน้อง /ลูกศิษย์ เนื่องจากทั้งสองท่านให้ความสำคัญกับคนรอบข้างและยังเป็นผู้ให้อย่างแท้จริง ทั้งความรู้ ความรัก และโอกาส

เรียน อาจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

หนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ เป็นหนังสือที่น่าอ่านมากค่ะและเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับคนทำงาน จะอยู่ในระดับใดก็ตาม แต่ด้วยที่เวลาที่มีจำกัดจึงอ่านยังไม่ครบทุกหน้าค่ะ จึงสรุปได้ไม่ค่อยดี แต่ก็พอสรุปคร่าว ๆ ได้ดังนี้ค่ะ

ท่านทั้งสอง มีความสนใจในเรื่องทรัพยากรมนุษย์ และที่สำคัญคือเน้นในเรื่องการสร้างคนให้มีภาวะผู้นำทางความคิด ยังมีความเข้าใจการเรียนรู้และพัฒนาทุนทางมนุษย์ที่ถูกทาง จึงเป็นนักบริหารมืออาชีพ ยังพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา ท่านทั้งสองยังเป็นผู้บุกเบิกทางความคิด ในหลาย ๆ แนวความคิดในเรื่องความคิดสร้างสรรค์ คิดแบบมองการณ์ไกล คิดข้ามศาสตร์ จึงสร้างเอกลักษณ์ทางความคิดเฉพาะตน ตลอดเวลาเกือบร่วม 30 ปี ยังอุทิศเวลาอบรมถ่ายทอดความรู้ในกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่สนใจพัฒนาบุคลากรในองค์กรของตน หากผู้เข้าอบรมได้นำไปปรับใช้ในการทำงานจะเป็นสิ่งที่ดีกับตัวเองและองค์กรอย่างยิ่ง

หากจะมองความแตกต่างแล้วคงจะเป็นเรื่องอายุ หรือแนวความคิดในเรื่องทฤษฎี 4L’s ของ อ.จีระนั้น เป้าหมายการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ต้องทำความเข้าใจการเรียนรู้ สร้างสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียน สร้างโอกาสในการเรียนรู้ และสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้

กุลธิดา ศรีวิพัฒน์

เรียน ท่านอาจารย์จีระ หงส์ลดารมภ์

สำหรับหนังสือเรื่อง“ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้” ที่อาจรย์กรุณามอบให้อ่านเพื่อจะได้ศึกษาถึงประสบการณ์ของอาจรย์และอาจารย์พารณ ว่าทำไมทั้ง 2 ท่านจึงประสบความสำเร็จในการทำงาน และทำไมทั้ง 2 ท่านจึงได้โคจรมาพบกันจนกลายมาเป็นเพื่อนต่างวัยที่ใจเดียวกัน ทั้งๆ ที่ทั้ง 2 ท่านมีความแตกต่างกันในเรื่องอายุที่ห่างกันมากถึง 20 ปี และเส้นทางการทำงานและการศึกษาก็ต่างกันจบกันคนละที่เรียนมากันคนละอย่าง แต่ในความแตกต่างนั้นทั้ง 2 ท่านก็มีความเหมือนที่เป็นเส้นสำคัญที่ทำให้เชื่อมต่อกันได้อย่างมหัสจรรย์และเป็นประโยชน์อย่างมหาศาล นั้นก็คือทั้ง 2 ท่านต่างก็มีเป้าหมายในชีวิตที่ยิ่งใหญ่เหมือนกันคือมีความมุ่งมั่นในเรื่องการพัฒนาทรัพยกรมนุษย์ ซึ่งท่านถือว่าเป็นสมบัติที่มีคุณค่าที่สุด โดยการมุ่งพัฒนาระบบความคิดไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่องแม้จะพบกับอุปสรรคแต่ก็ได้พลิกให้มาเป็นโอกาสจนสามารถยืนหยัดและประสบความสำเร็จได้อย่างสง่างามสมกับเป็นผู้นำของผู้นำอย่างแท้จริง หาใช่ชาติกำเนิดที่สูงส่งที่มีไม่ ถ้าหากทั้ง 2 ท่านไม่มีความรักในการพัฒนาอย่างแท้จริงและไม่เป็นผู้ให้ด้วยความจริงใจ ชาติกำเนิดที่มีที่เหมือนกันก็ไม่สามารถช่วยให้ท่านทั้ง 2 กลายมาเป็นวีรบุรุษในใจของผู้คนมากมายทั้งในและต่างประเทศได้เช่นทุกวันนี้

สุดท้ายต้องขอขอบพระคุณอาจารย์ที่ได้กรุณาอบรมสั่งสอนและมอบหนังสือดีๆ อย่างนี้ให้กับลูกศิษย์ได้อ่าน เพื่อทำให้เกิดแรงบันดาลใจในการใฝ่หาความรู้และให้มีความกระตืนรืนร้นในการทำงานและดำรงชีวิต ขอบพระคุณอย่างสูงค่ะ

เรียน ศ.ดร จีระ หงส์ลดารมภ์

เช้าวันนี้เป็นวันที่ 5 คือ วันสุดท้ายของการอบรมในหลักสูตร “Talented Capital Development Program for Young Executive ” และวันนี้อาจารย์ได้ให้การบ้านเพื่อให้แสดงความคิดเห็น2 ประเด็นด้วยกัน คือ

1 . ใน 8 ประเด็นความเป็นผู้นำของ Nelson Mandela คุณสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้อย่างไร

ใน 8 ประเด็นความเป็นผู้นำที่ Mandela ได้เสนอไว้นั้น ทั้ง 8 ประเด็นมีความสำคัญที่จะนำมาเป็นแนวคิดและปฏิบัติเพื่อการเป็นผู้นำที่ดี และในความคิดเห็นของตนเองประเด็นที่สำคัญหรือควรมีประการแรก คือ ในหัวข้อที่ 6 ผู้นำต้องมีภาพลักษณ์ที่ดี มีเกียรติ และสง่างามเสมอ เพราะภาพลักษณ์คือสิ่งแรกที่คนอื่นสามารถมองเห็นก่อนที่จะได้รู้จักกันเสียอีก ซึ่งจะนำมาให้เกิดความเชื่อและความศรัทธาตามมา ในภาพรวมขององค์กรเราต้องสร้างภาพลักษณ์ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นองค์กรที่น่าเชื่อถือ มีเป้าหมายของการทำงานเพื่อแก้ไขความเดือดร้อนของเกษตรกร มุ่งมั่นทำงานเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ซึ่งภาพลักษณ์ที่เห็นจะต้องมุ่งมั่นและทำงาน มีแนวคิดที่จะต้องสร้างให้เกิดเป็นรูปธรรมให้ได้ และประเด็นต่อไป คือ ประเด็นที่ 4 ถ้าต้องการบริหารศัตรู ต้องรู้จักเขาดีว่า ชอบอะไร มีจุดแข็ง จุด อ่อน ตรงไหน เปรียบกับการแข่งขันระดับโลก ในทางการค้าการเกษตร เราต้องศึกษา ข้อได้เปรียบ ข้อเสียเปรียบ ที่เราต้องการทำการค้าด้วย เพื่อส่งเสริมในสินค้าที่เรา แข็งแกร่ง สร้างความเป็นเลิศได้ แต่ถ้านำจุดออ่อนของเราไปนำเสนอก็ยิ่งไม่เป็นผลดีหรือไม่เกิดประโยชน์

** สำหรับในหัวข้อมี่สองขออนุญาตเขียนตอบอาจารย์อีกครั้งนะค่ะ

เรียนอาจารย์จีระ

1. เมื่อได้อ่านบทความที่เกี่ยวกับความเป็นผู้นำของ Mandela 8 ประเด็น ผมมีความประทับใจเป็นพิเศษในส่วนที่เกี่ยวกับ

1. ความกล้าหาญและการกล้าจุดประกาย และเป็น Role Model ให้คนอื่นๆเป็นเลิศ

2. การเป็นผู้นำต้องรุกได้ รับได้ และไม่ประมาท

3. การประณีประนอม หาทางตกลงแบบ Win-Win

4. รู้ว่าจังหวะไหนจะพอหรือถอย

ซึ่งในส่วนที่ประทับใจเป็นพิเศษทั้ง 4 ข้อนี้ทำให้ได้ข้อคิดสำหรับนำมาปรับใช้ในการทำงานต่อไปคือ

- จะต้องมีความกล้าหาญ กล้าคิด กล้าตัดสินใจ และมีความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ทำ หรือมอบให้ผู้อื่นทำ และเป็น Role Model ให้กับน้องๆที่ทำงาน รวมทั้งกระตุ้นให้ผู้ร่วมงานกล้าคิด กล้าทำ กล้าแสดงออก ซึ่งจะช่วยให้เกิดการพัฒนาไปด้วยกัน

- จะต้องประเมินสถานะกาณ์ต่างๆด้วยความไม่ประมาทและมีความยืดหยุ่น รู้จักจังหวะเวลา ว่าช่วงใดควรรุก ช่วงใดควรรับ ช่วงใดควรพอ หรือถอยตลอดจนการหาข้อตกลงข้อสรุปร่วมกันให้ออกมาในลักษณะ Win-Win ยกตัวอย่างเช่นการติดต่อประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ หรือการนำเสนอความคิดในสถานที่ต่างๆเป็นต้น

2. เมื่ออ่านหนังสือ”ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้” แล้วมีความรู้สึกว่าถึงแม้ อาจารย์จีระ มีพื้นฐานของนักเศรษฐศาสตร์ ส่วนคุณพารณฯ มีพื้นของวิศวกรนักบริหาร แต่ก็มีส่วนเหมือนกัน คือ

1. มีเป้าหมายเดียวกัน คือ การมุ่งมั่นในเรื่องทรัพยากรมนุษย์

2. ยืนหยัดและมุ่งมั่นพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อยู่บนปรัชญาแห่งความยั่งยืน

3. การเป็นผู้มีอิทธิพลทางความคิดต่อสังคมในเรื่องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

4. การมีลักษณะเป็น “Global Man” ทำให้เป็นคนมีวิสัยทัศน์ ซึ่ง “Global Man” ในที่นี้เป็นการสะท้อนถึงบุคลิกลักษณะการมีวงจรชีวิต ที่ต้องปฏิสัมพันธ์กับคนต่างชาติเป็นประจำ และประสบความสำเร็จทั้งในเชิงเป้าหมายงาน การยอมรับ ตลอดจนการได้รับความน่าเชื่อถือจากผู้ที่มีปฏิสัมพันธ์ด้วย

5. มีความเป็นผู้ใหญ่ พร้อมจะเป็นผู้ให้ทั้งความรู้และความรัก แก่คนใกล้ชิด

6. มีความสุขกับการเป็นผู้ให้ต่อสังคม โดยไม่สนใจการเชิดชูเกียรติจากผู้ใด

แต่อย่างไรก็ตามในความเหมือนก็จะมีความแตกต่างในรายละเอียดของทั้ง 2 ท่าน คือ

1. อ. จีระ จะมีมิติของนักวิชาการ ส่วนคุณพารณฯจะมีมิติของนักธุรกิจระดับผู้บริหาร

2. การดำเนินงานในปัจจุบัน อ.จีระ จะเน้นการขยายฐานความรู้ของท่านไปสู่ระดับกลางและระดับล่าง รวมทั้งมุ่งมั่นสร้างชาวราชภัฏให้แข็งแกร่งเติบใหญ่ทางภูมิปัญญา ขณะที่คุณพารณฯ จะมุ่งสร้างเยาวชนให้เป็น Global Citizen (พลโลก) ตามแนวคิด Constructionism

3. ทฤษฎี 4 L’s ที่แตกต่างกันแต่อยู่บนพื้นฐานเป้าหมายเดียวกัน :

4 L’s ของ อ.จีระ

1. Learning Methology

2. Learning Environment

3. Learning Opportunity

4. Learning Community

4 L’s ของคุณพารณฯ

1. Village that Learn

2. School that Learn

3. Industry that Learn

4. Nation that Learn

เรียน ท่านอาจารย์จีระ หงส์ลดารมภ์

“ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้” ชื่อนี้เป็นชื่อหนังสือเล่มหนึ่งที่ได้อ่านเมื่อมาอบรมในครั้งนี้ หลังจากที่ได้อ่านแล้ว ทำให้ได้เรารับทราบว่า ท่านอาจารย์พารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และท่านอาจารย์จีระ หงส์ลดารมภ์ นั้นมีความเหมือนและแตกต่างกันหลาย ๆ ประการ สิ่งที่ท่านทั้งสอง เหมือนกันก็คือ ท่านทั้งสอง ต่างกำเนิดมาในชนชั้นปกครองของสังคมเหมือนๆ กัน รวมทั้งท่านทั้งสองเป็นบุคคลที่มีเป้าหมายเดียวกันคือ การมุ่งมั่นในเรื่องการพัฒนาทรัพยากรบุคคล ซึ่งเป็นสมบัติที่มีค่าที่สุดขององค์กร แต่ในความเหมือนก็มีความแตกต่าง คือ ท่านอาจารย์นั้นมีศาสตร์ที่ชำนาญต่างกัน คือ ท่านอาจารย์พารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา นั้นจบการศึกษาทางด้าน วิศวกรรมศาสตร์ แต่ ท่านอาจารย์จีระ หงส์ลดารมภ์ จบทางด้าน เศรษฐศาสตร์ แต่ถึงแม้ว่าท่านทั้งสองจะเหมือนหรือแต่ต่างกันอย่างไร ท่านก็เป็นบุคคลที่การมุ่งมั่นในเรื่องการพัฒนาทรัพยากรบุคคล ซึ่งเป็นสมบัติที่มีค่าที่สุดขององค์กร ให้มีค่ามากยิ่ง ๆ ขึ้นไปในระดับประเทศ ซึ่งท่านทั้งสองเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่าท่านเป็นผู้สร้างผู้นำของผู้นำ

จากการได้อ่านหนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ ซึ่งเป็นบทสนทนาว่าด้วยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ของนักคิดและนักปฏิบัติแห่งยุค ซึ่งได้แก่ คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และอาจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ซึ่งเป็นบุคคลที่แตกต่างกันด้านอายุ แต่มีพื้นฐานทางชีวิตที่คล้ายคลึงกัน ซึ่งถึงแม้ท่านทั้งสองจะอยู่ในสังคมที่อยู่ในระดับบน (สังคมระดับสูงในที่นี้หมายถึง บุคคลที่เกิดในตระกูลดี มีฐานะการเงินดี การศึกษาสูง หรือที่เรียกว่า ไฮโซ) แต่สิ่งที่ท่านทั้งสองเหมือนกันคือ การมองเห็นมูลค่าหรือคุณค่าในคน ซึ่งถ้าเทียบกับปัจจุบันคนที่เรียกตัวเองว่าเป็นไฮโซ หรือคนมีเงินมีฐานะ มักจะมองข้ามความสำคัญของคนในระดับกลางและล่างไป จะเพียงบางส่วนที่มองเห็นความพร้อมความโชคดีของตัวเองว่าเกิดมาพร้อมแล้ว หรือเกิดมาเพื่อมาเกื้อกูลสังคมส่วนใหญ่ที่ยังคงมีความไม่พร้อม ดังนั้นสิ่งที่ได้จากหนังสือสิ่งแรกคือ อาจารย์และคุณพารณ น่าจะเป็นแบบอย่างที่ดีสำหรับคนที่มีความพร้อมในสังคม ให้พึงตระหนักว่าท่านโชคดีกว่าคนอื่นๆ ในสังคม และควรภาคภูมิใจว่าพระเจ้าเป็นผู้เลือกท่านมาเพื่อให้ท่านมาเป็นกลไกสำคัญในการสร้างสรรค์สังคมให้ดีขึ้น

ส่วนสิ่งที่เหมือนกันระหว่างทั้งสองท่านคือ ท่านทั้งคู่เดินสู่สนามของงานสร้างทรัพยากรมนุษย์อย่างบังเอิญ แต่ท่านทั้งสองก็มีความมุ่งมั่นเอาจริงเอาจังในด้านการพัฒนาทรัพยากรมุนษย์ด้วยจิตวิญญาณ ซึ่งการทำอะไรด้วยจิตวิญญาณก็คงเป็นคำที่สามารถครอบคลุมหรือสื่อให้เห็นได้ว่าเป็นการทำทุกอย่างเพื่อให้ได้มาซึ่งผลที่เกินร้อย และเชื่อมั่นว่าท่านทั้งสองจะสามารถหล่อหลอมและเชื่อมจิตวิญญาณแนวความคิดของท่านไปสู่บุคคลอื่นๆ ได้อีกมาก และบุคคลเหล่านั้นก็จะช่วยต่อยอดแนวความคิดของไปสู่การปฏิบัติได้อย่างทั่วถึงในอนาคต

ส่วนสิ่งที่ดิฉันคิดว่าท่านทั้งสองมีความแตกต่างกันนอกจากเรื่องอายุ คือ เรื่อง 4 L’s ซึ่งท่านพารณท่านจะมองในภาพใหญ่ แต่ท่านอาจารย์ ดร.จีระ จะมองในภาพเล็กและเน้นให้เป็นการปฏิบัติจากจุดเริ่มต้นที่เล็กก่อน แต่จุดมุ่งหมายของท่านทั้งคู่ก็คือเรื่องการพัฒนาคน

ซึ่งสุดท้าย ดิฉันเชื่อในสิ่งที่หนังสือกล่าวไว้ว่า “เราเชื่อมั่นในคุณค่าของคน ถ้าเห็นคนมีคุณค่าต่อองค์กรมากอย่างนั้นแล้ว และผู้ใหญ่ในองค์กรลงมาดูแลเรื่องนี้ด้วยตัวเอง จะสร้างความสำเร็จให้กับองค์กรได้มากทีเดียว” โดยสิ่งที่กล่าวนั้นตรงกับสิ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบันของการอบรมครั้งนี้เป็นอย่างยิ่ง คือ ถ้าผู้ใหญ่ซึ่งได้แก่ท่านเลขาฯ ไม่ให้ความสำคัญกับคนของ สศก. แล้ว การอบรมครั้งนี้จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้

เรียน ศ.ดร.จิระ

ขอส่งการบ้านเรื่อง สิ่งที่เหมือนกันระหว่างดร.จีระ หงส์ลดารมณ์ และ คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา

1) ท่านทั้งสองเป็นผู้มีความโดดเด่นและทรงอิทธิพลทางความคิดต่อสังคม

โดยเฉพาะ ท่าน ศ.ดร.จิระ ที่มีผู้คลั่งใคร้เป็นจำนวนมาก

2)ท่านทั้งสองมีการทำงานที่ให้ความสำคัญและเน้นหลักของทรัพยากรมนุษย์

3) ท่านทั้งสองมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างจริงจังบนปรัชญาแห่งความยั่งยืน

4)ทั้งสองทั้งมีบุคลิกแบบ Global man คือติดต่อกับคนต่างชาติ และสามารถนำเอาวิธีคิดทางตะวันตก มากประยุกต์ใช้กับการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และผนวกวับมีวิสัยทัศน์กว้างไกล

ความแตกต่างคือ

วัยและการศึกษา คุณพารณ มีอายุมากกว่า ศ.ดร.จิระถึง 21 ปี

สุภัค วงศ์วิวัฒน์ไชย

เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ตามที่ได้อ่าน HR.CHAMPIONS คิดว่าสิ่งที่เหมือนกันระหว่าง อ.จีระ และ คุณพารณ ได้แก่

1. ท่านทั้งสองมีความมุ่งมั่นอย่างจริงจังในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และมีความุ่งมั่นอย่างต่อเนื่องที่ให้ความสำคัญทางด้านนี้

2.มีความเป็น "Global Man" เหมือนกันที่มีโลกทัศน์กว้างไกล มีแนวคิดเทียบเท่านักคิดระดับโลก มีประสบการณ์จากนานาชาติ และสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเล็งเห็นความสำคัญที่จะใช้ความรู้นั้นมาพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์กรในประเทศไทย

3.มีบุคลิกของความเป็น "ผู้ใหญ่"ที่น่านับถือ คือพร้อมที่จะ ให้ความรู้ จริงจังและมีความสุขที่จะถ่ายทอดความรู้ให้แก่ลูกศิษย์

สิ่งที่ต่างกัน ระหว่าง อ.จีระ และ คุณพารณ ได้แก่

1. ทางด้านพื้นฐานการศึกษา คือ คุณพารณศึกษาทางด้านวิศวกร ด้านบัญชี และด้านบริหารธุรกิจ จึงถือว่าเป็นวิศวกรนักบริหาร ส่วนท่านอาจารย์จีระจบทางด้านเศรษฐศาสตร์และด้านนโยบายรัฐ ถือเป็นนักเศรษฐศาสตร์

2. ทางด้านรายละเอียดของทฤษฎี 4L’s คือของ อ.จีระนั้น เป้าหมายการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ต้องเริ่มจาก ทำความเข้าใจการเรียนรู้ Learning Methodology สร้างสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียน Learning Environment สร้างโอกาสในการเรียนรู้ Learning Opportunity และสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ Learning Society

สำหรับ 4 L’s ของคุณพารณ จะประกอบด้วย Village that Learn (หมู่บ้านแห่งการเรียนรู้) School that Learn (โรงเรียนแห่งการเรียนรู้) Industry that Learn (อุตสาหกรรมแห่งการเรียนรู้) และ Nation that Learn (ชาติแห่งการเรียนรู้)แต่ในความต่างก็มีเป้าหมายที่เหมือนกัน คือ ความมุ่งมั่นในการสร้างทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่าเหมือนกัน

สุดารัตน์ แซ่อุ้ย

เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

จากการอ่านหนังสือของศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และ ท่านพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา เรื่องทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ พบว่าทั้ง ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และ ท่านพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา ซึ่งต่างก็เป็น Guru ด้านทรัพยากรณ์มนุษย์ทั้งคู่และมีลักษณะที่คล้ายคลึงกันบนความต่าง สำหรับลักษณะที่คล้ายกันคือ

1.มีการเดินสู่สนามของงานสร้างทรัพยากรมนุษย์อย่างบังเอิญ ซึ่งเป็นการข้ามศาสตร์ที่ทั้งคู่ได้จบการศึกษามา คือ ด้านเศรษฐศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์

2.หยัดอยู่ มุ่งมั่นพัฒนาทรัพยากรมนุษย์บนปรัชญาแห่งความยั่งยืน ซึ่งทั้ง 2 ท่านให้ความสำคัญกับความยั่งยืน คือทำอะไรทำจริงจังและทำอย่างต่อเนื่อง ไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรค รวมทั้งการลงลึกในเรื่องงานวิจัย เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนหรือการตัดสินใจในการต่อยอดโครงการใดโครงการหนึ่ง

3.จากความยั่งยืน สู่การเป็นผู้ทรงอิทธิพลทางความคิดต่อสังคม จะเห็นได้ชัดจากการที่มีผู้ติดตามการเคลื่อนไหวทางความคิดของบุคคลทั้งสองอย่างมากมาย แม้ว่าทั้ง 2 ท่านจะเป็นอิสระจากองค์กรเดิม นั่นเท่ากับว่าทั้ง 2 ท่านยังมี “แบรนด์” ขององค์กรเดิมติดตรึงอยู่ในความนึกคิดของสังคม

4.การมีบุคลิกลักษณะแบบ “Global Man” ทำให้เป็นคนมีวิสัยทัศน์ ซึ่งสะท้อนได้จากบุคลิกของทั้ง 2 ท่าน คือ การมีวงจรชีวิตที่ต้องปฏิสัมพันธ์กับคนต่างชาติอยู่เสมอ และได้รับการยอมรับ และประสบความสำเร็จในเชิงเป้าหมายงาน อีกทั้งความน่าเชื่อถือที่มีมากมาย

5.มีความเป็นผู้ใหญ่พร้อมจะเป็น “ผู้ให้” ทั้ง “ความรู้” และ “ความรัก” แก่คนใกล้ชิด ทั้ง 2 ท่านมีสัมผัสพิเศษด้านมนุษย์ที่เรียกว่า “Human Touch” พร้อมที่จะเป็นครูผู้สร้างคน และพร้อมที่จะหยิบยื่นโอกาสและสิ่งดีๆ ให้กับทุกคน

6.มีความสุขกับการเป็น “ผู้ให้” ต่อสังคมโดยไม่สนใจว่าจะได้รับ “กล่อง” หรือ การเชิดชูเกียรติจากใคร สิ่งที่ทั้ง 2 ท่านได้กระทำประโยชน์ต่อสังคมประเทศชาตินั้น ท่านทำด้วยความเต็มใจ ท่านทำด้วยหัวใจ

สำหรับความต่างของทั้ง 2 ท่าน คือ

1. การข้ามศาสตร์ของทั้งสองท่าน

2. ท่านพารณให้ความสำคัญกับ Global Citizen ส่วน ศ.ดร.จีระ จะเน้นการขยายฐานความรู้

3. ทฤษฎี 4L's ที่แตกต่างกันบนเป้าหมายเดียวกัน

เรียน ท่านอาจารย์ ดร.จีระ

หนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ เป็นหนังสือที่มีประโยชน์มาก หากใครได้อ่านจะได้แนวคิดและข้อคิดดีๆมากมาย สามารถใช้เป็นจุดเริ่มต้นของการเป็นผู้นำได้ดี

จากที่ได้อ่านหนังสือเล่มนี้ ทั้งสองท่านมีสิ่งที่เหมือนกันคือ มีความมุ่งมั่น มีความตั้งใจทำในสิ่งที่ต้องการ นั่นคือ การเป็นนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งทั้งสองท่านไม่ได้จบมาทางด้านนี้เลย แต่ท่านสามารถทำได้ขนาดนี้ถือว่าน่ายกย่องมาก ทั้งแนวคิดและวิธีการของการเป็นนักพัฒนาฯ นอกจากนี้ทั้งสองท่านยังมีสิ่งที่เหมือนกันอีกอย่างคือ มีความเสียสละเพื่อส่วนรวมในการเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ให้กับคนรุ่นหลังได้รับฟังและนำไปประยุกต์ใช้ ส่วนสิ่งที่แตกต่างกันนั้นก็คงจะเป็นเรื่องอายุ และประสบการณ์ทำงานในองค์กรที่แตกต่างกัน แต่ส่วนต่างนี้กลับทำให้ทั้งสองคนสามารถแลกเปลี่ยนกันจนเป็นประโยชน์สำหรับคนรุ่นหลังได้ดี

เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

จากการแนะนำของคุณกนกพรรณ วรรธนาคม ให้เข้ามาดู www.chiraacademy.com อาจจะมีประโยชน์สำหรับกระผมไม่มากก็น้อยในการปฏิบัติงานบ้างก็ได้ จากการเข้ามาดูในเว็บแล้วกระผมรู้สึกว่าเป็นเว็บที่ใช้ได้เลยเพราะตอนแรกๆกระผมไม่คิดว่าเว็บ chiraacademy.com ไม่น่าจะมีอะไรได้มากขนาดนั้นหรอกครับ

แต่พอเริ่มเข้ามาดูและเริ่มอ่านก็เริ่มเข้าใจว่าสิ่งที่คุณกนกพรรณ บอกมานั้นถูกต้องเลยที่เดียว เพราะในเว็บมีบทความต่างๆ มีการนำหนังสือดีๆมาแนะนำ มีกระทู้ต่างๆที่แสดงและให้ความคิดเห็นมากมาย ซึ่งเราจะได้รับฟังความรู้ ทัศนคติและแนวคิดต่างๆที่เมีประโยชน์มาใช้ได้กับตัวเอง ครอบครัว และองค์กรได้ สุดท้ายผมขอขอบคุณศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ มากๆครับและกระผมจะติดตามผลงานของท่านต่อไป

นายปริญญา

เรียน ท่านอาจารย์ ดร.จีระ

จากการอ่านหนังสือของศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และ ท่านพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา เรื่องทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ พบว่ามิติที่มีความคล้ายคลึงกันที่เห็นได้ชัดคือ

1. เรื่องของภูมิหลังของชีวิตที่มาจากตระกูลใหญ่ แวดล้อมไปด้วยความพรั่งพร้อมของสิ่งต่าง ๆ ที่จะสนับสนุนให้เป็นบุคคลที่ประสบความสำเร็จและมีคุณค่า

2. มีความมุ่งมั่นที่จะประสบความสำเร็จ(Focus)เป้าหมายเดียวกัน

3. ท่านทั้งสองมีความมุ่งมั่นเน้นสร้าง Value added ให้กับคน กระตุ้นให้เกิดพลังสร้างประโยชน์ให้กับองค์กรและประเทศชาติ

4. Wisdom สั่งสมประสบการณ์มาเป็นเวลานาน วิเคราะห์เชื่อมโยงองค์ความรู้และศาสตร์รอบทิศทาง 360

ส่วนความแตกต่างของท่านทั้งสอง มีดังนี้

1. จบการศึกษาในศาสตร์วิชาที่ต่างกัน แต่ไม่ได้ทำให้เป็นอุปสรรคในการมุ่งมั่นที่จะเน้นถึงคุณค่าของทรัพยากรมนุษย์

2. ถึงแม้จะมีอายุที่เรียกว่าห่างกันมากทีเดียว แต่กลับมาเดินบนเส้นทางเพื่อเป้าหมายเดียวกัน(จากทฤษฎี4L's)

ตามที่ได้อ่าน HR.CHAMPIONS คิดว่าสิ่งที่เหมือนกันระหว่าง อ.จีระ และ คุณพารณ ได้แก่

1. ท่านทั้งสองมีความมุ่งมั่นอย่างจริงจังในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เหมือนกัน

2.ท่านทั้งสองมีโลกทัศน์กว้างไกล มีแนวคิดเทียบเท่านักคิดระดับโลก มีประสบการณ์จากนานาชาติ และนำมาประยุกต์ใช้พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์กรในประเทศไทย

อย่างจริงจัง

3.ท่านทั้งสองมีบุคลิกของความเป็น "ผู้ใหญ่"ที่น่านับถือ คือพร้อมที่จะ ให้ความรู้ จริงจังและมีความสุขที่จะถ่ายทอดความรู้ให้แก่ลูกศิษย์

4 ท่านทั้งสองมาจากชาติตระกูลชนชั้นการปกครอง ชนชั้นสูงเหมือนกัน คือ ศ ดร จีระ มาจากตระกูล หงส์ลดารมภ์ ส่วน อาจารย์ พารณ มาจากตระกูล อิศรเสนา ณ อยุธยา

5 ท่านทั้งสอง เป็นผู้ที่มีชื่อเสียง มีคนบ้าคลั่งท่านมาก

สิ่งที่ต่างกัน ระหว่าง อ.จีระ และ คุณพารณ ได้แก่

1. ท่านทั้งสองมีการศึกษาคนละสาขา คือ คุณพารณศึกษาทางด้านวิศวกร ด้านบัญชี และด้านบริหารธุรกิจ จึงถือว่าเป็นวิศวกรนักบริหาร ส่วนท่านศ ดร จีระจบทางด้านเศรษฐศาสตร์และด้านนโยบายรัฐ ถือเป็นนักเศรษฐศาสตร์

2 ท่านอาจารย์พารณ เป็น ผอ ระบบวิธีการและตรวจสอบของบริษัทปูนซีเมนต์ไทย ส่วนท่าน ศ ดร จีระ เป็น ผอ สถาบันทรัพยากรมนุษย์ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

3 มีอายุที่แตกต่างกันถึง 21 ปี คือท่านอาจารย์พารณ มีอายุมากกว่าท่าน ศ ดร จีระถึง 21 ปี

เรียน อ.จิระ

จากการอ่านบทควาทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้

ความเหมือน

ในเรื่องของการพัฒนาคนโดยมีจุดมุ่งหมายในการบริหารคนให้มีคุณค่า ยึดหลักปรัชญาแห่งความยั่งยืนคือทำจริงจังและทำอย่างต่อเนื่อง เป็นผู้มิอิทธิผลทางด้านความคิดต่อสังคมและจูงใจทีผลักดันให้คนมีส่วนร่วมในองค์กร  มีแบรนด์ เป็นตัวของตัวเอง มีการเรียนรู้จากการเปลี่ยนแปลง เรียนรู้ตลอดชีวิต มีวิสัยทัศน์  เป็นผู้นำพร้อมดว้ยความรู้และความรักแก่คนใกล้ชิด มีชาติตระกูล

ความต่าง

การศึกษา อ.พารณ เป็นนักวิศวกร  จบการศึกษาด้านวิศวะกรรม  บัญชี  และการบริหารธุรกิจ และประสบความสำเร็จ เป็น ผอ.ของบริษัทปูนซีเมนต์ไทย  เมื่ออายุ  44 ปี ส่วน อ. จิระ     จบทางเป็นนักเศรษฐศาสตร์  จบการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์วิศ   และงานทางด้านนโยบาย  และประสบความสำเร็จอายุยังน้อย เป็น ผอ.สถาบัน  ทรัพยากรมนุษย์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่ออายุ  33  ปี

 

หทัยรัตน์ หยีวิยม

จากการอ่านหนังสือ HR.CHAMPIONS พบว่า ทั้ง อ.พารณ และ อ.จิระ มีความเหมือนที่แตกต่างกัน สิ่งที่เหมือนกันก็คือ ทั้ง 2 คนเป็นนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาคน ซึ่งเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าขององค์กรให้มีความใฝ่รู้ และเรียนรู้อย่างต่อเนื่องรวมถึงสามารถแสดงศักยภาพของเขาออกมาอย่างเต็มที่ และมีการทำงานเป็นทีม

ในการลงทุนพัฒนาด้านทรัพยากรมนุษย์นั้น ให้ผลตอบแทนระยะยาวแต่ต้องใช้เวลา นอกจากการลงทุนในการพัฒนาความรู้แล้ว เราจำเป็นต้องพัฒนาทุนทางจริยธรรมควบคู่ไปด้วย เพราะบุคลากรขององค์กร นอกจากเก่งแล้ว ต้องเป็นคนดีด้วย

ส่วนสิ่งที่แตกต่างของทั้ง 2 คนคือทฤษฎี 4 L’s ซึ่งเป็นทฤษฏีที่สร้างสังคการเรียนรู้อย่างยั่งยืน ถึงจะแตกต่าง แต่อยู่บนเป้าหมายเดียวกัน

เรียน อาจารย์จีระที่เครารพ

ความเหมือน คือ มุ่งมั่นที่จะพัฒนาคนให้เก่งและดี มาจากตระกูลชั้นปกครอง ที่มีความพร้อม

ความต่าง คือ อายุที่ต่างกัน จบการศึกษาในศาสตร์ที่ต่างกัน บุคลิกที่ต่างกัน

ธีรารัตน์ สมพงษ์

การบ้านข้อที่ 2

จากหนังสือเรื่องทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ HR. CHAMPIONS แสดงความคิดเห็นว่า คุณพารณ และ ดร.จีระ ความเหมือนและความแตกต่างในเรื่องใดบ้าง จากที่ได้อ่านหนังสือเล่มดังกล่าวแล้ว ถือได้ว่าเป็นหนังสือที่จุดประกายความคิดทางปัญญา ได้ชี้แนะแนวทางในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์กับตัวเอง องค์กร ได้อย่างมากมาย สิ่งที่เหมือนกันของทั้งสองท่านคือการที่ท่านทั้งสองเป็นนักคิดและผู้นำปฏิบัติ มองเห็นความสำคัญของคน ต้องพัฒนาความรู้ความสามารถอยู่ตลอดเวลา แนะนำให้รู้จักวิธีการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่จะต้องให้ความสำคัญกับพนักงานทุกคนเท่า ๆ กัน และจะต้องให้เขาได้มีโอกาสได้รับการพัฒนาด้าน ทักษะ ความรู้ ความสามารถตลอดเวลา ซึ่งจากประวัติการทำงานทั้งสองท่านมีการศึกษามาจากศาสตร์ที่ต่างกัน รูปแบบการทำงานของชีวิตเริ่มต้นไม่เหมือนกัน แต่ท่านทั้งสองก็มีอุดมการณ์เดียวกันคือ การให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากร ที่สำคัญองค์กรต้องมีทั้งคนเก่งและคนดี

สำหรับในความต่าง สิ่งแรกที่เห้นได้จากภายนอก ท่านทั้งสองมีอายุที่ต่างกันประมาร 20 ปี แต่ประเด็นนี้ไม่ได้สร้างความแตกต่างที่ท่านจะนำเสนอทฤษฎีที่มุ่งมั่นพัฒนาทรัพยากรมนุษย์บนปรัชญาแห่งความยั่งยืน

ทฤษฏี 4L's ของ อ.จีระ คือ

Learning Methodology เข้าใจวิธีการเรียนรู้

Learning Environment สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้

Learning Opportunities สร้างโอกาสในการเรียนรู้

Learning Communities สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้

ทฤษฏี 4L's ของคุณพารณ คือ

Village that learn หมู่บ้านแห่งการเรียนรู้

School that learn โรงเรียนแห่งการเรียนรู้

Industry that learn อุตสาหกรรมแห่งการเรียนรู้

Nation that learn ชาติแห่งการเรียนรู้

ถึง ทฤษฏี 4L's ของทั้งสองท่านจะไม่เหมือนกัน แต่เป้าหมายของทฤษฏี 4L's ที่เหมือนกันที่สรุปได้ว่า คน เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่ทรงคุณค่า การพัฒนาคนคือการพัฒนาชาติให้แกร่ง พร้อมยืนหยัดอยู่บนโลกแห่งการเปลี่ยนแปลงอย่างมีชัยชนะ

เรียน อาจารย์ ดร.จีระ

ความคล้ายคลึงหรือแตกต่างกันระหว่าง พารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา กับ จีระ หงส์ลดารมภ์

-ในเรื่องของความแตกต่างนั้น ทั้งสองท่านมีความแตกต่างกันมากมาย ทั้งในเรื่อง การศึกษา หรือแม้กระทั้งการทำงาน ซึ่งในส่วนการศึกษาทั้งท่านจีระ และท่านพารณ นั้นจบการศึกษามาคนละด้าน ท่านพารณนั้นจบการศึกษาด้านวิศวะกรรมศาสตร์ แล้วค่อยมาทำงาน จากนั้นก็มีการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมระหว่างทำงานอยู่ตลอดเวลา ส่วนการศึกษาของท่านจีระ จบการศึกษาระดับปริญญาตรี, โท, เอก ด้านเศรษฐศาสคร์ โดยก่อนจะศึกษาต่อในระดับปริญญาเอกนั้น ท่านจีระได้ทำงานก่อน 3 ปี เป็นอาจารย์ที่คณะเศรษฐศาสตร์ ส่วนเรื่องการทำงานนั้นยิ่งมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจนเพราะท่านจีระทำงานด้านวิชาการ เป็นอาจารย์สอนที่ธรรมศาสตร์ พร้อมได้รับความไว้ใจให้เป็นประธานในการก่อตั้งสถาบันทรัพยากรมนุษย์ ขณะที่ท่านพารณ หลังจากที่จบการศึกษาแล้วได้ทำงานบริษัทเอกชน และมีความเจริญก้าวหน้าเป็นอย่างดีได้รับตำแหน่งสูงสุดในบริษัทปูนซีเมนต์ไทย

-ในด้านความเหมือนนั้น นอกจากทั้งสองท่านมากจากครอบครัวที่มีฐานะทางสังคมสูงเหมือนกัน คือ ศ.ดร จีระ มาจากตระกูล หงส์ลดารมภ์ ส่วน อาจารย์ พารณ มาจากตระกูล อิศรเสนา ณ อยุธยา ท่านทั้งสองถือเป็นนักพัฒนาทรัพยากรบุคคลชั้นแนวหน้าของเมืองไทย เห็นได้จากผลงานที่ผ่านมา บริษัทปูนซีเมนต์ไทยได้รับการยอมรับในระดับสากลเรื่องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ชั้นยอด มีการพัฒนาทรัพยากรบุคคลได้ถึงขีดสุด มีการสร้างสรรค์งานมากมาย มีการขยายธุรกิจไปต่างชาติ ขณะที่ท่านจีระเองก็มีความมุ่งมั่นในการจะพัฒนาคน มีผลงานทางวิชาการมากมายที่ท่านจีระแนะถึงวิธีการที่จะดึงเอาความสามารถของมนุษย์มาใช้อย่างเต็มที่ กระตุ้นให้เกิดพลังสร้างประโยชน์ให้กับองค์กรและประเทศชาติ

สวัสดีครับอาจารย์

วันนี้เป็นการอบรมวันสุดท้าย มีการทดสอบเล็กน้อยซึ่งผมคิว่าคงทำคะแนนได้ไม่ดีนัก เพราะวิเคราะห์ไม่ทันและมีปัญหาเกี่ยวกับงานประจำที่ต้องแก้ไข แต่ผมคิดว่าคงไม่มีคำตอบใดถูกที่สุดหรือตอบผิดจนเกินให้อภัย แต่เป็นการทดสอบเพื่อดูความสามารถในการวิเคราะห์และความรู้รอบตัวของผู้นำแตเละคน เข้าเรื่องเลยดีกว่าคือผมยังค้างHome work อีกเรื่องหนึ่งคือ ความเหมือน/แตกต่างระหว่างอาจารย์กับอาจารย์พารณฯ ซึ่งหลังจากที่ผมได้อ่านหนังสือของอาจารย์แล้ว(แต่ยังไม่จบ) เห็นว่าการมุ่งมั่นและเรียนรู้เพื่อที่จะทำให้ คนมีความต้องการที่จะพัฒนาตนเองและแสดงeffectที่เกิดขึ้นได้อย่างเป็นรูปธรรมนั้น เป็นสิ่งที่ทั้ง 2 ท่านได้มุ่งมั่นและพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่ามีประโยชน์ต่อทั้งองค์กรและประเทศชาติอย่างมาก ถ้าเราเข้าใจว่า คนคือทรัพยากรที่มีค่าที่สุด ก็จะกระตุ้นให้เราอยากที่จะเรียนรู้และต้องการให้ผู้อื่นต้องการเรียนรู้ด้วยและนี่คือสิ่งสำคัญ แม้ว่าหลายด้านอาจารย์ทั้ง2จะแตกต่างกัน เพราะอ.พารณฯคลุกคลีอยู่ในสายงานเอกชน ส่วนอ.จีระจะทำงานในสายราชการ อายุที่ต่างกันมิใช่น้อย สาขาการศึกษาที่ต่างกัน และอีกหลายเรื่องที่ผมไม่รู้ แต่การทีเราเป็นทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ ได้ทำให้รู้ว่า อย่างน้อยก็จะมีส่วนช่วยให้สังคมของประเทศชาติดีขึ้นอย่างแน่นอน

การเป็นผู้นำไม่ได้เกิดจากการอวดอ้างตน แต่เกิดจากการศรัทธาของคนและจากผลของงาน

สวัสดีครับลูกศิษย์ชาว สศก. ทุกท่าน

            ผมเปิด Blog:www.gotoknow.org/blog/chiraacademy/สศก. : Follow up สำหรับลูกศิษย์ สศก. เพื่อติดตามผลการเรียนรู้หลังจบโครงการสำหรับทุกคน คือ บุคลากรที่เข้าร่วมโครงการเรียนรู้กับผมทั้ง108 คน โดยขอให้ทุกคนใช้ Blog:www.gotoknow.org/blog/chiraacademy/สศก. : Follow up  เป็นช่องทางในการตอบคำถาม สำหรับโจทย์แรกที่ผมมอบหมายให้ดังนี้

แบบทดสอบ

ใช้ทฤษฎีเพื่อการพัฒนาทุนมนุษย์ 8 K’s และ 5 K’s (ใหม่) วิเคราะห์ผู้นำ 3 คู่ และเชื่อมโยงไปถึงตัวท่านเองและการสร้างผู้นำในองค์กรของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรแบบ Ram Charan ว่าจะช่วยได้อย่างไร

·       อภิสิทธิ์ / อภิรักษ์

·       Gordon Brown / Tony Blair

·       Obama / McCain

 

            โปรดตอบโจทย์นี้ภายใน 2 สัปดาห์นับจากนี้ เพื่อประโยชน์ต่อตัวท่าน โดยตอบผ่าน Blog:www.gotoknow.org/blog/chiraacademy/สศก. : Follow up  และทางอีเมล์ [email protected] (ทั้ง 2 ช่องทาง)

 

            ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าทุกคนจะให้ร่วมมืออย่างเต็มที่ เพราะกิจกรรมนี้เป็นสิ่งที่มีประโยชน์ต่อตัวท่านเอง องค์กร และการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ในสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรของเราต่อไป

           

 

                                                               จีระ หงส์ลดารมภ์

 

มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

ขอเชิญเข้าร่วมสัมมนา“ปัจจัยท้าทายประเทศไทยปี 2553 อยู่รอดหรือยั่งยืน?”

วันที่ 8 ธันวาคม 2552

ณ มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด แคมปัสพระรามเก้า 

มีรายละเอียดในลิ้งค์นี้

http://gotoknow.org/blog/chiraacademy/317427

มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

ขอเชิญร่วมสัมมนา โปรดคลิกที่นี่เพื่อดูรายละเอียด

 

http://gotoknow.org/blog/chiraacademy/352750

 

การพัฒนาคนในองค์กรให้ดีขึ้นด้วยทุนมนุษย์ หากผู้บริหารเข้าถึงปรัชญาว่า ทรัยากรมนุษย์ คือ คนถือเป็นทรัพย์สินที่สำคัญที่สุดขององค์กร ผู้นำขององค์กรนั้นจะมีความเชื่อถือและศรัทธาในเรื่องคน และสามารถทำให้คนในองค์กรมีแรงจูงใจ แรงบันดาลใจในการปฏิบัติงานไปสู่เป้าหมายเดียวกัน

หนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ ดีต่อ สขช.อย่างไร

หนังสือทรัยากรมนุษย์พันธุ์แท้ ถือว่าเป็นคนเป็นทรัพย์สินที่สำคัญที่สุดขององค์กร ซึ่งตรงกับนโยบายของ ผขช.ที่ได้ส่งเสริมให้ จนท.ใน สขช.เข้าฝึกอบรม HR เพื่อพัฒนาความและการค้นหาตัวเอง ผู้นำขององค์กรนั้นจะมีความเชื่อถือและศรัทธาในเรื่องคน และสามารถทำให้คนในองค์กรมีแรงจูงใจ และศรัทธาในผู้นำและองค์กร

โดยในหนังสือได้กล่าวถึงทฤษฎี 3 วงกลมของ ดร.จีระฯ ดังนี้

วงกลมที่ 1 เรื่อง Context คือ บริบืทของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ พูดถึงสภาพแวดล้อมขององค์กรที่เอื้ออำนวยต่อการทำงาน การจัดองค์กรให้มีความเหมาะสม เน้นการทำงานแบบ Process การใช้ระบบ IT เข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ

วงกลมที่ 2 Competencies สมรรถนะ หรือทักษะความสามารถของบุคลากรในองค์กร หมายถึงการพัฒนาสมรรถนะในด้านต่างๆ แก่บุคลากรในองค์กรให้มีความพร้อมที่จะทำงานได้อย่างเต็มที่

วงกลมที่ 3 เรื่อง Motivation คือ การสร้างแรงจูงใจ

นอกจากนี้ ยังมี ทฤษฎีการสร้างฐานความรู้สู่มูลค่าเพิ่ม คือ

Data Information Knowledge value added และ wisdom

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท