ลุ้น KM เครื่องมือพัฒนา เครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนประเทศไทย


ก้าวย่างการขับเคลื่อนเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชน ที่เราใช้กระบวนการ KM  เป็นเครื่องมือในการสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายเริ่มมีให้เห็นเป็นรูปธรรมบ้างแล้ว

ช่วงที่ผ่านมาผมเดินทางไปครบทุกภาคของประเทศไทย ส่วนหนึ่งก็ไป Capture ความรู้ และไปสังเกตการณ์รูปแบบการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่มีอยู่ในแต่ละภาค เป็นที่น่ายินดีว่าพื้นฐานของงานท่องเที่ยวลักษณะนี้มีกันอยู่แล้ว บางภาคก็พยายามที่จะรวมเครือข่ายกันอยู่แล้ว เช่น

ภาคเหนือที่มีชุมชนท่องเที่ยวจำนวนหนึ่ง (แม่ฮ่องสอน,เชียงใหม่,เชียงราย)มีกลุ่มคนทำงานที่มาพูดคุยในเวทีแลกเปลี่ยนที่จัดขึ้น โดยการสนับสนุนของ สกว. แล้ววันหนึ่งก็คุยประเด็นการรวมตัวกันขึ้น เพื่อการเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อจุดยืนในสังคม CBT.ไทย

ภาคใต้ โดยเฉพาะที่นครศรีธรรมราช ก็มีการสร้างเครือข่ายCBT. อยู่แล้ว เพียงแต่เราไปเสริมต่อ และขยายเครือข่ายให้ครอบคลุมระดับภาค

ภาคกลางอาจจะรวมตัวกันยากหน่อยเพราะพื้นที่ค่อนข้างกระจายและลักษณะต่างคนต่างทำ แต่ผมก็มองว่าน่าสนใจ เพราะความหลากหลายของรูปแบบการท่องเที่ยวที่ภาคกลางนี่เอง

ส่วนภาคอีสานที่ไปมาในครั้งล่าสุด เราก็ทราบว่า การท่องเที่ยวที่ภาคอีสานเป็นอีกแบบหนึ่งที่ต่างกับภาคอื่นๆ ด้วยภาคอีสานเริ่มด้วย วิถีชีวิต การเกษตร และการศึกษาดูงานมากกว่า เหตุเพราะทรัพยากรการท่องเที่ยวมีจำกัด แต่ผมก็มองว่าอีสานมีจุดแข็งตรงที่พื้นฐานชุมชนที่เริ่มก่อร่างสร้างตัวเพื่อการท่องเที่ยวอย่างช้าๆ โดยเน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เข้าทำนอง ช้าแต่ชัวร์

มคาดหวังให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เกิดขึ้นในจุดเล็ก ๆตั้งแต่จังหวัดที่พร้อม ระดับภาค และจนถึงระดับประเทศ สิ่งที่อยากเห็นก็คือ บรรยากาศแลกเปลี่ยนที่ทุกชุมชนนำ Best practice มาแลกเปลี่ยนกัน สร้างความรู้ ต่อยอดความรู้ และสร้างเครือข่ายเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนประเทศไทย

ลองคิดดูว่าหากทุกภาคมีกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เป็น CoPs แต่ละภาค และจากภาคไปสู่ระดับประเทศ เป็นการรวมตัวแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประเด็น CBT.จะน่าสนใจขนาดไหน องค์ความรู้อันมหาศาลที่จะถูกนำมาแลกเปลี่ยนในเวทีระดับประเทศ

อย่างไรก็ตามแม้ว่า งานวิจัยจะสิ้นสุดลงตามระยะเวลา แต่เครือข่ายที่ได้รับการผลักดันโดยกระบวนการ โดยความรู้ โดยมิตรภาพ หวังใจว่า เครือข่ายนั้นจะเข้มแข็งและยั่งยืน

โจทย์ใหม่ของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาในปีต่อไป น่าจะเป็น จะพัฒนาเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างไร เพื่อให้เกิดความเข้มแข็งและยั่งยืน

ในกลุ่มคนทำงานเราก็มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันผ่าน Blog ครับ เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ไม่จำกัด และใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดติดตามความเคลื่อนไหวได้ที่ Planet CBT.thailand มีคุณ <p>Pน้ำฝน</p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">เป็นผู้ดูแลอยู่</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">วันนี้ในส่วนของผมที่ทำหน้าที่ คุณอำนวยในการจัดการความรู้ ตามภารกิจของโครงการวิจัย กำลังเผ้ามองดูอย่างใจระทึกครับ</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p></p><p> </p><p> </p>

หมายเลขบันทึก: 97102เขียนเมื่อ 18 พฤษภาคม 2007 23:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

แม้วันหนึ่งโครงการวิจัยการพัฒนาเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนฯ จะสิ้นสุดลง แต่ในฐานะนักวิจัยผู้ที่ได้เข้ามาสัมผัสกับ CBT แม้จะเพียงระยะ 6 เดือน แต่ก็หวังใจว่า เครือข่าย CBT จะเกิดขึ้นและมีการพัฒนาไปสู่ความเข้มแข็งและยั่งยืนต่อไปในอนาคต สามารถพึ่งพาตนเอง ยืนได้ด้วยความสัมพันธ์อันแน่นเหนียวในเครือข่ายของตนเอง

 

น้อง  

ไม่มีรูป
ขวัญเอ๋ยขวัญมา

ผมเชื่อว่า ๖ เดือนที่พวกเราทุ่มเทกำลังกาย กำลังใจ กำลังความคิดอย่างที่เราทำอยู่ ...

เราจะเกิดเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชน ที่เข้มแข็ง และยั่งยืน

เกิดการแลกเปลี่ยน และยกระดับองค์ความรู้ครั้งใหญ่

ภารกิจนี้ยิ่งใหญ่ครับ ผมรู้สึกภูมิใจในการทำงานครั้งนี้

โจทย์ใหม่ของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาในปีต่อไป น่าจะเป็น จะพัฒนาเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างไร เพื่อให้เกิดความเข้มแข็งและยั่งยืน

นี่ละที่อยากเห็นที่เมืองกาญจน์ค่ะด้วยค่ะ

P

พี่

P

พี่ดูจะผูกพันกับเมืองกาญจน์เป็นพิเศษเลยนะครับ

ผมเห็นด้วยครับที่เครือข่ายในระดับเล็กๆเริ่มจากเครือข่ายหมู่บ้าน ถึงระดับประเทศ เพราะนั่นหมายถึงความเข้มแข็งในการจัดการทรัพยากร ทุนของชุมชนที่มีอยู่(ทุกอย่าง)

ขอบคุณครับพี่ sasinanda

ไม่มีรูป
ขวัญเอ๋ยขวัญมา
น้องขวัญเอ๋ยขวัญมาครับ เข้าระบบด้วยนะครับ เพื่อการLink ไปในบันทึกของน้องครับ :)
P

สวัสดีครับเพื่อนรัก

  • ผมรู้สึกว่าฝันอะไรหลายๆ อย่างชักจะเป็นจริงๆ เข้ามาใกล้ๆ ทุกทีแล้วครับ เครือข่ายดีๆ แบบนี้จะเกิดขึ้นเร็วๆนี้ครับ
  • กลับไปเถิดพี่น้องผองเพื่อน กลับไปหาสิ่งดีๆ สู่รากเหง้าของตัวเราเอง ไม่ผิดเลย การหายใจอยู่บนลำแข้งของชุมชนของเรา เป็นการหายใจที่ยั่งยืนที่สุดครับ
  • ขอบคุณมากๆ เลยนะครับคุณเอก
  • ลืมบอกไปครับ ว่าเพลงนี้ ชอบมากๆ เลยครับ เป็นเพลงสำหรับรากเหง้าของแม่ฮ่องสอนเลยนะครับ แม้ว่าผมจะไม่เคยไปเลยก็ตาม แต่ผมฟังเพลงแล้วผมรู้สึกสัมผัสความรู้สึกของพี่น้องที่นั่นได้ครับ ผ่านเพลงเหล่านี้ได้
  • ขนาดผมไม่ใช่คนแม่ฮ่องสอนผมยังฟังแล้วประทับใจเลยครับ
P
นายเม้งเพื่อนรัก
ด้วยความเชื่อพื้นฐานที่เรามีสิ่งดีๆเต็มพื้นที่ เป็นองค์ความรู้ เป็นทุนทางปัญญา เป็นบุคคลที่เป็นต้นแบบ ทั้งหมดทั้งมวลเหล่านี้กลับไม่ได้ยกขึ้นมาเชิดชูเพื่อให้กำลังใจและใช้ศักยภาพที่มีอยู่ขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศเลย
เป็นความตั้งใจประการหนึ่ง และเป็นเป้าหมายของงานวิจัยด้วยครับ ที่เราจะผลักดันให้มี CoPs เกิดขึ้นตั้งแต่CoPs เล็กไปจนถึงระดับใหญ่ ระดับประเทศ
สิ่งมหัศจรรย์ที่ผมวาดหวังไว้ ก็คือ ตลาดความรู้ที่เกิดขึ้นเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่จะเกิดขึ้นในไม่ช้านี้ที่เมืองไทย โดยเฉพาะประเด็น "CBT"
อย่างที่นายเม้งบอกครับ ว่าเริ่มเป็นรูปธรรมมากขึ้น โดยเราไปหนุนเสริมให้เกิดขึ้น เรื่องราวระหว่างทางมีเยอะเลยครับ เก็บตกประเด็นเหล่านี้ผมจะนำมาเล่าผ่าน Blog เป็นระยะๆ
เพลงที่เปิดคลอเคลีย เป็นความภูมิใจของผมครับ เด็กชายคนเล็ก เกิดในดินแดนไกลโพ้น หล่อหลอมจากธรรมชาติ ต่อสู่ และดิ้นรน จนมาถึงวันนี้ แน่นอนว่าผมรักบ้านเกิดผมมาก
ขออยู่ขอตายในบ้านเกิดแม่ฮ่องสอนแห่งนี้
เพลง(ทำนอง เนื้อร้อง พร้อมขับร้อง)โดยพี่ชายคนหนึ่งครับ ชื่อคุณเจริญศักดิ์ เลิศมงคล โรงพยาบาลปาย แม่ฮ่องสอน
ขอบคุณครับเพื่อนรัก มิตรภาพ และถ้อยคำดีๆที่ผมได้รับจากเพื่อน ผมมีกำลังใจมากครับ
ไฮเดนเบริ์ก กับ เมืองไทย อยู่ไม่ไกลกันเลยนะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท