เก้าอี้ 4 ขา ในการบริหารองค์กร


สาระน่ารู้จากเพื่อนผู้อาวุโส

คุณอมร วงศ์สุรวัฒน์ อดีตประธานหอการค้าจังหวัดนครราชสีมา และรองประธานหอการค้าไทย มี E-Mail พูดคุยแลกเปลี่ยนกับผมเรื่องแนวความคิดในการจัดโครงสร้างของหอการค้าจังหวัดฯ

สิ่งที่คุณอมร แนะนำผมเห็นเป็นประโยชน์จึงนำมา Post เก็บกักข้อมูลไว้ในระบบอินเตอร์เน็ท ผ่านทาง Blog ของ Gotoknow.org ดังนี้ครับ

คุณไอศูรย์ครับ

รับสไลด์เรียบร้อยแล้ว ขอบคุณมากครับ

ผมค้นเอกสารเก่า ๆ สมัยเป็นประธานหอโคราชและ กก.หอไทยมากว่า ๒๐ ปี ในช่วงที่ท่านวิเชียร เตชะไพบูลย์เป็นประธานหอไทย ท่านแต่งตั้งผมเป็นรองประธานหอไทย ช่วงที่ท่านวิเชียรจะหมดสมัย  ท่านเดินทางไปเยี่ยมหอจังหวัดทั่วประเทศ ผมติดตามท่านไปตลอด ช่วงที่พบกับกรรมการหอจังหวัดท่านวิเชียรให้โอกาสผมได้บรรยายสั้น ๆ ผมพูดเรื่อง เก้าอี้ ๔ ขา คือ เก้าอี้ที่มี ๔ ขา มีความมั่นคงแข็งแรงฉันใด หอการค้าที่มั่นคงแข็งแรงและประสบความสำเร็จ  จะต้องประกอบด้วย ๔ หลักการใหญ่ คือ

๑.มีคณะกรรมการที่มีวิสัยทัศน์ มีเวลา และ มี Service Mind
๒.มีบุคลากรเจ้าหน้าที่ทำงานประจำที่มีประสิทธิภาพสูง
๓.มีแผนงานประจำปีทีจะนำไปสู่เป้าหมายและวิสัยทัศน์  พร้อมงบประมาณสนับสนุนแผนงานอย่างพอเพียง
๔.มีการประชาสัมพันธ์เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย

ทั้ง ๔ หัวข้อเป็นหลักใหญ่ ซึ่งแตกออกเป็นข้อย่อย ๆ ได้มาก หลักทั้ง ๔ ผมได้มาจากการสัมนาเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในหอการค้าต่าง ๆ ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งการสัมนานี้หอการค้าสหรัฐอเมริกาเป็นสปอนเซอร์ให้มหาวิทยาลัยโอคลาโฮมาเป็นผู้จัด  ผมและอาจารย์อีก ๓ ท่านจากมูลนิธิไอเม็ท ได้รับเชิญเข้าร่วมสัมนาในครั้งนั้น เป็นเวลานานแล้วผมจำไม่ได

ฝากข้อคิดเห็นนี้ให้คุณไอศูรย์ได้ทราบเผื่อเป็นประโยชน์ ข้างล่างเป็นภาษาอังกฤษเกี่ยวกับเก้าอี้ ๔ ขา

อมร  วงศ์สุรวัฒน์

The four ingredients for a successful chamber:-

1. Smart board
2. Efficient staff
3. Year plan with enough budget
4. Good public relation
 

คำสำคัญ (Tags): #chumphon chamber
หมายเลขบันทึก: 80562เขียนเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2007 17:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 19:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ทำให้นึกถึงที่เคยอ่านในบทความว่าด้วยการจัดการ non-profit organization ที่ harvard business review ดูจะมีเป็น column ประจำครับ

เรื่อง board เป็นปัจจัยชี้ขาดที่สำคัญ พอๆกับ สำนักงานเลขา

แต่ดูเหมือนคนเป็น กก มักจะรู้สึกเป็นเกียรติ และมองว่าตัวเองทำได้แค่แนะนำมากกว่าจะเข้ามาช่วยมองเชิงยุทธศาสตร์ขององค์กร

ผมมีพี่ชายเคยทำงานที่สำนักงานของหอการค้าที่ กทม ตอนนี้เลิกแล้ว เคยคุยกับ้ขาเพื่อเชียร์ให้ทำหอการค้าเป็น NPO ที่จะเป้นกลไกพัฒนาสังคมอีกกลไกหนึ่ง

คงได้เห็นที่ชุมพรนะครับ 

  • ขอบคุณท่าน มสช (หมอสมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์) สำหรับความคิดเห็นครับ

  • ผมได้ E-Mail ให้คุณอมร วงศ์สุรวัฒน์  ทราบถึงความเคลื่อนไหวในบทความนี้

  • สักพักหนึ่งท่านคงจะเข้ามาเชื่อมโยงความคิด

  • และสำหรับท่านอมรฯ ถ้าท่านจับความคิดได้ชัดเจนและเห็นดีด้วย โอกาสที่จะมีการเปลี่ยนแปลงในระดับนโยบาย (พลังนโยบายในสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา) มีความเป็นไปได้สูงมากครับ

 

พี่ชายคุณหมอคงจะเป็น ดร.สมชาย  ชุณหรัศมิ์ ท่านเป็น ผอ.หอการค้าไทยในช่วงที่ผมเป็น กก.หอการค้าไทยอยู่ด้วย  ท่าน ผอ.สมชาย  เป็นคนเก่ง  นิ่มนวล  มีทั้งวิชาการและประสบการณ์สูง  แต่การบริหารในองค์กรหอการค้าเป็นเรื่องยากมาก  เพราะ กก.เป็นอาสาสมัครหลากหลายจากภาคธุรกิจหลายขนาดมีครบทุกขนาด คือ XL, L, M, S แถมบรรดาเถ้าแก่ภูธรอีกด้วย  แนวคิด ระบบ มีความแตกต่างมาก  นอกจากนี้ Staffมีจำนวนมาก บางคนเก๋ากึ๊ก บางคนค่อนข้างเก๋า บางคนก็เป็นรุ่นใหม่ จึงเป็นเรื่องยากมากสำหรับคนที่ดำรงตำแหน่ง ผอ. มีการเมืองภายในหรือคลื่นใต้น้ำหรือเปล่า อันนี้ผมไม่ทราบ หอการค้าเป็น เอ็นจีโอ อยู่แล้ว เพียงแต่โฟกัสทางด้านเศรษฐกิจ มีกฎหมายเฉพาะบังคับ คือ พรบ.หอการค้า พ.ศ.2509 ใน กม.ตอนหนึ่งเขียนว่า ห้ามมิให้หอการค้าทำธุรกิจแล้วนำผลประโยชน์มาแบ่งปันกัน  รายละเอียด พรบ. คลิ๊กไปดูที่ www.thaiechamber.com  ครับ

สวัสดีครับ คุณอมร และคุณไอศูรย

ใช่ครับ คุณสมชายเป็นพี่ชายที่ผมพูดถึง

เท่าที่คุยกับพี่ชาย เขาไม่เคยเล่ารายละเอียด หรือบ่นถึงใครโดยเฉพาะ(เนื่องจากเป็นคนนุ่มนวล และสุภาพอย่างที่คุณอมรพูด) 

แต่ก็พอจับได้ว่า คงคล้ายตอนที่ผมไปเป็นทีมบริหารสำนักงานของ แพทยสภาใหม่ๆเมื่อ 10 กว่าปีก่อน  แต่พวกผมมีทีมไปปรับเปลี่ยนองค์กร อย่างน้อยก็ในช่วงที่ไปดูแลงานบริหารสำนักงาน

ก็รู้สึกเสียดาย
ที่หอการค้า(กลาง)ยังไมอาจเป็นกลไกเพื่อสังคมได้เต็มที่

อยากลุ้นหอการค้าจังหวัดผ่านเรื่องสร้างสังคมยู่เย็นเป็นสุขครับ

อจ ประเวศปรารภอยากให้ภาคธุรกิจมาช่วยดูว่าจะทำให้วัดเป็นแหล่งเรียนรู้ และสร้างความสุขทางปัญญา

ผมกำลังหาทางประสานกับตัวแทนภาคธุรกิจที่สนใจ ไม่ทราบว่าจะมีคำแนะนำอะไรไหมครับ่

สวัสดีครับ ท่าน มสช (หมอสมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์)

  • นี่กระมังที่พวกเราเคยสรุปร่วมกันในช่วงที่มีการประชุมเพื่อขับเคลื่อนเครือข่าย ณ วัดทุ่งไผ่ อ.เมือง ชุมพร ว่า "กุศลจิต ที่เกิดขึ้นในการร่วมกันทำความดี ย่อมนำมาซึ่งเหตุปัจจัยดี ๆ เป็นตัวหนุนเสริมให้เกิดความก้าวหน้าในภารกิจความดีนั้น ๆ"

  • ผมจะถ่ายทอดข้อความทั้งหมดในบันทึกฉบับนี้ให้ที่ประชุมหอการค้าจังหวัดชุมพร ได้รับทราบในการประชุมประจำเดือนประมาณวันพฤหัสที่  8 มีนาคม 2550 เพื่อร่วมกันพิจารณาแนวทางในการ "สร้างสังคมให้อยู่เย็นเป็นสุข"

  • นอกจากนั้น ในวันพฤหัสที่ 29 มีนาคม 2550 มีการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2543 ชาวหอการค้า จ.ชุมพร และประชาคมในเขตเมือง รวมทั้งแกนนำเครือข่ายภาคประชาสังคมของ จ.ชุมพร จะได้รับฟังกรณีตัวอย่างที่ชัดเจนในการบริหารภารกิจของหอการค้่าโดยมุ่งเน้นไปในทิศทางของการมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจชุมชน เรื่องนี้ผมได้จัดรายการบรรยายพิเศษโดยเชิญ คุณสุรจิต ชิรเวทย์ ประธานหอการค้าจังหวัดสมุทรสงคราม "คนแม่กลอง" ที่มีผลงานโดดเด่นมาก โดยเฉพาะ "เทศกาลกินปลาทู" อันเป็นผลจากการศึกษาอย่างต่อเนื่องยาวนาน ทำให้รู้จักและเข้าใจศักยภาพ และทรัพยากรที่สำคัญของจังหวัด จนกระทั่งพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์และบริการที่โดดเด่นของจังหวัด ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรม

  • ขั้นตอนเหล่านี้ ผมคิดว่าจะทำให้องค์กรหอการค้่าจังหวัดชุมพร ได้ใคร่ครวญถึงภารกิจเพื่อสังคมอยู่เย็นเป็นสุข อย่างชัดเจนและนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในเชิงโครงสร้างเพื่อบริหารจัดการให้เกิดความก้าวหน้าในภารกิจดังกล่าว

  • ผมหวังว่า พันธมิตรเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Partner) ที่สำคัญโดยเฉพาะ ศอ.สส. จะเข้ามาหนุนเสริมในจังหวะที่เหมาะสมนะครับ.
ขอแก้ไข ย่อหน้าที่ 3 การประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2543 พิมพ์ พ.ศ. ผิด ต้องเป็น 2549 ครับ

ฝากคุยเรื่องนักธุรกิจกับการสร้างวัดให้เป็นแหล่งเรียนรู้ทางปัญญาด้วยนะครับ อจ ประเวศเชื่อว่าความสามารถในเชิงการจัดการทางธุรกิจของภาคธุรกิจจะเป็นกำลังสำคัญในการสร้างเรื่องดีๆให้สังคม วัดเป็นทรัพยากรของส่วนรวม แต่พระส่วนใหญ่ยังขาดการจัดการที่ดี ถ้าภาคธุรกิจเข้าไปช่วยบริหารจัดการน่าจะใช้เป็นฐานสร้างเรื่องดีๆที่สอดคล้องกับภาระกิจของวัด ได้ดีขึ้น

นั่นเป็นความเชื่อของ อจ ประเวศที่ขอถ่ายทอดต่อนะครับ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท