โครงการความร่วมมือเพื่อแก้ปัญหาความยากจนฯ


การสร้างความร่วมมือจากทุกส่วน เพื่อการพัฒนาเมืองคอน

       ได้รับการแนะนำจากคณะกรรมการบริหารหลาย ๆ ท่าน  ว่าให้ช่วยเล่าความคืบหน้าการขับเคลื่อนงาน  "โครงการความร่วมมือเพื่อแก้ปัญหาความยากจน  การพัฒนาสังคมและสุขภาวะ  จังหวัดนครศรีธรรมราช"  โดยเฉพาะ  อ.จำนง  หนูนิล  หนึ่งในคณะทำงานโครงการฯ  ซึ่งเสนอมาอย่างเป็นทางการ ให้ช่ายเล่าความคืบหน้าการประชุม ในวันที่ 22  มิ.ย. 50  แต่รู้สึกว่า  ถ้าจะจับเอาเฉพาะส่วนนี้  คงได้แค่ท่อนเดียว  เลยขออนุญาติเล่าความเป็นมาของโครงการพอสังเขป  นะคะเผื่อว่าอาจมีใครที่สนใจอยากติดตามการทำงานอย่างบูรณาการของคนเมืองคอนด้วยค่ะ

          โครงการความร่วมมือเพื่อแก้ปัญหาความยากจน  การพัฒนาสังคมและสุขภวะ  จังหวัดนครศรีธรรมราช  เป็น 1 ใน 20 จังหวัดนำร่องทั่วประเทศ  ภาคใต้ ที่ดำเนินโครงการนี้มี 5 จังหวัด คือ  สตูล   ตรัง สงขลา  พัทลุง  และนครศรีฯ 

           ความเป็นมา  ก่อนหน้าที่โครงการความความร่วมมือฯ  จะเข้ามาดำเนินการในจังหวัดนครศรีธรรมราช  ขบวนองค์กรชุมชน และภาคีพัฒนาทุกภาคส่วน  ทั้งภาคีหน่วยราชการ ภาควิชาการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  ภาคีพัฒนาจากส่วนกลาง  ที่มาดำเนินงานในจังหวัดนครศรีฯ  ได้พัฒนาความร่วมมือระหว่างกันภายใต้แนวทาง  "การบูรณาการทั้งจังหวัด" ที่มีผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช  นายวิชม  ทองสงค์  เป็นแกนนำสำคัญ  ส่งผลให้ทุกภาคส่วนในจังหวัดสามารถประสานงาน  และสร้างความร่วมมือ  เชื่อมโยงกันได้  โดยใช้เครื่องมือการพัฒนาที่สำคัญได้แก่ 

1) แผนแม่บทชุมชน  เพื่อนำชุมชนในจังหวัดนครศรีฯ สู่ "ชุมชนอินทรีย์"  ซึ่งมีเครือข่ายยมนาเป็นภาคีความร่วมมือหลักร่วมกับ  8 ภาคีส่วนราชการ

2) การจัดการความรู้(KM) ซึ่งมีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์  เป็นภาคีสนับสนุนหลัก  ส่วนขบวนองค์กรชุมชน ใน จังหวัดนครศรีธรรมราช  มีสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) เป็นหน่วยงานสนับสนุน  มีขบวนขับเคลื่อนงานพัฒนาเชิงประเด็นหลายด้าน  เช่น แผนแม่บทชุมชน  ประเด็นสวัสดิการชุมชน  ประเด็นทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม  ประเด็นที่ดิน  ประเด็นฟื้นฟูชุมชนท้องถิ่น เป็นต้น

          เมื่อจังหวัดนครศรีธรรมราช  ได้รับการเสนอเป็น 1 ใน 20  จังหวัดนำร่อง  ภายใต้โครงการความร่วมมือเพื่อแก้ปัญหาความยากจน  การพัฒนาสังคมและสุขภาวะ  ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือของ 5 ภาคี พัฒนาได้แก่ สำนักงานองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สำนักงานสนตับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์  (พม.) และกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย 

        ผลจากการดำเนินโครงการดังกล่าว  เกิดแนวทางการขับเคลื่อนงานพัฒนาในจังหวัดนครศรีธรรมราช  ดังนี้

          1.ภาคีการพัฒนาจากส่วนกลาง  ที่เข้ามาดำเนินงานในจังหวัดนครศรีธรรมราช  จะใช้แนวทางการขับเคลื่อนที่สนับสนุนแผนงานเดิมของจังหวัดนครศรีธรรมราช  ที่เน้นการบูรณาการทั้งจังหวัด  ซี่งสอดคล้องกับทิศทางของภาคีการพัฒนาจากส่วนกลางอยู่แล้ว 

         2. ภาคีการพัฒนา  5 องค์กรภายใต้โครงการความร่วมมือ  ซึ่งจะมาดำเนินงานโครงการฯ  ในจังหวัดนครศรีธรรมราช 1 ใน 20  จังหวัดนำร่อง  นั้น จะพัฒนาโครงการฯบนฐานของศักยภาพเดิมที่จังหวัดนครศรีธรรมราชมีอยู่แล้ว โดยเฉพาะแผนงานการจัดการความรู้และแผนงานชุมชนอินทรีย์ (แผนแม่บทชุมชนระดับหมู่บ้าน/ชุมชน)

          3. กาคีการพัฒนาทุกภาคส่วนภายนอกพื้นที่  ที่เข้ามาดำเนินการในจังหวัดนครศรีธรรมราชจะใช้แนวทางการทำงานที่ยึดพื้นที่ (หมู่บ้านและตำบล) เป็นตัวตั้ง  สนับสนุนระบบการจัดการงานพัฒนาของภาคีหน่วยราชการ  ทั้งงานเชิงนโยบายและงานภารกิจตามหน้าที่ของหน่วยราชการให้บูรณาการงานพัฒนาในระดับตำบลและหมู่บ้าน  ผ่านกระบวนการแผนแม่บทชุมชนและการจัดการความรู้

          4. เพื่อการปรับและประยุกต์นโยบายสำคัญและเร่งด่วนของรัฐบาล  ได้แก่  นโยบายอยู่ดีมีสุข  นโยบายสวัสดิการชุมชนท้องถิ่น  นโยบายขจัดปัญหาความยากจนและการพัฒนาชนบทภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  ให้สอดรับกับแนวทาง "การบูรณาการทั้งจังหวัด" เบื้องต้นได้กำหนดพื้นที่เป้าหมาย  จำนวน  55  ตำบล  และเพิ่มเป็น 74  ตำบล  ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีร่องรอยการขับเคลื่อนงานในพื้นที่อย่างชัดเจน   

          5. ภายใต้แนวทางความร่วมมือและการบูรณาการเชิงพื้นที่  ขบวนองค์กรชุมชนและภาคีการพัฒนาในพื้นที่ตำบลควรมุ่งเน้นการสร้างความร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างมีประสิทธิภาพ  และภายใต้โครงการความร่วมมือฯ อบต./เทศบาล ที่เข้าร่วม  ต้องเข้ามามีส่วนร่วมสนับสนุนงบประมาณ  บุคลากร  เครื่องมือ กิจกรรมต่าง ๆ ทั้งในช่วงจัดทำระบบการจัดการข้อมูลครัวเรือน  ข้อมูลชุมชน  ของ  กระบวนการทำแผนแม่บทชุมชนและช่วงการนำแผนที่เกินกำลังของครัวเรือน องค์กรชุมชน  และชุมชนสู่การปฏิบัติในระดับตำบล 

           เพื่อสร้างกลไกความร่วมมือใหม่ของงานพัฒนาที่ยึดพื้นที่เป็นตัวตั้ง  สนับสนุนให้เกิดการ "บูรณาการทั้งพื้นที่" ในหน่วยหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด  โดยใช้ "งานพัฒนาระบบข้อมูลเป็นเครื่องมือ"   การดำเนินงานดังกล่าว  ได้ประชุมร่วมกัน  เพื่อนำเสนอแผนงานขับเคลื่อน  "การบูรณาการทั้งจังหวัด" ต่อผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช  และผ้แทนภาคีพัฒนาทุกภาคส่วน  และที่ประชุมเห็นชอบให้ปรับปรุงโครงการความร่วมมือฯ โดยเสนอให้ดำเนินการครอบคลุมพื้นที่ทั้งจังหวัด  ซึ่งจังหวัดนครศรีธรรมราช  ได้รับการสนุนจากผู้ว่าราชการจังหวัดอย่างเต็มที่

         แนวทางการดำเนินการในระดับพื้นที่  เบื้องต้นแบ่งกลุ่มพื้นที่เป้าหมาย  เป็น 2 กลุ่ม รายละเอียด  จะนำมาเล่าในโอกาสต่อไป....... 

         ขอวกไปในวงการประชุมเมื่อวันที่  22  มิถุนายน  2550

         สืบเนื่องจากการประชุมคณะกรรมการบริหารโครงการฯเมื่อวันที่ 11 มิ.ย.50 การประชุม   และการประชุมคณะทำงานโครงการเมื่อวันที่ 18  มิ.ย.50 

         สรุปประเด็นสำคัญ ๆ ในวันที่ 18  มิ.ย. 50 ให้รับทราบคร่าว ๆ นะคะ  ในที่ประชุมมีการเสนอประเด็นต่าง ๆ ในที่นี้ขอเล่าประเด็นสำคัญ ๆ  2 ประเด็นก่อนค่ะ  คือ

         ประเด็นที่ 1ได้มีการนำเสนอรายชื่อคณะทำงานโครงการและคณะทำงานระดับโซน  ใน 5  โซน  ทีประสานมาอย่างเป็นทางการเพื่อนำเสนอท่านผู้ว่าออกคำสั่งแต่งตั้ง  และมีการนำเสนอประธานคณะทำงาน คือ คุณอภินันท์  ชนะภัย นางสาวชาบีอา  ยุทธกาศ  เป็นเลขานุการคณะทำงานโครงการ  และมีเลขาโซน 1-5 เป็นผู้ช่วยเลขาฯ 

การแบ่งโซน  แบ่งพื้นที่ตามโซนลุ่มน้ำ  ดังที่ขบวนภาคประชนเคลื่อนอยู่เดิม คือ

โซนที่ 1 (ลุ่มน้ำปากพนัง1)

               ผู้ประสานงาน คือ  นายอุส่าห์  ดวงจันทร์ 

               เลขานุการ คือ ส.ต.อ.ณัฐวัสส์  เพชรรัตน์ 

โซนที่ 2 (ลุ่มน้ำปากพนัง 2 )

              ผู้ประสานงาน  คือ  นายเศียร   นิลวานิช

             เลขานุการ  คือ  นางสางกานดา   เพ็งเกลี้ยง

โซนที่ 3 (ลุ่มน้ำตาปี 1)

             ผู้ประสานงาน คือ นายสุรศักดิ์  ชอบผล

            เลขานุการ คือ นางกำจอย   พันธ์งาม

โซนที่ 4 (ลุ่มน้ำตาปี 2)

             ผู้ประสานงาน คือ นายสง่า   ทองคำ

            เลขานุการ คือ นางสาวยุพิน   เยาวนิตย์

โซนที่ 5 (ลุ่มน้ำกลาย)

             ผู้ประสานงาน คือ นายอภินันท์   วรรณรัตน์

            เลขานุการ คือ นายน้อย   หลีหลัง

          เลขานุการทั้ง 5 โซน  จะเป็นผู้ช่วยเลขานุการคณะทำงาน  ส่วนรายละเอียด  รายชื่อคณะทำงานโครงการ ผู้ช่วยผู้ประสานงานโซน  คณะทำงานโซน ผู้ช่วยเลขานุการ  ซึ่งได้รับการประสานงาน  และเสนอชื่อเรียบร้อยแล้ว  จะนำมาเสนอในวาระต่อไปค่ะ

         ประเด็นที่ 2เสนอให้มีการแบ่งฝ่ายงานจากคณะทำงาน  เพื่อกำหนดบทบาทภารกิจของแต่ละฝ่าย  และกำหนดทิศทางการเคลื่อนงานให้ชัดเจนยิ่งขึ้น  ซึ่งมีฝ่ายต่าง ๆ คือ

1. ฝ่ายวิชาการ  มี  อาจารย์สุจารี  แก้วคง, อาจารย์ชัย  ฉัตรเวชศิริ, อาจารย์จำนง   หนูนิล  อาจารย์สมหมาย  คชนูด  คุณเกษตร  ขุนจันทร์ 

2. ฝ่ายการเงิน/บัญชี  มี  ส.ต.อ.ณัฐวัสส์  เพชรรัตน์  คุณกานดา  เพ็งเกลี้ยง  คุณกำจอย   พันธ์งาม  คุณยุพิน  เยาวนิตย์  คุณน้อย   หลีหลัง  ซึ่งเป็นตัวแทนที่มาจาก เลขาโซน 1,2,3,4,5 ตามลำดับ  และอาร์(ชาบีอา  ยุทธกาศ  เลขาคณะทำงานโครงการ (เจ้าหน้าที่บัญชีและการเงินโครงการ) 

        ในการประชุม  วันที่ 11 มิ.ย. เรียกว่าประชุมก็ไม่เชิงค่ะ   เพราะเป็นการนัดทีมงาน  ที่ได้รับมอบหมาย จากที่ประชุม  ในวันที่ 18 มิ.ย. ให้ดำเนินการ  จัดทำคู่มือปฏิบัติงานของฝ่ายต่าง และเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานของคณะทำงานทุกระดับเพื่อให้ง่ายต่อการทำงาน  ให้เกิดผลสำเร็จ  และมีประสิทธภาพสูงสุด  ภายใต้แผนงาน 5 แผน คือ

         1. แผนงานการบริหารจัดการ

         2. แผนงานพัฒนาศักยภาพคณะทำงาน

         3. แผนงานพัฒนาระบบฐานข้อมูลสู่แผนตำบล

         4. แผนงานสร้างความเข้าใจและประชาสัมพันธ์

         5. แผนงานสร้างกระบวนการเรียนรู้  และการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ

       * แปลงแผนสู่การปฏิบัติและการขับเคลื่อนงานสู่นโยบายสาธารณะ

        รายละเอียดในเวทีการพูดคุยวันนั้น  คิดว่าที่อาจารย์จำนงเล่ามาคร่าว ๆ ชัดเจนมากค่ะ  และคิดว่าหลายท่านที่สนใจเรื่องนี้ได้อ่านบทความของอาจารย์  คงเห็นภาพการพูดคุยที่ทั้งเนื้อหาสาระและมีสันน่าติดตามทีเดียว 

        ส่วนรายละเอียดอื่น ๆ เพิ่มเติม  จะมาเล่าสื่อสารกันต่อไปค่ะ  แต่อยากบอกว่า  บรรยากาศ  การพูดคุยในวันนั้น  มีสีสันตามที่อาจารย์จำนงเล่าจริงค่ะ  โดยเฉพาะช่วงแนะนำตัว  ซจริงแล้วทีมงานเรา  เจอกันบ่อยมาก  หลายคนที่รู้จักกันมาก่อนและร่วมงานกันในโครงการนี้หลายครั้ง  แต่ครั้งนี้  มีการทำความรู้จักกันแบบเชิงลึก  เรียกว่าการแนะตัวครั้งนี้รู้จักไปถึงเส้นทางเข้าบ้าน  และสมาชิกในครอบครัวเลยล่ะค่ะ  คงเป็นนิมิตหมายที่ดีมาก  เพราะทีมงานของเรา  อย่างที่บอกไว้ข้างต้นว่า  เป็นการทำงานอย่าง "บูรณาการ"  ที่วันนี้ผู้ที่มาร่วมคิด  มีทั้งนักวิชาการ  จากสถาบันการศึกษา ตัวแทนจากภาคราชการ   ตัวแทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  และตัวแทนจากภาคประชาชน  ที่มาร่วมคิด  ร่วมกันทำงานอย่างผสมกลมกลืนและลงตัวทีเดียวค่ะ

                                                                  

 

หมายเลขบันทึก: 105925เขียนเมื่อ 24 มิถุนายน 2007 14:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 21:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

น้องอาร์ช่วยบอกเมล์ของน้องมาให้หน่อยได้ไม๊ครับ จะส่งการบ้าน แบบ AAR ไปให้สำหรับทำคู่มือฯ

ขอบคุณครับ

ผู้ว่าฯลงนามคำสั่งแล้ว ส่งคำสั่งให้ครบทุกคนเลยนะ ส่งไปที่หัวหน้าของทุกหน่วยงาน อย่างไรก็วันที่ 2 ก.ค.เชิญคณะทำงานฯประชุมให้ครบทีมเลยนะ เพราะเป็นวาระสำคัญ

ขอบคุณครับ

เรียน  อาจารย์  จำนง  หนูนิล

- E-mail  ของอาร์  คือ  [email protected]

- หนังสือคำสั่งแต่งตั้งจากจังหวัด  กำลังประสานงานอยู่ค่ะ  ถ้าเรียบร้อยแล้วจะรีบดำเนินการส่งไปให้ทุกหน่วยงานเลยค่ะ  คิดว่าจะพยายามให้ทันก่อนการประชุมคณะทำงานโครงการ  ในวันที่  2  ก.ค.50  และการประชุมครั้งนี้ก็ประสานงานกันทางโทรศัพท์ไปแล้วส่วนใหญ่  และจะรีบส่งหนังสือเชิญตามไปติด ๆ ค่ะ

- อาจารย์คะ  อาร์อุตส่าห์เขียนบทความ(เนื้อหาโครงการ) ไว้ตั้งหลายบรรทัด  อาจารย์ไม่ช่วย   Comment หน่อยหรือคะ  ว่า  เป็นอย่างไร  ควรปรับปรุงตรงไหนบ้าง  คือมือใหม่หัดขับน่ะค่ะ 

       ได้มาดูที่ตัวเองเขียนลงไปรู้สึกว่า  แค่ภาษาก็มีหลายจุดที่เขียนผิด  ส่วนการเรียบเรียงการใช้คำไม่ต้องพูดถึง  แต่อยากได้ความรู้จากนักวิชาการเพิ่มจริง ๆ ค่ะ  (เคยชินกับการทำงานในขบวนภาคประชาชนเน้นที่การปฏิบัติมากกว่า ยังไงก็แล้วแต่จะพยายามปรับปรุงและพัฒนาตนเองค่ะ  

น้องอาร์ ครับ

           บันทึกได้เยี่ยมยอดแล้วครับ พี่เองยังงงว่าสองบันทึกแรกไปไกลขนาดนี้แล้วหรือ แต่ก็นึกอีกทีก็ไม่แปลกใจเพราะว่าอาร์คร่ำหวอดอยู่ในอยู่ในกิจกรรมชุมชน ภาคประชาชน ภาคประชาสังคมมานาน เรียกว่ามีต้นทุนประสบการณ์สูง อีกทั้งรับบทเป็นเลขาของการประชุมเกือบทุกครั้ง เป็นคุณลิขิตมาโดยตลอด ไม่มีอะไรจะแนะนำจริงๆ เขียนได้เยี่ยมมากๆ พี่เองซิจะต้องขอคำแนะนำจากน้องอาร์ อย่าลืมนำประสบการณ์ในหน้าที่คุณอำนวยจะเป็นภาคราชการหรือภาคประชาชนไปเล่าในโรงเรียนคุณอำนวยเมืองคอนนะครับ กำหนดกันว่าจะพบกลุ่มเรียนรู้กันเดือนละครั้งเป็นอย่างน้อยครับ

           น่าจะเป็นตัวเต็งลุ้นรางวัลคุณลิขิต โครงการจัดการความรู้สู่ชุมชนอินทรีย์เมืองนครฯของท่านผู้ว่านะครับ

           อ้อ...รูปเจ้าของบล็อกก็สวยครับ ...อาร์บอกบู๊ทเปิดและเขียนด้วยนะ เพราะว่าความรู้ในตัวของบู๊ทมีเยอะมาก อยากให้ถ่ายทอดสู่ภายนอก

          ขอบคุณที่บอกเมล์มาให้นะและจะรีบส่งการบ้านที่รับปากไปให้ครับ

อาร์

             พี่เมลล์กรอบแนวทางถอดบทเรียนที่มอบการบ้านให้มา ส่งไปให้แล้วนะ...บอกบู๊ทด้วย

             ขอบคุณครับ

เรียน  อาจารย์จำนง

  • เมลล์ที่ส่งมาอาร์ยังไม่ได้รับเลยค่ะ  สงสัยเพราะที่ให้ไปพิมพ์ชื่อเมลล์ผิด ค่ะ เมลล์ของอาร์ คือ  [email protected]  หลัง yuttakard  มี  _  ด้วยค่ะ
  • ขอพระคุณอาจารย์ที่กรุณาชม  ผลงานนะคะ  กำลังใจมาเป็นกองเลยค่ะ 
  • เรื่องเมลล์ที่อาจารย์บอกจะส่งมา  อาร์รบกวนช่วยมาให้อีกครั้งได้ใหมคะ 

ขอบคุณมากค่ะ

 

กะชาบีอา เยี่ยมมากเลย พัฒนาไกลมากเลยนะ ไม่ได้เจอหลายเดือน

รุสดี

รุสดี

          เป็นคำชมหรือเปล่า  แวะมาบ่อย ๆ นะ

ขอบคุณที่มาเยือน

น้องอาร์

  • ขอโทษทีพิมพ์ที่อยู่ผิดอย่างที่ทว่าจริงๆ
  • ส่งใหม่ให้แล้วนะ
  • พรุ่งนี้ 29 มิ.ย.ประชุมที่ห้องอะไรนะ ที่ศาลากลางจังหวัดนครศรีฯ เวลากี่โมง

         

       อาร์    ได้รับการตอบรับจากแฟน ๆ เยอะเลยนะ ยินดีด้วย    มีแฟนๆ บางคนใช้ชือตัวเองแต่รูปถ่ายเป็นใครกันแน่ช่วยถามหน่อยยังลืมเขาไม่ลงหรือไงจ๊ะ

   พี่พัช

  • รูปถ่ายของแฟน ๆ ที่ปรากฎน่ะ  เดาเอาว่าเป็นคนใกล้ตัวของพี่พัชค่ะ  ส่วนเหตุผลกลใดนั้นยังไม่ทราบแน่ชัด  สงสัยคงเป็นอย่างที่พี่พัชว่ามังคะ  งานนี้คงต้องติดตามอย่างใกล้ชิด
  • อย่าลืมนะคะ  วันที่ 2 ก.ค.50 ประชุมคณะทำงานโครงการที่  ชั้น 2อารคารหลังเก่า  ศาลากลางจังหวัด  เพื่อเตรียมการจัดเวทีสร้างความเข้าใจคณะทำงานระดับโซน  ในวันที่ 11  ก.ค.50  ย้ำว่า  วันที่ 11 ก.ค.50  นะคะ  ถ้าวันที่ 2 ก.ค.ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง (ทีมงานบอกว่า   พวกเราลงเรือลำเดียวกันแล้วต้องช่วยกันพายค่ะถ้าเป็นวันที่ 10  มีคนจะโดดเยอะ ฉะนั้น วันนี้ห้ามโดด ) ส่วนสถานที่ชัดเจนอย่างไร  คงเป็นวันที่ 2 ก.ค.ค่ะ
  • ขอบคุณนะคะ  สำหรับกำลังใจ  อาร์พร้อมเสมอสำหรับการ ลปรร. 

นักเรียนในห้องกว้างค่ะ

ถึง พี่พัช พอช.

ได้อ่านข้อคิดเห็นของพี่ และได้แก้ไขไปแล้ว ส่วนถ่ายรูปนั้น ดีได้สลับกันตอนที่ มีความรู้สึกดีๆ กันอยู่ และได้รุสดีได้สร้างblogให้เค้า(พี่ออน)ไว้ตอนที่อาจารย์ภีม มวล.

http://gotoknow.org/portal/on_codi

เสริมศิริ ขุนต่างตา

ถึง พี่พัช พอช.

ได้อ่านข้อคิดเห็นของพี่พัช และได้แก้ไขรูปไปแล้ว และข้อชี้แจง

1.รูปถ่ายนั้น ดีได้สลับกันตอนที่ มีความรู้สึกดีๆ กันอยู่ ดีได้สร้าง blog ให้เค้า (พี่ออน) ไว้ตอนที่อาจารย์ภีม มวล. มาสอนให้ความรู้การสร้าง blog ที่ สนง.พอช.เมื่อหลายเดือนก่อน (จำไม่ได้ว่าเดือนไหน) เลยได้ลงรูปนั้นไป (ลืมไปว่า "วันนี้" กับ "เมื่อวาน" มันไม่เหมือนเดิมแล้ว)

2.ถ้าหากจะแลกเปลี่ยนกันพี่ออน ให้ไปที่

http://gotoknow.org/portal/on_codi

ซึ่งเป็นบล็อกของพี่ออนโดยเฉพาะเผื่อจะได้แลกเปลี่ยเรียนรู้ตอนไป

       อาร์    พี่แจ้งรายชื่อนักเรียนโรงเรียนคุณอำนวยจากศูนย์ประสานงานโครงการความรร่วมมือฯ ไปทางblog ผ่านอ.จำนงไปแล้ว จำนวน 3คน ตามที่ได้แจ้งความประสงค์ไว้คือ อาร์  พี่โชค สง่า ไม่ทราบว่าบู๊ท จะสนใจด้วยหรือเปล่ายังไม่ได้แจ้งชื่อตอนนี้แจ้งในเบื้องต้นไป 3 คน     ส่วนการประชุมผู้แทนโซนเลื่อนไป วันที่ 11 ก.ค พี่ติดแล้ว อุตส่าห์ล๊อกวันที่ 10 ไว้ แต่ไม่เป็นไร ค่อยตามสถานการณ์เอาก็แล้วกัน

น้องอาร์

          กรุณาไปที่นี่ ห้องเรียนเสมือนจริงของ น.ร. ร.ร.คุณอำนวยเมืองคอน และไปที่นี่ โรงเรียนคุณอำนวยเมืองคอน

          บอกให้น้องบู๊ทเข้าเป็นนักเรียนด้วยนะ

          ขอบคุณครับ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท