บุญรอด
นาย บุญรอด บุญรอด แสงสว่าง

ค่ายคุณธรรม นำความรู้ สู่เศรษฐกิจพอเพียง


ค่ายคุณธรรม นำความรู้ สู่เศรษฐกิจพอเพียง
ศนจ.ชัยภูมิ จัดโครงการค่ายคุณธรรม นำความรู้ สู่เศรษฐกิจพอเพียง ให้กับนักศึกษากศน. และประชาชนทั่วไปในเขตเทศบาลเมืองชัยภูมิ ในวันที่ 27-29 สิงหาคม 2550 ณ วัดป่าบ้านพลัง อ.เมือง จ.ชัยภูมิ และได้ศึกษาดูงานกับแหล่งเรียนรู้ที่ จังหวัดขอนแก่น
รูปแบบกิจกรรม  เข้าค่าย ศึกษาดูงาน
วัตถุประสงค์  เพื่อให้เข้าใจกระบวนการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง มีทักษะและเจตคติที่ดีต่อคุณธรรม และสามารถนำความรู้ ประสบการณ์ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
สถานที่
1.วัดป่าบ้านพลัง อ.เมือง จ.ชัยภูมิ
2.บ้านดงบัง ม.4 ต.คอนฉิม อ.แวงใหญ่ จ.ขอนแก่น (พ่อใหญ่บุญเต็ม  ชัยลา  ปราชญ์ชาวบ้าน)
3.บ้านคำปลาหลาย ต.บ้านดง อ.อุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น 
เป้าหมาย นักศึกษากศน.และประชาชนทั่วไป ในเขตเทศบาลเมืองชัยภูมิ จำนวน 150 คน
การประเมินผล  จากแบบสอบถาม พบว่า ส่วนมากร้อยละ 65 เป็นเพศหญิง
ส่วนของอายุ  ผู้เข้าร่วมโครงการส่วนมาก อายุ 15 - 25 ปี  รองลงมา อายุ 36 - 45 ปี และ 26 - 35 ปี ตามลำดับ น้อยที่สุดคืออายุ 56 ปีขึ้นไป
ด้านการศึกษา ส่วนมากอยู่ระดับม.ปลาย รองลงมา ระดับประถม ม.ต้น ตามลำดับ น้อยที่สุดได้แก่ระดับปริญญาตรี
ด้านความพึงพอใจ  เรื่องที่ผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจมากที่สุด ได้แก่ วิทยากรมีความรู้ ความสามารถ วิ ธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และผลที่ได้รับและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ ส่วนเรื่องที่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความพึงพอใจในระดับมาก ได้แก่ การติดต่อประสานงานเชิญเข้าอบรม การต้อนรับ รายงานตัวผู้เข้ารับการอบรม พิธีเปิดการอบรม เนื้อหาสาระการอบรม และเอกสารประกอบการอบรม และผู้มีความพึงพอใจอยู่ในระดับกลาง เรื่องของการจัดเวลาได้เหมาะสม ตรงต่อเวลา  ผู้เข้าร่วมกิจกรรมไม่มีความพอใจในเรื่องใดเลยที่อยู่ในระดับน้อย และน้อยที่สุด
จากการสอบถาม  พบว่า
ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้ ความเข้าใจในกระบวนการเรียนรู้ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีทัศนคติและเจตคติที่ดีในการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และจะนำความรู้ ประสบการณ์ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
 ประมวลภาพกิจกรรม  
 
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   

วันที่ 28  สิงหาคม 2550  ศึกษาดูงานบ้านดงบัง ม.4  ต.คอนฉิม อ.แวงใหญ่ จ.ขอนแก่น (พ่อใหญ่บุญเต็ม  ชัยลา  ปราชญ์ชาวบ้าน) หมายเลขโทรศัพท์  081-7089929

คนเราดำรงชีวิตอยู่ได้ต้องอาศัย  4 แม่

1.      แม่ธรณี  (ดิน)    2.      แม่คงคา (น้ำ)

3.      แม่โพสพ (ข้าว)  4.      แม่บ้าน

 
 

4 พระ 1. พระพุทธ   2. พระธรรม  3. พระสงฆ์    4. พระมหากษัตริย์    5. พยายาม
ธรรม 4 ข้อ
  1. อริยสัจ 4  ธรรมะที่ใช้ในการรวมกลุ่มเสวนาถึงปัญหา  วิเคราะห์ปัญหา  สาเหตุปัญหา  หนทางแก้ปัญหา
  2.  อิธิบาท 4
  3. อัตตาหิอัตตโนนาโถ  ธรรมใช้พึ่งพาตนเอง
  4. อปริหานิยธรรม  ธรรมะแห่งความสำเร็จ
บันไดสู่ความสำเร็จ มี 5 ขั้น

ขั้นที่ 1 มาพิจารณาตัวเอง

ขั้นที่ 2 มาพิจารณาทรัพยากร เช่น ดิน น้ำ พืช สัตว์ แมลง ภูเขา ทะเล

ขั้นที่ 3 เลือก / ตัดสินใจ / ลงมือทำ

ขั้นที่ 4 จดบันทึก จดบัญชี

ขั้นที่ 5 ความต่อเนื่อง

หลักเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวคิดปราชญ์ชาวบ้าน (พ่อใหญ่บุญเต็ม  ชัยลา)

ปัจจุบัน (1   2 1 อ)

ษตรกร ทำไร่ ทำนา ทำสวน  แล้วส่งขายให้พ่อค้าคนกลาง  ส่วนพ่อค้าคนกลางหลังจากที่ซื้อจากเกษตรกรแล้ว ก็ส่งให้โรงงานอุตสาหกรรม หลังจากโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตรแล้ว ก็ส่งขายให้เกษตรกรเหมือนเดิมทำให้เกษตรกรต้องซื้อสินค้าของตนเองที่มีราคาแพงขึ้น ทำให้มีหนี้สิน รายจ่ายเพิ่ม ไม่พอ อยู่พอกิน พอใช้

ดังนั้น ต้องดำเนินชีวิตทางสายกลาง ซึ่งเป็นหลักของเศรษฐกิจพอเพียงคนที่จะดำเนินชีวิตสายกลางนั้น ต้องทำอยู่ 3 ข้อ ได้แก่  1.พอประมาณ (ไม่ต้องทำมาก แต่ทำให้ได้ปริมาณมาก)   2.มีเหตุผล  3.มีภูมิคุ้มกัน (ทำอะไรต้องไม่มีความเสี่ยง) และมีเงื่อนไขอยู่ 2 เงื่อนไข ได้แก่ 1.มีความรู้ รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง  2. มีคุณธรรม ซื่อสัตย์ ประหยัด อดทนเมื่อก่อนเวลาทำอะไรที่ยากๆ จะบอกว่า  ยาก  เป็นไปไม่ได้   แต่ถ้าเรามีความพยายาม ตั้งมั่น สิ่งสำคัญที่สุดคือใจสู้  และมีความพยายามที่จะทำ   สิ่งที่คิดว่ายาก เป็นไปไม่ได้ จะบอกว่า   เป็นไปได้   ง่าย 
เศรษฐกิจพอเพียง มี 
4 ขั้น
ขั้นที่ 1 พออยู่ พอกิน พอใช้     ขั้นที่ 2 ตลาด    ขั้นที่ 3 ธุรกิจ  ขั้นที่ 4 ส่งออก
สมุนไพรอีสาน

สุกใต้ดิน  (ขมิ้น)  ดินผ่านฟ้า (น้ำผึ้งเดือนห้า)  พาดง่าไม้ (เครือกอฮอล์) ฟาดลงดิน (หญ้าแฮ้วหมู) สีบ่เศร้า (สาวน้ำประแป้ง) เฒ่าบ่เป็น (บานไม่รู้โรย)

   
หลังจากนั้นได้เดินทางไปที่ หมู่บ้านคำปลาหลาย หมู่ 9 ต.บ้านดง อ.อุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น (หมู่บ้านมหรรศจรรย์)

บริบทของหมู่บ้าน  ตั้งเมื่อ พ.ศ.2520   จำนวนครัวเรือน 60 หลังคา   ประชากร 256 คน    (ชาย 125 คน หญิง 131 คน)  เมื่อก่อนเป็นหมู่บ้านที่ยากจนที่สุดใน อ.อุบลรัตน์ แต่ปัจจุบันเป็นหมู่บ้านที่ไม่มีหนี้สิน     ซึ่ง พ่อแสวง  กิ่งน้อย      เล่าว่าเมื่อก่อนชาวบ้านคำปลาหลายเป็นหนี้มาก จนถึงที่สุด    จึงได้รวมกันทำประชาพิจารณ์ ประชาคมในหมู่บ้าน  ซึ่งก็ได้ทราบถึงปัญหาต่างๆ ที่ทำให้เป็นหนี้สิน สิ่งที่จะสามารถลดรายจ่ายได้ คือ ทุกครอบครัวต้องมีแหล่งอาหาร ซึ่งทุกครอบครับก็เลี้ยงปลา เลี้ยงกบ ปลูกผัก ฯลฯ  และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือผู้นำต้องทำเป็นแบบอย่าง   ซึ่งหมู่บ้านนี้มีสโลแกนว่า กินอิ่ม นอนอุ่น ทุนมี ไม่มีหนี้  


คุณมาร์ติน  วีเลอร์    คนประเทศอังกฤษ
     ซึ่งมาอยู่เมืองไทยและเป็นเขยหมู่บ้านคำปลาหลาย 18 ปี มีลูก 3 คน  ที่ดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษกิจพอเพียง   ปัจจุบันมีที่ดิน 40 ไร่  เขาเล่าว่า  คนไทยจะมองฝรั่งว่าเป็นคนรวยแต่จริงๆ แล้วไม่รวยหลอก  ค่าเงินมันแข็งเฉยๆ เวลาแลกเงินไทยได้เยอะ  ถ้าเงินไทยไปแลกเงินประเทศลาว เขมร ก็ได้เยอะเหมือนกัน ลาว เขมร ก็จะบอกว่าคนไทยรวย    คนไทยโชคดีมาก ที่มีบ้าน มีที่ดินเป็นของตนเอง ไม่ต้องไปทำงานเป็นลูกน้องของใคร อากาศก็บริสุทธิ์ อาหารก็สด กินได้ทุกอย่าง ปลอดสารพิษ คนไทยมีน้ำใจ เขาประทับใจมาก เวลาคนไทยกินข้าวจะเรียกกัน  และเขาเปรียบเทียบกับประเทศอังกฤษว่า คนที่จะมีบ้าน ที่ดินเป็นของตนเองนั้น ต้องเป็นครอบครัวที่มีฐานะ  ส่วนคนที่อยู่ในเมืองจะเป็นคนทำงานออฟฟิต  รับจ้าง   กว่าจะผ่อนบ้านหมดก็ประมาณ  25 ปี อาหารก็ไม่มีให้เลือก  นี่เป็นมุมมองหนึ่งที่สะท้อนถึงการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่ฝรั่งมองคนไทย
หมายเลขบันทึก: 123335เขียนเมื่อ 30 สิงหาคม 2007 10:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 14:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ได้รู้เรื่องราวของชัยภูมิอีกแล้ว ขอให้ทำอย่างนี้อย่างต่อเนื่องนะ อาจารย์บุญรอด อย่าท้อถอยเสียก่อน เพราะสิ่งที่ทำอยู่นี้ จะเป็นตัวอย่างที่ดี สำหรับคนอื่นๆ ต่อไป มีเพียงไม่กี่คน ที่ยีงคงทำอย่างนี้ตลอด สม่ำเสมอ

ขอชมเชยด้วยใจจริง

ได้ชมภาพและกิจกรรมที่ดี ดี ของ กศน. ชัยภูมิแล้วทำให้อยากมาเที่ยวชัยภูมิ อยากให้ลงภาพเยอะ ๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท