beeman 吴联乐
นาย สมลักษณ์ (ลักษณวงศ์) วงศ์สมาโนดน์

โหมโรง (The Overture) : ขุมความรู้ในภาพยนตร์


ภาพยนตร์ที่ คุณอำนวยต้องดู

   เข้าใจว่า ส่วนใหญ่สมาชิกใน GotoKnow คงได้ชมภาพยนตร์เรื่อง "โหมโรง" หรือ ชื่อในภาษาอังกฤษว่า "Overture" กันแล้วนะครับ หากยังไม่ได้ชม ก็ซื้อหา DVD หรือ VCD มาชมกันได้

อนุชิต สพันธุ์พงษ์

   สำหรับสมาชิก ที่ใช้บริการสาย LAN ในม.น. ลองแวะเข้าไปเยี่ยมที่นี่(http://192.168.70.6/vod/) ก็จะมีสารคดีหรือภาพยนตร์ที่หมุนเวียนกันให้ชมหลายเรื่อง (ขณะนี้สงวนสิทธิ์เฉพาะผู้ที่ใช้บริการ LAN ในมน.เท่านั้น)

   ภาพยนตร์เรื่องนี้ ใครที่คิดว่าตัวเองเป็นคุณอำนวยต้องดู ผมได้ดูครั้งแรก ดูไม่ค่อยรู้เรื่องและลึกซึ้งเท่าใด เนื่องจากเป็นหนังแนว Period หรือย้อนยุค..เป็นหนังที่สร้างจากจินตนาการ โดยอาศัยเรื่องราวในชีวิตของครูดนตรีท่านหนึ่ง (หลวงประดิษฐ์ไพเราะ : ศร ศิลปบรรเลง) เป็นแนวทางในการดำเนินเรื่อง..เชิญอ่านเรื่องย่อ

 

แนวภาพยนตร์ : Drama   

นำแสดงโดย : อนุชิต สพันธุ์พงษ์, อาระตี ตันมหาพราน
   
 
  เรื่องย่อ : ณ ประเทศสยาม พุทธศักราช 2429 ศร เด็กหนุ่มที่มีความผูกพันกับดนตรีไทยมาตั้งแต่เกิด หลังจากที่พี่ชายตนเองต้องจบชีวิตลงด้วยน้ำมือของคู่ปรับผู้พ่ายแพ้ในการดวลระนาด ศรจึงได้รับช่วงต่อจากพี่ชาย โดยมีพ่อซึ่งเป็นครูสอนดนตรีไทยเป็นผู้ฝึกปรือฝีมือจนมีชื่อเสียงร่ำลือในทางระนาด ด้วยความลำพองในฝีมือของตน ศร จึงขอให้พ่อพาเขาไปบางกอก ที่นั่นเองที่ศรได้เรียนรู้ถึงความพ่ายแพ้เป็นครั้งแรกจากฝีมือของนักระนาดเอก ขุนอิน

  ศร กลับบ้านด้วยความภาคภูมิใจที่ถูกทำลายไปจนหมดสิ้น แต่ความสับสน ท้อแท้ สิ้นหวังกลับกลายเป็นความมุมานะที่จะฝึกฝนฝีมือ จนสามารถคิดค้นเทคนิคการตีระนาดที่ไม่เหมือนใคร ชื่อเสียงของศรร่ำลือไป จนถึงพระบรมมหาราชวัง ศรได้รับการอุปถัมภ์ให้เป็นนักดนตรีประจำราชสำนัก จนได้พบกับแม่โชติ สตรีผู้สูงศักดิ์ในวังและได้กลายเป็นคู่ชีวิตในเวลาต่อมา และไม่นานศรก็ได้เข้าร่วมแข่งขันดนตรีกับขุนอินอีกครั้ง ฝีมือที่ฝึกปรือมาอย่างไม่ท้อถอย ทำให้ศรสามารถเอาสติชนะขุนอินคู่ปรับเก่าได้

อ่านเพิ่มเติม ได้ที่นี่

 

    ฉากแรก ชีวิตวัยเด็ก ศร ต้องการจะเรียนดนตรีกับพ่อ(สิน) ซึ่งเป็นมือระนาดเอก แต่พี่ของศรได้จบชีวิตลงด้วยน้ำมือของนักเลงในสมัยนั้น พ่อจึงไม่คิดจะสอนดนตรีให้ ศร

   แต่เมื่อเห็นความมุ่งมั่นของบุตรชาย ซึ่งมีแววทางดนตรี พ่อจึงสอนดนตรีให้ศร

   ฉากต่อมา วัยหนุ่ม พบขุนอิน ศรมีพรสวรรค์ทางดนตรี ติดมาทางพ่อ เมื่อได้ครูดี อัจริยะทางดนตรีก็ฉายแวว..ไปเล่นประกวดที่ไหนก็ชนะ

   พ่อพาศร ไปเที่ยวบางกอก...ที่นั่น ศรได้พบกับขุนอิน เป็นครั้งแรก..มีเหตุการณ์ที่ทำให้ศรต้องประชันระนาดกับขุนอิน และศร ต้องพบกับความพ่ายแพ้เป็นครั้งแรก

   ศร กลับบ้านด้วยความรู้สึกลึกๆ ว่า ความภาคภูมิใจและความมุ่งมั่น ได้ถูกทำลายไปจนหมดสิ้นแล้ว ความท้อแท้เข้ามาเยือน

ศร

 

  ฉากต่อมา ศรกำลังนอนคิดอะไรอยู่ ทิวเพื่อนของศร ก็กำลังใช้สุ่มจับปลา พอจับได้ก็เอ่ยขึ้นว่า

   ทิว : " นี่ไง ศร ข้อแขนอย่างเอ็งนะ ถ้ามาจับปลาแข่งกับข้านะ มีหวังถูกยักมือแหกแน่...ต่อให้เป็นขุนอินอะไรของเอ็งก็เหอะ คนเรามันเชี่ยวผิดกันโว้ยไอ้ศร..ทางใครก็ทางมันซิวะ "

  ประโยคที่ทิวพูด ทำให้ศรเกิด "ปิ๊งแว๊บ" ขึ้นมา เป็นจุดเปลี่ยนของชีวิต ศร คิดได้ว่า "ถ้าเราเล่นระนาดตามแบบขุนอิน ก็ไม่มีทางชนะขุนอินได้ จะต้องคิดแนวทางดนตรีขึ้นมาใหม่"

   ศร กลับไปฝึกระนาดใหม่อีกครั้ง ก็พอดีทางนายอำเภอราชบุรี มาตามศรไปเข้าเฝ้าสมเด็จฯ ในพระราชวัง..ศรต้องการจะบอกพ่อ เรื่องแนวทางดนตรีใหม่..แต่พ่อบอกให้ศรเล่นระนาดให้สมเด็จฯ ฟัง

   สมเด็จฯ ท่านชอบแนวดนตรีของศร เพราะว่า "แนวดนตรีมันแหกคอกแปลกหูแปลกตาดีเหลือเกิน" (ต้องทำอะไรนอกกรอบบ้าง)..  พ่อจึงให้ศรถวายตัวรับใช้สมเด็จฯ ในวัง..ซึ่ง ณ ที่นี้เอง ศรได้พบรักกับ แม่โชติ..กับได้พบครูดนตรีคนใหม่ "ครูเทียน"    

   พอศร ได้ทราบว่า สมเด็จฯ ท่าน จะให้ศรประชันกับขุนอิน...ภาพเก่าๆ ก็มาหลอกหลอน..จนศรต้องหนีสมเด็จฯ ท่านกลับไปบ้าน...

   พ่อ พอทราบข่าวว่าศรหนีสมเด็จท่านมา ก็ล้มป่วย..ศรพอทราบว่าพ่อล้มป่วยก็มาเยี่ยมและกราบขอขมาพ่อ พ่อบอกว่าพ่อจะไม่บังคับให้ศรกลับไปรับใช้สมเด็จฯ

   แต่ศรคิดได้...ก็เลยกลับไปรับโทษจากสมเด็จ เมื่อสมเด็จฯ ทรงลงโทษศรแล้ว ก็ให้ครูเทียนช่วยดูแลการฝึกซ้อมของศร ครูเทียนกราบทูลว่า "ศร จะกลับมาเมื่อใจของมันพร้อม"  

   ณ ตอนนี้ "ใจ" ของศรพร้อมแล้วที่จะประชันกับขุนอิน

   ครูเทียน ได้ปรับแนวดนตรีของศร ให้เป็นธรรมชาติมากขึ้น

   ฉาก ประชันดนตรีระหว่าง ศร และ ขุนอิน

   ฉากนี้ ถือเป็นฉากใหญ่ ศรเล่นระนาดเอกของในวังจนตะกั่วที่ถ่วงหลุด ทำให้ระนาดเสียงเพี้ยนไป ต้องเปลี่ยนพื้นระนาดใหม่ ซึ่งทิวได้หอบพื้นระนาดของพ่อมาเปลี่ยนให้

   ประชันวงดนตรี ระหว่างวงของศร และ วงของขุนอิน กินกันไม่ลง

   สมเด็จฯ เจ้าของวงของขุนอิน จึงท้าให้ "เดี่ยวเพลงเชิดต่อตัว" ระหว่างศรกับขุนอิน

   ครั้งนี้ ศรมีสมาธิและสติดีกว่า เพราะคิดว่าแพ้ก็ไม่เป็นไร ส่วนขุนอิน ด้วยความที่ต้องการเอาชนะ ทำให้เกิดอาการเกร็ง (เป็นตะคริว) และพ่ายแพ้ต่อศร

   ศรเข้าไปขอขมาขุนอิน และขอนับถือขุนอินเป็นครูเพลงคนหนึ่ง

   ขุนอินกล่าวว่า "ข้ายินดีที่ได้พบคนมีฝีมืออย่างเอ็ง ดูแลสืบทอดดนตรีนี้ให้ดีต่อไปเถอะเจ้าศร"

   ....เท่ากับว่าขุนอิน ได้มอบภาระ การรักษาสืบทอดศิลปการดนตรีไทย ไว้กับ "ศร" แล้ว

       จบเรื่องราวในรัชสมัย สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง

BeeMan

นกเพนกวิน penguin 

BeeMan

PenGuin

หมายเลขบันทึก: 81037เขียนเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2007 00:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
  • เหมือนได้ไปดูหนังกับอาจารย์เลยครับ
  • ทำไมมาดึกจังเลยครับ
  • ง่วงแล้วครับ
  • โอย ขอขุนอิน เอย ศรไปนอนก่อนนะครับ
  • ฮ่าๆๆๆ
เรียนท่าน BeeMan โหมโรง กันมานาน KM รอความหวังจะ Show and Share กันจริงๆเสียทีครับ "ระดม สะสม ส่งเสริม เพิ่มเติม Tacit เจ้าของ ก่อนที่จะไปจากโรง กันครับ"
  • ขอบคุณ ว่าที่ ดร.ขจิต ที่แวะเข้ามาทักทายครับ

เรียนท่านอาจารย์ JJ

  • ใน GotoKnow คงใช้สำหรับบันทึกข้อมูล ข่าวสาร, บ่งบอกความเป็นตัวตนของตน
  • การสร้าง CoP เพื่อ Show and Share คงทำได้ในระดับหนึ่ง..แต่ยังทำได้ไม่เต็มที่
  • CoP ที่ ค่อนข้าง work มักเป็น CoP ในสถาบันหรือหน่วยงานเดียวกัน
  • Show & Share เรื่องการฝึกอบรมบุคลากร beeman ก็ได้รับจากท่านอาจารย์ JJ แล้วครับ..
  • เรื่องที่ อ. JJ Share มารับรองต้องมีผู้สืบทอด และพร้อมที่จะไปประยุกต์ใช้
  • ตัวอย่างอีกที่หนึ่ง คือ ที่สถาบันของ ท่านครูบาสุทธินันท์ ก็ มี Show & Share
  • ชุมชน SmartPath ก็มี Show & Share
  • ชุมชน หลายชุมชนในมน. เช่น สำนักหอสมุด หน่วยประกันคุณภาพ กองกิจการนิสิต สำนักงานเลขานุการ ก็มี Show & Share
  • ใน GotoKnow คง Show มาก Share น้อย แต่คงได้ในลักษณะ "สะพานเชื่อม" ครับ
  • ที่ผมเขียนเรื่อง..โหมโรงนี้ เพื่อจะสื่อว่า...ก่อนที่จะ Show & Share ต้องถามตัวเอง (ของผู้อ่าน) ว่า เรื่อง กระบวนทัศน์หรือ Paradigm ของตัวเองเปลี่ยนแปลงหรือไม่เมื่ออ่านเรื่องนี้...
  • ถ้าเหมือนเดิม...เรื่องที่เขียนไปนี้ก็เหมือน Information ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป
  • แต่ผมลอง F2F เรื่องโหมโรงนี้ ก้บเจ้าหน้าที่สายสนับสนุนบางคน..กระบวนทัศน์ของเขาก็เริ่มเปลี่ยนแปลงบ้างแล้ว 

ได้มีโอกาส คุยกับ อ. Beeman เกี่ยวกับหนังเรื่องโหมโรง แล้วมาวิเคราะห์กันในแต่ละฉาก ตอนไป ออกหน่วย Mobile Unit ก็ได้ข้อคิดดีๆ หลายอย่างครับ แต่ฉากที่ผมชอบมากที่สุดในเรื่อง นี้ คือ ตอนที่ ศร (ตอนแก่) เล่นระนาด คู่กับ Piano ซึ่งลูกชายนำมาจากต่างประเทศ และชอบคำคมที่ว่า

คนเรามันเชี่ยวผิดกันโว้ยไอ้ศร..ทางใครก็ทางมันซิวะ

  • เรื่องที่คุณสาทิตย์ ว่ามาคงต้อง นำมาวิเคราะห์อีกตอนนะครับ
  • ชอบเพลง คำหวาน  ตอนศรเล่นซอเมื่อพบนางเอกมากเลยครับ
  • ผมไม่ค่อยรู้จักดนตรีไทย..ไม่ทราบว่าศรเล่นเพลงอะไร แต่ว่าเพราะมากเลย อย่างที่อาจารย์เก๋ชอบ..เพิ่งทราบว่าเป็นเพลงคำหวานครับ
  • ผู้กำกับ พยายามสื่อว่า ศร เล่นดนตรีไทยได้ ทุกชิ้น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท