อนุทินล่าสุด


ต้นโมกข์
เขียนเมื่อ

ในที่สุด

ฉันก็ได้ข้อสรุปว่า

ผู้คนเป็นนักโทษของมือถือ

นั่นเป็นสิ่งที่พวกเขาต่างขนามนามมันว่า

“เซล โฟน”



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ต้นโมกข์
เขียนเมื่อ

หากเราขว้างไข่

ชีวิตที่อยู่ภายในต้องจบสิ้น

หากไข่ถูกทะลุจากภายใน

ชีวิตก็จะก่อเกิด

สิ่งยิ่งใหญ่ต้องระเบิดจากข้างในเสมอ!

สุขสันต์วันปีใหม่ครับ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ต้นโมกข์
เขียนเมื่อ

การประเมินการพูด ตอนจบ

เกณฑ์เหล่านี้คือการออกเสียง, คำศัพท์, ความถูกต้อง, การสื่อสาร, การโต้ตอบ, และความคล่องแคล่ว ใช้เป็นมาตรฐานในการวัดทักษะการพูด

นักเรียนสามารถเยี่ยมยอดในบางสิ่ง และอาจแย่ในบางสิ่ง จงให้เด็กๆ คุ้นเคยกับลักษณะของการพูดที่มีประสิทธิภาพ ให้นักเรียนของคุณรู้ว่าเธอจะฟังและตัดสินใจเกณฑ์เหล่านี้ และพยายามปรับปรุงการพูดของพวกเขา นอกจากนี้ยังต้องฟังสิ่งที่นักเรียนคุยกับคุณ และเมื่อพวกเขาคุยกันเอง ในอนาคตพวกเขายังอาจพูดกับคนที่ไม่ใช่เจ้าของภาษา สุดท้ายแล้ว จงจำไว้ว่าทักษะการพูดมิใช่วัดกันตอนปลายภาคเรียน แต่จงฟังการพูดของนักเรียนตลอดปี จงจดไว้ว่าพวกเขาพัฒนาแค่ไหนในการพูด กระตุ้นให้พวกเขาเป็นทั้งคนฟังและคนพูด และในท้ายที่สุด เธอย่อมได้รับผลเลิศจากการสอนด้วย

แปลและเรียบเรียงจาก

Susan Verner. How to Evaluate Speaking

https://busyteacher.org/4836-how-to-evaluate-speaking.html



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ต้นโมกข์
เขียนเมื่อ

เมื่อสิ่งหนึ่งสลายไป

อีกสิ่งหนึ่งที่ดีขึ้นย่อมเข้ามา!



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ต้นโมกข์
เขียนเมื่อ

การประเมินการพูด ตอนที่ 5

  1. ท่วงทำนอง

การพูดถึงสิ่งที่มีอยู่ในใจเป็นเรื่องหนึ่ง แต่การพูดเพื่อการติดต่อสื่อสารเป็นอีกเรื่องหนึ่ง จงถามคำถามกับนักเรียน สังเกตวิธีการที่พวกเขาคุยซึ่งกันและกัน พวกเขาสามารถเข้าใจกันเองและตอบคำถามกันได้หรือไม่? พวกเขาสามารถตอบคำถาม เมื่อเธอถามได้หรือไม่? พวกเขาสามารถให้การโต้ตอบที่ถูกต้องตามบทสนทนาได้หรือไม่? ทั้งหมดนี้เป็นองค์ประกอบของการโต้ตอบ และจำเป็นสำหรับการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพและชัดเจน นักเรียนที่มีทักษะการโต้ตอบที่มีประสิทธิภาพจะสามารถตอบคำถาม และเข้าใจบทสนทนารอบๆตัวเขา ทักษะการออกเสียงจะไม่เกิดขึ้นกับคนที่ไม่เข้าใจสิ่งที่คนอื่นๆพูดถึง และตอบอย่างไม่เหมาะสม จงกระตุ้นให้พวกเขาฟัง ตอนที่คนอื่นๆกำลังพูด และมีการโต้ตอบที่เหมาะสมกับคนอื่นๆในบทสนทนา

  1. ความคล่องแคล่ว

ความคล่องแคล่วเป็นสิ่งที่ง่ายที่สุดในการประเมินทักษะการพูดของผู้เรียน เด็กๆพูดอย่างสะดวกสบายขนาดไหน? พวกเขานึกคำขึ้นมาได้ง่ายขนาดไหน? มีการหยุดหรือเว้นตอนพูดบ้างหรือไม่? หากมี ก็แสดงว่านักเรียนของเธอมีปัญหาเรื่องความคล่องแคล่ว ความคล่องแคล่วแตกต่างทักษะการพูดอันอื่นๆ เธออาจมีทักษะไวยากรณ์ที่ดี แต่มีปัญหาเรื่องความคล่องแคล่ว เธอต้องการให้นักเรียนมีความคล่องแคล่วเมื่อพูดกับคุณ หรือคนที่ใช้ภาษาอังกฤษอื่นๆ ความคล่องแคล่วเป็นการประเมินความง่ายในการสื่อสาร และเป็นเกณฑ์เมื่อวัดทักษะการพูด

แปลและเรียบเรียงจาก

Susan Verner. How to Evaluate Speaking



ความเห็น (2)
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ต้นโมกข์
เขียนเมื่อ

ช่วยเหลือผู้คน

แม้กระทั่ง

คุณรู้อยู่เต็มอกว่า

พวกเขาจะไม่ช่วยคุณกลับเลย!



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ต้นโมกข์
เขียนเมื่อ

การประเมินการพูด ตอนที่ 4

  1. ความถูกต้อง

สิ่งที่สำคัญที่สุดและคงอยู่ตลอดไปในการสอนวิชาภาษาอังกฤษคือไวยากรณ์ การเขียนอย่างถูกต้องในแบบทดสอบก็ไม่ใช่เรื่องเดียวกับความถูกต้องในการพูด เมื่อนักเรียนของเธอพูด จงฟังเพื่อดูว่าถูกต้องตามไวยากรณ์ และดูเครื่องมือที่เธอได้สอนพวกเด็กๆ พวกเขาสามารถใช้กาลเวลา (tense) ที่หลากหลายได้ถูกต้องหรือไม่? พวกเขามีการตกลงหรือไม่? (agreement) มีการเรียงลำดับคำที่ถูกต้องในประโยคหรือไม่? ทั้งหมดนี้ และประเด็นไวยากรณ์ที่มากกว่านี้ และผู้พูดที่มีประสิทธิภาพจะใช้ประเด็นไวยากรณ์เหล่านี้อย่างประสบผลสำเร็จ

  1. การสื่อสาร

นักเรียนอาจประสบปัญหาเรื่องการออกเสียงและไวยากรณ์ แต่หากเธอใช้ภาษาได้อย่างสร้างสรรค์แล้วล่ะก็ สิ่งนี้ก็ไม่ใช่ปัญหา การประเมินการสื่อสารหมายความถึงการดูว่าเด็กๆใช้ภาษาได้สร้างสรรค์ขนาดไหน การใช้ภาษาได้สร้างสรรค์หมายถึงพูดได้ตรงประเด็นขนาดไหน นักเรียนที่มีระดับคำศัพท์และไวยากรณ์ในระดับต่ำ แต่สามารถทำให้เธอเข้าใจเขาได้ เทียบกับนักเรียนที่มีการใช้ภาษาในระดับสูง แต่ยังใช้บทสนทนาที่เตรียมมาอาจไม่แสดงความคิดของเขาได้แจ่มชัด และมีปัญหาในการสื่อสาร จงอย่าให้ความไม่คล่องทางภาษามาเป็นอุปสรรคในการให้พวกเขาแสดงออกซึ่งตัวตน ยิ่งพวกเขาสามารถใช้ภาษาได้อย่างสร้างสรรค์ พวกเขาก็ยิ่งมีวิธีการที่มีลักษณะเฉพาะตนในการแสดงออกซึ่งตัวตนมากขึ้น และทักษะการสื่อสารจะดีขึ้นเท่านั้น

แปลและเรียบเรียงจาก

Susan Verner. How to Evaluate Speaking



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ต้นโมกข์
เขียนเมื่อ

บอกฉันสิ

อะไรจะสำคัญไปกว่า

การอยู่พร้อมกับเด็กๆ

และฟัง “เสียง” ของพวกเขาน่ะ

ฉันกำลังรอ!



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ต้นโมกข์
เขียนเมื่อ

การประเมินการพูด ตอนที่ 3

  1. การออกเสียง

การออกเสียงเป็นคุณภาพพื้นฐานในภาษาอังกฤษ ถึงแม้ว่าผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ 2 จะออกเสียงได้ไม่เหมือนเจ้าของภาษา แต่การออกเสียงที่ไม่ดีย่อมทำให้สื่อสารได้ไม่ชัด และทำให้ไม่สามารถจะสื่อสิ่งที่ออกมาได้ เมื่อต้องประเมินการออกเสียง จงฟังคำศัพท์ที่ชัดเจนไม่ใช่ออกเสียงผิด (articulated words), การออกเสียงของคำที่สะกดแปลกๆอย่างเหมาะสม (unusual spelling), การกลายเสียง (assimilation), และการย่อในที่สมควรจะย่อ นอกจากนี้จงฟังท่วงทำนอง (intonation) นักเรียนออกเสียงถูกตามประโยคทั้ง 4 ประโยคหรือไม่? พวกเด็ก ๆ ได้รู้ถึงความแตกต่างระหว่างคำถามกับประโยคบอกเล่าหรือไม่? จงฟังการออกเสียงเหล่านี้ และตัดสินใจว่าพวกเด็ก ๆ อยู่ในระดับใด

  1. คำศัพท์

หลังจากที่ฟังการออกเสียงแล้ว ให้ดูที่คำศัพท์ การเข้าใจคำศัพท์ และการผลิตคำศัพท์เป็นสองสิ่งที่คนใช้ภาษาที่ 1 และคนใช้ภาษาเพื่อการอื่นๆจำเป็นต้องรู้และผลิต ในฐานะครู ควรกระตุ้นทั้งการเข้าใจคำศัพท์และการผลิต ด้วยเหตุผลนี้ เมื่อประเมินเด็กๆ ควรฟังระดับคำศัพท์ที่เด็กๆได้ผลิตและเข้าใจด้วย พวกเด็กๆได้ใช้คำศัพท์ที่เคยสอนไปแล้วหรือไม่? พวกเขาใช้คำศัพท์ที่เหมาะกับบริบทหรือไม่? จงฟังระดับคำศัพท์ที่เด็กๆได้ใช้แบบไม่เตรียมตัวมาก่อน และตัดสินว่าพวกเขาใช้คำศัพท์นั้นได้ดีขนาดไหน?

แปลและเรียบเรียงจาก

Susan Verner. How to Evaluate Speaking



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ต้นโมกข์
เขียนเมื่อ

เสียงของเด็กดำรงอยู่ที่ตรบนั้น

เด็กไม่ใช่พูดตามเรา

แต่เป็นเสียงที่เราต้องให้เกียรติ

การที่เราจะให้ความนับถือ

มีแต่ต้อง “ฟัง” เท่านั้น!



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ต้นโมกข์
เขียนเมื่อ

การประเมินการพูด ตอนที่ 2

วิธีการประเมินทักษะการพูด

  1. จงสร้างรูบริก (rubric)

ครูส่วนใหญ่คงคุ้นเคยกับการให้ผลการเรียนโดยการสร้างรูบริก รูบริกคือตารางที่มีเกณฑ์ย่อยๆ และระดับการให้ผลการเรียน หากเธอไม่เคยใช้รูบริกมาก่อน จริงๆแล้วก็เป็ฯสิ่งที่ง่ายๆ เพียงแค่เลือกเกณฑ์ที่เธอจะใช้วัดนักเรียน และสร้างเกณฑ์ที่อยู่ทางซ้ายมือไปตามลำดับ ต่อมาก็สร้างคอลัมน์ที่อยู่ในทางขวาง เธอควรให้มีแค่ระดับ 4 เพราะเป็นสิ่งที่ง่ายสำหรับคุณหากเป็นคนมือใหม่ คอลัมน์จะแสดงถึงความสามารถของนักเรียน (potential skill) สำหรับเกณฑ์ จงคิดถึงระดับที่นักเรียนสามารถทำได้ตั้งแต่ 1-4 เช่นเริ่มจาก มีทักษะในการพูดสูง, มีทักษะในการพูด, เพียงแค่พอพูดได้, และไม่มีทักษะการพูดเลย ยิ่งคุณสร้างรูบริกได้ละเอียดเท่าใด ก็ยิ่งทำให้การพรรณนาละเอียดขึ้นเท่านั้น ต่อมา เมื่อเธอประเมินนักเรียนแต่ละคน ต้องตัดสินใจว่าระดับที่นักเรียนมีอยู่คืออะไร จงสร้างค่าเฉลี่ยกลางสำหรับเกณฑ์แต่ละอัน และเธอสามารถมีเกรดที่เป็นปรนัยพร้อมกับคำแนะนำให้นักเรียนได้พัฒนา

แปลและเรียบเรียงจาก

Susan Verner. How to Evaluate Speaking



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ต้นโมกข์
เขียนเมื่อ

ใน 50 ปี

โลกเปลี่ยนแปลงไป

โดยเฉพาะกับเด็กๆ

แต่ความต้องการของเด็กๆ

ไม่เคยเปลี่ยน

พวกเขายังคงอยากได้ความปลอดภัย

ใกล้ชิดกับครอบครัว

รักคุณครู

และมีเพื่อนๆร่วมเล่น



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ต้นโมกข์
เขียนเมื่อ

การประเมินการพูด ตอนที่ 1

เธออยู่ในห้องที่มีขนาดเล็ก ที่โรงเรียนในชุมชน หรือมหาวิทยาลัย ตอนนี้มันใกล้จะสิ้นสุดภาคการศึกษาแล้ว และชั้นเรียนการพูดของเธอมีความสนุกตลอดปี พวกเด็กๆ ได้เรียนรู้เรื่องคำศัพท์, ฝึกกิจกรรมตามบทบาท, เรียนรู้เรื่องยุทธวิธีการโต้ตอบกันโดยทั่วไป และฝึกปฏิบัติการพูดเรียบร้อยแล้ว ปัญหาที่ใหญ่ก็คือจะประเมินผลความก้าวหน้าของเด็กๆ ได้อย่างไร? เธออาจพูดหรืออาจไม่พูดก็ได้ มันจะดีหรือไม่ดีก็ได้ ข่าวที่ดีก็คือ: เธอสามารถให้เกรดที่เป็นปรนัยได้ในชั้นเรียนเรื่องการพูด จงใช้เกณฑ์ข้างล่าง เมื่อเธอประเมินทักษะการพูดของเด็กๆ และเธอสามารถให้ผลสะท้อนกลับ (feedback) แก่พวกเขา เพื่อการเรียนรู้ดทางภาษา และให้ผลการเรียนที่เหมาะสมและยุติธรรม

แปลและเรียบเรียงจาก

Susan Verner. How to Evaluate Speaking



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ต้นโมกข์
เขียนเมื่อ

เมื่อสาวๆ

ตกหลุมรัก

ไม่มีใครรู้หรอก

ยกเว้นสาวเจ้าเท่านั้น

เมื่อหนุ่มๆ

ใฝ่ใจใคร่ครวญ

ทุกๆคนรู้

มีแต่สาวเจ้า

ที่ไม่รู้!



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ต้นโมกข์
เขียนเมื่อ

การซื้อสุนัขแพงๆ

แต่ไม่ยี่หระต่อหมาข้างถนน

ไม่ทำให้คุณ

กลายเป็น “คนรักหมา” หรอกนะ!



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ต้นโมกข์
เขียนเมื่อ

แรงจูงใจเป็นจุดเริ่มต้น

แต่นิสัยต่างหากที่ทำให้ก้าวเดินต่อไป!



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ต้นโมกข์
เขียนเมื่อ

ความรัก

ไม่ใช่การครอบครอง

แต่คือ

ความซึ่งใจต่างหาก!



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ต้นโมกข์
เขียนเมื่อ

ชีวิตคือความสมดุล

ระหว่าง

การยึดถือ

และ

การปล่อยวาง!



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ต้นโมกข์
เขียนเมื่อ

วิทยาศาสตร์ไม่ใช่ความจริง

วิทยาศาสตร์คือการค้นหาความจริง

เมื่อวิทยาศาสตร์เปลี่ยนความคิด

มันก็ไม่ได้โกหกคุณ

วิทยาศาสตร์เรียนรู้ให้มากขึ้นต่างหาก!



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ต้นโมกข์
เขียนเมื่อ

คุณเก็บเงินเพื่อไปเที่ยว

แต่เงินของคุณไม่รู้เดินทางไปไหน

ตั้งแต่ได้รับเงินเดือน!



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ต้นโมกข์
เขียนเมื่อ

เมียคือเมีย

ไม่ว่าคุณทำตัวนรกๆปานใดก็ตาม!



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ต้นโมกข์
เขียนเมื่อ

การดำรงอยู่คือการเปลี่ยนแปลง

การเปลี่ยนแปลงคือความมีวุฒิภาวะ

การมีวุฒิภาวะคือการสร้างตนเองได้ไม่มีที่สิ้นสุด!



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ต้นโมกข์
เขียนเมื่อ

เมื่อแฟนกำลังจูบกับไอ้หมอนั่น

แต่คุณไม่สามารถพูดอะไรได้

เพราะว่า

นั่นคือสามีของหล่อน!



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ต้นโมกข์
เขียนเมื่อ

การมองโลกในทางบวก

มิได้หมายความว่า

เราจักเป็นสุขทุกเมื่อเชื่อวัน

แต่มันหมายถึง

เวลาที่ทุกข์ทนที่สุด

ก็เห็นว่ามีวันที่สดใสรออยู่ข้างหน้าต่างหาก!



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ต้นโมกข์
เขียนเมื่อ

คนบางคน

เข้าในชีวิต

เพื่อทีจะสอนเราให้รู้ว่า

จะปล่อยวางทุกสิ่งทุกอย่างได้ไร?



ความเห็น (1)

การเข้าใจชีวิต…เป็นครูสอนให้เราอยู่บนโลกใบนี้แบบสบายใจค่ะอาจารย์ต้น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท