อนุทินล่าสุด


ภูฟ้า
เขียนเมื่อ

ช่วงเริ่มต้นของการฝึกตนนั้น
จะเพียรนำพาใจ จากสถานะที่วุ่นวาย (A) ไปสู่สถานะที่เป็นสมาธิ (B)
จะสังเกตุเห็นว่า ตอนที่เรามีความเพียรนั้นใจจะเคลื่อนจากความวุ่นวายไปสู่ความสงบ

เมื่อสงบแล้วเราจะค่อย ๆ เผลอ จากสมาธิ กลับ ไปวุ่นวายใหม่

สลับจาก A ไป B
จาก B กลับไป A

.

.

จนวันหนึ่งเราจะเข้าสู่ประสบการณ์จิตว่างจากความคิด 

ผมมารู้ตอนหลังว่า สิ่งนั้น เรียกว่า ฌาน 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ภูฟ้า
เขียนเมื่อ

ตลอดสัปดาห์นี้ 

ได้เพียรพิจารณาและปฏิบัติตามธรรมเทศนาของพ่อแม่ครูอาจารย์หลวงปู่มั่น ภูริฑัตโต

เรื่อง "ขันธะวิมุตติ"  โดยการพิจารณาวาง "ขันธ์ ๕"

ทั้ง ๆ ที่เพียรพิจารณามาหลายรอบ หลายปีแล้ว 

และในครั้งนี้ ผลพบว่า ก้าวสู่ธรรมได้มากกว่าเดิม ประมาณนี้ หนอ

  • การปฏิบัติธรรม เป็นการเรียนให้รู้ความจริงของตนเอง หรือความจริงของกายและใจ หนอ
  • ขั้นต้นเราจะเริ่มเห็นลาง ๆ ว่า ขันธ์ ๕ ได้รวมกัน เป็นตัวเรา นั่นเอง 
  • ถ้าเราพิจารณาเห็นออกได้ว่า ขันธ์ นั้นวางอยู่เป็นกอง ๆ ต่างทำหน้าที่แห่งตน 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ภูฟ้า
เขียนเมื่อ

ตั้งแต่เช้ามา จึงเพียรพยายามพิจารณาเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ 
แต่พอสาย ๆ เรื่องทางโลกก็แวะเข้ามาเยี่ยมหนักขึ้นเรื่อย ๆ  ทีละหมัด สองหมัด

จนต้องนอนราบคาบ พักยกตอนเที่ยงไป 5-10 นาที

แต่ก็ดีครับ ทำให้เห็นความไม่เสถียรของมนุษย์ 

แม้จะยึดเกาะไว้มั่นสักเพียงใด ก็โดนคลื่นแห่งเหตุในชีวิตซัดเอาอยู่ฉันนั้น

หลังจากตกไปแล้ว ได้พักยกแล้ว จึงตั้งขึ้นมาใหม่ได้โดยไวเพราะมีเครื่องมือดี 

ทำให้บุกทางธรรม ทางโลก ได้อีกหลายยก 

ผ่านไปเกือบ 3 ชั่วโมง บุกทางโลกหนักเกินไป ทำให้ต้องเคลียร์ใจให้ตั้งใหม่อีกแล้ว หนอ 

สู้  ๆ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ภูฟ้า
เขียนเมื่อ

ช่วงนี้กำลังพิจารณาพระสูตรที่ว่าด้วย เรื่อง "อาหาร 4 อย่าง"
ซึ่งกัลยาณมิตรและครูบาอาจารย์ท่านชี้แนะมาให้ศึกษาตั้งแต่ช่วงสงกรานต์ครับ

ดูกำลังสติ สมาธิ แห่งตนแล้ว
คงทำได้สะดวกนิด ๆ หน่อย ๆ แค่ อาหารอย่างที่ 1 กับ 2 หนอ

ส่วนอาหารอย่างที่ 3 กับ 4 นั้น ยังเข้าถึงได้เพียงตัวหนังสือ
ส่วนหนทางในการฝึกปฏิบัติตนนั้น ยังคลุมเครืออยู่มากอักโข หนอ

แต่เมื่อคืนนี้เห็นแว็บ ๆ แล้วครับ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ภูฟ้า
เขียนเมื่อ

 

จากประสบการณ์กีฬากอล์ฟ

ทุกครั้งที่ปรับเปลี่ยนวงสวิงใหม่ เราจะตีได้แย่ลงก่อน

ต่อจากนั้นก็จะตีขึ้นกว่าเดิม หนอ

 

 

เมื่อวานได้หนังสือธรรมเล่มใหม่มาศึกษา

เป็นหนังสือที่ดีมาก ๆ จึงตัดสินใจเปลี่ยนวงสวิงธรรมดูบ้าง หนอ

กอปรกับวันนี้ มีงานทางโลกรุมเร้าเข้ามาพร้อมกันมากกว่าปกติ

ทำให้เจอดีเลยครับ จิตใจวุ่นวายที่สุดแห่งปีเลย หนอ 555



ความเห็น (1)

เป็นปริศนาธรรมที่เยี่ยมครับ

ภูฟ้า
เขียนเมื่อ

นวัตกรรมเทคโนโลยี Vs การปฏิบัติธรรม

 

สัปดาห์ที่ผ่านมา เกิดความคิดแย้งกันประมาณว่า

1. เทคโนโลยี เป็นนวัตกรรมสำคัญในการพัฒนาโลก ช่วยให้มนุษย์ "เร็ว" ขึ้น

2. ความช้า เป็นประโยชน์ทำให้มนุษย์เห็นธรรมได้ หนอ



ความเห็น (1)
ภูฟ้า
เขียนเมื่อ

ถอดบทเรียนธรรม (5 ก.พ. 57)

 

ตื่นนอนขึ้นมาให้รีบ "เคลียร์ใจ" ด้วยการพิจารณาธรรมบทที่ว่า

"จิตเดิมแท้ เป็นพุทธะอยู่แล้ว"

แต่ถูกเมฆหมอกแห่งความคิดปรุงแต่งปิดบังเอาไว้

 

 

ขยายความ

ธรรมชาติของใจนั้น เป็นเครื่องรับรู้อารมณ์

ด้วยความไม่รู้ (อวิชชา) เมื่อรับอารมณ์มาแล้วก็ปรุงแต่งไปตามอารมณ์อันเป็นเหตุปัจจัยนั้น

จึงต้องมีการ "เคลียร์ใจ" บ่อย ๆ เสมอ เมื่อจิตใจฟุ้งหรือวุ่นวายจากอารมณ์



ความเห็น (1)
ภูฟ้า
เขียนเมื่อ

จิตเดิมแท้ (One Mind) เป็นพุทธะอยู่แล้ว
แต่ถูกเมฆหมอกแห่งความคิดปรุงแต่งปิดบังเอาไว้ หนอ

 



หมั่นฝึกสติชำเลืองดูจิตตนเองว่า มีธรรมชาติเป็นเช่นใด

คิดปรุงแต่งอยู่หรือไม่ ?

1. หยุดความคิดปรุงแต่ง
2. หยุดการแสวงหา
3. ปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่น

 

 

 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ภูฟ้า
เขียนเมื่อ

อือ.. ความเบาสบายของกายและใจไม่ใช่เป้าหมายของการปฏิบัติ เป็นแค่ที่พักระหว่างทางปฏิบัิติ ทั้งนี้เพราะยังอยู่ในขอบเขตของ นาม/รูป อยู่หนอ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ภูฟ้า
เขียนเมื่อ

สังขาร (ความคิดปรุงแต่ง) เป็นอาหารของจิต เป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ วิ่งวนอยู่ในสังสารวัฏ การตัดสังขาร จึงเป็นการตัดอาหารของจิต ไม่ก่อให้เกิดสังขารใหม่ จิตจะไปดึงสังขารเก่าที่เปรียบดังตะกอนนอนก้นขึ้นมา เราจะสังเกตุเห็นที่เวทนา เมื่อเราอุเบกขากับเวทนา สังขารนั้นก็จะค่อย ๆ หลุดออกไป ๆ 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ภูฟ้า
เขียนเมื่อ

3 โลก คือ อย่างไร ?

      โลกที่ 1 คือ มนุษย์โลก(ดาวราหู) อยู่กึ่งกลางระหว่างสวรรค์โลกกับนรกโลก มีทั้งสุคติและทุคติปะปนระคนกันอยู่.....
      โลกที่ 2 คือ นรกโลก โลกแห่งสัตว์นรก ที่เกิดชดใช้กรรมในโลกวิญญาณ มีแต่ทุคติเพียงอย่างเดียว.......
      โลกที่ 3 คือ สวรรค์โลกและพรหมโลก มีแต่สุคติอย่างเดียวเหมือนกัน........
สัตว์ทั้งหลาย จักเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในระหว่างสามโลกนี้ เป็นวัฏฏะสงสารที่ยาวนานที่สุดจนนับชาติภพไม่ได้ ไม่มีรู้จบ จนกว่าจิตดวงนั้นจะพัฒนาไปสู่แดนพระนิพพาน จึงเป็นอันยุติ สิ้นชาติสิ้นภพ หลุดพ้นจากวงจรวังวนแห่งนี้ไปได้.......


โลกทั้งสาม คือ ที่เวียนว่ายตายเกิด เพื่อรับกรรม ใช้กรรมของสัตว์โลกรวมทั้งหมด 31 ภพภูมิ คือ

1.กาม โลก- คือโลกของสัตว์ ผู้ยังชุ่มแช่อยู่ในกาม คือ ยังมีกิเลส ตัณหา อุปาทาน อยู่ในรูป รส กลิ่น เสียง.......กามโลกแบ่งออกเป็น 2 พวก คือ โลกทุคติ มี 4 ภพภูมิ มี เปรต1 นรก 1 อสุรกาย 1 สัตว์เดรัจฉานอีก 1 .....ส่วนอีกพวก เรียก สุคติ มี 7 ภพภูมิ ได้แก่ สวรรค์ ซึ่งเป็นที่อยู่ของเทวดาและนางฟ้า 6 ภพภูมิ และมนุษย์อีก 1 ภพภูมิ

2.รูปโลก-เป็นโลกของผู้ปฏิบัติธรรม สายสมถกรรมฐาน ได้ความรู้ขั้นรูปฌาน5 มี 16 ภพภูมิ

3.อรูปโลก-เป็นโลกของผู้ปฏิบัติธรรมสมถกรรมฐาน ได้ถึงอรูปฌาน 4 มีอีก 4 ภพภูมิ

          สัตว์โลกทั้ง31 ภพภูมิ ยังเป็นผู้ประกอบทั้งกรรมดีและกรรมชั่ว จึงมีชนกกรรม ทำให้ต้องเวียนว่ายตายเกิดตามกรรมของตน มีปฏิสนธิวิญญาณซึ่งเหมาะสม ที่จัไปเกิดตามที่ต่างๆ ทั้งดีและชั่ว สิ่งที่จะช่วยสัตว์โลกเหล่านี้ได้ คือ พระรัตนตรัยและการปฏิบัติธรรม จนได้บรรลุธรรม........

"ติโลกะนาถัง ระตะนัตตะยัง อภิปูชยามิ" แปลว่า ข้าพเจ้า ขอบูชาพระรัตนตรัย ซึ่งเป็นที่พึ่งขอโลกทั้งสาม......



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ภูฟ้า
เขียนเมื่อ

"เราไม่รู้" :

        บนเส้นทางแห่งการฝึกตนนั้น ถึงขั้นหนึ่งเมื่อจิตเป็นสมาธิแล้ว เราจะมีปัญญา "เห็นชัด" เรื่องธรรมดาความเป็นไป ทางโลก ประมาณว่า จะเป็นเรื่องไม่เป็นเรื่อง(ทางธรรม)ก็ไม่ใช่ เพราะมันก็เป็นเรื่องทางโลก หนอ เราจึงตอบออกไปว่า "เราไม่รู้"

        คำว่า "เราไม่รู้" หมายถึงว่า เรื่องนั้น ๆ มีข้อมูลบางอย่างที่เราไม่รู้ จึงให้ความเห็นไม่ได้ เพราะให้ความเห็นไปอาจผิดก็ได้ เราจึงไม่คิดต่อ เพราะถ้าคิดต่อส่งจิตออกนอกไปเพราะความไม่รู้ก็จะสร้าง "อวิชชา" แห่งความไม่รู้อื่น ๆ ออกดอกออกผลเพิ่มมากขึ้น นั่นเอง  

 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ภูฟ้า
เขียนเมื่อ

ใจ(เปรียบดั่งน้ำ) ทำหน้าที่เป็นเครื่องรับ อารมณ์ (เปรียบดั่งสี) ถ้าเป็นอารมณ์ที่ชอบ (สีที่ชอบ) ก็ชอบใจ ถ้าเป็นอารมณ์ที่ชัง (สีชัง) ก็ไม่พอใจ เป็น "ธรรมดา" เช่นนั้นเอง

หวนให้นึกถึงคำสอนหลวงปู่ดูลย์ อตุโล ท่านฝากไว้ว่า "โกรธนั้นมี แต่เราไม่เอา"



ความเห็น (1)

@อ.ศิริวรรณ เรื่อง อาหารใจ

        ร่างกายเป็นธาตุ ๔ อาหารก็เป็นธาตุ ๔ อากาศ พื้นดิน สายนำ้ แสงแดด ภูเขา พืชพรรณธัญญาหาร สุตว์ทุกชนิด ตลอดจนที่อยู่อาศัน เครื่องนุ่งห่ม ทุกอย่างคือธาตุ ๔ เมือ่ร่างกายเป็นธาตุ ๔ จึงต้องอาศัยธาตุ ๔ ในการดำรงชีวิต จิตใจไม่ใช่ธาตุ ๔ แต่มาอาศัยอยู่กับร่างกายซึ่งเป็นธาตุ ๔ และมาหลงธาตู ๔ นอกจากจะหลงว่าร่างกายเป็นตัวตนเป็นของตนแล้ว ยังไปหลงกายหรือรูปของผู้อื่นด้วย นอกจากนั้นยังไปหลงในทรัพย์สมบัติผุู้อื่น ทั้งฝ่ายที่คิดว่าเป็นสุขและสิ่งที่เป็นทุกข์ ทำให้จิตเกิดการยึดติด วันใดที่จิตเลิกหลงไหลในสิ่งเหล่านี้จิตจะหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด เอาอะไรไปด้วยไม่ได้สักอย่าง ไม่มีใครหรือสิ่งใดเข้ามาทำร้ายจิตใจเราได้ นอกจากใจที่เห็นผิดของเราทำร้ายเราเอง

ภูฟ้า
เขียนเมื่อ

เชื่อม(งาน)ทางโลกสู่(งาน)ทางธรรม..

เป้าหมายสูงสุดของ(งานภายนอก)เกษตรกรรม ไม่ใช่การเพาะปลูกพืชผล แต่คือการบ่มเพาะความสมบูรณ์แห่งความเป็นมนุษย์(งานภายใน)



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ภูฟ้า
เขียนเมื่อ

ไม่ว่าอารมณ์ใด ๆ ต่างก็ติดใจ ตรึงใจ ลากใจไปสู่กงล้อแห่งวัฏสงสาร


อารมณ์ "ชอบ" วางยากกว่า "ชัง" ทำไมต้องวางอารมณ์? อารมณ์ "ชัง" เห็นตรงกันว่าต้องวาง แล้ว "ชอบ" ต้องวางด้วยหรือ ?

อือ.. ทั้ง ชอบ และ ชัง ต่างก็ "ติดใจ" เรา เมื่อ "ชัง" เข้าสู่้ใจทำให้ "ทุกข์ใจ" หนอ

ใจปกติจะสามารถ "ยอมรับ" ความเป็นจริงได้ทั้ง "ชอบ" และ "ชัง" !

ยอมรับ -> เห็นชอบ -> สัมมาทิฏฐิ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ภูฟ้า
เขียนเมื่อ

จิตที่เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา คือจิตที่ผสมอยู่ด้วยอารมณ์ต่างๆความคิดนึกต่างๆ และถูกครอบงำด้วยอวิชชาคือความไม่รู้จักจิตตัวเอง เหมือนน้ำที่ผสมด้วยสีต่างๆ เหมือนระลอกคลื่นของน้ำ ทั้งสีและคลื่นไม่ใช่น้ำ เมื่อใดที่สีและคลื่นที่ปรากฎกับน้ำหายไปจึงจะพบน้ำที่บริสุทธิ์อยู่ที่นั้นเอง จิตแท้ๆก็เป็นเช่นนั้น อาการทั้งเกิดจากเหตุปัจจัยปรุงแต่งกันขึ้นมาจึงเกิดเป็นอาการต่างๆขึ้น ต่อเมื่อหมดเหตุมันก็ไม่มีอะไรให้หมายถึงได้ ปรากฎแต่ธาตุดังเดิมคือน้ำล้วน จิตล้วน เราต้องใช้ปัญญาพิจารณาแยกอาการหวั่นไหวต่างๆให้ออกไปจากความหลงผิดว่าเป็นตัวเราทั้งหมดก็จะปรากฎธาตุจิตแท้ๆขึ้นมาซึ่งเป็นธรรมชาติธาตุรู้ที่ไม่มีใครเป็นเจ้าของ แม้จะเกิดอาการใดๆขึ้นมาอีกก็จะเป็นเพียงสักว่าล้วนๆเท่านั้นไม่เป็นกิเลสอีกต่อไปเพราะรู้ว่าอะไรเป็นอะไรแล้วจึงไม่ไปยึดถือทุกข์เอามาเป็นตัวตนของเราอีกปล่อยคืนสลัดคืนธรรมชาตินั้นๆไว้ตามจริง.แต่งกันขึ้นมาจึงเกิดเป็นอาการต่างๆขึ้น ต่อเมื่อหมดเหตุมันก็ไม่มีอะไรให้หมายถึงได้



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ภูฟ้า
เขียนเมื่อ

ความเป็นเช่นนั้นเอง

อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา กายและใจเป็นก้อนทุกข์ 100% สุข ทุกข์ เป็นไปตามเหตุปัจจัย หนอ

ในทางปฏิบัติ รู้ชัด รู้ด้วยสติ รู้ด้วยปัญญา



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ภูฟ้า
เขียนเมื่อ

สมุทัย คือ ความอยากให้กายและใจพ้นทุกข์เช่นนั้นหรือ
กาย คือ ก้อนทุกข์ 100%
ใจ ก็เช่นกันหนอ

เพราะไม่เห็น "ความเป็นเช่นนั้น" จึงเผลอเห็นกายและใจว่าเป็น "เรา" เมื่อเห็นว่าเป็นเราก็เกิดความยึดมั่นถือมั่น "อยาก" ให้ก้อนทุกข์พ้นทุกข์ อยากให้ถ่านไฟแดง ๆ ไม่ร้อนหนอ

 

กายกับใจ ก็เหมือนถ่ายไฟที่กำลังรุกไหม้ หลงไปยึุดมั่นถือมั่น ก็ต้องร้อนรนเป็นธรรมดา แต่ถึงแม้ถ่านไฟแดงจะร้อน ถ้าไม่ไปยึดไว้ถือไว้ ก็ไม่ร้อนมือ ทั้ง ๆ ที่ถ่านนั้นยังร้อนอยู่หนอ

 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ภูฟ้า
เขียนเมื่อ

เป็นเช่นนั้นเอง แค่รู้ ไม่เข้าไปเป็น อะไร กับใครทั้งนั้น



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ภูฟ้า
เขียนเมื่อ

เพียรฝึกไปเรื่อย ๆ เราจะสัมผัสได้ถึง "จิตว่าง"
เมื่อสัมผัสได้ถึงจิตว่างแล้ว ก็เพียรเป็น วสี แ่ห่ง จิตว่าง

เมื่อเดินบนมรรคาแห่งจิตว่างนานและต่อเนื่องพอ จะสังเกตุเห็นความแตกต่างของ จิตว่าง กับ จิตขุ่นได้ชัดยิ่งขึ้น

 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ภูฟ้า
เขียนเมื่อ

จิต "ขุ่น" กับ จิต "ว่าง"

อุปมา จิต ดั่ง น้ำ

ถ้าน้ำขุ่นก็ยากที่จะเห็นตัวปลา

ถ้าจิตขุ่นก็ยากที่จะรู้ธรรมหนอ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ภูฟ้า
เขียนเมื่อ

(สั่น) สะเืทือน (ใจ)

 

จากความสนุกสนานการท่องเที่ยวทางโลก
แล้วแปรเปลี่ยนเป็นความโศกเศร้าอย่างกระทันหัน เมื่อได้ทราบว่า พ่อครูอันเป็นที่รักและเคารพได้เสียชีวิตลง

ถึงแม้จะภาวนามาดีอย่างต่อเนื่องก็ตาม ก็เริ่มสังเกตุเห็นอาการสั่นสะเืทือนไหวของจิตใจพอสมควร ดูแล้ววาง ดูแล้่ววาง

วันต่อมาระหว่างที่จิตใจเริ่มสะเทือนไหวสั่นคอนนั้น บังเอิญมองไปเห็นเด็กกำลังจะพลัดตกจากเครื่องเล่น ด้วยสัญชาตญาณแห่งความเป็นพ่อ ทำให้จิตตกอย่างอัตโนมัติทันที

ตั้งแต่นาทีนั้นเป็นต้นมาจิตใจก็เริ่มสะเทือนไหว กระเพื่อมอย่างต่อเนื่อง ภูมิธรรมที่ีมีเริ่มเอาไม่อยู่ แถมเหตุในชีวิตก็เร่งรีบ ร้อนรน มากขึน ๆ หนอ

สะเทือนธรรม สะเืืทือนใจครั้งนี้ไม่ธรรมดาหนอ

 








ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ภูฟ้า
เขียนเมื่อ

อนิจฺจา วต สงฺขารา

ระหว่างที่ท่องเที่ยวอย่างสนุกสนานที่ต่างประเทศนั้น ก็ได้ทราบข่าวว่า พ่อครูผู้มีพระคุณอันเป็นที่รักและเคารพนั้นได้เสียชีวิตลงอย่างกระทันหันที่เมืองไทย ถึงแม้จะภาวนาธรรมมาหลายปี แต่ก็สั่นสะเทือนภายในจิตใจไม่น้อยหนอ

สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ
มีความเกิดขึ้น และเสื่อมไปเป็นธรรมดา
เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป
ความที่สังขารเหล่านั้นสงบระงับเป็นสุข.



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ภูฟ้า
เขียนเมื่อ

เกิด แก่ เจ็บ ตาย

เมื่อวานนี้ทราบข่าวท่านอาจารย์ที่เคยสอนท่านได้เสียชีวิตแล้ว ขออุทิศบุญกุศลที่ข้าพเจ้าได้ทำมาแด่ท่านและขอน้อมส่งดวงวิญญาณท่านสู่สุขคติภูมิด้วยเทอญ

วันที่ 11 มิ.ย. นี้เป็นวันคล้ายวันเกิดลูกชาย และเป็นวันพระราชทานเพลิงศพของครูผู้เปรียบเสมือนพ่อด้วย

เกิด แก่ เจ็บ ตาย หนอ

 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ภูฟ้า
เขียนเมื่อ

ธรรมมรรค (6/6/55)

  • ตถตา หรือ จิตเดิมแท้ เป็นพุทธะอยู่แล้ว แต่ถูกเมฆหมอกแห่งความคิดปรุงแต่งเข้ามาบดบังเอาไว้
  • หยุดความคิดปรุงแต่ง หยุดการแสวงหา ปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่่นหนอ
  • ตามดู ตามรู้ ไม่เข้าไปเป็นอะไรกับอะไร
  • ตามดู ตามรู้ ความเป็นจริงของกายและใจว่าเป็นทุกข์ ไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตน สัตว์ บุคคล เรา เขา หนอ
  • ตามดู ตามรู้ แล้วอุเบกขาหนอ

 



ความเห็น (1)

ว่าง คือ ว่างจากความคิด ไม่ใช่คิดว่า ว่าง หนอ สิ่งที่เราจะต้องทำนั้นมีเพียงการชำระจิตให้ใสกระจ่าง ดู รู้ แล้ว อุเบกขา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท