อนุทินล่าสุด


ภูฟ้า
เขียนเมื่อ

ปรับวงสวิงธรรมอีกครั้งแห่งปี

แลดูเหมือนว่า ปีนี้ปรับวงสวิงธรรมบ่อยกว่าทุกปี ซึ่งดีมาก ๆ
โดยเฉพาะการปรับครั้งล่าสุดนี้น่าจะมีเหตุมาจากการเข้าไปสุนทรียเสวนาธรรมใน Clubhouse หนอ

เพียรฝึกมีสติอยู่กับปัจจุบัน ให้เกิดสัมปะชัญญะ “รู้” เนื้อรู้ตัวทั่วพร้อม ไม่ใช้การคิด คิดก็รู้ว่าคิด ไม่คิดก็รู้ว่าไม่คิด

https://youtu.be/bCuhuePlP8o

รู้สือ ๆ เพื่อให้เห็นธรรมชาติของจิตว่า เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ภูฟ้า
เขียนเมื่อ

ว่างจากการคิด Vs ว่างจากตัวตน

ที่ฝึกมาตลอดหลายปี คือ ฝึกออกจากการคิดวันนี้กำลังเริ่มฝึกว่างจากตัวตนดู หนอ


ว่างจากการคิด คือ เริ่มเพียรพยายามใช้การรู้มากกว่าการคิด แต่ก็ยังพบว่า ยังมีตัวตนผู้รู้

ส่วนการว่างจากตัวตน คือ ทำแบบเดิมนั้นหล่ะ แต่ที่เพิ่มเติมคือ ไม่ให้ค่ากับผู้รู้และสิ่งที่ถูกรู้ หนอ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ภูฟ้า
เขียนเมื่อ

อัตตา / อนัตตา

วันนี้เป็นวันดีอีกวันหนึ่ง ที่ได้เสวนาธรรมกับกัลยาณมิตรใน Clubhouseทำให้พบผู้รู้ ท่านช่วยชี้ทางธรรมได้น่าสนใจมาก ๆ สาธุ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ภูฟ้า
เขียนเมื่อ

เปลี่ยนวงสวิงจากความว่าง -> อนัตตา

วันก่อนได้ฟังธรรมจากผู้รู้ธรรมใน Clubhouseรู้สึกว่า อาจต้องปรับวงสวิงทางธรรม แต่ทว่า ยังย่อยไม่ได้ จึงตั้งใจว่า จะลองย่อยและพยายามอรรถาธิบายในอนุทินนี้ หนอ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ภูฟ้า
เขียนเมื่อ

https://youtu.be/LMUtrQqBY9U

  • จิตหนึ่ง / จิตเดิมแท้ / One Mind
    เป็นเหมือน “ความว่าง” ซึ่งสมบูรณ์อยู่แล้ว

  • หยุดความคิดปรุงแต่ง
  • หมดความกระวนกระวายเพราะการ “การแสวงหา”
  • ปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่น


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ภูฟ้า
เขียนเมื่อ

จิตหนึ่ง/จิตเดิมแท้ เป็นพุทธะอยู่แล้วจิตเดิมแท้ เป็น ความว่างความว่าง ว่างจากการคิดปรุงแต่งการไม่ใช้การคิด

หยุดความคิดปรุงแต่ง หยุดการแสวงหา (การเกิด)ปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่น (หยุดการถูกทำลาย)

https://youtu.be/wiur95BdP_M



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ภูฟ้า
เขียนเมื่อ

ผู้ฝึกใหม่ยังไม่ชำนาญเป็นวสี

เวลาผ่านไปจะเผลอลืมไป

ให้รีบกลับมาฟังอย่างตั้งใจที่สุด

https://youtu.be/wiur95BdP_M

จิตจึงจะเข้าสู่โหมดปกติ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ภูฟ้า
เขียนเมื่อ
  • สมมติ Vs วิมุตติ
  • ความว่าง Vs ตัวตน
  • ความว่าง Vs ความคิดปรุงแต่ง
  • การคิด Vs การรู้
  • การไม่ใช้การคิด

จากขณะจิตหนึ่งถึงขณะจิตหนึ่ง ก็ไม่มีการก่อรูปของความคิดปรุงแต่ง (อจิต)จากขณะจิตหนึ่งถึงจณะจิดหนึ่ง ก็ไม่มีการกระทำกรรม (อกรรม)

จงเรียนแต่เพียงว่า ทำอย่างไรจึงจะเว้นขาดจากการแสวงหา (ไม่เกิด) หรือ การผูกพันธ์ตนเองต่อสิ่งทุกสิ่ง (ไม่ยึดมั่นถือมั่น ไม่ถูกทำลาย)

การสละสิ่งทุกสิ่งซึ่งเป็น “มายา”เว้นขาดต่อการยึดมั่นถือมั่นต่อสิ่งทุกสิ่ง เว้นแต่ .. จิต เพียงสิ่งเดียว

ธรรมกาย คือ ความว่าง ความว่าง คือ ธรรมกาย

  • ความว่าง เป็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ตั้งอยู่ ก็ไม่ใช่ความว่าง
  • เว้นจากความคิดของการมีตัวมีตนอันเกิดจากธรรมกาย นั่นคือ ความว่าง

  • เพิกถอนรูปบัญญัติ นั่นล่ะคือ พุทธะ
  • สิ่งแวดล้อมรอบตัว / มองดูไปยังจิต (ธรรมที่แท้จริง คือ ไม่ใส่ใจมันเลยทั้งสองอย่าง)

ความว่าง นั่นคือ เมืองแห่งธรรมอันแท้จริง



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ภูฟ้า
เขียนเมื่อ

วันนี้วันพระ จึงขอแชร์ประสบการณ์ทำในช่วงนี้ไว้ เผื่อจะเป็นประโยชน์ต่อท่านที่สนใจบ้างไม่มากก็น้อย สาธุ

เมื่อเช้านี้ พยายามค้นคว้าพิจารณาธรรม "อริยสัจ ๔" อีกครั้งหนึ่ง พบว่า มีความเข้าใจคำว่า "ทุกข์" เพิ่มขึ้น กล่าวคือ 

แต่เดิม เข้าใจเพียงว่า ทุกข์ เป็น เวทนา หรือ ความรู้สึกในทางโลกแต่พระท่านว่า ทุกข์ มีความหมายมากกว่านั้น คือ รวมถึงการไม่เที่ยงเปลี่ยนไปตามเหตุปัจจัย ไม่สามารถทนคงสภาพอยู่ได้ ท่านก็เรียกว่า “ทุกข์”



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ภูฟ้า
เขียนเมื่อ

สมมุติบัญญัติ

https://youtu.be/4Olhplb6ySs

เมื่อวานนี้เดินทางธรรมอย่างเต็มกำลัง เพราะว่า ย่อเพื่อกระโดด เสียรังวัดให้กิเลสไปหลายโยชน์มากกว่าปกติ เมื่อตั้งหลักได้แล้ว จึงรุกทางธรรมอย่างหนัก เห็นธรรมชัดขึ้นหลายประการ เช่น เมื่อวานนี้ตั้งใจเข้าให้ใกล้ “วิมุตติ” ให้ได้ แต่กลับเข้าไม่เห็น วันนี้จึงต้องกลับมาเริ่มต้นแต่แรกจาก สมมุติ ก่อน หนอ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ภูฟ้า
เขียนเมื่อ

เปิดตำราธรรม .. ไม่ทัน

สัปดาห์นี้มีความก้าวหน้าทางธรรมอีกก้าวเล็ก ๆ

ช่วงโคขวิดไม่ค่อยมีกิจกรรมออกไปแสวงบุญมากนัก การปฏิบัติจึงแลดูเหมือนประคองตัวกินบุญเก่าไม่ก้าวหน้านัก

แต่สัปดาห์นี้มีการย่อตัวเพื่อกระโดดนิดหน่อย เห็น อนิจจัง ทางธรรมชัดและแรงมาก ๆ จนเปิดตำราไม่ทัน

เสียรังวัดไปเกือบ 2 วัน จึงต้องกลับมาเปิดตำราธรรมที่ฉบับกันใหม่ พบว่า มีความก้าวหน้าอีกก้าวหนึ่งเล็ก ๆ ประมาณว่า …

  • ใจ คือ สิ่งทีต้องรักษาไว้ให้ดีที่สุด
  • ให้ถือเอาความสงบเป็นบาทฐาน
  • ฟังเสียงนกร้อง (ขอบคุณความสุข แม้จากสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ )
  • ความสงบจากชิ้นส้ม (อยู่กับปัจจุบันขณะ)
  • มีสติสมาธิเป็นพื้นฐาน ใช้ ปัญญา ให้เห็น อนัตตา


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ภูฟ้า
เขียนเมื่อ

“อนัตตา”

เราต้องใช้ “ปัญญา” เรามองให้เห็น “อนัตตา”



ความเห็น (1)
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ภูฟ้า
เขียนเมื่อ

อนัตตาธรรมนี้ไม่ง่ายเลยหนอ

รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

โดยเฉพาะเจ้าวิญญาณ เขาเป็นของเขาเองอยู่อย่างนั้น

แต่เราก็เข้าไปเป็นเจ้าข้าวเจ้าของ หนอ

อนิจจัง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และแปรไป

ทุกขัง คงตัวอยู่ไม่ได้ต้องแปรไป

อนัตตา ความไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน สัตว์ บุคคล เรา เขา

หนอ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ภูฟ้า
เขียนเมื่อ

จิตเดิมแท้

ปล่อยวางความคิดปรุงแต่ง

หยุดการแสวงหา

ปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่น

อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ภูฟ้า
เขียนเมื่อ

ขันธ์บังธรรม

มี ไม่มี = มีสิ่งที่เกิดกับขันธ์ แต่เป็นสมมุติเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป (สมมติจึงไม่มี) จึงดับขันธ์ห้า

ไม่มี มี = ถ้าไม่ปรุงแต่งสังขาร จึงมีพระนิพพาน



ความเห็น (1)

ไม่มีก็เหมือนมี มีก็คือไม่มี สุดๆแล้วคือ...

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ภูฟ้า
เขียนเมื่อ

บันทึกทำ (19 มีนาคม 59)


ความเป็นเช่นนั้นเอง (อุปทานขันธ์ว่าเป็นเราเป็นเขา)




"อนัตตาธรรม" เป็นธรรมที่ละเอียดมาก (ความไม่ใช่ตัวตน สัตว์ บุคคล เรา เขา)

กาย เกิดมาพร้อมกับเรา จึงมีความสัมพันธ์ หวงแหน อุปทานว่า เป็นเรา

แต่ถ้าพิจารณาให้ดี เมื่อเกิดบาดแผลขึ้นกับกายนั้น สิ่งที่ทุกข์ คือ ใจ ไม่ใช่ กาย หนอ

แม้ ใจ ก็เป็นเช่นนั้นเอง


ใจเป็นเครื่องรับรู้อารมณ์ เป็นอนิจจัง ทุกขัง "อนัตตา"


ใจ ก็เป็น อนัตตาด้วย หนอ

จึงเป็นธรรมดาที่ใจจะมีสุข มีทุกข์ ว่าง ไม่ว่าง เป็นอาการของใจ เป็นธรรมดา เป็นเช่นนั้นเอง


แต่คราวนี้ ด้วยความที่เราหลงว่า "ใจ" นั้นเป็นเรา พอเกิดอะไรขึ้นกับใจ

เราก็เอาตัวเราเข้าไปรับ ปรุงแต่งไปตามเรื่องราวอารมณ์ความคิด หนอ




จริง ๆ ภาพข้างบนนี้ก็ยังไม่สมบูรณ์นัก แต่ก็พอใช้สำหรับอธิบายสภาวะ 2 สภาวะได้ว่า

ตอนที่จิตว่าง (สภาวะ A.) จิตจะสงบตั้งมั่น สามารถเดินปัญญาญาณเข้าสู่จิตเดิมแท้ได้ดี

ตอนที่จิตวุ่น (สภาวะ B.) นายช่างผู้ทำเรือนจะเข้ามาปรุงแต่งใจให้หลงเมามันได้ง่าย หนอ


*** ประเด็นที่น่าสนใจ คื




ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ภูฟ้า
เขียนเมื่อ


  1. การไม่ใช้การคิด (ว่างจากความคิด แล้ว จึงคิดจากความว่าง)


ความเห็น (2)

"เราแสวงหานายช่างผู้ทำเรือน เมื่อไม่ประสบ จึงได้ท่องเที่ยวไปสู่สังสาระ มีชาติเป็นเอนก ความเกิด บ่อย ๆ เป็นทุกข์, แน่ะนายช่างผู้ทำเรือน เราพบท่าน แล้ว, ท่านจะทำเรือนอีกไม่ได้, ซี่โครงทุกซี่ ของท่าน เราหักเสียแล้ว ยอดเรือนเราก็รื้อเสียแล้ว, จิตของเรา ถึงธรรมปราศจากเครื่องปรุงแต่งแล้ว, เพราะเรา บรรลุธรรมที่สิ้นตัณหาแล้ว"

ว่างจากการปรุงแต่ง ปล่อยไปตามธรรมชาติ ..หรือเปล่าครับ.ไม่ใช่ไม่ทำงานแล้วว่าง..ทำงานด้วยจิตกุศลทำงานด้วยความเชื่อมั่น..ไม่มีแล้ว โกรธ หลง โลภ เกิดขึ้น..

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ภูฟ้า
เขียนเมื่อ

จิตเดิมแท้ / ตถตา เป็นพุทธอยู่แล้ว

แต่ถูกเมฆหมอกแห่ง "ความคิดปรุ่งแต่ง" ปิดบังเอาไว้


หยุดความคิดปรุงแต่ง หยุดการแสวงหา ปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่น



อนิจจัง สิ่งปรุงแต่งทั้งปวง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วดับไป

ทุกขัง สิ่งปรุงแต่งทั้งปวงเป็นทุกข์

อนัตตา สิ่งปรุ่งแต่งทั้งปวงไม่ใช่ตัวตน สัตว์ บุคคล เรา เขา





ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ภูฟ้า
เขียนเมื่อ

หลักในการภาวนา (มิถุนายน 2558)


  • เริ่มต้นที่พิจารณาจิตเดิมแท้ก่อน
  • มิจฉาทิฏฐิทำให้เราข้องอยู่ในโลก ส่วนสัมมาทิฏฐิทำให้เราออกจากมัน
    แต่การปล่อยวาง อยู่เหนือทิฏฐิทั้งสองได้นั้น ดีกว่า หนอ
  • ว่างจากความคิดปรุงแต่ง หยุดการแสวงหา ปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่น
  • ปรัชญา คือ การเข้าถึงจิตเดิมแท้โดยไม่ใช้การคิด
  • ทุกคนมีปัญญาญาณเท่าเทียมกันอยู่แล้ว แต่ถูกเมฆหมอกแห่งความคิดปรุ่งแต่งบดบังเอาไว้ หนอ


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ภูฟ้า
เขียนเมื่อ

สัปดาห์นี้รู้สึกว่า ..
โลก หมุนเร็วกว่า ธรรม หนอ






ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ภูฟ้า
เขียนเมื่อ

ความอยากดี เป็น สมุทัย


รูป

เวทนา

สัญญา

สังขาร

วิญญาณ



สิ่งใดก่อให้ต่อวน

กลสัญญาพาให้เวียน


หลง สัญญา ว่าเป็น ใจ

เลยลืมจิตจำปิดสนิทเนียน





ความเห็น (1)

เปิดใจ ใจไม่ปิด ลดอัตตา พาให้ประจักษ์ถึงความสูงสุดของคำว่าว่าง…

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ภูฟ้า
เขียนเมื่อ


กุญแจสู่ธรรมต่อไปนี้ ต้องทำความเข้าใจให้ได้ด้วยตนเองโดยเร็ว หนอ



จิตเดิมแท้ (One mind)

ความคิดปรุงแต่ง

ความว่าง

ขันธ์ ๕

--------------------------------

หยุดความคิดปรุงแต่ง

หยุดการแสวงหา (ความว่าง)

ปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่น (วางขันธ์)

---------------------------------

ขันธ์บังธรรม (ทะลุขันธ์ไปได้ก็เห็นธรรม หนอ)



ความเห็น (1)

สุดวิเศษสิ่งที่หาไม่ไกลแต่ยากพบเจอ จิตเดิมมีอยู่แล้ว เพียงแต่ขาดอาจารย์ชี้แนะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ภูฟ้า
เขียนเมื่อ

วันนี้เป็นวันที่ ๑๑ ของการปฏิบัติธรรมอย่างต่อเนื่อง
ผมสังเกตุว่า วันต่อวันของความก้าวหน้าทางธรรมนั้น

ก็มีโจทย์ชีวิต ที่เป็นแบบทดสอบธรรม ที่ยากขึ้นเป็นเงาตามตัว

ยกตัวอย่าง

วันแรกที่เดินทางออกจาก ชาโต เดอ จีมานอม

ก็มาพบกับปัญหาข้อพิพาทเรื่องที่ดิน มูลค่าหลักล้าน

ซึ่งดูเหมือนว่า ปัญหานี้ต้องใช้เวลายาวนานในการแก้ไข หนอ


ผมรีบเดินทางไปเคลียร์อย่างเร่งด่วน

เพราะอีกไม่ถึงชั่วโมงข้างหน้า จะเป็นการปฐมนิเทศหลักสูตรอุตมสาสมาธิ

อันเป็นหลักสูตรปฏิบัติธรรมต่อเนื่องทุกวันเป็นเวลา 21 วัน หนอ


สรุปว่า ใจถูกกระทบอย่างแรงจากเรื่องราวทางโลกก่อนการทำบุญใหญ่ หนอ




เพียงไม่ถึง 2 วัน แห่งการฝึกสมาธิเข้มอย่างต่อเนื่อง

ผมสามารถหาทางออกให้กับปัญหา พร้อมกับเคลียร์ใจได้ทันควัน หนอ


ต่อจากนั้นปัญหาทั้งหลายก็ทยอยมาเป็นลำดับ

แต่ก็มีเรื่องดี ๆ เข้ามาแทรกระหว่างทางธรรมพอสมควร เช่น

ลูกหนี้ค้างค่าเช่ามา 2 ปี ตัดสินใจจ่ายตังค์มาให้แล้ว


และได้ทราบว่า ลูกหนี้บางรายล้มละลาย คงไม่สามารถจ่ายหนี้คืนให้แล้ว

ถ้าจะจ่ายได้ก็คงต้องรอให้เค้าฟื้นตัวก่อน ซึ่งไม่ทราบว่า วันไหน

แต่แปลก ปัญหาเหล่านี้ทยอยมาทดสอบจิตใจพร้อม ๆ กันวันต่อวัน

และก็พบว่า จิตใจสามารถรับปัญหาทั้งหลายเหล่านี้ได้อย่างสบาย และมีทางออกแบบโลก ๆ อย่างดีด้วย หนอ









ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ภูฟ้า
เขียนเมื่อ

ในเทศกาลแห่งชีวิต ณ ชาโต เดอ จีมานอม เมืองแห่งมณี ที่ผ่านมา

มีคำหนึ่งผุดขึ้นในใจระหว่างที่ฟังธรรมเทศนาของพระอาจารย์

นั่นคือ คำว่า "เครื่องอยู่"

ผมจำรายละเอียดของธรรมนั้นได้ไม่ชัด ไม่ครบถ้วนนัก

แต่ก็จะพยายามถอดเป็นบันทึกเก็บเอาไว้ก่อนตามความเข้าใจแห่งตน (ซึ่งอาจยังไม่ถูกต้องนัก)

ผมเข้าใจประมาณว่า

ทาน ศีล ภาวนา นั้นเป็นเครื่องอยู่ของใจ

เพราะธรรมชาติของใจนั้น ส่อ ส่าย ไปตามอารมณ์ที่มากระทบ

ทั้งที่เป็นกุศล และอกุศล

เพื่อให้ใจเป็นกุศล ท่านจึงให้มีเครื่องอยู่ คือ ทาน ศีล ภาวนา หนอ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ภูฟ้า
เขียนเมื่อ

ขันธ์บังธรรม คือ อย่างไร ?

ขันธ์ ในที่นี้ คือ ขันธ์ ๕ (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)

คนจำนวนไม่น้อยจะวุ่นวายกับชีวิตประจำวัน จนลืมสังเกตุความเป็นจริงของกายและใจ

และเมื่อเริ่มมาสนใจธรรม อาจพอเข้าใจและมองเห็นขันธ์ หนอ




เห็น สัญญา ว่าเป็น ใจ คือ อย่างไร ?

เวลาผ่านมาเมื่อเข้าใจและเห็นขันธ์แล้ว

ช่วงเวลาต่อมาจะเริ่มพัฒนาขันธ์ให้บริสุทธิ์

ซึ่งแรก ๆ จะหลงเห็นสัญญาว่าเป็นใจอยู่พักใหญ่ ๆ หนอ



มีไม่มี ไม่มีมี --> 1. (มี คือ ไม่มี) 2. (ไม่มี คือ มี)

จนวันหนึ่งจะเริ่มเข้าใจ 1 กับ 2 หนอ




ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท