Man' s Search For Meaning : มนุษย์ ความหมาย และค่ายกักกัน


         Man' s Search For Meaning         

มนุษย์ ความหมาย และค่ายกักกัน

วิกเตอร์ อี แฟรงเกิล เขียน
เจ้าของรางวัล Albert Schweitzer Madal Award
อรทัย เทพวิจิตร แปล

         สวัสดีค่า ห่างหายไปเสียนาน คิดหนักอยู่เหมือนกันคะว่าจะเอาเรื่องที่เพิ่งอ่านเนี้ยมาพูดคุยกับคนอื่นดีหรือเปล่าเพราะรู้สึกว่ามันเป็นเรื่องที่เข้าใจยากพอสมควร (หมายถึงกับตัวเองนะคะ ไม่แน่ใจว่าตัวเองจะเข้าใจถูกหรือเปล่า) เลยมาคิดอีกที่ว่าจะหยิบยกประโยคบางประโยคประเด็นบางประเด็นมาพูดคุยกันดีกว่าน่าค่า

         งานเขียนสะท้อนความรู้สึกจากจิตแพทย์แห่งกรุงเวียนนา ที่ชะตาพลิกผันให้ต้องถูกจองจำในค่ายกักกันนาซีสุดเหี้ยมโหดที่เห็นชีวิตเชลยเป็นเพียงเศษสวะ ต้องทุกข์ทรมานแสนสาหัส สูญสิ้นทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิต ทว่าท่ามกลางความรวดร้าวสุดทานทนนั้นเองที่เขาเองได้พบความลับล่ำค่าและอิสรภาพสูงสุดของชีวิต

Man’s Search for Meaning : มนุษย์ ความหมาย  และค่ายกักกัน  เป็นมากกว่าบันทึกประสบการณ์เลวร้ายของจิตแพทย์คนหนึ่ง  แต่ยังเป็นงานเขียนแห่งความหวัง  พลังใจ  ศรัทธา  และความรักสูงสุดที่กลั่นจากเลือดเนื้อและชีวิต เพื่อแสดงให้เห็นว่าเมื่อมนุษย์คนหนึ่งตัดสินใจที่จะไม่ยอมพ่ายให้แก่ชีวิต เขาจะทำอะไรได้บ้าง และเมื่อคนๆ นั้นมีเหตุผลในการดำรงอยู่ เขาจะทานทนสิ่งต่างๆ ได้มากมายเพียงใด

 

..เพราะเหนืออื่นใดทุกคนล้วนมี ค่ายกักกัน เป็นของตนเอง...

      
        แก่นของหนังสือน่าจะอยู่ที่ว่าการหาความหมายให้กับชีวิตเราเองว่าเรามีชีวิตอยู่ไปเพื่ออะไร โดยผู้เขียน (ดร.วิกเตอร์ อี แฟรงเกิล ) เชื่อว่า "ผู้ที่รู้ว่าตนจะมีชีวิตอยู่ไปเพื่ออะไร ย่อมสามารถทนรับสิ่งต่างๆ ได้เกือบทุกอย่างบนโลกใบนี้"
       
       เข้าใจยากนะคะ แต่ถ้าตัวเองเข้าใจไม่ผิดมันน่าจะเหมือนว่า เวลาที่เรามีจุดมุ่งหมายอะไรบางอย่างตั้งไว้ เช่น มีการสอบ มีงานสำคัญต้องนำเสนอ เป็นต้น เราก็จะมีความมุ่งมั่นและจะมีแรงฮึดอะไรบางอย่างที่แอบแฝงอยู่ (แม้กับบางคนพลังดังกล่าวจะแฝงอยู่ลึกมากก็ตามที่) ให้เรามุ่งมั่นไปสู่จุดมุ่งหมายนั้นๆให้ได้ เพียงแต่ในความหมายของ ดร. วิกเตอร์ อี แฟรงเกิล จุดมุ่งหมายหรือการรู้ตัวเองนั้นคงจะหมายถึงเป้าหมายใหญ่ในชีวิตว่าเราจะเลือกและจะดำรงตนเป็นคนแบบไหน ถ้าเรารู้เราก็จะเดินไปได้อย่างไม่ลังเลหรือสงสัยใดๆ มีความมุ่งมั่นและแน่วแน่ที่จะทำมัน แต่ความยากของเรื่องนี้น่าจะอยู่ที่ว่าแล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าอะไรละ คือ
"จุดมุ่งหมายในชีวิตของเรา"  
        
         พอมาถึงจุดนี้ก็นึกย้อนคะว่าในหลักของพระพุทธศาสนาเรา ท่านก็สอนให้เราพยายามเรียนรู้และเท่าทันในจิตของตัวเอง มีสติรับรู้ทุกสิ่งที่ผ่านเข้ามาและที่กำลังจะผ่านออกไป ตรงจุดนี้ไม่แน่ใจนะคะ สำหรับตัวเองคิดว่าการที่เราจะรู้อะไรที่มันเหนือขึ้นไปกว่านั้นแต่ถ้าพื้นฐานความคิดธรรมดาที่ควรต้องเรียนรู้ (กับตัวเอง) เรายังไม่รู้ เราคงก้าวเดินต่อไปข้างหน้าไม่ค่อยถูกทางนัก ว่าอย่างนั้นไหมค่า (ที่เขียนไปเนี้ย บอกตรงๆนะคะ ใช้ความกล้าอย่างมากเลยคะ เพราะเป็นอะไรที่ตัวเองก็ไม่แน่ใจ พยายามหาคำตอบอยู่เหมือนกันคะ ถ้าใครมีความคิดเห็นอื่นใดที่อยากจะช่วยขยายความคิด-ที่แสนจะคับแคบของผู้เขียน Blog นี้ ก็จะยินดีมากๆเลยคะ)
      
        มีบางประโยคใน The Classic Bestseller  เล่มนี้เขียนไว้น่าสนใจดีนะคะ จะหยิบยกขึ้นมาให้อ่านกันคะ
"มนุษย์อาจถูกพรากทุกสิ่งทุกอย่างไปจากตนเองได้ ยกเว้นเพียงสิ่งเดียวเท่านั้น นั่นก็คืออิสรภาพส่วนสุดท้ายของมนุษย์ ....
 เป็นอิสรภาพที่จะเลือกทัศนคติที่เราจะมีต่อสภาพแวดล้อมอย่างใดอย่างหนึ่ง...เป็นอิสรภาพที่จะเลือกวิถีทางของเราเอง"
"อิสรภาพสุดท้ายภายในจิตใจของมนุษย์นั้น เป็นสิ่งที่ใครก็ไม่สามารถพรากไปจากเราได้"
"อิสระทางใจซึ่งใครก็ไม่สามารถพรากไปได้นี้เอง ที่ทำให้ชีวิตเปี่ยมไปด้วยเป้าหมาย  ...และความหมาย"
"ถ้าหากในชีวิตของคนเราจะมีความหมายอะไรแฝงอยู่ล่ะก็ ในความทุกข์ทรมานก็จะต้องมีความหมายอะไรสักอย่างด้วยเช่นกัน
ความทุกข์คือส่วนประกอบของชีวิตที่ไม่สามารถกำจัดลบล้างได้เฉกเช่นเดียวกับชะตากรรมและความตาย
หากปราศจากความทุกข์และความตายแล้ว...ชีวิตของมนุษย์เราก็จะไม่มีวันสมบูรณ์ไปได้"
"ในความลำบากยากแค้นนี้ มีโอกาสรอให้มนุษย์ได้ใช้ประโยชน์จากมัน หรือจะละเลยโอกาสที่จะเพิ่มคุณค่าทางจริยธรรมซึ่งสถานการณ์ยากลำบากเหล่านั้นได้เอื้อให้"
และ
"หนึ่งในคุณสมบัติสำคัญแห่งการดำรงชีวิตของมนุษย์ก็คือ การมีศักยภาพในตัวเอง สามารถจะพาตัวอยู่เหนือสถานการณ์ต่างๆ สามารถพัฒนาตัวเองเหนือเงื่อนไขเหล่านั้นได้ มนุษย์มีความสามารถเปลี่ยนแปลงโลกให้ดีขึ้นและสามารถจะเปลี่ยนแปลงตัวเองไปสู่สิ่งที่ดีกว่าถ้าจำเป็นเสมอ"
     
        สำหรับคราวนี้ความคิดเห็นส่วนตัวน้อยหน่อยนะคะ แนวความคิดพวกนี้คงต้องอาศัยทุกท่านที่ผ่านประสบการณ์ในชีวิตมาพอสมควร ช่วยแนะนำให้คำตอบด้วยคะ จะรออ่านอยู่นะคะ
ปล.ที่จริงในหนังสือยังมีอีกหลายประเด็นเลยคะที่น่าจะพูดถึง เช่น จิตที่ถูกยกระดับขึ้น วิธีการรักษาด้วยการเน้นความหมายแห่งการดำรงอยู่ (Logo therapy) ประเด็นการถูกบีบคั้นอย่างที่สุดของชีวิต การถูกจองจำทั้งจากผู้อื่นและตัวเอง เป็นต้น
ปล.2 ถ้าใครว่างๆลองหามาอ่านดูนะคะ หนังสือเค้าอ่านแล้วก็เหมือนได้ยกระดับความคิดและจิตใจดีค่า

 

หมายเลขบันทึก: 91869เขียนเมื่อ 22 เมษายน 2007 21:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 08:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)
  • ้เห็นด้วยว่าเป็นหนังสือที่ดีมากครับ (ผมเคยอ่านภาษาอังกฤษก่อนมีฉบับแปลครับ)
ขอขอบพระคุณอย่างสูงคะที่เข้ามาอ่านและให้คำนิยมกับหนังสือเล่มนี้นะคะ

หากปราศจากความทุกข์

  • อาจะไม่รู้จักกับความสุขก็เปนได้ครับ

เห็นด้วยคะ คุณ my space

บางทีความทุกข์ก็เป็นครูให้เราในหลายๆเรื่อง จะสุขได้ไงถ้าไม่รู้จักทุกข์  จะเก่งได้ไงถ้าไม่เคยผิดพลาด

ฉะนั้น "ทุกอย่างเกิดขึ้นแล้วดีเสมอ" แม้สิ่งนั้นจะเลวร้ายมากมายเพียงใดก็ตาม มันคงอยู่ที่เราจะเลือกมองมั้งคะ

ขอบคุณ คุณ my space มากนะคะ แค่ประโยคสั้นๆก็สื่ออะไรได้เยอะเลยคะ

  • Ultimately, man should not ask others what the meaning of his life is, 
  • but rather he must recognize that it is he who is asked. -  Viktor E. Frankl

มัทใช้เป๋น signature ลงท้ายอีเมลเลยค่ะ

เราเกิดมาเพื่ออะไรนี่ คำตอบใครคำตอบมันดีที่สุดค่ะ ไปฟังคนอื่นมาแล้วพอไม่เห็นเป็นอย่างเขาก็รู้สึกทุกข์ 

ดีใจที่มีอ. comment มาเขียนบันทึกดีๆอีกคนค่ะ 

เคยหยิบขึ้นมาดูที่ร้านซีเอ็ด เกือบซื้อแล้วแต่ไม่ได้ซื้อ อ่านบันทึกของอาจารย์ 
P
  แล้วจะไปซื้อมาอ่านครับ ขอบคุณที่แนะนำ

ดีใจคะที่บันทึกนี้ทำให้ คุณ สุรเชษฐ เวชชพิทักษ์ เปลี่ยนใจจะกลับมาอ่านหนังสือเล่มนี้อีกครั้ง อ่านแล้วรู้สึกอย่างไรเขียนมาเล่าให้ฟังบางนะคะ จะรออ่านอยู่คะ 

และจะยินดีมากๆเลยคะถ้าบันทึกนี้จะเป็นแรงบันดาลใจอะไรบางอย่างให้กับใครบางคนได้บ้าง  

ขอขอบคุณทุกท่านที่แวะเวียนเข้ามาร่วมอ่านและร่วมแสดงความคิดเห็นกันนะคะ ขอบคุณคะ

  • แวะมาเชียร์ซ้ำครับ ว่าเล่มนี้ ไม่อ่านไม่ได้จริง ๆ
  • ตอนผมอ่านต้นฉบับภาษาอังกฤษเมื่อยี่สิบปีก่อน ผมยังเสียดายว่าไม่มีฉบับภาษาไทยอยู่เลย อ่านกันนานมาก กว่าจะจบ ทั้งที่เล่มบางนิดเดียว ตอนนั้น ภาษาอังกฤษยังไม่ค่อยแข็งแรงด้วย
  • มีวิธีคิดบางอย่างของเขาที่ผมยังจำไว้ใช้เอง..
  • ไม่เฉลยครับ ว่าอะไร ต้องอ่านเอง

ขอบคุณ คุณ  wwibul  นะคะ ที่แวะกลับมาเชียร์ซ้ำคะ ยินดีมากๆเลยคะ

มีหนังสือหลายเล่มอ้างถึง แต่ไม่เคยอ่านหนังสือของเขาซะที

มีคนเชียร์ให้อ่านเยอะอย่างนี้ ต้องลองอ่านซะแล้ว

มีหนังสือหลายเล่มอ้างถึงดร. วิกเตอร์ อี แฟรงเกิล แต่ไม่เคยอ่านหนังสือของเขาซะที

มีคนเชียร์ให้อ่านเยอะอย่างนี้ ต้องลองอ่านซะแล้ว

โทษทีครับ พิมพ์ตกอ่ะ

ลองหาอ่านดูคะ ได้ผลประการใดบอกกันบ้างนะคะ

ผมเคยไปที่ค่ายกักกัน Auschwizt เมื่อต้นปี 57 เป็น Trip ที่ประทับใจมาก แล้วกลับมาค้นคว้าข้อมูลอื่น ๆ ต่อ หนังสือนี้คงเป็นอีกเล่มที่ต้องหาอ่านเพิ่มครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท