อนงค์ศิริ
รองศาสตราจารย์ อนงค์ศิริ วิชาลัย

การเป็นครูนั้นไชร้ไม่ลำบาก แต่สอนดีนั้นสิยากเป็นหนักหนา


แต่ปัจจุบัน ค่อนข้างจะเจอคนสองกลุ่มที่อยู่กันคนละขั้ว ขั้วหนึ่งยึดหลักการและทฤษฎีจนไม่ยอมยืดหยุ่นกับสภาพการณ์จริง กับอีกขั้วหนึ่งที่เรียกร้องความเห็นใจว่าประสบการณ์ทำงานบางทีต้องโยนทฤษฎีที่เรียนมาทิ้งขว้างไป

"การเป็นครูนั้นไชร้ไม่ลำบาก

แต่...สอนดีนั้นสิยากเป็นหนักหนา

เพราะต้องใช้ศิลปวิทยา

อีกทั้งมีความเมตตาอยู่ในใจ"

กลอนสำนวนหนึ่งของท่าน ม.ล.ปิ่น  มาลากุล อดีตรัฐมนตรีว่าการ

กระทรวงศึกษาธิการ  ประพันธ์ไว้นานแล้ว  แต่ เป็นคำตอบที่ดีสำหรับ

หลายคำถามที่เขียนมาแลกเปลี่ยน  โดยเฉพาะว่าที่อาจารย์ 3  ที่อาจ

จะไม่เข้าใจว่าทำไมจึงได้ยากเย็นแสนเข็ญ และคิดว่าน่าจะเป็นเพราะ

ถูกกลั่นแกล้ง  (เพราะอะไร ๆ ก็ทำได้หมด  แต่ไม่มีคะแนน)

ทีจริง เรื่องที่น่าจะทำได้ง่ายๆ แต่ไม่ง่ายคือ  กลวิธีสอนหรือเทคนิค

การสอน  ซึ่งถ้าจะเปรียบเหมือนสูตรการทำอาหาร สูตรเดียวกัน

แต่รสอร่อยต่างกัน เป็นเพราะอะไร

ฉันใด   การวิเคราะห์หลักสูตร การจัดทำกำหนดการสอน การจัดทำ

หน่วยการเรียนรู้  ก็เหมือนสูตรแกงเผ็ด แกงฮังเล  แต่การออกแบบ

การเรียนรู้ เทคนิคการสอน ลีลาการสอนที่จะให้ผู้เรียนบรรลุจุดหมาย

เปรียบเหมือนรสมือคนปรุงแต่ละคน  มีเทคนิค ลีลาการสอนแตกต่าง

กัน  จึงมีคำถามว่าทำอย่างไร จึงจะสอนจนได้ชื่อว่า ชำนาญการ

พิเศษ หรือผู้เชี่ยวชาญ  แน่นอนว่า  ในวงวิชาการจะอาศัยแต่ประสบ

การณ์การสอนฝ่ายเดียว โดยไม่มีหลักการและทฤษฎีรองรับก็น่าจะ

ไม่สมบูรณ์  หรือรู้แต่ทฤษฎี หลักการเต็มสมอง แต่ขาดประสบการณ์

การนำไปสู่การปฏิบัติจริง ก็กลายเป็นกอดตำรา อยู่บนหอคอยงาช้าง

ความลงตัวน่าจะอยู่ที่ การเรียนรู้ทฤษฎี หลักการสอน หลักการวัดผล

หลักจิตวิทยา แล้วรู้จักนำมาประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับสภาพจริง

หรือการปฎิบัติจริงในภาคสนามแล้วศึกษาค้นคว้า หาคำตอบรองรับ

ด้วยการวิเคราะห์ วิจัย  ก็จะมีคำตอบที่สมดุลในตัว

แต่ปัจจุบัน  ค่อนข้างจะเจอคนสองกลุ่มที่อยู่กันคนละขั้ว  ขั้วหนึ่ง

ยึดหลักการและทฤษฎี  จนไม่ยอมยืดหยุ่นกับสภาพการณ์จริง

กับอีกขั้วหนึ่งที่เรียกร้องความเห็นใจว่า  ประสบการณ์การทำงาน

บางทีก็ต้องโยนทฤษฎีที่เรียนมาทิ้งขว้างไป

ความหมายโดยนัยนี้  คือ การประเมินผลงานวิชาการเพื่อเข้าสู่

การกำหนดตำแหน่งและแต่งตั้งให้ได้ อาจารย์ 3 หรือ ครูชำนาญการ

พิเศษ 

พบกันครึ่งทาง  การสอนที่เป็นผู้ชำนาญการพิเศษ หรือผู้เชี่ยวชาญ

การสอนนั้น  ควรประกอบด้วยความเป็นผู้รู้หลัก(หลักสูตร หลักการสอน

หลักการวัดผล ประเมินผล หลักการใช้สื่อและแหล่งการเรียนรู้ หลัก

จิตวิทยา)  แล้ว  ควรเป็นผู้มีศิลปะการจัดกิจกรรมได้สอดคล้องกับ

จุดมุ่งหมาย และความต้องการ สภาพการของผู้เรียน

เห็นได้ชัดที่สุด คือ การมอบหมายให้พูดในหัวข้อเดียวกัน หรือให้สอน

ในหัวข้อเดียวกัน  เราจะพบว่าผู้ฟัง หรือผู้เรียนจะเป็นผู้ประเมินที่ดี

ว่าการพูดหรือการสอนแต่ละคน น่าประทับใจต่างกันอย่างไร

และที่สำคัญ นอกจากการใช้ศิลปะวิทยาแล้ว   สิ่งที่แตกต่างกันมากๆ

คือคุณธรรมประจำใจ  ของผู้เป็นครู  ที่ไม่อาจบอกเล่ากันได้ ถ้าไม่มี

ในอยู่ในจิตในใจของผู้เป็นครู

ท่านเอง ก็ย่อมทราบดีว่าครูที่ท่านประทับใจมีดีอย่างไร

และครูที่ท่านเกลียดนักเกลียดหนา  มีอะไรให้เกลียดนัก

คงจะประมวลรวมได้ว่า  ถ้าจะเป็นครู จะทำอย่างไร   ?  มิใช่หรือ ?

คำสำคัญ (Tags): #ครู
หมายเลขบันทึก: 90618เขียนเมื่อ 16 เมษายน 2007 17:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 เมษายน 2012 09:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
  • สวัสดีค่ะ
  • เห็นด้วยค่ะ เพราะเพื่อนทำอาจารย์ 3 อยู่ ยากจริงๆ

เรียน คุณวิชุดา

ครูเป็นบุคคลที่น่าสงสารที่สุด โดยเฉพาะครูประถมและครูมัธยม ที่มีเวลาสอน และต้องรับผิดชอบภาระงานอืน ๆเพิ่มมากกกกกก

จึงไม่มีเวลาศึกษาค้นคว้า และทำวิจัยเหมือนอาจารย์

มหาวิทยาลัย ซึ่งสอนไม่กี่ชั่วโมงและภาระอื่นก็ปฏิเสธ       แต่ก็ได้รับคำปลอบใจว่าน่าจะได้  พอกรรมการประเมินเข้าจริง  ก็มาตรฐานมหาวิทยาลัย(แต่ว !)

 

เห็นด้วยมากๆกับคุณอนงค์ศิรินะคะ..ครูประถมงานเยอะมากจริงๆค่ะ..ไม่ใช่แต่งานสอนเท่านั้น..

อีกขอ้นึงที่อยากแสดงความคิดเห็นนะคะ..เท่าที่ได้ร่วมงานกับอาจารย์3 บางคน ทำให้ดิฉันเริ่มเสื่อมศรัทธาในการประเมินการให้ตำแหน่งนี้แล้วล่ะค่ะ..ว่าให้มาได้อย่างไร..(แค่ประเมินผลงานนี้ยังไม่เพียงพอนะคะ..เพราะจุดสำคัญที่ควรประเมินนั้นควรจะมาดูพฤติกรรมในระยะยาวของการสอนและการให้ความร่วมมือ.การเป็นกัลยาณมิตรกับเพื่อนร่วมงานมากกว่า)

ตอบคุณครูแอ๊ว

ก้อ  อยากบอกก่อนว่า จากรั้วสีชมพูเหมือนกันแต่ ป.โท ปี  23  และเห็นด้วยกับพฤติกรรมของอาจารย์ 3 บางคนที่ไม่สมควรกับวิทยะฐานะและเงินประจำตำแหน่งที่ได้รับ  บางคนยังอกตัญญูต่อครูที่แนะนำเลยบอกแซวเล่นๆ  กับศิษย์คนสนิทว่า ฮือ มีทั้งอาจารย์ 3 จริงๆ  กับอาจารย์ 3 (หาว) หรือไม่ก็ อาจารย์ ซาม ก็เลือกเอานะ (ศิษย์หัวเราะ) ก็อยู่ที่สังคมไม่ควรต้อนรับพฤติกรรมของบุคคลที่ไม่พึงประสงค์ก็แล้วกัน   ดีมั้ยคะ

จริญา สุธรรมแจ่ม รหัส 49121432

สวัสดีอาจารย์อนงค์ศิริ

หนูนางสาวจริญา สุธรรมแจ่ม เอกการศึกษาพิเศษ เรียนกับอาจารย์วิชาการนิเทศการศึกษาทุกวันพุท ได้เข้าไปเยี่ยม แวะทักทายมาแล้วหลายๆ BLOG แต่อาจารย์ก็ยังไม่ได้ตอบหนูเรย T_T อาจเป็นเพราะหนูเพิ่งเรียนกับอาจารย์เป็นครั้งแรกอาจารย์ก็เลยยังไม่คุ้นหน้า ซึ่งหนูเองก็เป็นคนขี้อายแต่จะเข้าเป็นกำลังใจให้อาจารย์บ่อยๆ นะคะ

รักโรงเรียนเหมือนบ้าน

รักงานสอนเหมือนชีวิต

รักลูกศิษย์เหมือนลูกจริง

ดึกแล้วฝันดีนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท