จิต : "คำนิยามของจิตวิทยา" อีกครั้ง


ผมใช้คำว่า"จิต" หรือ Mind  มาตลอดตั้งแต่บล็อกแรกจนถึงขณะนี้ ครับ  บางทีอาจจะทำให้บางท่านเกิดความสงสัยว่า "เอ -- ก็ไหนนิยาม - จิตวิทยา - ว่า คือวิทยาศาสตร์ทางพฤติกรรม - แล้วเหตุไฉนผมจึงใช้คำว่า - จิต - อย่างหน้าตาเฉย ฉะนี้เล่า ?"  เรื่องนี้ผมได้ให้เหตุผลไว้หลายแห่งแล้วครับ  แต่เมื่อมาถึงตรงนี้ก็อยากจะกล่าวเสริมอีกครั้งครับ เพราะว่า บางท่านอาจจะยังไม่ได้อ่านบันทึกตอนต้นๆ

คำว่า "พฤติกรรม" หรือ Behavior นั้น  เราตกลงกันอย่างหยาบๆในหมู่นักจิตวิทยาว่า  หมายถึง "พฤติกรรมภายนอก" กับ "พฤติกรรมภายใน" พฤติกรรมภายนอกก็ได้แก่ การเคลื่อนไหวของร่างกาย ที่เราสังเกตได้ หรือมีความเป็นไปได้ที่จะสังเกต  เช่น  การเดิน  นั่ง ยิ้ม ยกมือ หัวเราะ พูด กะพริบตา หรือแม้กระทั่งการเต้นของหัวใจ  การไหลของเลือดในหลอดเลือด  การย่อยอาหาร  ฯลฯ  ส่วนพฤติกรรมภายในนั้น  ได้แก่ การรู้สึกสัมผัส  การจำ  การคิดทุกชนิด  การตัดสินใจ  อารมณ์ เจตคติ ความรู้สึกสุข ทุกข์ ฯลฯ

พฤติกรรมภายในนี้เรียกรวมๆว่า  "จิต" ครับ ?!

แต่เนื่องจากช่วงเวลาประมาณปี คศ. ๑๙๑๐ - ๑๙๖๐ เศษๆ สำนักจิตวิทยากลุม พฤติกรรมนิยม (Behaviorism) ได้ครองงำความคิดทางจิตวิทยาในโลกใบนี้อยู่ครับ  โดยเฉพาะ Lecturers ในมหาวิทยาลัย  และจิตวิทยาสำนักนี้เขา"ถูกครองงำ" ด้วยความคิดของลัทธิ "วัตถุนิยม" หรือ Materialism  มาอีกทอดหนึ่ง ทำให้เขาเชื่อว่า "สิ่งที่เป็นจริงก็คือวัตถุ - ซึ่งสามารถสังเกตได้ - สิ่งอื่นๆ ที่สังเกตไม่ได้หามีไม่ !" ฉะนั้น ถ้าจะให้จิตวิทยาเป็นวิทยาศาสตร์แล้วจะต้องศึกษาสิ่งที่สังเกตได้ !!  และสิ่งที่สังเกตได้ก็คือ "พฤติกรรมภายนอก"  ดังนั้น นักจิตวิทยาสำนักพฤติกรรมนิยม "แบบสุดโด่ง" จึงได้เปลี่ยนคำนิยามมาเป็น "จิตวิทยาคือวิทยาศาสตร์ทางพฤติกรรม"  ราวๆปี ๑๙๑๓ ครับ

เล่ากันว่าในช่วงนั้น ใครพูดคำว่า "จิต" ในรั้วมหาวิทยาลัยแล้วจะถูกหัวเราะเยาะทีเดียว !! (ฟังหูไว้หูนะครับ)

แต่ในขณะเดียวกัน  นักจิตวิทยาอีกพวกหนึ่งที่ไม่เห็นด้วย  ก็ซุ่มวิจัยค้นคว้าเพื่อหาหลักฐานว่า  "พฤติกรรมภายใน (จิต)"  มีแน่  และศึกษาด้วยวิธีการวิทยาศาสตร์ได้เหมือนกัน  -- และตีพิมพ์ผลงานวิจัยออกมาเรื่อยๆ  ภายใต้หัวข้อต่างๆกันออกไป  เช่น  Insight, Sensation, Perception, Memory, Thinking, Problem solving thinking, Verbal Learning, Concept learning, Concept formation, Information Processing Model, Memory Model เป็นต้น ทำให้เป็นที่ฮือฮากันเพิ่มขึ้นๆ  จนในที่สุดในปี ๑๙๖๗  ศาสตราจารย์ ดร. ULRIC NEISSER  แห่ง Cornell University ก็ได้ตีพิมพ์หนังสือ "จิตวิทยาปัญญา" หรือ "COGNITIVE PSYCHOLOGY"  ออกมาเล่มแรกในโลก  แต่แทนที่จะเรียกชื่อว่า " PSYCHOLOGY OF MIND"  เขาใช้คำ COGNITIVE  Psychology

จากนั้น "จิตวิทยาที่เกี่ยวกับจิต"ก็ได้ตีพิมพ์ออกมาเรื่อยๆ  ภายใต้ชื่อต่างๆ เช่น  HUMAN MEMORY,  PSYCHOLOGY OF THINKING เป็นต้น

และได้มีการเสนอให้ใช้คำนิยามของจิตวิทยาว่า " SCIENCE OF MIND AND BEHAVIOR"  มาราว ๒๐ กว่าปีแล้วครับ

หมายเลขบันทึก: 88970เขียนเมื่อ 7 เมษายน 2007 10:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 03:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)

อาจารย์ ดร.ไสว...

ปัญหาเรื่อง คำศัพท์ ยุ่งยากจริงๆ...

รู้สึกว่า ทุกๆ วิชา เรียนไปเรียนมา กลายเป็นการถกเถียงเรื่องคำศัพท์ทั้งนั้น....

เจริญพร

เป็นมานานแล้ว ตั้งแต่มนุษย์เริ่มใช้ภาษา ที่เป็นเพียงเครื่องมือสื่อสาร แต่ก็ไม่เคยเลยที่ภาษาในให้ความหมายได้โดยตรงในสิ่งที่มันกำลังอธิบาย

แต่เราก็เข้าใจกัน เพราะมันกลายเป็นข้อตกลงร่วมกันแม้ว่า มันจะไม่ได้หมายความในสิ่งที่มันอธิบาย(อยู่ดี)

เมื่อเราต้องการดื่มน้ำ เราต้องการแก้ว และเมื่อเราดื่มแล้ว แก้วก็ไม่มีความหมาย

สิ่งที่เราต้องการ คือ น้ำ สิ่งที่เราใช้ คือ แก้ว และน้ำก็กระโดดมาหาเราไม่ได้

สิ่งที่เราต้องการ คือ สิ่งที่เรารับรู้ด้วยประสาทสัมผัส(ของเรา) และสิ่งที่เราใช้ คือ ภาษา เพราะความรู้สึกเหล่านั้น กระโดดข้ามไปสู่คนอื่นไม่ได้

และเมื่อเราเข้าใจแล้ว ภาษา ก็ไม่มีความหมาย

เรียนจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์กร จบแล้วทำงานอะไร หางานยากหรือเปล่าคับ ช่วยตอบผมหน่อยครับ

ขอบคุณคับ

 

กราบเรียน ท่านอาจารย์

  ผมอยากทราบชื่ออื่นที่นอกเหนือจากที่ท่านอาจารย์ได้บอกไว้ "Insight, Sensation, Perception, Memory, Thinking, Problem solving thinking, Verbal Learning, Concept learning, Concept formation, Information Processing Model, Memory Model"

นับถือ

รักชาติ

ดร.ไสว เลี่ยมแก้ว

นมัสการพระคุณเจ้า

ดีใจที่พบพระคุณเจ้า  ครับ  มันเป็นปัญหาเกี่ยวกับศัพท์ด้วย  เกี่ยวกับ Sign ของมันด้วย  เกี่ยวกับ Semantic ของมันด้วย  และเกี่ยวกับ Truth ของมันด้วย

และยิ่งกว่านั้น  ยังเกี่ยวกับปัญหาเรื่อง Correspondence  ของ"พวกมัน"ด้วย  จริงไหมครับ

แต่ปัญหาที่สำคัญที่สุดก็คือ ปัญหา เกี่ยวกับเรื่องของ "Correspondence" ระหว่าง "สิ่งจริงที่อยู่ภายนอกหัว"  กับ "สิ่ง" หรือ "หน่วยความคิด" ที่เกิดขึ้น "ในหัวเรา"  ประการหนึ่ง  กับ "ความเชื่อ" อีกประการหนึ่ง ครับ  หรือพระคุณเจ้าว่าไงครับ

ดร.ไสว เลี่ยมแก้ว

ดร.ไสว เลี่ยมแก้ว

"คม" มากครับ คุณอุทัยครับ

"และเมื่อเราเข้าใจแล้ว  ภาษา ก็ไม่มีความหมาย"  ผมขอแก้เป็นว่า "และเมื่อเราเข้าใจแล้ว  ตัวหนังสือ ก็ไม่มีความหมาย"  จะได้ไหมครับ

ดร.ไสว เลี่ยมแก้ว

สวัสดีครับ  คุณ Bank

จิตวิทยาอุตสาหกรรม ก็ต้องเรียนรู้เกี่ยวกับการนำจิตวิทยาไปใช้ "อธิบาย, พยากรณ์, และควบคุม" เหตุการณ์ทางพฤติกรรมในองค์การอุตสาหกรรมครับ เช่น  จะต้องทำบรรยากาศในโรงงานอุตสาหกรรมหรือในบริษัทอย่างไรจึงจะทำให้คนขยันทำงาน   ผู้นำจะต้องแสดงพฤติกรรมอย่างไรจึงจะทำให้ผู้ร่วมงานยอมทำงานให้องค์การอย่างยอมถวายหัว ฯลฯ

ทำงานในบริษัทต่างๆ  ในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ หรือสอนในมหาวิทยาลัยก็ได้ ครับ 

หรือเล่นการเมืองก็ได้ครับ  เพราะจะเรียนอะไรมา  หรือไม่ได้เรียนอะไรมา  ก็เป็นรัฐมนตรีได้นี่ครับ !!

ดร.ไสว เลี่ยมแก้ว

สวัสดีครับ คุณรักชาติ

คำอื่นๆที่เกี่ยวกับ"จิต" ก็เช่น  Consciousness, Emotion, Attitude, Intelligence, Aptitude, Idea, Creativity, Motivation, Mental, เป็นต้น

ขอให้สังเกตว่า  "คำ" ที่เกี่ยวกับ "จิต" หรือ "พฤติกรรมภายใน" นั้น  เราจะ "สังเกตโดยตรง"ไม่ได้เลย  นอกจากจะ "สันนิษฐาน" เอาจากพฤติกรรมภายนอกเท่านั้น

เรียนอาจารย์ไสว เลี่ยมแก้ว

คืออยากสรุปความเข้าใจเกี่ยวกับ cognitive psychology แต่ไม่รู้จะเริ่มจากตรงไหนก่อนดีค่ะ ไม่แน่ใจว่าควรเริ่มที่ attention หรือ perception ดี แล้วจะโยงไปที่ recognition ได้อย่างไร หรือควรเริ่มที่ memory ก่อน

คืออยากทำ mind map เกี่ยวกับเรื่องนี้ค่ะ ถ้ามีจุดเชื่อมโยงของเรื่องก็คิดว่าน่าจะไปถูกทาง รบกวนอาจารย์ด้วยนะคะ

ขอบคุณค่ะ

ด้วยความเคารพอย่างสูง

สวัสดีครับ คุณเคท

(๑) เอาคำ Cognition / Cognitive ก่อนนะครับ  คำนี้ใช้เรียกเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับ "การคิด" นะครับ  ขอให้สังเกตว่า  "คิด" อย่างเดียว "ไม่เกี่ยวกับอารมณ์" นะครับ  และที่เรียกว่าคิดนี้ ก็หมายรวมถึง "ขอบเขต" ตั้งแต่ "การรู้สึกสัมผัส(Sensation),"   เหตุหารณ์นี้เรายัง "ไม่รู้ความหมาย" ต่อมาเรา "รู้ความหมาย"ว่าการรู้สึกสัมผัสนั้น คืออะไร  "การรู้สึกสัมผัส + ความหมาย" นี้  เราเรียกว่า "การรับรู้(Perception)",  การรับรู้นี้เกิดขึ้นใน"ความจำระยะสั้น(STM)",  การที่เป็นหตุการณ์ใน STM นี้เอง  ทำให้ บางที เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "Attention" ก็เรียกกันนะครับ  การรับรู้นี้ จะต้องดึง(Retreival) หรือ ระลึก (Recall) เอา "ความหมาย"(Semantic) ออกมาจากความจำระยะยาว(LTM)อย่างต่อเนื่องก็ได้  ทำให้เกิดการรับรู้ลึก และซับซ้อนได้ครับ  เหตุการณ์นี้ ถ้ายังคงอยู่ใน STM ก็เรียกว่า "จำ"(Memory), ครับ  ถ้ามีการทบทวน(Rehearsal) ก็ยิ่งจำได้นาน  หลังจากนั้นก็จะบันทึกหรือ"จำ"ไว้ในระบบความจำระยะยาว(LTM) ได้นานเท่าไรไม่จำกัดเวลา  ถ้าต่อไปมี "ปัญหา" เข้ามาเร้าให้ "คิด" แก้ปัญหานั้น  "ความจำ" (ความรู้)จาก LTM ก็จะออกมา "ปฏิบัติการคิด" ใน STM ครับ  กระบวนการคิดนี้ก็จะมีชื่อแตกต่างกันไปตามปัญหานั้นๆ  ถ้าปัญหาเป็นโจทย์ให้ "คิดสร้างสรรค์" ก็เรียกกระบวนการคิดนั้นว่า "การคิดสร้างสรรค์"  ถ้าเป็นปัญหาแบบ "เหตุผล"  ก็เรียกว่า  "การคิดเหตุผล"  ถ้าคิดต่อเนื่องกันไปเรื่อยๆ ก็เรียกว่า "การคิดจินตนาการ"  ถ้าการคิดนั้น คิดได้คำตอบ "โดยไม่รู้ว่ามันได้มาอย่างไร สืบหากระบวนการต้นตอไม่ได้"  ก็เรียกว่า "การคิดหยั่งเห็น"(Insight) เป็นต้น  เมื่อคิดได้แล้วก็"ตัดสินใจ"แล้วตอบออกมาเป็น "พฤติกรรมภายนอก"(Overt Behavior)  และเหตุการณ์นับแต่ "การรู้สึกสัมผัสเป็นต้นมาจนถึงตัดสินใจ" นั้น เรียกว่า "การคิด" หรือ "ปัญญา"เรียกรวมๆว่า "Cognition"  ทั้งหมดนั้นเป็น "พฤติกรรมภายใน"(Covert Behavior)  และ"ขอบเขต" ทั้งหมดนั้น เรียกว่า "เนื้อหาของจิตวิทยาปัญญา"(Cognitive Psychology) ครับ

สำหรับคำ Recognition นั้น หมายถึง "การจำสิ่งเร้าที่อยู่ตรงหน้าได้"  เรียกว่า "การรู้จัก"  แต่ถ้าเราระลึกสิ่งใดที่ขณะนั้นสิ่งเร้านั้นหายไปจากสนามสัมผัสของเราแล้ว  เราเรียกว่าจำแบบ "ระลึก"(Recall) ครับ

คิดว่าคงชัดเจนนะครับ  อันที่จริง ผมได้ให้ความกระจ่างนี้ไว้ในบล็อกต่างๆแล้วนะครับ  ลองอ่านซ้ำอีกครั้งก็จะทำให้ชัดเจนย่งขึ้นครับ

ดร.ไสว เลี่ยมแก้ว

กำลังสนใจเรื่องนี้พอดีค่ะ

พระท่านสอนว่าให้ลองดูกลับไปที่ภาษาบาลี ว่ากำลังพูดถึงอะไร แล้วค่อยว่ากัน

สำหรับท่านคำว่า mind กว้างไปมาก เป็นทั้ง Thinking, Consciousness, Emotion, Attitude, Intelligence, Idea, Thoughts, Mental 

จิต (Citta) เป็นแค่ subset ของ mind  

เป็น "focusing" on the mind itself

แต่หนูยังไม่แน่ใจเลยว่า จิตคือ observer หรือ จิตคือสิ่งที่ observer เห็น หรือถูกทั้ง 2 ข้อ แล้วมันอยู่ตรงไหนในร่างกายเรา

อ.คิดว่าอย่างไรค่ะ

วิญญาณ แปลว่า conciousness ทางวิปัสสนาบอกว่ามันคือ ตัวรู้ หรือตัวรับรู้ที่อยู่ในจิตและละเอียดกว่า จิต (คือ observer นั่นเอง)

ถ้ามองกันแบบ neuro ตำแหน่งของ จิตและวิญญาณน่าจะอยู่ที่เดียวกัน?  คืออยู่แถวหัวใจ? ไม่ได้อยู่ที่สมอง? หรือมันวิ่งไปวิ่งมาระหว่างnerveแถวๆหัวใจกับสมอง?

เคยอ่านว่ามีการทดลองดูว่ามี nerve impulse ที่ไหนเวลา มีอะไรมากระทบจิตใจอารมณ์ มันก็มี activity ของ กระแสจู๊ดจ๊าดส่งไปมาทั้งที่สมองและใกล้ๆหัวใจ (พยายามหาว่าอ่านมาจากไหน ยังหาไม่เจอเลยค่ะ อยู่ในบ้านนี่แหละ คุ้นๆว่าจะเป็นของ francisvo verela) 

จิตและวิญญาณแยกกันไม่ได้ทาง anatomy หรือ form แต่แยกได้ด้วย process? หรือ function?

ขอบคุณดร.ไสวนะคะที่สละเวลาอ่านหนูพร่าม หนูยังงงอยู่ค่ะ เขียนไม่รู้เรื่องก็ขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วยค่ะ ความคิดเห็นของอ.จะมีประโยชน์กับหนูมากค่ะ 

สวัสดีครับ คุณ"มัทนา"

ที่เขียนไว้ข้างบนนี้ มีหลายประเด็นครับ  คิดว่าน่าจะมีดังนี้

(๑) ประเด็นเกี่ยวกับความหมาย  คือ "จิต"(Mind) กับ "วิญญาณ"(Soul) 

เรื่องนี้ ในหมู่พระและคนทั่วไป ยังใช้ในความหมายปะปนกัน ระหว่างคำ "จิต" (Mind) กับ "วิญญาณ" (Soul)   แต่ในหมู่นักจิตวิทยาปัจจุบัน  ใช้คำ "จิต" - Mind คำเดียวครับ  (แต่ในอดีตใช้คำ "จิต - วิญญาณ" หรือ "Mind - Soul" แทนที่กันได้)

(๒) ประเด็น "ผู้เห็น" กับ "ผู้ถูกเห็น"   การแก้ปัญหานี้ในอดีตใช้วิธี "สมมุติ God" ขึ้นมา  แล้วยกให้เป็นเรื่องของพระเจ้าไปครับ (ในสายตาของนักวิทยาศาสตร์ทั่วๆไปคิดว่า God นั้น ที่แท้ก็คือ Nature นี่เองครับ)

จากปัญหานี้  ได้มีหลายทฤษฎีช่วยแก้ปัญหาให้ เช่น ทฤษฎี The Psychophysical Parrallelism  อธิบายว่า Body - Mind คู่ขนานกัน  โดย Mind ได้มาโดย God ประทานให้,  ทฤษฎี The Interactionism   อธิบายว่า Body - cause - Mind, Mind - cause - Body , ทฤษฎี The Epiphenominalism  อธิบายว่า ที่แท้จริงแล้ว Mind เปรียบเหมือน "เงา" ของ Body ( ถ้าไม่มีกาย(วัตถุหรือสมอง)แล้ว ก็หามี Mind ไม่)  ทฤษฎี The Identity Theory แก้ปัญหาให้ว่า  "Mind is brain, or brain is mind "  นั่นคือ  แท้จริงแล้ว "ไม่มีสิ่งที่เรียกว่า Mind"  ที่มีก็แต่ Brain เท่านั้น  ทฤษฎีเหล่านี้ก็ได้พยายามช่วยแก้ปัญหาให้  นักวิทยาศาสตร์ทางจิตวิทยาก็ใช้เป็น "แนวทาง" ในการศึกษา "จิต"(Mind) ของคนสืบมา  ในช่วงปี 1900 - 1960 โดยประมาณ  นักจิตวิทยาบางส่วน หลงไหลทฤษฎ หลังสุดมาก  แต่ในปัจจุบัน ส่วนใหญ่ผสมผสานระหว่าง Epiphenominalism กับ Identity Theory ครับ

(๓) การทดลอง เกี่ยวกับ "Brain activities "  (Procesess ของ Body/Material) กับ "ความรู้สึกคิด"(Mind/Immaterial) ชี้ว่า "มีสองกระบวนการจริง"คือ "กระบวนการทางกาย - ปริมาณเลือดในสมอง"ณ บริเวณที่"คิด" (จิต)กับ"การคิด"(จิต - Mind) แต่ ผล "ไม่ได้"ชี้ว่า"อะไรเป็นสาเหตุของอะไร" ครับ จึงบอกไม่ได้ว่าผลสนับสนุนทฤษฎีไหน (หรือว่าผู้วิจัยบอกเอาไว้ ?)

เรายังต้องศึกษากันต่อไปครับ  แต่โลกของเราโชคดีขึ้นครับ เพราะมีคนหนุมสาวหันมาสนใจเรื่องเหล่านี้กันมากขึ้น จะได้ช่วยกันค้นคว้าต่อไปอย่างไม่หยุดยั้งครับ

ดร.ไสว เลี่ยมแก้ว

อยากทราบ ความหมาย คำว่า " Problem Solving Thinking "

อยากทราบ - แนวคิดทฤษฎี มีของใครบ้าง

อยากทราบ - สถานการณื/ ตังอย่าง / หรือ เกมส์

อยากทราบ - วิธีการนำไปใช้ในการสอน / ขั้นตอนการสอน

อยากทราบ ความหมาย คำว่า " Problem Solving Thinking "

อยากทราบ - แนวคิดทฤษฎี มีของใครบ้าง

อยากทราบ - สถานการณ์/ตัวอย่าง / หรือ เกมส์

อยากทราบ - วิธีการนำไปใช้ในการสอน / ขั้นตอนการสอน

สวัสดีคะ่อาจารย์

ดิฉันกำลังเรียน ป.โท ได้เข้ามารบกวนอาจารย์ในblog ต้องขอโทษด้วย อยากทราบคำที่ได้เขียนไว้ข้างบน อาจารย์ช่วยกรุณาตอบให้หน่อยได้ใหมคะ่ อาจารย์ตอบลงใน blog ก็ได้ค่ะ

ขอขอบคุณเป็นอย่างยิ่ง

บังอร

สวัสดี คุณbungonoo4

(๑)Problem Solving Thinking ขื่อก็บอกตรงๆว่า "การคิดแก้ปัญหา"

(๒)"ปัญหา"จะเป็น "ข้อความ"เช่น "เราจะเดินทางไปดาวอังคารได้อย่างไร" หรือ "เราควรเดินทางไปดาวอังคารหรือไม่" หรือ "ให้ท่านคิดหาวิธีเดินทางไปดาวอังคารให้มากวิธีที่สุดเท่าที่จะทำได้" หรือ "๔+๓= ?" หรือเกิดจากการสังเกต

(๓)เมื่อปัญหาเหล่านี้เข้าเร้า และเดินทางเข้าไปถึงสมอง สมองจะคิด "การคิดปัญหา"เหล่านี้ เรียกว่า "การคิดแก้ปัญหา"

(๔)"ความคิดที่ใช้แก้ปัญหา"เหล่านี้จะเรียกชื่อแตกต่างกัน ถ้าเป็นปัญหาที่(๑)ก้เรียกว่า "การคิดแก้ปัญหาคำตอบดียว" หรือ"การคิดแก้ปัญหาธรรมดา" ปัญหาที่(๒)เรียกว่า "การคิดสร้างสรรค์" เป็นต้น

(๕)แหล่งความรู้ก็ค้นไดจาก Encyclopedia of Psychology,ตำราทางจิตวิทยาต่างๆมากมายในห้องสมุด

(๖)การนำไปใช้ทางการสอน ทุกวิชาคุณก็สอนให้คิดแก้ปัญหาอยู่แล้ว โดยเฉพาะคณิตศาสตร์ เป็นการติดแก้ปัญหาทั้งหมด วิทยาศาสตร์ที่คุณให้เด็กถอนต้นไม้มาคนละต้น แล้วบอกว่าเธอเห็นอะไรบ้าง นั่นก็เป็นการคิดแก้ปัญหาเหมือนกัน

(๗)บางคนนำเกมส์มาสอนในชั้น โดยคิดว่านั่นเป็นการคิดแก้ปัญหา ถูกละ เป็นการคิดแก้ปัญหา แต่ไม่เกี่ยวกับเนื้อหาในหลักสูตรเลย เป็นการเข้าใจที่คลาดเคลื่อนแลอันตราย

Phramaha ธนายุทธ ชยสิทฺธิเมธี

สวัสดีครับ....ท่านอาจารย์

คือว่าผมอยากทราบ "ลักษณะทางจิต"

-ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง

-คำนิยาม

-เนื้อหาลักษณะทางจิต

-ตัวอย่างงานวิจัยครับ

ขอความเมตตาด้วยนะครับ เพราะผมหาข้อมูลมาจนมุมแล้วแต่ไม่เจอเลยครับ ขอขอบคุณล่วงหน้านะครับ

(๑) ที่ท่านถามทั้หมดนั้น อยู่ในบล็อก Human Mind จากเรื่องที่ ๑ ถึงเรื่องสุดท้ายครับ

(๒) หนังสือตำราที่ชื่อว่า "จิตวิทยา" หรือ Psychology นั้น ล้วนแต่ว่าด้วยเรื่องของจิตทั้งสิ้น แม้ว่าจะเลี่ยงไปนิยามว่า "จิตวิทยาคือวิทยาศาสตร์ทางพฤติกรรม" ก็ตาม โดยเฉพาะหนังสือพวกที่ชื่อว่า "จิตวิทยาการคิด" "จิตวิทยาความจำ" "จิตวิทยาปัญญา" ฯลฯ ล้วนแต่เป็นเรื่องของจิตทั้งสิ้น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท