ได้อะไรจากการเรียนป.เอก


แท้จริงแล้วมันคืออะไรกันแน่
การเรียนป.เอก แท้จริงแล้วมันคืออะไรกันแน่ วันนี้คำถามหลายคำถามเกิดขึ้นกับ นักศึกษาป.เอกที่บางคนเป้าหมายของตนเองยังไม่ชัดเจน บางคนคิดว่าไม่ใช่สิ่งที่ตัวเองต้องการ ไม่ใช่คำตอบของตัวเอง สำหรับฉัน เศรษฐศาสตร์คือธรรมชาติของทุกกลุ่มคนในสังคม ในระบบเศรษฐกิจหลักสูตรสมัยป.ตรี และป.โท เนื้อหาหลักสูตรในรายวิชาต่างในศาสตร์นี้มีทั้งทฤษฏี และการนำไปใช้ แต่สำหรับป.เอก ที่เรียนอยู่นี่ลงถึงรากแก้วเลย ทำให้เราทราบว่าทฤษฎีต่างๆมีแนวคิดเบื้องหลังอะไร เราเองรู้สึกว่า เหมือนได้ดูเบื้องหลังการถ่ายทำหลังจากที่ดูหนังจบแล้ว และยิ่งไปกว่านั้น ตอนปีสองเราเองต้องฝึกเป็นผู้สร้างหนัง เองด้วย มันน่าสนุก แต่ต้องแลกมาด้วยการเป็นนักอ่าน อ่าน อ่าน คิด คิด คิด หนทางที่มีเป้าหมายอันมีค่า
คำสำคัญ (Tags): #นศ.ป.เอก
หมายเลขบันทึก: 88569เขียนเมื่อ 4 เมษายน 2007 21:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 12:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)
  • สวัสดีครับอาจารย์
  • มาเรียนทำให้ทราบว่าปริญญาเอกยากจริง ๆ ครับ :>
เรียนเพื่อให้รู้เหมือนการติดกระดุมเสื้อถ้าเม็ดแลกติดผิดเม็ดต่อไปก็ผิด

ผมเองยังไม่ทราบครับว่า ทำไมผมจะต้องไปเรียนปริญญาเองด้วย ระหว่างการพัฒนาองค์ความรู้ด้วยตนเองกับกระบวนการวิจัยยังไม่เพียงพอหรือ? หรือการเข้าไปนั่งเรียนในระดับปริญญาเอกเป็นสิ่งจำเป็นของการพัฒนาองค์ความรู้

แต่ที่แน่ใจอย่างหนึ่งคือ มีหลายระเบียบเหลือเกินที่คนของรัฐสร้างขึ้น เพื่อบังคับกลายๆ ให้คนในวงวิชาการต้องเรียนต่อในระดับปริญญาเอก

เศรษฐศาสตร์ทำให้เราเข้าใจอะไรๆ มากขึ้น กูรู ในด้านนี้ใช้ทั้งคณิตศาสตร์ และตรรกะ เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ บางทีหลายสิบสมการเพื่อยืนยัน common sense น่าทึ่งมาก และบางคนกลับมองว่า แล้วจะต้องพิสูจน์กันทำไม่อีก  พวกเขายังไม่เข้าใจค่ะ ว่าแก่นอยู่ตรงไหน และเราจะทำอะไรต่อไปได้อีก

ทำไมดร.บางคนถึงพูดว่า ช่วงเวลาที่ตนเสียดายที่สุดในชีวิตคือการเรียนต่อ ดร.

ผศ.จงรักษ์ หงษ์งาม

เคยได้ยินเหมือนกันค่ะ คิดตามแล้วบางครั้งก็เห็นด้วย บางครั้งก็เห็นต่างค่ะ ปัจจัยของชีวิตแต่ละคนแตกต่างกันค่ะ เราไม่สามารถเอาแนวคิดของใครมาตัดสินใครได้ค่ะ โดยเฉพาะเรื่องนี้

ช่วงเวลาของการเรียน ป.เอก คือช่วงเวลาแห่งการฝึกตน ค้นพบตัวเอง...เป็นเวลาที่มีค่า ควรใช้เวลาให้คุ้มค่ามากที่สุด...

ชอบที่อ.เขียนมากค่ะ "ลงถึงรากแก้วเลย ทำให้เราทราบว่าทฤษฎีต่างๆมีแนวคิดเบื้องหลังอะไร เราเองรู้สึกว่า เหมือนได้ดูเบื้องหลังการถ่ายทำ"

สำหรับตัวเอง มีความเห็นคล้่ายคุณ paew มากค่ะ การเรียนป.เอกเป็นช่วงเวลาแห่งการฝึกตน ค้นหาตัวเอง

ส่วนตัวไม่เสียใจเลยที่มาเรียน คิดว่าปัจจัยเรื่องงานที่ทำ โรงเรียน และ อ.ที่ปรึษามีส่วนอย่างมาก ในการที่จะชอบหรือไม่ชอบช่วงเวลานี้

ตัว Ph ใน PhD คือ Philosophy เพราะฉะนั้นถ้าเรียนแล้วไม่ได้แตะส่วนนั้น น่าเสียดายอยู่ไม่น้อยค่ะ ไม่ว่าจะเรียนสาขาไหน น่าจะได้"การเขียนบทและการถ่ายทำเบื้องหลัง"เหล่านี้กลับไปด้วยค ่ะ

 

  • มาทักทายอาจารย์
  • หายไปนานมากครับ
  • มาให้กำลังใจครับผม

สวัสดีค่ะ ทุกท่านรวมทั้งท่านอ.ขจิตค่ะ

  • เวลาจิตตกขณะเรียนป.เอก เสียงที่แว่วในใจเราช่างแตกต่างจากเสียงที่เคยแว่วตอนอาการปกติ 
  • ต้องพิจารณา ต้องรู้เท่าทันตลอด เพราะหลายครั้งที่เกิดหมดอารมณ์ที่จะอยากรู้เบื้องหลังของหนังเรื่องนี้ ไปซะเฉยๆ 
  • เป็นกำลังใจแก่ชนผู้ร่วมเดินทาง.. หนทางแห่งความอดทน.....

สวัสดีครับพี่เก่ง

     ในระหว่างพักอ่านเรื่อง RBC model, ผมเห็นด้วยกับสิ่งที่พี่เก่งเขียนครับ การเรียนปริญญาเอกเป็นการเรียนให้ลึกลงถึงรากแก้วขององค์ความรู้ในแต่ละศาสตร์นั้น ซึ่งคณิตศาสตร์ถือเป็นรากแก้วที่สำคัญของวิชาเศรษฐศาสตร์ อย่างไรก็ตามผมว่าเศรษฐศาสตร์มีความเป็นปรัชญาทางความคิดสูงโดยเฉพาะการสร้างตรรกะทางความเข้าใจในเรื่องวิธีการจัดสรรทรัพยากรหรือพูดง่ายๆว่าเป็นการเลือก Choose the Choice ผมเคยอ่านเจอในหนังสือของท่านพุทธทาสเรื่องของรากศัพท์คำว่าเศรษฐศาสตร์มาจากภาษาบาลีที่ว่า เสฎฐ อันหมายถึงดีที่สุดหรือ Optimal นั่นเองครับ

สุดท้ายผมขอให้พวกเรามีกำลังใจที่จะเดินหน้าต่อไปในการเรียนปริญญาเอกเพราะอย่างน้อยครั้งหนึ่งในชีวิตเราสามารถบอกตัวเองได้ว่าเราเคยอดทนในสิ่งที่ยากที่สุดมาแล้ว รักษาสุขภาพด้วยครับ

อองต้วน

สวัสดีค่ะ อาจารย์ เห็นด้วยกับ อาจารย์มัทนา ที่บอกว่า

คิดว่าปัจจัยเรื่องงานที่ทำ โรงเรียน และ อ.ที่ปรึษามีส่วนอย่างมาก ในการที่จะชอบหรือไม่ชอบช่วงเวลานี้

 

ดีค่ะ กะลังจะเรียนป.เอก เทอมนี้ อ่านของพี่ๆแล้วก้อได้ความเข้าใจหลายอย่างนะคะ นุ๊กนิกคิดว่า เป้าหมายการเรียนสำคัญมากเหมือนกันน่ะค่ะ ที่จะทำให้เราไม่ท้อถอย จะพยายามนะคะ
พี่เก่ง สู้ ๆ  เป็นกำลังใจให้นะค่ะ พี่เก่งซะอย่างทำได้ทุกอย่างอยู่แล้น สู้ สู้ ค่ะ

ดีครับอาจารย์ ผม ก็เรียน เศรษฐศาสตร์ เหมือนกัน ที่ ม ขอนแก่น อยากเรียนกับอาจารย์เร็ว เมื่อไหร่จะกลับมาครับ

ไม่ว่าจะทำอะไร เรียนขั้นไหน อย่าถามว่า result ของมันคืออะไร แต่ควรจะสนใจ process และ Out put ที่แท้จริงของมันมากกว่า  Ph.D ก็เช่นกัน แต่ละคนคงจะได้ output ที่ไม่เหมือนกัน เพราะ ความจริงแล้วกว่าจะได้ ปริญญามา แต่ละคนก็จะมีรายละเอียดใน process การเรียนที่ต่างกันเป็นเรื่องเฉพาะตัวนะคะ...ส่วนเรื่องความคุ้มค่าเป็นเรื่องที่แต่ละคนจะคิดได้ ซึ่งมันก็ต่างกัน เพราะไม่มีใครมี context ที่เหมือนกันเลยจริงไหม

จริงค่ะ แต่ละคนมันก็เหมือนหนังคนละเรื่องเลย ที่มีตัวเอกคือเรา กะอ.ที่ปรึกษา เป็นคนเดินเรื่อง

Cheer Up ครับ ท่านพี่

เรียนเอก

โหด มันส์ ฮา (ออกบ้างไม่ออกบ้าง)

แต่เป็นอะไรที่ดีที่สุด

เป็นการค้นพบตนเองเลยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท