เป้าหมาย สิ่งที่ถูกวัด กับตัวชี้วัด


หากเปลี่ยนสิ่งที่จะวัดให้ชัด บางที ตัวชี้วัดที่ตั้งไว้มันวัดได้ แต่มันบอกอะไรหรือเปล่า ควรใคร่ครวญ

วันนี้ทางงานแพทย์แผนไทยสสจ.ชม. มาตามนิเทศงาน และได้แลกเปลี่ยนข้อมูลกัน มีประเด็น สองประเด็นที่น่าหยิบมาคุยกันคือ

1.การนวดแผนไทยในโรงพยาบาลยังมีปัญหา เพราะถ้าจะให้ผู้ป่วยที่เป็นข้าราชการเิบิกได้ คนนวดต้องผ่านการอบรมการนวด 372 ชั่วโมงเสียก่อน จึงจะนวดแล้วเก็บเงินไปเบิกกับกรมบัญชีกลางได้ ท่านผู้อำนวยการจะมีแนวทางในการจัดการในเรื่องนี้อย่างไร

2.ตัวชี้วัดสำคัญอันจะทำให้การวัดว่าแพทย์แผนไทยประสบความสำเร็จหน่วยงานโรงพยาบาล

ก็คือ ต้องมี ยาที่เป็นสมุนไพรไทย  อย่างน้อย 5 ตัวอยู่ในบัญชียาโรงพาบาลให้สถานีอนามัย เบิกจ่ายได้ พบว่าทางรพช.ในเชียงใหม่ได้ดำิเนินการในเรื่องนี้เพียง 60% ทำให้เชียงใหม่ได้ลำดับที่ 17 ของเขตภาคเหนือ พูดง่ายๆคือ ลำดับสุดท้าย ท่านในฐานะเป็นประธานชมรมผู้อำนวยการรพช.เชียงใหม่จะผลักดันเรื่องนี้อย่างไร

ข้อที่ 1. ผมตอบอย่างไม่ต้องทบทวนมากเท่าไหร่ คือ ชาวบ้านที่ไหนจะว่างไปอบรม อย่างน้อย 2-3 อาทิตย์ได้ จะเอาเงินที่ไหนให้ทางบ้านกิน แม้ว่าตัวเองจะได้กินฟรีเพราะไปอบรมก็เถอะ หากรพ.รับไว้เป็นลูกจ้างชั่วคราว อบรมเสร็จได้3-4 เดือน ก็ลาออกไปอยู่้สปาที่ภูเก็ต นวดดีๆๆก็ไปทำงานต่างประเทศ ผลิตมาเท่าไหร่ก็ไม่พอ บรรดาผอก.รพช.ก็เข็ดขยาดกันเป็นแถวๆ ส่วนที่บอกว่าถ้านวดได้จะเบิกได้นะ เห็นจะไม่พอกิน หรือคุ้มกับที่ส่งไปแน่นอน เลยแนะนำว่าให้เปิดอบรมเปิดไปเลยให้เป็นล่ำเป็นสัน ให้โอกาสคนไทยได้เป็นแรงงานฝึืมือ นำภูมิปัญญาไทย ทำมาหากินเลี้ยงท้อง วัดว่าการนวดไทยทำให้คนไทย มีข้าวกินเท่าไหร่ เห็นทีจะดีกว่า มาวัดว่ารพ.ไทยมีการนำการนวดแผนไทย เข้ามาในรพ.เท่าไหร่ เท่กว่าเป็นไหนๆ และยังส่งผลต่อภาครวมของประเทศดีกว่าเสียอีก ที่สำคัญควรย้อนไปดูว่าเราจะส่งเสริมการนวดแผนไทยเพื่ออะไร เมื่อวัดแล้วว่ามีแล้วเป็นไง แล้วทำไมจะส่งเสริมอะไรเกี่ยวกับแพทย์แผนไทยต้องนำมาอัดไว้ในโรงพยาบาลด้วยนะ  สมมติฐานเรื่องนี้มันคืออะไร  ประเทศจะรุ่งเรืองอีกเท่าไหร่  หากเปลี่ยนสิ่งที่จะวัดให้ชัด บางที ตัวชี้วัดที่ตั้งไว้มันวัดได้ แต่มันบอกอะไรหรือเปล่า ควรใคร่ครวญ

 ประเด็นที่2 น่าสนใจมาก การทำให้โรงพยาบาลทุกแห่งในเชียงใหม่มียาสมุนไพรไทยบรรจุไว้ในบัญชียารพช.อย่างน้อย 5ตัว ง่ายมาก พรุ่งนี้ทำให้ก็ได้ เสร็จแน่นอนยกหูโทรศัพท์ ไปบอกบรรดาพี่น้องผอก.ทั้งหลายว่า ให้เอายาสมุนไพรไทยเข้าไป 5 ตัวนะ เอาตัวละ 1 กล่องก็พอ จะได้ไม่เปลื่องเงินมาก เป็นไงครับ ตัวชี้วัดนี้ก็บรรลุไปได้จาก60% เป็น 100 % ได้ในข้ามคืน มหัศจรรย์ไหมครับ การจะเข้าถึงเป้าของตัวชี้วัด ผมค่อยๆถามว่าตัวชี้วัดตัวนี้พยายามจะตอบโจทย์อะไร อาจเป็นเพื่อหากรพช.ได้มีไว้และได้ใช้จะช่วยทำให้ชาวบ้านความเชื่อถือในยาสมุนไพร และใช้สมุนไพรไทยมากขึ้น หากเป็นอย่างนั้นจริง วิธีที่ผมทำให้บรรลุเป้าก็ไม่น่าจะทำให้เกิดผลที่ต้องการ แต่ตัวชี้วัดผมผ่านแล้วนี้ครับ เรื่องนี้น่าจะปัญหาที่ฐานคิดเลยก็คือ  คิดว่ารพ.ของรัฐน่าจะเป็นผู้ขับเคลื่อนที่น่าเชื่อถือ และหากใช้มากประชาชนก็จะชินกับเรื่องสมุนไพร ทำให้หันมาใช้มากขึ้น ข้อเท็จจริงก็คือ ประชาชนในเขตชนบทเขามีแนวโน้มจะใช้สมุนไพร และเดิมเขาก็ใช้กันมาอยู่แล้ว เราต่างหากที่พรากเขาออกมาจากการพึ่งพาตัวเองได้ตามภูมิปัญญา ด้วยการบอกว่าแพทย์แผนตะวันตกดีกว่า แพทย์แผนไทยล้าสมัย เป็นแนวคิดแบบทวินิยม ที่ผลาญความรู้ และชีวิตผู้คนมาเยอะแล้ว หากดูยาสมุนไพรที่องค์การเภสัชผลิตออกมา ถ้าวัดตามหลัก marketing 4 P ง่ายๆ จะเห็นว่าเจ๊งตั้งแต่ทำแล้วจะวิเคราะห์ให้ดูคร่าวๆ

P1  Product ตัวผลิตภัณฑ์ไม่ได้มีอะไรที่แตกต่างไปจากยาแผนปัจจุบันที่ใช้ บางทีอาจใช้ยากกว่า เช่น ต้องทานจำนวนมาก ต่างจากยาแผนปัจจุบันเม็ดเดียวอยู่ อาจดูดีในแง่ว่าเป็นผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ ซึ่งดูในแง่ความนิยมผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ ก็จะเน้นไปเรื่องความงาม เป็นส่วนใหญ่ ในแง่การรักษาโรคได้รับความนิยมน้อย ขนาดของตลาดเล็กมาก รวมทั้งไม่สามารถผลิตให้ได้เป็นจำนวนมากเนื่องจาก สารตั้งต้นมีจำนวนจำกัด

P2 price เป็นจุดตาย ที่แข่งไม่ได้เลยเพราะ สารตั้งต้นมีจำกัดราคาแพงไม่สามารถแข่งในเชิงscale ได้ เมื่อราคาแพงกว่า และตัวประสิทธิภาพใกล้เคียงกัน จึงไม่มีรพช.ไหนนิยมเพราะต้องจ่ายให้คนไข้ฟรี เพราะมากับ โครงการประกันสุขภาพ คนทั่วไปจะซื้อเองก็คิดหนัก ลองเทียบราคาขมิ้นชัน กับ Air-X ก็แล้วกัน

P3 Place ด้านโลเกชั่น และ outlet ของสินค้า มีน้อยไปตามจำนวนการผลิต การมีแหล่งผลิตจำกัด ทำให้การกระจายสินค้าเกิดขึ้นได้ไม่ดี หากคนไข้ติดใจอย่างใช้ อาจไม่มีปริมาณเพียงพอต่อการใช้ หาซื้อยากกว่า ในแง่ความสะดวก และโลกพึ่งความเร็ว ก็ไม่ทันใจ

P4 Promotion เป็นส่วนที่แทบไม่เห็นเลย คือการประชาสัมพันธ์ และการทำ Promotion  หรือที่เห็นๆก็เป็นพวกครีมที่ทำโนตม ขายดิบขายดี ของอย่างนี้ก็ไม่ส่งมาให้โรงพยาบาลขาย แฮะๆๆ แล้วชาวบ้านจะรู้ไหมนี่ บางทีเอายาอมมะแว้งให้ คนไข้บอกเลยว่าหมอๆๆ ขอ เด๊กโต ดีกว่ากินทีเดียวมันอยู่ เอามะแว้งมาให้ที่บ้านลุงก็มี กินยังไงก็ไม่หาย

แล้วเราจะทำอย่างไรดี ผมมีวิธีแน่นอน และเชื่อว่าหากเราดำเนินการอย่างไม่ไปควบคุมหรือยุ่งกับเขามากนัก น่าจะมีความเจริญกว่ามาตั้งตัวชี้วัด ประหลาดอย่างนี้ ตอนนี้บทความมันยาวไปแล้ว ต้องต่อภาคสองครับ 

หมายเลขบันทึก: 86865เขียนเมื่อ 27 มีนาคม 2007 17:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 มีนาคม 2012 09:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

โรคตัวชี้วัดนี่ ทำผมขนลุกขนพองมามากมายหลายครั้ง

 ไม่ได้ว่าเป็นเรื่องไม่ดีนะครับ concept ดีมากๆ เพราะเราจะ manage ได้ รู้ว่าดีขึ้น อยู่กับที่ หรือล้มเหลว ขอเพียงแต่ตัวชี้วัดนี้มัน represent สิ่งที่เราต้องการวัดจริงๆเท่านั้น

การใช้ quantitative measurement นั้น ทำเอาเราหลงทางได้ง่ายๆ 100% ที่น่าจะแปลว่า excellence สุดยอดไร้เทียมทาน  no room of improvement อีกแล้ว ปรากฏว่าไขกล่องเข้าไป กลวง!! คนประเมิน (หรือเจ้าของคุณภาพ) อาจจะเป็นงงไปเยอะเหมือนกัน

OK วัดกิจกรรมนั้น อย่างน้อยทีสุด ตัวเรา (และคนสั่ง) จะได้ทราบแน่ๆว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง กี่ครั้ง แต่นั่นน่าจะเป็นอย่างมากก็คือ performance indicator แต่ยังไม่ถึงกับเป็น key performance indicator คือยังไม่เป็น key นั้นเอง

เรื่องราวที่สำคัญหลายๆเรื่อง ต้องใช้ data และเป็น data ที่ดี มีการวางแผนเก็บ และครอบคลุมประเด็นที่เกี่ยวข้อง จึงจะเริ่มวางแผนได้ อย่าง น้อยที่สุด ก็คือได้ทำ SWOT analysis (เป็นเครื่องมืออย่างหนึ่ง ที่ผมคิดว่าถ้าทำดีๆแล้ว บอกอะไรได้เยอะ อย่างน้อยก็บอกว่าเรา "รู้จัก" องค์กรของเราดีแค่ไหน) มันจึงจะออกมาเป็นแผน เป็น strategic position ได้ และถ้าผู้เป็นเจ้าของโครงการ ได้ทำให้คนปฏิบัติเข้าใจในที่มาที่ไป และ SWOT analysis (ที่เป็น "ข้อมูลที่ดี" นะครับ) บางที ไม่ต้องบอกว่าควรทำอะไร คนปฏิบัติก็จะสามารถนำเสนอสิ่งที่เขา "ทำได้ในบริบทของเขา" มาให้ฟังได้ เขาจะได้มีส่วนร่วม ไม่ต้องนั่งฟัง เปิดหน่วยออกมา เปิดห้องพิเศษ แล้วก็นั่งตบยุง เพราะไม่ work (ผมเคยไปเยี่ยม รพ. แถวภาคใต้นี่แหละ มีขนาดเปิดเป็นตึกเลยนะครับ แล้วก็ต้องเปลี่ยนไปทำอย่างอื่น เพราะไม่ติดตลาด)

แถวไหนที่ทำแล้วไม่รุ่งน่าจะจ้างผมไปทำตลาดให้นะ จะได้ริ่ง P

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท