การรู้เท่าทันการสื่อสาร...คุณสมบัติในฝันของบัณฑิตไทย


การรู้เท่าทันการสื่อสาร (Communication Literacy) ในที่นี้ ขอนำเสนอตามมุมมองของผู้โพสต์ ว่าหมายถึง การที่ผู้สื่อสารรู้เท่าทันการสื่อสารทั้งกระบวนการ ตั้งแต่การรู้เท่าทันจุดมุ่งหมายแท้ๆของผู้ส่งสาร รู้เท่าทันความหมายแท้ๆของสาร รู้เท่าทันสื่อ รู้เท่าทันผลโดยตรงและผลกระทบสืบเนื่องของการสื่อสารครั้งนั้น รวมถึงมีวิธีคิดและวิธีตัดสินใจ เลือกวางท่าทีในการสื่อสาร ให้เหมาะแก่สถานการณ์หรือภาวการณ์นั้น

(22)

 

 

 

การสร้างทักษะการรู้เท่าทันการสื่อสาร : การสร้างความตระหนักร่วมกัน

คำว่า การรู้เท่าทัน ตามความหมายโดยอรรถ หมายถึง การรู้จริงตามธรรมดา หรือ การรู้ถึงเหตุการณ์หรือความคิดของบุคคลได้ทันที

การรู้เท่าทัน เป็นทักษะชีวิตที่สำคัญมาก เพราะนอกจากช่วยให้เรารู้ความจริงของสิ่งนั้นตามที่มันเป็นแล้ว ยังทำให้เราคิด ทำ และวางท่าทีความสัมพันธ์ต่อสิ่งนั้นๆได้อย่างเหมาะสมอีกด้วย

คำว่า การสื่อสาร คือการถ่ายทอดความหมาย และการรับรู้ความหมาย เพื่อให้เกิดการเข้าใจความหมายร่วมกัน

การรู้เท่าทันการสื่อสาร ในที่นี้ เพ่งไปที่การรับรู้และเข้าใจ   “ความหมายที่แท้จริง”  และการรู้ความจริงที่เกี่ยวข้องกับสิ่งนั้น

อันได้แก่ การรู้ความหมายที่แท้จริง การรู้จุดมุ่งหมาย(เจตนา)ที่แท้จริง การรู้ถึงผลโดยตรงและผลกระทบสืบเนื่องของการสื่อสารโดยสภาพจริง ทั้งนี้ โดยมุ่งให้เกิดการคิด การตัดสินใจ การเลือกวางท่าทีในการสื่อสาร ให้เหมาะแก่สถานการณ์ หรือ ภาวการณ์ อย่างมีวุฒิภาวะ

การรู้เท่าทันการสื่อสาร (Communication Literacy) ในที่นี้ ขอนำเสนอตามมุมมองของผู้โพสต์ ว่าหมายถึง การที่ผู้สื่อสารรู้เท่าทันการสื่อสารทั้งกระบวนการ ตั้งแต่การรู้เท่าทันจุดมุ่งหมายแท้ๆของผู้ส่งสาร รู้เท่าทันความหมายแท้ๆของสาร รู้เท่าทันสื่อ รู้เท่าทันผลโดยตรงและผลกระทบสืบเนื่องของการสื่อสารครั้งนั้น รวมถึงมีวิธีคิดและวิธีตัดสินใจ เลือกวางท่าทีในการสื่อสาร ให้เหมาะแก่สถานการณ์หรือภาวการณ์นั้น

การฝึก “ทักษะการรู้เท่าทันการสื่อสาร” คือการฝึกให้ผู้สื่อสารเกิดคุณลักษณะ ดังต่อไปนี้

  1.  เป็นผู้รู้เท่าทันการสื่อสารทั้งกระบวนการ ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารในรูปแบบใด
  2. เป็นผู้รู้จักคิด มีความสามารถในการคิดโดยแยบคาย มีวิธีคิดและวิธีตัดสินใจ เลือกวางท่าทีในการสื่อสาร ให้เหมาะแก่สถานการณ์หรือภาวการณ์นั้น
  3. เป็นผู้มีทักษะในการเข้าใจจิตใจของตน และเข้าใจจิตใจของผู้อื่น
  4. เป็นผู้มีจิตใจมั่นคง มีวุฒิภาวะ เข้าใจโลก และรู้เท่าทันชีวิต

การรู้เท่าทันการสื่อสาร เป็นคำกลางๆที่เป็นสามัญสำนึกธรรมดา เกิดขึ้นเป็นกระบวนการปกติในใจคน การตั้งชื่อคำนี้แทนความหมายชุดนี้ เพื่อสื่อสารให้เข้าใจตรงกันได้ ....และเพื่อการสร้างความตระหนัก ....ไปจนถึงจิตสำนึกตระหนักในเรื่องนี้ร่วมกัน....

ว่าควรจะเป็น "คุณสมบัติในฝัน....ของบัณฑิตไทย" หรือไม่?

หรือควรเริ่มช่วยกันสร้าง  ให้เกิดเป็นจริงตั้งแต่วันนี้........ 

เหตุที่เลือกใช้คำภาษาอังกฤษ ว่า Communication Literacy เพราะต้องการให้เข้ากันกับความหมายของคำว่า Media Literacy ซึ่งหมายความถึง การรู้เท่าทันสื่อ และคำอื่นๆที่ใช้คำว่า Literacy ต่อท้าย เพื่อให้นัยยะความหมาย ของคำว่า”รู้เท่าทัน” และเป็นที่รับรู้กันทั่วไป

สำหรับ   Media Literacy จุดเริ่มของตะวันตก เกิดขึ้นจากปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากสื่อมวลชน    ทำให้เกิดการเร่งรีบตั้งคำถามอย่างจริงจัง     และมีผู้หาวิธีการอันหลากหลายเพื่อรับมือกับปัญหา

และศึกษา วิจัย เพื่อหาวิธีการแก้ปัญหาอย่างจริงจัง  จนในที่สุดก็กลายเป็นวิชาในชั้นเรียน บรรจุในหลักสูตร เป็นศาสตร์ในระบบและนอกระบบการศึกษา และเป็นองค์กรหลักในการเฝ้าระวังสื่อ ช่วยเหลือดูแลเด็กๆและพลเมืองของเขา คือมีที่มาที่ไปที่น่ารักมาก


อนึ่ง เท่าที่ดิฉันลองเสิร์จดูจากข้อเขียนต่างๆซึ่งสื่อความหมายของคำว่า Media Literacy ในอินเตอร์เน็ต ก็มักมีนัยความหมายเพิ่มขึ้นจากเดิม คือนอกจากแปลว่า การอ่านออก เขียนได้ และเข้าใจความหมายแล้ว ยังสามารถรู้เพิ่มว่า 

              รู้ว่าความหมายที่ส่งมานั้น แท้ๆแล้วคืออะไร (ด้วยการมองจากหลายองค์ประกอบ หลายทิศทาง แทนที่จะเชื่อตามความหมายที่เคยเชื่อตามๆกันมา)

               รู้ว่า ความหมาย ที่ส่งผ่านมานั้นจะทำให้เกิดผลกระทบอย่างไร 

                รู้เจตนาที่แท้ อ่านเจตนาออกว่าแท้ๆแล้วต้องการอะไร ( ด้วยการมองเห็นความจริงของสิ่งนั้นอย่างที่เป็น และการวิเคราะห์เจตนาอย่างลึกซึ้ง เพื่อให้เห็นว่าเจตนานั้น เป็นคุณหรือเป็นโทษ)

การรู้เท่าทัน หรือ Literacy    (ขออนุญาตใช้คำฝรั่งคำนี้ไปพลางๆก่อนนะคะ)  เท่าที่พอจะประมวลความหมายมาได้ ก็พอจะเห็นได้ในเบื้องต้นว่า    ว่าเป้าหมายคือการเข้าใจ รู้ความหมาย นำไปสู่การรู้เท่าทันเจตนาที่แท้    ทำให้รู้ว่าสิ่งนั้นถูกส่งมาด้วยเจตนาที่ เป็นคุณ หรือเป็นโทษ และสืบเนื่องไปถึงการคิดหาวิธีรับมือต่อไป ........ซึ่งวิธีคิดนี้จำเป็นสำหรับเด็กไทยอย่างยิ่ง

 

หมายเลขบันทึก: 81899เขียนเมื่อ 4 มีนาคม 2007 20:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 23:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบ

คุณ

ค่ะ

สำ

หรับ

ความ

รู้

สวัสดีค่ะคุณรจ

ขอบคุณคุณรจมากๆค่ะที่แวะมาทักทาย และขอโทษอย่างยิ่งเลยค่ะที่มาตอบความเห็นช้าแบบข้ามปี  ด้วยว่าติดภาระงานที่หนักมากอยู่ช่วงหนึ่ง ตอนนี้พอมีเวลาจึงรีบเข้ามาขอบพระคุณกัลยาณมิตรที่แวะมาเยี่ยม

ดิฉันได้อ่านบันทึกนี้ทำให้รู้สึกสนุกขึ้นมาอีกครั้ง  เพราะห่างเรื่องการรู้เท่าทันการสื่อสารไปนานโข  หมายถึงห่างเรื่องการเขียนถ่ายทอดนะคะ แต่เรื่องการฝึกเด็กนี้ดิฉันไม่เคยวางมือเลย 

การฝึก “ทักษะการรู้เท่าทันการสื่อสาร” คือการฝึกให้ผู้สื่อสารเกิดคุณลักษณะดังต่อไปนี้

  • เป็นผู้รู้เท่าทันการสื่อสารทั้งกระบวนการ ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารในรูปแบบใด
  • เป็นผู้รู้จักคิด มีความสามารถในการคิดโดยแยบคาย มีวิธีคิดและวิธีตัดสินใจเลือกวางท่าทีในการสื่อสาร ให้เหมาะแก่สถานการณ์หรือภาวการณ์นั้น
  • เป็นผู้มีทักษะในการเข้าใจจิตใจของตน และเข้าใจจิตใจของผู้อื่น
  • เป็นผู้มีจิตใจมั่นคง มีวุฒิภาวะ เข้าใจโลก และรู้เท่าทันชีวิต

และหลังจากอ่านทวนเนื้อความข้างต้นนี้เสร็จ ดิฉันก็ยิ้มชอบใจในความมุ่งมั่นแบบมองไม่เห็นฝั่งของตัวเอง เพราะตอบตัวเองได้ทันทีว่าในแต่ละข้อที่ดิฉันตั้งเป้าไว้ข้างล่างนี้  ...ยังไม่ได้ผลแบบร้อยเปอร์เซ็นต์เลยสักข้อ ....

...แต่ได้ผลแบบห้าสิบเปอร์เซ็นต์อยู่บางข้อ...  

ก็เลยทำให้มีกำลังใจทำต่อ  เพราะภาวะ "ห้าสิบห้าสิบ" นี้  สามารถแปลอีกทีแบบมีกำลังใจ ว่า  "ยังพอไหว"

ขอบคุณมากนะคะที่คุณรจแวะมาสื่อสารแบบที่ทำให้ดิฉันมีกำลังใจเพิ่มขึ้นอีกเยอะเลยค่ะ  ^_^

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท